welcome to Thailand เมิร์ส!

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย plunk, 18 Jun 2015

  1. plunk

    plunk อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,509
    Last edited: 18 Jun 2015
  2. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :cool: เป็นแล้วตรวจพบ ดีกว่าไม่พบครับ... ยังไงก็ไม่สามารถห้ามคนเดินทางไปมาได้ แต่เมื่อพบแล้วก็ต้องปฏิบัติอย่างมีมาตรฐานต่อไป ส่วนชาวโซเชี่ยลทั้งหลาย ก็ควรจะตรวจสอบข่าวดีๆก่อนแชร์ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวคนแชร์มันอาจน้อย แต่กับคนอื่นมันอาจจะมาก
     
  3. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    ผมมีคนรู้จักของสธ. ครับ เกี่ยวกับพวกโรคระบาด เขาบอกว่าป้องกัน ชี้แจง ประกาศต่อ ตลอด แต่มีหลายอย่างที่เขาทำไม่ได้เพราะว่าไม่มีกฏหมายบังคับ อย่างถ้าแค่สงสัยว่ามาจากประเทศที่เสี่ยง เราก็กักตัวเขาไว้ไม่ได้ นอกจากนั้นเราแนะนำได้ แต่บังคับให้คนปฏิบัติตามคำเตือนไม่ได้ เช่นล้างมือก่อนกินข้าวหรือหาผ้าปิดจมูก ทำลายแหล่งเพาะยุงลาย การเลี้ยง,การสัมผัส หรือปรุงสัตว์ที่ถูกวิธี การดูแลผู้ป่วย พอเกิดการระบาดเท่านั้นละครับ สธ. โดนก่อนเลย
     
    Last edited: 18 Jun 2015
    Familie, Anduril, ปู่ยง และอีก 3 คน ถูกใจ
  4. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    แล็ปของกรมวิทย์การแพทย์สามารถตรวจวิเคราะห์เชื้อได้ภายใน 8 ชั่วโมง ว่าใช่หรือไม่ใช่เมอร์ส
    ดังนั้นหากกลับจากประเทศติดต่อ เช่นตะวันออกกลางหรือเกาหลี แล้วมีอาการของทางเดินหายใจพวกไอ หอบ ตัวร้อนให้ไปโรงบาลอย่าไปคลินิกเพราะทางคลินิกก็ต้องส่งโรงบาลต่ออยู่ดี ขณะนี้มีการลงในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วนะคะ ว่าเมอร์สเป็นโรคติดต่ออันตรายต่อจากอีโบลา (ลงในราชกิจจาฯเมื่อไม่กี่วันมานี้และมีผลเป็นกฎหมายใน 5 วัน) ดังนั้นหากไม่แน่ใจว่าเป็น แต่หลบเลี่ยงอาจมีผลทางกฎหมายต่อตนเองนอกจากผลต่อชีวิตด้วย

    โรคนี้ต้องตรวจทางแล็ปเท่านั้นเพื่อแยกจากการติดเชื้อไวรัสตัวอื่น

    พอดีหนูอ้อยพอจะเกี่ยวๆกับสธ.อยู่มั่งค่ะ แหะๆ
     
    architeer, Bayonet, kokkai และอีก 8 คน ถูกใจ
  5. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ทำวาร์ปให้นะคะ เผื่อบางท่านอาจยังไม่ได้เข้าไปอ่าน
    https://xn--12c4db3b2bb9h.net/threads/รู้จักกับ-ไวรัส-เมอร์ส-หรือไข้หวัดอูฐ.2176/#post-49232
    รู้จักกับ ไวรัส เมอร์ส หรือไข้หวัดอูฐ
    กระทู้ใน 'ห้องนั่งเล่น' โดย Anduril, 6 Jun 2015
     
    architeer, kokkai, Familie และอีก 6 คน ถูกใจ
  6. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  7. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    นพ.สุรเชษฐ์ สถิตย์นิรามัย ตัวแทนกระทรวงสธ.ออกมาแถลงแล้วนะคะเมื่อสักครู่นี้ว่า ผลแล็ปของชายชาวตะวันออกกลางที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อเมอร์สรายแรกในไทย ไม่ใช่ เชื้อเมอร์สนะคะ และกำลังส่งสอบทานผลแล็ปเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง
    (รอลิงก์ข่าวอีกที)
     
    architeer, kokkai, plunk และอีก 7 คน ถูกใจ
  8. มิติใหม่

    มิติใหม่ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,837
    เคยดูสารคดี สักห้าสิบกว่าปีที่แล้วได้เกิดโรคระบาดในประเทศหนึ่งในยุโรป จำไม่ได้ว่ากาฬโรคหรืออะไร พอเกิดการระบาด รัฐบาลก็พยายามขอความร่วมมือกับประชาชนว่าอย่าออกจากบ้าน ถ้ามีอาการให้โทรหาโรงพยาบาล เดี๋ยวไปรับ แต่คนก็ไม่เชื่อ สุดท้ายคนป่วยคนตายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้าย รัฐต้องใช้กฏอัยการศึก ที่สุดแล้วก็ยับยั้งการระบาดไว้ได้
     
  9. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ใช่ดูทางไทยพีบีเอสหรือเปล่านะพี่ผึ้ง ( กาฬโรค )

    http://program.thaipbs.or.th/documentaryprogram/article253883.ece?episodeID=501309
    แต่ลิงก์ตัวเต็มเข้าไม่ได้แล้ว ..
     
    architeer, hillton(ปาล์มาลี), Familie และอีก 1 คน ถูกใจ.
  10. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ที่น่ากลัวกว่า เมอา์สคงจะเป็น การแชร์ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่าครับ เพราะมักจะ แชร์แล้วแชร์เลย ไม่มีการตรวจสอบแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือ ผมว่าทุกประเทศกลัวเรื่องนี้ที่สุดครับ
    ปล. เห็นข่าวคนอเมริกันเจอหนูใน เคเอฟซีอเมริกาไหมครับ ดูจากรูปมีรูปทรงเหมือนหนูจริง แต่ไม่มีหลักฐานอะไรบ่งชัด แถมเจ้าตัวไม่ยอมให้ตรวจสอบ ที่แน่ๆเคเอฟซีเสียหายแน่ๆ เรื่องแบบนี้ถ้าเป็นจริงฟ้องร้องจ่ายเยอะมาก
     
  11. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ตามความคิดนะคะ เมอร์สนี้สำหรับไทย น่ากลัวกว่าอีโบลาที่ก็ประกาศเป็นโรคติดต่ออันตรายก่อนหน้านี้เหมือนกัน

    แต่อีโบลาจะมีระบาดหนักในแอฟริกาตะวันตกเช่นเซียร์ร่าลีโอน กินี ซึ่งคนไทยไม่ค่อยได้ไป หรือไปก็ไปกันน้อยกว่าไปเกาหลีและตะวันออกกลางที่ไปพิธีฮัจญ์
     
  12. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ยอมรับว่าไม่เข้าใจเรื่องโรคเท่าไหร่ครับ แต่คิดว่าอยู่ที่ภาครัฐฯว่า เข้มงวดหรือปกปิดเพราะกลัวเสียชื่อฯลฯ แค่ไหนครับ เพราะข่าวการแพร่ระบาดในต่างประเทศมีมานาน และสามารถเตรียมตัวได้ทัน หากมีมาตรการที่ดีเชื่อว่า ไม่มีปัญหาครับ เพราะระยะฟักตัวของ เมอร์ส ประมาณ 14 วัน จนถึงวันนี้ หากยังไม่มีการป่วยหรือเสียชีวิตในไทย ค่อนข้างมั่นใจว่า คุมอยู่ เพราะคนใหม่ๆที่ประเทศเข้ามาตอนนี้ถูกตรวจโรคอย่างเข้มงวด
     
  13. Kop16

    Kop16 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    5 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,461
  14. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ดูคลิปตอนอีโบลาระบาดนะคะ เครื่องเป่าความร้อนที่มือกลับกลายเป็นเพิ่มเชื้อโรคที่นิ้วนะจ๊ะ (เมอร์สยังไม่มีคลิปออกมา)
    เชิญชม เดี่ยว สุริยนต์นำเสนอได้แล้วค่ะ เก่าหน่อยแต่ฟังง่าย ..

    หากคลิกไปดูจากยูทูปตรงๆ ตัวหนังสือซับไทยจะใหญ่หน่อยนะคะ ส.ว.ทั้งหลาย ..
     
    architeer, kokkai, อาวุโสโอเค และอีก 1 คน ถูกใจ.
  15. มิติใหม่

    มิติใหม่ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,837
    ไม่ใช่ค่ะ อันนั้นดูจากช่องเคเบิล เป็นเรื่องเมื่อกี่สิบปีมาแล้วไม่แน่ใจ จำได้ว่าเป็นยุคที่มีเครื่องบินแล้ว คนป่วยที่รอดมาได้บางคนยังมีชีวิตอยู่
     
  16. plunk

    plunk อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,509
    ปลอดภัย ไม่เป็นไร ก็ดีแล้วครับ
     
  17. plunk

    plunk อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,509
    ล่าสุด ยืนยันติดเชื้อแล้ว 1 ราย เป็นชาวตะวันออกกลาง ขณะนี้อยู่ สถาบันบำราศนราดูร แล้วครับ ซึ่งต้องตรวจซำ้ถึง 2 รอบ จึงจะทราบผล กินเวลาไป 8 ชม จึงมี กลุ่มคนเสี่ยง อีก 59 กว่าคน

    http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000069182
     
    Last edited: 18 Jun 2015
    architeer, Anduril, หนูอ้อย และอีก 1 คน ถูกใจ.
  18. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ตรวจผลแล็ปทานรอบที่ 2 พบว่าชายชาวตะวันออกกลางคนนี้ติดเชื้อเมอร์สค่ะ กักตัวไว้ที่สถาบันบำราศนราดูร
    อัพข่าวได้ที่ https://xn--12c4db3b2bb9h.net/threads/รู้จักกับ-ไวรัส-เมอร์ส-หรือไข้หวัดอูฐ.2176/#post-49471
    ขอบคุณท่าน plunk และท่าน Anduril ค่ะ good.gif
     
    architeer, อาวุโสโอเค, plunk และอีก 2 คน ถูกใจ
  19. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ดูแลสุขภาพตัวเองนะครับทุกท่าน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ หลีกเลี่ยงสัมผัสผู้มีอาการป่วย(คล้ายโรคหวัด )
     
  20. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/138/17.PDF

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/138/18.PDF

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่ออันตราย
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/138/19.PDF
     
  21. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ของไทยอ่อนจริงๆ ถ้าจะให้ดีต้องดูว่าผู้ป่วยพักที่ไหน ติดต่อใครบ้างแล้วเรียกตัวมาตรวจให้หมด

    เดาว่าคงนอนโรงแรม ต้องแจ้งไปที่โรงแรมให้ผู้เข้าพักระวังตัวด้วย

    ผมว่า สธ. ประมาทมากๆ
    ---------------------------------------
    ขอแก้ไขครับ สธ. ทำงานเร็วดีครับ กักตัวแท๊กซี และผู้โดยสารเครื่องบินที่นั่งใกล้ผู้ป่วย รวมทั้งแอร์เครื่องบินด้วย
     
    Last edited: 18 Jun 2015
  22. Diablo

    Diablo สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    13 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    245
    ปัญหาบางทีมันอยู่ที่ระยะฟักตัวน่ะครับ เพราะ Mers-CoV นี่กินเวลา 7-14 วัน บางทีลงจากเครื่องบินมาถ้าต้นทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ตม. หรือ สธ. ทำได้อย่างมากก็แค่ตรวจไข้ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิน่ะครับ ถ้าไม่มีไข้ก็กักตัวไว้ไม่ได้ อีกอย่างเชื้อตัวนี้ก็ยังไม่ได้ศึกษากว้างขวางมาก ไม่รู้ว่าระยะฟักตัวนั้นคนที่มีเชื้อสามารถแพร่ให้คนอื่นในระยะที่ไม่มีอาการได้หรือเปล่าด้วยครับ

    อย่างรายที่เจอในไทยว่าติดนี่ก็คือตอนหลังแกไปโรงพยาบาลเอกชนเองเพราะมีอาการไข้ตอนหลัง ลงผ่านสนามบินมาปกติไม่มีอาการ แต่ยังดีที่แกแจ้งโรงพยาบาลเลยว่าเพิ่งกลับมาจากตะวันออกกลาง โรงพยาบาลเลยส่งต่อครับแล้วปรากฏว่าใช่ Mers ดังนั้นการตรวจที่สนามบินมักจะไม่ได้ผลอะไรเลยถ้าคนที่ติดมาไม่มีอาการแสดงบ่งชี้ หรือจะให้บังคับตรวจเชื้อคนที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงทุกคนแล้วกักตัวไว้ก่อนก็เป็นอะไรที่ทั้งทำยากแล้วเปลืองงบประมาณมาก ผมไม่แปลกใจนะว่าสุดท้ายต้องมีหลุดมา เพราะเหตุผลที่ว่าข้างบนแหละครับ

    ทีนี้คือถ้ามีหลุดมาแล้วจะทำยังไง คงต้องเพิ่มมาตรการคนที่มาจากประเทศที่มีการระบาดน่ะครับ ถ้าเกิดมีระบาดแล้วในไทยจริงๆคงต้องใช้วิธีกักตัวแล้วตรวจเชื้อ"ทุกคน" เป็นวิธีที่ดูจะกันได้ดีที่สุดแล้ว แต่คงเป็นไปได้ในความเป็นจริงยากมาก
     
  23. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    สมัย"ซาร์"ระบาด เค้าให้กรอกแบบสอบถามที่สนามบิน ห้าวันให้หลังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำจังหวัดตามหาผมถึงที่บ้านสอบถามถึงสุขภาพ สะพายเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อมาด้วย

    ผมเชื่อมั่นว่าทางการไทยรับมือได้แน่นอน
     
  24. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
  25. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    626396-01.jpg
    บรรยากาศ ที่สถาบันบำราศนราดูร ^ ^

    ชายชาวโอมานผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถาบันฯซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านการติดเชื้อ เพราะฉะนั้น การคัดกรองคนไข้ที่ดี ถือเป็นภารกิจหลัก ทางโรงพยาบาลจะมีจุดคัดกรอง ซึ่งเป็นจุดแรกที่ผู้ป่วยทุกคนต้องผ่าน หากมีอาการเสี่ยงติดเชื้อ ..พยาบาลคัดกรองจะแยกผู้ป่วย และลำเลียงไปตามเส้นทางซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้เฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ปะปนกับคนทั่วไป เมื่อลำเลียงผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยแยกโรคเเล้ว หากตรวจพบว่ามีอาการติดเชื้อไวรัสรุนแรง ที่ไม่ใช่แม้แต่เชื้อไวรัสเมอร์สก็จะถูกแยกเข้าห้องกักกันโรคทันที แต่หากไม่พบว่าติดเชื้อ หรือต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อก็จะนำผู้ป่วยแยกออกจากห้องไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่ผ่านห้องกักกันโรคแต่อย่างใด

    ทั้งนี้ ห้องกักกันโรคที่ชายชาวโอมาน และญาติที่เดินทางมาไทยด้วยกันซึ่งมีความเสี่ยงอาจติดเชื้อและอยู่ในขั้นเฝ้าระวังนั้น ไม่อนุญาตให้ใครเข้าออกนอกจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ยืนยันว่า เชื้อไวรัสเมอร์ส จะไม่แพร่กระจายออกจากโรงพยาบาลแน่นอน เนื่องจากทางโรงพยาบาล มีจุดคัดกรองและแยกผู้ป่วยออกจากกันอย่างชัดเจน

    ขณะนี้สามารถยืนยันผู้ติดเชื้อได้แล้วว่ามีเพียง 1 ราย และอาการดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนผู้สัมผัสผู้ป่วยจากเดิมที่เฝ้าระวัง 176 ราย ขณะนี้ ลดลงเหลือ 163 ราย เพราะได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว 13 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยังคงติดตามผู้สัมผัสอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จากการประเมินความเสี่ยงในประเทศไทยวันนี้ พบว่าความเสี่ยงลดลง และต้องรอต่ออีก 1 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาการผู้ป่วย และผู้สัมผัสผู้ป่วย

    ชายชาวโอมาน ณ วันนี้ตรวจแล็ปสองครั้งแล้ว ไม่พบเชื้อแต่อย่างใด แต่ต้องเฝ้าระวังให้ครบ 14 วันขึ้นไปจึงจะแน่ใจได้ว่าไม่แพร่เชื้อแล้ว

    สำหรับมาตรการในการรับมือในอนาคต หากพบว่ามีผู้สัมผัสผู้ป่วยมากขึ้น ได้เตรียมโรงพยาบาลรัฐในพื้นที่ กทม. ไว้แล้ว แต่หากมีผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยมากขึ้นไปอีก ได้ประสานกับกองทัพในการหาสถานที่รองรับไว้ให้เพียงพอในการเฝ้าระวัง และตรวจวินิจฉัยแล้ว อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขเตรียมออกประกาศคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เรื่องรับมือ วิธีการปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ควบคุมโรค พ.ศ. 2523 ต่อไป
    http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=626396
    http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=626579
     
    Last edited: 22 Jun 2015
    อู๋ คาลบี้, Anduril, Redbuffalo010 และอีก 1 คน ถูกใจ.
  26. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778

        • 22m9.jpg

        • นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีชาวโอมาน วัย 75 ปี ป่วยโรคทางหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส ว่า อาการดีขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ อาจมีโอกาสรอดพ้นวิกฤต แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากผู้ป่วยมีอายุมากและมีโรคประจำตัวด้วย ส่วนญาติ 3 รายนั้น ไม่มีอาการไข้แล้ว แต่ยังพักอยู่ห้องแยกโรคในสถาบันบำราศนราดูร เพื่อตรวจอาการทุกวัน จนครบ 14 วัน นับตั้งแต่วันที่สัมผัสกับผู้ป่วย

          ส่วนผู้ที่กลับจากประเทศเสี่ยง ก็เข้ามาให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อป้องกันโรคหลายราย ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ซึ่งถือว่าประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


        • 22m8.jpg
      นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์
      รองอธิบดีกรมสนับสนุนสุขภาพ กล่าวว่า ได้มีการเรียกประชุมโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 100 แห่ง ร่วมชี้แจงแนวทางการวินิจฉัย การเฝ้าระวัง และการส่งต่อผู้ป่วยโรคเมอร์ส

    • ทั้งนี้ในเบื้องต้น การประชุมจะกำชับและเน้นใน 3 เรื่อง อาทิ

      1. การส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสเมอร์ส จะต้องไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเอง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระหว่างเดินทาง ( ต้องส่งรถของโรงพยาบาลไปรับ )
      2. แนวทางการดูแล การส่งตัวและการขอความร่วมมือโรงพยาบาลเอกชน หากมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยอันอาจเกิดขึ้น
      3. ผู้ป่วยต่างชาติที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรณีที่เดินทางมาจากตะวันออกกลาง และประเทศที่มีการแพร่ระบาด หรือนักท่องเที่ยวที่มีการนัดรักษาล่วงหน้าในคลินิกหรือโรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะต้องถูกคัดกรองเป็นพิเศษ ทั้งประวัติการรักษา ที่มา และการตรวจร่างกายเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
     
    plunk และ Familie ถูกใจ.

Share This Page