ฟ้าผ่า คสช. ใช้ ม. 44 ปฏิรูปกระทรวงศึกษา

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ปู่ยง, 22 Mar 2016

  1. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    "บิ๊กตู่"สั่งใช้ม.44ล้างบาง อำนาจ-การศึกษาภูมิภาค | เดลินิวส์
    ประยุทธ์ ใช้อำนาจตาม ม.44 ยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ สลายขั้วอำนาจเดิม
    ตั้ง รมว.ศธ. นั่งหัวโต๊ะปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค ล้างอิทธิพลแต่งตั้งโยกย้ายในพื้นที่

    อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/387080

    อย่าลืมปฏิรูปกรมศาสนาด้วยนะครับ
     
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    กรมการศาสนาหมดบทบาทเรื่องพระภิกษุไปนานแล้ว ที่ต้องปฏิรูป คือ สำนักพุทธฯต่างหาก
     
  3. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    ขอรับหลวงพี่
     
  4. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    บูรพาพยัคฆ์ประยุทธ์ประสานกับวงศ์เทวัญดาว์พงษ์เพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยให้ลูกหลาน อิอิ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    Alamos, นิจนิรันดร์, kokkai และอีก 3 คน ถูกใจ
  5. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    ขอย้ายมาจากทู้นู้นครับ https://xn--12c4db3b2bb9h.net/threads/กปปส-เงียบกริบ-รัฐคนดี-ตัดสิทธิเรียนฟรีเด็ก-เหลือ9ปี.4064/

    โอ้โห ดาบนี้โหดมากครับ มุ่งฟันพวกสายเหลือบไรกินจุเต็มๆ
    http://www.kroobannok.com/article-7...กษาความสงบแห่งชาติ-การปฏิรูปการศึกษาและก.html
    สรุปประมาณว่า ดึงอำนาจโยกย้ายสอบสวนมาไว้ไม่ให้ปกป้องอุ้มกันเองอย่างเคย ยุบเขตพื้นที่การศึกษาเอาไปขึ้นกับผู้ว่าฯ
    มาทรงคล้ายๆกับแก้คอรัปชั่นองค์กรบริหารส่วนภูมิภาคแหละ
    น่าเสียดายตรงที่ ตัวสพม.กับสพป.ไม่โดนไปด้วยอ้ะ แต่คงจะรอปรับไปรองรับงานธุรการโดยตรงแหละ เพระดึงอำนาจผอ.เขตไปส่วนนึงแล้ว (อย่าลืมแบ่งคนไปลงหน้างาน-ธุรการรร.ด้วยเน้อครับ)

    เมื่อกลางวันยังได้ยินครูหลายคนดีใจอยู่เลยว่าเมษานี้จะได้รับแจกพันนึง
    พอเจอข่าวนี้ กลัวกันใหญ่ว่าจะกระทบเงินวิทยฐานะไหม? จะเกิดยุ่งยากวิ่งเต้นโยกย้ายไหม? ฯลฯ
    ครูๆไม่ต้องกลัวหรอกครับ(ถ้าไม่ได้ร่วมขบวนการกะเขา) ดูแล้วกะจะเล่นพวกผู้บริโภค เอ๊ย ผู้บริหารนักบริโภค
    [เพิ่ม] เพิ่งไปทัวร์ตามเพจครู ส่วนใหญ่ด่ากันแฮะ เรื่องที่กังวลกันเยอะสุดน่าจะเป็น"แล้วสอบบรรจุคราวนี้ล่ะ & บัญชีสอบของเก่าล่ะ"

    ที่ผ่านมา รมต.คนไหนไปแตะพวกองค์กรครูนี่(ไม่ว่าองค์กรไหน) ไม่นานก็เปลี่ยนรมต.แทบจะทันทีครับ ลองหาย้อนดูได้ ถ้าคนไหนเอออออวยหรือร่วมกะเขาด้วยก็จะอยู่ได้นานหน่อย
    แต่ตอนนี้มี ม.44 คงจะมีซ่อนอยู่ในฝักอีกหลายดาบ อย่าลืมสมศ.นะฮับ



    แถมอีกนิด อ่านจากเนชั่นคห.สนับสนุนกันรัวๆ เพจครูๆจะออกไปทางกังวลกลัวความไม่แน่นอน
    พออ่านจากมติช. จ่าดราม่า ฯลฯ รุมด่ากันเละเลยแฮะ ส่วนใหญ่จะว่าเรื่องรวบอำนาจ-ล้างสมอง มีรายนึงพาไปโยงเรื่องชนชั้นได้ไงเนี่ย
     
    มิติใหม่, Alamos, ปู่ยง และอีก 4 คน ถูกใจ
  6. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ปฏิรูปตำราเรียนด้วยนะ ไม่ไหวเคลียร์
    Image.jpg


    เอาแบบเก่ามาปรับปรุง ยังดูดีกว่า
    book11oh9.jpg
     
    ParaDon, maya, จูกัดขงเบ้ง และอีก 6 คน ถูกใจ
  7. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    จะว่าไป การที่เอาคนที่ไม่มีประสบการณ์ในการสอนเป็นผู้ออกแบบการสอน ทำให้ผู้สอนสับสน

    ผู้เรียนเข้าใจยาก แก้ปัญหาการตกช้ำชั้นโดยบังคับคนสอนให้ผ่าน พ่อแม่จะช่วยสอนก็ทำไม่ได้เพราะ

    งงกับตำราสมัยใหม่ รอยต่อตรงนี้ทำให้เกิดปัญหาในการสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดา ความเอื้ออาทรในครอบครัว
     
    ParaDon, มิติใหม่, Anduril และอีก 6 คน ถูกใจ
  8. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    ผมอยู่ในวงการนี้ ใน คหสต. นะครับ ผมว่าดีขึ้นครับ ที่ให้ยุบ อกคศ.(อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ซึ่งหน่วยงานนี้มีอำนาจหน้าที่ล้นฟ้า โอกาสเพื่อรับสินบนสูงมาก เช่น
    1. โยกย้ายครู จ่าย 50,000 - 100,000 บาท เพื่อให้ย้ายไปลงตามโรงเรียนที่ต้องการ
    2. การประเมินเพื่อให้ได้ระดับ ครู คศ.3 ราคาอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท
    เงินทั้งนั้นครับ หน่วยงานนี้
     
    ParaDon, conservative, Anduril และอีก 6 คน ถูกใจ
  9. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ขนาดครู ยังซื้อขายหาผลประโยชน์ จะเอาหาเด็กมีคุณภาพได้อย่างไร??????


    นี้ก้อครูนะ เห็นในเพจอยู่ไรๆๆ
     
    Alamos, kokkai และ นิจนิรันดร์ ถูกใจ
  10. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    คำสั่งหัวหน้า คสช.

    ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/068/1.PDF

    ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/068/6.PDF
     
    Anduril, หนูอ้อย และ kokkai ถูกใจ
  11. Strangerman

    Strangerman อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    25 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    885
    สุดยอดเลยลุ่งตู่

    ต่อไปผมขอ ปฏิรูปตะกวดไทย กับ ล้างมารศาสนา ก่อนจะเลือกตั้งใหม่นะครับ

    ไม่ต้องรีบ แต่ต้องทำ ไม่งั้นก็ไม่จบ กฎหมายไม่เป็นกฎหมาย มารศาสนาหาแดรกกับความเชื่ออยู่ร่ำไป
     
  12. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ทำได้จะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ที่ทุกๆคนจะกล่าวขวัญถึง
    แล้วจะได้รู้กันสักทีว่า เผด็จการที่มีผู้นำดี น่ายกย่องกว่าประชาธิปไตยซ่อนรูป
    และเป็นการตบหน้าพวกที่ชอบอ้างประชาธิปไตย เพื่อตัวเอง
     
  13. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    มีโอกาสทำก็ต้องทำ มาถึงขั้นนี้แล้ว อย่าทำเสียของ
    เพลงที่นายกฯ เขียนและเผยแพร่มันเป็นนายไปแล้ว
     
    Alamos, kokkai, หนูอ้อย และอีก 1 คน ถูกใจ.
  14. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    ไม่รู้จะเกี่ยวกับ อาชีวะด้วยมั้ย ที่ทำให้ต้องปฏิรูป
    หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเฉพาะที่ยังปล่อยให้มี อาจารย์ กับนักศึกษาสายล้มเจ้า ลอยนวลอยู่
     
    Alamos, Anduril, kokkai และอีก 2 คน ถูกใจ
  15. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    เรื่องการสอบบรรจุและบัญชีสอบของเก่า ไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากครับ เพราะเท่าที่ผ่านมาเป็นกระบวนการที่รับสินบนได้ยาก ทุจริตได้ยาก
    อย่างที่บอกครับ รายได้ส่วนใหญ่ของ อกคศ. มาจากการโยกย้าย และการประเมินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง คศ.2 คศ.3 คศ.4 ถึงมีผลงานดีมีเอกสารอ้างอิงดีถ้าไม่จ่ายเงินก็ประเมินไม่ผ่าน
    อีกเรื่องคือ การสอบผู้บริหาร ตำแหน่ง รอง ผอ. ผอ. สอบภาค ก. ภาค ข. ไม่กลัวครับเพราะสู้กันที่ความรู้รความสามารถ แต่กลัวภาค ง.(ภาคเงิน) ครับ จนมีการพูดกันทั่วไปว่า จะสอบผู้บริหาร ต้องทำเรื่องกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ไปพร้อมด้วย

    ปล. โปรดใช้วิจารณญาณ ในการอ่าน เพราะที่ผมพูดไม่มีหลักฐานอ้างอิง แต่เป็นจากการที่อยู่ในวงการนี้เท่านั้นครับ
     
    Last edited: 22 Mar 2016
    ParaDon, temp, kokkai และอีก 4 คน ถูกใจ
  16. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    “ประยุทธ์”ดึงอำนาจให้รัฐมนตรีปฏิรูปการศึกษา

    หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อปรับโครงสร้างการทำงานกระทรวงศึกษาธิการ

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า โครงสร้างปัจจุบันมีอำนาจกระจัดกระจาย จนไม่สามารถปฏิรูปได้ การออกคำสั่งนี้เพื่อปรับปรุงให้เกิดการปฏิรูป และให้รัฐมนตรีมีเอกภาพในการทำงาน ซึ่งเดิมแยกแท่งทำงาน 5 แห่ง แต่พอนโยบายรัฐบาลออกมาก็ไม่สอดคล้องกัน วันนี้จึงต้องมาปฏิรูป โดยจะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาประกอบด้วย ปลัดกระทรวงและ 5 แท่งงาน

    รัฐบาลให้ความสำคัญกับกระทรวงศึกษา แต่ทำงานคนเดียวไม่ได้ จึงต้องร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย เพราะการศึกษาลงไประดับท้องถิ่น แต่ก็ต้องดูไม่ให้อำนาจลงไปส่วนล่างทั้งหมด จึงมาลองปรับใหม่ว่าจะดีขึ้นหรือไม่ และที่ตรวจสอบครู 4-5 แสนคน พอใจกับคำสั่งนี้ และที่มีปัญหามีเพียง 2 พันกว่าคน ที่เป็นผู้บริหารและยังติดอยู่กับกติกาเดิม

    ดึงผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมปฏิรูปการศึกษา

    ในช่วงบ่ายวันนี้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน เพื่อชี้แจงคำสั่งหัวหน้า คสช.

    พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า คำสั่งนี้ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานของกระทรวงฯ ที่ล่าช้า โดยแก้ไขปัญหาการบูรณาการระดับพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาทำงานไม่เชื่อมโยงกัน ต่างหน่วยงานต่างดำเนินการ แต่ในโครงสร้างใหม่จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาระดับภูมิภาค ที่มีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน เป็นส่วนขับเคลื่อนงานเชื่อมกับคณะกรรมการการศึกษาระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ซึ่งมีการยกเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

    ทั้งนี้ โครงสร้างใหม่จะแก้ปัญหาช่วงการบังคับบัญชาเดิมที่กว้างเกินไป ขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารการศึกษา และขาดความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล



    นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้คำสั่ง ม.44 ออกประกาศ 2 ฉบับ โดยฉบับแรกตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของศึกษาธิการใน ภูมิภาค ยกเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่ฯ พร้อมตั้ง คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด แทน รวบอำนาจการบริหารจัดการทั้งหมด การแต่งตั้ง โยกย้าย พิจารณาจัดสรรงบ ชี้เพื่อให้การทำงานเป็นเอกภาพ ขณะที่คำสั่งที่สอง ให้ยกเลิกศึกษาธิการภาค 1-13 ภาค และให้มีศึกษาธิการภาค 18 ภาคแทน เน้นการประสานงานบูรณาการในพื้นที่ รวมทั้งให้ปลัด ศธ.ตั้งศึกษาธิการจังหวัด รับผิดชอบงานของอ.ก.ค.ศ.เขตฯประถม-มัธยม

    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ลงประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 10/2559 ลงวันที่ 21 มี.ค. 2559 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ใจความว่า ปรากฏข้อเท็จจริง ถึงสภาพปัญหาในการจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคของประเทศว่า เกิดปัญหาการสั่งการและการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นเอกภาพ

    ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มีคำสั่ง
    1. ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ประกอบด้วย รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ รมช.ศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ และปลัด ศธ.เป็นกรรมการและเลขานุการ
    2. ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของ ศธ. วางแผนงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล จัดสรรงงบประมาณให้หน่วยงานของในระดับภูมิภาคและจังหวัด แต่งตั้ง โอน หรือย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยของศธ.ระดับภูมิภาคและจังหวัด
    3. ให้สำนักงานปลัด ศธ.รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
    4.ให้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาว่า ด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ ศธ.และให้โอนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่ฯแต่ละเขตพื้นที่ฯ ไปเป็นอำนาจของ "คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)"
    5. ให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาและโอนอำนาจหน้าที่ไปเป็นอำนาจของ กศจ.ของจังหวัดนั้นๆ
    6. ในแต่ละจังหวัดให้มี คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า "กศจ." มีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าฯ เป็นประธาน ศึกษาธิการภาคในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นรองประธาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นกรรมการ

    นอกจากนั้น ยังเผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 11/2559 ลงวันที่ 21 มี.ค. 2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ใจความว่า เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของ ศธ.ในภูมิภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีเอกภาพ และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจในเรื่องการศึกษาของประเทศโดยเน้นการมี ส่วนร่วมทุกภาคส่วนให้สอดรับกับแนวทางประชารัฐ เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาอันจะส่งผลการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน อาศัยม.44 ของรัฐธรรมนูญฯ ให้ยกเลิก ประกาศ ศธ.เรื่องจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13สำนักงานปลัด ศธ.ลงวันที่ 27 ก.ย.2555 และคำสั่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

    ให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค สังกัดสำนักงานปลัด ศธ. ตามบัญชีที่รมว.ศึกษาธิการกำหนด เพื่อปฏิบัติภารกิจของ ศธ.ในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด อำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัด ศธ.และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่างๆ ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ของ ศธ.และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด สนับสนุนพัฒนาจังหวัดในพื้นที่ด้านวิชาการ การวิจัยและการพัฒนา กำกับ ติดตาม ประเมินผลการทำงานของสำนักงานศึกษาธิการภาคจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ

    ทั้งนี้ ให้มีศึกษาธิการภาคเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการภาค ขึ้นตรงต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยอาจมีรองศึกษาธิการภาคไม่เกินกึ่งหนึ่ง แต่ละจังหวัดให้มีศึกษาธิการจังหวัด รับผิดชอบงานธุรการและให้รับผิดชอบดำเนินงานตามมอบหมายมีผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างภายใต้กำกับดูแลของศึกษาธิการภาค และให้ปลัด ศธ.แต่งตั้งศึกษาธิการจังหวัดและรองศึกษาธิการจังหวัดจากข้าราชการใน ศธ.

    นอกจากนั้น ให้โอนอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เฉพาะงานที่เกี่ยวกับอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมและอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ การศึกษามัธยม เป็นอำนาจของศึกษาธิการจังหวัด และโอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ์ หนี้ภาระผูกพัน ที่จัดตั้งตามประกาศ ศธ.เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 ไปเป็นของศึกษาธิการภาค 18 ภาคและระหว่างที่ยังไม่มีการจัดตั้งสำนัก งานศึกษาธิการ ให้สพป.เขต 1 ในจังหวัดต่างๆทำหน้าที่เป็นสำนักงานศึกษาธิการภาคจังหวัด นั้นๆไปพลางก่อน โดยคำสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป



    หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อปรับโครงสร้างการทำงานกระทรวงศึกษาธิการ

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า โครงสร้างปัจจุบันมีอำนาจกระจัดกระจาย จนไม่สามารถปฏิรูปได้ การออกคำสั่งนี้เพื่อปรับปรุงให้เกิดการปฏิรูป และให้รัฐมนตรีมีเอกภาพในการทำงาน ซึ่งที่ผ่านมาการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการแยกเป็น 5 แท่ง และเมื่อมีนโยบายรัฐบาลออกมาก็ไม่สอดคล้องกับการทำงานแต่ละแท่ง จึงปรับให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาประกอบด้วย ปลัดกระทรวงและ 5 แท่งงาน

    นอกจากนี้จะมีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง เช่น ท้องถิ่นจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ประธานหอการค้าจังหวัด และมีกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง และกรรมการจาก 5 แท่งของกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่ถูกยุบ

    นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เท่าที่ตรวจสอบครู 4-5 แสนคน พอใจกับคำสั่งนี้ และที่มีปัญหามีเพียง 2 พันกว่าคน ที่เป็นผู้บริหารและยังติดอยู่กับกติกาเดิม

    ผู้ว่าฯเสนอชื่อกรรมการศึกษาธิการจังหวัด

    ในช่วงบ่ายวันนี้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน เพื่อชี้แจงคำสั่งหัวหน้า คสช.

    พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ในส่วนที่รัฐมนตรีศึกษาธิการแต่งตั้ง จะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้คัดเลือกและเสนอมาให้กระทรวงศึกษาธิการลงนาม

    คำสั่งนี้ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานของกระทรวงฯ ที่ล่าช้า โดยแก้ไขปัญหาการบูรณาการระดับพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาทำงานไม่เชื่อมโยงกัน แต่ในโครงสร้างใหม่จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาระดับภูมิภาค ทำงานเชื่อมกับคณะกรรมการการศึกษาระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

    จะแก้ปัญหาช่วงการบังคับบัญชาเดิมที่กว้างเกินไป ขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารการศึกษา และขาดความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล



    พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 รื้อระบบบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคโดยออกคำสั่ง คสช. 2 ฉบับเมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา จะช่วยแก้ปัญหาการศึกษาไทยได้มากน้อยแค่ไหน เราจะไปสอบถามความเห็นจากนักวิชาการด้านการศึกษา ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเรื่องนี้กัน



    นายกฯ แจงออก ม. 44 ปรับโครงสร้างการศึกษาหวังปฏิรูป ให้ทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน ไม่แยกแท่งทำงาน ยันครู 4-5 แสนคนพอใจ มีเพียงส่วนน้อยยึดติดกติกาเก่า
     
    Last edited: 23 Mar 2016
    ปู่ยง, Anduril, temp และอีก 2 คน ถูกใจ
  17. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    ตอนที่อ่านคำสั่ง เห็นโครงสร้างกศจ.แล้วผมรู้สึกว่า ที่ใครมองว่าเป็นการรวบอำนาจ ผมมองว่ายังคงกระจายอำนาจอยู่นะแต่ไม่ปล่อยให้บริหารอำนาจกันตามอำเภอใจแบบที่เป็นมา โดยมีสายกำกับดูแลที่โยงไว้ส่วนกลาง(ที่ตอนนี้ดูว่า'ควรจะ'ไว้ใจได้ แต่สมัยหน้าไม่รู้นะ) เพื่อเร่งรัดหรือเพื่อควบคุมเป็นพี่เลี้ยงในระยะนึง ยังไม่ปล่อยอิสระทันที
    พอเมื่อวานได้ฟังข่าวทีวีที่ท่านรมต.แถลงก็ตอบข้อสงสัยและจุดน่าเป็นห่วงในหลายๆข้อได้ดี
    เหมือนว่าหลังการปฏิรูป(ไม่ใช่แค่การศึกษา)เดินไปแล้วเนี่ยจะออกมาในรูป"จังหวัดปกครองตนเอง"เลยแหละ แต่ไม่ใช่ปล่อยผีอย่างที่เป็นอยู่แบบ"องค์กรครู(&องค์กรท้องถิ่น)ปกครองกันเอง"

    แต่ที่ท่านบอกว่าพอใจกัน4-5แสนคน ไม่เห็นด้วยแค่2000 ท่านเอามาจากไหนกัน แค่รร.แฟนผมราวๆ50คน เมื่อวานเป็น talk of the town เท่าที่คุยกันยังไม่มีใครเห็นด้วยแม้แต่คนเดียว แทบทุกคนบอกว่าของเก่ามันก็เป็นยังเงี้ยที่เกิดระบบเจ้ายศเจ้าอย่าง จนท.กระทรวงโครตเบ่ง งานช้า เทอะทะ เหตุผลก็คล้ายกับที่หลายคน&นักข่าวถามท่านรมต.เมื่อวานคำถามนึงว่า"เป็นการถอยหลังเข้าคลองรึเปล่า?" ท่านก็ตอบชัดทำนองว่า"ถ้าของที่แก้มาใข้กันตั้งแต่ปี42 ใช้กันมาจนคุณภาพกลายเป็นแบบที่เห็นประจักษ์เนี่ย ถ้าการแก้มันแย่กว่าเดิม ไม่ควรเหรอที่จะหยุด แล้วใช้ของเดิมไปก่อน ในช่วงเร่งรัดระยะนึง"

    ณ ตอนนี้ผมเห็นคนที่ค้านมี3กลุ่มใหญ่ๆ
    - กลุ่มผลประโยชน์ -พวกเนี่ยนำมาเลย
    - กลุ่มบูชาปชต.&กระจายอำนาจ แอบแฝงทางการเมือง -ด่าทหารไว้ก่อน ชอบปั่นประเด็น สร้างข่าวเท็จ
    - กลุ่มเจตนาดี&พอมีอายุ -เข็ดกับประสบการณ์ในสมัยก่อน เข้าใจไปว่าระบบมันเหมือนเดิมเด๊ะ จึงมองว่ายังแก้ไม่ตรงจุด

    แต่ดูทรงมวย&ประเมินจากคำสัมภาษณ์เก่าของหลายท่านๆ ผมเชื่อว่ามีแผนงานรออยู่อีกหลายเสต็ป ดาบ2ดาบ3ฟันตามมาแรงๆแน่ เพราะถ้าจบแค่นี้ ผมก็จะไปอยู่ฝ่ายที่บอกว่า*ยัง*ไม่ตรงจุด เหมือนกัน
    คือสำหรับเรื่องนี้(ปฏิรูปอื่นด้วยแหละ) เพราะความเสื่อมมันสาหัสจริงๆแทบทุกวงการ ไม่ว่าจะลงดาบท่าไหนหรือดาบดีแค่ไหน ดาบเดียวมันไม่ได้ผลแน่ๆ มันต้องฟันรัวๆ
     
    Last edited: 23 Mar 2016
    ปู่ยง, อู๋ คาลบี้, gaiser และอีก 1 คน ถูกใจ.
  18. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    เรื่องแบบเรียนนี่ จำได้ว่ามีดราม่าเล็กๆเมื่อหลายปีก่อน คำชี้แจงก็เป็นตามหัวกระดาษน่ะแหละครับ เรียงอักษรไปตามที่เห็นเพื่อจำได้เร็วซะก่อน แล้วค่อยอธิบายแจกแจงความหมายของสระผสม&การผสมคำ ให้ถูกหลักการ หลังจากที่เด็กเรียงลำดับหน้าหลังได้คล่องแล้ว
    ตอนนั้นผมก็อยู่ฝ่ายด่าเหมือนกัน แต่พอคุยกับแม่ แม่บอกว่าตอนเด็กเอ็งก็เรียนจากรร.แบบเนี้ยแหละ(รร.คริสต์ครับ) จำไม่ได้รึ
    ตอนแม่สอนเอ็งแม่ก็เก็กซิม แต่พอโตมารร.เขาก็สอนอธิบายจนเข้าใจได้ดี
    ผมลองนึกทบทวนดู อ๋อ จริงแฮะ
    เหตุผลของแบบเรียนเขาก็ฟังขึ้นนะครับ ลองเทียบกับที่สมัยเด็กๆเราเรียนการลบเลข แล้วพอมาขึ้นม.1สอนว่า"การลบคือการบวกด้วยจำนวนตรงข้าม" ทุกคนคงจำได้ว่ามึนตึ้บใช่ไหมครับ พอเข้าใจแล้วก็okหมูๆ เรียนต่อไปคณิตระดับสูงขึ้นๆก็แจงย่อยกันไปได้อีกไงครับ

    ตอนหลัง ผมกลับสงสัยแบบเรียนภาษาไทยเล่มป.1ปัจจุบันมากกว่า 'ภาษาพาที' เด็กชายภูผา-บ้านเลี้ยงช้าง2ตัว โอ้โห (สมัยก่อน ผมเรียนปิติบ้านเลี้ยงม้าก็เจ๋งมากแล้วนะ) เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อไร *คงไม่ใช่ว่า*จงใจออกหนังสือใหม่มาขายเพราะหนังการ์ตูน'ก้านกล้วย'นะครับ?
    บทที่1เลยครับ มันยากไปไหม ความคล้องจองไม่ไหว-แถมมีตัวสะกดโผล่มาอีกด้วย
    ตา งา ขา หู หาง งวง
    http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121709/innovation/index.php/1
    ถ้าลองดูบทต่อๆไปจะยิ่งสะอึกขึ้นเรื่อยๆ (แต่ตรงส่วน word drilling ทำได้น่าสนใจนะครับ)

    ลองเทียบกับบทที่1มานะมานีครับ ง่าย&คล้องจองกว่ากันมาก
    http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121709/innovation/index.php/1
    หรือยุคต่อมา แก้วกับกล้า-ตามารถไฟ มีลักษณะการใช้คำ/เหตุการณ์ซ้ำๆ(คงจะแนวๆเทเลทับบี้)
    http://news.mthai.com/app/uploads/2013/08/119.jpg

    แล้วลองดูของโบราณ ที่มี word drilling อย่างดีมาก (หารูปบทที่1อีกาตาดีไม่เจอ)
    เอาป้ากะปู่กู้อีจู้ละกัน
    http://img.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2011072660319_b.jpg
     
    Last edited: 23 Mar 2016
    ParaDon, อู๋ คาลบี้, gaiser และอีก 2 คน ถูกใจ
  19. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    รายชื่อมาแล้วครับ
    http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/691925
    ประกาศกระทรวงศึกษาฯ แต่งตั้ง "18ศึกษาธิการภาค" พร้อมรองศึกษาฯอีก18ราย

    ไอ้หมอนี่ก็มาแล้ว
    http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/691920
    “จาตุรนต์” อัดใช้ม.44 ปฏิรูป ศธ.แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ไม่เข้าใจปัญหาการศึกษาในต่างจังหวัด >>>ถ้าจะถูกจุดถูกใจ คงต้องบรรจุหลักสูตร'คอมฯ'เป็นพื้นฐานตั้งแต่อนุบาลละมั๊ง

    มีมาอีก2หน่อ
    http://www.matichon.co.th/news/79045
    หมอวรงค์ แนะ บิ๊กตู่ ใช้ม.44 สั่งปฏิรูปการศึกษา เพิ่มงบ-ให้อำนาจ-เลิกประเมินแบบเก่า >>>หลายจุดน่ารับฟังครับ เชื่อว่าคสช.&รมต.คงทราบและมีแผนงานรออยู่แล้ว
    http://www.matichon.co.th/news/79032
    อดีตรมว.ศึกษาฯ ชี้คำสั่งคสช. ปฏิรูปการศึกษาไม่ตอบโจทย์ ระวังได้ก้อนอิฐ >>>จากผลงานที่ผ่านมา คหสต. อิฐปาหัวคนนี้ก่อนเลยครับ
     
    Anduril, อู๋ คาลบี้, gaiser และอีก 2 คน ถูกใจ
  20. เจ๋งเหม่งจ๋าย

    เจ๋งเหม่งจ๋าย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    8 Feb 2016
    คะแนนถูกใจ:
    22
    คำสั่งอุบาท พอการศึกษาถอยหลังไปยุคจูราสสิค
    ให้อำนาจผู้ว่า มีอำนาจเด็ดขาด แทนที่จะให้ ผอ.เขตการศึกษา และคณะกรรมการต่างๆ ดูแล

    เผด็จการยังไงมันก็เผด็จการคิดรวบอำนาจไว้หมด
     
  21. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    ขอเหตุผลที่บอกว่าพาการศึกษาถอยหลังลงคลอง

    ผอ. เขตการศึกษา นี่ คือตำแหน่งอะไรเหรอ ไม่เคยได้ยิน

    ปล หน้าด้านจังเลยนะ กระทู้นี้กับที่เอ็งตั้งกระทู้ใหม่ ตั้งเพื่ออะไร มันเป็นเรื่องเดียวกัน หรือว่าถ้าไม่ตั้งกระทู้เองแล้วเขาไม่บัตรเติมเงินเหรอ
     
    ปู่ยง และ redfrog53 ถูกใจ.
  22. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    มโนอีกแล้ว เพิ่งผ่านมา 2 วัน แมร่งบอกถอยหลัง
     
  23. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    อืม คุ้นๆแฮะ เพศหญิงแต่พูดครับ อายุ 16 ชอบทำโมโหหัวฟัดหัวเหวี่ยงเหมือนคนบ้าไม่ได้กินยาเพื่อทำให้คนอื่นดูแย่กว่าหรือใช้อ้างว่าสมาชิกคนอื่นที่คุยด้วยพูดไม่รู้เรื่องเพื่อจะหนี
     
  24. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กว่า 13 ปี กับการกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษาให้คุณให้โทษกับการบริหารการศึกษาในส่วนภูมิภาค ที่สำคัญ อกคศ.เขตพื้นที่ยังมีอำนาจใหญ่ในการแต่งตั้งโยกย้ายสอบบรรจุครู รวมถึงการพิจารณาเลื่อนขั้นวิทยฐานะครู ที่เกิดปัญหาข้อร้องเรียนมากที่สุด เรื่องความไม่โปร่งใส เงินใต้โต๊ะ และแทนที่จะวัดจากการเรียนการสอนกลับชี้วัดที่รูปเล่ม

    ชีวิตครูไทยใน 1 ปี ผลสำรวจจาก สสค.ชี้ ครูมีเวลาสอนหนังสือ 200 วัน กลับเสียเวลาไปถึง 84 วัน กับภาระที่ไม่ใช่การสอน ต้องทำเล่ม เอกสารการประเมินครู ประเมินโรงเรียน และกิจกรรมอื่น

    ล่าสุดหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมดในส่วนภูมิภาค ปรับโครงสร้างใหม่ รวมศูนย์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งตรงไปยังสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง ที่จะมีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 77 จังหวัด เป็นประธานดูแลการศึกษาตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม อาชีวศึกษา กศน.และโรงเรียนเอกชน พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนภูมิภาคด้วย

    4 เหตุผลที่ คสช.ออกคำสั่ง เพื่อบูรณาการการบริหารการศึกษาให้เชื่อมโยง แก้ปัญหาช่วงบังคับบัญชาที่กว้างไป และให้เกิดเอกภาพในการบริหารจัดการศึกษา จากแต่ก่อน สพฐ. และ อ.ก.ค.ศ.แยกกันทำงาน จากโครงสร้างใหม่เรื่องแรกที่จะทำ คือการบรรจุครูผู้ช่วยและบริหารงานบุคคล จะทำให้เกิดความคล่องตัว อาทิ การเกลี่ยหรือโยกย้ายครูข้ามเขตพื้นที่จะทำได้ดีขึ้น การบรรจุครูใหม่ ผอ.โรงเรียนมีตัวเลือกที่เหมาะสมและหมุนเวียนได้มากขึ้น รวมไปถึงการคัดเลือก ผอ.โรงเรียนและการดำเนินการทางวินัย โครงสร้างใหม่จะพิจารณาในพื้นที่ได้กว้างขึ้น



    23 มี.ค.| ข่าว 19.00 น. อำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการครู จากนี้ไปจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หลังจากโครงสร้างเดิมพบปัญหา การขาดแคลนครู และการโยกย้ายไม่เป็นธรรม

     
    ปู่ยง, Anduril, อู๋ คาลบี้ และอีก 2 คน ถูกใจ
  25. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    ถูกต้องที่สุดครับ
     
  26. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    เคยเจอ อคกศ กับ ผอ.เขต ไม่ถูกกัน สนุกมากครับ
    พิจารณาความดีความชอบ สนุกมาก

    บางเขต เอาเศษความดีความชอบของครูทั้งเขต
    ไปตั้งเป็นรางวัลโรงเรียนที่ได้ค่าโอเน็ตมาก ก็โวยวายกันไป
     
    Anduril likes this.
  27. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    http://www.matichon.co.th/news/81248
    ผอ.รร.นปช.ค้านคำสั่งม.44 ปรับโครงสร้างศธ.ภูมิภาค ทำการศึกษาล้าหลัง

    อันนี้ผมไม่รู้จริงๆครับ รู้จักแต่ชื่อครับ เคยลองหาข้อมูลดูก็เห็นแต่คลิปตู่เต้นเหวงธิดาและคณะ ก็เลยไม่ได้สนใจอีกเลย
    วานถาม
    เป็นรร.แบบไหน สอนอะไร สอนป.ไหนถึงม.ไหน หรือว่าเป็นกศน. หรืออื่นๆ ?
    สังกัดสพฐ. กศน. อาชีวะ เอกชน หรืออะไร หรือว่าไม่เกี่ยวกับศธ.แต่เป็นสมาคม/มูลนิธิเฉยๆ ?
     
  28. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    หาไม่เจอครับ ไม่รู้แมร่งได้รับใบอนุญาต หรือเปล่า แล้วเปิดสอนระดับไหน
     
  29. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    โรงเรียนการเมืองฝั่งตรงข้ามที่ขอออกความเห็นด่ารัฐบาลทหาร มั้ง
     
    ปู่ยง likes this.
  30. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    องค์กรใหม่ดูแลการศึกษาตามมาตรา 44
    2016/03/24 8:38 PM

    กรุงเทพฯ 24 มี.ค.-จากกรณีที่ คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 ปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของไทยเป็นแบบรวมอำนาจขึ้นต่อจังหวัดโดยตรง นักวิชาการมองว่ารูปแบบการบริหารงานแบบนี้อาจทำให้การทำงานช้าลง

    ความไม่เป็นธรรมในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายครู และการล้างบางอำนาจ คือเหตุผลที่ คสช. ใช้มาตรา 44 ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาไทย จากการกระจายอำนาจบริหารแบบเขตพื้นที่การศึกษา เป็นไว้ที่จังหวัดโดยตรง

    เดิมการโยกย้ายครู เขตพื้นที่การศึกษาต้องเห็นชอบทั้งต้นและปลายทาง และการปฏิรูปการศึกษาแบบรวมศูนย์ นอกจากจะลดความไม่เป็นธรรมในการโยกย้ายแต่งตั้งบุคลากรแล้ว ยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของแต่ละพื้นที่ด้วย

    ก่อนปี 2542 การศึกษาภูมิภาค บริหารแบบองค์รวม โดยนโยบายของกระทรวงถูกส่งผ่านไปยังศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ และโรงเรียน แต่เมื่อ พ.ร.บ.การศึกษาปี 2542 บังคับใช้ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ศึกษาธิการจังหวัดและอำเภอถูกยุบ และตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแทน ปัจจุบันมี 225 เขต ดูแลนโยบายและบุคลากร ผ่านมา 17 ปี

    การบริหารที่ต่างคนต่างทำ ไม่โปร่งใสในการบรรจุและโยกย้ายครูสะสม ขณะที่ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษามีมากขึ้น มาตรา 44 จึงยกแผงใหม่ ยุบเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด พร้อมดึงอำนาจบริหารไปที่ศึกษาธิการจังหวัดแบบเดิม โดยเพิ่มศึกษาธิการภาค พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษามาดูแลด้วย

    นักวิชาการเชื่อว่าวิธีนี้ช่วยเกลี่ยครู ลดความเหลื่อมล้ำได้ แต่การบรรจุและโยกย้ายที่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องคงไม่หมด แนะนำควรใช้ในระยะสั้นเท่านั้น เพื่อป้องกันการแทรกแซงทางการเมือง การปฏิรูประบบบริหารการศึกษาแบบฟ้าผ่ายกชุดครั้งนี้ แม้ดูผิวเผินจะเหมือนกับการย้อนอดีต แต่ผู้คนในแวดวงการศึกษาเชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีสิ่งดีเกิดขึ้น เสมอ.-สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/431827
     
    Anduril, Alamos, อู๋ คาลบี้ และอีก 2 คน ถูกใจ
  31. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    ตัวอย่างสื่อเสี้ยม มโนเขียนข่าว
    ส่งต่อกันในไลน์ในวงการครู
    1459164540211.jpg
    ดูชื่อสำนักพิมพ์แล้ว ละเหี่ยใจจริงๆ
     
    temp, อู๋ คาลบี้, Anduril และอีก 1 คน ถูกใจ.
  32. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    ไอ้สำนักพิมพ์นี้แหละ ที่ลงข่าว ครูอึ๊บกันตายคาโรงแรม
     
  33. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    แล้วไอ้สำนักพิมพ์นี้แหละ ที่พิมพ์พาดหัวข่าวผิดตอน Bike for mom
     
  34. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/692494
    สั่งแต่งตั้ง 'ศธจ.-รองศธจ.' กว่า154ราย-ครบ77จังหวัด

    ของบางจังหวัด มีบางชื่อที่พอจะเคยได้รู้ประวัติ,ผลงาน ที่มีเคยข้อกังขา และอาจยังคงกระทำต่อเนื่องอยู่ด้วยซ้ำ
    แม้จากร้อยกว่าชื่อจะมีที่ผมรู้จักแค่ไม่กี่ชื่อ แต่ขนาดรู้แค่นิดเดียวนี้ก็ยังสะดุดใจตั้งหลายหัวอยู่นะ ถ้ารู้จักส่วนเยอะจะนับได้อีกตั้งเท่าไรกัน? เชื่อว่าคนที่ทำดีก็มีเยอะและเป็นส่วนใหญ่ แต่บางคนนี่ไม่ควรแม้แต่จะยอมปล่อยให้ทำหน้าที่รอไปพลางในเปลี่ยนผ่านชั่วคราวเลย(บางคนไม่น่าจะได้เป็นขรก.ด้วยซ้ำ) เพราะผลกระทบความเสียหายที่จะเกิด(และ/หรือเกิดแล้ว)กับรร.และเด็กยังคงเกิดได้ต่อเนื่อง-ไม่ต่างกับก่อนที่ปรับโครงสร้าง และถ้าหัวหน้างานไม่ดี-การปฏิรูปก็คงไม่สามารถเดินไปด้วยดี
    วันที่เปิดทีวีฟังท่านแถลง ได้ยินว่ามีเรื่องวินัยค้างอยู่ที่เขตร่วม3ปี(นำพิจารณาที่เขต แปลว่าเป็นเรื่องของระดับผู้บริหารใช่ไหมครับ?) นับได้กว่าร้อยเรื่องจาก70กว่าเขตพื้นที่ ย่อมอนุมานได้ว่าจำนวนเรื่องที่โดนเป่า/อุ้มกันไปก่อนเข้าสู่ชั้นวินัยยิ่งเยอะกว่านั้นมาก เชื่อว่าท่านมีข้อมูลอยู่แล้วว่าคนไหนมีประวัติดี/เสีย หรือมีการร้องเรียน/สนเท่ห์ ทั้งชนิดที่เป็นชั้นวินัยแล้ว/ยังไม่เป็น ทั้งเรื่องที่รายงานไม่ถึงมือท่าน/เคยเข้าถึงมือท่านโดยตรง
    ขอบ่นว่าเสียดายครับ ที่อุตส่าห์ใช้ดาบม.44 เปลี่ยนโครงสร้างแล้ว แต่ไม่รื้อตัวหัวหน้างานให้เรียบร้อย :cry:

    ยังใจชื้นนิดนึงว่า ยังเป็นแค่"ปฏิบัติหน้าที่" แค่ทำไปพลางใช่ไหม? แค่ให้งานธุรการหรืองานรูทีนเดินได้ ใช่ไหม?
    ผมยังหวังให้ปิดช่องทางของคนไม่ดี ให้เหลือแต่คนดีๆที่ฝากให้ดูแลเดินระบบเพื่อลูกหลานได้ ใช่ไหมครับท่านนายก&ท่านรมต. :nod:

    ขอปิดโดยอัญเชิญบทนี้ครับ
    "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
     
  35. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พิกัดข่าวเช้า : Scoop : เบื้องหลัง ทะลุทะลวงป้อมค่ายเสมา
     
    นิจนิรันดร์ และ temp ถูกใจ.
  36. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    แค่ประกาศแต่งตั้งศธจ.และรอง.ชั่วคราวได้2-3วัน อึ่งอ่างพองลมกันใหญ่แล้ว
    ไม่มีลิ้งค์ข่าวนะครับ เป็นสถานการณ์ที่ผ่านตาผ่านหูมา แจ้งเผื่อผู้มีอำนาจได้ทราบ ว่ามีขั้วอำนาจที่หลงหูหลงตาหรือบางส่วนอาจปนอยู่กับคนที่ท่านใช้งานอยู่ด้วยซ้ำ

    ณ ตอนนี้กศจ.ยังไม่เป็นตัวเป็นตน อกคศ.เขตก็ลงหลุมไป เท่ากับว่าบุคคลเดิมๆจากเขตพื้นที่ ซึ่งมาได้รับตำแหน่งศธจ.และรอง. มีอำนาจอยู่ในมือตนเองยิ่งกว่าเมื่อตอนควบคุมแค่เขตพื้นที่เดียวเสียอีก กลุ่มก๊วนส่วนนึงจึงคึกคักมาก ตั้งแต่เจ้าตัวหัวจังหวัดที่มีเครือข่ายอิทธิพล-ผอ.รร.ที่อ้างว่ามีสายสัมพันธ์-ครูลิ่วล้อ-แก๊งทำมาหากินกับงบรร.

    ที่ได้ข่าวมานี่ บางรร.มีการเตรียมตัวเปิดเกมไล่เชือด-สร้างสถานการณ์ให้เกิดความเสียหายในตำแหน่งหน้าที่-ยัดข้อหา แก่ครูที่ไม่เข้าร่วมก๊วน หรือที่เคยขัดขวางการทุจริตของเหล่าก๊วนมาก่อน จะกลายเป็นเทศกาลล่าแพะ/ตีเมืองขึ้นแล้วนะ ไวมากเลย สายอำนาจเพิ่งเห็นชัดได้2-3วันเอง
    คำข่มขู่เพื่อให้ศิโรราบ ว่าจะใช้(ยัด) พรบ.ครูม.86(วินัย)กับปอ.157(ละเว้น) ปลิวว่อนเลย ที่แย่ก็คือ แทนที่จะเป็นการป้องกันปราบปรามความมิชอบในวงราชการ-การศึกษา คำเหล่านี้กลับพ่นออกมาจากปากผู้ที่เคยได้รับการเป่า/อุ้มจากระดับเขต ทั้งสิ้น ย้อนใส่ยังผู้ที่ไม่เอาด้วย งูพิษที่เคยโดนตีแล้วไม่ตายเพราะได้หมอดีCสูงช่วยรักษา งูจะได้โอกาสกลับมาฉกแล้ว

    เชื่อครับ ว่าท่านๆคสช.ใช้ม.44ด้วยดุลพินิจทุกครั้งทุกกรณี
    แต่สำหรับบางคน ดุลพินิจ=อำเภอใจ ก๊วนใต้อาณัติจึงกล้าแสดงอหังการ อันนี้ปัญหาเกิดที่ตัวบุคคลรายคนที่ฉวยโอกาสจากระบบ ม.44สำหรับศธ.รอบนี้ แก้ไขโครงสร้างแล้ว แต่ยังไม่ได้แก้ตัวบุคคล ถ้าไม่รีบป้องกันจะบรรลัยนะครับ ไม่ใช่แค่ป้องกันแหละ มันเกิดขึ้นแล้ว ต้องใช้คำว่ารีบแก้ไขจะถูกกว่า

    ปล. อันนึงที่ทราบมาโดยตรง เป็นสถานการณ์ในรร.เล็กแต่วัดบิ๊กเนมแห่งนึง ครูดีๆโดนตีระส่ำกันมากครับ ครูเหลือบไรต่างยิ้มร่า ไม่ใช่จังหวัดไกลเลย ถ้าเรียงจังหวัดตามตัวอักษรก็แป๊บเดียวถึง แต่ขอไม่ระบุเจาะจงดีกว่า เพราะไม่รู้ว่าหัวจังหวัดรู้เห็นเข้าข้างจริงอย่างที่เจ้าตัวผอ.เขาอ้างไหม (แต่เมื่อคราวที่เคยอุ้มน่ะชัดเป๊ะ)
     
    Last edited: 30 Mar 2016
    Anduril และ อู๋ คาลบี้ ถูกใจ.
  37. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ปัญหาเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออกยังน่าเป็นห่วง ล่าสุดสำรวจพบมีมากถึง 200,000 คนที่อ่านไม่ได้เลย และอีกกว่า 200,000 คนที่แค่พออ่านได้

    สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจการอ่านของคนไทย ทุกๆ 2 ปี ล่าสุดปี 2558 พบคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเป็น 66 นาทีต่อวัน จากเดิมเมื่อปี 2556 อยู่ที่ 37 นาทีต่อวันเท่านั้น โดยกลุ่มที่อ่านมากที่สุดคือ เด็กและเยาวชนทุกช่วงวัย

    สาเหตุที่ชั่วโมงคนอ่านเพิ่มขึ้น เพราะเป็นปีแรกที่นำการอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาร่วมสำรวจด้วย และพบว่าเด็กวัยรุ่นนิยมอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดถึง 83.3 เปอร์เซนต์ รองลงมาคือหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นข้อดีช่วยให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย รวดเร็ว แต่ยังเป็นการอ่านแบบฉาบฉวย ขาดการคิดวิเคราะห์ เมื่อเมื่อเทียบกับการอ่านผ่านรูปเล่มแล้ว ผู้อ่านจะมีสมาธิ คิดวิเคราะห์เนื้อหาได้ดีกว่า

    ถึงแม้อัตราการอ่านของเด็กจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังพบเด็กไทย ตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.3 อ่านไม่ออกถึง 200,000 คน และอีก 250,000 คน อ่านได้แต่ไม่คล่องนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไข โดยเริ่มจากสร้างแรงจูงใจตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ มีพ่อแม่คอยอ่านหนังสือให้ฟัง เด็กเกิดมาจะเป็นผู้รักการอ่าน
     
    อู๋ คาลบี้, temp, Anduril และอีก 1 คน ถูกใจ.
  38. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    คิดถึง มานะ มานี หนังสือดี ที่ควายแดงอ่านไม่ออก

    655473893847656473.png


    98765849302-30948757382.png
     
    อู๋ คาลบี้, maya, temp และอีก 1 คน ถูกใจ.
  39. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    แต่เสียดาย ที่คนนำความทรงจำวัยเยาว์ มาปู้ยี่ปู้ยำเพื่อเล่นการเมือง ผ่านเพจหนึ่งในเฟซบุ๊กครับ
     
    temp และ ปู่ยง ถูกใจ.
  40. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    “ดาว์พงษ์” ลงนามประกาศเรียนฟรีแล้ว
    โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 พ.ค. 2559 05:45

    EyWwB5WU57MYnKOuiJyf8G2EJ3Cn06lwTw527x4rcvwDHvJQ751tv4.jpg

    เครื่องยืนยันรัฐยังหนุน 15 ปี พร้อมโอบอุ้มเด็กพิเศษและด้อยโอกาส
    ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำกฎหมายให้ชัดเจนว่ารัฐบาลสนับสนุนการศึกษาตั้งแต่ป.1 ถึง ม. 6 เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจว่ารัฐบาลจะยังสนับสนุนการศึกษาฟรีจนถึง ม.ปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เหมือนเดิมนั้น นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามในประกาศ ศธ.เรื่อง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกาศใช้แล้ว โดยสาระสำคัญระบุว่าค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา หมายถึงงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สถานศึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 รายการ ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั้งสามัญและอาชีวศึกษา

    นพ.กำจรกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังระบุถึงการศึกษาพิเศษ ที่เป็นการจัดการศึกษารูปแบบโดยเฉพาะ และอาศัยเทคนิคต่างๆในการสอนตามลักษณะความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล และการศึกษา สงเคราะห์ หมายถึง การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่ตกอยู่ในภาวะยากลำบาก หรืออยู่ในสภาพที่ด้อยกว่าเด็กทั่วไป เพื่อให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีพัฒนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย ทั้งนี้ให้ รมว.ศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาทุกระดับ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนเป็นประจำทุกปี ตามอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตามที่ รมว.ศึกษาธิการกำหนด.

    http://www.thairath.co.th/content/625249

    Untitled.png





    เปิดยุทธศาสตร์แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่
     
    Last edited: 27 May 2016
    หนูอ้อย และ kokkai ถูกใจ.
  41. ่johnyoter

    ่johnyoter สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    246
    รวมอำนาจเข้าส่วนกลางอีกแล้ว.... เขาไม่เรียกปฏิรูปมั้ง
     
  42. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พาไปดูเรื่องการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นกัน ที่จังหวัดอาคิตะ เป็นจังหวัดที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในอันดับต้นๆของประเทศ อะไรทำให้การเรียนการสอนของที่นี่ได้มาตรฐาน ติดตามได้จากรายงาน

    ภาพเด็กๆกำลังเคลื่อนไหวตามกระดาษหนังสือพิมพ์แผ่นบางๆที่อาจารย์ขยับโยกไปมา เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในวิชาพละศึกษาของเด็กๆชั้นประถมโรงเรียนประจำจังหวัดอาคิตะในประเทศญี่ปุ่น วิชาเดียว เด็กๆได้สนุกสนานกับการทำท่าทาง ได้ออกแรงตาม และยังได้ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตด้วย การเรียนการสอนในลักษณะแบบนี้เป็นเพียงหนึ่งวิธีที่ครูชาวญี่ปุ่นมักหยิบมาใช้นอกจากจะเรียนแต่ในตำรา

    ชาติที่พัฒนาแล้วในโลกมักจะให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นหลัก อย่างญี่ปุ่นการศึกษาของเด็กนักเรียนถูกปูพื้นฐานกันตั้งแต่เล็ก ความมีระเบียบ ความมีวินัย เริ่มต้นมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล ในโรงเรียนเด็กๆจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการเอาตัวรวดทั้งในชีวิตประจำวัน จากภัยพิบัติ การอยู่รวมกันในสังคม ซึ่งไม่ใช่แค่ถูกปลูกฝั่งเฉพาะใน รร.เท่านั้น ที่บ้าน พ่อแม่ผู้ปกครองก็มีส่วนต้องช่วยครูในการสอนเด็กๆเช่นกัน เมื่อขยับขึ้นมาเรียนระดับชั้นประถม เด็กได้ฝึกคิด วิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติและทำงานเป็นกลุ่ม รูปแบบการเรียนดูจะคล้ายกันในหลายๆประเทศ บรรยากาศในห้องเรียน เนื้อหาวิชาดูไม่แตกต่างกันสักเท่าไร แต่ว่าชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในการสนับสนุนให้เด็กระดับประถม มัธยมมีกิจกรรมทำหลังเลิกเรียน อย่างการเล่นกีฬาหรือศิลปะ ซึ่งถูกใส่ไว้ในหลักสูตรด้วย

    มิสเตอร์ ซูซูมุ โยเนตะ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดอาคิตะ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจนะครับ ว่า สิ่งที่ทำให้ระบบการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นมีมาตรฐานสูง ส่วนหนึ่งนั้นมาจาก การที่นักเรียน ครู และคนในพื้นที่ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเด็กนักเรียนญี่ปุ่น หรือชาวญี่ปุ่นเป็นคนขยัน ทำงานหนัก ซึ่งนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การศึกษาของประเทศขึ้นเป็นอันดับต้นๆ การศึกษาของญี่ปุ่นถ้าเทียบกับประเทศอื่นอยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานมาก และมักให้ความสำคัญกับพื้นฐาน การอ่าน-เขียน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด นอกจากนี้ยังปลูกฝังให้เด็กมีความกล้าแสดงออก ร่วมไปถึงโลกที่เปลี่ยนไปภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ดังนั้นจึงต้องเน้นการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพิ่มเต็มเข้ามาในหลักสูตรด้วย

    สิ่งที่มิสเตอร์ ซูซูมุ โยเนตะ ได้เล่าให้ฟังไว้สอดคล้องกลับการเรียนการสอนที่มีการปรับปรุงไปตามยุคสมัย อย่างการศึกษาระดับมัธยมหรือแม้แต่ในรั่วมหาวิทยาลัย จะมีหลักสูตรที่เน้นภาษาอังกฤษมากขึ้น ที่จังหวัดอาคิตะก็มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนแบบหลักสูตรอินเตอร์ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร มีนักเรียนแลกเปลี่ยนเข้ามาเรียน มีห้องสมุดขนาดใหญ่ให้นักศึกษาหาความรู้ บวกกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สิ่งเร้าที่หาไม่ได้ใกล้ๆกับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ร่วมถึงการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เหล่านี้ล่ะครับทำให้ระบบการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นได้มาตรฐาน แม้ระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นจะถูกยกให้อยู่ในระดับต้นๆแล้วก็ตามแต่เห็นได้ชัดว่าชาติที่พัฒนาแล้วยังไม่หยุดหรือย้ำอยู่กับที่ โดยเฉพาะเรื่องพื้นฐานสำคัญอย่างการศึกษาและการพัฒนาบุคคลกรของชาติ ที่ถือเป็นกำลังหลัก มองเห็นจุดด้อยของตัวเองและพยายามปรับปรุงเพื่อให้คงไว้ซึ่งมาตรฐานและเป็นที่น่าจับตา
     
    หนูอ้อย likes this.
  43. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ที่จริงไม่ต้องไปดูงานหรอก ตามดูรายการ Dohiru by Fuji Fujisaki รายการ ดูให้รู้
    https://www.facebook.com/Dohiru/?fref=nf ที่ไทยพีบีเอส ก้อพอ ดูแล้วนำมาทำให้ได้จริงเพียงครึ่งเดียว ดีกว่าไปเดินเที่ยวทำจริงแถบไม่ได้ อยากรู้ตรงไหนบอกรายการเขาไปทำ แค่สนับสนุนรายการแต่นั้นเอง ได้ประโยชน์ถูกกว่าไปเที่ยว
     
    temp likes this.
  44. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรุงเทพฯ 31 พ.ค.-ปัญหาที่เกิดขึ้นของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยคือ การเปิดหลักสูตรพิเศษที่ด้อยคุณภาพ เรียนง่ายจบเร็ว โดยต้องการรายได้จากผู้เรียนเข้าสู่สถาบันในแต่ละแห่ง ทำให้บางหลักสูตรไม่มีบุคลากรที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการเรียนการสอน รวมถึงปัญหาการบริหารงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ฉุดคุณภาพการศึกษาเด็กให้ต่ำลงจนไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้

    หลายเหตุขัดแย้งในวงการอุดมศึกษา ทั้งศึกผู้บริหารในสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สู่โศกนาฏกรรมการเสียชีวิตของ 3 ดอกเตอร์ ผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาลในการปกครอง ทั้งครูไม่รู้จักหน้าที่เป็นต้นเหตุของปัญหาที่สังคมกังขา

    ปัญหาธรรมาภิบาลในหลายมหาวิทยาลัย ต้นตอมาจากผลประโยชน์ โดยเฉพาะหลังปี 2542 มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ต้องหาทางรอด ผ่านการเปิดหลักสูตรภาคพิเศษที่ทำรายได้สูงกว่าภาคปกติถึง 4 เท่า ครูจึงไขว่คว้าหนทางเพื่อให้ได้สอน

    อาจารย์นุกูล เป็นครูมา 31 ปี มองว่า ระบบบริหารงานในมหาวิทยาลัยมีปัญหา ผู้บริหารจะทำอะไรก็ได้ ทั้งครูไม่มีกฎระเบียบ ไม่ใส่ใจเด็ก มุ่งหารายได้เสริมจนลืมสอน

    มรภ.สวนสุนันทา เปิดหลักสูตรภาคพิเศษมาแล้ว 19 รุ่น ยืนยันไม่มีปัญหานี้ มีเกณฑ์มาตรฐาน เฟ้นหาครูคุณภาพ ชี้ธรรมาภิบาลกับงานวิชาการต้องชัดเจน ครูคำนึงคุณภาพเด็กมากกว่าค่าตอบแทน ให้มหาวิทยาลัยมีอิสระในการทำงาน คือหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา แม้แต่ละแห่งมีกฎหมายควบคุมการบริหารงาน แต่มีอย่างหลวม สกอ. ตรวจสอบเกือบไม่ได้ ปัญหาจึงสะสม วิธีแก้คือ สกอ. ต้องกรองร่างกฎหมายให้รอบคอบ หรือกำหนดให้ใช้กฎหมายที่มีมาตรฐานเดียวกัน

    หลักสูตรภาคพิเศษเกิดขึ้นเพื่อป้อนความต้องการของนักศึกษา อาจารย์ มหาวิทยาลัย ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งสะท้อนค่านิยมในการเรียนเพื่อปรับวุฒิ แต่ไม่เน้นคุณภาพ โดยเฉพาะหลักสูตรบริหารการศึกษาของผู้ที่จะมาบริหารสถานศึกษา ทุกๆ เดือนคุรุสภาออกใบประกอบวิชาชีพให้ครูกว่า 1,000 ใบ ที่ผ่านมาออกมาแล้วกว่า 2 ล้านใบ ทั้งๆ ที่มีเก้าอี้ผู้บริหารเกือบ 100,000 เท่านั้น .-สำนักข่าวไทย



    กรุงเทพฯ 1 มิ.ย.-หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษที่ส่วนใหญ่เปิดสอนในระดับปริญญาโทและเอก นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน โดยเฉพาะผู้ที่มีงานประจำ ยังสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นที่มาของผลประโยชน์ทับซ้อน และฉุดรั้งคุณภาพของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือระดับปริญญาโทและเอกให้ตกต่ำลง

    บริหารการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการอุตสาหกรรม คือ 3 หลักสูตรภาคพิเศษที่จัดขึ้นเพื่อนำวุฒิไปเลื่อนขั้นการทำงาน โดยเฉพาะหลักสูตรบริหารการศึกษา มีมหาวิทยาลัยในกำกับของ สกอ. เปิดสอนทั้งระดับปริญญาโทและเอก รวม 47 แห่ง มีผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ 5,000 คน ที่มีผู้เรียนจำนวนมาก มาจากคุรุสภาออกเกณฑ์ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องจบหลักสูตรบริหาร โดยออกใบประกอบวิชาชีพไปแล้วเกือบ 2 ล้านใบ ค่านิยมอยากเป็นผู้บริหาร ส่งผลให้อาจารย์วิชาเอกลดลง ปัจจุบันขาดครูวิทยาศาสตร์ 2,000 คน มีครูสอนไทยทั้งที่ไม่จบเอกไทย 8,000 คน

    มหาวิทยาลัยมุ่งรายได้ เปิดหลักสูตรผู้บริหาร แต่เลือกผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์ คุรุสภาเร่งปรับเกณฑ์เลือกผู้บริหารต้องมีประสบการณ์ 10 ปี และจะจัดสอบอีกครั้งเพื่อใช้มาตรฐานเดียวกัน หลังจำกัดการเปิดหลักสูตรไม่ได้

    มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดหลักสูตรพิเศษ เพราะจบง่ายและสร้างรายได้ให้ครู โดยครู ป.โท เฉลี่ยชั่วโมงละ 3,000 บาท ต่างจาก ป.ตรี ที่ได้ชั่วโมงละ 500 บาท ร้อยละ 80 ของรายได้การเปิดหลักสูตรเป็นเงินเดือนและการดูงานต่างประเทศ ทำให้อาจารย์เร่งปรับวุฒิเพื่อได้สอน

    เกณฑ์ของคุรุสภากลายเป็นจุดบอดการศึกษา ผู้บริหารไม่มีความรู้เฉพาะ ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรและบัณฑิตได้ไม่ดีพอ มหาวิทยาลัยหลายแห่งเน้นจำนวน ไม่พัฒนาคุณภาพ ทั้งใช้เงินรัฐส่งไปเรียนต่อ ปีที่ผ่านมามีอาจารย์จบปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศเกือบ 13,000 คน

    ข้อมูลจาก สกอ. ในปี 2556 ระบุรายได้มหาวิทยาลัยจากการเปิดหลักสูตรพิเศษและอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากรัฐ สูงเกือบ 60,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้เหล่านี้อาจตอบสนองมหาวิทยาลัย แต่ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ.-สำนักข่าวไทย



    จ่อใช้ ม.44 แก้อุดมศึกษา ระดมทีมกฎหมายหาทางแก้ปัญหา



    กรุงเทพฯ 2 มิ.ย.-ปัญหาธรรมาภิบาล การเปิดหลักสูตรพิเศษ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน สะท้อนด้านมืดของอุดมศึกษาไทยที่สะสมมานานหลายปี แต่ขณะนี้ปัญหาต่างๆ เริ่มเห็นภาพชัดขึ้น เนื่องจากคุณภาพการศึกษาไทยลดลง และหลายฝ่ายได้ออกมาเสนอให้ปรับแก้ ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัย ภาครัฐ และประชาสังคม

    สถาบันอุดมศึกษา แหล่งผลิตบุคลากรเพื่อพัฒนาประเทศ เบื้องหลังความงามกลับซ่อนอำนาจมืด ผู้บริหารมองมหาวิทยาลัยเป็นธุรกิจการศึกษา เอาเด็กเป็นตัวประกันเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์

    หลักสูตรพิเศษคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้สังคมเข้าใจสภาพความขัดแย้งในมหาวิทยาลัยได้ชัดขึ้น เลขาฯ ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ชี้หน้าที่ครูคือสอน ทำวิจัย และบริการงานวิชาการ หารายได้แต่ต้องแลกด้วยงานคุณภาพ ทั้งการจัดการของผู้บริหารต้องเป็นธรรม ไม่เข้าข้างพวกพ้อง เสนอ สกอ. ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยออกเกณฑ์กลางเพื่อกระจายค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม

    อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้เปิดหลักสูตรที่มีคนสนใจเรียนมากไม่ได้แสดงถึงคุณภาพ ทั้งย้ำปัญหาภายในสถาบันอุดมศึกษาเกิดขึ้นจากหลายส่วน อาทิ เกณฑ์ของ สกอ. ในการควบคุมมหาวิทยาลัยอ่อนเกินไป ระบบประเมินคุณภาพผิดทิศทาง ขาดตัวชี้วัดมาตรฐาน ผลิตคนไม่ตรงความต้องการประเทศ ทั้งระบบงบประมาณมุ่งจ่ายแค่เงินเดือน สร้างตึก แต่ไม่พัฒนาเด็ก มหาวิทยาลัยจะอ้างความเป็นอิสระเกินไปไม่ได้ ภาคสังคมควรมีส่วนร่วมในกลไกกำกับการทำงาน ประเทศจะได้พัฒนาอย่างถูกทิศทาง

    ปัญหาภายในมหาวิทยาลัยคล้ายเป็นคลื่นใต้น้ำที่รอวันปะทุขึ้น อาจารย์หลายคนตกเป็นเหยื่อทางการศึกษา ปมปัญหาเดิมๆ ยังไม่ถูกแก้ กระทรวงศึกษาฯ จึงควรตระหนักและเร่งแก้ไขในยุคที่เร่งปฏิรูปการศึกษาเช่นนี้.-สำนักข่าวไทย



    รมว.ศึกษาธิการ เผยอยู่ระหว่างหารือฝ่ายกฎหมายใช้กฎหมายปกติแก้ปัญหาอุดมศึกษา หากไม่ได้อาจจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ชี้มหาวิทยาลัยทำดีอยู่แล้วไม่ต้องกังวล ยกเว้นมหาวิทยาลัยที่มีปัญหาต้องปรับตัว

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ บอกว่า การแก้ไขปัญหาอุดมศึกษานั้น อยู่ระหว่างหารือร่วมกับฝ่ายกฎหมายว่าจะใช้กฎหมายปกติเข้ามาแก้ไข หากไม่ได้ก็จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ซึ่งขณะนี้ยังดูรายละเอียดต่างๆ อยู่ อาจจะใช้กฎหมายพิเศษ ม.44 หรือออกเป็นมาตรการเพื่อกำกับดูแล จะมุ่งให้เกิดประโยชน์ในภาพรวม กำกับดูแลให้ดำเนินการบริหารต่างๆ เป็นไปอย่างที่ถูกที่ควร ไม่ใช่เพื่อมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่ง มหาวิทยาลัยใดที่ทำดีอยู่แล้วคงไม่ต้องปรับตัว ยกเว้นมหาวิทยาลัยที่มีปัญหาในการบริหารจัดการก็อาจจะต้องปรับตัว

    ขณะที่ นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ.บอกว่า ปัญหาของอุดมศึกษาเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ทั้งการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและรับนักศึกษาจำนวนมากโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ จนทำให้บัณฑิตปริญญาโทและปริญญาเอกล้นตลาด แต่ปัญหาทั้งหมดคงโทษใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ รวมถึงปัญหาธรรมาภิบาล ซึ่งระบบที่มีอยู่ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ หากจะใช้กฎหมายพิเศษ ม.44 ก็เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาล ดูแลเฉพาะปัญหาที่เรื้อรังซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาเท่านั้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยที่ปฎิบัติดีไม่ต้องกังวล

    ส่วนกรณีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีที่กรรมการคุรุสภามีมติไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ให้แก่นักศึกษา 2,500 คน เนื่องจากม.กรุงเทพธนบุรีขออนุญาตเปิดหลักสูตรกับ สกอ. 500 คน แต่รับนักศึกษา 2,000 คน ซึ่งเท่ากับว่าการผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับการขอเปิดหลักสูตรและยังไม่มีคุณภาพด้วย อาจเป็นไปได้ว่าถ้าประกาศใช้กฎหมายพิเศษ ก็จะเป็นหนึ่งหลักสูตรที่ต้องเข้าไปดำเนินการ
     
    Last edited: 14 Jun 2016
    temp likes this.
  45. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ออกกฎหมายเรียนฟรี 15 ปี ศธ.เล็งใช้มาตรา 44 เพื่อความรวดเร็ว

     
    Last edited: 14 Jun 2016
  46. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    วันนี้มีความคืบหน้าเรื่องการศึกษา ที่เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 28/2559 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

    โดยคำสั่งระบุชัดเจนว่า “การศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี” หมายความว่า การศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล) (ถ้ามี) ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 3 ) หรือเทียบเท่า และให้หมายความรวมถึงการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์ด้วย

    กลุ่ม“การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า การจัดการศึกษาให้แก่บุคคลซึ่งมีความผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งจําเป็นต้องจัดการศึกษาให้เป็นรูปแบบโดยเฉพาะ และ“การศึกษาสงเคราะห์” หมายความว่า การจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ตกอยู่ในภาวะยากลําบาก หรืออยู่ในสถานภาพที่ด้อยกว่าเด็กทั่วไป หรือที่มีลักษณะเป็นการกุศล

    ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องดําเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ให้มีมาตรฐานและคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีกําหนดอัตรา ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา 15 ปี เพื่อเสนอตามกระบวนการจัดทํา งบประมาณรายจ่ายประจําปี ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ครอบคลุม

    (1) ค่าจัดการเรียนการสอน (2) ค่าหนังสือเรียน (3) ค่าอุปกรณ์การเรียน (4) ค่าเครื่องแบบนักเรียน (5) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (6) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

    คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือตั้งแต่วันนี้ ขณะเดียวกัน ให้กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้แทน และขยายผลต่อจากคำสั่งนี้แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ และกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด

    ส่วนอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีผลใช้อยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าครม.จะมีการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15ปี

    เรื่องการศึกษานี้ ถือเป็นจุดอ่อนหนึ่งในร่างรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายการเมืองบางกลุ่มวิจารณ์ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ระบุเรื่องการศึกษาไว้ในมาตรา 54 ให้ทุกคนได้รับการศึกษา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จนถูกวิจารณ์ว่าเป็นการเรียนฟรีนับตั้งแต่อนุบาล จนถึงม.3 จากเดิมถึง ม.6

    แน่นอนว่าการใช้คำสั่งม.44 นี้ทำให้รัฐบาลคสช.สร้างความมั่นใจเรื่องการเรียนฟรี ได้ 15 ปี

    "วิษณุ"ชี้ม.44 หลักประกันเรียนฟรี 15 ปี

    “วิษณุ”ยัน ม.44 ให้เด็กเรียนฟรี 15 ปี ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เตรียมเสนอ ครม.ออกเป็น พ.ร.บ.ภายใน 6 เดือน เป็นหลักประกันทางการศึกษา ได้ฟรีต่อแม้ร่างรธน.จะไม่ผ่านประชามติ

    นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงคำสั่งเรื่องเรียนฟรี 15 ปีนี้ว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ยืนยันว่าไม่ขัดกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่อยู่ระหว่างการรอลงประชามติ และไม่ขัดกับกฎหมายการศึกษาที่ใช้อยู่ คือกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ตั้งแต่ป.1 จนถึง ม.3 ส่วนกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ใช้อยู่ กำหนดไว้ 12 ปี ได้ขยายเป็น 15 ปี จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่รัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์จนถึงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ที่ผ่านมาระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดเรียนฟรีไม่ชัดเจน และขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละรัฐบาลที่เข้ามา ทุกอย่างต้องวัดดวงอยู่ที่นโยบาย

    คำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับนี้ เป็นฉบับแรกที่ยอมอ้างถึงมติคณะรัฐมนตรีรัฐบาลอื่น และเพื่อเป็นหลักประกันว่าอนาคตจะยังคงใช้อยู่ ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนจึงเตรียมกำหนดไว้เป็นพระราชบัญญัติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 6 เดือน ก่อนเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา พร้อมยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ



    เรียก สพฐ.ถกเรียนฟรี 15 ปี "ดาว์พงษ์" ชี้ต้องเกิดประโยชน์สูงสุด



    ปัจจุบัน อาคิตะ ได้รับการยอมรับว่าเป็นจังหวัดที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศซึ่งล่าสุด อาคิตะก็เพิ่งมีการเซ็น MOU กับโรงเรียนในไทยอีก 2 แห่ง เพื่อพัฒนาความร่วมมือในการเรียนรู้แบบบูรณาการ

    นอกจากจังหวัดอาคิตะจะมีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และความผสมผสานของเสน่ห์ทางวัฒนธรรมและวิธีชีวิต อาคิตะ ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นจังหวัดที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น นั่นก็เป็นเพราะว่าบุคลากรทางด้านการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ต่างก็ให้ความสำคัญและร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้เหมาะแก่การเรียนรู้แบบบูรณาการของเยาวชน

    อาคิตะกับประเทศไทยเคยมีความร่วมมือทางด้านวิชาการกันครั้งแรกกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เมื่อปี 2558 ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ครั้งนี้ทางจังหวัดอาคิตะตกลงลงนามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU ในความร่วมมือและพัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการกับโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยและวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อเพิ่มโอกาสให้เยาวชน 2 ประเทศมากขึ้น ซึ่งโครงนี้ก็จะครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ การทัศนะศึกษา วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา





    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้การแก้ปัญหาและผลิตครูคุณภาพ เป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วนของกระทรวง โดยต้องประเมินคุณภาพวิทยฐานะ หากต่ำกว่าเกณฑ์จะยึดวิทยฐานะคืน

    พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "การผลิตครูเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ สู่อนาคตการศึกษาไทย" ในงาน มศว.วิชาการ โดยกล่าวเน้นให้ความสำคัญกับการผลิต และพัฒนาคุณภาพครูให้ได้ภายใน 5 ปี ทั้งการปรับปรุงหลักสูตรผลิตครูที่ต้องวางแผนความต้องการครูล่วงหน้า 10 ปี ว่าครูสาขาวิชาอะไรเป็นที่ต้องการ ซึ่งครูยุคใหม่ต้องเก่งทั้งด้านวิชาการ และเทคนิคการสอน โดยเฉพาะจะเร่งพัฒนาครูท้องถิ่นเพื่อกำจัดคำครหาว่าครูไม่เก่ง ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3 ขึ้นไป เข้าเรียนครู เมื่อจบการศึกษาจะบรรจุเป็นครูสอนในท้องถิ่นได้ทันที ซึ่งจะเริ่มนำร่องในปีนี้


    ส่วนครูปัจจุบันจะประเมินความรู้ตามกลุ่มสาระที่สอนอย่างต่อเนื่อง หากพบว่าใครไม่มีความรู้ ความสามารถจริงตามวิทยฐานะ ในขั้นต้น จะให้เข้ารับการอบรม แต่หากประเมินซ้ำยังไม่ผ่าน กระทรวงฯ จะยึดวิทยฐานะคืน อีกทั้งจะเปลี่ยนระเบียบการสอบขึ้นเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จะไม่เน้นเพียงการสอบแข่งขัน แต่จะดูทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิ เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ ที่สำคัญต้องผ่านการฝึกบริหารงานจากรองผู้อำนวยการมาก่อน

    ข้อมูลวิจัยจากทีดีอาร์ไอ พบว่า ปัญหาการขาดแคลนครูสะสมมาจากการผลิตครูไม่สัมพันธ์กับจำนวนนักเรียนและสอนไม่ตรงวุฒิ ขณะที่ครูรุ่นใหม่ขาดจิตวิญญาณ ส่วนครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว และขาดทักษะ
     
    Last edited: 30 Jul 2016
    AlbertEinsteins และ Anduril ถูกใจ.
  47. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ปู่ยง และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  48. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ผ่านไปเกือบ 1 เดือนเต็มแล้ว กับการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว เข้าไปแก้วิกฤติในสถาบันอุดมศึกษา // ความเห็นของ “คนในรั้วมหาวิทยาลัย” ที่มีต่อยาแรงตัวนี้เป็นอย่างไรบ้าง

    เหตุการณ์อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ก่อเหตุยิงเพื่อนอาจารย์ด้วยกันเสียชีวิตคาห้องสอบ ต่อหน้านักศึกษาจำนวนมาก จากนั้นใช้ปืนปลิดชีพตัวเองตาย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีมูลเหตุของความขัดแย้งสะสมมาจากเรื่องการเปิดหลักสูตรพิเศษและวุฒิการศึกษา สะท้อนปัญหาธรรมภิบาลที่ซุกไว้ใต้พรมของสถาบันอุดมศึกษาเมืองไทยถือเป็นปัญหาที่พร้อมบานปลายกลายเป็นความรุนแรงได้ทุกเมื่อ

    ก่อนหน้าโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ก็มีเหตุวุ่นๆ ยาวนานข้ามปี จากการแย่งอำนาจการบริหารและการร้องเรียนทุจริตหลายโครงการของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบค จนในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องใช้อำนาจส่งคณะกรรมการเข้าควบคุมอำนาจการบริหารมหาวิทยาลัย

    ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่ง ก็มีเรื่องร้องเรียนกันอีรุงตุงนัง หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย // ส่วนมหาวิทยาลัยภูธรหลายแห่งก็ถูกร้องเรียนเรื่องการเปิดหลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน มุ่งแสวงหาผลกำไรมากกว่าคุณภาพทางการศึกษา และบางโครงการเจตนาแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวและพวกพ้อง ทำให้เกิดการร้องเรียนและฟ้องร้องกันมากมาย

    จากสภาพปัญหาทั้งหมด ทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559 ใช้อำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 จัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา พร้อมประเดิมเชือด 2 มหาวิทยาลัยนำร่อง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

    คำสั่งนี้แม้เป็นการใช้อำนาจพิเศษที่เคยถูกต่อต้านในหลายๆ เรื่อง แต่เรื่องนี้ดูเหมือนจะได้รับการขานรับมากพอสมควร สะท้อนว่าปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนเกิดอย่างกว้างขวางและเรื้อรังมานาน

    เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ บอกว่า ปัญหาธรรมาภิบาลในรั้วมหาวิทยาลัยมีอยู่ 2 เรื่องที่สำคัญ คือ เรื่องของบุคลากร กับเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอน

    มูลเหตุหนึ่งเกิดจากการที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ จึงมีการเลือกปฏิบัติต่อคน 2 กลุ่มไม่เท่ากัน คือกลุ่มที่เป็นข้าราชการอยู่เดิม กับกลุ่มที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ

    นอกจากนี้เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ต้องหารายได้เลี้ยงดูตัวเองมากขึ้น ทำให้มีการผลิตหลักสูตรเพื่อนำเงินเข้ามหาวิทยาลัย ด้านหนึ่งส่งผลให้บุคลากรมีรายได้พิเศษนอกจากเงินเดือน แต่อีกด้านหนึ่งที่เกิดตามมา คือปัญหาการบริหารจัดการในองค์กร และฝ่ายบริหารมักเลือกพรรคพวกตัวเองเข้าไปบริหารหลักสูตรพิเศษ และมีปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นตามมา กระทบต่อคุณภาพการศึกษาในที่สุด

    การออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 39/2559 ซึ่งเป็นเหมือนยาแรงนั้น เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มองว่า เป็นเรื่องดีที่จะมีการแก้ปัญหาภายในใหม่ทั้งระบบ และคำสั่งนี้เป็นการใช้อำนาจจัดการปัญหาอย่างถูกทิศถูกทาง แต่ยังไม่ครอบคลุม และอยากให้เน้นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นสำคัญ

    ความท้าทายของการใช้อำนาจพิเศษเพื่อแก้ปัญหาในสถาบันอุดมศึกษาก็คือ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ อาจไม่สานต่อวิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมก็ได้ อีกทั้งเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ย่อมไม่มีอำนาจแบบในมาตรา 44 หลงเหลืออยู่อีก

    ประเด็นนี้ รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ วีรชัย เสนอว่า น่าจะเร่งผลักดันพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืนจะดีกว่า



    ปัญหาที่ยืดเยื้อ ระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา จนกระทบต่อการบริหาร"ศธ.-สกอ."จัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ตามมาตรา 44

    จากประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพื่อจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา โดยหนึ่งในการจัดระเบียบครั้งนี้ คือ การดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่กำหนดหนึ่งคนดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 3 แห่ง หลังพบ ปัญหาตำแหน่งทับซ้อน ส่งผลต่อการเอื้อประโยชน์ และการขาดธรรมาภิบาล จนกระทบต่อการบริหารงาน

    ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา หรือ สกอ. เปิดเผยรายชื่อนายกสภามหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 80 แห่ง ปรากฎชื่อนายมีชัย ฤชุพันธ์ , นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ , นายเกษม สุวรรณกุล , นายสุชาติ เมืองแก้ว นั่งเก้าอี้นายกสภามหาวิทยาลัย 3 แห่ง

    เลขาธิการ กกอ. ระบุว่า แม้ สกอ. จะออกระเบียบขอความร่วมมือให้แต่ละสถาบันไม่ดำรงตำแหน่งหลายที่ เพราะส่งผลกระทบต่อการบริหาร โดยก่อนหน้านี้เคยพบ หนึ่งคนควบตำแหน่งทับซ้อนทั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการ รวม 15 ตำแหน่ง

    คำสั่งนี้ ยังกำหนดสัดส่วนที่ชัดเจนเพื่อลดภาพปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ และป้องกันการทุจริต โดยขณะนี้ แต่ละสถาบันต้องแก้ไขปัญหาของตัวเองก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ จะเป็นหน้าที่ ของ กระทรวงศึกษาธิการ และ สกอ. ที่จะเข้าไปดูแลส่วนสถาบันการศึกษาที่มีปัญหายืดยื้ออาจถูกควบคุม มาตรา 44 เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า ไม่ขอก้าวก่าย แต่หากแก้ไขไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง แต่ไม่ต้องการให้ถึงขั้นระบุชื่อในคำสั่งเหมือนมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ และชัยภูมิ

    ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ย้ำว่า เป้าหมายหลัก ของคำสั่ง คสช.นี้ คือการดูแลคุณภาพการศึกษาให้ดีที่สุด เพราะพบสถาบันหลายแห่งจัดการศึกษาแบบจบง่าย ไร้คุณภาพ หรือเมื่อจบมาแล้วมีปัญหากับสถาบันวิชาชีพ โดยหากสถาบันอุดมศึกษาสามารถปรับตัว แก้ไขปัญหาทั้งคุณภาพการศึกษา และการขาดธรรมาภิบาลได้ ก็อาจเสนอยกเลิกกฎหมายนี้ไป หรือหากไม่ทำตาม ก็ต้องออกเป็นกฎหมายบังคับต่อไป ซึ่ง พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายฝ่ายเห็นว่าควรนำกลับมาใช้อีกครั้ง







    ข่าว 7 สี - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ คสช. เอาผิดนักศึกษาต่างสถาบันทะเลาะวิวาทกัน

    จากกรณีนักศึกษาคู่อริ 2 สถาบัน ก่อเหตุยกพวกทะเลาะวิวาทหน้าสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากผู้บริหารทั้ง 2 สถาบันแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่าง สอบสวนเพื่อหาสาเหตุ และลงโทษขั้นเด็ดขาด เพราะที่ผ่านมาได้กำชับถึงปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักศึกษามาโดยตลอด โดยหนึ่งใน 2 สถาบัน ได้ขอปิดการเรียนการสอน เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 22-24 สิงหาคม เพื่อป้องกันการชักชวน และรวมกลุ่มก่อเหตุซ้ำ

    ทั้งนี้กรณีปัญหานักเรียน นักศึกษาทะเลาะวิวาท อำนาจตามมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ผู้ปกครองต้องมีส่วนรับผิดชอบในการกระทำความผิดของบุตรหลาน หากสอบสวนแล้วว่า มีใครกระทำผิด ทาง สกอ.จะให้สถาบันการศึกษาแจ้งผู้ปกครองมารับทราบ เพื่อตักเตือนทำทัณฑ์บน หรืออาจให้วางเงินประกันไว้เพื่อเป็นการลงโทษตามแต่ละกรณี
     
    Last edited: 21 Aug 2016
    ปู่ยง likes this.
  49. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมปรับหลักสูตรการศึกษาใหม่ให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศไทย 4.0 พร้อมกำหนดเป็นแนวทางและบรรจุในแผนการศึกษาแห่งชาติปี 2560-2574 ซึ่งจะเริ่มใช้วันที่ 1 ต.ค.2559



    ข่าว 7 สี - วงการการศึกษาไทย กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อจะมีการเปลี่ยนระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ติดตามจากรายงานคุณทัศนีย์ ลาสันเทียะ

    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2504 หรือเมื่อ 55 ปีที่แล้ว การสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องวัดกันที่การสอบ "เอ็นทรานซ์" โดยผู้ที่เรียนจบ ม.ศ.6 หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า เลือกคณะ สาขา และมหาวิทยาลัยได้ 6 อันดับ และให้สอบให้ลุ้นผลเพียงครั้งเดียว

    ต่อมาปี 2542 ระบบ "เอ็นทรานซ์" ถูกมองเป็นการตัดสินชีวิตเด็กมากเกินไป ต้องปรับใหม่เป็น "ระบบเอ็นทรานซ์ 2 รอบ" ให้โอกาสเด็กสอบ 2 ครั้ง แต่วิธีนี้เด็กกลับไปทุ่มเทให้กับการกวดวิชา ทิ้งห้องเรียน เสียค่าใช้จ่าย มีปัญหาเหลื่อมล้ำ จนปี 2549 ต้องรื้อระบบสอบครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนมาใช้ "ระบบแอดมิชชั่น" แต่ยังแก้ปัญหาเดิมไม่ได้ ต้องปรับระบบแก้ไขกันอีกหลายรอบ

    มาวันนี้การสอบเข้ามหาวิทยาลัย กำลังจะถูกปรับอีกครั้ง โดยย้อนกลับไปใช้คล้าย "ระบบเอ็นทรานซ์เดิม" ให้สอบวัดผลกันครั้งเดียวหลังเรียนจบ ม.6 โดยระดมสอบทุกวิชารวดเดียว หลังรู้คะแนนสอบก็ถือคะแนนไปสมัครเลือกสาขาและมหาวิทยาลัย ได้ 4 อันดับ หากพลาดยังให้โอกาสเด็กยื่นสมัครได้รอบ 2

    นักวิชาการด้านการศึกษาออกมาเชียร์สุดตัว เพราะเป็นระบบการสอบที่ดีที่สุด แก้ปัญหาเด็กไม่ต้องวิ่งรอกสอบ ลดค่าใช้จ่ายการสมัครสอบและกวดวิชาที่เด็กบางคนต้องเสียมากถึง 2 แสนบาท และลดความเหลื่อมล้ำ

    แม้จะเป็นรูปแบบที่ดี แต่ยังต้องใส่ใจรายละเอียด อย่ามุ่งสอบแต่วิชาการ ให้ย้อนกลับไปดูความถนัดของเด็กแต่ละคนต้องเหมาะสมกับคณะที่เลือกเรียนด้วย

    อีกประเด็นที่ต้องลุ้น นักวิชาการห่วงระบบดีจะถูกเข็นนำมาใช้ได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ เรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันผลักดันเต็มที่

    การศึกษาของชาติถูกปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งแต่ยังไม่ก้าวไกลดั่งใจหวัง มาครั้งนี้คงต้องวางกรอบ คิดรอบคอบ ให้ทุกฝ่ายยอมรับและเชื่อมั่นพัฒนาการศึกษาไทยได้อย่างแท้จริงเสียที ทีมข่าวสังคมรายงาน



    จากแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะให้มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีเคลียร์ริงเฮาส์ ล่าสุด ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เห็นชอบให้ยกเลิกระบบแอดมิชชันในปี 2561

    โดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. โดยศาสตราจารย์ นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธาน ทปอ.เปิดเผยว่า เป็นการเห็นชอบในหลักการ ที่ทั้งตัวเด็ก และมหาวิทยาลัยควรจะมีสิทธิเลือกซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกันเด็กก็จะไม่ต้องวิ่งรอกสอบหลายแห่ง และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

    โดยการรับนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2561 จะมีการปรับระบบการรับให้เหลือเพียง 3 ระบบ ประกอบด้วย

    1.การรับเด็กเข้าเรียนในระบบโควตา หรือระบบที่เด็กมีความสามารถที่โดดเด่น เช่น โควตานักกีฬา โควตาเด็กโอลิมปิกวิชาการ โดยเปิดรับได้ทั้งปี

    2.ระบบบเคลียร์ริงเฮาส์ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ข้อสอบกลาง และจัดสอบเพียงครั้งเดียว

    3.ระบบรับตรงที่มหาวิทยาลัยดำเนินการได้เอง เพื่อให้ได้เด็กตามที่ต้องการ แต่จะดำเนินการหลังการรับผ่านระบบเคลียร์ริงเฮาส์แล้ว

    ซึ่งก็คือจะไม่มีระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชันอีกแล้ว โดยจะมีผลในปี 2561 และในวันที่ 5 กันยายนนี้ ที่ประชุมอธิการบดี จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสรุปผลการหารือ



    กระทรวงศึกษาธิการปรับโครงสร้างปฏิรูปการศึกษาเห็นด้วยแนวทา แยกอุดมศึกษาเป็นทบวงโดยอยู่ภายใต้กระทรวง



    การขาดประสิทธิภาพส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ในห้องเรียน เป็นปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วิเคราะห์พบ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียนไทยได้คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินปิซ่า 2015 ต่ำ
     
    Last edited: 17 Dec 2016
    ปู่ยง และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  50. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งรัดให้กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียน โดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป โดยศึกษาวิธีการจากประเทศอื่น เช่น ประเทศเวียดนาม ที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว หรือนำแนวทางของกลุ่มโรงเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิต ซึ่งนักเรียนมีคะแนนจากการทดสอบ PISA 2015 ใกล้เคียงกับประเทศที่อยู่ในอันดับต้น เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เอสทัวเนีย ฟินแลนด์ มาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนทั่วไป

    นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังแสดงความยินดีและชื่นชมตัวแทนนักเรียนไทย ที่สามารถคว้า 1 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน จากการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาต้น ครั้งที่ 13 ที่ประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงอาจารย์ผู้ควบคุมทีมและผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ เพราะแสดงให้เห็นว่าเด็กไทยมีทักษะความสามารถเช่นเดียวกับเด็กทั่วโลก มีความพร้อมเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพื่อแข่งขันในเวทีโลก เพราะจากสถิติการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในสาขาต่างๆ นักเรียนไทยสามารถนำเหรียญรางวัลกลับมาได้เสมอ



    สกว.เผยผลวิจัยเด็กไทยมีความสามารถการคิดวิเคราะห์ต่ำสอดคล้องผลการประเมินPISA จัดไทยอยู่อันดับ55จาก72ปท.ทั่วโลก

    วันนี้(13 ธ.ค.59) ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เปิดแถลงข่าวหลังผลการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Program for International Student Assessment) หรือ PISA ของไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 55 จาก 72 ประเทศ ลดอันดับลงจาก 3 ปีที่แล้ว ขณะที่ประเทศอื่นในอาเซียนมีอันดับดีขึ้น โดยระบุว่า จากงานวิจัยศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะ เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย สามารถยืนยันว่า ผลการประเมิน PISA เป็นจริง คือนักเรียนไทยมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ต่ำ ถือเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการพัฒนาบุคลากร รองรับ thailand 4.0

    รศ.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สกว. ระบุ งานวิจัยดังกล่าวใช้แบบทดสอบ PISA เป็นแบบคำถามประเมินการรู้เรื่องการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนใน 3 ระดับชั้น คือประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 4 และปวช.ปีที่1 จากกลุ่มนักเรียนตัวแทน 6,235 คน พบว่า ผลการวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยอยู่ในระดับต่ำจริง โดยใน100คน มีนักเรียนเพียง 2 คน เท่านั้น ที่ได้คะแนนการประเมินมากกว่า 60% ซึ่งเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ พบว่า ผลการเรียนในโรงเรียนยิ่งสูงความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลับต่ำ เช่นเดียวกับการดูโทรทัศน์หากนักเรียนดูโทรทัศน์เป็นเวลานาน ก็จะมีการคิดวิเคราะห์ที่ต่ำกว่านักเรียนที่ใช้เวลาดูโทรทัศน์น้อยกว่า

    ขณะที่ปัจจัยเรื่องการศึกษาของบิดามารดา สถานที่ตั้งของสถานศึกษาในเมืองหรือชนบท และการเล่นอินเตอร์เน็ตไม่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนถึงคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียน ซึ่งควรปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น และคาดการณ์ว่าอาจส่งผลให้อัตราการเรียนพิเศษด้านวิชาการลดลงด้วย

    ด้านรศ.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุ การสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ให้เกิดในนักเรียนไทย จะต้องเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียน กระตุ้นให้มีการใช้ความคิดเชิงเหตุผล และใช้กระบวนการถามคือสอน โดยให้ครูทำหน้าที่เป็นโค้ชตั้งคำถามให้นักเรียนได้คิด รวมถึงต้องสร้างบรรยากาศการเรียนให้เด็กเกิดความรู้สึกปลอดภัยจากระบบอำนาจ ซึ่งเป็นการกดศักยภาพของนักเรียน ขณะที่นักเรียนจะต้องฝึกการเขียนให้มากขึ้น ทั้งการขยายความและย่อความจับประเด็น เพื่อฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และควรสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ดังที่มีการดำเนินการในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา 4ปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า นักเรียนมีประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์ดีขึ้น

    ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวด้วยว่า หากสนับสนุนให้มีการดำเนินการในลักษณะโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาได้ทั่วประเทศ จะสามารถแก้ปัญหาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทย ซึ่งหลังจากนี้จะมีการนำผลวิจัยเสนอต่อซุปเปอร์บอร์ดด้านการศึกษาต่อไป





    กระทรวงศึกษาธิการเดินหน้ายกระดับคุณภาพโรงเรียนที่วิกฤตทางการศึกษาและต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หรือไอซียู ทั่วประเทศ ซึ่งมีกว่า 7,000 โรง ให้มีคุณภาพทั้งครู และนักเรียน

    นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ กพฐ. เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลโรงเรียนทั่วประเทศในสังกัดที่มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา ตามนโยบายการขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพ โรงเรียนที่วิกฤติทางการศึกษาและต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หรือไอซียู เพื่อให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ.ทั่วประเทศเข้าไปช่วยเหลือโรงเรียนที่ประสบปัญหานี้ โดยล่าสุดมีถึง 6,964 โรงเรียนและวิทยาลัยอาชีวะอีก 16 โรงที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม

    โดยแนวทางแก้ปัญหาช่วยเหลือกำลังสรุปรวบรวมแผน ทั้งนี้จะหารือกับภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการ ไปพร้อมกับเกลี่ยครูให้เพียงพอกับเด็ก รวมถึงพัฒนาครูให้เน้นสอนในห้องเรียนเป็นหลักมากกว่าผลงานทางวิชาการ โดยหลังจากพัฒนาโรงเรียนให้พ้นสภาพไอซียูแล้ว ก็จะมีมาตรการไม่ให้หวนกลับไปเป็นโรงเรียนไอซียูอีก โดยจะวัดผลการเรียนของเด็กผ่านผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานหรือ โอเน็ต และการสอบระดับนานาชาติหรือพิซาด้วย

    ข้อมูลจาก สพฐ.ล่าสุด พบว่าทั่วประเทศมีโรงเรียนไอซียู 6,964 โรง อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 4,469 โรง แบ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา 3,569 โรง และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 900 โรง และอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 364 โรง ส่วนอีก 2,131 โรง เป็นโรงเรียนพื้นที่ภาคใต้ที่ถูกน้ำท่วม ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษาได้เสนอวิทยาลัยไอซียูอีก 16 แห่ง



    รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน หรือสช. ยอมรับว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีการจ่ายงบประมาณอุดหนุนรายหัว ให้แก่นักเรียนประเภทการเรียนทางเลือกทั่วประเทศ เนื่องจากติดเรื่องการตีความทางกฏหมายของกฏกระทรวงข้อ 13 โดยขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการอยู่ระหว่างการแก้ไขกฏกระทรวง เพื่อเพิ่มโอกาสการรับเงินอุดหนุนของศูนย์การเรียน

    จากข้อมูลกระทรวงศึกษาธิการปี2559 มีจำนวนนักเรียนได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7ล้าน2แสน1หมื่น3พัน949คน แยกเป็นโรงเรียนปกติ 3หมื่น817 โรง โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 51 โรง โรงเรียนการศึกษาพิเศษ 46 โรง ศูนย์การศึกษาพิเศษ 77 โรง และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวและสถานประกอบการ จำนวน 6พัน335 คน

    ภายใต้เงินจัดสรรงบประมาณสพฐ. จำนวนกว่า 3แสน1หมื่นล้านบาท แยกเป็นงบอุดหนุนรายหัว ประมาณ 4หมื่นล้านบาท และเงินเดือนครู2แสน7หมื่นล้านบาท

    สำหรับโรงเรียนในสังกัดสพฐ.ได้รับค่าใช้จ่ายรายหัว5ด้าน คือ1.ค่าจัดการเรียนการสอน 2.ค่าหนังสือเรียน 3.ค่าเครื่องแบบนักเรียน 4.ค่าอุปกรณ์การเรียน และ5.ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
     
    Last edited: 4 Mar 2017
    ปู่ยง likes this.

Share This Page