บีอาร์ที เลิกเหอะ!

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 22 Feb 2017

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    มีข่าวจะเลิกรถบีอาร์ที ต่อมาก็บอกยังไม่เลิก จะเอาอย่างไรกันแน่ หรือจะให้ขาดทุนไปปีละ 200 ล้าน คนได้ประโยชน์ก็ได้ไป ส่วนประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องอุดหนุนปีละ 200 ล้านบาท ก็ช่างมัน?

    เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2560) ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ไปใช้บริการรถบีอาร์ที พบเห็นนักศึกษากำลังทำแบบสอบถาม ถามผู้ที่ใช้บริการบีอาร์ที พอผมตอบไปว่าเห็นควรให้เลิก นักศึกษาก็เลิกถามไปดื้อ ๆ สงสัยว่าคงอยากได้เฉพาะคนที่บอกให้มีอยู่ต่อไป!

    การที่ไปเที่ยวถามคนใช้บริการ ส่วนมากก็ต้องตอบว่าอยากให้อยู่ต่อเพราะตนเองใช้บริากรประจำ แต่ถ้าหากทราบว่าที่ผ่านมาขาดทุนปีละ 200 ล้านบาท (http://bit.ly/1tbPFnc) หากไม่ต้องการให้ขาดทุนสำหรับผู้ใช้สอยวันละ 20,000 คน ก็คงต้องขึ้นราคาอีกเที่ยวละ 27.4 บาท จากที่เก็บค่าโดยสารปัจจุบัน 5 บาท กลายเป็น 32.4 บาท หรือเผื่อค่าดำเนินการต่าง ๆ ก็ควรเก็บ 40 บาทตลอดสาย และเพื่อหาเงินชดเชยที่ขาดทุนไปแล้วนับพันล้าน ก็คงต้องขึ้นราคาอีกเที่ยวละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 60 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการขึ้นราคาที่ประชาชนผู้ใช้บริการคงรับไม่ได้เพราะปัจจุบันราคาเพียง 5 บาท และค่ารถประจำทางในปัจจุบันก็มีค่าโดยสารที่ถูกกว่านี้ การที่ทางราชการจะขึ้นอีก 5 บาท เป็น 10 บาท ก็คงไม่ได้ช่วยให้เลิกขาดทุนแต่อย่างไร

    อันที่จริงควรเลิกบีอาร์ที แต่อาจเกรงใจพรรคการเมืองที่สร้างบีอาร์ทีนี้ขึ้น จะกลายเป็นการฟ้องว่าโครงการนี้ล้มเหลว ส่งผลกระทบทางการเมืองหรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้ สิ่งที่ควรทำก็คือการสร้างรถไฟฟ้าวิ่งแทนเพราะคลองตรงกลางถนนสามารถสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าได้โดยไม่กระทบต่อการจราจรในปัจจุบันมากนัก ทั้งนี้ต้องมีการแก้ผังเมืองให้สามารถก่อสร้างพื้นที่อาคารในอัตราส่วนได้ถึง 15-20 เท่าของพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio) เพื่อเพิ่มปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้า

    ส่วนในช่วงเฉพาะหน้า เส้นทาง BRT นี้ให้ใช้เป็นช่องจราจรพิเศษ เฉพาะช่วงเวลา 06.30-09.00
    น. และช่วง 1630 - 19:00 น. เพื่อให้รถประจำทางวิ่งโดยเฉพาะ เพื่อการบริการแก่ประชาชน แต่นอกเหนือจากเวลานี้ ให้คืนพื้นที่จราจรให้กับรถอื่นๆ

    จากประสบการณ์สำรวจบีอาร์ทีในต่างประเทศโดยเฉพาะที่กรุงจาการ์ตา ดร.โสภณ ในฐานะที่เคยไปทำงานให้กับธนาคารโลก และให้กับกระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย พบว่า บีอาร์ทีเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่ที่ยังดำเนินการอยู่ได้ในกรุงจาการ์ตาเพราะยังไม่มีทางเลือกอื่นและเป็นวิสาหกิจผูกขาดคล้ายบีทีเอสของไทย แต่บีอาร์ทีก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดความเจริญโดยรอบได้เช่นกรณีรถไฟฟ้า
    "เลิกบีอาร์ทีเพื่อชาติเถอะครับ"

    ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1844.htm
     
  2. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
  3. comma

    comma อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    28 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,142
    ก็ยังโชว์โง่ต่อไปเรื่อง ให้เส้นทาง BRT เป็นช่องจราจรพิเศษช่วงเร่งด่วนให้รถโดยสารประจำทางวิ่ง
     
  4. โก๋แก่

    โก๋แก่ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 พ.ย. 2016
    คะแนนถูกใจ:
    299
    Location:
    ฺกรุงเทพฯ
    คนที่บอกให้เลิก เพราะมองที่ผลขาดทุนจากการดำเนินงาน กลัวว่าถ้ายังทำต่อไปก็จะยิ่งขาดทุนมากขึ้นเป็นภาระหนี้สินของรัฐ

    คนที่บอกไม่ควรเลิก เพราะรู้ว่าเรื่องนี้คนคิดทำโครงการ เอามาจากประเทศอื่นและมันได้ผล จึงนำเสนอต่อผู้รับผิดชอบและได้รับการอนุมัติให้ทำ แต่ปัญหามาจาก คนที่ทำไม่ใช่คนเสนอ มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการ เส้นทาง ตัวรถ ฯลฯ จนคนคิดทนไม่ไหว ลาออกจากโครงการไป

    การเปลี่ยนแปลงที่ว่า ยกตัวอย่าง ค่าโดยสารซึ่งถูกมาก มันผิดตรรกะ ผิดความเป็นจริง ที่รถโดยสารซึ่งมีสิทธิพิเศษได้วิ่งในเลนวิ่งเฉพาะของตนเอง รถคันอื่นห้ามเข้าเลน ในความเป็นจริงผู้โดยสารควรต้องจ่ายมากกว่ารถโดยสารทั่วไป จริงไหม

    การห้ามรถอื่นวิ่งในเลนของ บีอาร์ที มันก็เพี้ยน มีอย่างที่ไหนในช่วงของเส้นทางที่ยังไม่ถึงช่วงตัดกันของถนนเป็นแยกที่มีไฟสัญญาณจราจร ซึ่งควรอนุโลมให้รถอื่นเข้าได้ ไปห้ามเข้าก็เฉพาะเมื่อใกล้ถึงแยก ซึ่งจะกี่เมตรก็ไปสำรวจและออกกฎกติกากันไป นี่ห้ามตลอด มันไม่เป็นไปตามสภาพการจราจร

    การสร้างขอบทางวิ่งเป็นสันนูนขึ้นมาจากผิวถนน มันก็อีกแหละ บ้าหรือเปล่า เกิดรถอื่นๆ วิ่งไปเหยียบเข้าเกิดอุบัติเหตุ จะว่ากันอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ อยากทำนักก็ไปทำใกล้ๆแยก ซึ่งรถส่วนใหญ่จะต้องใช้ความเร็วช้าลง มันจะดีกว่าเพื่อความปลอดภัยร่วมกัน โดยใช้สำนึก (ที่ไม่ค่อยมี) ของผู้ขับรถอื่น ว่าไม่ควรเข้าไปเกะกะ เมื่อเห็นรถ บีอาร์ที อยู่ในเลน

    ระยะทางที่ใช้วิ่งรับ-ส่ง ตามปกติรถบีอาร์ที มีจุดประสงค์ขนคนจากรอบนอกเมืองเข้ามา เพื่อส่งให้ถึงจุดที่คนสามารถไปด่อยังที่อื่นๆได้สะดวกก็เพียงพอแล้ว ไม่ใช่ส่งถึงหน้าประตูสำนักงานที่ทำงาน ดังนั้นการกำหนดเส้นทางของ บีอาร์ที ให้วิ่งจากชานเมืองเข้ามาแล้วยังมีระยะทางต่อผ่าเมืองไปอีก มันโง่ชัดๆ บีอาร์ทีวิ่งจากถนนราชพฤกษ์เข้ามา ส่งแค่ประมาณบางรัก-สาธร เพียงพอแล้ว ผู้โดยสารจะไปไหนต่อควรเปลี่ยนเอาเอง นี่พวกผ่าไปถึงพระราม 3 ซึ่งเป็นระยะทางไม่น้อย ..แล้วจะหากำไรมาจากไหนพ่อคุณเอ๊ย

    ยังมีปัญหาอีกหลายเรื่องที่คนคิดเขาเสนอ แต่ไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปทางอื่น จนเขาต้อง say goodbye ... เมืองไทยก็งี้ล่ะ ..เฮ้อออ
     
    Last edited: 22 Feb 2017
  5. ควันหลง

    ควันหลง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,786
    ไม่เพี้ยนครับ การที่ให้รถ BTR ต้องวิ่งร่วมกันรถอื่นนี่ตะหากที่เพี้ยน คอนเซ็ปต์ BTR มันง่ายมาก BTR คือรถไฟลอยฟ้าที่ใช้ล้อยางวิ่ง ต้องมีช่องทางเฉพาะ ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับใคร ต้องไม่ติดไฟแดง

    ตามหลักการบริหารจัดการ การขนส่งสาธารณะ ต้องให้รถสาธารณะเป็นใหญ่ ต้องเร็วกว่า ต้องถูกกว่า ต้องสะดวกกว่า

    เราเอานวัตกรรมมาใช้ แต่ดันใช้แบบไม่มีวิสัยทัศน์ กลายเป็นว่า BTR ไม่ได้มีช่องทางเฉพาะแท้จริง บางส่วนก็วิ่งรวมกับรถอื่นๆ บางช่วงที่มีเลนของ BTR ก็ดันมีรถอื่นเข้าไปวิ่ง แล้วมันจะต่างอะไรจากรถเมล์หล่ะครับ

    ผมฟังตาอำนวยแกให้สัมภาษณ์แล้ว ก็ละเหี่ยใจมาก แกสอบตกวิชาบริหารการขนส่งสาธารณะอย่างร้ายแรง ผมนี่ละอยากให้มหาวิทยาลัย เปิดคอรส์อบรมจริงๆ ให้ผู้บริหารท้องถิ่น เข้าไปนั่งเรียน จะได้รู้ว่าคุณจะบริหารเมือง อย่างมีหลักการกันอย่างไร ไม่ใช่ทำไปงูๆปลาๆ
     
    โก๋แก่ likes this.
  6. โก๋แก่

    โก๋แก่ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 พ.ย. 2016
    คะแนนถูกใจ:
    299
    Location:
    ฺกรุงเทพฯ
    ครับ ก็ว่ากันไปได้ ตาม concept แนวคิดว่าคิดอย่างไรกับสิ่งที่ควรเป็นไป
    แต่ทีนี้ แนวคิดว่า รถบีอาร์ทีเป็นรถไฟลอยฟ้าที่ใช้ล้อยาง นี่มันเป็นแนวคิดที่ใช้ได้กับประเทศอื่นเท่านั้นนะครับ
    ในสภาพที่มองเห็นกันได้ รถไฟลอยฟ้า คือขบวนรถที่ใช้ไฟฟ้า วิ่งตามรางที่ลอยอยู่เหนือพื้นดิน ไม่ต้องร่วมในเส้นทางกับรถชนิดอื่น
    ส่วนรถบีอาร์ที เป็นรถโดยสารใช้ล้อยางที่วิ่งอยู่บนดิน และประเด็นสำคัญคือ ต้องร่วมใช้เส้นทางที่มีรถอื่นวิ่งร่วมด้วย ประเด็นที่สำคัญกว่าเรื่องรถไฟฟ้า คือ มีกฎจราจรห้ามรถทุกชนิดทุกประเภท วิ่งฝ่าไฟสัญญาณจราจรสีแดง รวมทั้งรถบีอาร์ที และคิดว่าถ้ารถไฟฟ้าลงมาวิ่งบนดินเช่นเดียวกับรถบีอาร์ที ก็คงห้ามฝ่าด้วยนะครับ
    นี่คือความเป็นจริง truth ที่ไม่ใช่เป็นเพียง "แนวคิด" concept ว่าควรเป็นอย่างไรจึงจะดีที่สุด
    ความเป็นจริงอีกกรณีที่ต้องนำมาร่วมด้วย คือ สภาพการจราจรของกรุงเทพ ถ้าหากห้ามรถทุกชนิดเข้าในเลนบีอาร์ที ไม่ว่ากรณีใด .. สิ่งที่เราจะเห็นจากสายตา ซึ่งแนวคิดควรจะมองเห็นเช่นกันเมื่อมองไปจากสี่แยกไฟแดงเดียวกัน คือ เลนในช่องบีอาร์ที ว่างเปล่า ไม่มีรถเลยสุดสายตา แต่เลนอื่นๆ รถจอดติดกันเป็นแพแน่นขนัดยาวไปจนสุดสายตาเหมือนกัน คือสุดสายตาเหมือนกัน แต่ช่องทางบีอาร์ทีว่างเปล่า ส่วนช่องทางรถอื่นๆเห็นแต่หลังคารถ
    สิ่งที่ผมบอกไป เป็นเพียงแค่ นำแนวคิดของคุณมาผสมผสานกับความเป็นจริง ว่าในกรุงเทพหากจะนำแนวคิดที่ว่ามาใช้ ควรต้องอนุโลมยินยอมผ่อนปรนกันบ้าง สำหรับการเข้ามาในเลนบีอาร์ทีของรถอื่นๆ เพื่อลดระยะทางการจอดติดอยู่กับที่ของรถในช่องทางอื่น ว่ามันสิ้นสุดตรงไหน พอจะมองเห็นว่าท้ายสุดของรถที่ติดกันนั้น อยู่ที่ใด
    ถูกต้องแล้วครับในการนำแนวคิดที่เหมาะสม มาใช้ในเรื่องราวต่างๆ แต่เมื่อ แนวความคิดรวบยอด เช่นนั้นมีรายละเอียดที่ต้องแก้ไขไปบ้างในบางเวลาบางสถานที่หรือกับบางคน เราก็ควรปรับแนวคิดที่ว่าให้ไปกันได้ เพราะแนวคิดไม่ใช่สิ่งที่แข็ง freeze ตายตัว concept ว่าอย่างไรต้องทำตามนั้นทุกตัวอักษร ถึงแม้จะถูกต่อว่า ว่าเพี้ยนไปก็ต้องยอมรับครับ ถ้าหากแก้ไขปรับปรุงแล้ว เป็นผลดี :)

    ดังนั้นสำหรับเมืองไทยเน้นว่ากรุงเทพ เราอาจเปลี่ยนคอนเซ็ปดังกล่าว จากรถบีอาร์ทีเป็นเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าลอยฟ้า มีสิทธิ์วิ่งในเส้นทางตนเองห้ามรถอื่นวิ่ง ไม่ต้องติดไฟแดง โดยยังไม่พูดถึงปัญหาเรื่องอื่นๆ นะครับ
    เป็น รถไฟลอยฟ้า เป็นฟองสบู่ที่ล่องลอยอยู่เหนือผิวน้ำซึ่งไม่นำมาร่วมในคอนเซ็ปนี้ ส่วนบีอาร์ทีก็ฟองสบู่เช่นกัน เพียงแต่ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ และมีฟองสบู่อื่นๆลอยอยู่ร่วมด้วย แต่ฟองบีอาร์ทีมีสัญญลักษณ์พิเศษกว่าฟองสบู่อื่น ที่จะทำให้มีเส้นทางล่องลอยไปของตนเองห้ามฟองอื่นมาขัดขวางเส้นทางข้างหน้าของตนในระยะใกล้ แต่...อนุโลมได้หากอยู่ข้างหน้าในระยะไกลและต้องออกจากเส้นทางทันทีหากฟองบีอาร์ที ลอยตามหลังมา ..ส่วนเส้นทางด้านหลังของฟองบีอาร์ทีนั้น ยินยอมให้ฟองสบู่อื่นได้ร่วมใช้ เพื่อให้ระยะใกล้ชิดของฟองต่อฟองโดยรวมมีพื้นที่ขยายเพิ่มขั้น ทำให้การล่องลอยของฟองสบู่ทั้งสิ้น ลอยไปมากันได้สะดวกขึ้น

    คิดอย่างนี้ ดีไหมครับ ..
     
    Last edited: 22 Feb 2017
  7. plunk

    plunk อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,509
    โถ คะแนนเสียงแค่ 1128 ควร เคารพประชาธิปไตย ของคนกรงเทพ ส่วนใหญ่ หน่อยนะครับ
     
    ridkun_user likes this.
  8. ควันหลง

    ควันหลง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,786
    ไม่มีทางทำได้หรอกครับ ขนาดเลนรถเมล์ ก็คนรถส่วนบุคคล เข้าไปวิ่งกันบ่อยๆ ทางเท้าก็มีรถจักรยานขึ้นมาวิ่ง ถึงคุณไม่ทำ แต่ก็ต้องมีใครแหกกฎอยู่ดี ในกรณีที่ยกขึ้นมา ผมเชื่อถ้าไม่แบ่งเลน สุดท้าย รถก็เข้าไปติดในเลน BTR แหละครับ

    จุดประสงค์ของการบริหารขนส่งไม่ใช่ ทำอย่างไรให้รถยนต์วิ่งได้เร็ว แต่ทำอย่างไรให้ขนคนได้มากๆ โดยใช้พื้นที่เท่ากัน เวลาเท่ากัน

    โหมดการเดินทางในเมืองที่มีประสิทธิภาพไม่นับการเดิน ไล่ตามลำดับ รถไฟ > รถเมล์ > จักรยาน/จักรยานยนต์ > รถยนต์ ภาพประกอบนี้เห็นชัดครับ

    idUgqV.jpg
     
    Gop และ plunk ถูกใจ.
  9. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    [​IMG]
    ไม่เกี่ยวกับกระทู้แค่ชอบรูป
     
    ชายน้ำ likes this.
  10. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
  11. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
  12. Apichai

    Apichai อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,042
    ทุกอย่าง ควรมีทางเลือก หลากหลาย หลายคุณภาพ หลายราคา
    ความคิดที่ว่า ต้องถูก แต่ไม่ดี แล้วไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้าย โครงการก็ไปไม่ได้
     
    ridkun_user likes this.
  13. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    อ้าว !!? "เสียงส่วนใหญ่" ไม่ใช่ความถูกต้องแล้วเหรอครับ :rofl::rofl::rofl::rofl:



    ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ร้อยละ 80 สนับสนุนให้ กทม.เดินหน้าให้บริการรถ บีอาร์ที ต่อ และไม่ค้านหากจะขึ้นค่าบริการเพิ่ม

    กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที กรณีจะมีการยกเลิกการให้บริการ หลังจากสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 30 เมษายน 2560 โดย กทม. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ลงพื้นที่ในเส้นทางรถบีอาร์ที เพื่อสำรวจความคิดเห็นประชาชน 9 กลุ่ม จำนวน 3,500 ตัวอย่าง ว่าเห็นควรให้รถบีอาร์ทียังคงเปิดให้บริการต่อไปหรือไม่

    โดยผลสำรวจพบว่า ประชาชนทั่วไปเห็นควรให้เดินหน้าให้บริการบีอาร์ทีต่อไปเกินกว่าร้อยละ 80 โดยเฉพาะประชาชนที่ใช้บริการรถบีอาร์ทีเป็นประจำเห็นด้วยเกือบร้อยละ 100 เห็นด้วยที่จะให้กทม. ให้บริการรถบีอาร์ทีต่อไป เพราะเป็นโครงการที่ประหยัดเวลาในการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน และยังคิดค่าบริการเพียง 5 บาทตลอดเส้นทาง

    ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า หากไม่มีรถบีอาร์ที ประชาชนผู้ใช้บริการในเส้นทางดังกล่าว จะต้องใช้บริการรถเมล์ ซึ่งต้องต่อรถอย่างน้อย 2 ครั้งซึ่งมีการจราจรติดขัด หรือต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แต่จะมีค่าบริการสูงมาก นอกจากนี้ประชาชนผู้ใช้บริการรถบีอาร์ทีระบุว่า ไม่มีปัญหาหากกทม.จะเพิ่มอัตราค่าบริการรถบีอาร์ที

    ส่วนความเห็นของประชาชนที่ไม่ใช้รถบีอาร์ที ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ขับรถส่วนตัวในเส้นทางบีอาร์ทีว่ากว่า 70 เปอร์เซ็นต์เห็นว่า ถึงแม้การยกเลิกบริการบีอาร์ที จะเพิ่มช่องเดินรถแก่รถส่วนบุคคลทั่วไปให้มากขึ้นก็ตาม แต่ไม่ได้ช่วยให้ถนนในเส้นทางดังกล่าวหายติดน้อยลงกว่าช่วงที่มีรถบีอาร์ทีบริการอยู่ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า จากผลการสำรวจ จะทำให้กทม.เปิดให้บริการรถบีอาร์ทีต่อไป

    ด้านนายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
    กล่าวว่า หลังจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ทำการสำรวจเรียบร้อยแล้ว จากนี้อยู่ในขั้นตอนการประเมินผลสำรวจ ก่อนที่จะส่งผลมายังกทม. ซึ่งจะได้นำเสนอผลการสำรวจต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป
    ******************************************


    กทม.เดินหน้าโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ BRT พร้อมปรับอัตราค่าโดยสารเป็น 15 บาท หลังประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ยกเลิก

    เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ BRT เส้นทางสาทร-ราชพฤกษ์ ต่างยอมรับ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะปรับขึ้นราคารถโดยสาร ขึ้นเป็น15บาท ดีกว่าที่จะต้องยกเลิก เนื่องจาก รถ BRT สะดวกสบาย และรวดเร็วกว่า รถโดยสารสาธารณะที่ให้บริการในเส้นทางเดียวกัน

    ต่างจากผู้ใช้รถใช้ถนน ที่แสดงความคิดเห็นถึงการเดินหน้าโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ โดยระบุว่า BRT ทำให้เส้นทางการจราจร หายไปหนึ่งช่องทาง ซึ่งยิ่งสร้างปัญหาเรื่องรถติดในเส้นทางดังกล่าว

    พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุถึงความคืบหน้าการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 3,500 คน ต่อโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที ส่วนใหญ่พอใจการให้บริการ และอยากให้ กรุงเทพมหานคร เดินหน้าให้บริการบีอาร์ทีต่อไป เพราะเป็นโครงการที่ประหยัดเวลาในการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน

    เบื้องต้น ทาง กรุงเทพมหานคร เตรียมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงการปรับอัตราค่าโดยสารเป็น 15 บาทตลอดสาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขาดทุนต่อเนื่องปีละ 100 ล้านบาท จากเดิมที่ขาดทุนปีละ 200 ล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนสัญญาจะสิ้นสุด 30 เมษยน 2560 นี้

    โครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ BRT เป็นโครงการนำร่องในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 พฤษาคม 2553 ให้บริการเดินรถในช่องทางพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร มีจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร 12 สถานี ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งกระแสเตรียมยกเลิกโครงการดังกล่าว เนื่องมาจาก กทม. ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายปีละ กว่า 200 ล้านบาท และขาดทุนสะสมต่อเนื่องทุกปี

    พัชรพงษ์ พันสวัสดิ์ ถ่ายภาพ
    พรรษนันท์ ช่างคิด TNN ช่อง 16 รายงาน
     
    Last edited: 16 Jun 2017

Share This Page