"..ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันข้อมูลเป็นทางการว่า พนักงานการบินไทย ที่ได้รับสินบนครั้งนี้อยู่ในตำแหน่งใด ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐ จะหมายความถึงนักการเมืองหรือไม่ แต่มีการคาดหมายว่า บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเส้นทางเงินสินบนครั้งนี้ จะต้องมีตำแหน่งระดับสูงอย่างแน่นอน และน่าจะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจอนุมัติการดำเนินงานโครงการนี้ด้วย..." จากกรณี ศาลสหราชอาณาจักรสั่งปรับ โรลส์-รอยซ์ บริษัทเครื่องยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติอังกฤษ 671 ล้านปอนด์ หรือ ราว 3 หมื่นล้านบาท หลัง สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ของประเทศ พบว่า บริษัทสมรู้ร่วมคิดกับการทุจริต หรือ ละเลยต่อการป้องกันการติดสินบนในไทย จีน อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไนจีเรีย โดยคำวินิจฉัยของ เอสเอฟโอ ชี้ว่า โรลส์-รอยซ์ ยอมจ่ายเงินราว 680 ล้านบาทให้แก่นายหน้าในภูมิภาค โดยเงินบางส่วนจ่ายให้แก่ "ผู้แทนของประเทศไทย และพนักงานของการบินไทย" ซึ่งบุคคลเหล่านี้ "ถูกคาดหวังว่าจะให้ความความช่วยเหลือแก่โรลส์-รอยซ์ในการจัดซื้อเครื่องเครื่องยนต์ T800 โดยการบินไทย" หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดี้ยนรายงานว่า การจ่ายเงินดังกล่าวสูงถึง 1.3 พันล้านบาท ระหว่างปี 2534-2548 เพื่อให้การบินไทยซื้อเครื่องยนต์ Trent ถึง 3 ลอตจากโรลส์-รอยซ์ ขณะที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออกแถลงการณ์ชี้แจงกำลังเร่งขอข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาตรวจสอบโดยละเอียด เมื่อได้รับข้อเท็จจริง การบินไทยจะพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมในการจัดการเรื่องทุจริตครั้งนี้โดยเร็ว (อ่านประกอบ : การบินไทย แจงเร่งตรวจสอบข้อมูล หลัง 'โรลส์รอยซ์'ยอมรับจ่ายสินบนในไทย) เบื้องต้น สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ประมวลข้อมูลข่าวการจ่ายเงินสินบนการจัดซื้อครื่องยนต์ระหว่างการบินไทย กับ บริษัท โรลส์-รอยซ์ จำกัด จากสื่อต่างๆ มาให้สาธารณชนได้รับทราบชัดๆ ดังนี้ 1. ข้อมูลการจัดซื้อ และ การจ่ายสินบน - สื่อในต่างประเทศและในประเทศ รายงานข้อมูลตรงกันว่า โครงการที่ถูกตรวจสอบพบว่ามีปัญหาการจ่ายเงินสินบน คือ การซื้อขายเครื่องยนต์ ที-800 ในเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777 โดยถูกระบุว่ามีการจ่ายเงินสินบน จำนวน 3 ครั้ง รวม 1,223 ล้านบาท ครั้งแรก - เกิดขึ้นในการจัดซื้อ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2534-30 มิ.ย. 2535 ซึ่ง โรลส์-รอยซ์ จ่ายค่านายหน้าคนกลางให้หน่วยงานหนึ่งเป็นเงิน 18.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 663 ล้านบาท) และเงินดังกล่าวมีการนำไปให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานของการบินไทย เพื่อช่วยให้โรลส์-รอยซ์ ชนะการเสนอขายดังกล่าว ครั้งสอง - เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 2535-31 มี.ค.2540 โดย โรลส์-รอยซ์ จ่ายเงิน 10.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 336 ล้านบาท) ให้นายหน้าคนกลาง ซึ่งนำเงินดังกล่าวบางส่วนไปให้พนักงานการบินไทย ครั้งสาม - เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2547-28ก.พ. 2548 โดยโรลส์-รอยซ์จ่ายเงินให้กับคนกลาง 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ซึ่งมีเงินบางส่วนตกไปสู่เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานของการบินไทย (อ้างอิงข้อมูลข่าวส่วนนี้จาก โพสต์ ทูเดย์) ทั้งนี้ จากข้อมูลการสืบสวนของ เอสเอฟโอ เกี่ยวกับการจ่ายเงินซื้อขายเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ ให้กับการบินไทยจำนวน 3 ครั้ง ดังกล่าว ที่ได้รับ สำนักข่าวอิศรา สรุปกลุ่มบุคคล ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง กับกระบวนการจ่ายเงินสินบน ได้ดังนี้ @ การจ่ายเงินครั้งแรก 663 ล้านบาท 1. นายหน้าคนกลาง 2. หน่วยงานแห่งหนึ่ง 3. เจ้าหน้าที่รัฐ 4. พนักงานการบินไทย @ การจ่ายเงินครั้งสอง 336 ล้านบาท 1. นายหน้าคนกลาง 2. พนักงานการบินไทย (เงินบางส่วนตกไปถึง) @ การจ่ายเงินครั้งสาม 254 ล้านบาท 1. นายหน้าคนกลาง 2. เจ้าหน้าที่รัฐ (เงินบางส่วนตกไปถึง) 3. พนักงานการบินไทย (เงินบางส่วนตกไปถึง) อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันข้อมูลเป็นทางการว่า พนักงานการบินไทย ที่ได้รับสินบนครั้งนี้ อยู่ในตำแหน่งใด ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐ จะหมายความถึงนักการเมืองหรือไม่ แต่มีการคาดหมายจากหลายฝ่ายว่าบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเส้นทางเงินสินบนครั้งนี้ จะต้องมีตำแหน่งระดับสูงอย่างแน่นอน และน่าจะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจอนุมัติการดำเนินงานโครงการนี้ด้วย 2. ข้อมูลรายชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดีดีการบินไทยและเป็นประธานบอร์ดการบินไทย ในช่วงที่เกิดปัญหาเรื่องสินบน ในช่วงเวลาที่ถูกระบุว่า โรลส์-รอยซ์ ได้จ่ายเงินให้กับการบินไทย จำนวน 3 ครั้ง เกิดขึ้นช่วงปี 2534-2548 'กรุงเทพธุรกิจออนไลน์' ตรวจสอบพบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารระดับสูงของการบินไทย ดังนี้ นายวีระ กิจจาทร เป็นดีดีการบินไทยปี2531-2535 พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี ผบ.ทอ. เป็นประธานบอร์ด (ปี2531-2532 ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ปี2532-2535พล.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ.เป็นประธานบอร์ด ส่วนปี2535-2536 นายฉัตรชัย บุญญะอนันต์ เป็นดีดีการบินไทย ขณะที่พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ ผบ.ทอ.เป็น ประธานบอร์ด สำหรับปี2536-2543 นายธรรมนูญ หวั่งหลี เป็นดีดีการบินไทย พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ เป็นประธานบอร์ดการบินไทยตั้งแต่ปี 2536-2539 หลังจากนั้นมีการปรับเปลี่ยนบอร์ดใหม่ โดยมีการแต่งตั้งนายมหิดล จันทรางกูร ปลัดกระทรวงคมนาคมมาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดการบินไทย ช่วงระหว่างธ.ค.2539-พ.ย. 2543จากนั้นปี2543-2544นายพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ เป็นดีดีการบินไทย แต่รัฐบาลสมัยนั้นแต่งตั้งนายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานบอร์ดการบินไทย ( พ.ย.2543-เม.ย.2544) และรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนประธานบอร์ดใหม่โดยแต่งตั้งนายชัยอนันต์ สมุทวณิช (พ.ค.2544-ก.ย.2544) และต่อจากนั้นได้เปลี่ยนคณะกรรมการใหม่ทั้งชุดได้แต่งตั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานบอร์ดการบินไทย (ต.ค.2544-พ.ค.2545 ) แต่ได้สรรหาดีดีใหม่เป็นนายนายกนก อภิรดี ปี2545-2549 ขณะเดียวกัน ในเดือนมิ.ย. 2545-มี.ค.2548 ได้ปรับเปลี่ยนตัวประธานบอร์ดใหม่เป็นนายทนง พิทยะ หลังจากนั้นในปีเดียวกันได้เปลี่ยนประธานบอร์ดอีกรอบเป็นนายวันชัย ศารทูลทัต ปลัดกระทรวงคมนาคม (มี.ค.2548-พ.ย.2549) (อ้างอิงข้อมูลข่าวส่วนนี้ จาก 'กรุงเทพธุรกิจออนไลน์') เบื้องต้น ยังไม่มีการระบุรายชื่อชัดเจนจากการบินไทยว่า ผู้บริหารระดับสูงของการบินไทย ในแต่ละยุคที่เกิดเรื่อง มีใครเกี่ยวข้องและจะถูกเชิญมาให้ข้อมูลบ้าง ดังนั้น ทุกคนจึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ โดยในช่วงเช้าวันที่ 19 ม.ค.2560 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา ได้พยายามติดต่อผู้บริหารระดับสูงของการบินไทย ในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาบางส่วนบางส่วนให้ชี้แจงข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ขณะที่ แหล่งข่าวระดับสูงจาก สตง. กล่าวยืนยันสำนักข่าวอิศราว่า ภายหลังปรากฎข่าวเรื่องนี้ สตง.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างใกล้ชิดแล้ว ทั้งหมดนี่ คือ ข้อมูลเบื้องต้นที่รวบรวมได้เกี่ยวกับกรณีการจ่ายเงินสืนบน ของ บริษัท โรลส์-รอยซ์ จำกัด ให้กับการบินไทย เป็นวงเงินสูงถึง 1,223 ล้านบาท ที่กำลังปรากฎเป็นข่าวโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ส่วนข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ สำนักข่าวอิศรา จะติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาเสนอให้สาธารณะได้รับทราบในโอกาสต่อไป http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/53411-reportoo_53411.html
2534-2548 ทักกี้เป็นนายก 2554-2548 และอีกทียัน 49 อีกแล้วครับท่าน มือด้วนหาว่าทักกี้โกง คราวก่อนก็ว่าวางระเบิด
อืม ไม่ต้องโชว์คนอื่นหรอกครับว่าตัวเองชอบดมรองเท้า ไม่มีใครอยากรู้หรือชมเรื่องแบบนี้หรอก คราวก่อนก็ไม่รู้โชว์ทำไมว่าตัวเองซื้อผ้าอนามัย
กิ้วๆ แก้เขินไปเรื่องอื่น ขนาดมือด้วนยังบอกว่านับถือโกเต๊กเลย แค่ตัดแปะดมผ้าอนามัยกับรองเท้าคงไม่ตายหรอก แล้วลบข้อความทำไมครับ หรือว่าแปลเองจริงแต่กลัวจะเสียฟอร์มที่หลอกตัวเองว่าจะไม่พูด หน่อมแน้มซะจริง ดูซิอายหน้าแดงเป็นตูดลิงเลย
ป.ป.ช.เร่งสอบสินบน"โรลส์-รอยซ์"ก่อนหมดอายุความ สตง.สั่งเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลบริษัท “โรลส์รอยซ์”ติดสินบนขายเครื่องบินในไทย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงถึงข่าวที่มาจากประเทศอังกฤษ จากบริษัท โรลส์-รอยซ์ ซึ่งยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ ว่ามีการจ่ายสินบนในหลายประเทศที่ได้ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ ในหลายประเทศนี้มีทั้ง จีน อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไนจีเรีย และ ไทย ซึ่งประเทศไทยนี้เกิดขึ้นในระหว่างปี 2534-2548 โดย "การบินไทย" ได้ชี้แจงว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงกรณีบริษัทโรลส์รอยซ์ยอมรับว่าได้จ่ายสินบนในประเทศไทย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่ากรณี บริษัท โรลส์รอยซ์ ยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (Serious Fraud Office: SFO) ว่าได้มีการจ่ายสินบนในหลายประเทศที่ได้ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์รวมถึงประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2534-2548 นั้นการบินไทยขอยืนยันว่า การบินไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส โดยไม่มีข้อยกเว้นต่อการทุจริตในทุกรูปแบบ ดังนั้น การบินไทยจะเร่งขอข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาตรวจสอบโดยละเอียด เมื่อได้รับข้อเท็จจริง การบินไทยจะพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมในการจัดการเรื่องทุจริตครั้งนี้โดยเร็ว เพื่อจะดำรงเจตนารมณ์ของการบินไทยในด้านความโปร่งใสไว้ตลอดไป จับตาประชุม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ วันนี้เตรียมพิจารณาข้อมูลการจ่ายสินบนซื้อ-ขายเครื่องยนต์เครื่องบินจากบริษัท "โรลส์-รอยซ์" หรือไม่
ไอ้เศษมนุษย์เอ๋ย อยากทำตัวเป็นคนรักความเป็นธรรม บอร์ดนี้อยากเห็นคนผิดถูกถลกหนังหัวอยู่แล้ว แต่ถ้าผลการสอบสวนออกมาว่านายจ้างเอ็งเป็นคนรับสินบน ก็อย่ามาโทษโน่นนี่นั่นก็แล้วกัน
Suthichai Yoon ผมเชิญย้อนดูคลิบ Facebook Live ของผมที่วิเคราะห์หลักฐานจากบันทึก Statement of Facts ของ Serious Fraud Office (SFO) หน่วยปราบคอร์รัปชั่นของอังกฤษในส่วนที่เกี่ยวกับสินบนจาก Rolls-Royce ให้กับเจ้าหน้าที่ไทยทั้งหมดกว่า 1.2 พันล้านบาทระหว่างปี 1991-2005 นอกจากที่ระบุว่ามี "รัฐมนตรีช่วย" คนหนึ่งไปพบปะกินข้าวกับตัวกลางที่วิ่งเต้นให้ ครม. ไทยตัดสินซื้อเครื่องยนต์โรลส์รอยส์สำหรับเครื่องบินให้การบินไทยก็ยังระบุการต่อรองเรื่องสินบน, จังหวะการจ่าย, และอัตราเปอร์เซ็นต์ของเงินใต้โต๊ะ ท่อนนี้ของเอกสารยืนยันว่านักวิ่งเต้นทีมนี้ได้พบกับคนในรัฐบาลไทย "a member of the Thai government." และรู้ด้วยซ้ำว่าเรื่องนี้จะเข้าคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 พฤศจิกายน 2004 อีเมลติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ RR กับตัวกลางวิ่งเต้นยังระบุว่าจะจ่ายสินบน "4% เมื่อรัฐบาลอนุมัติให้ซื้อเครื่องยนต์...นั่นคือวันที่ 4 ธันวาคม" รายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook Live ของผม เชิญชมและแชร์ครับ ..................................................................... ถ้าระบุว่า รัฐมนตรีช่วย และครม. 23 พย. 2004 ก็หาไม่ยากแล้วครับ
ไม่เห็นจะยาก ไอ้ไพร่อย่าง เศษสวะพระนคร มันก็จะบอกว่า "ระบบยุติธรรมสองมาตรฐาน" "บกพร่องโดยสุจริต" "พ่องแม้วไม่รู้ไม่เห็น" สมองมันมีอยู่แค่นี้ครับ ขยะ
แวะเอาหญ้ามาให้ไอ้ ตัดแปะ แดก กำนึง http://www.thaipost.net/?q=คุ้ยสินบนโรลส์รอยซ์-ปปช-สตงสั่งสอบข้อมูล-จ่ายค่ากินข้าวรมตยุคแม้ว สินบน 1,300 ล้านบาท “โรลส์-รอยซ์” ตั้งแต่ปี 2534-2548 พ่นพิษ ลามตั้งแต่ยุคน้าชาติถึงแม้ว โดยเฉพาะช่วงสัมภเวสีระบุจ่ายค่ากินข้าวกับรัฐมนตรี “เจ้าจำปี” ดิ้นตั้งกรรมการสอบ 2 ชุด แต่ “สหภาพฯ” ไม่เชื่อน้ำยา เตรียมร้อง “บิ๊กตู่” ให้ผุด กก.อิสระสอบคู่ขนาน “ป.ป.ช.-สตง.” สั่งคุ้ยด่วน รับสภาพจ่ายใต้โต๊ะครั้งแรกหมดอายุความแล้ว หอการค้าฯ เปิดตัวเลขคอร์รัปชันยุคคืนความสุขดีขึ้นในช่วง 6 ปี เหลือแค่ 15%!!! เมื่อวันพฤหัสบดี มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในกรณีบริษัท โรลส์-รอยซ์ ยักษ์ด้านเครื่องยนต์ของประเทศอังกฤษ ยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของอังกฤษ (เอสเอฟโอ) ว่าได้จ่ายสินบนในหลายประเทศเพื่อให้ซื้อเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ รวมถึงประเทศไทย ในช่วงปี 2534-2548 โดยมีการจ่ายถึง 3 ครั้ง ครั้งแรก ในช่วงปี 2534-2535 จ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผ่านนายหน้า 18.8 ล้านดอลลาร์, ครั้งที่ 2 ปี 2535-2540 จ่ายให้พนักงานการบินไทย 10.38 ล้านดอลลาร์ โดยเบิกล่วงหน้า 2 ล้านดอลลาร์ เพื่อจัดการขั้นตอนทางการเมือง และครั้งที่ 3 ปี 2547-2548 จ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานการบินไทย 7.2 ล้านดอลลาร์ เพื่อไปคุยและกินข้าวกับรัฐมนตรีเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติสัญญา รวม 3 ครั้ง รวม 36.38 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1,300 ล้านบาท ทั้งนี้ ในห้วงเวลาดังกล่าว มีรัฐมนตรี ประธานบอร์ดการบินไทย และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) ดำรงตำแหน่ง คือ 1.ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2534-30 มิ.ย.2535 นายวีระ กิจจาทร ดำรงตำแหน่งดีดี โดยช่วงปี 2531-2535 มีการเปลี่ยนแปลงประธานบอร์ด 2 ครั้ง โดยปี 2531-2532 มี พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เป็นประธานบอร์ด ปี 2532-2535 มี พล.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ. เป็นประธานบอร์ด ส่วนรัฐมนตรีนั้นในช่วง 14 ธ.ค.2533-23 ก.พ.นั้น นายสมัคร สุนทรเวช รมว.คมนาคม, นายประทวน รมยานนท์, นายเจริญ เชาน์ประยูร และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็น รมช. ซึ่งเป็นรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ส่วนช่วง 6 มี.ค.2534-22 มี.ค.2535 นั้นมีนายนุกูล ประจวบเหมาะ เป็น รมว.คมนาคม, ม.ล.เชิงชาญ แสงสนิท และ พล.อ.อ.สุเทพ เทพรักษ์ เป็น รมช.คมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน 2.การจัดซื้อจัดจ้างช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 2535-31 มี.ค.2540 มีนายวีระ กิจจาทร เป็นดีดีช่วงปี 2531-2535 นายธรรมนูญ หวั่งหลี เป็นดีดีช่วง 2536-2543 ขณะที่ พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ เป็นประธานบอร์ดช่วงปี 2536-2539 และนายมหิดล จันทรางกูร ประธานบอร์ดช่วง ธ.ค.2539-พ.ย.2543 ส่วนรัฐมนตรีนั้น ในช่วง 29 ก.ย.2535-25 ต.ค.2537 มี พ.อ.วินัย สมพงษ์ เป็น รมว.คมนาคม, นายจรัส พั้วช่วย และนายทวี ไกรคุปต์ เป็น รมช.คมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ขณะที่ช่วง 18 ก.ค.2538-27 ก.ค.2539 มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็น รมว.คมนาคม, นายสมบัติ อุทัยสาง นายพีระพงษ์ ถนอมพงษ์พันธ์ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รมช. ซึ่งเป็นยุครัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา 3.การจัดซื้อจัดจ้างช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2547-28 ก.พ.2548 นายกนก อภิรดี ดีดีการบินไทย ช่วงปี 2545-2549 ภายใต้บอร์ดชุดนายทนง พิทยะ ประธานบอร์ด มิ.ย.2545-มี.ค.2548 และนายวันชัย ศารทูลทัต ประธานบอร์ด มี.ค.2548-พ.ย.2549 ส่วนรัฐมนตรีช่วงดังกล่าวนั้น มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รมว.คมนาคม ช่วง 3 ต.ค.2545-6 ก.พ.2548 นายนิกร จำนง เป็น รมช.คมนาคม 5 มี.ค.2545-11 มี.ค.2548 ซึ่งเป็นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น)
ชูวิทย์ เบอร์5 นี้ สังกัดไหนเหรอ ไม่มีหัวไม่มีทีม เล่นแค่พวกตรงข้าม กัดไม่เลือก ไม่มีกลุ่ม ไม่สังกัดพรรค ก้อแต่ไอ้หมาบ้าการเมือง ไม่มีสีสรร แค่ตัวป่วนสังคมแค่นั้นแหละ
5555 สินบนการบินไทย เอาหุ้นปตท.เข้าตลาดฯแล้วขายหมดโดยใช้เวลาเร็วกว่าแสง เห็นชื่อก็ได้กลิ่นเหม็นเน่าโชยมาแต่ไกลเลย
หากพุ่งเป้าไปที่ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ตามการให้การของเจ้าหน้าที่บริษัท โรลส์รอยซ์ เมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังว่ามีรัฐมนตรีช่วยคนใดที่เข้าข่ายบ้าง ข้อมูลเว็ปไซด์ รัฐบาลไทย หรือ www.thaigov.go.th ระบุรายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 54 ดำรงแหน่ง วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 -11 มีนาคม 2548 โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีทั้งสิ้น 37 คน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างๆ 9 คน ประกอบด้วย นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่เป็นที่..น่าสังเกตว่า นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และต่อมาปรับคณะรัฐมนตรี ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในปีนั้น เป็นบุคคลเดียวใน ครม. ที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินเพียงบางส่วน ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ก่อนถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ทั้งทางแพ่งและอาญา ในคดีรถเรือดังเพลิงของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการหลบหนีคดี ขณะที่แหล่งข่าวด้านวิศวกรรมอากาศยานและเครื่องยนต์ ม.เกษตรศาสตร์ ระบุว่า กรณีบริษัท โรลส์รอยซ์ จ่ายสินบนให้กับนายหน้าขายเครื่องยนต์เครื่องบินให้กับบริษัทการบินไทย เป็นกลยุทธ์การตลาดของบริษัทที่ต้องการเปิดตลาดในเอเชียมากขึ้น โดยมีการตั้งศูนย์ซ่อมใหญ่เพื่อรองรับที่ประเทศสิงคโปร์ http://news.thaipbs.or.th/content/259662 ............................................................................... อ่านท่อนสุดท้ายแล้วไม่ประหลาดใจ ทำไมการทุจริตถึงได้มีมากมาย เพราะความคิดในการยอมรับเรื่องนี้เป็นเรื่องปกตินี่เอง
นายพล อ่านสิ ที่ฝรั่งเค้าบอกว่ารัฐมนตรีน่ะ ตอนไหน??? อันอื่นน่ะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ สืบกันอีกยาวกว่าจะถึงรัฐมนตรี กินปลาเยอะๆ
“วัฒนา” ชี้ “ครม.แม้ว”เป็นแพะโรลส์-รอยซ์ ยันไม่มีอำนาจอนุมัติ ไล่ไปเป่านกหวีดหาคนผิด ตรูขำ เหมือนเอาเครื่องบินแลกไก่ไงไม่รู้
ยังไม่ทันเริ่มกระบวนการสอบสวนเลย เหล่าขี้ข้าออกมาเห่ากันพร้อมเพรียงแล้วว่า นช.แม้วเป็นแพะ เอ้า แพะก็แพะ ชวน บรรหาร จิ๋ว ก็แพะ
เอ็งเอาไอ้ไก่วัฒนา เมืองสุข มาอ้างเนี่ยน๊ะ ไม่เอาไอ้ตู่ ไอ้เต้น หรือไอ้เหวงมาเลยว๊ะ 555 แดกหญ้ามาจนเต็มท้องเลยอะดิ ทางอังกฤษเค้าว่ามาอย่างนั้น ไม่ใช่คนที่นี่ว่ากันเอง เค้าตามตีความตามเวลาที่อังกฤษว่ามา แถมเอ็งยังเอามาแปะอีก ทักษิณจะเกี่ยวไม่เกี่ยวก็ไม่รุ้หรอก แต่มันเป็นเวลาที่มันเป็นนายกตามที่อังกฤษกล่าวอ้างมา ว่าแต่ที่เอ็งเอากำนันมา มันเกี่ยวตรงไหนล่ะ แล้วไอ้ที่มันบอกไม่มีอำนาจอนุมัตินั่นก็เรื่องนึง แต่ถ้าใครเชื่อว่ามันไม่มีอำนาจสั่ง ก็ควายแล้ววววว เอามาแปะเองแล้วเสือกไม่อ่าน 122 on 4 december 2004 555
การจัดซื้อจัดจ้างช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2547-28 ก.พ.2548 นายกนก อภิรดี ดีดีการบินไทย ช่วงปี 2545-2549 ภายใต้บอร์ดชุดนายทนง พิทยะ ประธานบอร์ด มิ.ย.2545-มี.ค.2548 และนายวันชัย ศารทูลทัต ประธานบอร์ด มี.ค.2548-พ.ย.2549 ส่วนรัฐมนตรีช่วงดังกล่าวนั้น มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รมว.คมนาคม ช่วง 3 ต.ค.2545-6 ก.พ.2548 นายนิกร จำนง เป็น รมช.คมนาคม 5 มี.ค.2545-11 มี.ค.2548 ซึ่งเป็นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถ้าใครคิดว่าในยุคนั้น ทักษิณสั่งทนง ลำใย ไม่ได้ก็กระบือแท้ล่ะคับ 555
รัฐบาลไหน? คุณกรณ์เขาจะยกเลิกระบบ"คนกลาง"ในการจัดซื้อของการบินไทย แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลมันก็กลับไประบบเดิม
ครม. อนุมัติเงินกับเงื่อนไขได้ไงล่ะ... http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Pr...eet_date_dd2=&meet_date_mm2=&meet_date_yyyy2= ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง คค วันที่มีมติ 23/11/2547 เรื่อง โครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 - 2552/53 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ อนุมัติให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 และอนุมัติในหลักการให้ บทก. ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี พ.ศ. 2548/49-2552/53 ของ บกท. จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ของ บกท....
ตบดิ้น แอดมินเห็นแล้ว ก็รู้สึกเหนื่อยแทนพี่ศิโรตม์นะครับ ใจเย็นๆนะครับ ทาง Voice TV เปิดประเด็นนี้เอง คงกลบเกลื่อนลำบากหน่อย เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่การเมืองอย่างเดียว รวมไปถึงการคอร์รัปชั่นมาตั้งแต่ 34-48 ยุคไหน ทหารคนไหน ใครเรียกเพิ่ม พี่ศิโรตม์จะหงายการด์อะไร เชิญเลยเต็มที่ แต่ว่าบอกว่าเสี่ยแม้วไม่รู้เรื่อง ไม่เกี่ยว ก็ไม่ใช่แน่นอน เพราะ แอร์บัส 340-500 ทางฝ่ายการเมืองในช่วงเสี่ยแม้วแกเป็นคนดัน เซ็นอนุมัติ เสี่ยแกยังจ่ายค่าข้าวให้ด้วย http://www.forbesthailand.com/commentaries-detail.php?did=300 ที่นี้ซิ ข้อมูลแน่น ชัวส์แน่ ทั้งเชิงลึก ยันเชิงปลากราย
คุณผักกาดหอม แห่งไทยโพสต์ ก็ให้ข้อมูล-ประมวลไว้ ได้ช๊าดดดด ๆๆๆ... ***** ทักษิณเป็นแพะ...ใช่แน่นะ? มาแล้วครับฤดูกาลโหนแพะ! หลังจากเล่าเรื่องทักษิณไป ๕ ภาค "วัฒนา เมืองสุข" โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กแก้ตัวให้นายใหญ่ "ทักษิณ" ก็เป็นแพะ! "...สำนักข่าวอิสราเสนอข่าวที่ศาลสหราชอาณาจักรสั่งปรับบริษัทโรลส์รอยส์ จากการติดสินบนในการขายเครื่องยนต์ให้การบินไทย รวม ๓ ครั้ง สองครั้งแรกเกิดก่อนพวกผมเป็นรัฐบาล ส่วนครั้งที่สามเกิดในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย (๒๕๔๗-๒๕๔๘) อ้างว่ามีการจ่ายเงินจำนวน ๒๕๔ ล้านบาท ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ/พนักงานการบินไทยเพื่อซื้อเครื่องบินไอพ่น ล็อต ๓ โดยพาดพิงว่าได้มีการไปพูดคุยและกินข้าวกับรัฐมนตรีเพื่อให้ ครม.อนุมัติสัญญา นั้น ขอเรียนว่าการบินไทยเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ เรื่องคุณสมบัติของเครื่องยนต์เป็นเรื่องทางเทคนิคของการบินไทยที่จะเป็นผู้กำหนดและเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเองโดย ครม.ไม่มีอำนาจไปอนุมัติ เรื่องนี้จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ครม. ทักษิณและพวกผม ส่วนจะมีใครได้ส่วนแบ่งบ้างก็ช่วยกันเป่านกหวีดหาให้เจอแล้วกัน นายกทักษิณเกิดปีวัวแต่เป็นแพะบ่อย ผมเองก็มีโอกาสเป็นแพะกับเค้าด้วยเหมือนกัน วันอาทิตย์จะเล่าให้ฟังครับ..." อืมมมมม..... ถุยยยย...ไม่เกี่ยว ผมไม่อยากรอถึงวันอาทิตย์ครับ! มีคำถาม...ถามไปยังนักการเมืองทุกพรรค คณะรัฐมนตรีทุกชุดว่า เพราะเหตุใดเปลี่ยนรัฐบาลทีก็เปลี่ยนบอร์ดการบินไทยกันที นายกนก อภิรดี ดีดีการบินไทย ระหว่างปี ๒๕๔๕-๒๕๔๙ นายทนง พิทยะ ประธานบอร์ดการบินไทย ระหว่างเดือนมิถุนายน ๒๕๔๕ - มีนาคม ๒๕๔๘ ๒ คนนี้มาไง รัฐบาลไหนตั้งมา จะบอกว่าไม่เกี่ยวกับรัฐบาลไทยรักไทยเลยอย่างนั้นหรือ ๒ คนนี้ทักษิณไม่รู้จักใช่มั้ย? ผมไม่ได้ว่า ๒ คนนี้งาบไป ๒๕๔ ล้านบาทนะครับ แต่ต้องการสื่อให้เห็นว่า ที่บอกว่าการบินไทยเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มันก็ใช่ แต่บอกให้หมดซิครับว่า... การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้คนในบ้านเมืองรู้กันหมดแหละครับว่า รัฐวิสาหกิจคืออู่ข้าวอู่น้ำของพรรคการเมือง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร หรือรัฐวิสาหกิจเกรดเอ พรรคการเมืองส่งคนไปนั่งหัวโต๊ะ คุมผลประโยชน์ทั้งนั้น อีกคนที่ต้องพูดถึงคือ "ศรีสุข จันทรางศุ" อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งท่านถึงแก่กรรมไปแล้วครับ นายศรีสุข ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ คร่อมรัฐบาลทักษิณอยู่ ๓ ปีเต็ม ครับ...พลิกไปดูข่าวเก่าๆ นายศรีสุข ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลทักษิณทำหน้าที่สำคัญคือ ประธานคณะกรรมการวางแผนระยะยาว มีหน้าที่เฉพาะในการทำแผน ใช้เงินลงทุนโครงการขนาดใหญ่ พิจารณาจัดหาเครื่องบินเข้าประจำฝูงในแผนวิสาหกิจ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙) นี่ปูพื้นให้เห็นว่า นโยบายมาจากรัฐบาล ไม่ใช่นายหมูนายหมาเป็นคนคิด มติ ครม.วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ อนุมัติในหลักการให้การบินไทยดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ของปี ๒๕๔๘/๔๙ - ๒๕๕๒/๕๓ ของบริษัท การบินไทย จัดหาเครื่องบิน จำนวน ๑๔ ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินโบอิง ๖ ลำ และแอร์บัส ๘ ลำ วงเงินลงทุน ๙๖,๓๕๕ ล้านบาท พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ใครอยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายทนง พิทยะ เป็นประธานบอร์ดการบินไทย นายกนก อภิรดี เป็นดีดีการบินไทย เป็นเรื่องจริงครับที่คณะรัฐมนตรีไม่ได้เป็นคนวางแผนว่าจะซื้อเครื่องแบบไหน รายละเอียดพวกนี้เป็นหน้าที่ทีมเทคนิคเขา พอได้รุ่นที่ต้องการ บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินเขาจะถามว่าใช้เครื่องยนต์ยี่ห้อไหน ผู้ผลิตเครื่องยนต์ของเครื่องบินในโลกนี้มี ๓ บริษัทใหญ่แบ่งเค้กกันอยู่ นั่นคือ ๑.แพรต แอนด์ วิตนีย์ (Pratt & Whitney) ๒.โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) ๓.จีอี (GE Aviation) ช่วงนี้แหละครับวิ่งกันให้ตีนขวิด นายหน้าอิ่มแปล้กันเลยทีเดียว ขอถามหน่อยเจ้าหน้าที่ดูแลด้านเทคนิคจะกล้ามั้ย กับสินบนที่บริษัทโรลส์-รอยซ์ บอกว่าจ่ายให้ ๒๕๔ ล้านบาท แล้วโรลส์-รอยซ์ ไปกินข้าวกับใคร นายสุริยะ ก็ต้องตอบ ผมก็ไม่รู้นะ... โรลส์-รอยซ์ อาจไปกินข้าวกับรัฐมนตรีคนอื่นก็ได้ กระทรวงอื่นก็ได้ เอาเป็นว่า เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ฝ่ายสื่อสารวิสาหกิจและประชาสัมพันธ์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออกข่าวระบุว่าตามมติ ครม. ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ มีการจัดหาเครื่องบิน ๑๔ ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินโบอิง B777-200 อีอาร์ จำนวน ๖ ลำ เครื่องบินแอร์บัส A380 จำนวน ๖ ลำ เครื่องบินแอร์บัส A340-500 จำนวน ๑ ลำ เครื่องบินแอร์บัส A340-600 จำนวน ๑ ลำ โฟกัสไปที่ บินโบอิง B777-200 อีอาร์ จำนวน ๖ ลำ มูลค่าประมาณ ๓ หมื่นล้านบาท ครับ มีนักการเมืองโกหกว่า โบอิง B777 เป็นเครื่องบินใหม่เพิ่งจะผลิตไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ตัวเองรอดจากข้อกล่าวหา ข้อมูลบริษัทโบอิงระบุเอาไว้ชัดเจนครับว่า โบอิง B777 เริ่มผลิตตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ และขึ้นบินครั้งแรก วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๗ โบอิง B777 มีอยู่หลายรุ่นครับ แต่ละรุ่นใช้เครื่องยนต์แตกต่างกันไป ตามแต่ความต้องการของสายการบิน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับพิสัยการบินเป็นหลัก และ โบอิง B777-200 อีอาร์ พิสัยการบินไกล ๑๔,๓๑๖ กม. (๗,๗๓๐ ไมล์ทะเล) รุ่นนี้ใช้เครื่องยนต์ได้ ๓ รุ่นจาก ๓ บริษัทที่ว่า คือ PW 4090, RR 895 และ GE 90-94B แน่นอนครับ โบอิง B777-200 อีอาร์ ของการบินไทยลอตนี้ ใช้เครื่องยนต์ RR 895 ซึ่งก็คือเครื่องของโรลส์-รอยซ์นั่นเอง ใครเป็นคนงาบ ๒๕๔ ล้านบาทไป ก็ไปหาเอา! แต่ "วัฒนา เมืองสุข" รู้มั้ยนักการเมืองที่ดี และมีความรับผิดชอบนั้นเป็นอย่างไร? เมื่อมีการรับสินบนภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลตนเอง สิ่งแรกที่นักการเมืองที่ดีต้องพูดคือ พร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ไม่ใช่จับแพะชนแกะ โวยวายทักษิณเกิดปีวัวแต่เป็นแพะบ่อย มันไม่ใช่! ทักษิณเป็นแพะบ่อยหรือไม่ คนในรัฐบาลทักษิณต่างรู้ดี ขนาดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก ๒ ปี คดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก ก็ยังบอกว่า ทักษิณ ถูกกลั่นแกล้ง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งยึดทรัพย์ ๔.๖ หมื่นล้านบาท ก็บอกว่า ทักษิณถูกการเมืองเล่นงาน ถามผม ผมก็ไม่รู้ครับว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง!!! แต่ขอให้รู้ว่า ...ที่การบินไทยขาดทุนฉิบหายวายป่วง มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ สาเหตุสำคัญมาจากภาระที่การบินไทยต้องจัดหาฝูงบินใหม่แทบทุกปี เอาเฉพาะช่วงปี ๒๕๔๕-๒๕๔๗ เป็นช่วงเวลาที่มี การจัดซื้อเครื่องบินของการบินไทยมากที่สุด คือช่วงที่นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มี ดร.ทนง พิทยะ เป็นประธานคณะกรรมการบินไทย และมีนายกนก อภิรดี เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซื้อไปทั้งสิ้น ๓๙ ลำ มูลค่ากว่า ๒ แสนล้านบาท จากแผนการซื้อเครื่องบิน ๗ ปี จำนวน ๕๕ ลำ มูลค่ากว่า ๒.๖ แสนล้านบาท แนวทางการจัดหาเครื่องบินใหม่ เกือบทั้งหมดมาจากนโยบายของฝ่ายการเมือง จากการที่ถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง ที่จริงก่อนนี้แบ่งเค้กกันระหว่าง ฝ่ายการเมืองกับกองทัพอากาศ แถมยังมีภาระเป็นสปอนเซอร์ ค่าใช้จ่ายสิทธิพิเศษยิบย่อยให้บอร์ดการบินไทย ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประชุม และสิทธิพิเศษครอบครัว ฯลฯ มันจะเหลืออะไร นั่นมันอดีตครับ ปัจจุบันการบินไทยปรับตัวไปเยอะพอควรแล้ว ช่วงนี้ไม่มีใครมาเป่านกหวีดหรอกครับ แต่อนาคตไม่แน่ รัฐบาลขี้โกงกลับมาปล้นประชาชนอีกเมื่อไหร่ก็เจอกัน. ผักกาดหอม *****
Voice คิดบวก กับ นักการเมือง โดยเฉพาะ พรรคเพื่อไทย "ยอมรับเคยคุย รมช.ปี 47 เรื่องวันซื้อเข้าที่ประชุม ครม. แต่ไม่ระบุว่ามีการเรียกเงินเกี่ยวข้อง"