เคยใช้หัวให้เกิดประโยชน์ทำให้เกิดปัญญา ขบคิดปัญหากันบ้างไหม บริษัทที่ประมูลไปคือบริษัทผลิตไฟฟ้าชีวมวล ที่ปกติใช้แกลบ ขี้เลื่อย ตันละไม่เกิน 1,500 เป็นเชื้อเพลิง แต่ไม่เคยมีโรงไฟฟ้าชีวมวลโรงใดที่เคยใช้ "ข้าวสาร" มาเป็นวัตถุดิบเผาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า แต่ดันมาประมูลข้าวตันละ 5,000 ไปทำเชื้อเพลิง เพราะเหตุใด? อีกบริษัทที่ประมูลคือบริษัทผลิตปุ๋ย ที่ปกติไม่มีใครใช้ข้าวทำปุ๋ยเพราะไม่มีความคุ้มค่า ข้าวสารเมื่อนำไปหมักแล้วจะมีเซลลูโลสหรือเซมิเซลลูโลสตํ่ามาก เทียบกับเศษพืช เช่น ฟางและซังข้าวหรือข้าวโพด มูลสัตว์ ขี้ค้างคาว กระดูกหรือซากสัตว์ ซึ่งให้ปุ๋ยสูงกว่า หาได้ง่าย และราคาถูกกว่าข้าวสารมาก แต่ดันมาประมูลข้าวตันละ 5,000 ไปทำปุ๋ย เพราะเหตุใด?
กระทรวงพาณิชย์เปิดประมูลข้าวเสื่อมคุณภาพในสต็อครัฐบาลล็อตที่ 2 เกือบ 4 แสนตัน กรมการค้าต่างประเทศ เปิดให้เอกชนที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น 16 ราย ยื่นซองประมูลข้าวไม่ตรงตามมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมจำนวน 360,000 ตัน ได้ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น.และกำหนดเปิดซองผู้ประมูลในช่วงบ่ายวันนี้ ข้าวนำมาประมูลวันนี้มี 7 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในคุณภาพเกรดซี ประกอบด้วย ข้าวปทุมธานี 1 ข้าวขาวทั้ง 5%และ 15% ส่วนที่เหลือเป็นข้าวเหนียวขาว 10% ข้าวท่อนหอมมะลิและหอมจังหวัด และอีกส่วนเป็นปลายข้าวเอวัลเลิศ รวมทั้งหมด 119 คลัง ใน 28 จังหวัด การเปิดประมูลข้าวเสื่อมครั้งนี้ถือเป็นล็อตที่ 2 และเป็นครั้งแรกในปีนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลของกลุ่มผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวหรือ เซอร์เวเยอร์ ที่ยังมีความเห็นตรงข้ามกับรัฐบาล โดยมองว่า รัฐบาลนำข้าวคุณภาพดีออกมาขายเป็นข้าวเสื่อม หลังไม่อนุญาตให้เข้าตรวจสอบก่อนออกนำมาประมูล ส่วนผลประมูลข้าวคุณภาพดีจำนวน 200,000 ตัน เมื่อวานนี้เบื้องต้นสรุปว่ามีผู้เสนอราคาสูงสุด 15 ราย จากยื่นมาทั้งหมด 25 ราย หรือคิดเป็นปริมาณ 74% ของจำนวนข้าวที่เปิดประมูลทั้งหมด มูลค่าเสนอซื้อวงเงิน 1,783 ล้านบาท
คดีโกง G2G เหรอ ไม่ต้องรีบ เดี๋ยวคดีอาญาก็ออกมา ตอนนี้อัยการฟ้องคดีอาญาบุญทรงไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่วนคดีอาญาของเอกชน อัยการก็ฟ้องเพิ่มไปเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนคดีแพ่งของบุญทรงตอนนี้อยู่ในกระบวนการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งของกระทรงพาณิชย์อยู่ แต่คดีแพ่งของเอกชนนะ ก็รอฟ้องอยู่ ***************************************************** คดีอาญาบุญทรง องค์คณะผู้พิพากษา ในคดีที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวกรวม 21 คน ฐานทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ มีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้ว พร้อมนัดคู่ความพิจารณาครั้งแรกในวันที่ 29 มิถุนายนนี้ **************************************************** คดีอาญาของเอกชน อัยการสูงสุดนำหลักฐานเอกสารฟ้องเพิ่ม 7 บุคคลและนิติบุคคล ในคดีทุจริตระบายข้าวแบบจีทูจี ตามารตรา 151 และมาตรา 157 หลังสั่งฟ้อง บุญทรง เตริยาภิรมณ์ อดีต รมว.พาณิชย์ กับพวก ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ************************************************** คดีแพ่งของบุญทรง ในคลิปนาทีที่ 3 ************************************************** คดีแพ่งของเอกชน
"ประยุทธ์" เผยจีทูจีจีนซื้อข้าว 9 แสนตันต่อ - NOW26.TV mobile ... พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อช่วงเวลา16.50 -17.50 น.ที่ผ่านมา ได้เริ่มกล่าวเชิญชวนประชาชน ร่วมถวายพระพร ทำความดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวาระมหามิ่งมงคลของชนชาวไทย 12 สิงหาคมนี้ ยังระบุถึงความคืบหน้าของงานต่าง ๆ เช่นเรื่องการบริหารจัดการน้ำ การเริ่มดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงตอนหนึ่ง ยังระบุถึงการระบายข้าวว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เดินทางไปเจรจาที่จีน มีผลการเจรจากลับมา เป็นข่าวดีคือ การส่งมอบข้าวตามสัญญาที่เหลือ 9 แสนตัน ทางจีนแจ้งว่าจะยังคงดำเนินการต่อไป ทุกเดือน เดือนละ 8 หมื่น ถึงหนึ่งแสนตัน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 ถึง กันยายน 2558 ถ้ามัน จีทูจีเก๊ จะมีการส่งมอบข้าวตามสัญญาที่เหลือ 9 แสนตันได้อย่างไร
นายก่วน มู่ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวถึงการขายข้าวแบบจีทูจี ระหว่างไทยกับจีน ว่า เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นมาหลาย 10 ปีแล้ว เพราะประเทศไทยผลิตข้าวมากที่สุด และขายข้าวได้เป็นอันดับหนึ่งของโลกตลอดมา จึงมีการหารือกันขอให้จีนซื้อข้าวเพิ่ม เพื่อช่วยเหลือชาวนาไทยให้มีรายได้ดีขึ้น ต่อมาก็มีการลงนามในข้อตกลงสนับสนุนค้าสินค้าเกษตร และสนับสนุนการค้าและวางแผนงาน 5 ปี ด้านการเกษตร สำหรับเรื่องข้าวถือว่ามีความสำคัญมากกว่ายางพารา และมันสำปะหลัง หรือผลไม้อื่น แต่ข้าวก็ถือว่าขายลำบาก แต่ตามประเพณีที่ปฏิบัติมา จีนก็เห็นว่า ควรที่จะสนับสนุน จึงลงนามในหลักการเรียกว่าระหว่างรัฐบาลเป็นในระดับหลักการเท่านั้น แต่ถ้าจะซื้อขายจริงๆ จะมอบหมายให้บริษัทไปหารือกับประเทศไทยโดยตรง ทั้งนี้ ทราบว่า มีการเซ็นสัญญากับบริษัทแล้ว โดยประมาณหลายแสนตัน แต่ไม่เคยมีสัญญาซื้อขาย 5 ล้านตัน ตามที่รัฐบาลไทยกล่าวอ้าง เพราะจีนไม่ได้ซื้อข้าวจากไทยประเทศเดียว จึงไม่ได้ซื้อมากมาย เพราะเราก็ไม่ได้ขาดข้าวอยู่แล้ว เพียงแต่ซื้อเพื่อปรับตามความต้องการของตลาดที่ชอบรสชาติข้าวไทย แต่บางครั้งก็ซื้อจากเวียดนาม รัสเซีย และอีกหลายประเทศ
จะมาบอกว่าศาลรับฟ้องอาญาเอกชน 7 ราย ในคดี G2G แล้วนะ หลังจากอัยการสูงสุดมีมติฟ้องเพิ่มเอกชน 7 รายต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในข้อหาร่วมสนับสนุนนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกอดีตนักการเมือง ข้าราชการและเอกชน รวม 21 รายทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ในวันนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งรับฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว โดยนัดพิจารณาเพื่อสอบคำให้การเอกชน 7 ราย ครั้งแรก ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ศาลนัดไต่สวนพยานครั้งแรกคดีที่นายบุญทรง กับพวก 21 รายตกเป็นจำเลย สำหรับเอกชน 7 รายที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ประกอบด้วย 1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีกิจทวียโสธร, นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการโรงสีกิจทวียโสธร, บริษัท กิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด ที่มีนายทวี อาจสมรรถ เป็นกรรมการ , บริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, บริษัท เจียเม้ง จำกัด และนางประพิศมานะธัญญา กรรมการบริษัทเจียเม้ง จำกัด สำหรับคดีปล่อยปะละเลยโครงการจำนำข้าวที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นัดไต่สวนพยานโจทก์ ครั้งที่ 3 ในวันพรุ่งนี้(26 ก.พ.) เวลา 09.30 น. ซึ่งอัยการ โจทก์ เตรียมพยานบุคคล เพื่อให้ศาลไต่สวน รวม 3 ปาก ประกอบด้วย นายวิชัย ศรีประเสริฐ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, นายระวี รุ่งเรือง เครือข่ายชาวนาไทย และ พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามตรวจสอบการระบายข้าว ในคณะกรรมการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา
สนช. เตรียมตั้งกระทู้ถามนายกฯ กรณีโครงการจำนำข้าวและปัญหาข้าราชการระดับสูงเอี่ยวทุจริตในองค์การของรัฐ
แล้วข้าวนังปูที่ขายกับจีนมันผ่านศุลกากรไปได้ยังไง กรมศุลกากรน่าจะรู้ดีนะครับ ถ้าไม่ผ่านศุลกากรนี้ขายกันแบบเถื่อน ๆ เลยเชียว
คดี G2G เก๊ของบุญทรง วันนี้ศาลได้สอบพยานนัดแรกแล้วนะ ศาลฎีกาฯนัดไต่สวน "บุญทรง" พร้อมพวกรวม 21 คน คดีทุจริตขายข้าวจีทูจีนัดแรก วันนี้ (2 มี.ค.) นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งศาลฯ นัดไต่สวนพยานหลักฐานคดีที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง นายบุญทรง และพวก 21 ราย นัดแรก ในความผิด พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) ประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) การมาศาลฎีกาฯ ครั้งนี้ ไม่มีกลุ่มมวลชนมาให้กำลังใจนายบุญทรง เหมือนกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี การไต่สวนพยานในคดีนี้จะเริ่มตั้งแต่วันนี้ (2 มี.ค.) ไปจนถึงนัดสุดท้าย วันที่ 21 ธันวาคม 2559 การออกนั่งบัลลังก์วันนี้ ศาลฎีกาฯ พิจารณากรณีที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอรวมสำนวนในคดีนี้เพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากที่ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งรับฟ้องบริษัทเอกชนเพิ่ม 7 ราย สำหรับการตรวจหลักฐานคดีนี้ เดิมศาลฯ อนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าไต่สวน 29 ปาก ส่วนจำเลย อนุญาตให้นำพยานเข้าไต่สวน 92 ปาก วันนี้ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว หลังการประชุม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ได้สรุปผลการปิดบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในสัปดาห์หน้าจะรายงาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า ผลขาดทุนไม่ถึง 100,000 ล้านบาท และยืนยันว่าไม่มีข้าวหาย แต่ผลขาดทุนการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวรอบนี้ จะสูงกว่าการปิดบัญชีรอบวันที่ 30 ก.ย.2558 เพราะมีต้นทุนดอกเบี้ยและค่าเช่าคลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งการระบายข้าวมีราคาลดลง โดยเฉพาะข้าวเสื่อมที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นปีละ 5% ซึ่งตามหลักการ ข้าวเสื่อมคุณภาพจะทำให้ผลขาดทุนของโครงการสูงขึ้น “คลัง”เตรียมเสนอตั้งหน่วยงานดูแลบัญชีข้าว พร้อมกันนี้ คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ จะเสนอ นบข.พิจารณาให้มีหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบดูแลการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวโดย เฉพาะ เพราะที่ผ่านมาการปิดบัญชีมีปัญหามาก เช่น ระบบฐานข้อมูล การบริหารสต็อกข้าว ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอเพื่อให้การปิดบัญชีข้าวของปีงบประมาณ 2559 ทำได้รวดเร็วมากขึ้น รวมถึงจะเสนอรัฐบาลตั้งงบประมาณชดเชยภายใน 4 ปี
8 มี.ค. | ข่าว 15.00 น. กระทรวงการคลัง ประชุมปิดบัญชีโครงการรับจำข้าว รอบบัญชี วันที่ 30 กันยายน 2558 พบผลขาดทุนโครงการสูงขึ้น แต่ไม่เปิดเผยตัวเลข
ศาลฎีกาฯ นัดไต่สวนพยานโจทก์ "วรงค์-บุญทรง" มาศาล ส่งออกข้าว มี.ค.พุ่ง 26.1% คาดส่งออก เม.ย.ชะลอตัวส่งมอบข้าวจีทูจีลดลง
นายกฯ กำชับ พณ. เร่งรัดเรียกค่าเสียหายทุจริตข้าวจีทูจีคืนหลวง 2 หมื่นล้าน ย้ำขอให้รอบคอบภายใต้กฎหมายและกรอบเวลา ชี้เป็นบทเรียนราคาแพงของข้าราชการ เตือนให้ยืนข้างความถูกต้อง พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีหนังสือไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อบังคับทางปกครองให้นักการเมืองและข้าราชการ จำนวน 6 คน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐ รวมจำนวน 2 หมื่นล้านบาท ภายหลังจากที่กรมบัญชีกลางได้สรุปตัวเลขค่าเสียหายจากการระบายข้าวจำนวน 6.2 ล้านตันแล้ว เขากล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างตรวจสอบรายละเอียดทางกฎหมาย เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อไป พลตรี สรรเสริญ กล่าวต่อว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจติดตาม และรัฐบาลไม่ได้นิ่งเฉย มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยการศึกษาข้อมูลจะต้องทำอย่างรอบคอบ แต่อยู่ภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ปล่อยให้เนิ่นนานจนเกินไป "นายกฯ ฝากให้ข้าราชการทุกคนถือกรณีนี้เป็นบทเรียนตัวอย่างที่มีราคาแพง เพื่อนำไประลึกเป็นข้อเตือนใจอยู่เสมอว่า จะต้องยืนข้างความถูกต้อง มีความสุจริตเที่ยงตรง และยึดหลักกฎหมายในการปฏิบัติงาน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองหรือผู้แสวงหาผลประโยชน์จากราชการ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้" ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเรียกค่าเสียหายทางละเมิดกรณีทุจริตการระบาย ข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) 4 สัญญา 6.2 ล้านตัน ได้สรุปตัวเลขการชดใช้ค่าเสียหายวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท มีนักการเมืองและข้าราชการที่ถูกบังคับทางปกครองชดใช้ค่าเสียหาย 6 คน ได้แก่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ พ.ต.นพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการ รมว.พาณิชย์ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายทิฆัมพร นาทวรทัต อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ช่วยเกลี้ยง อดีตเลขานุการกรมการค้าต่างประเทศ 5 พ.ค. 59 | ข่าว 19.00 น.หลังจากคณะกรรมการตรวจสอบสรุปแล้วว่าการระบายข้าวแบบจีทูจี ทำให้เกิดความเสียหายประมาณ 20,000 ล้านบาท มีผู้เกี่ยวข้องทั้งอดีตรัฐมนตรี และข้าราชการประจำเกี่ยว 6 คน ล่าสุดนายกสั่งเร่งรัดติดตามค่าเสียหาย
ครึ่งทางสืบพยาน "จำนำข้าว" ชดใช้ค่าเสียหายข้าวจีทูจี เตรียมฟัน "บุญทรง" กับพวก 2 หมื่นล้าน ศาลไต่สวนพยานคดีจำนวนข้าวนัดที่ 8 เสร็จสิ้น
การไต่สวน คดี“อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์”ปฏิบัติหน้าที่มิชอบไม่ยับยั้งจำนำข้าว นัดที่8 พยานโจทย์ชี้แจงผลตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว สรุปตัวเลขที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องชดใช้สูงถึง2.8แสนล้านบาท วันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่ช่วงเช้า มีประชาชนและแกนนำพรรคเพื่อไทยเดินทางมาให้กำลังใจและมอบดอกกุหลาบสีแดงให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ การไต่สวนพยานโจทย์วันนี้มี 2 ปาก คือ นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) และ นายจริชัย มูลทองโร่ยรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานประธานคณะกรรมการการสอบข้อเท็จจริงจำนำข้าว ทนายฝ่ายโจทย์ ถามนายจิรชัยถึง ผลการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่าส่งมอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แล้วเมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา นายจิรชัย เบิกความว่า จากการตรวจสอบการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวทั้งสิ้น 4 ฤดู และปิดบัญชีในวันที่ 22 พ.ค. 2557 พบว่า ต้นทุนโครงการอยู่ที่ 653,000 ล้านบาท ค่าดำเนินการของเจ้าหน้าที่ 24,000 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ย 30,000 ล้านบาท รายได้จากการขายข้าว ระบายข้าว 189,000 ล้านบาท ปรากฎเป็นผลขาดทุน ณ วันที่ 22 พ.ค. 2557 อยู่ที่ 518,690 ล้านบาท แต่เพื่อให้ความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯจึงให้หักต้นทุนส่วนที่จำนำข้าวให้ประโยชน์กับประชาชน ค่าใช้จ่ายดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ส่วนที่ชาวนาเข้าโครงการและขายข้าวระบายข้าวได้รวมถึงดอกเบี้ยจากการใช้งบประมาณดำเนินโครงการจึงสรุปเป็นค่าทำให้ค่าเสียหายอยู่ที่ 286,639 ล้านบาท ทนายโจทย์จึงถามต่อว่าเป็นยอดหนี้มูลค่าความเสียหายที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ในฐานะจำเลยต้องรับผิดชอบใช่หรือไม่ พยานโจทย์ตอบว่า “ใช่” อย่างไรก็ตาม ทนาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ค้านว่าเป็นตัวเลขที่สูง และต้องการตรวจสอบเอกสารในส่วนนี้ ศาลจึงพิจารณาแล้วให้ฝ่ายจำเลยดูเอกสารก่อน จึงให้มีการไต่สวนประเด็นนี้อีกครั้งในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ป.ป.ช.สั่งอายัดเงิน 1.87 พันลบ.หลังพบสัญญาซื้อขายข้าวไม่ใช่จีทูจีพร้อมให้ไต่สวน 33 ผู้เกี่ยวข้อง วันนี้(13พ.ค.59)นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามและการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช.แถลงความคืบหน้าการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีมีเหตุอันควรสงสัย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ และนางปราณี ศิริพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กรณีเห็นชอบการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ คณะอนุกรรมการไต่สวน มีคำสั่งให้กรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการเก็บ รักษาเงินจำนวน 1,878,219,993.35 บาท ซึ่งเป็นแคชเชียร์เช็คที่นำมาชำระค่าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวในชื่อของบริษัทฯ ที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายข้าว จำนวน 3 บริษัท จาก 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท Haikou Liangmao Cereals and Oils Trading Co., Ltd.บริษัท Hainan Province land Reclamation Industrial Development และบริษัท Hainan land Reclamation Commerce and Trade Group Co., Ltd. แต่ยังไม่ได้รับมอบข้าว เนื่องจากคณะอนุกรรมการพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะพิสูจน์ความผิดและเป็นพยานหลักฐานที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และเป็นทรัพย์สิน ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งการไต่สวนข้อเท็จจริง และอาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ประกอบมาตรา 132 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยึดและอายัดเงินจำนวนนี้ไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด เนื่องจากสัญญาที่ผู้ถูกกล่าวหาทำกับรัฐวิสาหกิจจีนไม่ใช่สัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐและเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ย่อมไม่สามารถที่จะดำเนินการส่งมอบข้าวตามจำนวนเงินดังกล่าวได้ ชดใช้จำนำข้าว 2.8 แสนล้าน พยานยืนยัน ไม่เร่งรัดตรวจสอบ "ยิ่งลักษณ์" จากการที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงนโยบายรับจำนำข้าวสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งแต่ช่วงปี 2558 ล่าสุด ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ เบิกความต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า ผลการตรวจสอบนางสาวยิ่งลักษณ์มีความผิดละเมิดและต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดถึง 286,639 ล้านบาทเศษ จากผลขาดทุนกว่า 5.18 แสนล้านบาท วานนี้ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง องค์คณะผู้พิพากษาคดีรับจำนำข้าว ได้ไต่สวนพยานโจทก์นัดที่ 8 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย คดีโครงการรับจำนำข้าวซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งไฮไลต์สำคัญของการพิจารณาคดีอยู่ที่ พยานปากที่ 2 นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานประธานคณะกรรมการการสอบข้อเท็จจริงจำนำข้าว เบิกความว่าที่ประชุมคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงจากความรับผิดโครงการจำนำข้าว ซึ่งพยานเป็นประธานได้สรุปความเห็นแล้วว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีความผิดละเมิด โดยการแสวงหาข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณานั้น คณะทำงานได้ให้ความเป็นธรรมและให้โอกาส น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงเต็มที่แล้ว โดยเป็นการตรวจสอบการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวทั้งสิ้น 4 ฤดู และปิดบัญชีในวันที่ 22 พ.ค. 2557 พบว่า ต้นทุนโครงการอยู่ที่ 653,000 ล้านบาท ค่าดำเนินการของเจ้าหน้าที่ 24,000 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ย 30,000 ล้านบาท รายได้จากการขายข้าว ระบายข้าว 189,000 ล้านบาท ปรากฏเป็นผลขาดทุน ณ วันที่ 22 พ.ค. 2557 อยู่ที่ 518,690 ล้านบาท แต่เพื่อให้ความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯจึงให้หักต้นทุนส่วนที่จำนำข้าวให้ประโยชน์กับประชาชน ค่าใช้จ่ายดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ส่วนที่ชาวนาเข้าโครงการและขายข้าวระบายข้าวได้รวมถึงดอกเบี้ยจากการใช้งบประมาณดำเนินโครงการจึงสรุปเป็นค่าทำให้ค่าเสียหายอยู่ที่ 286,639 ล้านบาททนายโจทก์จึงถามต่อว่าเป็นยอดหนี้มูลค่าความเสียหายที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ในฐานะจำเลยต้องรับผิดชอบใช่หรือไม่ พยานโจทก์ตอบว่า "ใช่" พร้อมกันนี้ พยานยังได้ปฏิเสธด้วยว่าการตรวจสอบไม่มีการเร่งรัดกดดันหรือคาดโทษจากฝ่ายใดไว้ก่อน โดยได้รับคำสั่งตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย.2558 แล้วเสร็จในวันที่ 28 มกราคม 2559 ซึ่งเป็นการทำงานด้วยความสบายใจ อย่างไรก็ตาม ทนายฝ่ายจำเลยได้ค้านว่าเป็นตัวเลขที่สูง และต้องการตรวจสอบเอกสารในส่วนนี้ ศาลจึงพิจารณาแล้วให้ฝ่ายจำเลยดูเอกสารก่อนและให้มีการไต่สวนประเด็นนี้กับนายจิรชัยอีกครั้งในวันที่ 24 มิถุนายน2559 ส่วนการไต่สวนพยานจำเลยนัดแรกเลื่อนจากวันที่ 8 ก.ค. เป็นวันที่ 5 ส.ค.2559 เปิดหลักฐานคดีข้าว "จีทูจี" พบเช็ค 40 ใบมูลค่า 1.8 พันล้าน เป็นของ "สยามอินดิก้า" สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช) พบหลักฐานซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ให้กับ 4บริษัทจีนโดยมิชอบ โดยทั้ง 4 บริษัทไม่ได้รับมอบอำนาจจากหน่วยงานจีนตามที่เคยอ้าง และยังพบว่า เช็ค 46 ใบ มูลค่า 1,800 ล้าน เป็นของ "สยามอินดิก้า" ถึง 40 ใบ เลขาธิการและโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. นายสรรเสริญ พลเจียก บอกว่า จากการตรวจสอบหลักฐานมีเหตุอันควรสงสัยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์ และนางปราณี ศิริพันธ์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เห็นชอบการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ล็อตใหม่ กับบริษัทจีน 4 แห่งโดยมิชอบ เพราะพบหลักฐาน ว่า บริษัททั้ง 4 แห่ง ไม่ได้รับมอบอำนาจกับหน่วยงาน COAFCO (คอฟโก้) หรือหน่วยงานจีนที่มีหน้าที่ในการดำเนินการซื้อขายข้าวจีทูจีโดยตรง ดังนั้นการซื้อขายข้าวกับบริษัทจีน 4 แห่ง จึงไม่ใช่สัญญาการซื้อขายข้าวแบบจีทูจี และยังพบว่าไม่มีการโอนเงินระหว่างประเทศ รวมถึงข้อมูลกรมศุลกากร เมื่อปี 2556 - 2558 ก็ไม่พบว่ามีการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่า แคชเชียร์เช็ค 46 ฉบับ มูลค่า 1,878 ล้านบาท ก็ไม่ได้มาจากบริษัทจีน แต่มาจากบัญชีของบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด บริษัท สิราลัย จำกัด และนายสุธี เชื่อมไธสง ซึ่งเป็นคนสนิทของนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ "เสี่ยเปี๋ยง" ถึง 40ใบ มูลค่า 1.8 พันล้านบาท คณะอนุกรรมการไต่สวนพิจารณาแล้วเห็นว่า เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะพิสูจน์ความผิดและเป็นพยานหลักฐานที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ ดังนั้น ป.ป.ช จึง มีคำสั่งให้กรมการค้าต่างประเทศ ยึดและอายัดเงินจำนวนนี้ไว้เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการไต่สวน และ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการไต่สวน ยังเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติสั่งไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาเพิ่มอีก 33 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก มี 18 บริษัท ซึ่งเป็นเอกชนและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาซื้อขายข้าว และผู้รับมอบอำนาจจากจีน กับกรมการค้าต่างประเทศ กลุ่มที่ 2 จำนวน 15 ราย คือ กลุ่มบุคคล และ นิติบุคคล ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการชำระเงินค่าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวจีทูจี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี บริษัท สยามอินดิก้า และคนที่เป็นกรรมการในบริษัทนี้ และ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ "เสี่ยเปี๋ยง" พณ.รอคณะกรรมการกฤษฏีกาชี้ขาดให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ เรียกค่าเสียหายจากกรณีทุจริตข้าวจีทูจี
ให้ชาวนาเถอะคร้า *************************************** ครบชุด!เปิดหลักฐานมัด4บริษัทกลุ่มเดียวกัน รับมอบอำนาจช่วงบ.จีน ซื้อข้าวจีทูจีเก๊ เปิดครบชุด! หลักฐานมัดเครือข่าย4บริษัท รับมอบอำนาจช่วงบ.จีน ซื้อข้าวจีทูจีเก๊ 'ลิตร พอใจ-กรรณิกา เพชรสุวรรณ์' สองตัวละครหลักนำทีมเชื่อมโยงความสัมพันธ์ 'ที่อยู่-ผู้รับมอบอำนาจ-พยาน-ผู้ทำบัญชี' ชุดเดียวกัน ในการตรวจสอบข้อมูลความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทเอกชน 4 แห่ง คือ บริษัท อินเตอร์ลิงค์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด, บริษัท คอมพาวด์ อินเตอร์เทรด จำกัด, บริษัท แคปปิตอลซ์ เทรดดิ้ง จำกัด, บริษัท ซิมเปิ้ล เบสท์ เทรดดิ้ง จำกัด ที่ปรากฎชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจากบริษัทจีน 4 แห่ง เข้ามาซื้อขายข้าวแบบจีทูจี กับรัฐบาลไทย ยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กำลังอยู่ระหว่างการไต่สวนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปหมดแล้ว สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org มิได้ตรวจสอบพบข้อมูลเพียงแค่ การปรากฎชื่อ ของ 'นางสาว กรรณิกา เพชรสุวรรณ์' กรรมการผู้มีอำนาจและผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท อินเตอร์ลิงค์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด เป็นผู้รับมอบอำนาจในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และจัดตั้งบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จากบริษัทอีก 3 แห่ง คือ บริษัท คอมพาวด์ อินเตอร์เทรด จำกัด, บริษัท แคปปิตอลซ์ เทรดดิ้ง จำกัด, บริษัท ซิมเปิ้ล เบสท์ เทรดดิ้ง จำกัด และการใช้บริการผู้ทำบัญชีคนเดียวกัน คือ 'น.ส.จิระดา บุญใส' และใช้ผู้สอบบัญชี คนเดียวกัน คือ 'น.ส.กรฤดี ฉินกมลทอง' ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ ที่ใช้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของบริษัทเอกชน ทั้ง 4 แห่ง ว่าแท้จริงแล้ว เป็นบริษัทเอกชนกลุ่มเดียวกัน อ่านต่อได้ที่นี่ครับ http://www.isranews.org/investigative/invest-slide/item/46982-inves01_46982.html
ศาลฎีกาฯไต่สวนคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐนัดแรก หลังรวมคดีหน่วยงานรัฐ ฟ้องเรียกค่าเสียหายเอกชนเอี่ยวทุจริต วันนี้ (15มิ.ย.59) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดไต่สวนนัดแรกในคดีที่อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และพวกรวม 28 ราย ฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยวันนี้ศาลนัดไต่สวนพยานฝ่ายอสส. จำนวน 6 ปาก ได้แก่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตสส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ,นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์,นางสาวชุติมา บุณยประภัทร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ,นางมนัศนิตย์ จิรวัฒน์ นักวิชาการเชี่ยวชาญ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์,น.ส.พันธุ์สุดา จันทรโมลี ข้าราชการกรมการค้าต่างประเทศ ,และน.ส.รัตนาภรณ์ ไตรรัตนานุสรณ์ นักวิชาการชำนาญพิเศษ กรมการค้าต่างประเทศ ทั้งนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ เคยเลื่อนการไต่สวนนัดแรก วันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา เนื่องจากมีผู้ยื่นคำร้อง 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ ,องค์การคลังสินค้า ,องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ,กระทรวงพาณิชย์ ,และการะทรวงการคลัง เรียกค่าเสียหายจากเอกชนที่เกี่ยวข้องกับคดีจำนวน 7 ราย นอกจากนี้ศาลสั่งยกเลิกการนัดไต่สวนในวันที่ 4 และวันที่ 11 พ.ค. นี้ แต่เพิ่มวันนัดไต่สวน 8 นัด ได้แก่ วันที่ 1 ,15 มี.ค. ปี 2560 ,วันที่ 19,26 เม.ย. ปี 2560 ,วันที่ 17,31 พ.ค. ปี 2560 ,และวันที่ 14,28 มิ.ย. ปี 2560 โดยกำหนดให้การไต่สวนพยานของผู้ยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแล้วเสร็จใน 1 นัด และการไต่สวนพยานของเอกชนในสำนวนคดีที่เพิ่มใหม่ จำนวน 11 ปาก แล้วเสร็จใน 3 นัด อย่างไรก็ตาม ศาลได้กำชับคู่ความ โดยเฉพาะ นพ.วรงค์ในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ที่อาจเป็นการชี้นำ บิดเบือน หรือมีอิทธิพลเหนือความคิดของประชาชนอีกด้วย
"ยิ่งลักษณ์" ฟ้องพยานคดีข้าว "จิรชัย" ยันสอบค่าเสียหาย 2.8 แสนล้านถูกต้อง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดไต่สวนพยานฝ่ายโจทก์นัดสุดท้ายในคดีโครงการรับจำนำข้าว โดยให้น้ำหนักไปที่การตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
นายกรัฐมนตรีสั่ง นบข. เร่งรัดคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตข้าวนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และให้ตรวจสอบ 8 คดีใหม่ หลังเจ้าหน้าที่ไม่ส่งฟ้อง พร้อมรับทราบสถานการณ์ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวหรือ นบข. พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คดีเกี่ยวกับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวถือว่ามีความสำคัญมากต้องเร่งรัดให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งเรื่องนี้นายกฯ มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องที่เกี่ยวกับพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539เป็นเรื่องของการรับผิดชอบเกี่ยวกับความเสียหายของโครงการ ส่วนเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือป.ป.ช.ก็ถือว่าอยู่ในกระบวนการและให้ต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมจึงขอทุกฝ่ายอย่าเชื่อคำบิดเบือนทั้งนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนาและเชื่อว่าเมื่อมีการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมก็จะไม่มีปัญหาอะไรพร้อมย้ำว่าหากมั่นใจว่าตัวเองทำถูกก็ขอให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด นางสาวชุติมา บุญประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าที่ประชุมหารือเรื่องการดำเนินคดีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเห็นชอบปรับปรุงคณะอนุกรรมการติดตามผลการดำเนินคดีข้าวในสต็อกรัฐบาลที่ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยเปลี่ยนประธานจากรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ให้เป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรมแทน ทั้งนี้ มีการดำเนินคดีแล้ว 1,000 คดี ส่งฟ้องศาลแล้ว 650 คดี อีก 20 คดี ยังอยู่ระหว่างการทบทวนคดีและยังมีอีก 8 คดี ที่ไม่ส่งฟ้องแต่ที่ประชุมได้ให้กลับไปตรวจสอบอีกครั้งถึงสาเหตุไม่ส่งฟ้อง โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย และบริหารจัดการข้าว ได้รายงานสถานการณ์ราคาข้าวโลกที่มีแนวโน้มขยับขึ้น โดยข้าวขาวอยู่ระหว่าง 8,700 -9,000 บาทต่อตัน หอมมะลิ 13,000 ต่อตัน ข้าวเหนียว 15,000 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่น่าพอใจและเป็นผลดีต่อข้าวไทย พร้อมกับศึกษาแนวทางขายข้าว ทั้งการเพิ่มมูลค่าข้าว และผลิตข้าวคุณภาพตามความต้องการของตลาดโลก และเพิ่มมูลค่าข้าว เพื่อก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 แบบครบวงจร ส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ในสินค้าเกษตร โดยเริ่มต้นที่ข้าวนอกจากนี้ต้องสนับสนุนการลดพื้นที่ปลูกข้าวและจัดโซนนิ่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร ในการปลูกพืชอื่นและทำปศุสัตว์ ที่ประชุมยังให้เร่งติดตามคดีเกี่ยวกับข้าวที่คั่งค้างจำนวนมาก ทั้งที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้อง รวมถึงตรวจสอบเหตุผลกรณีที่ไม่ส่งฟ้องร้องอีกด้วย สำหรับปัญหาเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวนั้น นายกรัฐมนตรี กำชับผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหา ในส่วนที่รัฐบาลรับผิดชอบให้แล้วเสร็จในปีนี้ โดยเฉพาะคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง มีความผิดปกติเกิดขึ้นในโกดังรับฝากข้าวสาร ที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นคู่สัญญากับองค์การคลังสินค้า หรือ อคส.ประเด็นมาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ประมูลซื้อข้าวสารเหนียว 10 เปอร์เซ็นต์ได้ และต้องการขนย้ายข้าวตามสิทธิ์ แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบว่ามีข้าวสารเจ้าปลอมปนจำนวนมาก ไม่ตรงตามที่ประมูลได้ จึงร้องเรียนนายกรัฐมนตรี และ อคส.แจ้งความกองปราบปรามข้อหายักยอกต่อบริษัทคู่สัญญาดังกล่าว พร้อมกับเข้าตรวจสอบซั้ำในวันนี้ ขณะที่บริษัทฯ เจ้าของโกดัง ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริตยักยอก และพร้อมให้ความร่วมมือตรวจสอบหาผู้กระทำผิดทุกขั้นตอน ตำรวจและทหาร เข้าตรวจสอบข้าวในโกดังสุพรีมไรซ์ จังหวัดชัยนาท พบข้าวบางกระสอบเป็นข้าวผิดประเภทและมีสิ่งปลอมปน จึงสั่งยึดของกลาง 390,000 กระสอบ พลตำรวจเอก เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา ที่ปรึกษา สบ.10 ผู้อำนวยการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สนธิกำลังกับทหาร เข้าตรวจสอบข้าวในโกดังสุพรีมไรซ์ ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท หลังตัวแทนบริษัท ซินตั๊กกรุ๊ป จำกัด บริษัทคู่สัญญาประมูลซื้อข้าวในโครงการรับจำนำข้าวของกระทรวงพาณิชย์ ร้องเรียนปัญหาคุณภาพของข้าวต่อศูนย์ดำรงธรรม การตรวจสอบครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า หรือ อคส.และตัวแทนโกดัง ตรวจสอบร่วมกัน โดยมีเซเวอเยอร์กลาง ทำการฉ่ำหรือสุ่มใช้ท่อเหล็กแทงเพื่อนำเมล็ดข้าวออกมาตรวจสอบ ผลการตรวจสอบพบว่า กระสอบข้าวแถวนอกสุดเป็นข้าวเหนียว 10 เปอร์เซ็นต์ตามสัญญาจริง แต่มีข้าวบางกระสอบนอกกองเป็นข้าวจ้าวและมีสิ่งปลอมปน เจ้าหน้าที่จึงใช้รถตักส่งคนขึ้นสำรวจบนกองข้าวเพิ่มเติม และพบว่าตั้งแต่ชั้นที่ 20 ของกองข้าวเป็นข้าวจ้าวที่ปลอมปนไว้ เบื้องต้น พนักงานสอบสวน จึงสั่งยึดข้าว 390,000 กระสอบไว้เป็นของกลาง และคัดแยกส่วนที่ตรงตามสัญญาส่งมอบให้บริษัทคู่สัญญา ส่วนข้าวของกลาง นำไปจัดเก็บในโกดังกลาง เพื่อตรวจสอบที่มาและหาผู้กระทำผิดต่อไป ซึ่งตัวแทนโกดังสุพรีมไรซ์ ทำเรื่องคัดค้านการย้ายข้าว เพื่อรักษาหลักฐานและป้องกันผลคดีที่อาจคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ยังต้องการตรวจสอบว่า มีการปลอมปนข้าว ก่อนนำมาเก็บไว้ในโกดังหรือไม่ ข่าว 3 มิติ ยังติดตาม กรณีองค์การคลังสินค้า หรือ อคส.แจ้งความเอาผิดข้อหายักยอก ต่อบริษัทสุพรีม ไลฟ์ เอเจนซี่ ที่จังหวัดชัยนาท หลังพบว่าข้าวสารเหนียว ในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งอคส. ว่าจ้างให้บริษํทนี้ดูแลนั้น มีข้าวเจ้าปะปนอยู่จำนวนมาก และเกิดปัญหาขึ้นเมื่อมีผู้ประมูลซื้อข้าวโกดังนี้ได้แล้วพบว่าไม่เป็นไปตามสัญญา ขณะนี้เจ้าหน้าที่เริ่มเคลื่อนย้ายข้าวในโกดังนี้แล้ว เพื่อแยกแยะข้าวที่ปลอมปม ซึ่งถือว่าเป็นของกลางในการกระทำความผิด
ยื่นฟ้องแล้วจ้า กระทรวงพาณิชย์ รับหน้าเสื่อยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย คดีขายข้าวจีทูจีลวงโลก หลังกฤษฎีกา ชี้สามารถฟ้องร้องได้ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวถึงการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากกรณีปัญหาการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจีลวงของนักการเมือง และข้าราชการจำนวน 6 คน เป็นเงินค่าสูญเสียโอกาสในการขายข้าวรัฐหลายหมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งเรื่องกลับมายังกระทรวงพาณิชย์แล้วว่า โดยทางกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า คดีนี้ทางนายกรัฐมนตรี หรือ มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่ทาง ปปช.ชี้มูลความผิดได้เลย และกรมฯ ได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคดีความมีอายุ 2 ปี นับจากที่ ปปช.ชี้มูลความผิด โดยจะหมดอายุความในเดือนกุมภาพันธ์ปี 60 และเมื่อฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายแล้ว ทางผู้ถูกร้องมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คดีดังกล่าวได้ตามขั้นตอนของกฏหมาย
ยื่นฟ้องแล้วจ้า กระทรวงพาณิชย์ รับหน้าเสื่อยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย คดีขายข้าวจีทูจีลวงโลก หลังกฤษฎีกา ชี้สามารถฟ้องร้องได้ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวถึงการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากกรณีปัญหาการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจีลวงของนักการเมือง และข้าราชการจำนวน 6 คน เป็นเงินค่าสูญเสียโอกาสในการขายข้าวรัฐหลายหมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งเรื่องกลับมายังกระทรวงพาณิชย์แล้วว่า โดยทางกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า คดีนี้ทางนายกรัฐมนตรี หรือ มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่ทาง ปปช.ชี้มูลความผิดได้เลย และกรมฯ ได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคดีความมีอายุ 2 ปี นับจากที่ ปปช.ชี้มูลความผิด โดยจะหมดอายุความในเดือนกุมภาพันธ์ปี 60 และเมื่อฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายแล้ว ทางผู้ถูกร้องมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คดีดังกล่าวได้ตามขั้นตอนของกฏหมาย กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเปิดประมูลขายข้าวในสต็อกอีก 1.63 ล้านตัน พร้อมกับการประมูลขายข้าวให้กับผู้ส่งออก นับเป็นการระบายข้าวครั้งใหญ่ รวม 3.81 ล้านตัน นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ จะเปิดประมูลขายข้าวในสต็อกรัฐบาลเป็นการทั่วไป และเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม รวม 1.63 ล้านตัน เป็นข้าวในคลังของ อ.ต.ก.และ อคส. รวม 108 คลัง จาก 26 จังหวัด มีข้าวหลายเกรดในคลังเดียวกัน เป็นข้าวที่นำมาปรับปรุงเพื่อการบริโภคได้ 7.3 แสนตัน และข้าวเสียเสื่อมสภาพกว่า 9 แสนตัน ผู้ค้าข้าวและโรงงานอุตสาหกรรม ต้องเสนอซื้อแบบยกคลังแต่ละคลังมีข้าวดีและข้าวเสียไม่เท่ากัน ซึ่งสัปดาห์หน้าจะเปิดให้ผู้ซื้อเข้าดูคุณภาพข้าวในคลัง โดยผู้ชนะการประมูลสามารถขายต่อข้าวได้ ส่วนข้าวเสียก็มีมาตรการควบคุมให้นำเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ไม่กลับมาสู่การบริโภค นอกจากนี้ ในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ ยังเปิดยื่นซองประมูลขายข้าวสำหรับผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวแล้ว 2.18 ล้านตัน นับเป็นการระบายข้าวครั้งใหญ่ในวันเดียวกัน รวม 3.81 ล้านตัน ส่วนการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการทุจริตขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจี 4 สัญญา ปริมาณ 6.2 ล้านตัน มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท จากนักการเมืองและข้าราชการ 6 คนนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งหนังสือแจ้งว่า ให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนามยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จึงได้ส่งเรื่องแจ้งไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยคดีดังกล่าวจะหมดอายุความในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
นายกฯมอบฝ่ายกฎหมายพิจารณากลั่นกรองหนังสือบังคับทางปกครองให้นักการเมืองและข้าราชการชดใช้ค่าเสียหายจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ก่อนตัดสินใจลงนามในคำสั่ง นายกรัฐมนตรี พร้อมลงนาม คำสั่งบังคับทางปกครอง เรียกเงินค่าเสียหายคดีขายข้าวแบบจีทูจี จากนักการเมืองและข้าราช 6 ราย รวมเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาท พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ชี้แจงกรณีที่กรมการค้าต่างประเทศ ทำหนังสือเสนอให้พิจารณาเพื่อลงนาม บังคับทางปกครองให้นักการเมืองและข้าราชการรวมทั้งหมด 6 คน ชดใช้ค่าเสียหายจากกรณีการขายข้าวรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี โดยระบุว่า ฝ่ายกฎหมายกำลังพิจารณา หากเห็นว่าเหมาะสม ก็พร้อมจะลงนาม หลังเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามกระบวนการของกฎหมาย สำหรับตัวเลขความเสียหายล็อตแรก คาดว่าประมาณหมื่นล้านบาท สำหรับหนังสือเพื่อลงนาม บังคับทางปกครอง ที่กรมการค้าต่างประเทศ เสนอให้เรียกเงินชดใช้ค่าเสียหาย จากจีทูจี มีจำนวน 4 สัญญา รวมปริมาณ 6.2ล้านตัน หนังสือกรรมการกฤษฎีการะบุ ผู้ที่มีอำนาจลงนามคือ นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ลงนามเรียกค่าเสียหายแล้ว ของบุญทรงโดนแล้ว ของยิ่งลักษณ์จะเป็นรายต่อไป นายกรัฐมนตรี ลงนามในหนังสือบังคับทางปกครอง เพื่อเรียกค่าชดใช้ 2 หมื่นล้านบาทกรณีการขายข้าวรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ป็นการเปิดเผยของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ถึงการเรียกค่าชดใช้ 2 หมื่นล้านบาทกรณีการขายข้าวรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี กับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กับพวกรวม 6 คนว่า หลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแนะนำให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ร่วมลงนาม โดยยืนยันที่นายกรัฐมนตรีไม่ลงนามก่อน ไม่ใช่เพราะเกรงถูกฟ้องกลับ แต่เนื่องจากตามกฎหมายต้องให้กระทรวงที่เสียหาย และกระทรวงที่อดีตรัฐมนตรีถูกกล่าวหาต้องลงนามด้วย สำหรับขั้นตอนออกคำสั่งทางปกครอง หลังจากนี้ต้องแจ้งผู้ถูกเรียกค่าเสียหายรับทราบ ซึ่งกรณีเป็นอดีตข้าราชการกำหนดให้อุทธรณ์คำสั่งกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แต่หากเป็นอดีตรัฐมนตรีต้องฟ้องร้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ศาลปกครองแทน ส่วนความคืบหน้าการเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ บอกยังไม่แล้วเสร็จ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน โดยอายุความของนางสาวยิ่งลักษณ์ มีถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงนามคำสั่งทางปกครอง เรียกเงินจากอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวกในคดีจีทูจีข้าว มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท และนายกรัฐมนตรีรับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการออกคำสั่งทางปกครอง เรียกเงินชดเชยค่าเสียหาย คดีขายข้าวแบบรัฐ ต่อรัฐหรือจีทูจี มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท จากนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรวม 6 คน โดยระบุว่า นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามคำสั่ง และตนเองได้รับรายงานแล้ว ยืนยันหลังจากนี้ จะไม่มีการล้มมวยอย่างแน่นนอน ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุในรายงานผลศึกษาข้อกฎหมายประกอบการออกคำสั่งบังคับทางปกครอง ที่กรมการค้าต่างประเทศ ทำหนังสือเสนอให้พิจารณาเพื่อลงนามคดีจีทูจีข้าว มีการระบุว่า ผู้ที่มีอำนาจลงนามคือ นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สำหรับนักการเมืองและข้าราชการ 6 คนที่จะถูกบังคับทางปกครองชดใช้ค่าเสียหาย ได้แก่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พันตรี นายแพทย์ วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายทิฆัมพร นาทวรทัต อดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ
รายงานพิเศษ : ข้าวปลอมปนโกดังชัยนาทพ่นพิษจีนยกเลิกสัญญาซื้อ "ซิงตั๊ก" หมายข่าวเจาะคืนนี้ คุณ สันติสุข มะโรงศรี ชี้ให้เห็นถึงการระบายข้าวยุค คสช กับ ยุคยิ่งลักษณ์ ต่างกันอย่างไร หมายข่าวเจาะ : ค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว เราจะไปวางบิลกับใคร ค่าเสียหายเท่าไหร่ นี่คือความจริง ที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่เคยบอกประชาชน นี่คือ มหากาพย์แห่งการโกง ที่เผาผลาญเงินแผ่นดิน เงินประชาชน มากที่สุดในประวัติศาตร์ชาติไทย...เก็บเรื่องนี้เป็นบทเรียน เตือนใจไว้ กำจัดนักเลือกตั้ง กำจัดคนโกง หมายข่าวเจาะ//สันติสุข มะโรงศรี แจงความทรงจำคนทำข้าวจีทูจีเก๊ จับตามคำสั่งทางปกครอง ค่าเสียหายวางบิลที่ใคร? เท่าไหร่? หมายข่าวเจาะ//กรณีขายข้าวจีทูจี ป.ป.ช. พบตัวละครลึกลับ เช็คจ่ายซ่อนเงื่อน นำมาสู่การอายัดเงินกว่า 1,800 ล้านบาท
หมายข่าวเจาะ// โครงการจำนำข้าวมีไว้ทำไม?? ใครทุจริตชาวนา. โปรดชมและแชร์ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในโครงการรับจำนำข้าว สรุปความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 286,639 ล้านบาท และโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และพวก 18,743 ล้านบาท สรุปตัวเลขค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบสูงกว่า 2.8 แสนล้านบาท หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในโครงการรับจำนำข้าว รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รายงานกระบวนการโครงการรับจำนำข้าว และตรวจสอบสต๊อกข้าวที่ยังมีปัญหา โดยสรุปตัวเลขมูลค่าความเสียหายทางแพ่ง ที่เรียกร้องจาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะกำกับดูแลโยบายโครงการเป็นเงิน 286,639 ล้านบาท และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และพวก 18,743 ล้านบาท โดยมีข้าวคงค้างในสต๊อก 13 ล้านตัน หลังระบายข้าวขายไปต่างประเทศได้ไม่ถึง 1 ล้านตัน ทั้งนี้ จะรายงานตัวเลขความเสียหายต่อนายกรัฐมนตรี และที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข.ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ สำหรับตัวเลขการจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกข้าวครั้งที่ 1/2559 นบข.อนุมัติระบายข้าวผ่านเกณฑ์มูลค่าขั้นต่ำเพียง 45,000 ตัน หรือร้อยละ 2 จากประกาศขาย 1,600,000 ตัน เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อราคาข้าวในตลาด และเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้ที่มากดราคาซื้อ จะไม่ได้ข้าวไปใช้ โดยรัฐยอมรับภาระเพื่อไม่ให้ราคาต่ำกว่าเกณฑ์และส่งผลกระทบตลาดข้าว กรรมการสอบข้อเท็จจริงทางละเมิด สรุปตัวค่าเสียหายโครงการจำนำข้าว ที่จะฟ้องเรียกเงินชดเชยจากอดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมแล้วมากกว่า 3 แสนล้านบาท หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย จากการพูดคุยกับนายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด ในโครงการรับจำนำข้าว และการระบายสต๊อกข้าวที่มีปัญหา ทราบว่าตัวเลขฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการ คือ 286,639 ล้านบาท ส่วนนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และพวก รวม 6 คน ในคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจีข้าว จำนวน 18,743 ล้านบาท และจะส่งข้อมูลดังกล่าว ไปยังคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ เพื่อดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อไป นอกจากนี้ ยังเปิดเผยตัวเลขในส่วนของข้าวคงค้างการระบาย อยู่ที่จำนวน 13 ล้านตัน ที่ผ่านมาส่งออกไปยังต่างประเทศแล้ว ไม่ถึง 1 ล้าน พร้อมระบุว่าตัวเลขค่าเสียหาย พิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ได้ทำตามอำเภอใจ
สด!! จากทำเนียบรัฐบาล นายกฯ แถลงหลังประชุมข้าว หมายข่าวเจาะ กับ สันติสุข มะโรงสี เจาะสัมภาษณ์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เจ๊งจำนำข้าวยุคปู 5 แสนล้าน เพราะการระบายข้าว กระทรวงพาณิชย์ เตรียมปิดบัญชีเรียกค่าเสียหายจำนำข้าวกันยายนนี้ คาดไม่ต่ำกว่า 305,000 ล้านบาท นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เบื้องต้นค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว ในส่วนของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีตัวเลขอยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท ขณะที่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และพวก อยู่ที่ประมาณ 18,000 ล้านบาท แต่ ยังต้องประเมินความเสียหายของข้าวที่เหลือในสต๊อกประมาณ 13 ล้านตันก่อน ซึ่งจะสรุปได้ทั้งหมดไม่เกินเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้นายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ลงนามในคำสั่งทางปกครอง เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายคดีทางแพ่งต่อไป ส่วนคดีอาญาโครงการทุจริตจำนำข้าว ในวันพรุ่งนี้ จะเป็นการไต่สวนพยานฝ่ายจำเลย ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดแรก โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้แถลงเปิดคดีด้วยตนเอง ขณะที่ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันพรุ่งนี้ เตรียมยื่นกระทู้ถามนายกฯ ถึงความคืบหน้า ในการเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งขณะนี้เวลาผ่านมา 1 ปีแล้ว มีความคืบหน้าไปถึงไหน มีความเสียหายเกิดขึ้นจำนวนเท่าใด
กระทรวงการคลังยืนยันความเสียหายทางแพ่ง ในโครงการรับจำนำข้าว สามารถเรียกคืนจากผู้เกี่ยวข้องได้ ภายในเดือนสิงหาคมนี้ แต่เปิดโอกาสให้อุทธรณ์ได้ คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว สรุปผลการปิดบัญชีข้าว เดือนกันยายน 2558 ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4 หมื่นล้านบาท นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว กล่าวว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบการปิดบัญชีข้าว จำนวน 15 โครงการ ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 แล้ว พบว่า ตัวเลขการขาดทุนเพิ่มขึ้นจากการปิดบัญชีครั้งก่อน(30 ก.ย.57) ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ผลขาดทุนรวมล่าสุดอยู่ที่ 7 แสน 4 หมื่นล้านบาท จากปี 2557 ที่ขาดทุน 7 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 11 โครงการก่อนรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขาดทุนกว่า 1 แสน 6 หมื่น 3 พันล้านบาท และ 4 โครงการ สมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ขาดทุนกว่า 5 แสน 3 หมื่น 6 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ขาดทุนกว่า 5 แสน 2 หมื่น 2 พันล้านบาท ส่วนการเรียกความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ขณะนี้นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง อยู่ระหว่างพิจารณาเรียกค่าเสียหายจากนางสาวยิ่งลักษณ์ จะสรุปให้แล้วเสร็จในเดือนนี้(ส.ค.59) ก่อนส่งให้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณา และเสนอนายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งทางปกครองเพื่อชดใช้เงินค่าเสียหาย หากผู้ถูกกล่าวหาไม่เห็นด้วย สามารถยื่นคำร้องต่อศาลปกครองได้ ด้านนายมนัส ระบุความเสียหายจากการโครงการรับจำนำ ต้องพิจารณาตามสำนวนข้อมูล ขณะนี้รอนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งมาให้โดยอ้างอิงพยานหลักฐานเป็นหลัก ยืนยันคณะกรรมการฯ ต้องการให้ผลตัดสินเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ตั้งใจเอาผิดใครเป็นกรณีพิเศษ ส่วนความเสียหายกรณีการทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ ทีจูจี นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางแพ่ง พบเป็นข้าราชการ 3 ราย และนักการเมือง 3 ราย มูลค่าความรับผิดค่าเสียหาย 2 หมื่น 5 พัน 7 ร้อยล้านบาท ขณะนี้รอกระทรวงพาณิชย์ มีคำสั่งเรียกชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคดีอาญา อัยการสูงสุด ได้ฟ้องร้องนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และนายภูมิ สาระผล ต่อศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว และได้ยื่นคำร้องในส่วนแพ่งเรียกค่าเสียหายจากเอกชนในคดีอาญาด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงเอกสารลับ ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อ้างในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในระหว่างให้ปากคำคดีจำนำข้าว เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา เอกสารที่อดีตนายกรัฐมนตรี อ้างเป็นบันทึกการประชุมการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 3/2558 โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า เป็นการประชุมลับ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธาน นบข.สั่งการให้การประเมินความเสียหาย ไม่ต้องพิจารณาประเด็นยุติธรรม แต่พิจารณาให้ทันกรอบเวลา นางสาวชุติมา บุญประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เอกสารดังกล่าวเป็นบันทึกการประชุม นบข.วาระปกติ วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 แต่มีข้อพิจารณานอกจากวาระปกติ จึงกำหนดอยู่ในวาระลับ เพราะเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงเปิดเผยไม่ได้ และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในคดีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ต้องดำเนินการให้เสร็จ เพื่อไม่ให้ขาดอายุความ และขั้นตอนยังไม่สิ้นสุดต้องส่งให้กรมบัญชีกลาง พิจารณาความรับผิดชอบทางแพ่งต่อ ส่วนที่ระบุว่า ไม่ต้องพิจารณาประเด็นยุติธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึง ไม่ต้องให้ความยุติธรรมเลย แต่ผู้ถูกร้องยังมีสิทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรม โดยสามารถร้องศาลปกครองกลางให้เพิกถอนคำสั่งเรียกค่าเสียหายได้ และอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้อีก หมายข่าวเจาะ กับ สันติสุข มะโรงศรี ผ่าปมระบายข้าวยุค คสช กับข้อเสนอล้างสต๊อค รัฐบาลยังไม่สรุปตัวเลขเรียกค่าเสียหายทางแพ่งโครงการรับจำนำข้าว หลังมีข่าวจากเสียหาย 2.8 แสนล้านบาทเหลือ 1.7 แสนล้านบาท และอดีตนายกรัฐมนตรีรับผิดร้อยละ 20 มีรายงานว่าคณะกรรมการรับผิดทางแพ่ง สรุปความเสียหาย พบว่าจากยอดดังกล่าวนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ 35,717 ล้านบาท ที่เหลือเป็นส่วนของข้าราชการ โดยจะมีการสรุปตัวเลขสุดท้ายภายในเดือนกันยายน และอยู่ที่การพิจารณาของศาลต่อไป
การเปิดประมูลข้าวของรัฐบาลตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อสถานการณ์ข้าวไทยอย่างไรบ้าง ติดตามจากรายงานคุณจุฬารัตน์ ม่วงแก้ว รัฐบาลได้พยายามเร่งระบายข้าวในสต็อกรัฐบาล หวังจะช่วยเคลียร์ข้าวเก่าสมัยโครงการรับจำนำข้าว ที่ค้างอยู่กว่า 18 ล้านตัน เพราะยิ่งปล่อยนานวันยิ่งเสื่อมสภาพ แถมเป็นภาระในการจัดเก็บอีกด้วย ซึ่งตั้งแต่ คสช.เข้ามาอนุมัติขายข้าวในโกดังรัฐบาล สามารถระบายข้าวออกไปได้ไม่ต่ำกว่า 7.30 ล้านตัน มูลค่ารวมกว่า 76,000 ล้านบาท จนทำให้ขณะนี้มีข้าวเหลืออยู่ในสต็อกอีกกว่า 9 ล้านตัน และล่าสุดยังมีการยื่นซองประมูลข้าวเป็นการทั่วไป และเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมได้อีกกว่า 10.05 ล้านตัน ซึ่งยังต้องรอการต่อรองราคา และอนุมัติการขาย ภาครัฐเองตั้งเป้าจะโละสต็อกข้าวเก่าให้หมดภายในกลางปีหน้า โดยมีแผนการระบายที่รอบคอบ พิจารณาสถานการณ์ข้าวก่อนตัดสินใจเปิดประมูล เพื่อไม่ให้กระทบราคาตลาด และไม่ใช่เพียงขายข้าวเก่าเท่านั้น แต่ยังคงหาตลาดขายข้าวใหม่ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดควบคู่ไปด้วย โดยวันพรุ่งนี้พร้อมสู้เต็มที่ เข้าร่วมประมูลข้าวฟิลิปปินส์ กว่า 2.5 แสนตัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผลผลิตใหม่ข้าวไทยที่จะออกมามีตลาดรองรับแน่นอน แนวทางระบายข้าวที่ผ่านมา แม้ว่าจะมาถูกทาง แต่ช่วงนี้เอกชนมองว่าควรพักเอาไว้ก่อน เพราะผู้ซื้อยังเงียบเหงา และผลผลิตกำลังจะออกมา หากระบายอีกจะยิ่งกดราคาลดลง และเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่า ปีนี้ไทยจะครองแชมป์ส่งออกข้าวของโลกได้หรือไม่ แม้ว่าครึ่งปีแรกที่ผ่านมา จะนำคู่แข่งอยู่ แต่ผลผลิตของ ทั้งเวียดนาม และอินเดียกำลังจะออกมามาก แถมราคาก็ถูกกว่าไทยด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงผลผลิตที่กำลังจะออกมามาก ถือเป็นความท้าทายที่ รัฐต้องจัดการแผนระบาย และส่งออกข้าวให้ดี เพราะแม้ว่าข้าวไทยจะคุณภาพที่ดีเยี่ยม แต่ผู้ซื้อยังมีกำลังซื้อต่ำหากระบายไม่ถูกที่ถูกเวลา ก็จะมีผลกระทบต่อตลาดข้าวโดยรวมอย่างแน่นอน รายงานพิเศษ : สรุปผลประมูลข้าวยุค คสช. 2 ปีได้ 7 ล้านตัน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีมีข่าวว่า กระทรวงพาณิชย์จะขอเสนอให้ใช้มาตรา 44 บังคับทางปกครองยึดทรัพย์อดีตนักการเมือง และข้าราชการ 6 คนที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ว่า ไม่เคยมีความคิดจะใช้กระบวนการใดนอกเหนือจากกระบวนการทางกฎหมายที่มีอยู่ โดยเฉพาะพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2539 มีอย่างไรก็ปฏิบัติตามนั้น 3 พันคดีที่ผ่านมา เป็นการยึดทรัพย์จำนวน 2 แสนบาทบ้าง 5 ล้านบาทบ้าง 3 ล้านบาทบ้าง ซึ่งยึดกันเอง โดยเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่กระทรวงไหนกระทรวงนั้นก็ไปยึดหรือายัด ซึ่งเขามีปัญญาทำ แต่เอาเข้าจริงอาจไม่ได้ยึดทรัพย์เพราะมีการไปร้องศาลให้คุ้มครอง แต่คราวนี้เจอหลายหมื่นล้าน เขาไม่มีปัญญาที่จะทำเพราะไม่ใช่ มืออาชีพที่จะทำเรื่องนี้ อาจต้องให้หน่วยงานอื่นจัดการ ตรงนี้จึงต้องใช้มาตรา 44 ไปสั่งการให้หน่วยงานอื่นมาทำ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ “สิ่งที่ผมพูด อาจจะพูดกันปากต่อปาก ก็มีบิดเบือน กลายเป็นจะใช้มาตรา 44 ยึด ซึ่งเราไม่ได้ใช้มาตรา 44 ยึด แต่ถ้าคำสั่งออกก็ต้องยึดอยู่ดี แต่ใครจะเป็นคนไปยึด หากเป็นกระทรวงพาณิชย์ ไม่มีทางที่จะทำได้ คนที่ทำได้คือกรมบังคับคดีซึ่งเขามีหน้าที่เรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งต้องยึดตามคำสั่งศาล แต่วันนี้ไม่ได้ยึดตามคำสั่งศาลเพราะเป็นการยึดตามคำสั่งทางปกครอง เราเคยให้กรมบังคับคดีไปช่วยทำแล้วครั้งหนึ่งในคดีภูทับเบิก ซึ่งไม่ใช่เรื่องของกรมบังคับคดี แต่เป็นเรื่องของสปก. ตรงนั้นก็ใช้มาตรา 44 ให้กรมบังคับคดีช่วยจัดการ ตรงนี้อาจใช้วิธีอย่างเดียวกันเท่านั้น ไม่ได้ใช้มาตรา 44 ยึด แต่เมื่อจะต้องยึดหน่วยงานใดจะเป็นคนยึด หากไม่ยึดก็ผิดมาตรา 157 เพราะมีคำสั่งทางปกครองแล้ว แต่หากจำเลยร้องศาลคุ้มครองชั่วคราว ศาลปล่อยก็จบ หากจำเลยไม่ร้องศาลก็ต้องยึดเพราะ ทำผิด ซึ่งพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ มีอยู่ ใช้มากกว่า 3 พันรายแล้ว ยืนยันไม่มีคำสั่งมาตรา 44 ไปยึดทรัพย์ใครเป็นอันขาด แต่เมื่อถึงเวลาก็ต้องยึดเพราะมันเป็นวิธี”นายวิษณุ กล่าว ทั้งนี้แสดงว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่กล้าลงนามคำสั่งเพราะกลัวต้องง รับผิดชอบภายหลังหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงไม่ใช่ เขาไม่ได้กลัว เพราะมีข้อกฎหมาย ซึ่งเขาเข้าใจแล้ว แต่เดิมกระทรวงพาณิชย์อาจไม่เข้าใจ เพราะมีปัญหาว่าจะต้องลงนามสองฝ่าย สามฝ่าย ส่วนกระบวนการ ณ ตอนนี้จะออกมาในรูปแบบใด นายวิษณุ กล่าวว่า “ผมยังไปไม่ถึงขั้นนั้นเพราะคำสั่งยึดยังไม่ออกมาสักคน ปัญหาคือถ้าคำสั่งออก ซึ่งออกโดยไม่ใช้มาตรา 44 เลยแม้แต่นิดเดียว ปัญหาคือใครจะนำยึด เวลาศาลตัดสินให้จำเลยผิด คดีอื่นๆ ใครเป็นคนนำยึดก็กรมบังคับคดี” ทั้งนี้หลายคนมองว่ารัฐบาลจ้องทำลายฝ่ายตรงข้ามในทุกประเด็น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่ หากจะตั้งข้อสังเกตก็ตั้งได้ ในเรื่องนี้อายุความสั้นยาวต่างกัน หากทำกับคนอื่นอายุความยังยาว 10 ปี แต่อายุความเรื่องนี้สั้นจึงต้องรีบทำ อีกทั้งป.ป.ช.ส่งเรื่องมา และขู่ให้รีบทำ รวมถึงปัญหาอายุความ ทั้งหมดเป็นกระบวนการที่ต้องเดินไป “วิษณุ” ระบุ “มีชัย” ส่งคนดูอินเดียโมเดลเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติกกต. จัดเลือกตั้งได้ ชี้เพราะต่างชาติไร้แรงกดดัน ลั่นสุดท้ายไทยไปไม่พ้น 3 โมเดลเดิม เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้คนไปศึกษาการจัดการเลือกตั้งของประเทศอินเดียที่มีประชากร พันกว่าล้านคน แต่มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพียง 1 คนที่ทำหน้าที่จับตาดู และมีคนกำกับดูแลเลือกตั้งว่า นายมีชัยเคยปรารภให้ฟังเท่านั้น แต่สำหรับรัฐธรรมนูญไทยวันนี้ระบุไว้แล้วว่า กกต.ต้องมี 7 คน แล้วจะกลับไปใช้ 1 คนได้อย่างไร จะไปฆ่าอีก 6 คนได้อย่างไร ส่วนการที่นายมีชัยให้คนไปศึกษาว่า กกต.อินเดียคนเดียวทำไมเขาถึงทำได้นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งเขาก็ให้หน่วยงานอื่นไปจัดการให้ เช่นผู้ตรวจการแผ่นดินส่วนใหญ่หลายประเทศในโลกมีคนเดียว แต่พอต่างชาติมาดูงานประเทศเราที่มีผู้ตรวจฯ ถึง 3 คนเขาก็บอกว่ามันเยอะ ทั้งนี้ หากให้กกต.เพียงคนเดียวจัดการเลือกตั้งจะรับมือกับแรงกดดันไหวหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องของแรงกดดัน เพราะ 1.ในต่างประเทศไม่มีแรงกดดันอะไร แต่ประเทศไทยกดดันทั้งนั้น และ 2.การที่เขามีอำนาจเพราะเขาเป็นผู้จัดวางระเบียบ จากนั้นเขาก็ไปให้คนอื่นปฏิบัติ จึงถูกต้องแล้วที่กรธ.จะให้คนไปศึกษาอินเดียโมเดลหรือจะโมเดลสารพัดรูปแบบในโลก แต่เชื่อผมเถอะว่าสุดท้ายจะจบแบบ 3 โมเดลที่ผมบอกไปเท่านั้น คือ 1.ให้กกต.เป็นคนจัดอำนวยการตั้งแต่ต้นจนจบ 2.ให้กกต.เป็นคนจัดวางระเบียบหรือเล็กกูเลเตอร์ คือเป็นผู้แจกใบเหลือง ใบแดง ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติหรือโอเปอร์เรเตอร์ให้ใช้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหารปกติ และ 3.ให้องค์กรอื่นเข้ามาจัดการ ซึ่งหากมีองค์กรอื่นเข้ามาช่วย ไม่ต้องไปนึกว่าเป็นกระทรวงมหาดไทย แต่หากสมมุติว่าจะเอามาก็ได้ อาจจะเป็นครู แพทย์ พยาบาล หรือผู้สื่อข่าวก็ได้ทั้งนั้น” ส่วนแนวคิดของนายมีชัย ที่ให้คนไปศึกษาก็เพื่อให้เห็นการทำงานของกกต. ของเรา นายวิษณุ กล่าวว่า ท่านต้องการนำมาดู และเปรียบเทียบ เพราะท่านเคยพูดว่าคนพูดกันมากว่ากกต. อินเดียมี 1 คน แต่ทำไมเขาทำได้อย่างไร ทั้งนี้เราอาจจะเรียกเขามาศึกษาที่ไทยหรือจะไปดูงานที่อินเดียก็ได้ ปปง.ยึดทรัพย์ 7พันล้าน เครือข่าย“เสี่ยเปี๋ยง”คดีทุจริตจำนำข้าว "ชัยยะ"เผยยังมีเอี่ยวอีกหลายคดี! ปลัดพาณิชย์ เผย ยังมีคดี ข้าว จีทูจี ที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนของ ป.ป.ช.อีก 10 คดี พร้อมเดินหน้ารับมือปริมาณข้าวฤดูกาลใหม่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจมาตรา 44 กำหนดแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรในสต๊อกรัฐ และการดำเนินการรับผู้ที่ต้องรับผิด ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คําสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว กำหนดแนวทางการดำเนินการกับผู้รับผิดและการเรียกให้มาชดใช้ความเสียหาย โดยเมื่อมีคำสั่งทางปกครอง หรือ คำสั่ง หรือ คำพิพากษาศาลแล้วแต่กรณี ที่ให้บังคับทางปกครองต่อผู้รับผิดชอบโครงการจำนำข้าว ตั้งแต่ปีการผลิต 2548/49 ถึง 2556/57 โครงการแทรกแซงราคามันสำปะหลัง ปีการผลิต 2551/2552 และโครงการแทรกแซงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2551/2552 ให้กรมบังคับคดีมีอำนาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่กรมการบังคับคดีที่ดำเนินการอย่างสุจริต จะได้รับการคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง // อาญา // และทางวินัย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี อธิบายเพิ่มเติมว่า คำสั่งนี้ไม่ใช่การใช้อำนาจ คสช.สั่งยึดทรัพย์ แต่เป็นการให้อำนาจกรมบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ที่เป็นหน่วยงานออกคำสั่งยึดทรัพย์ แจ้งว่ายึดทรัพย์เองไม่ได้ เพราะมีมูลค่าทรัพย์สินที่ต้องยึดจำนวนมาก และมีรายละเอียดมาก จึงเสนอให้หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการ "ประยุทธ์"ยืนยันไม่ใช่คำสั่งเพื่อยึดทรัพย์ ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คำสั่งนี้ เป็นเพียงการให้อำนาจกรมบังคับคดีเข้าไปดำเนินการ ในกรณีที่คดีถึงที่สุด ไม่ใช่การใช้คำสั่งเพื่อยึดทรัพย์ สำหรับความเสียหายจากโครงการจำนำข้าว // คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว สรุปความเสียหายที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องชดใช้ 286,000 ล้านบาท ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์สรุปความเสียหายจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐจากนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และพวก รวม 20,000 ล้านบาท ป.ป.ท. เร่งสอบสวนคดีทุจริตจำนำข้าว โดยเริ่มภายในเดือนตุลาคมนี้ ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในเวลา 5-6 เดือน นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. เปิดเผยถึงการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริต โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ว่าขณะนี้ ป.ป.ท.ได้รับการร้องเรียนให้ตรวจสอบการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว กว่า 850 สำนวน โดยเป็นการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ระดับเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ซึ่งอยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ท. อย่างไรก็ตาม หากมอบหมายให้ ป.ป.ท.เขตพื้นที่ต่างๆ สืบสวนสอบสวนอาจใช้เวลายาวนาน 1-2 ปี จึงได้เห็นชอบในแนวทางให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นไต่สวนคดี เพื่อระดมกำลังเจ้าหน้าที่ มาเร่งสอบสวนคดีทุจริตจำนำข้าว โดยเริ่มภายในเดือนตุลาคมนี้ ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในเวลา 5-6 เดือน โดยทาง ป.ป.ท.จะจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน แนวทางการตรวจสอบให้ทุกเขต พื้นที่สืบสวนสอบสวน ไปในแนวทางเดียวกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน ปี 2560 และสามารถสรุปสำนวนเสนอคณะกรรมการป.ป.ท.ไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดในคดีอาญาได้ ป.ป.ท. ตั้งคณะอนุกรรมการเร่งรัดคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวกว่า 850 สำนวน ตั้งเป้าให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5-6 เดือน ตั้งงบคืนหนี้จำนำข้าว 5.9 หมื่นล้าน คาดใช้เวลา 16 ปีคืนครบ 5 แสนล้าน รัฐบาลตั้งงบปี 60 จ่ายคืนหนี้โครงการรับจำนำข้าวให้ ธ.ก.ส.รวม 5.9 หมื่นล้าน จากยอดหนี้รวมกว่า 5 แสนล้านบาท แยกเป็นคืนเงินต้น 3.9 หมื่นล้าน และดอกเบี้ย 2 หมื่นล้าน ด้าน ธ.ก.ส.คาดต้องใช้เวลาถึง 16 ปีถึงจะคืนหนี้หมด ช่วงที่มีการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรกและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ออกพันธบัตร โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน ในวงเงิน 4 แสนล้านบาท และเป็นเงินกู้โดยตรงจาก ธ.ก.ส.อีก 1.1 แสนล้านบาท รวมเป็น 5.1 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะตั้งงบเพื่อชำระเงินกู้ดังกล่าวตั้งแต่งบประมาณปี 2560 นี้ เมื่อไปสอบถาม ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลักษณ์ วจนานวัช บอกถึงเรื่องนี้ว่า ในปีงบประมาณรายจ่าย 2560 ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณจ่ายคืนเงินต้นที่กู้ยืมมาเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าวให้กับธ.ก.ส.จำนวน 5.9 หมื่นล้านบาท แยกเป็นคืนเงินต้น 3.9หมื่นล้านบาท และจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเพราะฉะนั้นถ้ามีการตั้งงบประมาณจ่ายคืนหนี้ในระดับนี้ การทยอยชำระหนี้เงินกู้ กว่า 5.1 แสนล้านบาทของโครงการจำนำข้าวคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานประมาณ 16 ปี สรุปตัวเลขยิ่งลักษณ์ชดใช้ก่อนสิ้นเดือนนี้ กรมบัญชีกลางปัดตอบชี้เป็นความลับ มาดูในส่วนของการฟ้องร้องค่าเสียหาย จากนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็มีรายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ว่า ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ซึ่งตามขั้นตอนของประกาศที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด กำหนดให้สำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ชุดนี้มี นายจิรชัย มูลทองโร่ย เป็นประธานกรรมการสอบพบความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลในความรับผิดชอบของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 286,639 ล้านบาท และโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐในความรับผิดชอบของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวก อีก18,743 ล้านบาท แต่การเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่เกี่ยวข้องจะเป็นเท่าไหร่ ทางกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางในฐานะคณะกรรมการรับผิดทางแพ่งจะส่งต่อให้หน่วยงานที่เสียหายในกรณีนี้คือกระทรวงพาณิชย์ และสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อออกคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสามารถอุธรณ์ ต่อศาลได้ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนสิ้นเดือนนี้ แต่ตัวเลขความเสียหายที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องชดใช้นั้น คงไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้ เพราะถือเป็นความลับ และต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการต้องสงวนตัวเลขไว้เพื่อให้ผู้ที่มีอำนาจลงนามเรียกร้องค่าเสียหายในการพิจารณา เนื่องจาก ผู้ที่ลงนามเรียกร้องค่าเสียหายอาจมีความเห็นในเรื่องตัวเลขที่ไม่ตรงกับคณะกรรมการฯก็ได้ ถือเป็นมารยาทที่ไม่ควรเปิดเผยตัวเลขไปก่อน ซึ่งถ้าพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วเสร็จ จะส่งผลสรุปไปยังรองปลัดกระทรวงการคลังที่กำกับดูแลกรมบัญชีกลาง จากนั้น จึงจะส่งไปยังต้นสังกัดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ทนายฯ "ยิ่งลักษณ์" จวกคำสั่งให้กรมบังคับคดียึดทรัพย์ ส่วนทางฝากฝั่งคุณยิ่งลักษณ์ก็ต้องบอกค่ะว่าเริ่มออกมาเรียกร้อง ท้วงติง คำสั่งดังกล่าว เริ่มจาก นายนพดล หลาวทอง ทนายความน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มองว่า คำสั่ง มาตรา 44 ให้อำนาจกรมบังคับคดีในการบังคับทางปกครอง ด้วยการยึดทรัพย์นั้นไม่ถูกต้องและเป็นธรรมเพราะรวบรัดหลีกเลี่ยงที่จะไม่ไช่กระบวนการพิจารณาโดยศาลยุติธรรมปกติ แต่กับตัดตอนใช้วิธีคำสั่งทางปกครองให้รับผิดทันทีแทนการฟ้องคดีต่อศาล รวมถึงชี้นำการพิจารณาคดีอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลและคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งที่ยังพิจารณาคดียังไม่เสร็จสิ้น ฝืนกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้ามขั้นตอนและเลือกปฎิบัติ และการออกคำสั่งนี้ จึงมีลักษณะเป็นการก้าวล่วงและก้าวก่ายไปใช้อำนาจหน้าที่ของกรมบังคับคดีที่เป็นอำนาจสั่งการของศาลยุติธรรม จึงไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งหมดนี้ตนในฐานะทนายความของน.ส. ยิ่งลักษณ์จึงไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านการออกคำสั่งดังกล่าว เรืองไกรร้องนายกฯ ใช้ ม.44 ยึดทรัพย์ส่อมิชอบ และในวันนี้ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมไปร้องเรียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลถึงการใช้ มาตรา 44 ให้อำนาจการจะยึดทรัพย์คดีจำนำข้าวส่อมิชอบและการปิดบัญชีข้าวก็ยังไม่เคลียร์
คสช.ระดมทหารคุมขนย้ายข้าวเน่า 5 หมื่นตัน กรมการค้าต่างประเทศเปิดประมูลข้าวในสต๊อกล๊อตใหญ่ โดยรอบนี้เป็นข้าวเสื่อมคุณภาพ จำนวนรวมกว่า 3.6 ล้านตัน โดยวันนี้เปิดให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นซองตรวจสอบเอกสาร ซึ่งคุณสมบัติของผู้เสนอซื้อนั้น จะต้องเป็นนิติบุคคลในกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน และต้องแจ้งวัตถุประสงค์ และประเภทของอุตสาหกรรมที่จะนำข้าวสารไปใช้ให้ชัดเจน ซึ่งผู้ที่ผ่านเกณฑ์ จะยื่นซองเสนอราคาในวันที่ 23 มีนาคมนี้ และจะทำการเปิดซองทันทีในวันเดียวกัน โดยกรมการค้าต่างประเทศ เชื่อว่า การเปิดประมูลครั้งนี้ แม้จะมีปริมาณมาก แต่จะไม่กระทบต่อราคาข้าวในตลาด เพราะเป็นข้าวที่ไม่ใช่การบริโภคของคน แต่จะเข้าสู่อุตสาหกรรม เช่น ผลิตอาหารสัตว์ ผลิตเอทานอล ขณะที่วัตถุดิบที่ผลิตอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ก็ยังไม่ออกสู่ตลาด ซึ่งหากระบายข้าวล๊อตนี้ได้ทั้งหมด จะทำให้ข้าวในสต๊อกเหลือประมาณ 3 ล้านตัน จากขณะนี้ เหลืออยู่ประมาณ 6.5 ล้านตัน