Time passes. Memories Fade. Feelings Change. People leave. But Hearts Never Forget.

กระทู้ใน 'สถิตย์ในหทัยราษฎร์' โดย hillton(ปาล์มาลี), 18 ต.ค. 2016

  1. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงชื่นชอบการทอดพระเนตรกีฬามานาน
    นักกีฬาเองก็ถือว่าพระองค์เป็นขวัญกำลังใจชั้นยอด
     
    หนูอ้อย likes this.
  2. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ถ้าจำไม่ผิด ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีประจำปีครั้งสุดท้าย ในพระราชพิธีฉัตรมงคลปีที่แล้ว 2558
    ปีนั้นผมดูถ่ายทอดสดแล้วรู้สึกสงสารพระองค์ท่าน ในเรื่องพระพลานามัย
     
  3. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
  4. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778




    ที่นี่มหาสารคาม

    ชาวมหาสารคามจำนวนมากรวมตัวกันที่บริเวณริมคลองสมถวิล เพื่อจุดเทียนเทียนหอมลอยน้ำจำนวน 5,999 ดวง เพื่อแสดงความไว้อาลัย พระบาทสมเด็จหัวปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช#ThaiPBSnews#จุดเทียนลอยน้ำ



    ที่นี่ศรีสะเกษ
    บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ ชาวจังหวัดศรีสะเกษกว่า 30,000คน แปรอักษรถวายอาลัยและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพ่อหลวงของเรา ข้าพระพุทธเจ้า ชาวจังหวัดศรีสะเกษ นาย Narongpon chaiyabot
     
  5. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ขอบันทึกไว้
    20161021klzh93x193x134x84-jpg-40251-jpg.40375.jpg

    สดๆร้อนๆ ลงซับเนื้อเพลงแล้ว ....


    maxresdefault.jpg

    23 ต.ค. 59 | 07.00 น.
    นายกรัฐมนตรี ขอบคุณประชาชน และผู้จัดร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวง ซึ่งจัดได้อย่างยิ่งใหญ่และประทับใจ
     
  6. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    รำลึกจากจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
     
  7. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    20 ปีที่แล้ว ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

     
  8. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    ได้ฟังพระบรมราชโอวาท บทนี้แล้ว เหมาะกับเวลานี้มากครับ


    คงไม่มีพระสุรเสียง ที่เป็นเอกลักษณ์แบบนี้ ให้ฟังอีกแล้ว
     
  9. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    เขาว่ามีผู้ชายที่สมบูรณ์แบบที่สุดอยู่จริงๆ

    ใครว่าผู้ชายสมบูรณ์แบบ...ไม่มีจริงในโลก2764.png
    1f48c.png หล่อ สูง ขาว ขายาว หุ่นดี
    1f48c.png เกิดมามีฐานันดร ร่ำรวยเงินทอง
    1f48c.png ฉลาดหลักแหลม ไปซะทุกสาขา เก่งมันหมดทั้งวิทย์ ทั้งศิลป์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์
    1f48c.png ไหนจะเขียนหนังสือ วาดภาพสีน้ำมันอีก
    1f48c.png รักครอบครัว รักแม่มาก รักพี่น้อง
    1f48c.png มีพรสวรรค์ทางดนตรีขั้นเทพ เล่นได้หมด กีต้าร์ เปียโน แซคโซโฟน ถึงขนาดแต่งเพลงเองมากมาย
    1f48c.png กีฬาก้อไม่น้อยหน้า โอ้ย แบตมินตันเอย แชมป์เรือใบเอย ฮอกกี้น้ำแข็ง
    1f48c.png เล่นกล้อง ชอบถ่ายรูปสวยๆให้ภรรยา
    1f48c.png พูดได้มากมายหลายภาษา ทั้งไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน แถมด้วยยาวี
    1f48c.png รักเดียวใจเดียว...รักผู้หญิงคนเดียวตลอดชีวิต
    1f48c.png อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เคยดูถูกผู้อื่น แม้จะเป็นถึงพระราชา
    1f48c.png มีอารมณ์ขัน น่ารัก
    1f48c.png ไม่เคยโกรธใครเลยซักคน
    1f48c.png โอบอ้อมอารี ใจดี รักสัตว์ มีหมาน้อยแมวน้อยน่ารักเตมวัง
    1f48c.png สมถะ ประหยัด อดออม ทั้งที่มีเงินทองมากมายใช้ไม่หมด
     
    แสงธูป และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  10. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    เสียดายที่กำพร้าพ่อมาตั้งแต่เด็ก
    รับตำแหน่งปกครองบ้านเมืองมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น อันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก
    และยังมีิอุตสาหะแรงกล้า มีปัญหาเรื่องดวงตา แต่ก็ยังทุ่มเททำงานมาเกือบทั้งชีวิต
     
  11. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204


    Thon Thamrongnawasawat
    18 ตุลาคม เวลา 0:23 น. ·


     
  12. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    วันทรงดนตรีในความทรงจำของ ศ.ระพี สาคริก

    หวนระลึกวันทรงดนตรีกับบทเพลงพระราชนิพนธ์ครั้งใด หัวใจของศาสตราจารย์ระพี สาคริก ผู้เคยถวายงานใกล้ชิดในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้านการศึกษางานเกษตรเพื่อพัฒนา และในฐานะผู้เคยร่วมบรรเลงดนตรีส่วนพระองค์ ก็ย้อนได้ถึงวันวานกับพระราชจริยวัตร มุ่งมั่นทรงงานทุกเวลา อันเป็นแนวทางน้อมนำมาปฏิบัติจนวันนี้ #ไทยบันเทิง #ThaiPBSnews

     
  13. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    "โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ" เป็นโครงการส่วนพระองค์โครงการล่าสุดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีอาคารประทับที่มีชื่อของพระองค์อยู่ในทะเบียนบ้าน โดยพระองค์ขึ้นทะเบียนเป็น "เกษตรกรทำไร่"
    นอกจากนี้ที่โครงการฯ ยังมี "คุณตุ่ม" วัวเพศผู้ที่พระองค์ทรงป้อนนมและหญ้าตั้งแต่ยังเป็นลูกวัว

    ชมคลิป http://news.thaipbs.or.th/content/256970 #ThaiPBSnews
    14718633_1136122976463427_1127910143197234735_n.jpg

    14713643_1136123076463417_871506958867747029_n.jpg

    14702393_1136123143130077_8358614792560061646_n.jpg
    Thai PBS News
     
  14. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ประชาชนจำนวนมากในหลายจังหวัดร่วมแปรอักษรเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    [​IMG]
    นครสวรรค์

    [​IMG]
    พิจิตร

    [​IMG]
    กำแพงเพชร

    [​IMG]
    อุทัยธานี

    [​IMG]
    ลำปาง

    [​IMG]
    ชัยภูมิ

    [​IMG]
    บึงกาฬ

    [​IMG]
    ศรีสะเกษ

    [​IMG]
    กาฬสินธุ์
    http://news.thaipbs.or.th/gallery/61
     
  15. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    Y8AFTlwv8myeL0t6gHcstufMD-RH0gZP7PHsacJEhPE?size_mode=3&dl=0&size=1280x960
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
    King Bhumibol Adulyadej and Queen Sirikit
    ลอนดอน สหราชอาณาจักร
    London, United Kingdom
    ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1960 (พ.ศ.๒๕๐๓)
    Image Source: Hulton-Deutsch Collection, United Kingdom
     
  16. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Last edited: 24 ต.ค. 2016
    แสงธูป และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  17. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    14671232_927961270671218_5922282280457563421_n.jpg
    พระบรมฉายลักษณ์นี้ ทรงพระเท่มาก (เม้นมาจากเน็ต)

    Jantavikulbutr Kaeo

    Yesterday at 10:23am ·
    “เราต้องมีพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในหัวใจ อยู่ในจิตวิญญาณของความเป็นคนไทย คนไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่ต้องพระองค์ไหน ไม่ต้องอะไร ขอให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่กับคนไทย เราก็จะเป็นคนไทย ถ้าเราคิดว่าเรารักประเทศเรา เราก็ต้องเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์โดยไม่ต้องมีเงื่อนไข รักแล้วไม่ต้องถาม ไม่ต้องสงสัย ผมไม่เคยสงสัยอะไรเลย...ผมรัก”

    'นภันต์ เสวิกุล' ผู้บันทึกย่างพระบาทที่ยาตรา !

    โดย ชุติมา ซุ้นเจริญ
    ที่มา www.bangkokbiznews.com

    เรื่องเล่าจากหัวใจช่างภาพผู้ถวายงานการบันทึกภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    เบื้องหลังภาพถ่ายหลายภาพที่ถูกแชร์ออกไปในโลกโซเชียล คือผลงานของผู้ชายคนนี้ ทว่า เหตุผลในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาแม้เพียงเล็กน้อยที่จะแสดงความเป็นเจ้าของภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ความมุ่งหวังเพียงอย่างเดียวคือการเล่าถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่ได้สัมผัสตลอดระยะเวลาของการทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท

    “ผมเป็นคนทำโปรดักชั่น สมัยใหม่ก็ต้องบอกว่าเป็นโปรดักชั่นเฮาส์ และออแกไนเซอร์ เจ้าแรกของเมืองไทย ผมก็เป็นคนที่ทำสไลด์มัลติวิชั่นคนแรกที่เข้าไปสู่วงการโฆษณา ก็ทำให้ได้ไปทำงานให้กับคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติอยู่หลายปี จนกระทั่งในที่สุดตัวเองก็ได้เป็นคณะอนุกรรมการภาพนิ่ง และภาพยนตร์ของสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับผู้ใหญ่หลายคนที่ผมเคารพนับถือ”

    นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ ‘นภันต์’ ช่างภาพหนุ่มในเวลานั้นได้มีโอกาสติดตามขบวนเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร

    .“ประมาณปี พ.ศ.2520 กรรมการก็มอบหมายให้ผมเป็นคนที่ทำงานเก็บข้อมูลเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ปีแรกทำเรื่องรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 9 ซึ่งในส่วนของรัชกาลที่ 9 ทำให้ผมต้องตามเสด็จฯ แล้วก็ตามอยู่หลายปี ประมาณ 6-7 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา โดยช่วงปี พ.ศ. 2522 -2525 เป็นช่วงเวลาที่ตามเสด็จฯ เยอะ เพราะว่าเตรียมข้อมูลสำหรับงานฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525”

    เขาว่า แม้ภารกิจการถ่ายภาพจะไม่ได้เกินความสามารถ แต่งานครั้งนี้ก็หนักหนาสาหัสกว่าทุกงานที่ผ่านมา

    “ปีแรกนี่เหนื่อยเลยเพราะว่าเราอยู่ประมาณรถคันที่ 13, 14, 15 เมื่อพระองค์ท่านจอด... คือระหว่างเสด็จพระราชดำเนิน ถ้าพระองค์ท่านต้องพระประสงค์ พระองค์ท่านจะจอดก็จอด เพราะพระองค์ทรงขับรถเอง จอดปุ๊บเราก็วิ่งลงไป กว่าจะถึงเนี่ยบางทีพระองค์คุยจบแล้ว แล้วเราจะยืนคอยรถอยู่ก็ไม่ได้ ต้องวิ่งสุดชีวิตกลับมา ช่วงแรกมีผมคนเดียว ช่วงปีที่สองที่สามต่อมา คุณหญิงคณิตา เลขะกุล บ.ก.อนุสาร อสท. ในเวลานั้นตามไปด้วย เพราะท่านก็เป็นอนุกรรมการด้วย อีกคนที่มาหลังผมหน่อยก็คือคุณดวงดาว สุวรรณรังษี ที่เป็น บ.ก. อนุสาร อสท. รุ่นหลัง ๆ นั่นก็วิ่งกับผมมาเหมือนกัน”

    ทุกเส้นทางที่พระองค์เสด็จฯ ไปทรงงาน เรื่องความยากลำบากไม่ต้องพูดถึง บางพื้นที่ต้องเดินเท้านานนับชั่วโมง

    “เอาง่าย ๆ อย่างไปแม่แจ่ม สมัยโน้นไม่ใช่ขึ้นไปอินทนนท์แล้วลงมามีถนนลาดยางลงถึง ไม่ใช่ ต้องไปอ้อมฮอดแล้ววกเข้ามาข้างใน ถนนไม่มี ทางลูกรังอย่างเดียว ก็แปลว่าจะไปแม่แจ่มนี่สิบชั่วโมงไม่ถึง ขับรถไม่ถึง ไม่ใช่ไม่ถึงสิบชั่วโมงนะ สิบชั่วโมงไม่ถึง ออกตีสามบ้าง ตีสองบ้าง

    แต่เราว่าลำบากแล้วพระองค์ท่านลำบากกว่าเราอีก เพราะว่าบางทีเราได้รูปแล้วเราก็หยุด แต่พระองค์ท่านยังไม่ได้น้ำ น้ำหมายความว่า พระองค์ทรงไปหาน้ำให้ชาวเขา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นเขาไปสามลูกสี่ลูก บางทีเราก็ไม่ตาม”

    เมื่อมองย้อนกลับไป นภันต์ยอมรับว่า แม้ตัวเองจะเหนื่อย “แต่พระองค์ท่านเหนื่อยกว่าแน่ ๆ แต่ไม่แสดงออก”

    “อย่างที่เสด็จฯ ปลวกแดงเนี่ย วันนั้นทหารเป็นเจ้าภาพ เขาก็ไปปรับที่ เพราะราษฎรทั้งระยอง ทั้งปราจีนฯ มากันเต็ม ซุ้มรับเสด็จฯ นี่ยาวเป็นกิโล เขาก็เอาหินฝุ่นหยาบมาโรย สวยนะครับ แต่ร้อนนะฮะ ร้อนแบบสาหัสเลย แล้วมันก็คมด้วย เราเดินไปแป๊บเดียวก็จะเป็นลมแล้ว พระองค์ท่านประทับอยู่ถึงสี่ทุ่มกว่า”

    พ้นจากอุปสรรคเรื่องการเดินทาง ภารกิจที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือ การบันทึกภาพพระราชจริยวัตรให้สมพระเกียรติ

    “สมัยนั้นสำนักพระราชวังค่อนข้างเข้มงวดในการถ่ายภาพพระราชอิริยาบถของเจ้านายทุกพระองค์ เช่น ก้าวเดินไม่ได้ ต้องให้พระองค์หยุดแล้วถึงถ่ายรูป ทำให้บางทีเราในฐานะคนทำสารคดีก็จะถูกเอ็ดประจำว่า รูปที่นำมาเผยแพร่เนี่ยพระองค์ไม่สวยในสายตาของผู้ใหญ่ แต่ผมคิดว่าการที่พระองค์ทรงมีพระเสโทเต็มพระพักตร์ ต่าง ๆ นานา สามารถถ่ายทอดสื่อความหมายได้ รุ่นผมก็จะกลายเป็นรุ่นหัวแข็ง ผู้ใหญ่ก็อาจจะโกรธ แต่ว่าเราก็ทำงานของเรา”

    สำหรับการถ่ายภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ช่างภาพคนนี้บอกว่า ความง่ายอยู่ตรง “พระองค์ประทับนิ่งและนาน” ส่วนความยากคือเรื่องสภาพแวดล้อม

    “เรื่องที่พระองค์ท่านทรงคุยกับราษฎรก็จะเป็นเรื่องเดิม ๆ ทรงรับสั่งถามว่า พอมีพอกินไหม อะไรคืออุปสรรคปัญหา น้ำมีไหม น้ำอยู่ที่ไหน ปีนี้ได้ข้าวเท่าไหร่ ต่าง ๆ นานา พระราชอิริยาบถของพระองค์นิ่ง ๆ เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพก็ง่าย แต่เราอยู่ในตำแหน่งที่ถ่ายยาก เพราะว่าจะมีองครักษ์ เจ้าหน้าที่กองราชเลขาธิการ ถ้าเป็นปักษ์ใต้ก็จะมีล่าม ซึ่งจะบัง เราก็ต้องหลบ หลบเหลี่ยมให้พ้นแล้วก็ไม่ทำอะไรที่เป็นที่ผิดสังเกต เช่น ไม่ยุกยิก ต้องรู้ว่าถ่ายรูปแล้วต้องรีบลดกล้อง หลีกเลี่ยงการใช้แฟลช อันนี้เราก็จะรู้หน้าที่อยู่”

    เมื่อถามถึงเบื้องหลังภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่พระองค์ประทับยืนถือแผนที่โดยมีฉากหลังเป็นภูเขา (ภาพปกเสาร์สวัสดีฉบับนี้) ซึ่งมีการแชร์กันเป็นจำนวนมาก นภันต์เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า

    “รูปนั้นเป็นวันเสด็จฯ บ้านแกน้อย ที่จริงอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่เลย ขับรถชั่วโมงกว่า ๆ ก็ถึงแล้ว แต่วันนั้นเราขับรถไปสี่ห้าชั่วโมงกว่าจะถึง พระองค์เสด็จฯ มากับเฮลิคอปเตอร์ เราไปยืนรอก่อน โอ้โห...ตัวละลาย เพราะว่าข้างหน้าคือฝุ่นแดงอันมหาศาล ทั้งภูเขาไม่มีต้นไม้เลย มีแต่ความแห้งแล้ง ตรงที่พระองค์เสด็จฯ เป็นบ้านมูเซอแดง แล้วก็เป็นโรงเรียน แล้วระหว่างที่พระองค์ท่านประทับกับราษฎร ผมยืนอยู่ห่างสักประมาณสิบเมตร ถ่ายรูปพระองค์เสร็จก็ยืนคอยอยู่เฉย ๆ ปรากฏว่ามีลมหมุน ฟรืด… ดินแดงก็วนขึ้นมาแล้วก็ไปคลุมพระองค์ท่านจนกระทั่งแผนที่หลุดไปจากพระหัตถ์ข้างหนึ่ง พระองค์ก็ทรงตะปบ ก็เห็นว่าฝุ่นเข้าพระพักตร์ ทุกคนก็ตกใจ พอฝุ่นจางหน่อย ตอนนั้นพระองค์ท่านทรงถอดฉลองพระเนตรออกแล้วทรงเช็ดพระ เนตร แล้วทรงกางแผนที่ใหม่ ทรงงานต่อ เราร้องไห้เลย ร้องไห้เพราะว่าพระองค์ไม่ต้องมาอย่างนี้ก็ได้ ก็เป็นภาพที่ตัวเองประทับใจมากๆ

    หลังจากนั้นอีกสามสิบปีถัดมา ผมไปที่นั่นอีกครั้ง มันเป็นอะไรที่ช็อค เพราะว่าจากภูเขาหลายลูกที่เป็นทะเลทรายในวันนั้น วันนี้มันเขียวไปหมด บ้านแกน้อยก็เป็นโครงการหลวงที่ทำรายได้สูงมาก

    ต่อมาเมื่อประมาณสามปีที่แล้ว เนื่องจากผมจบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางคณะสื่อสารมวลชนก็มาขอหนังสือผมเล่มหนึ่ง ชื่อ ‘ย่างพระบาทที่ยาตรา’ เอาไปเป็นคอนเซ็ปในการทำงานถวายฯ ผมก็เลือกรูปหนึ่งที่ชอบมากก็คือรูปนี้ แล้วให้เขาไปออกแบบมาอีกที ก็ทำออกมาเป็นอย่างที่เห็น เดิมรูปที่ผมถ่ายข้างหลังเป็นภูเขาก่อนทรงงาน แต่รูปที่ทำออกมา ใช้ภาพภูเขาหลังทรงงานเป็นฉากหลังแทน

    หลังวันเสด็จสวรรคต เช้าวันที่ 14 ตุลาคม ผมก็โพสต์รูปนี้ ซึ่งเป็นรูปที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ เขียนเจ็ดบรรทัด เล่าให้ฟังว่าตัวเองเห็นอะไรวันนั้น ก็ไม่คิดว่ามันจะถูกแพร่หลายไปมากมาย แสดงว่าคนสมัยนี้เขาก็อยากที่จะเข้าใจอะไรที่สิบบรรทัด”

    ในวันที่ทราบข่าวว่าพระองค์เสด็จสวรรคต เขาบอกว่าในความโศกเศร้าเสียใจคือคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับตัวเองว่า จะทำงานเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจให้มากขึ้น

    “รู้สึกเสียใจว่าเรามีเวลาตั้งมากมายที่น่าจะทำอย่างนี้ให้กับเด็กสมัยนี้ ผู้คนสมัยนี้ได้เข้าใจพระองค์ท่าน เพราะแม้กระทั่งลูกผมก็ไม่เคยเห็นพระเจ้าอยู่หัว นอกจากเห็นในโทรทัศน์ ผมก็สัญญากับตัวเองว่าจะทำมากขึ้น”

    เหตุผลไม่ใช่เพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แต่ทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์

    “มีหลายครั้งที่ผมไปถ่ายภาพพระองค์ท่าน แล้วเห็นพระองค์ประทับราบอยู่กับพื้น หัวเข่าเปื้อนทรายเต็มไปหมด ผมเคยยกกล้องขึ้นถ่ายรูปเมื่อพระองค์ประทับบนบัลลังก์ในวันฉัตรมงคล พอเห็นภาพอย่างนี้เมื่อไหร่ผมก็น้ำตาไหล คือทำไมพระองค์ต้องมาทำอย่างนี้ ทรงงานทุกวัน ตีสามตีสี่ พระองค์ก็ยังทรงงาน พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกวัน 11 โมงเช้า กลับมาได้เสวย พระกระยาหารค่ำตอนสี่ทุ่ม เป็นเราก็อยู่ไม่ได้ ไม่มีทาง แต่พระองค์ทรงทำได้ด้วยความเต็มพระราชหฤทัย

    โครงการของพระองค์สี่พันกว่าโครงการ ทรงติดตามความคืบหน้าทุกโครงการด้วยพระองค์เอง แล้วโครงการเหล่านั้นก็ได้เดินทางไปสู่ความสำเร็จทุกโครงการด้วยพระองค์เอง ทรงคิดได้อย่างไร ทรงทำได้อย่างไร คนธรรมดาทำไม่ได้ ไม่มีวัน

    ในฐานะช่างภาพบางครั้งก็สงสัยว่า พระองค์ท่านทรงถ่ายอะไร บางทีแอบ แอบเลยล่ะ แอบไปยืนข้างหลังว่าพระองค์ทรงถ่ายอะไร คือพระองค์ท่านทรงยกกล้องมาแต่ละครั้งทรงถ่ายของไม่ดีทั้งนั้น ดินแดงแห้งผาก รากไม้ ต้นไม้ล้ม พระองค์ทรงถ่ายภาพเหล่านี้ แต่อีกสิบปีกลับไปดูสิ ตรงนั้นจะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำใหญ่ พระองค์ท่านทรงถ่ายไปต้องคิดไปด้วยแน่ ๆ ว่าจะเอาไปทำอะไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้มาจากรูปของพระองค์ก็คือชีวิต”

    ในฐานะช่างภาพที่มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ข่าวการเสด็จสวรรคตจึงเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเช่นเดียวกับพสกนิกรทั่วไป

    “ตั้งแต่เสด็จสววรคตก็ร้องไห้ใหญ่ ๆ สักสองครั้ง มันเหมือนน้ำตาตกในมั้ง ทุกวันนี้ตื่นเช้ามาก็ยังถามตัวเองว่า จริงเหรอ แต่สุดท้ายก็คิดว่า พระองค์ท่านยังอยู่กับเรา ไม่เคยไปไหน พระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ในคอมพิวเตอร์ผมมีแต่รูปพระเจ้าอยู่หัว กล้องถ่ายรูปผมในฐานะช่างภาพ ผมไม่เคยถ่ายรูปคน ใครมาจ้างผมถ่ายรูปคนผมไม่รับงาน เพราะผมคิดว่ากล้องผมถ่ายรูปพระเจ้าอยู่หัว ถ่ายรูปสมเด็จพระนางเจ้าฯ ผมไม่อยากถ่ายรูปอื่นแล้ว ถึงไม่ทำงานก็ไม่อยากถ่ายรูปคนอื่นแล้ว ผมก็จะถ่ายใต้น้ำ ถ่ายภูเขา ไม่ถ่ายคน”

    ในวาระแห่งความสูญเสียนี้ นภันต์มีความในใจที่ต้องการส่งถึงคนรุ่นใหม่หรือคนที่อาจจะยังไม่ได้รับรู้ในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    “เราต้องมีพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในหัวใจ อยู่ในจิตวิญญาณของความเป็นคนไทย คนไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่ต้องพระองค์ไหน ไม่ต้องอะไร ขอให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่กับคนไทย เราก็จะเป็นคนไทย ถ้าเราคิดว่าเรารักประเทศเรา เราก็ต้องเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์โดยไม่ต้องมีเงื่อนไข รักแล้วไม่ต้องถาม ไม่ต้องสงสัย ผมไม่เคยสงสัยอะไรเลย...ผมรัก”

    Article and photos http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/723878

    https://www.facebook.com/napan.sevikul

    #ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
     
    Last edited: 24 ต.ค. 2016
  18. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.

    เมื่อ “ครู” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสอนนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล ถึงวิชาที่ไม่มีในตำรา “แกล้งดิน” ทรงถามว่า “ภาษาอังกฤษ...แกล้งดิน..ว่ายังไง” บันทึกไว้เมื่อ 6 ตุลาคม 2544 #พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช#แกล้งดิน#เสียงที่อยากได้ยินภาพที่อยากเห็น
    http://www.js100.com/en/site/post_share/view/32009
     
  19. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    Untitled-1e.jpg
    ตีแผ่เรื่องจริง!! อดีตผู้ว่าฯสุโขทัย ผู้ใช้แขนซ้าย วันทยหัตถ์ในหลวง ร.๙ กับพระราชดำรัสของพระองค์ ที่ยังดังกังวานในหัวใจ ตราบชั่วลูกชั่วหลาน!
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (24 ต.ค.) นายไพศาล ศิริสนธิ อดีตพัฒนาการจังหวัดสุโขทัย และนางสาวอัญชลี ศิริสนธิ อดีตข้าราชการครูโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม และผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุโขทัย บุตรของนายเชื่อม ศิริสนธิ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยว่า เมื่อครั้งที่นายเชื่อมเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และใช้แขนซ้ายทำวันทยาหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการรับเสด็จฯเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2501 จนมีสื่อหลายสำนักเสนอข่าวเชิงตำหนิผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยตกประหม่า ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องเขียนบทความแถลงข้อเท็จจริงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐนั้น

    เพิ่มเติมคลิปนะครับ



    unnamed%20(2)(107).jpg


    นายไพศาลและนางสาวอัญชลี เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า สาเหตุที่นายเชื่อมใช้แขนซ้ายทำวันทยาหัตถ์ ก็เพราะว่าแขนข้างขวาขาดจนต้องใส่แขนเทียม เหตุเกิดเมื่อครั้งนายเชื่อมยังเป็นนายอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำกำลังเข้าตรวจค้นเรือที่ลักลอบขนอาวุธ และได้เกิดระเบิดขึ้นขณะตรวจค้น ทำให้แขนขวาขาดต้องใส่แขนเทียม

    ต่อมานายเชื่อมได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 งานสำคัญของรัฐบาลสมัยนั้นคือการบูรณะโบราณสถานต่างๆ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯเยี่ยมราษฎรภาคเหนือ กระทรวงมหาดไทยได้เบิกตัวนายเชื่อมเข้าเฝ้าจุดแรก บริเวณจุดต่อแดนพิษณุโลกกับสุโขทัย ในช่วงสายของวันที่ 1 มีนาคม 2501 โดยนายเชื่อมได้ใช้แขนจริงข้างซ้ายทำวันทยาหัตถ์ ภาพในวันนั้นทำให้ประชาชนต่างเข้าใจกันว่าผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยตกประหม่า และในค่ำคืนนั้นนายเชื่อมได้ร่วมโต๊ะเสวยบนศาลากลางจังหวัด จึงได้เข้าเฝ้าและทูลถามว่าจะโปรดให้ใช้แขนปลอมหรือแขนจริงในการทำวันทยาหัตถ์แสดงความเคารพ ซึ่งนายเชื่อมเล่าให้ฟังว่าพระองค์ได้มีพระราชดำรัสตอบ “ให้ใช้แขนจริงข้างซ้ายในฐานะลูกเสือ” สร้างความปลาบปลื้มใจแก่นายเชื่อมและครอบครัวมิลืมเลือน
    สำหรับการจัดงานรับเสด็จในครั้งนั้นสร้างความพอพระทัยอย่างมาก และพระองค์ยังสนพระทัยเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยเฉพาะนิทานพระร่วงที่นายเชื่อมได้เล่าเรื่องถวายที่แก่งหลวง รวมทั้งประวัติศาสตร์โบราณคดี การบูรณะโบราณสถานเพื่อให้เป็นโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ และเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2507 พระองค์ท่านได้เสด็จฯมาเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง และเสด็จฯทอดพระเนตรโซกพระร่วงลองพระขรรค์ ได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับความสามารถของคนสุโขทัยโบราณที่มีสมเด็จพระร่วงเจ้าเป็นประมุข และความสำคัญของเขื่อนสรีดภงส์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยสมัยนั้นด้วย

    นายไพศาลและนางสาวอัญชลี กล่าวอีกว่า ถึงแม้นายเชื่อมจะเกษียณอายุราชการในปี 2508 ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อพระองค์เสด็จฯมาสุโขทัยอีกในปี 2509 และปี 2515 เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ก็ให้เบิกตัวนายเชื่อมเข้าเฝ้าถวายรายงานความคืบหน้าโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ แสดงถึงพระองค์ใส่พระทัยกับโบราณสถานอันเป็นเกียรติภูมิของชาติเป็นอย่างยิ่ง

    และเมื่อนายเชื่อมเสียชีวิตเมื่อ 30 มิถุนายน 2528 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ได้นำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พระราชทานโกศโถ ฉัตรเบญจาประดับเกียรติยศ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพระราชทานพวงมาลา เป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ครอบครัวนายเชื่อม ศิริสนธิ อย่างหาที่สุดมิได้

    ภาพ/ข่าว ภูเบศวร์ ฝ้ายเทศ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.สุโขทัย
    http://77jowo.tnews.co.th/contents/210018/


    " และในค่ำคืนนั้นนายเชื่อมได้ร่วมโต๊ะเสวยบนศาลากลางจังหวัด จึงได้เข้าเฝ้าและทูลถามว่าจะโปรดให้ใช้แขนปลอมหรือแขนจริงในการทำวันทยาหัตถ์แสดงความเคารพ ซึ่งนายเชื่อมเล่าให้ฟังว่าพระองค์ได้มีพระราชดำรัสตอบ “ให้ใช้แขนจริงข้างซ้ายในฐานะลูกเสือ” สร้างความปลาบปลื้มใจแก่นายเชื่อมและครอบครัวมิลืมเลือน "
    พระปฎิภาณไหวพริบ ช่างเป็นเลิศ
     
    Last edited: 25 ต.ค. 2016
  20. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204


    ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม กระบวนพยุหยาตราชลมารค เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502
     
    Last edited: 24 ต.ค. 2016
  21. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    ภาพคมชัดสวยงามมากเลยครับ ชมจนจบ บ้านเมืองเราช่วง2502ดูโบราณแต่ดูร่มเย็นจัง ถ้าถึงเกิดทันก็คงยังไม่รู้เริ่อง และไม่รับรู้บรรยากาศอะไร
     
    แสงธูป และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  22. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    พระราชอารมณ์ขันของในหลวง วันที่ทรงปลูกต้นจามจุรี เรื่องประทับใจไม่รู้ลืมของชาวจุฬาฯ
    ทุกคนคงรู้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือต้นจามจุรี ใครที่ได้เคยไปเยี่ยมเยือนก็จะเห็นต้นจามจุรี จำนวนมากปกคลุมอยู่จนถึงปัจจุบัน

    จากการสืบค้นตามข้อมูลของหอประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าหลักฐานที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของการถือว่าจามจุรีเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย หรือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯนั้นยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด แต่อาจารย์และนิสิตรุ่นเก่าๆเล่าให้ฟังว่า ในอดีตใครก็ตามประสงค์จะไปติดต่อราชการหรือธุระส่วนตัวที่ “โรงเรียนมหาวิทยาลัย” หรือ “โรงเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งค่อย ๆ สั้นลงมาเป็น “โรงเรียนจุฬาฯ” และเหลือแต่ “จุฬาฯ” นั้น จะมีผู้แนะนำให้สังเกตว่าที่ใดเป็นโรงเรียนมหาวิทยาลัย นั่นคือให้ไปที่ปทุมวันตรงบริเวณที่มีถนนผ่านต้นจามจุรีมากๆ พอไปถึงจะเป็นตึกเรียน มีนักเรียนและอาจารย์ ส่วนเส้นทางที่จะไปสถานที่ซึ่งมีจามจุรีมากๆ นั่นคือ ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 และถนนพญาไท

    AAj9XGx.img?h=452&w=728&m=6&q=60&o=f&l=f.jpg
    © ภาพจากมติชนออนไลน์ และขอบคุณภาพจาก เฟสบุ๊กหอประวัติจุฬาฯ

    นิสิตรุ่น พ.ศ.2490 กว่าๆ เริ่มพบกับจามจุรีที่เป็นซุ้มรับน้องใหม่ ปลายทศวรรษนี้เริ่มมีมาลัยจามจุรีมอบให้น้องใหม่หรือเป็นรางวัลสำหรับนักกีฬาของคณะต่างๆ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อกับปี พ.ศ. 2493 วงดนตรีสุนทราภรณ์ได้แต่เพลง “จามจุรีศรีจุฬาฯ” ให้แก่ชาวจุฬาฯ ทั้งนี้เพราะสมัยโน้นวงดนตรีสุนทราภรณ์และจุฬาฯใกล้ชิดกันมาก สุนทราภรณ์ได้นำความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ และจามจุรีมาแต่งเนื้อร้องที่มีความหมายกินใจ และใส่ทำนองเพลงที่ไพเราะยิ่ง

    ช่วงเวลา พ.ศ. 2490 จามจุรีเป็นชื่อทีมฟุตบอลที่แข่งขันชิงถ้วยรางวัลต่างๆ .. สโมสรนิสิต (สจม.) และสโมสรนิสิตเก่า (สนจ.) ใช้เป็นชื่อทีมฟุตบอลแข่งขันงานที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดขึ้น คนรุ่นหลังๆโดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบและติดตามการแข่งขันฟุตบอลเริ่มรู้ว่าชาวจุฬาฯ มีความผูกพันกับจามจุรีเพียงใด

    นอกเหนือจากข้อมูลที่ประมวลมาข้างต้นแล้ว สิ่งที่นิสิตจุฬาฯ มีความรู้สึกนึกคิดตรงกันคือสีดอกจามจุรีเป็นสีชมพู จามจุรีให้ร่มเงาสำหรับการเดินไปมา การพักผ่อน การดูหนังสือ ใช้กิ่งก้านใบจามจุรีในกิจกรรมรับน้องใหม่กับการแข่งขันกีฬา วัฏจักรของจามจุรีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือสีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในภาคต้น และภาคที่สองทั้งใบและฝักหล่นพื้นเตือนให้รีบดูหนังสือเตรียมตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นจะพบกับการ repeat หรือ retire.... จามจุรีอยู่ที่จุฬาฯมานานจนบอกไม่ได้ว่าเมื่อไร ด้วยเหตุนี้จามจุรีกับจุฬาฯ จึงผูกพันกันมากจนกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ

    AAj9SzU.img?h=400&w=242&m=6&q=60&o=f&l=f&x=422&y=325.jpg© ภาพสนับสนุนโดย Matichon 72

    ประมาณต้นทศวรรษของ พ.ศ. 2500 ผู้บริหารจุฬาฯ เห็นว่าจามจุรีเป็นไม้ที่สลัดใบ และฝัก ทำให้ถนนและคูข้างถนนในจุฬาฯ สกปรก มีโรคพืชทำให้กิ่งก้านหักหล่น จึงไม่มีนโยบายปลูกทดแทนต้นที่ตายไป นอกจากนั้นในช่วง พ.ศ.2480 - 2500 มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก จึงต้องโค่นจามจุรีเพื่อสร้างตึกใหม่ จามจุรีจึงลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูก จะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีให้เอง และในวันที่ 15 มกราคม พุทธศักราช 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี 5 ต้น หน้าหอประชุม และพระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับต้นจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเล่าอย่างสอดแทรกพระราชอารมณ์ขันว่า ทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล ต้นจามจุรีงอกขึ้นในบริเวณต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกต้นจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที ก่อนจบกระแสพระราชดำรัส ได้รับสั่งว่า ขอฝากต้นไม้ไว้ 5 ต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล จามจุรีพระราชทาน 5 ต้นจึงยืนต้นอย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่า และสิริมงคลแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป

    AAja0eH.img?h=544&w=728&m=6&q=60&o=f&l=f.jpg
    © ภาพสนับสนุนโดย Matichon 70

    "วันนี้มาปลูกต้นไม้ ไม่มาทำอะไรอย่างอื่น แต่ต้นไม้นี่สำคัญ สำคัญจริงๆ คือว่าทราบดีว่าต้นไม้นี่ชื่อจามจุรี ก้ามปูนี่ก็เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนี้ ก็ได้นำมาห้าต้น ห้าต้นนี้ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เกิด คือว่าปีที่แล้วไปที่หัวหินแล้วก็ปลูกต้นไม้ พวกนี้ก็เกิดมาด้วย เมื่อเกิดมาแล้วสงสาร ก็ต้องเลี้ยง เลี้ยงจนเติบโตพอควร เห็นว่าโตแล้ว ควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที แล้วก็มหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับที่นี่ เพราะว่าเขาเอ็นดูต้นจามจุรี ก็เชื่อว่าต้นไม้ทั้งห้าต้นนี้ นิสิตทั้งหลายคงรักษาไว้ให้เติบโต ไม่ให้ล้มตาย คือต้นไม้พวกนี้ ก็คงจะเป็นความสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยต่อไป..." พระราชดำรัสวันทรงพระราชทานต้นจามจุรีให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 15 มกราคม 2505

    "ฝากต้นไม้ไว้ให้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล" คือพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2505 เมื่อครั้งทรงมาปลูกต้นจามจุรีให้ไว้แก่ชาวจุฬาฯ และต่อมาเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงตกแต่งลานรอบต้นจามจุรีพระราชทานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯมาทรงเปิดลานจามจุรีพระราชทานเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2539

    AAja7wU.img?h=728&w=728&m=6&q=60&o=f&l=f.jpg
    © ภาพสนับสนุนโดย Matichon 75

    ต้นจามจุรีทั้งห้าต้นที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกไว้เมื่อปี 2505 นั้น บัดนี้เติบใหญ่แผ่กิ่งก้านไพศาลให้ความร่มเย็นอยู่เป็นนิจบริเวณลานจามจุรี โดยทั้งห้าต้นล้อมด้วยเสาคอนกรีตและกั้นด้วยโซ่อยู่บริเวณหลังพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล หากหันหน้าเข้าหาหอประชุมจุฬาฯ จะอยู่ทางซ้ายมือสองต้นและอยู่ทางขวามือสามต้น จามจุรีที่พระราชทานให้ชาวจุฬาฯทั้งห้าต้นจะหยั่งรากลึกในหัวใจของชาวจุฬาฯตลอดไป เเละเรื่องเล่าพระราชอารมณ์ขันดังกล่าว คือการให้ต้นจามจุรีที่ทรงเลี้ยงดูมา ได้เข้ามหาวิทยาลัยเสียที จึงถูกเล่าต่อจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะชาวหอใน รวมถึงทุกๆคณะด้วยความประทับใจ

    ขอบคุณข้อมูลจาก -

    -คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำ ปีการศึกษา 2555

    -http://www.memocent.chula.ac.th/

    -www.reurnthai.com

    -http://www.msn.com/th-th/news/breakingnews/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%AF/ar-AAja0eL?ocid=mailsignout
     
  23. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    เรื่องเล่าจากศิริราช "ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน กุลทนันทน์" อดีตหัวหน้าคณะแพทย์ถวายการรักษาในหลวง
    08:00 | 25 ตุลาคม 2559
    G0DL5oPyrtt5HBAi4Ftj5WgpL2gVcxhcMetpbXKyRA1HcRIa0CRqoU.jpg
    ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ อดีตหัวหน้าคณะแพทย์ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถ่ายทอดเรื่องราวความประทับใจที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช

    ศาสตราจารย์คลินิก นพ.ธรีวัตน์ อดีตคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะแพทย์ถวยการรักษาในหลวง ระหว่างปี 2550-2554 กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ทรงเป็นผู้ป่วยที่ดีมาก ปฏิบัติตามการรักษาพยาบาลอย่างเคร่งครัด รวมทั้งทรงมีความอดทนและเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ป่วยในการฟื้นฟูร่างกาย และยังคงทรงงานตลอดเวลาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของพสกนิกร

    รู้สึกอย่างไรเมื่อทราบว่าต้องถวายการรักษา สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    รู้สึกตื่นเต้น ดีใจ และก็เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ผมได้ดูแลพระองค์อย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกตอนที่เป็นหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด ตอนนั้นท่านปวดหลัง จึงมีการเชิญแพทย์จากต่างประเทศมาผ่าตัด ครั้งต่อมาคือเมื่อพระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคปอดอักเสบ แพทย์ได้ตั้งคณะกรรมการถวายการรักษา ประกอบด้วยแพทย์จากทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกว่า 20 คน เราจะประชุมกันทุกเช้าและถวายการรักษา ผมต้องเข้าเฝ้าฯ ทุกวัน เพราะว่าต้องดูแลพระองค์ท่านอย่างใกล้ชิด

    พระองค์ทรงเป็นผู้ป่วยที่ดีมาก ปฏิบัติตามการรักษาพยาบาลอย่างเคร่งครัด แล้วที่สำคัญที่สุด ซึ่งอยากจะยกให้เป็นตัวอย่างของประชาชนหรือพสกนิกรทั่วไปก็คือ การฟื้นฟูสภาพหรือเรื่องการรักษาพยาบาล ซึ่งทรงมีความอดทนเป็นอย่างสูง พระชนมพรรษาก็มากแล้ว การที่จะลุกจากเตียงขึ้นนั่ง การที่จะลงจากเตียงขึ้นยืน หรือแม้กระทั่งการเสด็จพระราชดำเนิน ทรงทำด้วยความยากลำบาก แต่ก็ทรงอดทนในการฟื้นฟูสภาพ พอเริ่มดีขึ้นก็ทรงจักรยานสำหรับออกกำลังกาย ซึ่งก็ฟื้นฟูโดยเร็ว

    พอพระอาการดีขึ้นก็ทรงงานเลย ห้องทรงงานของพระองค์อยู่ติดกับห้องผู้ป่วย พอเสวยพระกระยาหารเสร็จ ก็จะทรงพระราชดำเนินจากห้องผู้ป่วยมาที่ห้องทรงงาน หรือบางครั้งก็เสวยในห้องทรงงาน พระองค์ทรงงานหนัก พระองค์ทรงอ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ อินเทอร์เน็ตและทีวีเป็นประจำ เพราะฉะนั้นพระองค์จะทราบความเป็นไปหลากหลายเรื่อง รวมทั้งคนที่มาเข้าเฝ้าฯ ผมรู้สึกว่าพระองค์ทรงงานหนักตลอดเวลา

    โครงการก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีเป็นโครงการในพระราชดำริที่เกิดขึ้นขณะประทับอยู่ที่ รพ.ศิริราช ใช่หรือไม่
    พระองค์ทอดพระเนตรสภาพการจราจรบนสะพานปิ่นเกล้าจากห้องทรงงาน ผมกราบทูลเชิญเสด็จฯ ขึ้นดาดฟ้า พระองค์ก็ทรงเห็นการจราจรบนสะพานอรุณอัมรินทร์และถนนโดยรอบซึ่งรถติดมาก จึงมีพระราชดำริว่าจะช่วยเรื่องการจราจรของฝั่งธนบุรี ผมก็ทูลเกล้าฯ ถวายแผนที่ทั้งใน รพ.ศิริราชและพื้นที่โดยรอบ รพ.ศิริราช พระองค์ทอดพระเนตรตั้งแต่แผนที่แผ่นเล็กๆ ทีละแผ่นๆ ท่านก็ทรงชี้อะไรต่ออะไร จนกระทั่งแผนที่แผ่นใหญ่ ท่านทรงทราบหมด ทรงพระปรีชามากในเรื่องของการจราจร และท่านมีพระราชดำรัสว่า จะสร้างถนนหรืออะไรก็แล้วแต่ อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน ผมก็รับด้วยเกล้าและน้อมนำมาเป็นแนวทางให้แก่คณะทำงาน

    หลังจากนั้นท่านก็มีพระราชกระแสให้ผมประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดการจราจร พอได้ข้อมูลพร้อมก็จะถวายรายงานพระองค์ที่ห้องประชุมชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งพระองค์เสด็จฯ ไปเป็นประจำ ผมก็ถวายรายงานข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนคนที่เดินทางมาศิริราช ทั้งผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งคนที่สัญจรผ่านไปมาซึ่งมีวันละประมาณ 1 แสนคน พระองค์ก็มีพระราชวินิจฉัยออกมาในการที่จะแก้ไขปัญหาจราจรในฝั่งธนบุรี ถ้าใครได้ติดตามข่าวในช่วงนั้นก็คงจะทราบเพราะมีสถานีโทรทัศน์นำเสนอการแก้ปัญหาจราจรตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 วันติดกัน

    เหตุใดพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชถึงเสด็จฯ มาเปลี่ยนพระราชอิริยาบถบริเวณดาดฟ้าและท่าน้ำเป็นประจำ
    พอพระองค์ทรงแข็งแรงขึ้นบ้าง คณะแพทย์ก็พยายามที่จะให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญ ก็จะพยายามทำทุกรูปแบบไม่ว่าจะพาเสด็จฯ ลงข้างล่างหรือไปที่ท่าน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่อากาศดีมีลมพัดเย็นสบาย เป็นจุดที่พระองค์ทอดพระเนตรพระบรมมหาราชวังอย่างใกล้ชิดและทรงโปรดด้วย ไปเสวยของว่าง บางทีก็กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ โดยรอบ รพ.ศิริราช บางทีวันตรุษจีน ผมก็ไปเชิญผู้ชนะเลิศการเชิดสิงโตจาก จ.นครสวรรค์ มาเชิดให้พระองค์ทอดพระเนตร หรือแม้แต่จัดเทศน์มหาชาติก็มี

    อีกอย่างหนึ่งซึ่งทรงพระเกษมสำราญมาก คือ ดนตรี ผมจัดคอนเสิร์ต "เทิดไท้ องค์อัครศิลปิน" เต็มรูปแบบที่บริเวณหอประชุมให้ทอดพระเนตร ก็เสด็จฯ ไปทอดพระเนตร จบคอนเสิร์ตผมก็กราบพระบาท พระองค์มีพระราชดำรัสกับผมว่า "เพลงเพราะดี ขอบใจนะ ที่จัดให้" สิ่งนี้ทำให้ผมภาคภูมิใจและก็ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

    TSNBg3wSBdng7ijM6WjrVrg3em0KXct0K23fvT19Dsw.png
    ทุกครั้งที่ประชาชนเปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" ภายใน รพ.ศิริราช พระองค์ทรงทราบหรือไม่
    ทราบครับ ทรงได้ยิน ผมสังเกตพระพักตร์ก็แจ่มใสขึ้น ผมคิดว่ากำลังใจเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้หรือผลไม้ที่ประชาชนนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ข้าราชบริพารจะนำขึ้นไปข้างบนที่ประทับ ซึ่งก็ได้ใช้และพระราชทานดอกไม้ไปตามตึกผู้ป่วยต่างๆ ด้วย เป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

    ช่วยเล่าเรื่องประทับใจระหว่างที่ถวายการรักษา สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    ประทับใจตลอดเวลาเลย ตั้งแต่รับตำแหน่งคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผมก็ถวายตัวว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นคณบดีคนใหม่ ก็พระราชทานพระราชดำรัส 2 ประโยคว่า "ให้เป็นนักเรียนใหม่" และ "ตั้งใจทำงานนะ" ผมก็รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม แล้วก็ต้องเป็นนักเรียนใหม่อยู่ตลอดเวลา ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาหน่วยงาน และที่สำคัญที่สุดก็คือ ตั้งใจทำงาน ซึ่งผมก็นำพระราชดำรัสนี้มาให้กับชาวศิริราชทุกคน หรือในที่ไหนก็แล้วแต่ที่ผมมีโอกาสที่จะได้อัญเชิญพระราชดำรัสนี้ ผมก็จะมอบให้ และทุกคนที่ได้ยินได้ฟังก็จะปฏิบัติตามพระราชดำรัส ว่าจะต้องเป็นนักเรียนใหม่อยู่เสมอและจะต้องตั้งใจทำงาน

    อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ผมประทับใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ก็คือ ตอนนั้นแพทย์และทีมงานเข้าเฝ้าฯ กันอยู่ 3-4 คน ที่ห้องทรงงาน ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีข่าวเรื่องการฟ้องร้องแพทย์ ปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

    ความหมายก็คือว่า นอกจากสุภาพแล้ว แพทย์ยังต้องให้เกียรติทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วย ซึ่งต้องการมารักษาร่างกายและจิตใจ ไมตรีจิตก็จะเกิดขึ้นระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ เพราะฉะนั้นปัญหาต่างๆ ทีมีอยู่ก็จะลดน้อยลง

    พระราชดำรัสนี้ ผมก็อัญเชิญมาให้ชาวศิริราชทุกคน และก็แพทยสภา และแพทย์อื่นๆ ที่ผมมีโอกาสอัญเชิญพระราชดำรัสได้ก็จะอัญเชิญให้ ใครที่ได้ยินก็จะปฏัติตามพระราชดำรัส ก็จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี ในการรักษาพยาบาล เพราะว่าจริงๆ แล้ว หน้าที่ของแพทย์คือเป็นผู้ให้การรักษาทั้งกายและใจ เป็นผู้ที่ต้องให้กำลังกับผู้ป่วย เพราะฉะนั้นการให้เกียรติแก่ผู้ป่วยและญาติ ไม่ดูถูก ให้กำลังใจกัน เป็นสิ่งซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดเลย พระราชดำรัสนี้มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

    เวลาเสด็จฯ ลงจากที่ประทับ สายพระเนตรที่มองประชาชนที่มาเข้าเฝ้า เป็นสายพระเนตรที่ทรงพระเมตตามากๆ แม้กระทั่งเสด็จฯ ออกจากลิฟท์ พระองค์จะเอื้อมพระหัตถ์แตะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แล้วมีพระราชดำรัสว่า "ขอบใจนะ" พระอิริยาบทเหล่านี้ทำให้ผมประทับใจอย่างยิ่ง ทรงมีพระเมตตาเหลือเกิน

    TSNBg3wSBdng7ijM6WjrVrg3em0KXcsAyto8tcvGROP.png


    อีกเรื่องหนึ่งคือช่วงที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 พระองค์ทรงทราบมาก่อน ด้วยพระปรีชาสามารถ จึงให้ผมรายงานเรื่องน้ำท่วมตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.2554 หรือก่อนที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคม ผมต้องทำรายงานถวายทุกวันว่าน้ำขึ้นที่ไหน ขึ้นที่ปากน้ำโพเท่าไหร่ กี่เมตร สถานการณ์เป็นอย่างไร และให้ถ่ายรูปให้ทอดพระเนตรทุกวัน และผมจะประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน ทหารเรือ และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำที่ห้องประชุมคณะแทพย์ทุกวัน และทำรายงานถวาย พระองค์ทรงทราบถึงสถานการณ์น้ำท่วมและทรงช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ตามแนวพระราชดำริ ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง

    http://news.thaipbs.or.th/content/256925
     
  24. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    เรื่องเล่าจากอดีตเด็กเลี้ยงช้างถึงพระราชกระแสรับสั่ง "พระเศวต แล้วเจอกันนะ"
    G0DL5oPyrtt5HBAi4Ftk6YbJu0dgRjF8ew6KKmmYF7OhGczdDpbbhZ.jpg

    อดีตเด็กชายดูแลช้างคู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บอกเล่าถึงพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ต่อ "พระเศวตสุรคชาธาร" ช้างคู่พระบารมี

    รูปปั้นพระเศวตสุรคชาธาร หรือ ช้างคู่พระบารมีประจำรัชกาลที่ 9 ยังคงเป็นอนุสาวรีย์ประจำ ณ.สนามพิธีช้างเผือก อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ซึ่งเคยถูกใช้เป็นสถานที่จัดพระราชพิธีสมโภช ขึ้นเป็นช้างคู่พระบารมี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ยังคงอยู่ในความทรงจำของนายธนิต คุมภะสาโน ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงเด็กชายวัยเพียง 10 ขวบที่ปรากฏในภาพถ่ายคู่กับช้างคู่พระบารมี

    นายธนิต ซึ่งปัจจุบันเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ยะลา เล่าว่า ช้างคู่พระบารมีถูกนำมาจาก อ.รามัน จ.ยะลา หลังจากชาวบ้านพบว่า เป็นช้างที่มีลักษณะพิเศษ ขนสีขาว ฝ่าเท้าสีชมพู ซึ่งแตกต่างจากช้างอื่นๆ ที่ทั่วไปจะมีสีดำ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และเพราะวัยของช้างและตัวเองใกล้เคียงกันจึงสนิทสนมและกลายเป็นเพื่อนกัน ต่อมาทางราชการได้พิสูจน์ทางคชลักษณ์ และพบว่าเป็นช้างเผือกในตระกูลพรหมณ์พงค์ หรือ ดามมหัตถี จึงสมควรน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นช้างสำคัญคู่พระบารมี และจัดพระราชพิธีสมโภชขึ้นตามโบราณราชประเพณีในวันที่ 9-11 มี.ค. 2521

    หลังจากนั้นพระเศวตสุรคชาธารก็ถูกส่งตัวมายังพระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเด็กชายธนิตได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เลี้ยงในช่วงประมาณ 1 เดือนแรก ซึ่งทุกวันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระเศวตสุรคชาธารและทรงตรัสถามถึงความเป็นอยู่

    TSNBg3wSBdng7ijM6WjuNfX9WySGNkz6Ccnk55be9oc.jpg


    "พระองค์ท่านมีความเมตตาสูงมาก ผมก็เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่ง แต่พอได้ยินพระองค์ท่านตรัสว่า 'พระเศวต แล้วเจอกันนะ' ผมมีความรู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูก ถ้อยคำไม่กี่พยางค์ที่ท่านตร้ส ทำให้เราถวายตัวด้วยหัวใจเลย" นายธนิตกล่าวทั้งน้ำตาที่ไหลออกมาด้วยความตื้นตัน

    นายธนิตเล่าว่า เขาได้รับมอบหมายให้ดูแลพระเศวตสุรคชาชารที่วังไกลกังวลเพื่อให้ช้างปรับตัวได้ในช่วงแรก ทุกเช้าพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระเศวตและทรงตรัสถามความเป็นอยู่ พระเศวตจะตอบรับด้วยการ ทำท่า "จบ" ซึ่งเป็นท่าแสดงความเคารพของช้าง หากพระเศวตดื้อเกเร นายธนิตจะหยิกที่หู พระองค์ท่านก็จะแย้มพระสรวลและทรงตรัสว่า "ไม่เป็นไรหรอก ปล่อยเค้าเถอะ"

    "เด็กจังหวัดยะลาคนหนึ่งได้มีโอกาสถวายรายงานเกี่ยวกับอาการของพระเศวตฯ ซึ่งเป็นช้างคู่พระบารมี ได้กราบพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 ครั้ง คิดว่าชาตินี้คงไม่ต้องการอะไรแล้ว และต้องเป็นคนที่ยึดคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเราจะต้องเป็นคนดีของสังคม" นายธนิตกล่าว

    TSNBg3wSBdng7ijM6WjuNfX9WySGNk0E25xair0rFaI.jpg
    นายธนิต คุมภะสาโร คือเด็กชายที่อยู่ด้านซ้ายมือในภาพถ่าย

    ข้อมูลจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 17 ให้ข้อมูลว่า พระเศวตสุรคชาธารฯ เป็นช้างพลายเผือก ลูกเถื่อน นายเจ๊ะเฮง หะระดี กำนันตำบลการอ อ.รามัน จ.ยะลา ได้ลูกช้างพลัดแม่ พ.ต.อ.ศิริ คชหิรัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2511 เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์จำพวกช้าง 10 หมู่ ชื่อ ดามพหัตถี สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2511

    TSNBg3wSBdng7ijM6WjuNfX9WySGNk2KdmJ0URNEUeY.jpg


    ความเชื่อของไทยโบราณ หากกษัตริย์พระองค์ใดมีช้างเผือกคู่พระบารมีตามหลักคชลักษณ์มากก็จะมีบุญญาบารมีมาก ซึ่งรัชกาลที่ 9 มีช้างเผือกคู่พระบารมีถึง 21 ช้าง

    TSNBg3wSBdng7ijM6WjuNfX9WySGNkxr9ZTtM74NgFd.jpg

    แม้ปัจจุบันพระเศวตสุรคชาธารจะล้มแล้ว แต่ความทรงจำของคนในจังหวัดยะลาซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของช้างคู่พระบารมี ก็ทำให้คนในหลายพื้นที่ภูมิใจอย่างยิ่ง เห็นได้จากภาพจิตรกรรมที่สะท้อนเรื่องราวในพระราชพิธีสมโภชพระเศวตสุรคชาธารถูกถ่ายทอดผ่านศิลปินชั้นครู อย่างรองศาสตราจารย์นิคอเละ ระเด่นอาหมัด

    ครูนิคอเละบอกว่า ความยากในการถ่ายทอดผลงานชิ้นนี้ คือ จะต้องทำงานวิจัยเรื่องราวในพระราชพิธีทั้งหมด ทั้งข้อมูลเชิงเนื้อหาประวัติศาสตร์ และข้อมูลจากภาพถ่ายก่อนจะนำมาเรียงร้อยต่อกัน และลงมือวาดด้วยวิธีการจัดองค์ประกอบของภาพให้อ้างอิงตามหลักวิชาการทางศิลปะ เพื่อให้ได้ผลงานจิตรกรรมที่บันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้งดงามมากที่สุด

    "ภาคภูมิใจที่ได้ทำงานนี้ จะเรียกว่าเป็นการถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างหนึ่งก็เป็นได้ เพราะเราเขียนรูปนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของในหลวงของเราและประวัติศาสตร์ของ จ.ยะลา ด้วย" ครูนิคอเละกล่าว

    ครูนิคอเละกล่าวว่า ผลงานจิตรกรรมครั้งนั้น ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการวาดภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดชอีกหลายภาพ และยังเป็นต้นแบบของการถ่ายทอดภาพวาดสมัยใหม่ที่ไม่ยึดกับการวาดภาพเหมือนแต่จะวาดจากความรู้สึก อีกทั้งทุกปี ผลงานภาพวาดจากฝีพระหัตถ์ก็จะถูกนำมาแสดงในงานศิลปกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2502 ถึงปี 2510 สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอัครศิลปิน และพระปรีชาสามารถด้านศิลปะของพระองค์อย่างแท้จริง



    https://news.thaipbs.or.th/content/256769
     
  25. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    "จะดูแลช้างของพระองค์ให้ดีที่สุด" คำมั่นจากสัตวแพทย์ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
    G0DL5oPyrtt5HBAi4FtkAtsO5umZGN6O7meybzUnwGYZribJL3dBn3.jpg
    วันที่ 19 ต.ค. 2559 นายสัตวแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ภายใต้การดูแลองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) จ.ลำปาง กล่าวว่า มีโอกาสถวายงานให้กับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2547 และปี 2549 ในการดูแลพระเศวตอุลยเดชพาหน ช้างคู่พระบารมี ที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถือเป็นความภาคภูมิใจมากที่สุดในชีวิต

    TSNBg3wSBdng7ijM6Wjrk1aAk7ljYnFCqMjfrvPCj4b.jpg


    นายสัตวแพทย์สิทธิเดช กล่าวต่ออีกว่า เมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาดูพระเศวต ได้มีโอกาสถวายรายงานใกล้ชิดเกี่ยวกับสุขภาพพระเศวต พร้อมมอบพานใส่กล้วยและอ้อยให้ทรงป้อนให้พระเศวต โดยทรงซักถามข้อมูลต่างๆ ใช้เวลานานถึง 45 นาที เป็นความประทับใจมาจนถึงทุกวันนี้

    TSNBg3wSBdng7ijM6Wjrk1aAk7ljYnDoVkl3L5wzpxK.jpg


    TSNBg3wSBdng7ijM6Wjrk1aAk7ljYnOQBsuVKz3eJdn.jpg


    “จะปฏิบัติตามคำสอนของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และดูแลช้างของพระองค์ให้ดีที่สุด ปัจจุบันศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ทำหน้าที่ดูแลช้างส่วนพระองค์ 10 ช้าง อยู่ที่จังหวัดลำปาง 6 ช้าง และจังหวัดสกลนครอีก 4 ช้าง” ผอ.สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ ระบุ

    http://news.thaipbs.or.th/content/256821
     
  26. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    พระกระยาหารที่เรียบง่ายของพระราชา ....เรื่องเล่าจากอดีตหัวหน้าห้องเครื่อง
    07:24 | 21 ตุลาคม 2559

    อดีตฝ่ายหัวหน้าห้องเครื่อง กองมหาดเล็กพระตำหนักจิตรลดา เล่าเรื่องราวพระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่เป็นไปตามหลักความเรียบง่าย

    การจัดอาหารขึ้นโต๊ะเสวยในฐานะอดีตหัวหน้าห้องเครื่องอาหารฝรั่งประจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นหน้าที่กว่า 40 ปี ของนายชุมพล มัจฉา อายุ 65 ปี อดีตหัวหน้าฝ่ายห้องเครื่อง กองมหาดเล็กพระตำหนักจิตรลดา


    TSNBg3wSBdng7ijM6WjrmO0rAyLhWuV5DLfaUkkaR92.jpg


    นายชุมพลสืบสานการเป็นหัวหน้าห้องเครื่องสมัยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์แม้ขณะนี้เกษียณอายุราชการแล้ว แต่นายชุมพลเล่าเรื่องราวในอดีตที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทว่า พระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นไปด้วยความเรียบง่าย ประชาชนทานอย่างไร เครื่องเสวยของพระองค์ก็ไม่ต่างกัน พระองค์ไม่ทรงโปรดอาหารใดเป็นพิเศษ แต่จะเสวยตามที่เจ้าหน้าที่ประกอบเครื่องเสวยถวาย แต่ที่เสวยได้มากเป็นพิเศษ จะเป็นจำพวกผักน้ำพริก อาหารอ่อนแบบฝรั่ง เช่นซุปข้น และเมนูปลาต่างๆ ที่เสวยได้ง่าย



    TSNBg3wSBdng7ijM6WjrmO0rAyLhWubHqpQVI1UCCI9.jpg


    หลังจากเกษียณ อดีตหัวหน้าฝ่ายห้องเครื่องกลับมาใช้ชีวิตตามแนวพระราชดำริที่พระองค์ทรงสอนไว้ อยู่กับมารดาที่บ้าน ต.ท่าระหัด อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี ริมแม่น้ำท่าจีนโดยยึดหลักใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย เพราะผักผลไม้สามารถปลูกได้เอง และเก็บเกี่ยวมาทานได้ในแต่ละมื้อ

    https://news.thaipbs.or.th/content/256897
     
  27. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    ในความเข้าใจของผมเอง ผมว่าพระปรมินทร์มหาภูมิพล ท่านทรงเป็นคน(ขออนุญาตใช้คำสามัญ)ที่ไม่สู้รบตบมือกับใคร แต่จะทรงแสดงความไม่เห็นด้วยด้วยการทำในสิ่งที่ท่านคิดว่าดี ตอบ ทั้งๆที่พระองค์อาจจะทรงแค่รับสั่งไม่ให้ตัด จะง่ายกว่าการต้องเสด็จมาปลูกต้นไม้มากนัก ท่านก็ทรงไม่ทำ แต่ยอมเหนื่อยพระวรกายเพื่อคัดค้านด้วยการทำให้เห็น ผมว่าท่านเป็นผู้มีความเพียรสูงมาก...
     
  28. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.

    อย่าปล่อยมือ - ไม้เมือง #นักผจญเพลง ตอน เชียงใหม่ซาวด์ #ThaiPBS

    อย่าปล่อยมือชาวไทยนะ พระองค์
     
    แสงธูป และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  29. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.

    photo.jpg
    AMARIN TVHD

    เปิดใจช่างตัดสูทในหลวง พระเมตตาจากพระราชาที่หลายคนไม่เคยรู้ 17/10/59
     
    Last edited: 25 ต.ค. 2016
  30. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    13240744_1348506091843167_1445774374990533968_n.jpg
    ผมเข้าใจเองว่าพระราชพาหนะส่วนพระองค์คันนี้ น่าจะเป็นคันเดียวกัน ทรงน่าจะนำมาเมืองไทยด้วย
     
    Last edited: 26 ต.ค. 2016
    แสงธูป และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  31. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    14713509_1479966958697079_5693791969144029128_n.jpg
    14656324_1479967338697041_1095910426072465245_n.jpg
    14650248_1479987425361699_5603406245129788_n.jpg

    14650618_1479967798696995_3492101824696849122_n.jpg
    เสด็จพระราชดำเนินแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔
    Sira Tuang

    อยากหยุดเวลา ให้พระองค์ท่านทรงพระเกษมสำราญอย่างนี้ตลอดไป
    (ทรงฉลองพระองค์กางเกงว่ายน้ำสีแดงด้วย)
     
  32. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    26 ตค.59 กทม.แปรอักษรเป็นรูปเลข ๙ ที่ลานคนเมืองเพื่อแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
    #ThaiPBSnews
     
    แสงธูป likes this.
  33. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    แสงธูป likes this.
  34. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    640x390_724461_1477402241.jpg


    " การยืนไว้อาลัยของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ยืนไว้อาลัยทั้งสมัชชา ตนถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเพราะเขาไม่เคยทำกับใคร " นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
     
    แสงธูป และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  35. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    "สะพานของพ่อ"
    "สะพานของพ่อ" สะพานภูมิพล ที่เกิดจากพระราชดำริ ในหลวง ร.9 เพื่อบรรเทาทุกข์ประชาชน ข้ามฟากระหว่างฝั่งพระประแดงกับฝั่งพระนคร

    AAj7zoj.img?h=409&w=728&m=6&q=60&o=f&l=f.jpg
    © ภาพสนับสนุนโดย Kom Chad Luek

    "สะพานของพ่อ" ผู้ใช้เฟซบุ๊ก แต๊กกี้ศักดิ์ พรรคเต่าถุย ได้โพสต์เกี่ยวกับ สะพาน "ภูมิพล" ไม่ใช่แค่เพียงเพราะแค่ชื่อพระราชทานเท่านั้น พระองค์ยังได้สละทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างสะพานนี้ เพื่อบรรเทาทุกข์ประชาชนที่เวลาจะเข้ามายังฝั่งพระนคร ต้องนั่งเรือทั้ง รถจักรยานยนต์ และรถยนต์
    สะพานนี้สร้างด้วยทรัพย์สินส่วนตัวของท่าน

    ใช่แล้วครับ ท่านอ่านไม่ผิด

    สร้างด้วยทรัพย์สินส่วนพระองค์

    เข้าไปอ่านได้ที่ http://www.msn.com/th-th/news/breakingnews/สะพานของพ่อ/ar-AAj7MpB?ocid=mailsignout
     
  36. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    "ยูเนสโก" เทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ว่านางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( ยูเนสโก ) เดินทางมายังสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เมื่อวันอังคาร เพื่อลงนามถวายความอาลัยและถวายสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูต ให้การต้อนรับ
    AAj7DKE.img?h=380&w=570&m=6&q=60&o=f&l=f.jpg
    © สนับสนุนโดย Dailynews Web Co. Ltd


    ขณะเดียวกัน คณะกรรมการบริหารของยูเนสโกมีแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญว่าตลอดรัชสมัย 7 ทศวรรษแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงทุ่มเทปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อการยกระดับและพัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกร โดยไม่ทรงคำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อยที่เกิดขึ้นกับพระวรกายของพระองค์เองแม้แต่น้อย นอกจากนี้ การที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระอุปนิสัยและพระราชจริยวัตรศึกษาหาความรู้ในศาสตร์หลายแขนงตลอดเวลา ถือเป็นแบบอย่างอันทรงคุณค่ายิ่งให้กับการทำงานของยูเนสโก

    นอกจากนี้ พระราชดำริของพระองค์ในด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางสังคม และการพัฒนาด้วยแนวทางอันยั่งยืนจะเป็นแรงบันดาลใจให้ประชาคมโลกน้อมนำไปปฏิบัติตามตลอดไป พระองค์ทรงสร้าง "ประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษ" ในด้านวัฒนธรรมและการศึกษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสนับสนุนกิจการของยูเนสโกตลอดมา ซึ่งในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ ยูเนสโกขอเป็นกำลังใจให้ชาวไทยทุกคน และขอให้ชาวไทยดำเนินรอยตามแนวทางพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงวางรากฐานไว้ให้สืบไป ขณะที่ยูเนสโกจะขออัญเชิญหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเตรียมบรรจุไว้ในแผนพัฒนาโลกอย่างยั่งยืนปี 2573 ตามกรอบของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) ด้วย.

    http://www.msn.com/th-th/news/break...ยู่หัวรัชกาลที่-9/ar-AAj7yAe?ocid=mailsignout
     
  37. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    ตบมือรั่วๆ
     
    หนูอ้อย likes this.
  38. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    4hl23kfF.jpg
    ที่ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร์ จังหวัดขอนแก่น พันเอก รังสรรค์ ตันสิทธิแพทย์ ผู้บังคับการศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 23 นำนักศึกษาวิชาทหารจาก 10 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กว่า 500 คน แบ่งเป็นสองกลุ่มเท่าๆกัน โดยเริ่มเดินออกจากสองฝั่งของลานฝึกเข้ามาหากัน จากนั้นก็แปรขบวนเป็นตัวอักษรคำว่าเรารักพ่อ อยู่ตรงกลางริบบิ้น 2 อัน ส่วนข้างบนก็แปรขบวนเป็นเลข 9 ไทย อยู่ตรงกลางรูปหัวใจขนาดใหญ่ อย่างสวยงามและพร้อมเพรียง และร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย....
    ดูต่อได้ที่ : http://www.khonkaenlink.info/home/news/3110.html
     
  39. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    14705627_10154413821164017_7497798012675996636_n.jpg
    ต้น สุชาติ ชวางกูร
    Yesterday at 6:37am ·
    รูปในหลวง ร.9 ทรงพระสรวลอย่างเต็มที่!

    ที่มา : คือ ในหลวง ร.9 ทรงแข่งเรือใบ มีผู้ร่วมแข่งขันประมาณ 50 ลำ
    พระองค์ทรงเข้าใจสัญญานผิดเลยออกเรือก่อนเวลา 1นาที
    เมื่อทรงรู้ว่าผิด ก็ทรงกลับมาเริ่มต้นใหม่ และพระองค์ทรงเข้าเส้นชัยเป็นที่ 5
    พระองค์ตรัสกับ มจ.ภีศเดชว่า
    ถ้าไม่ทรงพลาดตั้งแต่แรก ไม่มีใครเห็นฝุ่นเรือของพระองค์แน่
    มจ.ภีศเดชทูลตอบว่า..
    ในทะเลไม่มีฝุ่นพะย่ะค่ะ
    ทำให้พระองค์ทรงสรวลอย่างชอบพระทัย

    Mali Thammy สัญญาณผิด เพราะทหารเรือที่ถวายอารักขาเป่านกหวีดทำความเคารพพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เลยทรงเข้าพระทัยผิด หลังจากนั้นท่านทรงรับสั่งว่าทหารแกล้งเรา ช่วยเพิ่มเติมขยายความรูปนี้ให้ คิดถึงพระเจ้าอยู่หัวเหลือเกิน
    http://manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9590000107059
     
  40. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    14729391_1629879430645939_8720245634767908015_n.jpg
    Prapawan Soontareevijit
    16 hrs

    อีกหนึ่งภาพรอยยิ้มของพ่อ ที่อยากให้คนไทย จดจำเอาไว้ในหัวใจ
     
    แสงธูป และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  41. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    14731260_1141554972547840_8390294476891371354_n.jpg
    Doungjai Jachonram
    Follow · 21 hrs
    " ผู้ชายที่มีรักเดียวจะมีฃักกี่คนบนโลกใบนี้..คิดถึงในหลวงค่ะ และอิจฉาคนสมัยก่อนมากที่ได้เข้าเฝ้าท่านในขณะที่ยังทรงมีพระวรกายที่แข็งแรง"
     
    Last edited: 27 ต.ค. 2016
  42. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ชื่อเดิมที่เคยเรียกคือ สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม
    เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549
    http://www.lib.ru.ac.th/journal/bangkok/megabridge.html

    แล้วในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานนามสะพานว่า สะพานภูมิพล เมื่อปี 2552
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=noiwan-wannoi&month=18-08-2011&group=6&gblog=17

    ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 พร้อมกับประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ เมื่อปลายปี 2553
     
  43. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    เปิดใจ หญิงสาวตามรับเสด็จ ในหลวง พระราชินี มาตลอด 10 ปี เผยน้ำพระราชหฤทัย

    ภาพผู้หญิงคนหนึ่งถือภาพท่ามกลางฝนตก และเอามือบังพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ด้วยความรัก เป็นภาพที่สร้างความซึ้งและเศร้าในคราวเดียวกัน cleothailand ได้ติดตามและสัมภาษณ์หญิงคนนี้ โดยพบว่าเธอ คือ พี่แหมว ดลนภา กลัดบุบผา อายุ 42 ปี เป็นติวเตอร์สอนพิเศษอิสระ โดยเปิดเผยว่า “ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พี่จะคอยมารอรับเสด็จในหลวงและสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทุกวัน ตั้งแต่ในหลวงเสด็จมาประทับที่โรงพยาบาลศิริราช ไม่มีวันไหนเลยที่เธอจะไม่มานั่งรอหรือบางทีค้างคืนรอที่ใต้ถุนโรงพยาบาลเพื่อที่จะได้เห็นพระพักตร์ของท่าน

    “เริ่มตั้งแต่เด็กๆ คุณยายจะพาไปรับเสด็จในหลวงที่วัดพระแก้วทุกครั้งที่ท่านเสด็จออกมาทำให้เรารู้สึกผูกพันและเห็นถึงพระบารมีและความเมตตาที่มีต่อประชาชนของพระองค์ท่าน พอโตขึ้นมา เราก็ตามไปรับเสด็จพระองค์ท่านทุกที่ ตอนที่สมเด็จย่าทรงประชวรก็ตามไปเฝ้า สมเด็จพระพี่นางก่อนสวรรคต ก็ตามไปรอรับเสด็จ กลายเป็นส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะต้องทำหน้าที่นี้ กลับไปนอนบ้านแบบนับครั้งได้บเลย”

    พี่แหมวบอกว่าไม่ใช่แค่เธอคนเดียวที่ตามในหลวงไปทุกๆ ที่ จะมีลุงๆ ป้าๆ ประมาณ 10 กว่าคนที่มารวมตัวกัน เราถามเธอว่าทุกคนรู้จักกันอยู่แล้วรึเปล่า เธอบอกว่ารู้จักตอนมารอเฝ้าในหลวงนี่แหละ “พวกเราไปไหนไปกัน นอนกันแบบไม่มีมุ้ง ไม่มีหมอน เอากระเป๋าหนุนหัว ทั้งร้อน ทั้งหนาว มียุง ก็ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราท้อได้ เคยมีครั้งหนึ่งฝนตกหนักมาก เราก็ไปยืนรอตากฝน ถึงท่านจะไม่ได้เสด็จออกมาก็ตาม หรือตอนที่ในหลวงเสด็จกลับวังไกลกังวล ตอนวันที่ 5 พฤษภาคม ปี 2556 เราก็ขับรถกันไปรอรับเสด็จที่นั่น”

    ถามถึงเรื่องความประทับใจที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พี่แหมวเล่าให้ฟังว่าทุกพระองค์ทรงพระเมตตามากๆ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชทานน้ำและอาหารให้กับผู้ที่มานอนค้างรอรับเสด็จฯ ที่ศิริราชอยู่บ่อยๆ “บางครั้งเสด็จลงมาด้วยพระองค์เองช่วงตีหนึ่งตีสอง พระราชทานอาหารให้ ตรัสถามความเป็นอยู่ของพวกเราอยู่เรื่อยๆ ซึ่งเราสัมผัสได้ของน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ บางครั้งในหลวงก็เสด็จลงมาเองตอนกลางคืน ตีสองตีสาม พวกเราที่กำลังนั่งหลับนอนหลับก็รีบลุกขึ้นมานั่ง พูด “ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ” กัน แต่พระบรมฉายาลักษณ์ที่ถืออยู่กลับหัวไปหมด พระองค์ท่านเห็นก็ทรงพระสรวล”

    ครั้งที่พี่แหมวบอกว่าจำได้ไม่มีวันลืมเลยคือตอนที่รับขบวนเสด็จในหลวงในวันที่สมเด็จพระพี่นางฯ สิ้นพระชนม์ “ในหลวงเสด็จลงมา พวกเราทราบข่าวก็ใส่ชุดดำรออยู่ที่ด้านล่างแล้ว ท่านเสด็จมาถึงตรงที่พวกเรานั่งแล้วทรงรับสั่งว่า “ขอบใจมากๆ” เป็นครั้งแรกที่รู้สึกตื้นตันใจมากๆ ส่วนอีกครั้งคือตอนที่ทุกคนที่ศิริราชพร้อมใจกันใส่เสื้อสีชมพูให้ในหลวง สมเด็จพระนางเจ้าฯ ตรัสถามพวกเราว่า “ทำไมถึงใส่เสื้อสีชมพูกันจ๊ะ” พวกเราก็ตอบไปตามภาษาชาวบ้านว่าใส่เสริมดวงให้กับในหลวง หมอดูบอกว่าสีชมพูจะช่วยให้พระวรกายของพระองค์แข็งแรงขึ้น พอพระองค์ท่านทรงได้ยินก็ทรงยิ้มและตรัสขอบใจพวกเรา”

    ในวันที่ในหลวงเสด็จสวรรคต เราพี่แหมวถามถึงบรรยากาศรอบๆ ศิริราช เธอเล่าให้ฟังพร้อมกับเสียงเครือๆ ว่า “เราค้างคืนกันมา 3 วันติดต่อกัน เพราะตอนนั้นทุกคนได้ข่าวว่าพระอาการทรงทรุดลง พอวันที่ 13 ข่าวมาถึงว่าเสด็จสวรรคตแล้ว เราอึ้ง มันพูดไม่ออกเลย เหมือนหัวใจสลายตรงนั้นเลย น้ำตาไหลแบบหยุดไม่ได้ตั้งแต่วันแรกเป็นหลายวัน....
     
  44. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    14724633_10154715472452922_7861512908073328084_n.jpg


    ขณะทรงดนตรี ณ โรงพยาบาลศิริราช
    เผยแพร่พระบรมฉายาลักษณ์ โดย ผศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ นักดนตรี อส. ผู้ถวายงานเล่นดนตรีกับในหลวง รัชกาลที่ 9

    ขอบคุณภาพ.FB_Pathorn Srikaranonda de Sequeira
     
    Last edited: 27 ต.ค. 2016
  45. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.

    BOX Wedding w6ownRW-gDD.pngfeeling confused at สนามหลวง พระบรมมหาราชวัง.
    22 hrs · Bangkok ·

    คลิปนี้ อาจจะบีบหัวใจคนไทยทั้งประเทศ แต่ผู้จัดทำมีจุดประสงค์ เพื่อให้กำลังใจผู้คน เศรษฐกิจ รัฐบาล ทุกฝ่าย เพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
    ในหลวงท่านคงไม่อยากเห็นชาวไทยเป็นทุกข์จนเกินไป เศร้าได้อย่างพอดี พระองค์ท่านอยู่บนฟ้า.. กำลังมองลงมาว่าพวกเรากำลังทำอะไรกันอยู่ คงอยากจะเห็นภาพพี่น้องทุกท่านตั้งใจพัฒนาประเทศ..
    นี่เป็นโอกาสอันดี ที่เราจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง เพื่อประเทศชาติ โดยเริ่มจากสิ่งเล็กๆน้อยใกล้ตัวเรา เมื่อได้เริ่มทำ ความดีและหน้าที่ต่างๆจะค่อยๆขยายกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่บนแผ่นดินไทย

    ร่วม #StrongThailand #ประเทศไทยเข้มแข็ง
    "ประเทศไทยจะต้องเข้มแข็ง เพื่อในหลวง"

    ร่วมแชร์ คลิปนี้เพื่อ ให้กำลังใจประเทศไทย
     
  46. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ภาพนี้ผมเพิ่งเห็น ตื้นตันใจที่ได้เห็นครับ
     
  47. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ก่อนวโรกาสที่รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ.1960 Mr. John Dominis ช่างภาพจากนิตยสาร LIFE ได้เข้ามาตามถ่ายภาพของในหลวงและพระราชินีเพื่อไปทำ PR ในนิตยสารให้คนอเมริกันได้อ่านพระราชประวัติก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จไปเยือนอย่างเป็นทางการ ซึ่งในตอนนั้นในหลวงมีพระชนม์ 32 พรรษา ส่วนพระราชินีมีพระชนม์ 27 พรรษา โดนจอห์นได้เข้าไปถ่ายงานเลี้ยงวันประสูติพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา(พระอิสริยยศขณะนั้น) เป็นการจัดเลี้ยงในพระราชวัง มีการทำบุญตามประเพณีไทย จอห์นได้ตามเสด็จถ่ายพระราชกรณียกิจของในหลวงและพระราชินีรวมทั้งพระราชโอรสและธิดาซึ่งขณะนั้นยังทรงพระเยาว์
    246553.jpg







    http://variety.teenee.com/foodforbrain/76254.html
    ขอบคุณภาพจาก welivethaiking
     
  48. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    @ @
    ขอบคุณภาพจาก welivethaiking

    พระบรมฉายาลักษณ์ชุดนี้ถ่ายโดย Mr. John Dominis ช่างภาพจากนิตยสาร LIFE เมื่อปี 1960 บางภาพหลายท่านอาจจะเคยเห็นแล้ว แต่มีอีกหลายภาพเช่นกันที่รับรองว่ายังไม่มีใครเคยชม https://goo.gl/5UfLkg ลองคลิกเข้าไปชื่นชมกันนะคะ
    246551.jpg

    246550.jpg

    246563.jpg

    246567.jpg

    246559.jpg

    246545.jpg

    246544.jpg

    246556.jpg

    246570.jpg

    246573.jpg

    246540.jpg

    246550.jpg
     
    Last edited: 28 ต.ค. 2016
  49. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
  50. hillton(ปาล์มาลี)

    hillton(ปาล์มาลี) อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,195
    Time passes.
    spd_20160121224130_b.jpg

    รายการต่างคนต่างคิด ตอน "ชัย ราชวัตร" ครั้งหนึ่งในชีวิตเคยใกล้ชิดในหลวง 21/10/59

    999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999

    " คุณทองมีภาค 2 เป็นนิยาย เป็นหมาพันธุ์บาเซ็นจิ มีบรรพบรุษเริ่ม ที่อียิปต์ สุนัขเฝ้าอยู่ใต้บัลลังก์ฟาโร ช่วงอเล็กซานเดอร์มหาราช มาตีอียิบต์ ได้สุนัขตัวนี้ไป ก็นำสุนัขตัวนี้มาทำสงครามและเดินทัพมาตีถึงอินเดีย แต่มีช่วงหนึ่งแตกทัพ ถูกตีแตกกลับไป ส่วนตัวสุนัขประจำตัวของอเล็กซานเดอร์ ก็ถูกกองโจรจับไป แล้วนำมาทางใต้ของไทย แล้วมาเริ่มตั้งตระกูลที่นี้ จนกลายมาเป็นสุนัขจรจัด "
    55555
     

Share This Page