อ.ต้อมบอกว่า นี่แค่ตอนที่ 1 ตอนนี้บอกได้ว่า ประชาธิปไตยเป็นแค่รูปแบบการปกครอง ส่วนเนื้อหาสาระในการปกครองนี่แหละที่สำคัญ ว่าทำเพื่อประชาชนหรือพวกพ้องของตัวเอง แก้ไข - ขอบคุณ คุณ Alamos สำหรับไลค์ที่ 7,000 ครับ
จริงๆ นักวิชาการกับนักปราชญ์ทั้งอดีตและปัจจุบันนี้เขาต่อต้านประชาธิปไตยด้วยซ้ำ มีแต่นักวิชาการไทยนี้เชิดชูประชาธิปไตยเป็นพระเจ้าเลย
Michael Yon "Across the Globe, a Growing Disillusionment With Democracy" "ความผิดหวังที่'ประชาธิปไตย'นั้นไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั่วโลก" ประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้ว่าจะใช้การได้ดีและเหมาะสมสำหรับทุกๆประเทศ ประชาธิปไตยอาจสามารถนำพาชาติไปสู่ความล่มสลายหรือสงครามได้ หากแม้ว่า เสียงส่วนใหญ่นั้น ไม่มีการศึกษา เห็นแก่ตัว ขาดวิสัยทัศน์ ในขณะที่ผู้ชนะการเลือกตั้งมีจิตใจที่จะคิดแต่ได้คิดแต่จะกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว ประชาธิปไตยก็เป็นหนทางนำไปสู่หายนะได้ ในฐานะของชาวอเมริกันคนหนึ่ง ผมไม่เคยนึกเคยฝันว่าจะต้องมาเขียนเรื่องประชาธิปไตยแบบนี้ ในแบบที่ขัดแย้งต่อสิ่งที่ผมได้รับการปลูกฝังสั่งสอนมา แต่ มันก็ปรากฎให้เห็นอยู่ว่า แม้แต่ระบบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และ ใช้การได้เป็นอย่างดีตลอดมาเอง ก็ยังต้องมีการนำมาพิจารณาปรับปรุงใหม่ทั้งหมด (reset button)อยู่เหมือนกัน ตัวของประชาธิปไตยเองนั้นมีการดำเนินไปในทิศทางที่จะพาตัวเองไปสู่การสิ้นสลายดับสูญ แล้วจะต้องทำอย่างไร? ในขณะที่ก่อร่างสร้างประชาธิปไตยขึ้นมานั้น เราจำเป็นที่จะต้องนึกถึงภาพของประชาธิปไตยที่ธรรมชาติของมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนกำหนดเส้นทาง ซึ่งนั่นจะทำให้ตัวประชาธิปไตยนำพาตัวเองไปสู่การดับสูญของตัวมันเอง เนื่องด้วยลักษณะธรรมชาติของประชาธิปไตยเองนั้น ก็คือถูกลมพัดพาไปทิศทางใดก็ได้ ไม่ใช่การดำเนินไปตามทิศทางที่ตั้งไว้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงจำเป็นต้องมีการคิดค้นกลไกที่สามารถ กลับไปสู่จุดเริ่มต้นและปรับปรุงรูปแบบการทำงานใหม่ทั้งหมดได้ เพื่อให้เราสามารถควบคุมการเดินทางไปยังทิศทางที่ดีกว่าได้ การจำกัดสมัย(ระยะเวลา)ในการดำรงตำแหน่งหน้าที่บริหารบ้านเมือง เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียบง่าย และ หนึ่งในแรงพยายาม ที่สร้างความสำเร็จได้เป็นอย่างดีมาแล้วระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเอง ผลการประเมินการทำงาน ผลดีผลเสียนั้น ก็ยังไม่ดีอย่างที่ควร สาธารณรัฐของเราเองก็กำลังตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะมีหายนะเกิดขึ้นได้ ..................................................................................... ทุกวันนี้ประเทศที่ขาดความพร้อมในความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยมากมายหลายประเทศต่างประสบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ต่างกับการปกครองแบบเผด็จการทรราชเลย นั่นหมายความว่า ประชาธิปไตยเป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งในการปกครอง ไม่ใช่แก่นหรือสาระอย่างเช่นอ.ต้อมเขียนไว้ครับ
ประชาธิปไตย ที่ว่ากันส่วนหนึ่ง คือการเลือกตั้ง ผมว่า ถูกแล้ว แต่ไอ้พวกโกงเลือกตั้ง จนได้รับการพิสูจน์ทราบหลายครั้งหลายหน แต่ดันอ้างประชาธิปไตยเนี่ย ผมว่ามันน่าสมเพช
Korn Chatikavanij เมื่อต้นอาทิตย์นี้ออสเตรเลียได้มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่เป็นการเปลี่ยนที่ไม่ธรรมดา เพราะประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ สส. ของพรรครัฐบาลได้มีมติ 54 ต่อ 44 ที่จะเปลี่ยนหัวหน้าพรรค ซึ่งส่งผลให้ต้องมีการเปลี่ยนให้หัวหน้าพรรคคนใหม่ได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย สรุปก็คือคน ๕๔ คนเปลี่ยนนายกฯได้เลย! ที่เป็นเช่นนี้เพราะออสเตรเลียมีระบบสภาฯ ประชาชนเลือก สส. และ สส. เป็นผู้เลือกหัวหน้าพรรค ซึ่งผู้เป็นหัวหน้าพรรคที่ใหญ่ที่สุดได้เป็นนายกรัฐมนตรี ถ้าเป็นบ้านเราคงโวยวายกันน่าดู เพราะขนาดเมื่อตอนปี ๒๕๕๑ ที่นายกฯในขณะนั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง (คุณสมัคร สุนทรเวช) ทำให้สภาฯต้องเลือกนายกฯคนใหม่ (คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ก็ยังนำไปสู่การปลุกปั่นให้มีการใช้ความรุนแรงในการประท้วงกันจนเป็นปัญหามาถึงทุกวันนี้ ระบบใครระบบมัน ตราบใดที่ประชาชนรับกฏกติกาได้ก็ไม่ใช่เรื่องของคนอื่นที่จะมาวิพากษ์วิจารณ์ ที่น่าสนใจคือที่ออสเตรเลียหลังจากที่นาย Turnbull รับตำแหน่ง เขาได้กล่าวว่า:- "The Prime Minister of Australia is not a President. The Prime Minister is a First amongst Equals" (แปล: นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียไม่ใช่ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีเป็นสส. คนหนึ่งที่ยืนอยู่หน้ากลุ่มสส.ด้วยกัน ที่มีสถานะเท่าเทียมกันทุกคน) นี่คือการจำกัดความในความแตกต่างระหว่างระบอบสภาฯกับระบอบประธานาธิบดี นายกฯในระบอบสภาฯมีศักดิ์เป็น สส. เท่ากันกับ สส. คนอื่นทุกคน เพียงว่าเขาได้ถูกเลือกขึ้นมาเสมือนเป็น 'สส. อันดับหนึ่ง' เท่านั้น และนาย Turnbull ได้ขยายความอีกด้วยว่าเขาจะบริหารด้วยการรับฟังและปรึกษาเพื่อนสมาชิกสภาฯทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ที่ผ่านมาไทยเรามีระบอบสภาฯเหมือนกัน แต่นายกฯบางคนไม่ได้วางตัวในระดับเดียวกันกับ สส. คนอื่นๆในพรรคหรือในสภาฯ แต่วางตัวเป็น 'เจ้านาย' และเลวร้ายกว่านั้นคือเป็น 'เจ้าของ' - อย่างนี้เขาไม่เรียกว่า First amongst Equals ครับ ส่วนวันนี้เรามีนายกฯที่มีอำนาจเด็ดขาดอยู่ผู้เดียว ซึ่งก็ดูเหมือนว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยชื่นชอบ หลายคนพอใจที่ท่านมีความเด็ดขาด ยิ่งมีมาตรา ๔๔ ในมือหลายคนยิ่งชอบ สมัยทักษิณหลายคนก็ชอบด้วยเหตุผลคล้ายๆกัน คือเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาปรึกษาใครมากมาย ช่วงนี้เป็นช่วงปฏิรูป เราต้องถามตัวเองว่าเราต้องการอะไร ต้องการผู้นำแบบไหน เอาแบบ President หรือเอาแบบ First amongst Equals ไม่มีถูกมีผิดนะครับ ขึ้นอยู่กับมุมมองว่าแบบไหนถูกใจและที่สำคัญแบบไหนเหมาะสมกว่าสำหรับประเทศไทย ถ้าเราชอบแบบสไตล์ผู้นำเดี่ยว เราก็อาจให้มีการแยกเลือกนายกฯกับสภาฯ ให้ประชาชนลือกนายกฯโดยตรง แต่ถ้าเรายังจะยึดระบอบเดิม เราก็ต้องเปลี่ยนกติกาใหม่เพื่อไม่ให้สภาฯเป็นสภาฯทาสเหมือนที่เคยเป็นมา ที่อังกฤษเองเขาเพิ่งมีการเลือกตั้งหัวหน้า 'พรรคแรงงาน' กันใหม่ ผลคือ สส. ที่ได้รับเลือกมีประวัติลงคะแนนในสภาฯสวนมติพรรคตัวเองนับร้อยครั้ง แต่เขาก็ยังได้รับการยอมรับจากสมาชิกพรรคของเขา เราลองนึกดูครับว่ามีพรรคการเมืองไทยกี่พรรคที่เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นได้ เราต้องเลือกระบบที่เป็นตัวตนเรา เรียนรู้จากคนอื่นได้ แต่ไม่ต้องลอกเขามาทั้งหมด ..................................................................................... จะว่าไป ลุงตู่ ก็มีลักษณะการบริหารที่คล้ายทักษิณ คือ อำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว แต่ลุงตู่อยู่ในสถานะหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเข้ามา ส่วนทักษิณ อ้างว่าเข้ามาถูกต้อง แต่ผลของการกระทำแตกต่างกัน
ระบอบปูติน ในรัสเซียนั้นเหมือนกับระบอบทักสินเปี๊ยบ แต่ทำไมผลต่างกัน ทำไมคนรัสเซียมองปูตินไม่เหมือนคนไทยมองทักษิณ ปูติน ทำให้ระบอบการเมืองในรัสเซียมีเสถียรภาพ มีผู้คนสนับสนุนมากมายทั้งในรัสเซียและอาจจะมีผู้สนับสนุนกระจายไปทั่วโลก แต่ทักษิณ ทำให้เมืองไทยไร้เสถียรภาพ ผู้สนับสนุนลดลงเรื่อยๆ ที่ยังมีอิทธิพลอยู่ได้เพราะอิลิทของประเทศมหาอำนาจบางคน ยังไม่นับแบบสิงคโปร์ ลีกวนยูยิ่งกว่าทักษิณซะอีกแต่ทุกอย่างก็ดีไม่เหมือนทักษิณซักนิด ระบอบการปกครองคือรูปแบบ แท้จริงคือคนบริหาร และสาระคือเพื่อประชาชนและประเทศชาติ หรือเพื่อตนเองและพวกพ้อง การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ จึงไม่ตอบโจทย์ จะมี สส. กี่คน เลือกตั้งหรือลากตั้ง ไร้สาระทั้งสิ้น ตราบใดที่มันยังคุม คนเลว ไม่ได้ ยังส่งเสริม คนดี ขึ้นมามีอำนาจไม่ได้
รัสเซียเป็นแบบ สหพันธรัฐ นะการเมืองการต่อรองผลประโยชน์มันง่ายกว่าของไทยแบบรวมศูนย์ เพราะกระจายอำนาจไป
บ้านเรา หัวหน้าพรรค ไม่ได้เป็นนายกครับ และถ้าจะเปลี่ยนตัวนายกเป็นใครก็ได้ ขอให้เป็นพรรคที่มันเลือก ถ้าพ่อแม้วเห็นชอบ จะเป็นใครก็ได้
ประชาธิปไตย ตาม ที่สากล เข้าใจกัน มันดีอยู่แล้วล่ะ แต่ที่มันดูแย่ อย่างทุกวันนี้ เพราะ คนเลว มันฉลาด เกินคนจะรู้ทัน (แม้ว่าจะรู้ทัน มันหลายสิบล้าน แต่เอาเข้าจริง ก็ยังไม่พอนะ) อย่างหน้าเหลี่ยม มันรู้หมด กฏหมาย ต้องมุดรูไหน ธุรกิจต้องทำไง ให้เลี่ยงภาษี การรวมคน รวมเสียง ทำไงให้ไม่ขัดรธน. นี่ไง มันเป็นแบบนี้ พวกยึดตัวกฏหมาย มันเลย ออกมาพูดหน้าหนา ๆ ได้ ว่าหน้าเหลี่ยมไม่ผิด ก็มันจะผิดได้ไงเล่า ที่ปรึกษา รวมถึงตัวมันเอง รู้กฏหมาย มากกว่า เรา ๆ ท่าน ๆ ซะอีก ของแบบนี้ มันเลยแก้ยาก เพราะดูเหมือนมันก็ยึดกฏ ส่วนพวกเราดูเหมือนกำลังแหกกฏ แต่นั่นล่ะ ผมยังยืนยันเลยว่า ตอนนี้ อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการ กำจัดคนเลว และฉลาด อย่างหน้าเหลี่ยม ให้พ้นไปก่อน ไม่เช่นนั้น วงจรเก่า ๆ มันจะกลับมาหลอกหลอน ได้ตลอด คิดถึงรุ่นลูกหลานเรา แล้วกล้า ๆ แหกกฏมันไปเลย กับคนแบบนี้ ถ้านั่งเลือกวิธี ก็เสร็จมัน
งั้นลองดูประชาธิปไตยแบบญี่ปุ่นกันบ้างครับ สำนักข่าวซินหัว ญี่ปุ่นหวิดมวยกลางสภา!ฝ่ายค้านไม่ปลื้มพรบ.มั่นคงฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ภายหลังคณะกรรมการเฉพาะกิจ พรรครัฐบาลแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น ได้ประกาศอนุมัติร่างกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงฉบับใหม่ เหล่าสมาชิกสภานิติบัญญัติได้ลุกฮือขึ้นมายับยั้งการลงคะแนนเสียง ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะมีผลให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถออกปฏิบัติการทางทหารนอกประเทศได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 ที่เป็นกฎหมายที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศชาติเป็นอย่างมาก แต่กลับถูกอนุมัติโดยมิได้มีการอภิปรายกันให้เป็นที่เรียบร้อยเสียก่อน จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ตะลุมบอนในรัฐสภาดังภาพ ทั้งยังมีกลุ่มผู้ประท้วงออกมาเดินขบวนจำนวนมาก เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะลาออก อย่างไรก็ตาม พรรคฝ่ายค้านได้ใช้กลยุทธ์ชะลอการอนุมัติร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไป ก่อนที่จะมีการประชุมถึงเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 27 กันยายน Pat Hemasuk จุดที่เหมือนระเบิดเวลาแตกใส่หน้านายอาเบะคือการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้ญี่ปุ่นออกไปปฎิบัติการทางทหารนอกประเทศได้นั้นโดนต่อต้านอย่างมาก นั่นหมายความว่ากองทัพญี่ปุ่นจะกลับออกไปรบนอกประเทศได้อีกครั้งในรอบ 70ปีหลังสงครามโลก ซึ่งคนส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นไม่สนับสนุนในเรื่องนี้เพราะยังกลัวสงครามไม่หาย เพราะยังมีคนอีกหลายล้านคนที่ยังเกิดทันที่จะเห็นสภาพอันโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่แล้วเล่าเรื่องให้ลูกหลานฟังได้ เวลานี้ม็อบหน้าสภาไล่นายอาเบะอยู่ห้าวันเข้ามาแล้ว ดูแล้วน่าจะยืดเยื้อไปอีกไม่น้อย แต่ในสภาก็รุนแรงไม่น้อยกว่ากัน ร่างเปลี่ยนกฎหมายและรัฐธรรมนูญผ่านสภาล่างไปแล้ว เพราะเสียงของพรรครัฐบาลมากกว่าฝ่ายค้าน แต่พอร่างขึ้นมาที่วุฒิสภาก็เกิดการต่อต้านกันหนักขึ้นถึงขั้นเกิดจลาจลเล็กๆ ในสภาเลยก็ว่าได้ ส.ว.ฝ่ายค้านขัดขวางประธานสภา ไม่ให้เปิดอภิปรายร่างเพิ่มหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองฉบับนี้ จนถึงขั้นชกต่อยกันชุลมุนวุ่นวายกลางสภา ........................................................................... กรณี ญี่ปุ่น ผมเดาความคิดว่า ผู้ต่อต้านกฎหมายฉบับนี้อาจคิดเหมือนเราที่ว่า ถึงแม้ได้รับเลือกตั้งและเป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะมีสิทธิ์ออกกฎหมายที่มีผลในเรื่องสงครามตามใจชอบได้ หากใช้นโยบายนี้ตอนหาเสียงจะได้รับการเลือกเข้ามาหรือเปล่า ?
ความคิดผมจึงอยากให้ปฏิรูประบบยุติธรรมเป็นอันดับแรก และอยากให้เสร็จทันในยุค คสช. บอกตรงๆเรื่องนี้ผมคิดว่านักการเมืองไม่อยากทำ เพราะจะกลายเป็นการฆ่าตัวเอง เพราะถ้าระบบนี้ทำงานได้ดี จะเป็นปราการอย่างดี ที่จะสกัดกั้นไม่ให้คนชั่วๆได้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง