การใช้คอมพิวเตอร์จิ๋วกินได้ (ขนาดเท่ายาเม็ด) ให้ผู้บริโภค กลืนเข้าไปเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพในร่างกาย ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไปแล้ว เมื่อประเทศไทยเรารับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดาเนินงาน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ.2549 มาแล้ว ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการพัฒนาศักยภาพในหลากหลายด้าน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ประเทศไทยเราก้าวสู่ประเทศ 4.0 ในอนาคต แต่ต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม ต้องใช้งบประมาณสูง และ ใช้เวลามาก
แต่ การนำอุตสาหกรรมของไทยเข้าสู่ยุค4.0 นั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าที่มีความเสถียร โรงงานต้องมีพลังงานไฟฟ้าสำรองเพียงพอ หากมีปัญหาไฟฟ้ากระตุกหรือดับ จะกลายเป็นอุปสรรคทันที นอกจากนี้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคลุมและรองรับการใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โรงงานต้องมีการจัดการศูนย์ข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ และมีระบบรักษาความปลอดภัยสูง จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการออกแบบโรงงาน การใช้เครื่องจักร และระบบการผลิตอันชาญฉลาดต่อไป
สำหรับเมืองไทยอาจยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ครับ ธรรมชาติของอุตสาหกรรมในบ้านเราเป็นอุตสาหกรรมที่ยังต้องพึ่งพาฝีมือแรง งานอยู่ไม่น้อย การตัดสินใจใช้ระบบอัตโนมัติในการปฏิบัติงานแบบทั้งระบบอาจไม่เป็นผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเป็นการลงทุนที่เกินความจำเป็น ของบางอย่างไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบอัตโนมัติเสมอไป น่าจะปรับใช้เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติน่าจะดีกว่า เพราะบริบทของอุตสาหกรรมในบ้านเรา ยังต้องการการทำงานที่ใช้ฝีมือ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบ 4.0 ก็จะเหมาะกับบางระบบ เช่น ระบบที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ ที่คนไม่สามารถทำงานได้ จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก เรามีบุคลากรที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ควรที่จะนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับธรรมชาติของแต่ละองค์กรมากกว่า
แหม ขอล้อเล่นหน่อยนะ ลงทุนขนาดนี้ ถ้าเป็นเกี๊ยวหมู บนแพ็คกิ้ง น่าจะพิมพ์เพิ่มตรงส่วนประกอบว่า เนื้อหมู ผสมไก่ ต้นทุนค่าพิมพ์คงไม่ถือว่าเพิ่มขึ้นนะครับ ผสมไก่ ผสมไก่ ขอละ
อย่างธนาคารแม้ไม่เกี่ยวกับการผลิตเหมือนหัวกระทู้ แต่การพัฒนาระบบไอทีก็ทำให้ลดการใช้พนักงานลงไปเยอะมากๆ ใน Hamburg ถึงกับปิดสาขาของ Deutsche Bank ลง 9 สาขา ( neun Filialen = 9 สาขา ) F
โรงงานที่ใช้หุ่นยนต์ ยังต้องใช้คนซ่อมบำรุงและขนส่งครับในตอนนี้ แต่ถ้าหุ่นมันซ่อมตัวเองได้ และเจอรถอัจฉริยะ วิ่งเองได้ คนก็ว่างงานได้ เหลือใช้คนมากในอุตสาหกรรมบริการและการประมง ซึ่งไม่ใช่งานที่คนไทยนิยมทำ
อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร รัฐบาลประกาศเดินหน้าพัฒนาประเทศไทย ด้วยรูปแบบประเทศไทย 4.0 เศรษฐกิจไทย 4.0 จะเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน เศรษฐกิจไทยได้ผ่านยุค 1.0 มาจนถึงยุค 3.0 โดยพัฒนาจากภาคเกษตรกรรม มาเป็นยุคอุตสาหกรรมเบาใช้แรงงาน จนมาสู่ยุคอุตสาหกรรมหนัก ใช้เครื่องจักรผลิตสินค้า และเปิดให้ต่างชาติมาลงทุน พึ่งพาการส่งออก แต่ความมั่งคั่งกลับไม่กระจายถึงประชาชนทั่วประเทศ เมื่อเศรษฐกิจโลกทรุดตัว คนไทยจึงย่ำแย่รัฐบาลจึงคิดปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ให้เข้าสู่ยุค 4.0 ขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี รัฐบาลใช้กลไกประชารัฐ เป็นเครื่องมือหลักเปลี่ยนโฉมประเทศไทย ให้ภาครัฐ เอกชน และประชาชนร่วมมือกัน โดยรัฐกำหนดนโยบาย หามาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการและประชาชน วิจัยและพัฒนา สร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและมหาวิทยาลัยของรัฐช่วยเสริมความรู้และงานวิจัย ขณะที่ แต่ละอุตสาหกรรมจะรวมกลุ่มกัน รายใหญ่ช่วยรายเล็ก ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการเดิม กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงที่แข่งขันได้ เศรษฐกิจยุค 4.0 จะเห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน 3 ส่วน ภาคเกษตร เปลี่ยนเป็นเกษตรสมัยใหม่ที่รู้จักใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการ, ธุรกิจเอสเอ็มอีที่รัฐคอยอุ้ม ต้องยืนได้ด้วยตัวเอง และไทยจะเปลี่ยนไปสู่ภาคบริการมากขึ้น หากขับเคลื่อนได้ดังนโยบายที่วางไว้ ประเทศไทยจะรวยกระจายไปถึงประชาชนระดับล่าง เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจเติบโต และรัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้น การก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจ 4.0 ที่ทุกฝ่ายพร้อมช่วยเหลือกันจริง ๆไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะภาคธุรกิจยังแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอด และเกษตรกรที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีก็ยังเป็นเรื่องยาก ************************************************* ในขณะที่แรงงานที่ต้องใช้ยุคนั้นคือ แรงงานในด้านบริการและการประมง ซึ่งเป็นงานที่เครื่องจักรทำไม่ได้ แต่คนไทยไม่ชอบทำ และแรงงานด้านช่างกลและเครื่องจักร ที่เป็นบุคคลากรในการควบคุมและซ่อมแซมเครื่องจักรในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ก็กำลังขาดแคลน เนื่องจากค่านิยมที่ชอบให้บุตรหลานเรียนปริญญาเป็นหลัก ทำให้แรงงานด้านนี้ขาดแคลน แถมในขณะที่กำลังเรียนอยู่ก็มีเรื่องการทะเลาะวิวาทและความไม่ปลอดภัยอีกด้วย จึงทำให้รัฐบาลนี้ต้องออกมาส่งเสริมให้เยาวชนหันมาสนใจการเรียนด้านอาชีวะมากขึ้น ควบรวมหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาระดับอาชีวะที่ซ้ำซ้อนกัน และออก ม.44 เพื่อแก้ปัญหาความปลอดภัยในการเรียนด้วย หลังจากคำสั่ง คสช.ให้บริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนเด็กเรียนอาชีวะซึ่งมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับสายสามัญ และให้สอดรับกับภาคอุตสาหกรรมที่เติบโต ในการเปิดภาคเรียนช่วงนี้หลายแห่งเริ่มดำเนินการแล้ว ทีมข่าว TNN24 เกาะติดถึงสาเหตุการควบรวมอาชีวะรัฐ-เอกชน หัวหน้า คสช.ใช้มาตรา 44 แก้ปัญหานักเรียนอาชีวะก่อเหตุทะเลาะวิวาท เพิ่มมาตรการเข้มกักตัว 6 ชั่วโมง ริบเงินประกันผู้ปกครองหากทำผิดซ้ำ พร้อมโทษจำคุกผู้ยุยงส่งเสริมสูงสุด 1 ปี ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คําสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 30/2559 โดยระบุเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสังคม ซึ่งมาตรการที่มีอยู่ไม่สามารถป้องกันและแก้ปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ จําเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อปฏิรูปและจัดระเบียบสังคม จึงใช้อำนาจมาตรา 44 ให้เจ้าหน้าที่กักตัวนักเรียนและนักศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือเตรียมก่อเหตุไว้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง เพื่อนําส่งตํารวจ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองอบรมสั่งสอน และยับยั้งพฤติกรรมการก่อเหตุหรือเตรียมก่อเหตุ โดยมีเจ้าหน้าที่ติดตามและสอดส่องให้ดําเนินการอย่างเคร่งครัด หากพบมีการกลุ่มเพื่อกระทําการดังกล่าว ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครอง และเป็นอํานาจของเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ปกครองเพื่อตักเตือน ทําทัณฑ์บน หรืออาจให้วางเงินประกันหากทำผิดซ้ำให้ริบเงินประกันเข้ากองทุนคุ้มครองเด็ก พร้อมระบุผู้ที่ยุยง ส่งเสริม สนับสนุนให้ไปก่อเหตุ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 6 หมื่นบาท แต่หากเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต มีโทษสุงสุด 1 ปีปรับ 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยคำสั่งให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ต้องระวังลูปนี้ครับ สินค้าแข่งขันไม่ได้เพราะต้นทุนสูง ค่าแรงแพง ต้องใช้หุ่นยนต์ ใช้หุ่นยนต์ คนงานตกงาน สินค้าแพงเพราะรัฐต้องเก็บภาษีเพิ่มเพื่อไปดูแลคนตกงาน คนทำงานต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อเอาไปเลี้ยงดูคนตกงาน คนงานขาดแคลนเพราะคนตกงานติดนิสัยไม่ต้องทำงานแต่มีกินมีใช้ ต้องเอาคนอพยพหรือแรงงานเคลื่อนย้ายมาเป็นแรงงาน เกิดปัญหาสังคมและความมั่นคงจากคนอพยพและแรงงานเคลื่อนย้าย สินค้าแพงเพราะรัฐต้องเก็บภาษีเพิ่มเพื่อไปดูแลคนตกงานและแก้ปัญหาความมั่นคง สินค้าแข่งขันไม่ได้เพราะต้นทุนสูง
ส่วนตัวผม ไม่ค่อยกังวลนะ ถ้าเอาเครื่องจักรมาทำจริง คือ เราลองนึกย้อนไปในอดีตนะ ตอนนั้น พวกเราไม่มีสิ่งก่อสร้าง ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีโรงเรียน คนเราก็ยังมีงานทำ คือ ล่าสัตว์ ปลูกพืช จับปลา แล้วก็รักษากันตามมีตามเกิด ที่เรามีงานทำกันทุกวันนี้ เพราะมันเจริญขึ้น ก็เลยมีกิจกรรมมากขึ้น เราไม่จำเป็นต้องไปล่าสัตว์แล้ว ให้คนเลี้ยงคนหนึ่งก็กินได้หลายคนแล้ว อนาคตก็เช่นกัน ใช้หุ่นทำงานแทน เราก็ต้องมา มีกิจกรรมใหม่ ๆ เช่น บำรุงรักษาหุ่น หรือ ออกแบบ โปรแกรมเพื่อให้หุ่นทำงานดีขึ้น หรือแม้แต่ การคิดออกแบบเพื่อให้ สภาพแวดล้อม เอื้อต่อสิ่งประดิษฐ์ พวกนี้ (ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ จะมีปัญหาเพราะอากาศร้อน ความชื้น แล้วก็ฝุ่น) พวกเราจะมีงานทำกัน ผมไม่ห่วงนะ เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ที่ผม เรียน ๆ เล่น ๆ อยู่ทุกวันนี้ ก็เยอะจนนับไม่ถ้วน แล้วอะ ผมเชื่อว่าคนเราไม่มีวันว่างหรอก ถ้าไม่คิดแต่เรื่องไร้สาระ ไปวัน ๆ หรือคิดแต่จะเอาอำนาจให้ตัวเองยิ่งใหญ่ เหมือนหน้าเหลี่ยม กับสมุนมันอะ คนเรามีเรื่องให้ต้องทำเยอะ ผมยังอยากมีอายุสัก 100 ปีเลย หนังสือที่ save มาอ่านมันเยอะมากเลย
ปัญหาคือมันไม่ได้มาแค่หุ่นยนตร์ แต่มันมาเป็นโลกาภิวัฒน์เต็มรูปแบบครับ ตอนนี้พม่า ลาว เขมร เวียดนาม และสารพัดแขก เดินกันเกลื่อนทุกมุมเมือง เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาถ้าพลเมืองของเราขยับขึ้นไปทำงานซับซ้อนที่ไม่เน้นแรงงานและให้คนงานต่างชาติมารับจ้างใช้แรงงาน แต่ข้อเท็จจริงคือคนของเราส่วนใหญ่ยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือแต่ขี้เกียจและเกี่ยงงาน วัยรุ่นไทยหมกมุ่นอยู่แต่กับโทรศัพท์มือถือและเพศสัมพันธ์ สถาบันปริญญาตรีปริญญาโทส่วนใหญ่ที่จบกันมาก็หาคุณภาพไม่ได้ คนงานที่ใส่เครื่องแบบเดินกันเหมือนมดปลวกในนิคมอุตสาหกรรมจบปริญญาตรีตั้งขึ้นตั้งค่อนแต่งานที่ทำได้ก็แค่แรงงานในสายการผลิตอิเล็คทรอนิคส์ รอให้เออีซีเต็มรูปก่อน เราจะเห็นจีน ญวน สิงคโปร์ และแขกเป็นนาย คนไทยระดับปริญญาได้แต่ขายของใน7-11ของเจ้าสัวมหาภัย เป็นยาม เป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นแม่บ้านทำความสะอาดและขายบริการทางเพศ
ประเทศไทยมีสวัสดิการคนตกงานไม่ดีขนาดนั้นหรอกครับ เคยมีสื่อต่างประเทศมาวิเคราะห์ว่าทำไมประเทศไทยอัตราการว่างงานถึงต่ำกว่า 1% เค้าบอกมา 2 สาเหตุคือ 1.เมื่อภาคการอุตสาหกรรมตกต่ำ แรงงานส่วนหนึ่งจะย้ายงานเข้าสู่ภาคการเกษตรได้ 2.เพราะสวัสดิการคนตกงานไม่ดี ทำให้แรงงานที่ตกงานต้องรีบหางานใหม่ทันที เพราะไม่งั้นอดตายได้
ถ้าคนไทยมันจะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ขนาดนั้น ผมว่าก็ควรปล่อยให้สูญพันธุ์ไปตามกฏของธรรมชาติเถอะครับ
จำได้ว่าตอนได้มาด้ามแรก ดีใจมาก เมื่อได้ไปเห็นโรงงานผลิตเครื่องประกอบที่เยอรมัน มีแต่คนเอาชิ้นส่วนใส่เครื่อง เครื่องประกอบ test การเขียน จนสำเร็จ เห็นแล้วเทียบกัยการผลิตดินสอสมัยก่อน ใส่แกนใส้ ปะกบไม้ แซะร่องแบ่งแท่ง ทาสี ฯ เทียบแรงงานที่ต้องใช้ ค่าแรง เทียบค่าเครื่อง ปัญหาแรงงาน กับปัญหาเครื่องเสีย เลยขอบอกเลยว่า ที่ไหนมี สหภาพฯ รง. จะเตรียมย้าย ไม่เชื่อถาม 'จิตรา คชเดช' ซิ
คลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก 5 ลูกคลื่น ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการและนักคิดระดับชาติ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้กล่าวปาฐกในเรื่อง “คลื่นแห่งการเปลี่ยนของโลก” โดยต่อยอดแนวคิดของ Alvin Tofler (นักอนาคตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ The Third Wave) กล่าวถึงคลื่นดังกล่าวไว้ว่า คลี่นแห่งการเปลี่ยนของโลก by Professor Kriengsak Chareonwongsak คลื่นลูกที่ 1 “สังคมเกษตรกรรม” ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือที่ดิน ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำแห่งยุค คือ ขุนพล ผู้กุมอำนาจทางการทหาร เพื่อปกป้องปัจจัย และหาปัจจัยใหม่ให้สังคมของตน ยุคนี้เป็นยุคที่พ่อค้า นักธุรกิจ จะอาศัยบารมีของผู้นำทัพ เพื่อให้ตนมีอำนาจทางธุรกิจ เหนือกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ขุนพลก็ต้องการพ่อค้าที่เก่งๆ เพื่อเลี้ยงดู ตนและกองทัพ คลื่นลูกที่ 2 “สังคมอุตสาหกรรม” ปัจจัยของยุคนี้ คือ ทุน เครื่องมือแห่งยุคได้แก่เครื่องจักร เครื่องกลต่างๆ หลังจากที่มีการคิดค้นสร้างเครื่องจักรไอน้ำ โลกเราก็เข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม มีการสร้างถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ การเดินทางไปมาหาสู่กันของคนมีมากขึ้น เนื่องจากการคมนาคมสะดวกขี้น ภาษาท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในขณะที่ผู้คนหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาสากล เพื่อง่ายและมีประสิทธิผลในสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ทหารจะซ่อนอยู่เบื้องหลังนายทุน พ่อค้า นักธุรกิจ คลื่นลูกที่ 3 “สังคมแห่งข้อมูล” ปัจจัยแห่งยุคคือข้อมูล เครื่องมือแห่งยุค คือ IT (Information Technology)สิ่งต่างๆ ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลก่อนจะได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ใครที่รู้ก่อนว่าถนนจะตัดไปทางไหน ก็จะไปกว้านซื้อที่ดินแถบนั้นเพื่อเก็งกำไร ซึ่งผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนทำธุรกิจแบบดั้งเดิมหลายเท่าตัว หรือ การที่ Microsoft เติบโตแซงหน้า GE และบริษัทรถยนต์เครื่องจักรยักษ์ใหญ่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็น ความสำคัญ ของข้อมูล คลื่นลูกที่ 4 “สังคมแห่งองค์ความรู้” ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ ความรู้ (Knowledges) เครื่องมือแห่งยุคคือ ศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น nanotechnology, biotechnology, pharmaceutical เป็นต้น ยกตัวอย่าง ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 1% เท่านั้น ที่เป็นสังคมของคลื่นลูกที่ 1 ประชากรถึง 70% นั้นอยู่ในคลื่นลูกที่ 4 และประชากรส่วนที่เหลืออยู่ในสังคมคลื่นลูกที่ 2 และ 3 คลื่นลูกที่ 5 “สังคมแห่งปัญญา” หรือ “ปราชญสังคม” ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ สติปัญญา เครื่องมือแห่งยุค คือ นักคิด นักบูรณาการ เป็นยุคของการคิด การบูรณาการความรู้และใช้ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สังคมใดสามารถพาตนสู่การเป็นปราชญสังคมได้สำเร็จสังคมนั้น จะเจริญล้ำหน้ากว่าใครใน http://wellnotice.blogspot.com/2011/04/professor-kriengsak-chareonwongsak-and_15.html ในมุมมอง คิดว่าทฤษฎีนี้ มองสังคมโลกและสังคมไทยได้ถูกต้อง ปัญหาจึงอยู่ที่เราจะเตรียมการณ์รับมืออย่างไรให้มีความชัดเจน ในบทบาทของการพัฒนาประเทศ เพราะนับจากนี้ไปเราจะไม่พูด กันถึงเรื่องอำนาจPower แต่จะให้ความสำคัญต่อบทบาทRole มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดความสุขของคนและสังคมจะเป็นตัวที่ ตัดสินทิศทางการพัฒนาประเทศ จริงไหมครับคุณสุกิจและปู่ยง
ญี่ปุ่นเตรียมขนนักลงทุนมาไทย 20 กรกฎาคม 2016 เวลา 05:00 น. เผยศักยภาพฐานการผลิต และขนส่งไทยยังแกร่ง หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เป็นตัวกลาง สร้างความเป็นหุ้นส่วน ญี่ปุ่นเตรียมใช้เป็นฐานการผลิตสินค้าต่าง ๆ ส่งออกไปจีน http://www.bangkokbanksme.com/article/6355
ภาคการเงิน และการธนาคารมีการพลิกโฉมที่รวดเร็ว รับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จนความจำเป็นที่ต้องมีบุคคลากรในอุตสาหกรรมลดลง วันพรุ่งนี้จะมีการประชุม ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่จะนำมาใช้ในปีหน้า มีการกำหนดชัดเจนว่าจะส่งเสริมเรื่องนวัตกรรม เพื่อเศรษฐกิจโตอย่างยั่งยืน วันนี้มีตัวอย่างของนวัตกรรมก่อสร้างที่เข้ามาเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ และตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ประเทศไทย วันนี้มีการประชุมประจำปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่เมืองทองธานี โดยนายกรัฐมนตรี โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดประชุม วันนี้นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยนายกรัฐมนตรีระบุว่าแผนนี้จะต้องมีการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และจะต้องดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จให้ได้ด้วยความร่วมมือของสังคม เมื่อเวลา 09.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี2559 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งแผนพัฒนาปี 2560-2564 ถือว่าสอดคล้องกับโรดแมปที่ตนเองได้วางไว้ พร้อมยืนยันไม่เคยคิดเปลี่ยนแปลงโรดแมป เว้นแต่จะมีกระบวนการบางอย่างมาทำให้โรดแมปต้องเลื่อน โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั้น จะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นแผนที่จะต้องทำให้สำเร็จ พร้อมกับย้ำว่า วันนี้เราจะอยู่ด้วยการทะเลาะกันแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว เราต้องทำให้คนทุกคนเคารพกฎหมาย เพราะกฎหมายทำให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน สำหรับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ปีพ.ศ.2560-2564 ได้มีกรอบหลักการของการวางแผนที่สำคัญโดยได้น้อมนำและประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง //ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม // มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย /จากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง/ ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง // และนำไปสู่การบรรลุ วิสัยทัศน์ระยะยาวในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พร้อมกันนี้มีการกำหนด 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เช่น คือ // การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ // การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม //การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน // การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน // การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน // การบริหารจัดการในภาครัฐ /การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย // และหลังจากนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะนำข้อเสนอแนะจากการประชุมในวันนี้ ไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงประปรมาภิไธย และประกาศให้ในเดือนตุลาคมปีนี้ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความยั่งยืน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามจากรายงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560 จนถึง 2564 รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่า จะเป็นแนวทางที่ช่วยผลักดันและเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศรายได้ปานกลาง ให้มาสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ด้วยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นกว่าแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านๆ มา รวมทั้งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว 20 ปีที่จะทำให้ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน แผนพัฒนาฉบับดังกล่าวประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก และ 4 ยุทธศาสตร์เสริม โดยยุทธศาสตร์หลัก 6 ด้าน จะมุ่งสร้างให้คนไทย มีวินัย สร้างสรรค์ พึ่งพาตัวเองได้ ใช้นวัตกรรมสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็งกระจายรายได้ ความมั่งคั่งอย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งปรับบทบาทภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ลดคอร์รัปชัน กระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น อีก 4 ยุทธ์ศาสตร์เสริม มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นฐานประเทศให้เข้มแข็ง สนับสนุนยุทธศาสตร์หลักให้พัฒนาและเห็นผลอย่างรวดเร็ว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย รวมถึงด้านการต่างประเทศที่ไทยต้องร่วมมือกับเพื่อนบ้านให้เข้มข้นขึ้น หากแผนพัฒนาฯดังกล่าว นำมาสู่การปฏิบัติได้จริง จะช่วยปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ รับกับยุคประเทศไทย 4.0 ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวปีละไม่ต่ำกว่า 5% รายได้ประชากรไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8,200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี และจะค่อยๆ ส่งให้ไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางมาสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง แต่แผนดังกล่าว สศช.ยังเป็นเพียงร่างแผนพัฒนาฯ ยังต้องระดมความเห็นเพื่อนำมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คาดว่าน่าจะประกาศใช้ได้ 1 ตุลาคม ปีนี้เป็นต้นไป ทีมข่าวเศรษฐกิจ...รายงาน 1 ต.ค.นี้ ไทยจะเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนฉบับนี้เน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนให้หลุดพ้นจากประเทศมีรายได้ปานกลาง
คลิปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของโรงงานผลิตรถยนต์ของ Tesla ที่แทบจะไม่ใช้แรงงานในไลน์การผลิตเลย ที่มา : Youtube.com
เทคโนโลยีครองโลก กระทบแรงงานอาเซียน คนหลังข่าว 25/07/2559 (ช่วงเช้า) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน Thailand Industry Expo 2016 โดยประกาศดันอุตสาหกรรม4.0 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้ไทยจะเป็นผู้นำในการส่งออกน้ำตาลมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากคิวบา แต่ที่ผ่านมากลับพบว่า กว่าจะได้น้ำตาลเพื่อส่งออก ต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมาก นั่นเป็นเพราะอ้อยที่ปลูกไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากเกษตรกรเลือกพื้นที่และใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม ทำให้ต้นทุนสูง แต่หลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัว KKU GIS และ KS ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่น ช่วยหาพื้นที่ พร้อมคำนวณค่าความเป็นกรด ด่างในดิน และแนะวิธีแก้ไข รวมทั้งเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมให้เกษตรกร ก่อนตัดสินใจลงมือปลูกได้เพียง 2 ปี ผลผลิตที่ได้ก็เริ่มแตกต่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกกับตัวแทนเกษตรกร ที่มารับรางวัลไร่อ้อยดีเด่นปีนี้ว่า เทคโนโลยีไร้สาย ที่นำมาเสริมทัพครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยทั้งวงจร ภายใต้นโยบาย อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะนำอ้อยไทยไปสู่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลแบบอินทรีย์ ช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ โดยไม่ต้องปลูกมากแต่ขายได้ราคา แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่มาเสริม โดย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม (สนอ.) ร่วมผลักดัน เพื่อดันอ้อยไทยสู่สากล แต่ยังมีปราการสำคัญที่ประธานชมรมไร่อ้อยภาคอีสานบอก จะต้องเร่งแก้ไขเพื่อลดรายจ่ายอีกทาง นั่นคือส่วนแบ่งปลายผลผลิต ที่โรงงานจะต้องให้เกษตรกร ซึ่งวันนี้ยังไม่ชัดเจน
กรุงเทพฯ 30 ก.ค.-หลังจากที่รัฐบาลมีแนวคิดผลักดันอุตสาหกรรมของไทย ให้เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการสร้างนวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีในภาคการผลิต ทำให้ผู้ประกอบหลายรายปรับเปลี่ยนสินค้าให้ทันสมัย และเกิดเจ้าของกิจการรายใหม่จำนวนมาก ติดตามรายงาน.-สำนักข่าวไทย อุตสาหกรรมไทย ยุค 4.0 พัฒนา“นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่” ให้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์อย่างเป็นมิตร มาเลเซีย 16 ส.ค.-ในที่ประชุมนานาชาติว่าด้วยกลยุทธ์ทะเลสีครามที่ประเทศมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีชูนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อการพัฒนาประเทศ สนับสนุนกลยุทธ์ทะเลสีคราม ร่วมเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ไปด้วยกัน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยรายงาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยกลยุทธ์ทะเลสีคราม หรือ International Conference on Blue Ocean Strategy ครั้งที่ 1 ที่เมืองปุตราจายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และร่วมเสวนาและแสดงวิสัยทัศน์ ในหัวข้อการพัฒนาประเทศโดยใช้วิธีการอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ ร่วมกับผู้นำอีก 4 ประเทศ ได้แก่ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย สมเด็จพระราชาธิบดีสวาซิแลนด์ ประธานาธิบดีนาอูรู รองประธานาธิบดีมัลดีฟส์ โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมรัฐบาลมาเลเซียในความคิดริเริ่มจัดการประชุมในช่วงเวลาที่เหมาะสม กับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ค่อนข้างชะลอตัว มีความซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และต้องเผชิญปัญหาอีกหลายด้าน ทุกประเทศจึงต้องปรับกระบวนการคิดนอกกรอบ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เปลี่ยนการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง มาเป็นความร่วมมือ ส่วนทิศทางและนโยบายการพัฒนาประเทศของไทย เพื่อเดินหน้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มีกลไกขับเคลื่อน โดยเน้นส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมทั้งการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลด้วยการลงทุน Digital Infrastructure นายกรัฐมนตรีเห็นว่า การเสวนาและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนในการพัฒนาและให้ทุกประเทศเติบโตและเข้มแข็ง เดินหน้าไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องกับนโยบายของไทย และหวังให้ทะเลสีครามนี้เป็นทะเลแห่งความหวังและโอกาส โดยประเทศไทยพร้อมที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทสร้างทะเลแห่งอนาคตร่วมกัน ทำให้ทุกประเทศเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์.-สำนักข่าวไทย การรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ เป็นนโยบายสำคัญของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แต่ที่นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร ได้มีการรวมตัวกันมาตั้งแต่เมื่อ 13 ปีที่แล้ว เพื่อลดต้นทุน ทำให้สามารถแข่งขันได้ ติดตามรายงานจากคุณอันชลี ศิริมั่ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ไอซีที ระบุไทยจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีและดิจิทัล มาขับเคลื่อนประเทศสู่ "ไทยแลนด์ 4.0" เพื่อก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางพร้อมเดินหน้าติดตั้งอินเตอร์เน็ตให้ครบ 7 หมื่นหมู่บ้าน เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ระบุว่าไทยมีนักวิจัยไม่เพียงพอ ยังขาดแคลนเกือบทุกสาขา ผลสำรวจล่าสุดพบว่า ไทยมีนักวิจัย 12 คน ต่อประชากร 10,000 คน ขณะที่รัฐบาลมีนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรทดแทนแรงงาน และลดการพึ่งพาต่างประเทศ เพื่อไม่ให้นโยบายนี้สะดุดเกิดความล่าช้า จึงจะเร่งผลิตนักวิจัยให้มากขึ้นเป็น 25 คน ต่อประชากร 10,000 คน หรือ ประมาณ 150,000 คน ที่ต้องเร่งดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายภายใน 5 ปี นับจากนี้ ส่วนการจัดมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ที่เริ่มแล้วและจะมีไปถึงวันที่ 21 สิงหาคมนี้ มีงานวิจัยชั้นนำต่อยอดได้กว่า 600 ผลงาน มาจัดแสดง ส่วนใหญ่มากกว่าครึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับข้าวไทย และพืชผลการเกษตร ซึ่งช่วยแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ งานวิจัยที่เน้นการแปรรูปให้เป็นมากกว่าอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เครื่องสำอาง ยา เวชภัณฑ์ และสิ่งทอ ที่นักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศ นำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์แล้ว กรุงเทพฯ 21 ส.ค. – ซูเปอร์บอร์ดการศึกษา อนุมัติแผนปฏิบัติการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ระยะที่ 2 ระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560-2579 ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกเพื่อผลิตนักวิจัยตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 มุมมองนักวิจัยมองว่าโจทย์การพัฒนายังกว้างเกินไป คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือซูเปอร์บอร์ดการศึกษา อนุมัติโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ใช้งบฯ กว่า 34,000 ล้านบาท ให้ทุนเพื่อศึกษาระดับปริญญาเอก มุ่งผลิตนักวิจัย 12,390 คนในอีก 20 ปี ดำเนินงาน 3 ระยะ ระยะที่ 1 ปี 2560 ให้ 460 ทุนๆ ละ 2.5 ล้านบาท ศึกษาในสาขาการเติบโตของอุตสาหกรรม ให้นักศึกษาอาเซียนเรียนในไทยและหน่วยงานรัฐผลิตบุคลากรในองค์กรตัวเอง ระยะที่ 2 ปี 2561-2562 จำนวน 461 ทุน ที่ประชุมให้ปรับรายละเอียดเพิ่มเติม และระยะที่ 3 ปี 2563-2579 ให้รัฐบาลหน้ารับช่วงต่อ นักวิจัยทีดีอาร์ไอมองว่า คปก.เป็นทุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย ศึกษาในประเทศ ไม่ต้องใช้คืน แต่ต้องมีผลงานวิจัยในระดับสากล เคยดำเนินการมาแล้ว เมื่อ 20 ปีก่อน ได้นักวิจัยแค่ 4,000 คน ครั้งนี้ตั้งโจทย์กว้างเหมือนที่ผ่านมา เกรงผลิตไม่ตรงเป้าหมาย และเห็นด้วยที่ให้ทุนในอาเซียน เพราะสานสัมพันธ์ทางการค้าในอนาคต ภาพรวมงานวิจัยไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ไม่เชื่อมโยงภาคเอกชน หน่วยงานที่ดูแลไม่ประสานงานกัน ปัจจุบันขาดนักวิจัย ที่มีก็คุณภาพไม่ดีพอ เสนอตั้งคณะกรรมการปฏิรูปนักเรียนทุน ด้านรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาบอกว่าเป็นโครงการที่ดี ต่อยอดการพัฒนาประเทศในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ส่วนปัญหานักศึกษาปริญญาเอก ไม่มีคุณภาพ สกอ.เร่งตรวจสอบและปรับปรุงหลักสูตร เพื่อผลิตคนที่มีคุณภาพและไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น แต่ละปี มีนักศึกษาที่จบปริญญาเอกกว่า 1,000 คน ปัจจุบันร้อยละ 10 ไม่มีงานทำ เนื่องจากงานไม่ตรงกับสิ่งที่ศึกษามา สะท้อนว่ารัฐไม่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน คนจึงถูกผลิตซ้ำและประเทศยังย่ำอยู่ที่เดิม. –สำนักข่าวไทย หอการค้าไทยเสนอยกเครื่องพัฒนาและแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศ รองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ยุคไทยแลนด์ 4.0 สถาบันการศึกษาต่างเร่งสร้างงานวิจัย คิดค้นนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมทุกมิติ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยบรรยากาศในงาน "Creative Technology for All ราชมงคลสรรค์สร้างเพื่อสังคม" ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งถือเป็นเวทีแสดงผลงานของนักวิจัย ทั้ง 9 มหาวิทยาลัยฯ มุ่งหวังให้ไทยก้าวข้ามสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ปาฐกถาว่า ที่ผ่านมาไทยเน้นนโยบายเศรษฐกิจแบบใช้เงินลงทุนและพึ่งเทคโนโลยีจากต่างชาติ แม้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต แต่รายได้ประชาชาติกลับหยุดอยู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ดังนั้นการแก้ปัญหาจะต้องใช้นวัตกรรมใหม่ จากฝีมือคนไทย ซึ่งมีความสามารถแต่ยังขาดงบสนับสนุนจากรัฐ แบบจำลองทางม้าลายกำเนิดไฟฟ้า ผลงานของนักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในนวัตกรรมสร้างชาติยุคไทยแลนด์ 4.0 ผลงานของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยแนวคิดนำพลังงานกลที่เกิดจากการสัญจรไปมาของ หรือพลังงานที่สูญเปล่าจากกิจกรรมของมนุษย์มาสะสมเป็นพลังงานไฟฟ้าส่องสว่างป้ายจราจรหรือทางม้าลายในช่วงกลางคืน นอกจากนี้ยังมีงานประดิษฐ์ด้านสุขภาพ เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนที่รอบทิศทางรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ, เครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งได้รับรางวัลในเวทีสิ่งประดิษฐ์ระดับโลก ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ด้วย
กระทรวงพลังงานเร่งเดินหน้านโยบาย Energy 4.0 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายไว้ เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การเปิดโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ มุ่งสู่การเป็นเมือง Clean Energy และ Green City เป็น 1 ใน 4 แนวทางของกระทรวงที่ต้องเร่งเดินหน้า เพราะจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเพิ่มมากขึ้น ทำให้เมืองมีขนาดใหญ่ และซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่ทรัพยากรต่างๆมีจำกัด ดังนั้นมีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีระบบการขนส่งและการใช้พลังงาน ที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะพลังงานทดแทน และควรมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลมาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรของเมือง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจะสนับสนุนเงินจำนวน 70 ล้านบาท เพื่อนำร่องให้ชุมชนจัดตั้งเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 แห่ง โดยชุมชนต้องเสนอแผนการลดใช้พลังงานเข้ามาที่สถาบันอาคารเขียวไทย ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ส่วนเงื่อนไขของการจัดตั้งเป็นเมืองอัจฉริยะจะต้องมีความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 15 เมกกะวัตต์ จำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 30,000 คน และต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่น้อยกว่า 30,000 ตันต่อปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ลงนามเปิดศูนย์ Phuket smart city innovation park แห่งแรกของไทย เพื่อส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนวัฒนกรรมและเทคโนโลยี พร้อมรองรับการลงทุนในกลุ่มอาเซียน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่าการเปิดศูนย์ innovation park เป็นก้าวที่สำคัญของการในการพัฒนา Phuket smart city หรือเมืองอัจริยะ เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรนาการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ซึ่งไม่ใช่เพียงมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งาน แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งการขนส่ง ความเป็นอยู่ของประชาชน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และมุ่งหวังให้ภูเก็ตเป็นแหล่งบ่มเพาะผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจรุ่นใหม่ ขณะที่นางจีรารวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือซิป้า ระบุว่าการพัฒนาเมืองอัจริยะได้ยึดแนวคิด 6 ด้าน ได้แก่ 1.smart economy คือเมืองที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ การสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการ 2.smart environment เมืองที่ลดการใช้พลังงาน 3.smart governance คือเมืองที่บริหารจัดการโปร่งใส่ ตรวจสอบได้ 4.smart living คือเมืองน่าอยู่ มีความปลอดภัย 5.smart mobility คือเมืองที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะสวก 6.smart people คือเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ยืนยันว่าขณะนี้จังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาเมืองอัจริยะ ซึ่งเริ่มดำเนินการไปแล้วหลายโครงการ เช่น ภูเก็ตสมาร์ทไวไฟ โครงการที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตตามแหล่งท่องเที่ยวได้ฟรี ในพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ตและหาดป่าตอง โดยเชื่อมโยงกับระบบกลางของซิป้า ซึ่งสามารถตรวจสอบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวได้ ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งเป้าให้เป็นเมือง smart city ภายใน 4 ปี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตอกย้ำ ไทยจำเป็นต้องเร่งขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0 เพื่อให้หลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยใช้กลไกประชารัฐร่วมผลักดัน
พวก ทุนนิยม เรียนรู้จากสมัยสงครามเย็นที่ผ่านมาครับว่า หากทำให้ชนชั้นล่างอดอยากปากแห้งไม่มีความสุข บกพร่องเรื่องปากท้อง คนกลุ่มนี้ไม่ล้มตายไปเพราะ Nature Selection แต่จะทำทุกวิถีทางเพื่อมีชีวิตรอด จะเกิด สงครามกลางเมือง การปฏิวัติโดยประชาชน ลัทธิคอมมิวนิสต์ จากความโมโหหิวทั้งหลายครับ ชนชั้นสุงทีมีจำนวนน้อยไม่สามารถต้านทานกองกำลังคลืนมนุษย์ที่ไม่มีอะไรจะเสียแล้วพวกนี้ได้
นักออกแบบซอฟต์แวร์ชาวต่างชาติ นิยมมาภูเก็ตเพื่อคิดออกแบบผลงาน แต่กลับไปลงทุนจริงที่สิงคโปร์ เป็นเพราะเหตุใด ติดตามรายงานจาก คุณชาญวิทย์ ลัภโต จังหวัดภูเก็ต เป็นจุดที่นักออกแบบซอฟต์แวร์ทั่วโลก นิยมเข้ามาใช้เป็นสถานที่คิดออกแบบผลงาน เพราะมีบรรยากาศดี แต่ 90 % ยังไม่สนใจที่จะปักหลักใช้ภูเก็ตทำธุรกิจซอฟต์แวร์ เพราะยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน ภาครัฐจึงผลักดันให้เกิด "ศูนย์อินโนเวชันพาร์ค" แห่งแรก ที่จังหวัดภูเก็ต โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการด้านไอทีนับ 30 ราย และอีก 40 ราย อยู่ระหว่างเจรจาลงทุนผ่านศูนย์แห่งนี้ เพื่อเข้ามาตั้งฐานการลงทุนในไทย โดย "ศูนย์อินโนเวชันพาร์ค" พร้อมให้บริการแบบครบวงจร และสามารถเปลี่ยนวีซ่านักท่องเที่ยวเป็นวีซ่าทำงานในไทยได้ รวมทั้งยังให้คำปรึกษาแก่ผู้สนใจตั้งบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ก่อนไปจดทะเบียนกับพาณิชย์จังหวัด และยังเป็นศูนย์เรียนรู้ แหล่งรวบรวมสินค้าผลิตภัณฑ์ระบบไอที ให้ผู้ขายและผู้ซื้อพบปะเจรจาธุรกิจกันได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภูเก็ต สามารถเลือกซื้อระบบซอฟต์แวร์ไปใช้พัฒนาธุรกิจได้ เครื่องปริ้นแบบสามมิติ เป็นอีกหนึ่งความสะดวก เพื่อจูงใจนักออกแบบอุปกรณ์ไอทีชาวต่างชาติให้อยู่ที่ภูเก็ตนานขึ้น แล้วเห็นช่องทางการลงทุนในไทย และหวังว่าจะช่วยสร้างนักออกแบบอุปกรณ์ไอทีหน้าใหม่ของไทยด้วย "ศูนย์อินโนเวชันพาร์ค" เป็นหนทางหนึ่งของไทยที่หวังจูงใจให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ตัดสินใจปักหลักลงทุนต่อที่ภูเก็ต แต่ขณะนี้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีของไทยยังจูงใจน้อยกว่าต่างประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์ นโยบายประเทศไทย 4.0 ส่งเสริมให้มีการใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการทำงานและอำนวยความสะดวกมากขึ้น ภาครัฐจึงจัดตั้ง "ดิจิทัล อินโนเวชัน พาร์ค" ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพ โดยนำร่องสร้างภูเก็ต ให้เป็น "สมาร์ท ซิตี้" พร้อมติดตั้ง wifi กว่า 1,000 จุด เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร อนาคตนวัตกรรมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย มากขึ้น เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet Of Things) ใช้แอปพลิเคชัน สั่งเปิด-ปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านได้ หรือใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในยุคไร้สาย ทิศทางของนวัตกรรมในปีหน้ายังคงมุ่งลดข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้ธุรกิจด้านการติดต่อสื่อสารปีนี้มียอดขายเพิ่มขึ้นแล้ว 30-40 % จากปีที่แล้ว ผู้ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตต่างก็เร่งเพิ่มประสิทธิภาพของสัญญาณและการเชื่อมต่อ เพื่อรองรับการใช้อินเทอร์เน็ตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 50-60% นอกจากการใช้นวัตกรรมประยุกต์ต่อยอดธุรกิจแล้ว การต่อยอดความรู้และการพัฒนาบุคลากรนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นวัตกรรมถูกใช้อย่างคุ้มค่าและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ได้ตามเป้าหมาย กรุงเทพฯ 1 ต.ค. – ปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลคอนเทนต์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเกมและแอนิเมชั่น ทำให้มหาวิทยาลัยมีการเปิดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านเกมและแอนิเมชั่น เพื่อรองรับเตรียมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ติดตามจากรายงาน. – สำนักข่าวไทย เจ้าสัวธนินท์ หนุนผู้ประกอบการไทยใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะแทนแรงงานคน ผลิตสินค้า 24ชั่วโมง พร้อมเปิดนโยบาย 3 ประโยชน์ลงทุนต่างชาติ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี กล่าวปาฐกถาในหัวข้อพันธมิตรระดับโลกในยุคโลกานิยม ในงาน Global Business Forum ของนิเคอิเอเชีย 300 ว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมสู่เทคโนโลยีใหม่ ถือเป็นโอกาสของไทยและอาเซียน โดยเฉพาะไทยจะได้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และติดกับจีน-อินเดีย ผู้ประกอบการ จึงต้องปรับตัวและปรับธุรกิจให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น ปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์สู่รถยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์ไร้คนขับ ใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานมนุษย์ ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งซีพี ได้ปรับแนวทางแล้ว โดยสร้างโรงงานไร้แรงงานมนุษย์ในสหภาพยุโรป ใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีใหม่ ควบคุมการผลิต และยังค้นคว้าวิจัยไบโอเทคโนโลยี ผลิตสินค้าเกษตรกึ่งอาหารให้มีคุณภาพ ส่งผลต่อการลงทุนของซีพีในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพียงแค่กดปุ่มก็ผลิตอาหารเป็นจำนวนมาก รองรับปริมาณประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นในอนาคต จึงไม่กังวลว่าจะเกิดภาะขาดแคลนอาหาร แต่เป็นห่วงภาวะเงินฝืดเพราะปริมาณอาหารจะล้นโลกเกินความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้ ซีพี ยังเป็นพันธมิตรกับบริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทการค้ายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ผลิตอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ป้อนให้กับสถาบันรับดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น แต่จะไม่ลงทุนเกี่ยวกับการสร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและอุปกรณ์ต่างๆ เพราะญี่ปุ่น มีความเชี่ยวชาญและใช้หุ่นยนต์ ดูแลผู้สูงอายุได้ดีอยู่แล้ว นายธนินท์ ย้ำว่าการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในประเทศต่างๆ จะใช้หลัก 3 ประโยชน์ คือ เกิดประโยชน์กับประเทศที่ลงทุน เกิดประโยชน์กับประชาชนในประเทศที่ไปลงทุน และเกิดประโยชน์กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งหมายถึงประเทศไทยได้ประโยชน์ด้วย และขณะนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้สร้างศูนย์ฝึกอบรมผู้นำ โดยคัดผู้บริหารจากกลุ่มงานต่างๆ มาอบรมจากพนักงานทั้งหมด 3 แสนคน เพื่อสร้างคนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และกระจายอำนาจในกลุ่มผู้บริหาร โดยประยุกต์ความรู้จากอาจารย์ของแจ็ค เวลซ์ ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัท เจเนรัล อิเล็กทริคส์ หรือ GE มาใช้ให้เหมาะสมกับเอเชีย เพราะพนักงานคือมันสมองของธุรกิจ โดยพนักงานที่ดี ต้องมีทั้งความสามารถและมีคุณธรรม นายธนินท์ เชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นตัวได้เร็วที่สุด เพราะสหรัฐฯ มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีกฎหมายที่คล่องตัวได้เปรียบประเทศอื่นๆ ขณะที่ญี่ปุ่นจะฟื้นตัวเป็นประเทศที่สอง และมีโอกาสแซงหน้าสหรัฐฯ มาเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกได้ หากญี่ปุ่นกล้าเสี่ยงทางธุรกิจมากขึ้น ส่วนจีนจะฟื้นตัวเป็นประเทศที่สาม เพราะสถานการณ์การเมืองนิ่งมีความต่อเนื่องของนโยบายและเศรษฐกิจมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก โดยรัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้เอกชนจีนกู้เงินเพื่อลงทุนธุรกิจ เพราะรายได้ของรัฐบาลจีน ร้อยละ 60 มาจากเอกชน อีกร้อยละ 40 มาจากรัฐวิสาหกิจ และในจีนเต็มไปด้วยธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะธุรกิจบริการ ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า อาเซียน เป็นภูมิภาคที่น่าสนใจและยังเติบโตได้อีก เหมือนเป็นเพรชที่ยังไม่ได้เจียรไน โดยมีประชากรรวมกัน 600 ล้านคน เป็นประตูสู่จีนและอินเดีย แต่การเติบโตในอาเซียนมี 2 ระดับ ทั้งที่เติบโตมากและที่พัฒนา จึงเป็นโอกาสของธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน ไม่รวมสิงคโปร์ ซึ่งยังต้องใช้เม็ดเงินอีก 8.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 10 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาถนน เขื่อน ไฟฟ้า และขนส่ง รวมทั้งใช้อาเซียน เป็น Supply Chain เพื่อผลิตและกระจายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งนี้ นิกเคอิ อิงค์ (บริษัทสื่อการเงินชั้นนำของญี่ปุ่น) เตรียมออกดัชนี Nikkei Asia300 โดยนำราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย กว่า 300 แห่ง เข้าร่วมคำนวณในดัชนี โดยจะเปิดตัวในเดือนธันวาคมนี้ โดยบริษัทจดทะเบียนที่ถูกคัดเลือกเข้าร่วมคำนวณในดัชนี อาทิ จีนและฮ่องกง จำนวน 83 แห่ง เกาหลีใต้ 42 แห่ง ไต้หวัน 40 แห่ง อินเดีย 44 แห่ง สิงคโปร์ 25 แห่ง มาเลเซีย 20 แห่ง อินโดนีเซีย 25 แห่ง ฟิลิปปินส์ 20 แห่ง และไทย 25 แห่ง
วันนี้นายกรัฐมนตรีเดินทางไปที่กระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 หวังเพิ่มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง การประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อุตตม สาวนายน กล่าวว่า วาระการประชุม มีการเสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ระยะ 20 ปีข้างหน้า ตั้งแต่ปี 60-79 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 12 แล้ว ยังขอให้นายกรัฐมนตรีสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอี.ตามแนวประชารัฐ วงเงิน 2 หมื่นล้าน เป็นกองทุนที่ช่วย เอสเอ็มอี.ไทยปรับตัว ทั้งการผลิตและการบริการ ให้สอดรับกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะทำให้ เอสเอ็มอี.เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้กว่า 9,000 ราย เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าถึง 75,200 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังของบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ และล้อยางแห่งชาติ เพิ่มเติมด้วย เดินหน้าประเทศไทย : กระทรวงอุตสาหกรรมกับการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 รายการ เดินหน้าประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 พิธีกร : พลวัชร ภู่พิพัฒน์ แขกรับเชิญ : ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คนหลังข่าว (16/02/2560) : มุมมองนักวิชาการต่อ “ไทยแลนด์ 4.0”
ประเทศไทยผ่านการพัฒนามาแล้ว 3 ยุค คือ เกษตรดั้งเดิม อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมหนัก แต่ปรากฎว่าในยุคไทยแลนด์ 3.0 ต้องเผชิญ "กับดักประเทศรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำ" ทำให้ไม่สามารถเติบโตก้าวกระโดด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ถอดยุทธศาสตร์ SoftPower จากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ดึงเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมความเป็นไทย และค่านิยมของประเทศ ให้เป็นที่รู้จักของนานาชาติ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเผย เตรียมเสนอโรดแมพอุตสาหกรรมรถยนต์ชั้นสูงเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ภายในเดือนมีนาคม 2560 เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นจริงภายในปีนี้ โดยเชื่อวาโรดแมพใหม่จะทำให้เกิดนวัตกรรม เกิดการลงทุนจากต่างชาติ สร้างรายได้เข้าประเทศ เกิดการจ้างงานหลายอัตรา และ เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมชั้นสูงของเอเชีย สำหรับโรดแมพอุตสาหกรรมรถยนต์ชั้นสูงจะประกอบด้วย สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ สิทธิประโยชน์ด้านอากรจากคลังเพื่อดึงดูดนักลงทุน รวมถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการจูงใจให้คนไทยสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ทุกประเภท ทั้งรถไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด และ รถอีวี กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งเป้าว่าทันทีที่ ครม.อนุมัติโรดแมพ ก็จะสามารถประกาศใช้มาตรการต่างๆได้ภายในไตรมาส2 ซึ่งจะทำให้ปีนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ และ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กลับมาคึกคักอีกครั้ง ขณะเดียวกันหน่วยงานรัฐและเอกชน สามารถเดินหน้าตั้งสถานีประจุไฟฟ้าได้ทันที ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะมีการทบทวนสิทธิพิเศษนั้นขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง ซึ่งจะสามารถชี้แจงได้อีกครั้งหลังเสนอโรดแมพต่อครม.แล้วเสร็จ การแสดงหุ่นละครเล็ก ศิลปะการแสดงของไทยที่เชื่อมโยงกับวรรณคดีไทยรามเกียรติ์ ที่มีความอ่อนช้อย งดงาม ช่วยเรียกความสนใจจากผู้ประกอบการทัวร์นานาประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย ที่เข้าร่วมพบปะเจรจาธุรกิจด้านการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ในงาน เอาท์บาวด์ ทราเวล มาร์ท หรือ โอทีเอ็ม (Outbound Travel Mart) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 19 ในเมืองมุมไบ สาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ ได้เป็นอย่างดี โดยงานนี้เป็นปีที่ 17 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. นำทัพผู้ประกอบการทั้งโรงแรมที่พัก, แหล่งท่องเที่ยว, บริษัทนำเที่ยว และหน่วยงานต่างๆ มาร่วมงาน ปีนี้มี 20 ราย เน้นขยายฐานตลาดกลุ่มจัดงานแต่งงาน และชื่นชอบการจัดงานเฉลิมฉลอง ที่มีค่าใช้จ่ายต่อทริปสูง รวมทั้งเน้นทำตลาดท่องเที่ยวที่ใช้เทคโนโลยี รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้เทคโนโลยีกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือ ฟินเทค มากขึ้น เห็นได้จากภายในงาน ผู้ประกอบการนานาประเทศนำเสนอการขายทัวร์ ผ่านระบบออนไลน์ และแอพพลิเคชั่น รวมทั้งผู้ประกอบการทัวร์ของไทย ก็พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับซื้อทัวร์มาเปิดตัวในงานนี้เช่นกัน นางศรีสุดา กล่าวว่า ททท. มีแนวคิดจะใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้ผู้ประกอบการ และภายในไตรมาส 2 ปี 2560 ททท.จะผลิตหลักสูตรพัฒนาเวดดิ้งแพลนเนอร์อินเดีย สอนผ่านระบบออนไลน์ด้วย
ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันสูงและเปลี่ยนแปลงตลอดมา อาวุธสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจแข่งขันได้ คือการสร้างงานวิจัยและพัฒนาเป็นของตัวเอง ซึ่งวันนี้หลายบริษัทของไทยที่ให้ความสนใจลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา หรือ อาร์แอนด์ดี จนเป็นหัวใจของความสำเร็จ หัวใจสำคัญที่จะทำให้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ไทยแลนด์ 4.0 ประสบความสำเร็จ คือ เรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ครอบคลุม ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ในมุมของ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเทศไทย มีการใช้งานในตลาดแล้วรวม 420 เมกะเฮิรตซ์ ขณะที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ระบุว่า คลื่นความถี่ที่เหมาะสมในการใช้งานของแต่ละประเทศในตลาดควรอยู่ที่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ กสทช. ต้องเร่ง จัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยตามแผนในปีนี้ จะมีการจัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 90 เมกะเฮิรตซ์ และในปี 2561 กสทช.มีแผนดำเนินการจัดการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ และ คลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของ ดีแทค และช่วงปี 2563 มีแผนดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ หาก กสทช. ดำเนินการได้ตามแผนที่ตั้งไว้ ในปี 2563 ประเทศไทยจะมีคลื่นความถี่ใช้งานในตลาดรวมทั้งประเทศจำนวน 800 เมกะเฮิรตซ์ และประเทศไทยจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ด้านโทรคมนาคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงดิจิทัล เดินหน้าผลักดันโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เตรียมควบรวมโครงข่ายคมนาคมภาครัฐและเอกชน เข้าด้วยกันเป็นโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติภายใน 3 ปี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ มีแผนที่จะรวมโครงข่ายโทรคมนาคมภายในประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกันให้เป็นโครงข่ายเดียว หรือ โครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ และทำให้เป็นโครงข่ายเปิดอย่างเสรี พร้อมยกระดับโครงข่ายใยแก้วนำแสง ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมาตรฐานระดับโลก โดยมีเป้าหมายให้ประชากรอย่างน้อย 95% ของประเทศสามารถเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ ที่มีประสิทธิภาพได้ภายในปี 2563 ทั้งนี้ปัจจุบัน อัตราการเข้าถึงโครงการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของครัวเรือนไทย ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะพบว่า ไทยมีอัตราการเข้าถึงอยู่ที่ 30.2% อยู่ในลำดับที่ 6 ของเอเชียแปซิฟิก โดยเป็นรองสิงคโปร์ ออสเตรเลีย จีน มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ และจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 วันนี้ความพร้อมของประเทศไทยในมุมมองคนที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร ติดตามจากรายงานพิเศษ ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ระยะ 20 ปี บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อขับเคลื่อนประเทศอย่างเป็นระบบ
เดินหน้าประเทศไทย : พัฒนานวัตกรรมไทยสู่ยุค Thailand 4.0 รายการ เดินหน้าประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 พิธีกร : ภัทร จึงกานต์กุล แขกรับเชิญ : ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ไทยกระโจนเข้าแข่งลดภาษีกับโดนัลด์ ทรัมป์ที่มีนโยบายลดภาษีกระตุ้นการลงทุนและสร้างงานให้คนอเมริกัน ในเอเชียไทยก็ลดภาษีแข่งกับสิงคโปร์, ฮ่องกง รายละเอียดลดภาษีมีอะไรบ้างและรัฐบาลจะทำสำเร็จหรือไม่ ติดตามได้จากรายงานพิเศษ ขณะที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าไปสู่สังคมไร้เงินสด แต่ที่จีนโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ หรือ เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจ หากเดินทางไปเที่ยวตอนนี้ ไม่ต้องมีเงินสดติดตัวไปก็สามารถ กิน เที่ยว หรือ ช้อปปิ้งได้ ติดตามงานรายงานของคุณ ทัศนัย โคตรทอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคสู่โลกออนไลน์ และการส่งเสริมไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ ส่งผลให้ตลาด อี-คอมเมิร์ซไทย ขยายตัวอย่างรวดเร็ว คาดมูลค่าตลาดทะลุหลักแสนล้านบาทภายในปี 63 นายเกียรติชัย พิตรปรีชา กรรมการผู้จัดการ DHL e-Commerce (ประเทศไทย) กล่าวว่า ประเทศไทย เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย โดยในปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยสูงถึง 1.4 ล้านยูโร หรือประมาณ 50.4 ล้านบาท และคาดว่าในปีนี้จะขยายตัวได้ 20-25% ซึ่งเป็นผลจากมาตรการส่งเสริมตามนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 และพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนไป และจะเติบโตต่อเนื่องเป็นกว่า 3,643 ล้านยูโร หรือราว 140,000 ล้านบาท ภายในปี 2563 ซึ่งการเติบโตของตลาดอี-คอมเมิร์ซ ส่งให้ตลาดการจัดส่งสินค้า หรือ โลจิสติกส์ ซึ่งคิดเป็น 5-10% ของมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซ ต้องปรับตัว เร่งขยายการลงทุน โดยเฉพาะการขยายเครือข่ายกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งในส่วนของ DHL eCommerce ตั้งเป้าจะขยายให้ครอบคลุม 90% ของลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่จะต้องได้รับสินค้าที่สั่งซื้อภายในวันรุ่งขึ้นหลังจากสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงขยายบริการรับ-ส่งสินค้าถึงที่ ให้กับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ซึ่งมีกว่า 2.7 ล้านราย และคาดว่าจะเข้ามาทำการค้าผ่านระบบออนไลน์อีกกว่า 30,000 ราย ภายในปี 2563
การสั่งปิด เพย์ออล หนึ่งใน e-Money ที่เปิดดำเนินการไม่ถูกกฏหมาย จากการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบัน e-Money มีการเเข่งขันถึงจุดเดือด สะท้อนจากอัตราการเติบโตที่สูง 30% ต่อปี ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็ว กลุ่มผู้ประกอบการ e-Money แยกออกเป็น 3 ประเภท 1. บัญชี ก. คือ กลุ่มผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้า หรือรับบริการเฉพาะอย่าง เช่น บัตรศูนย์อาหาร ร้านกาแฟ เป็นต้น เพียงแจ้งให้ ธปท.รับทราบเท่านั้น 2. บัญชี ข. คือ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้า และบริการเฉพาะอย่าง ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่าย และการใช้บริการเดียว เช่น บัตรรถไฟฟ้า หรือ บัตรกิ๊ฟการ์ด ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องขอขึ้นทะเบียน 3. บัญชี ค. คือ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้า โดยไม่จำกัดสถานที่ และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่าย และการให้บริการเดียวกัน เช่น M-Pay, บัตรแรบบิท เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องขอใบอนุญาต (ไลเซนส์) แบ่งเป็น บัญชี ก. จำนวน 1 ราย, บัญชี ข. จำนวน 6 ราย และบัญชี ค. จำนวน 22 ราย ซึ่งคุณสมบัติผู้ประกอบการ e-Money โดยเฉพาะบัญชี ค.จะต้องมีสถานะการเงินที่เข็มแข็ง มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 200 ล้านบาท เพิ่มหรือลดได้ตามขนาดของธุรกิจ แต่กำหนดให้เงินทุนคงเหลือจะต้องไม่ต่ำกว่า 8% ของมูลค่าเงินเติมล่วงหน้าลูกค้า เทคโนโลยีและพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยที่เริ่มตอบรับโลกดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ e-Money มีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด และในอนาคตอันใกล้ เรากำลังจะได้เห็นบริการทางการเงินใหม่ ๆ บนโลกดิจิทัล จากความหลากหลายของบริการ e-Money ท่ามกลางการแข่งขันที่ร้อนแรง นโยบายรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศ สู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมแรงงานรองรับ ซึ่งกระทรวงแรงงานได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนระยะ 20 ปี โดยจุดเริ่มต้นของความสำเร็จอยู่ที่การวางรากฐานในช่วง 5 ปีแรก ติดตามรายละเอียดจากรายงาน กทม. 16 มี.ค. – ภาครัฐกำลังผลักดันยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทยเพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 แต่จะขับเคลื่อนไปได้อย่างยั่งยืน ต้องเริ่มจากการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เช่น อินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดความเลื่อมล้ำของประชากร ช่วง In On At TV วันนี้พาไปดูความคืบหน้าของเน็ตประชารัฐ เป้าหมายหลักของไทยแลนด์ 4.0 คือการที่ประเทศสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปได้อย่างมั่นคง จึงเป็นที่มาของโครงการเน็ตประชารัฐ โดยวางแผนติดตั้งอินเทอร์เน็ตไร้สายระยะแรก 24,700 หมู่บ้าน จากกว่า 70,000 หมู่บ้าน ทั่วประเทศภายในปีนี้ เพื่อปูพื้นความพร้อมของประชาชนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 และได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว 99 หมู่บ้าน เมื่อต้นปี โดยมีบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการติดตั้ง โครงการเน็ตประชารัฐมุ่งสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับชุมชน โดยการนำระบบ E-Commerce สู่ชุมชน เกิดการสร้างงานนำไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น เช่น ชาวนาปลูกข้าวเอง ขายเอง หรือจะเป็นคนในชุมชนช่วยกันผลิตสิ้นค้า และโพสต์ขายเองผ่านอินเทอร์เน็ต เปิดขายได้ทั่วโลก ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ส่งผลให้การรักษาพยาบาลทั่วถึงมีประสิทธิภาพมากขึ้นที่จะเชื่อมต่อวิดีโอ พร้อมข้อมูลสุขภาพ แบบ RealTime เพื่อให้แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลได้วินิจฉัยเบื้องต้น หากเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไม่ต้องให้ผู้ป่วยเสียเวลาเดินทางไกล และระบบ e-Learning เพื่อสร้างการเรียนรู้ การรับข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกที่ให้กับชุมชน เมื่อคนในชุมชนได้รับความรู้ ย่อมนำมาต่อยอดพัฒนาชุมชนหมู่บ้านของตนเองได้ ไม่ต้องมากระจุกอยู่แต่ในเมืองหลวง สร้างความยั่งยืนให้บ้านเกิด เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนา แม้มีเครื่องมือที่ประสิทธิภาพสูงเพียงใด แต่ไม่ได้ถูกนำมาปรับใช้หรือต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ เครื่องมือเหล่านั้นก็คงไม่ต่างจากเศษเหล็ก หรือ กล่องพลาสติกไร้ค่า.- สำนักข่าวไทย รัฐเว้นภาษีดึงเอกชนรวมตัวลงทุนด้านวิจัยเพิ่ม
“ประยุทธ์” ระบุรัฐจะยกระดับการเกษตร-อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 รายงานพิเศษ : เปิดหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์ ทำงานแทนคนยุค4.0 ธนาคารโลก ระบุ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลดลง โดยนายกรัฐมนตรี ย้ำ ในรายการศาสตร์พระราชาว่า ขณะนี้กำลังเร่งพัฒนาประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้เปิดตัวหลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อยู่ระหว่างการสร้างศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติพร้อมห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง ด้วยเงินลงทุนกว่า 50 ล้านบาท สอดรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S-Curve ขณะที่อุตสาหกรรมก็หันมาตั้งบริษัทเพื่อพัฒนางานวิจัยสร้างหุ่นยนต์จริงจัง การพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ กำลังจะเข้ามาแย่งงานคนหรือไม่ ติดตามจากรายงาน
กสทช.เดินหน้าให้ความรู้เทคโนโลยีบล็อคเชน กับเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ ต่อยอดไทยแลนด์ 4.0 ถอดสูตรสำเร็จจากเอสโตเนีย ประเทศชั้นนำด้านรัฐบาลดิจิทัลที่ดีที่สุดในโลก การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อยู่กว่าร้อยละ 40 ของประเทศ ด้วยการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาและยกระดับฝีมือแรงงานทั้งระบบ เป็นโจทย์สำคัญที่ธนาคารโลกมองว่า จะทำให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า บนความท้าทายของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่วางไว้ ติดตามจากรายงาน การเก็บภาษีหุ่นยนต์ภาคอุตสาหกรรม เป็นอีกหนึ่งในประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในเวทีโลก ว่าควรจะมีหรือไม่ และในประเทศไทยผู้ประกอบการคิดเห็นอย่างไร ติดตามในรายงาน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารโลกมองว่ามีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน เพราะเมื่อธรรมชาติแข็งแรงมั่นคง การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะมีความเข้มแข็ง /สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล ที่เน้นการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ไปพร้อมกับความก้าวหน้าของประเทศ ติดตามจากรายงาน การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์ของโลก
นอกเหนือจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ ในอีกทางหนึ่งการเตรียมสถาบันภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง ก็เป็นแนวทางที่ธนาคารโลกมองว่าจะสร้างความแข็งแกร่งกับประเทศไทยได้เช่นกัน...สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งกำลังยกระดับพัฒนาการบริหารราชการภาครัฐ วันพรุ่งนี้งานมอเตอร์โชว์ก็จะเปิดฉากขึ้น ปีนี้หลายค่ายเตรียมเปิดตัวรถรุ่นใหม่ โดยเฉพาะรถพลังงานไฟฟ้าที่จะเข้ามาทำตลาดในไทย ขณะที่บีโอไอ เตรียมเสนอ ครม.อนุมัติแผนส่งเสริมลงทุนผลิตรถ EV ครบวงจร นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีพรุ่งนี้ จะนำเสนอแพคเกจรถยนต์ EV แบบเต็มแพคเกจให้ที่ประชุม ครม.พิจารณา ซึ่งเป็นส่วนเกี่ยวข้องจากหลายหน่วยงาน อาทิ มาตรการภาษีนำเข้าชิ้นส่วนและตัวรถของกรมสรรพากร โครงสร้างภาษีรถยนต์ของสรรพสามิต ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการ การกำหนดพื้นที่ปลอดมลพิษในจังหวัดต้นแบบที่จะใช้รถยนต์ EV นำร่องและโปรโมต รวมถึงการกำจัดซากแบตเตอรี่ โดยเป้าหมายของรถยนต์ EV ภายใน 5 ปี (ปี 2564) จะเห็นการลงทุนและรถ EV ครบวงจร และในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเห็นการใช้รถในสัดส่วนถึง 30% ของยอดขายรถ