อ่านข่าวแล้วเหมือนกลุ่มที่ต้องการให้อยู่ต่อ งอแงนะครับ ถ้าต้องทำประชามติใหม่จริง ฝ่ายที่แพ้ก็คงยื่นรายชื่อเพื่อลงใหม่ไปเรื่อยๆ อ่า.... ประชาธิปไตย
กปปส. ลุมพินี ยิ่งลักษณ์โชว์โง่ซ้ำซาก พยายามจะเกาะกระแสประชาธิปไตยของอังกฤษแต่ดันไม่รู้ว่าเขาโหวต Leave จาก EU ไม่ใช่ยูโรโซน ยิ่งลักษณ์ ปล่อยไก่!!“Post Facebook ‘ยูเค'ประชามติออกจาก'ยูโรโซน’ 26 มิ.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (27 มิ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Yingluck Shinawatra” และทวิตเตอร์ @PouYingluck ถึงการลงประชามติเกี่ยวกับการตัดสินใจออกจาก “สหภาพยุโรป (อียู)” ของสหราชอาณาจักร ที่เพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่าตอนหนึ่งของโพสต์ดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับระบุว่าการลงประชามติดังกล่าว เป็นการตัดสินใจออกจาก “ยูโรโซน” ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อน เนื่องจากข้อเท็จจริงคือ สหราชอาณาจักร ไม่เคยอยู่ในยูโรโซน ซึ่งหมายถึงไม่เคยใช้สกุลเงินยูโร แต่ใช้สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ กระทั่งต่อมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แก้ไขข้อความที่คาดเคลื่อนดังกล่าวเป็นข้อความที่ถูกต้อง สำหรับเนื้อหาที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โพสต์ในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวมีดังนี้ การลงประชามติเกี่ยวกับการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรถือ เป็นตัวอย่างของการนำวิถีทางประชาธิปไตยมาใช้ในการตัดสินปัญหาที่สำคัญของ ประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าการลงประชามติครั้งนี้ เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง ชอบธรรม เปิดเผย โปร่งใส และมีส่วนร่วม เพราะได้ผ่านการแลกเปลี่ยนความเห็นของทั้งฝ่ายที่ต้องการจะอยู่ในสหภาพยุโรป ต่อไป(Bremain) และ ฝ่ายที่ต้องการจะออกจากสหภาพยุโรป(Brexit) ผลประชามติไม่ได้ชนะทิ้งห่างกันอย่างขาดลอย แต่นัยยะของประชามตินั้นคือการเคารพเสียงของคนส่วนใหญ่ ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอนที่ว่า “นอกจากเราจะต้องเคารพเจตจำนงของเสียงส่วนใหญ่แล้วฝ่ายที่แพ้ซึ่งรวมถึงตัว ผมเองด้วย จะต้องช่วยกันทำให้การตัดสินใจครั้งนี้นำพาประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้" แม้ว่าจากนี้ไป สถานะทางสมาชิกภาพของสหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรป จะอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งคงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง แต่ดิฉันเชื่อมั่นว่าสัมพันธ์ของประเทศไทยกับทั้งสหราชอาณาจักรกับสหภาพ ยุโรป จะยังคงความแน่นแฟ้น และมีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในทุกๆ ด้านยิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ ก่อนแก้ไข หลังแก้ไข ระดับปัญญาเม็ดถั่วเขียว ชึไม่ผิดหรอก ที่ผิดนะ @min เพจ มากกว่า จิงๆแล้ว ชีก้อไม่รู้หรอกว่า UN. EU. EURO Zone นะต่างกันอย่างไร
ขอมอบตำแหน่งใหม่ให้ยิ่งลักษณ์ The Shame of the Nation แปลให้ด้วยว่า "ความอับอายขายขี้หน้าของชาติ" ลูกกะเป๋งไม่เห็นด้วยก็ว่ามา
http://www.tradingeconomics.com/unit…/current-account-to-gdp http://www.tradingeconomics.com/u…/foreign-exchange-reserves ถ้าเกิดขึ้นจริง อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ ว่าไว้ คำถาม คือ - ประชามติ เหมาะสมกับการเลือกทิศทางของประเทศ หรือไม่ - ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในประเด็น ที่จะลงประชามติ ดีแค่ไหน?
โอกาสเปิดให้พวกเขาทำได้นี่นา ตัวเลขมีกำหนดไว้ว่ารวมตัวเกินเท่าไหร่ยื่นได้ และด้วยความมีอารยะเขาก็ยื่นทางโซเชียล ใช้โซเชียลให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองมากกว่ามาเจ๊าะแจ๊ะกันเรื่องข่าวชาวบ้าน และไม่ได้ออกมาที่ท้องถนนให้บ้านเมืองวุ่นวายยิ่งขึ้น ข่าวเช้านี้ คนยื่นทางเน็ตขอโหวตใหม่ ขึ้นจาก 1 ล้าน เป็น 3 ล้านแล้ว .. นางสเตอร์เจี้ยนนายกรัฐมนตรีแห่งสก๊อตแลนด์กล่าวว่าในสภาที่ลอนดอนทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต้องรีบแสดงความรับผิดชอบเคาะเรื่องนี้ให้เป็นระบบโดยเร็วอย่ามัวเกี่ยงกัน คาเมรอนก็ลาออกแล้ว ใครจะเป็นตัวตั้งตัวตีจัดการเรื่องต่างๆให้เรียบร้อย ?
Korn Chatikavanij ความวุ่นวายต่อเนื่องที่สหราชอาณาจักร วันนี้สหราชอาณาจักรยังวุ่นวายสับสนต่อไป (ต้องระวังไม่เรียกว่า 'อังกฤษ'!) สี่วันผ่านไปหลังการประชามติสะเทือนโลก ความแตกแยกในสหราชอาณาจักรปรากฏชัดมากขึ้นเรื่อยๆ การลงคะแนนครั้งนี้นอกจากสูสีมากแล้ว (52/48) ยังมีการแบ่งกลุ่มกันชัดเจนระหว่างวัย คนเมือง/ชนบท คนรวย/คนจน คนเหนือ (สก็อต+ไอร์แลนด์เหนือ)/คนใต้ (อังกฤษ/เวลส์) ส่วนพรรคการเมืองใหญ่ก็แตกแยกภายในกันทั้งคู่ ส่วนพรรคการเมืองที่คุมสภาฯสก็อตแลนด์ก็มีมติเดินหน้าจัดทำประชามติแยกประเทศอีกครั้ง และล่าสุดมีประชาชนที่ผิดหวังจากผลประชามติกว่า 3 ล้านคนลงชื่อขอให้มีการจัดประชามติรอบสอง (แต่มีการกล่าวหาว่าโกงการลงรายชื่อ) ซึ่งตามกฎหมายจะต้องมีการเสนอญัตติในสภาฯ (เนื่องจากมีการลงรายชื่อกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน) ถึงแม้ว่าชาวสหราชฯ จะไม่เคยประสพปัญหาที่สลับซับซ้อนเช่นนี้มาก่อน ผมยังมั่นใจว่าทุกอย่างยังจบได้ด้วยดี เพราะประเทศนี้มีหลักประชาธิปไตยที่มั่นคง และสังคมคนอังกฤษมีสัญชาตญาณที่จะหวาดระแวงความคิดหรือการกระทำที่สุดโต่งหรือไม่เป็นกลาง อย่างไรก็แล้วแต่ วันนี้เริ่มมีคำถามว่ากระบวนการถอนตัวจาก EU จะเริ่มเมื่อไร หรือแม้แต่จะเริ่มจริงหรือไม่ ผู้มีหน้าที่เดินก้าวแรกคือรัฐบาลสหราชฯเองโดยอาศัยมาตรา ๕๐ ในสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งนายกฯ Cameron ได้พูดไว้ชัดว่าผู้ดำเนินการควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และไม่น่าจะมีการเลือกนายกฯคนใหม่ก่อนต้นเดือนตุลาคม ปัญหาคือ ๑) การเจรจากับ EU อาจเริ่มต้นไม่ได้จนกว่ามีการเข้าสู่กระบวนการตามมาตรา ๕๐ อย่างเป็นทางการ ๒) มีโอกาสสูงมากที่จะมีการยุบสภาฯหลังจากมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค Conservatives (พรรครัฐบาล) หากเป็นเช่นนั้นการริเริ่มกระบวนการมาตรา ๕๐ ก็อาจจะต้องล่าช้าไปอีก และผมมั่นใจว่าจะต้องมีพรรคการเมืองอย่างน้อยหนึ่งพรรคที่จะมีนโยบายหาเสียงเลือกตั้งให้มีการทบทวนผลประชามติรวมถึงอาจจะมีนโยบายให้มีการจัดทำประชามติใหม่อีกรอบ (ตัวอย่างวิธีนำเสนอคือเขาจะพูดว่า "ฝ่าย 'leave' (รวมถึง Boris Johnson ซึ่งอาจได้เป็นหัวหน้าพรรค Conservatives) ได้หาเสียงโกหกในเรื่องสำคัญในช่วงการทำประชามติ เช่นการพูดว่าจะจัดงบที่จะประหยัดได้จากการเป็นสมาชิก EU มาให้กับการสาธารณสุข ซึ่งวันนี้ทุกคนยอมรับแล้วว่าทำไม่ได้") แล้วสมมุติว่าพรรคนั้นได้เป็นรัฐบาล จะเกิดอะไรขึ้น? ผลการเลือกตั้งจะทำให้ต้องมีการจัดทำประชามติอีกครั้งหรือไม่? ผลโดยตรงกับเมืองไทยมีน้อยครับ ถ้าค่าเงินปอนด์ยังตํ่าต่อเนื่องการส่งออกไปอังกฤษอาจน้อยลงและนักท่องเที่ยวอังกฤษก็อาจลดลงด้วย นอกนั้นก็เป็นเรื่องของบทเรียนทางการเมืองว่าระบอบประชาธิปไตยที่เราใช้เป็นแม่แบบนั้น จะมีวิธีแก้ปัญหาระดับนี้กันอย่างไร
Korn Chatikavanij David Cameron ลาออกแล้วครับ การเปลี่ยนแปลงเริ่มแล้วจากผลประชามติ คลื่นจะตามมาอีกหลายระลอก แต่ระบบและสถาบันการเมือง/การเงินที่อังกฤษน่าจะมั่นคงเพียงพอที่จะรองรับความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้ สัญชาตญาณคนอังกฤษไม่ชอบอะไรที่สุดโต่ง ไม่ว่าคนอังกฤษลงคะแนนทางไหนในเรื่องนี้ ทุกคนจะกลับมาอยู่บนพื้นที่ตรงกลางอย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาเยอะจริงๆครับ ตลาดหุ้นที่นี่ลงไปแล้วกว่า 10% การเจรจาการค้าต้องเริ่มต้นใหม่ สก็อตแลนด์อาจขอสิทธิแยกตัวจากสหราชอาณาจักรอีกครั้ง ฯลฯ
ประชามติ #Brexit ไม่กระทบเอฟทีเอไทย-อียู เพราะอียูหยุดเจรจากับไทยนานแล้ว http://prachatai.org/journal/2016/06/66544
อังกฤษอยากมาทำการค้ากับไทยครับ เลยออกจาก อียู ซึ่งอ้างเรื่องประชาธิปไตยบ้าบอตามสหรัฐ รออีกหน่อยครับ ไม่เกิน 2 ปี
ผมว่ายุโรปต้องเชือดอังกฤษอยู่แล้ว เป็นตัวอย่างไปเลยว่าออกไปแล้วล่องจุ๊น ถ้าออกไปแล้วยังได้สิทธิ์พิเศษทางการค้า เดี๋ยวมีประเทศอื่นออกตามแน่ๆ
อัพเดทข่าว เมื่อวานครับ ชาวอังกฤษเตรียม “เดินขบวนใหญ่” ในลอนดอน ประท้วงผลโหวตออกจากอียู โดย MGR Online 2 กรกฎาคม 2559 14:29 น. (แก้ไขล่าสุด 2 กรกฎาคม 2559 17:40 น.) เอเอฟพี - ชาวอังกฤษเตรียมที่จะเดินขบวนผ่านกรุงลอนดอนในวันนี้ (2) เพื่อประท้วงการโหวตแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ของอังกฤษ ซึ่งผลักรัฐบาลเข้าสู่ความอลหม่านทางการเมืองและสร้างความแตกแยกร้าวลึกขึ้นในประเทศนี้ ผู้ประท้วงมีแผนที่จะรวมตัวกันที่ถนนปาร์กเลนในเวลาประมาณ 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) ก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่อาคารรัฐสภา ในการแสดงความไม่พอใจครั้งที่ 2 ของสาธารณชนในสัปดาห์นี้จากผลการลงประชามติดังกล่าว “เราสามารถป้องกันการเบร็กซิตได้ด้วยการไม่ยอมรับว่าการลงประชามติดังกล่าวเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้าย และเอานิ้วของเราออกจากปุ่มทำลายตัวเอง” ไคแรน แมคเอร์มอตต์ ผู้จัดงานกล่าวในเฟซบุ๊กของการเดินขบวนนี้ “อย่าปล่อยให้ลูกหลานไร้ซึ่งอนาคต ออกมาเดินขบวนกัน ออกมาประท้วงกัน และร่วมหยุดเบร็กซิตด้วยกัน” ในขณะที่เหล่าตัวเต็งที่จะมาแทนที่นายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน ในพรรคอนุรักษนิยมกำลังพยายามยื้อเวลาในการเริ่มกระบวนการดังกล่าวที่จะทำให้อังกฤษอยู่นอกกลุ่มสมาชิก 28 ชาตินี้ ไมเคิล โกฟ หนึ่งในตัวเต็ง กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ (1) ว่า เขาไม่คิดว่ามาตรา 50 ซึ่งเป็นกระบวนการสำหรับออกจากอียูอย่างเป็นทางการจะถูกใช้ในปีนี้ สอดคล้องกับความคิดเห็นจากคู่แข่งของเขา เทเรซา เมย์ แต่ทางผู้นำชาติอียูกลับเรียกร้องการแยกตัวออกโดยเร็ว ด้วยกลัวว่า อนาคตที่ไม่แน่นอนของอังกฤษอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบแบบโดมิโนในชาติสมาชิกอียูรายอื่น ๆ “ได้มีการตัดสินใจไปแล้ว มันไม่อาจชักช้าได้และไม่อาจยกเลิกได้” ประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ โอลลองด์ กล่าวเมื่อวานนี้ (1) นอกรอบงานรำลึกครบรอบ 100 ปี สมรภูมิซอมเมอ การออกจากอียูอย่างรวดเร็วจะป้องกันไม่ให้เกิดความไม่แน่นอน และความไร้เสถียรภาพทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและการเงิน” เขากล่าว “ยิ่งมันเกิดขึ้นเร็วเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งดีกับทั้งสองด้าน” ผลโหวตอันน่าตกตะลึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผลักตลาดการเงินเข้าสู่วิกฤต ทำให้เม็ดเงิน 3 ล้านล้านดอลลาร์ หายไปจากตลาดหุ้นทั่วโลก และทำให้ค่าเงินปอนด์ตกสู่ระดับต่ำที่สุดต่อดอลลาร์ในรอบกว่า 30 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี (30) ประธานธนาคารอังกฤษ มาร์ค คาร์นีย์ เปรยว่า เขาอาจใช้แผนกระตุ้นทางการเงินในช่วงฤดูร้อนนี้ และระบุว่า วิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจย่ำแย่ลงนับตั้งแต่ที่อังกฤษโหวตออกจากอียู ในอีกสัญญาณของผลร้ายที่ตามมา รัฐบาลเตือนว่า พวกเขาอาจจะต้องถอนคำพูดที่ว่าจะจัดทำงบประมาณเกินดุลภายในปี 2020 ในขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำ EasyJet ประกาศแผนฉุกเฉินเพื่อปกป้องการดำเนินกิจการในยุโรป http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000065953