BREXIT OUT Timeline อังกฤษโหวต LEAVE ออกจากสหภาพยุโรป

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย por, 24 Jun 2016

  1. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    ผมติดตามเรื่องนี้มานานพอควร เพราะมีผลต่อโลก และ ต่อ ยุโรป มากพอควร ก็ขออธิบายนะครับ คือจริงๆแล้ว เรื่องนี้เริ่มมาจากนโยบายพรรคการเมืองนึงในสหราชอาณาจักรว่า ถ่าเขาเป็นนายกจะเอาอังกฤษออกจากอียูแล้วผลปรากฎว่าคนสนใจและสนับสนุนเป็นจำนวนมาก พรรคconservativeโดยนาย David Cameron จึงแก้เกมส์โดยการจัดประชามตินี้ขึ้นครับถ้าเขาได้เป็นนายยกสมัยถัดไป ผลปรากฎว่าชนะอย่างถล่มทลายครับ .....

    ต่อมาพอไกล้เลือกตั้งคนในพรรค conservative เองเกิดเสียงแตกมีฝ่ายหนุนให้อยู่ต่อคือนาย David Cameron กับฝ่ายหนุนให้ออก Boris Johnson อตีตผู้ว่าลอนดอนครับ(เขาใช้คำว่าเทศมนตรี)กับพรรคพวกคือรัฐมนตรีหลายคน
    ออกมาสนับสนุนให้ออก โดยมีเหตุผลหลักคือ แต่ก่อนนี้ England ไม่มีสิทธิออกกฎหมายต้อง คอยทำตามคำสั่ง สภายุโรป (Brussel Belgium) ครับ
    ซึ่งเขาคิดว่าชาวอังกฤษไม่ได้เลือกสภานี้นะทำไมต้องคอยทำตามหละ บวกกับที่ต้องจ่ายเงินให้สภานี้สูงมากเพราะอังกฤษรวยแถมต้องรับผู้อพยพตามคำสั่งสภายุโรปอีก จึงกลายเป้นจุดหักเหในแง่ความกดดันว่าแค่ผลประโยชน์ทางการค้าแล้วคนอังกฤษต้องทนแค่ไหนครับ ? จนวันนี้มีการลงประชามติ
    ผลก็ออกมาว่า 17,176,006 VOTES LEAVE
    15,952,444 VOTES Remain
    ซึ่งเมื่อผลออกมาเป็นแบบนี้แน่นอนอังกฤษต้องออกจากอียู แต่เป็นที่หน้าสังเกตครับว่าคะแนนแบ่งตามภูมิภาคชัดเจน อย่าง England นี่โหวตออกกันเยอะมากครับ ส่วนผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรคงต้องตามดูกันต่อไปครับ

    13501719_10209925438878244_732650078678588269_n.jpg

    http://www.bbc.com/news/politics/eu_referendum/results
     
    Last edited: 24 Jun 2016
    บางสิบหมื่น, Gop, Anduril และอีก 8 คน ถูกใจ
  2. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    ปล ใครมีคำถามเพิ่มเติมเม้นไว้นะครับถ้าทราบจะมาตอบครับ
    ปล 2 ถ้าชอบแสดงตัวด้วยนะครับ เพื่อมีข่าวจะสรุปมาให้ชมกัน
     
  3. iamserebi

    iamserebi สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    24 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    203
    ขอติดตามข่าวนี้นะครับ
     
  4. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    คือไม่ได้ค่อยติดตาม อยากรู้ว่าอังกฤษได้หรือเสียอะไรบ้างในยูโรโซนนะครับ
     
    architeer และ ปู่ยง ถูกใจ.
  5. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    ข้อเสีย
    สมาชิกในกลุ่ม ถ้าออกจากกลุ่มแล้วก็จะไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก
    อาจจะไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศในกลุ่ม EU ทางด้านเศรษฐกิจม ท่องเที่ยว ต่างๆ เหมือนเดิม (แต่ความจริง ไอ้เรื่องฟรีวีซ่า เนี่ย อังกฤษก็ไม่ร่วมอยู่แล้วครับ)

    ข้อดี
    ทำธุรกิจกับประเทศอื่นอย่างเป็นอิสระไม่ต้องทำตามคำสั่งสภายุโรป ที่คนอังกฤษไม่ได้เลือก
    ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงประเทศอื่นในกลุ่ม EU ไม่ต้องคอยอุ้มคอยจ่ายประเทศล้มละลายหรือเศรษฐกิจถดถอย
    ไม่ต้องรับผู้อพยพ หรือ จ่ายเงินให้สภายุโรปอีก

    อันนี้คือ ตอนอยู่ในกลุ่มยูโรโซนนะครับ
     
    Last edited: 24 Jun 2016
    Kiriwian, architeer, มิติใหม่ และอีก 4 คน ถูกใจ
  6. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  7. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ทั้งชอบทั้งดีใจ
    คุณpor คิดว่า เยอรมัน ฝรั่งเศสจะถอนตามด้วยมั้ย
     
    architeer, หนูอ้อย, ปู่ยง และอีก 2 คน ถูกใจ
  8. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    สองชาตินั้นคือแกนนำในการก่อตั้งสหภาพนี้ขึ้นมาครับ ผม 55555
     
    ปู่ยง และ hey guys ถูกใจ.
  9. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    แหมผมกำลังนึกถึงฝ่ายประชาชนอะครับ เผื่อจะเกิดสปริง
     
    หนูอ้อย และ ปู่ยง ถูกใจ.
  10. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    ด่วน! เดวิด คาเมรอน ลาออกนายกฯ
    สังเวยอังกฤษโหวตออกอียู ‪#‎Nationtv‬

    "นายเดวิท คาเมรอน แถลงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหน้าบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่งเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา ใบลาจะมีผลในเดือนตุลาคมนี้
    เหตุผลคือเนื่องจากนายคาเมรอนนั้นสนับสนุนให้คงอยู่ใน EU มาแต่แรก แล้วแพ้แบบนี้คงเสียใจพอสมควร การเลือกตั้งนายกใหม่คงมีในอีกสามเดือนข้างหน้า


    แต่ผมคิดว่าพอทิ้งเวลาให้นายคาเมรอนทำใจสักพัก พรรคคงส่งคนเดิม และสภาคงเลือกนาคาเมรอนเข้ามาอีกรอบ พ่อหมออย่างผมผมสังหรณ์ใจและทำนายแบบนี้ครับ


    แต่ช้าแต่... เขาแห่ยายมา หยุดร้องไห้นะครับเด็ฟ โอ๋...." Pat Hemasuk

    ปล สนุกสนานครับตอนนี้
    13439015_1075922102488626_693558550933573595_n.jpg
     
    Last edited: 24 Jun 2016
    Anduril, architeer, มิติใหม่ และอีก 2 คน ถูกใจ
  11. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ถ้าแสดงความเห็นเป็นกลาง (ไม่ใช่คนกลาง) ก้อไม่ต้องลาออก
    เมื่อกล่าวสนับสนุนเต็มตัว การลาออกถือว่า เป้นการแสดงสปิริต
    หากมี"คำถามแนบท้าย" ให้อยู่ต่อ ก้อควรกล่าวขอโทษ และเขียนใบลาออกล่วงหน้า
    หากการบริหารห่วย ไม่ประทับใจ ปชช.. ในภายภาคหน้า
    ท่านทำถูกแล้วนี้ ท่านเป็นคนเก่ง และซื่อสัตย์ ทำคุณต่อประเทศ
    ไม่คิดคดต่อประเทศ เนรคุณประเทศเหมือนบางคนนะ
     
    ปู่ยง และ ridkun_user ถูกใจ.
  12. ่johnyoter

    ่johnyoter สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    246
    สาเหตุหลักมาจากเรื่องผู้อพยพหรือเปล่า
     
  13. Apichai

    Apichai อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,042
    13507083_10153613195046806_2241821399971632828_n.jpg
     
    architeer, มิติใหม่, kokkai และอีก 3 คน ถูกใจ
  14. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    ภาพเดียวแทนคำพูดนับพันจริง ๆ
     
    por likes this.
  15. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    เห็นว่า ฝ่ายค้าน เนเธอร์แลนด์ กำลังเคลื่อนไหวเพื่อทำประชามติ ลองตามข่าวดู
     
    อู๋ คาลบี้, por และ ปู่ยง ถูกใจ
  16. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
  17. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    แปะอย่างเดียว จ่านิวช่างมัน
     
  18. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    อังกฤษ ก็อยากค้าขายกับจีน และรัสเซีย ได้อย่างสบายใจน่ะ
     
    Anduril, architeer, kokkai และอีก 1 คน ถูกใจ.
  19. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    นั่นเท่ากับยุให้ EU ล่มสลายเลยนะครับ
     
  20. สับปรับ

    สับปรับ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    27 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    574
    ผมซื้อทองไม่ทันตั้งแต่อาทิตย์ก่อน
     
    architeer และ ปู่ยง ถูกใจ.
  21. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    [​IMG]

    *************************************************************************
    ผลต่างเป็นตัวเลขแบบกลมๆคือ 52:48 = Leave:Remain
    คาเมรอนถือหางข้าง Remain เมื่อฝ่ายตัวเองแพ้ตั้ง 4% ก็สมควรแสดงสปิริตลาออก

    ถ้าเป็นนักการเมืองเมืองไทยก็ต้องแถไปว่า ศาลไม่ได้พิพากษาจะออกทำไม อิอิ
    บางทีศาลพิพากษาแล้วยังแถไปได้อีกว่า รอศาลฎีกาพิพากษา 555+
    นี่ว่ากันเรื่องคุณตะพาบของคนมีอารยะ กับอนารยชนนะ มันต่างกันสุดหล้าฟ้าเขียว
     
    gaiser, Anduril, Kiriwian และอีก 4 คน ถูกใจ
  22. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    จริงครับคุณหนูอ้อน จำ พรบ นิรโทษได้ไหมครับ ไม่ไล่ไม่ไปนะ เออะบอกคำเดียวเดี๊ยนมาจากการเลือกตั้ง 55555
     
    AlbertEinsteins และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  23. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    มีลิงก์เข้าไปอ่านเกี่ยวกับเยอรมนีและฝรั่งเศสต่อยูโร
    http://www.dailynews.co.th/foreign/504364
     
    Anduril และ por ถูกใจ.
  24. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    เปล่าครับอันนั้นประเด็นรอง ประเด๋นหลัก ที่แคมเปนกันคราวนี้คือ "อธิปไตย"
     
    หนูอ้อย likes this.
  25. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    จริงๆก็นึกไม่ถึงว่าคาเมรอนจะถึงกับลาออก
    แต่ผลห่างมันก็ไม่น้อยนะ ตั้ง 4 %

    ถ้าเฉียดกันสัก 1-2 % คือไม่เกิน 2 ก็น่าจะไม่สะเทือนเท่านี้
    คนของเขา ผู้นำของเขามีอารยะ มียางอาย
     
  26. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    :clap: :clap: :clap:
    อาหรับมีอาหรับสปริง
    ยูโรก็อาจมี "ยูโร สปริง" อิอิ
     
  27. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    เมืองไทย ก็มี "เช็คสปริง"
     
    gaiser, architeer และ หนูอ้อย ถูกใจ
  28. ฟักแม้ว

    ฟักแม้ว อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    29 Dec 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,518
    บ้านเค้า ผู้นำรู้สึกละอายใจ ก็ลาออกเอง
    บ้านเรา ผู้นำหน้าด้านสั่งโหวต พรบ. ช่วยเหลือพี่ชายนักโทษ ตอนตี4
    คนมันหน้าด้านผิดกัน
     
    Anduril และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  29. ฟักแม้ว

    ฟักแม้ว อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    29 Dec 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,518
    ตลาด Nikkei ร่วงเละเทะ เกือบ -8% เหตุค่าเงินเยนแข็งขึ้น กระทบการส่งออกอย่างหนัก
    ช่วงสัปดาห์หน้า ตลาดการเงิน คงผันผวนสุดๆ
     
    หนูอ้อย likes this.
  30. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710

    หรือนี่คือปัจจัยผลักดันสำคัญที่ทำให้คนอังกฤษและสหราชอาณาจักร
    ลงประชามติปลดแอกจากอียู มันก็น่าคิดนะ ว่าไหมครับ

    13445765_480708362125543_5974465219715862525_n.jpg
     
    Alamos, architeer และ ปู่ยง ถูกใจ
  31. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    กรูไม่เข้าใจ เมริง เจรงๆ
    มรึงโง่ หรือกรูอ่านหนังสือไม่แตกวะ มรึงจะสื่อว่าอะไร
    อังกฤษ ไม่พอใจที่ไทยเป็นเผด็จการ และเป็นสมชิก EU ???

    2258740096.png
     
    por, Anduril, AlbertEinsteins และอีก 3 คน ถูกใจ
  32. maya

    maya อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    14 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    447
    ย้ายไปอยู่พม่าก็ได้นี่
     
    Anduril, AlbertEinsteins และ หนูอ้อย ถูกใจ
  33. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    อังกฤษออกจากอียู มันสะเทือนกับเศรษฐกิจโลกไปหมด
    ไม่ได้เกี่ยวกับเผด็จการหรือประชาธิปไตยเลย

    จะเกลียดรัฐบาลบ้านเรา ออกความเห็นให้ฉลาดกว่านี้หน่อยได้มั้ย
     
    Anduril, AlbertEinsteins, หนูอ้อย และอีก 1 คน ถูกใจ.
  34. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ผมดูในข่าวต่างประเทศ ช่อง PPTV เห็นว่าลงประชามติทั้งสหราชอาณาจักร
    ซึ่งคนสกอตแลนด์กับไอร์แลนด์เหนือลงประชามติส่วนใหญ่ว่า ขออยู่ในอียูต่อ
    แล้วทางสกอตแลนด์คิดว่า อยากจะทำประชามติขอแยกออกจากสหราชอาณาจักรอีกครั้งด้วย

    http://www.pptvthailand.com/news/ข่าวในกระแส/29628

     
  35. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    นายกฯ อังกฤษ คนใหม่ จะฉลาดเฉลียวเหมือนเม้ยมั้ยยย!!!
     
  36. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ความเห็นในเชิงวิเคราะห์ต่อกรณี BREXIT จาก อ. วราภรณ์ สามโกเศศ
    http://thaipublica.org/2016/05/varakorn-143/


    24 พฤษภาคม 2016

    วรากรณ์ สามโกเศศ

    นอกจากการลงประชามติในเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของคนไทยในวันที่ 7 สิงหาคม ปีนี้แล้ว ก่อนหน้าที่จะถึงนี้ จะมีประชามติอีกอันหนึ่งที่มีผลกระทบกว้างไกลและมีความหมายต่อคุณภาพชีวิตของคนในโลกของเรา นั่นก็คือการลงคะแนนเสียงของคนอังกฤษว่าจะยังคงเป็นสมาชิกของ EU ต่อไปหรือไม่ ซึ่งเรียกเรื่องนี้กันว่า “Brexit” มาจาก British + Exit

    เป็นความฝันของคนยุโรปมานับร้อยปีว่าควรมีรวมตัวกันเชิงการค้าเพราะจะเป็นประโยชน์ร่วมกัน ในปี 1957 จึงเกิด Treaty of Rome ซึ่งสร้าง Common Market หรือ EEC (European Economic Community) ขึ้น แต่อังกฤษมิได้เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ก่อตั้ง อังกฤษพยายามสมัครเข้าเป็นสมาชิกถึง 2 ครั้ง คือในปี 1963 และ 1967 แต่ไม่สำเร็จเพราะประธานาธิบดี Charles de Gaulle แห่งฝรั่งเศส ขัดขวางจนเมื่อหมดอำนาจลงแล้วจึงได้เป็นสมาชิกในปี 1973

    เมื่อต่อมา EEC กลายเป็น European Union (EU) ด้วย Maastricht Treaty ในปี 1993 อังกฤษก็ยังคงเป็นสมาชิกองค์กรนี้ที่เปลี่ยนรูปมาเป็นทั้งเศรษฐกิจและการเมือง

    อย่างไรก็ดี คนอังกฤษนั้นคลางแคลงใจเกี่ยวกับเรื่องการเป็นสมาชิกกลุ่มนี้มาตลอด พรรคการเมืองก็มีความเห็นแตกแยกกัน ดังนั้นในปี 1975 อังกฤษจึงมีการลงประชามติว่าจะยังคงเป็นสมาชิกของ EEC ต่อไปหรือไม่ ซึ่งผลออกมาว่าประมาณ 2 ใน 3 เห็นควรให้อยู่ต่อ

    ถึงแม้จะเป็นสมาชิกของ EU ในจำนวนสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ แต่อังกฤษก็มีอะไรที่พิเศษกว่าและแตกต่างจากสมาชิกประเทศอื่น เช่น ไม่ใช้เงินยูโร แต่ยังคงใช้เงินปอนด์เช่นเดิม (มี 9 ประเทศที่เป็นสมาชิก EU แต่ไม่ใช้เงินยูโร) และไม่ร่วมในการให้วีซ่าหมู่เข้าประเทศ EU ที่เรียกว่า Schengen เหมือนประเทศ EU อื่นๆ (คนที่ไม่ใช่พลเมืองของ EU ต้องขอวีซ่าเข้าอังกฤษต่างหาก) อย่างไรก็ดีอังกฤษก็ถูกผูกพันไว้หนาแน่นด้วยกฎเกณฑ์กลางโดยเฉพาะในเรื่องเงินที่ต้องจ่ายสนับสนุนประเทศ EU อื่นเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี

    เหตุที่เกิดประชามติเรื่อง Brexit ขึ้นก็เพราะมีความรู้สึกในหมู่คนอังกฤษว่าประเทศของตนเองมีอิสระเสรีในการตัดสินใจน้อยลงเนื่องจากการเป็นสมาชิก EU /มีตัวเลขว่าร้อยละ 55 ของจำนวนกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ออก มีสาเหตุมาจากการถูกบังคับโดยกติกาของการเป็นสมาชิก EU

    นอกจากนี้การถูกบังคับให้ต้องรับผู้อพยพจากประเทศสมาชิกนับหมื่นทุกปีก็ไม่ถูกใจประชาชน และยิ่งปัญหาอพยพของคนจากซีเรีย ตุรกี และประเทศอื่นรุนแรงขึ้น พร้อมกับปัญหาเศรษฐกิจของกรีซที่ EU ต้องร่วมกันอุ้มหนักหนาขึ้น คนอังกฤษก็เกิดความลังเล

    image_1463382279_53341417-620x388.jpg
    ที่มาภาพ : http://internet-us.com/upload/news/image_1463382279_53341417.jpg

    นายกรัฐมนตรีอังกฤษ David Cameron แห่งพรรค Conservative ในปี 2012 ปฏิเสธที่จะให้มีประชามติเรื่อง Brexit แต่เมื่อทนแรงกดดันไม่ได้จึงต้องให้สัญญาในการหาเสียงเลือกตั้งในปี 2015 ว่าหากชนะจะจัดประชามติ Brexit ก่อนสิ้นปี 2017 ดังนั้น เมื่อได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งจึงผ่านกฎหมายประชามติ 2015 ทั้งหมดนี้คือที่มาของการลงประชามติ Brexit ในวันที่ 23 มิถุนายน 2016

    เรื่องจะลงคะแนน yes หรือ no กับประชามติ Brexit ครั้งนี้ถือว่าคึกคักมาก กฎหมายอนุญาตให้ต่อสู้กันได้ด้วยการรณรงค์ของทั้งสองฝ่าย นายกรัฐมนตรีอนุญาตให้รัฐมนตรีและ ส.ส. ของพรรคออกมาสนับสนุนหรือคัดค้านได้อย่างเสรี คนอังกฤษได้เห็นสารพัดกลุ่มออกมารณรงค์ต่อสู้กัน เช่น Vote Leave/ Grassroots Out/ Britain Stronger in Europe/ Leave EU/ Conservatives In ฯลฯ

    นายกรัฐมนตรี Cameron เห็นว่าควรอยู่ต่อ ดังนั้นตอนต้นปีนี้จึงเดินทางไปสำนักงานใหญ่ของ EU ที่ Brussels เพื่อต่อรองเงื่อนไขการเป็นสมาชิกของ EU ให้ดีขึ้น เช่น ได้เงื่อนไขว่าเงินที่ต้องช่วยจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้อพยพจากประเทศ EU อื่นนั้นต้องมีเพดาน ไม่ใช่ไม่มีขีดจำกัดเช่นเดิม ตลอดจนมีการยืนยันว่าลอนดอนซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรปนั้น ได้รับการยกเว้นในบางเรื่อง ไม่ต้องผูกติดกับเงื่อนไขที่ EU กำหนด ฯลฯ อย่างไรก็ดีคนอังกฤษเห็นว่าสิ่งที่ได้มาก่อนประชามติ Brexit นั้นเล็กน้อยมาก ดังนั้นจึงไม่ได้ช่วยให้คนเปลี่ยนใจมาสนับสนุนการอยู่ต่อเพิ่มมากขึ้น



    สำหรับผู้สนับสนุน no หรือการเห็นว่าควรออกจากการเป็นสมาชิก EU นั้นให้เหตุผลว่า การออก จะทำให้มีความเป็นอิสระมากขึ้น ในด้านเป็นศูนย์กลางการเงินของลอนดอน ธนาคารและสถาบันการเงินเบื่อหน่ายดีกรีกำกับควบคุมซึ่งมีมากขึ้นทุกที และในการประกอบธุรกิจการค้าก็เช่นกัน กฎกติกาที่ต้องทำเหมือนกันในทุกประเทศสมาชิกทำให้อังกฤษไม่คล่องตัว

    เหตุผลของ yes หรือการอยู่ต่อก็คืออังกฤษจะได้ประโยชน์ในด้านการค้า จะยังคงเป็นสมาชิกของ Single Market ของ EU กล่าวคือค้าขายกันโดยไม่มีภาษีขาเข้า หากออกไปก็เท่ากับละทิ้ง EU ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผู้คนเกรงขามทั้งในเรื่องเศรษฐกิจการค้าและการธนาคาร “ความแค้น” ของสมาชิก EU ต้องมีอยู่ และเมื่อทำการค้ากันในภายหลังก็จะถูกกีดกันจนเสียหายได้

    งานศึกษาของ David Hummels และ George Schaur (2012) พบว่าสินค้าทั่วไปที่ขนส่งข้ามไป-มากันนั้นทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นเสมือนกับมีอัตราภาษีขาเข้าระหว่างร้อยละ 0.6 ถึง 2.1 ซึ่งเท่ากับว่าสินค้าต้องมีอัตราภาษีขาเข้าสูงขึ้นอีก แต่หากเป็นกลุ่มประเทศที่ไม่มีภาษีขาเข้า เช่น EU ต้นทุนก็จะสูงขึ้นน้อยกว่า ดังนั้น การเป็นสมาชิก EU จึงเป็นประโยชน์ต่อการค้าขายกับต่างประเทศ (มูลค่าการส่งออกของอังกฤษไป EU เท่ากับร้อยละ 12.6 ของ GDP)

    สำหรับคนนอกประเทศจะหาคนสนับสนุนการออกจาก EU ของอังกฤษไม่ได้เลย โอบามาถึงกับเดินทางมาอังกฤษเพื่อ “หาเสียง” ให้กับกลุ่ม yes เนื่องจากเสถียรภาพของยุโรปเป็นยอดปรารถนาของสหรัฐ ซึ่งมีปัญหาปวดหัวกับจีนและรัสเซียอยู่เต็มมือแล้ว

    การลงประชามติ Brexit เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของ EU เนื่องจากนานาปัญหาประดังเข้ามานับตั้งแต่คลื่นอพยพของผู้คนข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียน (ในปี 2015 มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน) ปัญหาเศรษฐกิจกรีซที่ยังไม่จบ วิกฤติเงินยูโรก็ยังไม่พ้นฝั่ง การเจริญเติบโตของ EU ที่อืดอาด การว่างงานสูงของเยาวชน ฯลฯ


    หากอังกฤษออกไป /EU ก็จะถูกครอบงำโดยเยอรมนีที่เศรษฐกิจใหญ่กว่า อีกทั้งสูญเสียบารมีและความน่าเชื่อถือ เหตุการณ์นี้จะทำให้คน EU เกิดแนวคิดปกป้องตนเอง (protectionist) ซึ่งตรงข้ามกับการค้าเสรีและเกิดความระแวงซึ่งกันและกันมากขึ้น ความเป็นเอกภาพของยุโรปก็จะลดน้อยลงไปมาก

    ผู้นำ EU กังวลกับผลกระทบที่ไม่มีใครอาจตอบได้แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้ตามมา ซึ่งความไม่ชัดเจนตรงนี้อาจมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ในเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ทุกคนไม่ต้องการให้อังกฤษออกไปเพราะจะกระทบต่อดุลยภาพเดิมที่มีอยู่

    แต่เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว ไม่มีใครหยุดเรื่อง Brexit ได้/ Cameron ต้องการให้คนอังกฤษที่มีความเห็นแตกต่างกันว่าจะอยู่หรือจะไปในทุกพรรค และทุกระดับได้แสดงความเห็นเพื่อประเด็นนี้จะได้จบกันไปเสียที

    คนอังกฤษก็ต้องการแสดงความเห็นเช่นกันเมื่อเห็นตัวเลขว่าในปี 2014/2015 อังกฤษเป็น 1 ใน 10 ประเทศซึ่งจ่ายเงินออกไปให้ EU มากกว่าที่ได้รับกลับมา (ประเทศที่หนักกว่าก็คือฝรั่งเศส และเยอรมนี) ประเทศที่ได้ประโยชน์มากที่สุดในยุโรปก็คือโปแลนด์ ฮังการี และกรีซ นอกจากนี้มีการคำนวณว่าเมื่อหักกลบลบเงินที่จ่ายให้ EU โดยทุกภาคส่วนและที่ได้รับกลับมาแล้ว อังกฤษจ่ายมากกว่ารับเป็นเงินประมาณ 8,800 ล้านปอนด์ (458,000 ล้านบาท) ในปี 2014/2015 ซึ่งเพิ่มเกือบหนึ่งเท่าของปี 2009/2010

    คนชาติใดที่เห็นตัวเลขนี้แล้วก็คงต้องถามตัวเองเหมือนกันว่า สุดท้าย เมื่อคิดสะระตะทุกอย่างแล้วมันคุ้มหรือเปล่าที่จะเป็นสมาชิก EU ต่อไป ถึงจะรู้ว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” แต่คำถามก็คือมันจะต้องแพงถึงขนาดนั้นเชียวหรือ

    หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรก คอลัมน์ “อาหารสมอง” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอังคารที่ 24 พ.ค. 2559
     
    Gop, Anduril, อู๋ คาลบี้ และอีก 3 คน ถูกใจ
  37. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    559000006270402.JPE
    ในการลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายน 59 ที่ผ่านมานี้ แม้เสียงข้างมากต้องการให้อังกฤษออกจากอียูก็จริง แต่ยังไม่สามารถออกได้ทันทีตามกฎของอียู อังกฤษมีเวลา 2 ปีในการเจรจากับอียูว่า กฎกติกาในการค้าขาย การลงทุน การเดินทางและอื่นๆระหว่างอังกฤษกับอียู จะเป็นอย่างไร ปรับแล้วพอใจกันหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการออกอย่างเป็นทางการ

    ลองอ่านบางส่วนในนี้ดู
    http://www.manager.co.th/columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9590000060702
     
    Gop, Anduril, อู๋ คาลบี้ และอีก 3 คน ถูกใจ
  38. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    หน้าข่าวจาก นสพ Bild ในเยอรมนี (เครดิต คุณ Fa)

    ข่าวบรรทัดสุดท้าย Jetzt auch Ruf nach Volksabstimmung in Frankreich und Holland
    คาเมรอนลาออก ..และเรื่องราวเริ่มลามไปถึงฝรั่งเศสและฮอลแลนด์

    6qbhvn.jpg

    Jetzt auch Ruf nach Volksabstimmung in Frankreich und Holland แปลว่า
    ตอนนี้เริ่มมีการเรียกร้องแบบเดียวกันให้มีการลงประชามติในประเทศฝรั่งเศสและฮอลแลนด์
     
    Last edited: 25 Jun 2016
  39. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    มีบทวิเคราะห์น่าอ่านอีกบทมาฝากกัน ..
    บทวิเคราะห์ Brexit ผลกระทบหลังอังกฤษถอนตัวจาก EU
    By Isriya Paireepairit -
    24/06/2016

    ในที่สุด ผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรว่าจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่ (Leave or Remain) ก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่าย “ออก” อย่างเฉียดฉิว ด้วยสัดส่วน “ออก” 51.9% และ “อยู่” 48.1%

    Brand Inside ขอวิเคราะห์ผลกระทบจากการโหวตออก Brexit ดังนี้

    uk-cat.jpg

    ทำไมฝ่ายโหวตออกถึงชนะ?
    ก่อนหน้านี้ นักการเมืองกระแสหลักของอังกฤษ ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน แห่งพรรคอนุรักษ์นิยม รวมถึงบรรดาผู้นำชาติมหาอำนาจทั่วโลก และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก ต่างก็เสนอให้ชาวสหราชอาณาจักรเลือกจะ “อยู่” กับยุโรปต่อไป

    แต่เมื่อผลจบลงด้วยการ “ออก” จาก EU คำถามแรกคือเกิดอะไรขึ้น ทำไมพลเมืองครึ่งประเทศถึงเลือกจะออกจาก EU

    นักวิเคราะห์จากหลายสำนักมองคล้ายๆ กันว่า ฝ่ายที่ต้องการออกจาก EU ให้น้ำหนักกับเรื่องเศรษฐกิจและปากท้องเป็นสำคัญ ถึงแม้การก่อตั้ง EU ช่วงประมาณ 20 ปีแรก (นับจากสนธิสัญญา Maastricht ในปี 1992) จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น 2 ครั้งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน (วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ช่วงปี 2007-2008 ที่กระทบสถาบันการเงินในอังกฤษมาก และวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปช่วงหลังปี 2010 เป็นต้นมา) ทำให้เศรษฐกิจของยุโรปฝืดเคืองลง

    ผลกระทบที่ชัดเจนคือประชาชนจำนวนไม่น้อยต้องตกงาน หรือแม้แต่กลุ่มที่ยังมีงานทำ ก็มีสภาพเศรษฐกิจในการดำรงชีวิตประจำวันที่ลำบากขึ้นมาก ปัจจัยเศรษฐกิจเป็นลบที่ยืดเยื้อยาวนานแบบนี้ ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในสภาพของรัฐที่เป็นอยู่ ไม่พอใจชนชั้นสูงที่ร่ำรวยและไม่ได้รับผลกระทบมากนัก (anti-establishment) ไม่พอใจผู้อพยพ (immigrant) ที่เข้ามาแย่งชิงทรัพยากรในประเทศ และประชาชนส่วนหนึ่งก็เริ่มใฝ่ฝันถึงความรุ่งเรืองในอดีต ยุคก่อนที่จะรวมเป็น EU

    การแยกตัวออกจาก EU เป็นสิ่งที่พูดกันมากในช่วงวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป เพราะการใช้นโยบายเศรษฐกิจและค่าเงินแบบเดียวกันทั้งยุโรป อาจไม่ยืดหยุ่นพอสำหรับสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่แตกต่างกันอย่างมาก กรณีของกรีซเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ถึงแม้กรีซจะไม่ได้แยกตัวออกจาก EU ในท้ายที่สุดก็ตาม แต่ปัญหาของกรีซก็แสดงให้คนในยุโรปเห็นว่า การอยู่ภายใต้กฎระเบียบเดียวกันตามวิสัยทัศน์ของ EU ไม่ได้มีแต่ผลดีเสมอไป

    26072062704_2994169f10_b.jpg
    ภาพจาก UK Parliament
    แต่กรณีของสหราชอาณาจักร ที่ไม่ได้รู้สึกมีส่วนร่วมกับ EU มากนัก (ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลด้านวัฒนธรรมที่อาจแตกต่างจากยุโรปภาคพื้นทวีปอยู่พอสมควร) และไม่ได้ใช้เงินสกุลยูโรมาตั้งแต่ต้น ก็ย่อมมีโอกาสจะแยกตัวออกจาก EU ได้ง่ายกว่าถ้าหากโอกาสเอื้ออำนวย

    ความอึดอัดทางเศรษฐกิจของประชากรยุโรปถูกแสดงออกผ่านการเมืองได้ชัดเจน เพราะในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมา พรรคฝ่ายขวาของยุโรปที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมหรือชาตินิยม เน้นผลประโยชน์ของประชากรหรือชาติพันธุ์ในประเทศตัวเอง ต่างได้เสียงข้างมากในรัฐสภาทั้งระดับประเทศและระดับยุโรป ในขณะที่พรรคฝ่ายซ้าย ที่มีแนวคิดเสรีนิยม และสนับสนุนวิสัยทัศน์ “ยุโรปหนึ่งเดียว” เริ่มเสื่อมถอยลง เนื่องจากไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้มากนัก

    การโหวตประชามติของสหราชอาณาจักรครั้งนี้ ถึงแม้พรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรีคาเมรอน จะครองเสียงข้างมากในสภา แต่เอาเข้าจริงแล้วก็มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบขวา-กลาง และมีจุดยืนประนีประนอมมากกว่า ทางพรรคเองไม่ได้สนับสนุนฝ่ายใดเป็นพิเศษ แต่คณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่ก็ต้องการให้ประเทศอยู่กับ EU ต่อไป ในขณะที่พรรคขวาสุดขั้วอย่าง UK Independence Party (UKIP) ก็มีท่าทีชัดเจนว่าต้องการโหวตออกจาก EU

    การโหวตออกของประชาชนสหราชอาณาจักร จึงถือเป็นภาพสะท้อนว่าวิถีทางแบบ “ปัจจุบัน” ที่อิงกับ EU นั้นไม่ตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจอีกต่อไป จึงส่งผลให้ประชาชนเกินครึ่งเลือกจะกลับไปสู่ “อดีต” อันรุ่งเรืองของสหราชอาณาจักรที่อยู่ด้วยตัวเองลำพัง ถึงแม้ไม่มีอะไรยืนยันว่า “อดีต” แบบเดิมจะเป็น “อนาคต” ที่ดีแค่ไหน แต่การเสี่ยงเดินไปตายดาบหน้า ก็น่าจะดีกว่า “ปัจจุบัน” ที่ยังไม่เห็นอนาคตอันสดใสเลย
     
    บางสิบหมื่น, gaiser, Anduril และอีก 3 คน ถูกใจ
  40. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    (ต่อ)
    ผลกระทบระยะสั้น
    ผลการโหวต Leave ย่อมจะสร้างแรงสะเทือนกับการเมืองภายในประเทศเป็นอย่างแรก ถึงแม้พรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่างก็มีจุดยืน Remain แต่เมื่อฝ่าย Remain แพ้โหวต การสนับสนุนทางการเมืองจึงย่อมสวิงกลับไปยังฝ่าย Leave

    สิ่งแรกที่ต้องจับตามองคือการลาออกของนายกรัฐมนตรี David Cameron ที่มีจุดยืนฝั่ง Remain (แม้จะมีเสียงสนับสนุนให้เขานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีต่อไปก็ตาม) ผลที่ตามมาคือฝ่าย Leave ในพรรคอนุรักษ์นิยมที่ครองเสียงข้างมาก จะขึ้นมามีอำนาจแทน ทิศทางการเมืองของประเทศในระยะสั้นจึงขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ว่าจะตอบสนองต่อผลโหวต Leave อย่างไรบ้าง

    การลาออกของ Cameron จะมีผลในเดือนตุลาคม 2016 ซึ่งในระยะอีกประมาณ 3 เดือนต่อจากนี้ จะเป็นช่วงเฟ้นหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ ภายในประเทศ และอีกสักระยะเราจะเห็นตัวเลือกที่ชัดเจนมากขึ้นว่า นายกอังกฤษคนใหม่คือใคร

    ผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แสดงให้เห็นทันทีเมื่อเงินปอนด์มีค่าตกหนักครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปี และเราคงเห็นภาวะผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกไปอีกสักระยะหนึ่ง ก่อนที่สถานการณ์จะเริ่มสงบลง เหตุสำคัญเป็นเพราะการลงประชามติโหวตออกจาก EU ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ ทำให้ตลาดเองก็ไม่ทราบว่าจะรับมือกับสภาวะนี้อย่างไร

    การโหวตออกของอังกฤษ เป็นภาพสะท้อนของความไม่พอใจในปัจจุบัน แต่กลับไม่ได้แสดงให้เห็นว่าต้องการอนาคตอย่างไรกันแน่ (บอกได้แค่ว่าจะ “ออก” แต่ออกไปแล้วจะทำอะไรต่อ ภาพยังไม่ชัดเจน) ซึ่งในระยะสั้นเราจะเห็นสภาวะ “ฝุ่นตลบ” ท่ามกลางความมึนงงไปอีกสักพักใหญ่ๆ

    cameron.jpg
    David Cameron นายกรัฐมนตรีผู้ผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ (ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาลสหรัฐอาณาจักร)
    ผลกระทบระยะยาว
    ผลกระทบในระยะยาวคือ สหราชอาณาจักรจะเริ่มปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์และกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องอิงตามกรอบกฎหมายของรัฐสภายุโรป (EU Directives) อีกต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องใช้เวลานานและค่อยเป็นค่อยไป (CNBC วิเคราะห์ว่าอาจใช้เวลาถึง 2 ปี กว่าจะได้ออกจาก EU จริงๆ)

    ข้อดีคือกฎระเบียบบางส่วนจะยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ในอีกทาง ภาวะเศรษฐกิจที่เคยได้ประโยชน์จากการเป็นส่วนหนึ่งของ EU เช่น ตลาดรวม ก็จะหมดไป อังกฤษจะต้องหาทางเอาตัวรอดให้ได้จากสภาพตลาดในประเทศเพียงลำพัง (single market)

    รัฐบาลชุดใหม่ย่อมจะมีทีท่าต่อนโยบายเรื่องผู้อพยพที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะต่อให้คนอังกฤษกลุ่มหนึ่งไม่พอใจต่อผู้อพยพมากแค่ไหน ก็ต้องยอมรับว่าผู้อพยพเหล่านี้กลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอยู่มากแล้ว การไล่ผู้อพยพเหล่านี้ออกไปจากประเทศ ย่อมต้องตอบคำถามให้ได้ว่าตำแหน่งงานที่ว่างลงเหล่านั้นจะหาใครมาทำแทน

    ผลการโหวตที่แพ้ชนะกันอย่างฉิวเฉียด สร้างรอยร้าวอันรุนแรงในสังคมของสหราชอาณาจักร เพราะกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันทั้งอายุ พื้นที่ ระดับรายได้ มีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน รอยร้าวครั้งนี้จะฝังลึกและกลายเป็นชนวนความแตกแยกในสังคมของสหราชอาณาจักรไปอีกนาน ในระยะยาวแล้วน่าจะเป็นจุดกำเนิดของเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต

    สิ่งที่น่าจับตาอีกประเด็นคือการแยกตัวของสกอตแลนด์ หลังจากการลงประชามติในปี 2014 จบลงด้วยชาวสกอตแลนด์ 55% เลือกจะอยู่ภายใต้สหราชอาณาจักรต่อไป แต่ในการโหวตออกจาก EU ปี 2016 ครั้งนี้ สกอตแลนด์กลับมีความเห็นที่แตกต่างจากอังกฤษและเวลส์ นั่นคือเสียง 62% ของสกอตแลนด์เลือกจะอยู่กับ EU ต่อไป (รวมถึงไอร์แลนด์เหนือที่ 55.8% เลือกอยู่กับ EU เช่นกัน)

    มุมมองของสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ ที่แตกต่างจากอังกฤษและเวลส์ ย่อมส่งผลให้ในอนาคตอีกไม่ไกล เราอาจได้เห็นการแยกตัวของสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ ออกจากสหราชอาณาจักรได้เช่นกัน

    อังกฤษต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ในระยะยาว
    กล่าวโดยสรุปแล้ว การโหวต Leave ครั้งนี้มีที่มาจากความอึดอัดทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และฝ่ายโหวต Leave เสนอความหวังเรื่องเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเมื่อออกจาก EU เป็นจุดขายในการชนะโหวตครั้งนี้

    แต่สุดท้ายในระยะยาวแล้ว ไม่ว่าจะอยู่หรือออก ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศก็ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น สหราชอาณาจักรจะต้องแสดงให้เห็นว่าการออกจาก EU สามารถช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้จริงๆ อย่างที่คิดกันหรือไม่ ผ่านการปฏิรูปกรอบกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีแรกหลังออกจาก EU

    มิฉะนั้น อังกฤษก็จะอยู่ในสภาวะ “กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง” เช่นกัน
    https://brandinside.asia/brexit-analysis/

    brexit-map.png
    แผนที่การโหวตแยกตัวออกจาก EU แยกตามแคว้น (สีเหลืองคือ Remain สีน้ำเงินคือ Leave)
    ภาพจาก BBC
     
  41. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    สรุปก็คือ ถึงไม่มีอียู ยูเคก็อยู่ได้ไม่เดือดร้อนอันใดไม่
    ในทางกลับกันอียู ถ้าไม่มียูเค บอกได้เลยปวดตับตลับเมตร
     
  42. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ล่มๆ ล่มแน่ เมื่อต้องเสียประโยชน์มากกว่าได้ อยู่แบบเดิมดีกว่าหาเหาใส่หัว รีบออกดีที่สุด แต่ภาระที่จะตามมาคัยจะรับผิดชอบ
     
  43. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    มุมมองผมน่าจะคล้ายตอนรัสเซียแตกนะ
    ความแตกต่างคือรัสเซียมันระเบิดออกเป็นชิ้นๆ
    อันนี้แตกเป็นสองก้อน
    คงไม่น่าจะปั่นป่วนมากมายถึงขั้นหายนะ
    ช่วงนี้ก็แค่ตกใจมโนกันไปมา

    และผมเชื่อว่าก้อนอียูจะแตกออกไปอีก
    เพราะขาดเงินสนับสนุนจากยูเค
    คราวนี้ต้องควักเงินกันเพิ่ม
    มันจะยิ่งทำให้เกิดกดดันการเมืองภายในแต่ละประเทศที่ควักเงินเยอะๆว่าเอามาจ่ายอียูมันคุ้มค่ามั๊ย

    สุดท้ายคงจะแตกเป็นเสี่ยง
    แต่จะยังคงเรื่องบางเรื่องระหว่างประเทศไว้เช่นการไร้กำแพงภาษี คล้ายกรอบตอนเป็นอียูเพราะมันกระตุ้นการลงทุนลดต้นทุนค้าขายกันมากขึ้น หรือการลดข้อจำกัดการย้ายถิ่นลง
     
    Last edited: 26 Jun 2016
    อู๋ คาลบี้, Gop และ Anduril ถูกใจ
  44. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    สุดท้ายจะผลักดันผู้อพยพกลับเพราะเลี้ยงไม่ไหว
    ก่อปัญหาสารพัด
    และ UNHCR จะเงียบกริบเรื่องนี้

    ส่วนพวกกรีซ สเปน โปรตุเกส ไอร์แลนด์
    ถ้าล้มก็ล้มไป

    อเมริกาได้ทรัมป์เป็นประธานาธิปดี
    รอสงครามโลก
     
  45. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    เห็นอเมริกาออกมาสนับสนุน กดดันให้ อยู่ต่อ เดาว่า อเมริกาน่าจะเสียประโยชน์จากเรื่องนี้จริงไหมครับ
    หลายเดือนที่แล้วเห็นรัสเซียปรับนโยบายต่างประเทศเตรียมรับมือ หลายมหาอำนาจ (หลายขั้ว) เป็นไปได้ไหมที่อังกฤษคิดจะหวนกลับเป็นมหาอำนาจเต็มตัวอีกครั้ง
     
  46. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    -1x-1.png

    พอกีดกันคนต่างชาติราคาอสังหาก็ตก
     
  47. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    อัพเดท

    ไม่รับผลออกจากอียู คนอังกฤษกว่าล้าน ลงชื่อออนไลน์ เรียกร้องให้เปิดประชามติครั้งที่ 2
    EyWwB5WU57MYnKOuhzH7wG5Uit9UZsigGS2TdM5dDSmEcIjXfelZZK.jpg
    คนอังกฤษกว่าล้าน ต้องการให้ประเทศคงอยู่ในอียู ลงชื่อในระบบออนไลน์เรียกร้องให้มีการลงประชามติครั้งที่ 2 เหตุมีผู้มาลงคะแนนเสียงไม่ถึง 75% พบคนหนุ่มสาวหนุนให้อยู่ต่อมากกว่าคนสูงวัย...

    เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2559 บุญธง ก่อมงคลกูล ผู้สื่อข่าวไทยรัฐประจำประเทศเบลเยียมรายงานว่า หลังจากการประกาศผลการลงประชามติเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยชัยชนะเป็นของฝ่ายที่ต้องการให้สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป 51.9 % โดยช่วงเช้าวันเสาร์ก่อนเที่ยงวัน มีประชาชนของสหราชอาณาจักรที่ต้องการให้ยังคงอยู่ในอียู ลงชื่อผ่านระบบออนไลน์เรียกร้องให้มีการเปิดลงประชามติครั้งที่ 2 ทั้งนี้ตามหลักการแล้ว รัฐบาลอังกฤษจะต้องตอบคำถามกรณีที่มีผู้เข้าชื่อเกิน 10,000 คน และถ้ามีจำนวนถึง 100,000 คน จะต้องเปิดให้มีการนำข้อเรียกร้องนั้นเข้าสู่สภาเพื่อทำการพิจารณา

    สำหรับความคิดริเริ่มที่จะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลอังกฤษให้จัดการลงประชามติ ครั้งที่ 2 เนื่องจากจำนวนผู้ที่มาลงประชามติมีจำนวนไม่ถึง 75 % และทั้งสองฝ่ายได้คะแนนเสียงไม่ถึง 60 % จากตัวเลขที่ประกาศอย่างเป็นทางการของจำนวนผู้มาลงประชามติมีจำนวนเพียง 72 % และจำนวนผู้ที่โหวตให้ออกจากอียูได้รับคะแนนเสียงเพียง 51.9 % นอกจากนี้จากผลคะแนนการลงประชามติที่ใกล้เคียงกันมากทำให้สหราชอาณาจักรถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นตามสภาพภูมิศาสตร์ สถานะทางสังคม วัย และระดับความรู้ คนอังกฤษโหวตให้ออก 53.4 % ขณะที่คนสกอตโหวตให้อยู่ถึง 62 % คนไอร์แลนด์เหนือโหวตให้อยู่ 55.7 % และคนยิบรอลตาร์โหวตให้อยู่ถึง 95 % ส่วนคนที่อยู่ในกรุงลอนดอนโหวตให้อยู่ 60 % คนวัยหนุ่มสาวจะสนับสนุนให้อยู่ต่อในอียูมากกว่าคนสูงวัยที่ต้องการให้ออก นอกจากนั้นผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงและการศึกษาน้อยก็มีการแบ่งค่ายอย่างชัดเจนอีกด้วย

    อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/647187
     
    อู๋ คาลบี้ และ Anduril ถูกใจ.
  48. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    นี่คนอังกฤษ แอบมาดูงาน ของ คนนปช. เผาไทย ตั้งแต่เมื่อไหร่
     
    หนูอ้อย likes this.
  49. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    เพิ่งรู้ว่า อังกฤษ อยู่ในกลุ่ม ยูโรโซน

    ปล่อยไก่!!'ยิ่งลักษณ์'โพสต์ 'ยูเค'ประชามติออกจาก'ยูโรโซน'
    26 มิ.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (27 มิ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก "Yingluck Shinawatra" และทวิตเตอร์ @PouYingluck ถึงการลงประชามติเกี่ยวกับการตัดสินใจออกจาก "สหภาพยุโรป (อียู)" ของสหราชอาณาจักร ที่เพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา

    แต่ปรากฎว่าตอนหนึ่งของโพสต์ดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับระบุว่าการลงประชามติดังกล่าว เป็นการตัดสินใจออกจาก "ยูโรโซน" ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความคาดเคลื่อน เนื่องจากข้อเท็จจริงคือ สหราชอาณาจักร ไม่เคยอยู่ในยูโรโซน ซึ่งหมายถึงไม่เคยใช้สกุลเงินยูโร แต่ใช้สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ กระทั่งต่อมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แก้ไขข้อความที่คาดเคลื่อนดังกล่าวเป็นข้อความที่ถูกต้อง

    5(2647).jpg
     
    por, อู๋ คาลบี้ และ Anduril ถูกใจ
  50. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    อย่าเอาอย่างเขา ..

    SURIN240659.jpg
    ภาพดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน

    "อาเซียนไม่ได้รวมตัวกันแนบแน่นเหมือน EU ผมพูดอยู่เสมอว่า EU เป็นแค่แรงบันดาลใจ แต่ไม่ใช่ตัวอย่างให้เดินตาม"


    ดร.สุรินทร์
    ระบุกับสื่อมวลชนภายในงานครบรอบ 36 ปี สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ณ โรงเเรมเอเชีย ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษเป็น 1 ใน 6 ของ EU เพราะฉะนั้นการขอถอนตัวจึงมีผลกระทบกระเทือนพอสมควร

    ขณะเดียวกัน EU เป็นแหล่งเงินทุนในอาเซียนอันดับ 1 มานาน และเป็นตลาดใหญ่อันดับ 3 ของอาเซียน จึงมีผลกระทบกระเทือนกับอาเซียนในระยะเวลาหนึ่งด้วย

    “ความไม่แน่นอนนี้ ทำให้อนาคตอาจมีอีกหลายประเทศลุกขึ้นมาแสดงเจตจำนงขอถอนตัวจาก EU เช่นกัน” อดีตเลขาธิการอาเซียนกล่าว และว่า ส่วนอังกฤษกำลังเกิดประเด็นสก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์ขอแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร เนื่องจากทั้งสองประเทศลงเสียงประชามติขออยู่ต่อใน EU

    สำหรับไทยควรมีแนวทางการรับมือผลกระทบอย่างไร ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า ช่วง 1-2 วันนี้ ยังคงมีอาการช๊อกเกิดขึ้น แต่ไทยต้องมุ่งมั่นในเรื่องการสร้างความสามารถทางการแข่งขันภายในประเทศโดยเฉพาะความสามารถในการผลิต การลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ที่สำคัญ ไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของอาเซียน จากที่จะต้องเป็นประเทศรับผลกระทบอันดับ 2 เราน่าจะทำให้เป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากเงื่อนไขต่างๆที่เกิดขึ้นในตอนนี้มากกว่า และต้องสร้างความเป็นเอกภาพคืนสู่กระบวนการประชาธิปไตย เมื่อเกิดสิทธิเสรีภาพ ประชาคมโลกจะมีความมั่นใจ

    อย่างไรก็ตาม เวลา 2 ปีหลังจากนี้ ที่กระบวนการขอถอนตัวจาก EU ของอังกฤษจะเสร็จสิ้น ไทยยังมีเวลาสร้างความพร้อม แต่ต้องรีบมุ่งมั่น และไม่ทะเลาะกัน

    ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สอบถามเพิ่มเติมต่อความกังวลอาเซียนจะเกิดกรณีเดียวกับ EU ในอนาคต อดีตเลขาธิการอาเซียน ตอบว่า อาเซียนไม่ได้รวมตัวกันอย่างแนบแน่นเหมือน EU ซึ่งตนเองพูดอยู่เสมอว่า EU เป็นแรงบันดาลใจ แต่ไม่ใช่ตัวอย่างให้เดินตาม

    แม้ปัจจุบันอาเซียนจะไม่มีประสิทธิภาพดังใจมากนัก แต่ยืนยันว่าสามารถประคับประคองให้อยู่ร่วมกันได้ อีกทั้งประเทศคู่เจรจาอื่นเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ต่างพอใจที่จะเข้าร่วมกับอาเซียน จึงควรพยายามทำให้เรื่องการค้าการลงทุนมีความสะดวกราบรื่นยิ่งขึ้น

    “อาเซียนมิได้ถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยเหมือน EU ที่ถ่ายโอนไปยังกรุงบรัสเซลส์ และทุกประเทศต้องปฏิบัติตามมติเหมือนกัน ซึ่งทำให้หลายประเทศใน EU เกิดความรู้สึกว่า ไม่ได้รับผลประโยชน์”

    ดร.สุรินทร์ บอกต่อว่า สมาชิกอาเซียนจึงต้องเร่งปรับเปลี่ยนและยกระดับมาตรฐานต่าง ๆ ภายในของตนเอง แต่จะไม่กำหนดจากศูนย์กลาง ขณะนี้หลายประเทศกำลังมองหาแหล่งฝากทุนหรือทรัพย์สิน ซึ่งเงินสกุลเยนของญี่ปุ่นกำลังได้รับความสนใจ เพราะมั่นคงและมีเสถียรภาพ จึงแย่งกันนำเงินไปฝากมากขึ้น เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาอยู่

    “อาเซียนรวมตัวกันก้าวหน้าพอสมควร ประกอบกับเคยมีประสบการณ์จากการร่วมมือแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในอดีต ถือเป็นการช่วยเหลือกันมา ประคับประคองกันมา และเป็นแรงผลักดันที่ดีให้ทุกประเทศหันหน้าเข้าหากัน ทำให้เกิดการลงทุนในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ” อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าว
    http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-talk-interview/item/47959-ukeu_47959.html
     
    อู๋ คาลบี้, conservative, Anduril และอีก 1 คน ถูกใจ.

Share This Page