เครื่องบิน AP-3C ของออสเตรเลียจับสัญญาณวัตุบางสิ่ง ใต้น้ำลึก 700miles บริเวณ Pangkalan Bun ห่างจากจุดที่ได้รับสัญญาณของ QZ8501 ครั้งสุดท้าย 1,120 km. NewsFirst @newsfirstlive 2 นา2 นาทีที่ผ่านมา 'Something’ Spotted in Waters 700 Miles From Last Known #QZ8501 Position. Indonesia air force can’t confirm if sighting in #AirAsia debris.
^^รายงาน Flight close แล้วที่ 09:3916 น. ระบุ no-shows 23 คน ^^อีกตัวอย่างของ ReportOutput ของ8501ที่หลุดออกมา ระบุวันที่ 20141228 เวลา 10:3621 น. ช่องแรกเป็นชื่อคน คอลัมน์ 3 เป็นวันที่จองตั๋ว เช่น 01Mar14 12Sept14 13Oct14 ส่วนคอลัมน์ถัดไปเช็คอินที่นั่งเช่น 15B 2E 1E 1F .. เพิ่มภาพประกอบสำหรับผู้ติดตามข่าว
CNBCWorld @CNBCWorld 1m1 minute ago Indonesian TV shows footage of objects in water, which may be part of missing AirAsia #QZ8501 http://cnb.cx/1vo6swY
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งครับ ทางการอินโดนีเซีย พบซากชิ้นส่วนเครื่องบินแอร์เอเชีย QZ8501 ตกลงกลางทะเลชวา ขณะมีศพลอยอยู่จำนวนมาก - จนท.ลุยหาคนรอด ทางการอินโดนีเซีย แถลงข่าวยืนยัน เศษชิ้นส่วนต้องสงสัย ที่พบในทะเลชวา เป็นของเครื่องบิน QZ8501 ที่สูญหาย ภายหลังจาก ทีมกู้ภัย รายงานว่า ได้พบวัตถุคล้ายประตูผู้โดยสาร และประตูสินค้า ในทะเล ห่างจากเกาะกาลิมันตัน ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 160 กิโลเมตร เเละ พบศพ เสื้อชูชีพ กระเป๋าเดินทาง และเศษซากต่างๆ จำนวนมาก ที่บริเวณใกล้ชายฝั่งเกาะกาลิมันตัน ด้วย ล่าสุด กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่า จะมีผู้รอดชีวิตหรือไม่ ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้เร่งกู้ร่างผู้เสียชีวิตแล้ว และส่งทีมค้นหาผู้รอดชีวิต คัดลอกบทความมาจาก sanook.com
http://www.komchadluek.net/detail/20141229/198543.html มีรายงานว่านาย อารี ปุโตร คาห์โยโน่ ชาวอินโดนีเซีย และสมาชิกในครอบครัวอีก 9 คน ไม่ได้เดินทางไปกับ QZ8501 เพราะตกเครื่อง เนื่องจากไม่ได้อ่านอีเมลของทางแอร์เอเชีย ที่แจ้งเตือนเรื่องการเปลี่ยนเวลาการออกเดินทาง คนทั้ง 10 มาถึงสนามบินนานาชาติ จูอันดา เวลา 5.20 น. หรือ 10 นาทีหลังจากที่เครื่องบิน บินออกไปแล้ว แต่เดิมเที่ยวบินนี้มีกำหนดออกเดินทาง 7.20 น. แต่ครอบครัวนี้ไม่ได้เปิดอ่านอีเมลที่ทางสายการบินส่งมา ก็เลยมาสาย ซึ่งทางสายการบินก็เสนอให้ครอบครัวนี้บินในเที่ยวบินถัดไป แต่หลังจากที่ได้รับแจ้งว่าเที่ยวบิน QZ8501 ขาดการติดต่อ ครอบครัวนี้่ก็ตัดสินใจยกเลิกการเดินทางไปเลย แอร์เอเชียซึ่งไม่เคยมีปัญหาเครื่องบินประสบอุบัติเหตุ บอกว่า เครื่องบินลำที่หายเพิ่งได้รับการซ่อมบำรุงเมื่อ 16 พ.ย.2557 แอร์เอเชียเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของมาเลเซีย และหลังเกิดอุบัติเหตุทำให้หุ้นของบริษัทร่วงไป 11.6% แล้ว ผู้เชี่ยวชาญการบินระบุอาจบินด้วยความเร็วที่ช้าเกินไป ผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน ระบุว่าก่อนที่จะสูญหายไป เที่ยวบิน QZ8501 ทำการบินด้วยความเร็วราว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าช้าเกินไปสำหรับเพดานบินของเครื่องบิน จอฟฟรี่ โธมัส ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินบอกว่า นักบินคงจะเผชิญกับสภาพอากาศเลวร้าย และก็พยายาม หลีกเลี่ยงมัน โดยการบินขึ้นสูง แต่เครื่องบิน ก็บินช้าเกินไป ซึ่งความเร็วในระดับดังกล่าวถือว่าอันตรายมาก เขาบอกว่านักบินที่เขาได้พูดคุยหลายคน เชื่อว่าลูกเรือของ QZ8501 คงพยายามเลี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง โดยการไต่ระดับความสูง แต่การที่พวกเขาบินด้วยความเร็วที่ช้าเกินไป นำไปสู่ปัญหาทางด้านแอโรไดนามิก แบบเดียวกับกรณีเครื่องบิน Air France เที่ยวบิน AF447 ที่ตกเมื่อปี 2552 ระหว่างบินจากบราซิลมาฝรั่งเศส ในครั้งนั้น ระบบเรด้าร์ของเครื่องบิน Airbus 330 ของ Air France ตรวจไม่พบพายุ ใหญ่ที่ซ่อนอยู่หลังพายุเล็ก ครื่องบินจึงพยายามบินขึ้นสูงเพื่อให้อยู่เหนือพายุ แต่เครื่องต้องเจอกับปรากฏการณ์น้ำเย็นจัด ทำให้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า pitot tubes ซึ่งทำหน้าที่วัดความเร็วอากาศเกิดน้ำแข็งเกาะ นักบินจึงต้องปลอดระบบ auto thrust และ auto speed correction และเนื่องจากการตกหลุมอากาศอย่างแรก กับความสับสนเรื่องการอ่านค่าความเร็วอากาศ ทำให้นักบินทำความผิดพลาดครั้งใหญ่ โดยการลดความเร็วเครื่องบินลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ที่จะทำให้เครื่องบนลอยอยู่ได้ มันจึงตกลงสู่มหาสมุทร โธมัสบอกว่า นักบินเครื่องบินฝรั่งเศสคงจะปลดระบบ autopilot ในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด ทำให้นักบินมีความ กดดันเมื่อต้องตรวจสอบค่าต่างๆด้วยตัวเอง ในช่วงที่ค่าความแตกต่างแม้เพียงเล็กน้อย มีความหมายระหว่าง ความเป็นกับความตาย และเขาก็คิดว่า นักบินของเที่ยวบิน AirAsia QZ8501 ก็คงจะเจอกับชะตากรรมเดียวกัน สำหรับระบบเรด้าร์อย่างดี ที่ใช้ตรวจจับพายุนั้น มีใช้กันมาตั้งแต่ปี 2545 โดยสายการบินแควนตัส แต่สำหรับเครื่อง A320 เพิ่งได้รับอนุญาตให้ติดตั้งในปีหน้าเท่านั้น และเมื่อยังไม่มีระบบดังกล่าว ตามปกติ นักบินก็จะใช้ระบบ manual ซึ่งก็คือก็คือการต้องดูเอาเองว่าที่ฐานของ พายุว่ามีความชื้นและฝนเข้มข้นขนาดไหน จากนั้นก็ตัดสินใจเอาเองว่ามันเลวร้ายขนาดไหน ซึ่งการทำงานในระบบนี้ มันมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ และมันก็เคยเกิดขึ้น .. http://www.posttoday.com/รอบโลก/ข่า...ผู้โดยสารแอร์เอเชีย-ลอยเกลื่อนกลางทะเล-มีคลิป
เห็นข่าวหลายๆ สำนักรายงานว่าตอนนี้เจอจุดตกและกำลังเริ่มกู้ศพผู้เสียชีวิตขึ้นมา คาดว่าน่าจะเสียชีวิตทั้งหมด โอกาสรอดแทบไม่มีเลย
เริ่มพบศพแล้วครับ ขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียครั้งนี้ด้วย เหตุการณ์แบบนี้ คนที่ทุกข์ทรมานที่สุดคงไม่พ้นญาตๆ ที่ได้แต่รอวันคืนผ่านไป โดยไม่รู้เลยว่าชะตากรรมของคนในครอบครัวเป็นเช่นไร http://edition.cnn.com/2014/12/30/world/asia/airasia-missing-plane/index.html?hpt=hp_t1
Pictures released from the tail part of Flight #QZ8501 found by Indonesia searchers in the Java sea.1:01 PM - 7 Jan 2015 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าทางการอินโดนีเซียเปิดเผยอย่างไม่เป็นทางการว่า ได้ค้นพบวัตถุที่น่าจะเป็นซากของเครื่องบินสายการบินแอร์เอเชียเที่ยวบินที่ QZ8501 ซึ่งประสบเหตุตกและจมน้ำในทะเลชวา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตและเครื่องบินผ่านมา 10 วัน หลังจากความพยายามหย่อนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บกู้ซากเครื่องบินลงไปในจุดที่ค้นพบซากห่างจากชายฝั่งเกาะบอร์เนียว 90 ไมล์ทะเลอยู่หลายครั้ง ล่าสุดเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าสามารถค้นพบซากเครื่องบินแอร์เอเชียในส่วนของหางเครื่องบิน โดยกล้องใต้น้ำที่ติดอยู่ที่อุปกรณ์ได้ส่งภาพกลับมาถึงเจ้าหน้าที่ เปิดเผยให้โลโก้แอร์เอเชียอย่างชัดเจน ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ยังพยายามจะเก็บกู้ซากเครื่องบินขึ้นมาท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะสภาพอากาศที่แปรปรวนทุกชั่วโมง ซึ่งซากส่วนหางของเครื่องบินจะเป็นกุญแจสำคัญที่ไขปริศนาของโศกนาฏกรรมครั้งนี้เนื่องจากบรรจุกล่องดำเอาไว้ โดยทางการอินโดนีเซียน่าจะมีการแถลงชี้แจงเกี่ยวกับการค้นพบครั้งนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากโศกนาฏกรรม เที่ยวบิน QZ8501 ผ่านไป 10 วัน ยังไม่พบผู้รอดชีวิตแต่อย่างใด ขณะที่ตัวเลขศพผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 41 ศพ ซึ่งทยอยลำเลียงกลับเมืองสุราบายาอย่างต่อเนื่องเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและส่งมอบให้ญาติต่อไป http://news.sanook.com/1726993/
ซากส่วนหางของเครื่องบินจะเป็นกุญแจสำคัญที่ไขปริศนาของโศกนาฏกรรมครั้งนี้เนื่องจากบรรจุกล่องดำเอาไว้ และต้องรีบทำงานเพราะกล่องดำจะส่งสัญญาณขึ้นมาได้นานประมาณ 30 วัน (อายุของแบตเตอรี่) หลังถูก activated ด้วยการถูกน้ำ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=14723 Cockpit Voice Recorder (CVR) และFlight Data Recorder (FDR) คืออุปกรณ์ในกล่องดำที่ท่อนหาง (ตามรูป) มีเครื่องบันทึกในกล่องที่ประกอบด้วยเครื่องแจ้งตำแหน่งใต้น้ำ (Underwater Locator Beacon - ULB) หรือที่เรียกว่า "pinger" เพื่อช่วยการค้นหา pingerจะทำงานเมื่อเครื่องจมน้ำโดยจะส่งคลื่นเสียงความถี่ 37.5 kHz ออกจากอุปกรณ์ตลอดเวลา อุปกรณ์นี้สามารถส่งสัญญาณได้จากความลึกถึง 14,000 ฟุต หน่วยกู้ภัยจะใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า Pinger Locator System (PLS) ลากไปในน้ำเพื่อรับสัญญาณจาก "pinger" เพื่อค้นหาตำแหน่งของ "กล่องดำ"เมื่อพบกล่องดำแล้ว เจ้าหน้าที่จะขนส่งอย่างระมัดระวัง เพื่อนำไปเข้ากระบวนการตรวจสอบ โดยคงสภาวะเดิมให้มากที่สุด หากค้นพบในน้ำ...เครื่องบันทึกจะถูกส่งไปในถังบรรจุพร้อมกับน้ำ เพราะหากเครื่องบันทึกแห้งลง ข้อมูลอาจสูญเสียไปได้ ^^ แม้อุปกรณ์จะถูกเรียกว่า "กล่องดำ" แต่ตัวกล่องจริงจะมีสีแสดสะดุดตาเพื่อช่วยให้สังเกตง่าย เหตุที่เรียกว่า "กล่องดำ" อาจจะเป็นเพราะ อุปกรณ์นี้มีสีดำในรุ่นแรกๆ หรือเรียกตามสภาพที่ดำเกรียมหลังจากถูกเผาไหม้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ อุปกรณ์ที่จะต้องคงสภาพมากที่สุดคือส่วน Crash-Serviable Memory Unit (CSMU) ของ CVR และ FDR แม้ตัวกล่องและส่วนประกอบอื่นๆ จะเสียหาย ดังนั้นอุปกรณ์นี้จะต้องได้รับการออกแบบให้ทนความร้อน ทนแรงกระแทก และแรงกด โดยผ่านการทดสอบต่อไปนี้ - ยิงอุปกรณ์นี้ให้กระทบเป้าอลูมิเนียมเพื่อให้เกิดแรงกระแทก 3,400 G (แรงโน้มถ่วงของโลก = 1 G) - ทดสอบความทนต่อการเจาะ โดยปล่อยก้อนน้ำหนักขนาด 500 ปอนด์ (227 กิโลกรัม) ที่มีเข็มเหล็กขนาด 0.25 นิ้ว อยู่ด้านล่าง ให้กระทบลงบนCSMU จากความสูง 10 ฟุต (3 เมตร) - ทดสอบด้วยแรงกด 5,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 5 นาที บนทุกด้านของ CSMU - เผาด้วยความร้อน 2,000 oF (1,100 oC) นาน 1 ชั่วโมง - แช่ในน้ำเค็มนาน 24 ชั่วโมง - แช่น้ำนาน 30 วัน - ทดสอบความทนทานต่อของเหลวอื่นๆ เช่น เชื้อเพลิงเครื่องบิน นำมันหล่อลื่น และสารเคมีดับเพลิง ด้วยอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ที่สลับซับซ้อน ข้อมูลที่บันทึกไว้จะได้รับการแปลงรูปแบบให้สามารถเข้าใจง่าย เพื่อนำไปประกอบกับหลักฐานอื่นๆในการพิจารณาสาเหตุที่แท้จริงของการตกของเครื่องต่อไป หากเครื่องบันทึกไม่เสียหายมากนัก ผู้สอบสวนเพียงต่อเครื่องบันทึกเข้ากับเครื่องอ่านก็จะทราบข้อมูลได้ภายในสองสามนาที แต่บ่อยครั้งพบว่าเครื่องบันทึกที่ค้นหาได้จากซากเครื่องบินจะบุบสลายและถูกเผาไหม้ ในกรณีเช่นนี้แผงหน่วยความจำจะถูกถอดออกมาทำความสะอาด และเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องบันทึกอีกเครื่องหนึ่งที่มี software พิเศษที่สามารถถ่ายเทข้อมูลได้ โดยไม่มีการเขียนทับหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆทั้งสิ้น
http://www.innnews.co.th/mobile/show?newscode=591377 อินโดฯพบกล่องดำบินQZ8501แล้วติดซากใต้น้ำ-รอกู้ ข่าวต่างประเทศ วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ.2558 21:56 น. ทีมค้นหาอินโดนีเซีย พบกล่องดำ QZ8501 ติดซากชิ้นส่วนเครื่องบินแอร์เอเชียใต้ทะเลลึกราว 30 เมตร รอเก็บกู้ต่อพรุ่งนี้ สื่อต่างประเทศรายงาน ทางการอินโดนีเซีย รายงานปฏิบัติการค้นหาซากเครื่องบินแอร์เอเชีย แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ QZ8501 ที่ประสบอุบัติเหตุร่วงตกลงกลางทะเลชวา พร้อมลูกเรือทั้งหมด 162 คน เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมปีที่ผ่านมา ล่าสุด พบที่ตั้งของกล่องดำบันทึกเสียง ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่จะสามารถนำไปสู่การตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเจ้าหน้าที่ค้นหาจะพบกล่องดำที่ตามหาแล้ว แต่ล่าสุดยังไม่สามารถนำออกจากซากของเครื่องบินลำดังกล่าวได้ เนื่องจากติดอยู่ในซากที่อยู่ใต้น้ำลึกกว่า 30 เมตร ขณะเดียวกันการเก็บกู้ซากเครื่องบินและร่างผู้โดยสารที่เสียชีวิตยังคงเดินหน้าต่อไป ซึ่งทีมค้นหาสามารถดึงร่างผู้เสียชีวิตขึ้นจากผิวน้ำได้แล้ว 48 ราย จากทั้งหมด 162 ราย
http://www.komchadluek.net/detail/20150113/199386.html ...CVR จะถูกส่งไปในถังบรรจุพร้อมกับน้ำ เพราะหากแห้งลง ข้อมูลอาจสูญเสียไปได้ ^^ นี่คือระเบียบปฏิบัติตัดมาจากคู่มือ accident investigation manual ของ NTSB เกี่ยวกับการเก็บกู้กล่องดำส่วนที่เป็น CVR ( Cockpit Voice Recorder ) มีการกำหนดไว้ในข้อ 4.5 เครื่องของเมกาส่งกล่องดำตรวจที่ NTSB ส่วนของอินโดน่าจะสอบสวนในอินโดเอง ในไทย..หน่วยงานที่รับผิดชอบของไทยคือกรมการขนส่งทางอากาศ