80ปี จุดเริ่มสู่ประชาธิปไตยแบบไทย อยู่ในใจประชาชน.......

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย hey guys, 18 ต.ค. 2015

  1. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    เมื่อประชาธิปไตย ไม่นำความสุขสู่ประชาชน
    เราบอกไม่ได้ว่าเป็นความผิดของประชาชน
    ประชาธิปไตยในใจประชาชน จึงเกิดจาก
    ประชาธิปไตยที่คืนความสุขให้ประชาชน

    .................................................

    สภาพการณ์ทางการเมืองไทย ก่อน พ.ศ. 2500
    ภายหลังการเปลี่ยนแปลง 2475 อำนาจทางการเมืองได้เปลี่ยนจากฝ่ายเจ้าไปสู่คนกลุ่มใหม่ ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการทหารและพลเรือน ซึ่งเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร์" เป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบบประชาธิปไตยตามแบบตะวันตก
    ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในระยะนั้นได้แก่ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งในระยะแรกได้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันเป็นอย่างดีในการโค่นล้ม "ระบบเก่า" แต่ภายหลังได้เกิดความขัดแย้งในแนวความคิดในประเด็นสำคัญ ฝ่าย หลวงประดิษฐ์มนูธรรมนั้นเชื่อมั่นอยู่ในแนวความคิดที่ว่า การปกครองต้องตั้งอยู่บนรากฐานแห่งกฎหมาย ส่วนจอมพล ป. พิบูลสงครามมีความเลื่อมใสในขบวนการฟาสซิสต์แบบเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น ความแตกแยกอันนี้เริ่มชัดเจนและรุนแรงขึ้น ในตอนปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยอมให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในขณะที่หลวงประดิษฐ์ฯ หันไปร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตร
    อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามอำนาจของกลุ่มทหารบกถูกตัดลงจากข้อเรียกร้องของ
    รัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศส และกลุ่มพลเรือนผู้มีหน้าที่ในการบริหารประเทศภายหลังสงคราม
    ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้มีการปลดทหารออกเป็นจำนวนมาก ปัญหาการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การรัฐประหารโดยคณะทหารเมื่อปี 2490 และอีก 4 ปี หลังจากนั้น กลุ่มรัฐประหาร 2490 ก็สามารถทำลายอิทธิพลของกลุ่มพลเรือน ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกเสรีไทยและบรรดานายทหารในกองทัพเรือบางส่วนที่สนับสนุนหลวงประดิษฐ์ฯ
    ในงานของทักษ์ เฉลิมเตียรณ ชี้ว่า ผู้นำในกลุ่มรัฐประหาร 2490 นี้แตกต่างไปจากผู้นำ 2475 ในแง่ที่ว่า พวกเขาเหล่านั้นส่วนมากเป็นนายทหารบกและเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ดังนั้นความรู้ความเขัาใจต่อระบบการเมืองของผู้นำกลุ่มนี้ จึงเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ประสบการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความเชื่อมั่นหรือซึมซาบต่อระบอบประชาธิปไตยตามแบบตะวันตกเช่นเดียวกับผู้นำรุ่น 2475 เคยเป็น ทักษ์ได้ชี้ให้เห็นต่อไปอีกว่า จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการสังเคราะห์อุดมการณ์ทางการเมืองแบบ "พ่อขุน" ของจอมพลสฤษดิ์ในเวลาต่อมา ดังนั้นเมื่อถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ความหมายของประชาธิปไตยจึงถูกจำกัดลงเหลือเพียง "ประชาธิปไตยแบบไทย" เท่านั้น

    การรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ซึ่งเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 2 ของจอมพลสฤษดิ์ แต่นับเป็นการรัฐประหารครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะการรัฐประหารครั้งนี้มีผลทำให้การเมืองการปกครองไทยต้องเข้าสู่รูปแบบของเผด็จการอำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นเวลานานถึง 15 ปี และทำให้ทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารบก มีบทบาทอย่างสูงต่อการเมืองการปกครองไทยในระยะเวลาต่อมา
     
    อาวุโสโอเค, conservative, bookmarks และอีก 1 คน ถูกใจ.
  2. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    สาเหตุของการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้จอมพลสฤษดิ์เข้าทำรัฐประหารในครั้งนี้ พอจะสรุปได้ 4 ประการ
    หลัก ๆ ด้วยกันคือ
    1. ความไม่พอใจต่อระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยตะวันตก โดยอ้างว่าไม่
    เหมาะสมกับประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ว่า
    "ในเวลาทำรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน 2500 นั้น มิได้มีการแก้ไขรูปแบบการปกครองบ้านเมืองใหม่ คงปล่อยให้ดำเนินการตามแบบเดิม กล่าวคือ ยังคงมีรัฐสภา มีพรรคการเมือง ให้เสถียรภาพหนังสือพิมพ์ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างเต็มที่และกว้างขวาง มีสหพันธ์และสหบาลกรรมกรที่ชอบหยุดงานและสไตรค์เมื่อไม่พอใจนายจ้าง เหล่านี้เป็นต้น… ที่ร้ายที่สุดก็คือ ผู้แทนราษฎรทั้งหลายพยายามแก่งแย่งชิงกันเป็นรัฐมนตรีและข้าราชการการเมือง โดยขู่รัฐบาลว่า ถ้าไม่แต่งตั้งแล้วก็จะถอนตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาล พากันไปตั้งพรรคฝ่ายค้านขึ้นใหม่ ในที่สุดมีความเห็นพ้องกันว่า จะต้องใช้วิธีปฏิวัติหรือผ่าตัดขนาดใหญ่ จึงจะสามารถแก้ปัญหาของประเทศชาติขณะนั้นได้.."
    2. ฐานะการคลังของรัฐบาล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐบาลชุด พล.ท.ถนอม กิตติ
    ขจร ต้องเผเชิญกับวิกฤตการณ์ทางด้านการคลัง กล่าวคือ งบประมาณประจำปี 2500 ขาดดุลอยู่ถึงกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ได้พูดถึงประเด็นนี้ว่า
    "…สมัยก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติ ชาติที่รักของเราต้องตกอยู่ในสภาวะที่คับขันเพียงใด
    ฐานะทางการเงินการคลังของประเทศต้องทรุดลงไปอย่างหนักยิ่ง รัฐบาลต้องตกเป็นลูกหนี้ธนาคารแห่งชาติ ถึง 1,507 ล้านบาทเศษ"
    ทางออกของรัฐบาลก็คือ การขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเพื่อสนับสนุนโครงการด้านเศรษฐกิจทั้งหมดใน พ.ศ. 2501 - 2502 เป็นเงิน 58.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
    3. ภัยคอมมิวนิสต์ จอมพลสฤษดิ์มองว่า ภัยจากคอมมิวนิสต์เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และอาจเป็นไปได้ที่ว่า การอ้างการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามนักการเมืองตลอดจนปัญญาชนที่เป็นฝ่ายตรงข้าม โดยจอมพลสฤษดิ์ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า

    "…ที่ร้ายยิ่งกว่านั้น คอมมิวนิสต์ได้โหมปฏิบัติการอย่างกว้างขวางเพื่อแทรกซึมเข้าไปในวงการต่าง ๆ เพื่อล้มล้างสถาบันอันศักสิทธิ์ของชาติเราคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างน่าห่วงใยและผู้แทนราษฎรหลายคนได้ยอมขายตนเป็นเครื่องมือของลัทธินี้อย่างเปิดเผย…"
    ในขณะเดียวกันนั้น สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยรัสเซียและฝ่ายโลกเสรีนิยมที่นำโดยอเมริกา มีการทำสงครามเย็นกันอย่างกว้างขวางทั่วไป
    .4. สภาพการณ์โดยทั่วไปของสังคมไทย เช่น การอพยพเข้าสู่เมืองหลวงของชาว
    ชนบทจากภาคอีสานอันเนื่องมาจากภาวะฝนแล้งอย่างหนัก โดยที่รัฐบาลก่อน คือ จอมพล ป. ไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ผู้ที่อพยพเข้าสู่เมืองได้มีส่วนทำให้เกิดปัญหาสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ชายจากชนบทส่วนมากเข้าเมืองและประกอบอาชีพถีบสามล้อ ซึ่งจอมพลสฤษดิ์มองว่าทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากไม่ทำให้เกิดผลผลิตและสร้างความเสื่อมโทรม ไม่เป็นระเบียบ โดยกล่าวว่า
    "…ปัญหาใหญ่อยู่ที่ว่า ชายฉกรรจ์ชาวหัวเมืองในชนบทของเราเป็นจำนวนหมื่นจะละทิ้งงานผลิต คือ เกษตรกรรม มาทำงานที่ไม่ผลิต เช่น การขับขี่สามล้อนั้น เป็นการเสื่อมเสียทางเศรษฐกิจปรากฏแก่กระทรวงมหาดไทยว่า ผู้ประกอบอาชีพทางถีบสามล้อนั้นลงท้ายกลายเป็นคนติดฝิ่นไปเป็นจำนวนไม่น้อย…"
    เมื่อจอมพลสฤษดิ์ขึ้นสู่อำนาจแล้ว ก็ให้ยกเลิกอาชีพสามล้อ และให้ผู้ประกอบอาชีพนี้กลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิมหรือจัดสรรที่ดินทำกินให้ในรูปของนิคมประชาสงเคราะห์
    ภายหลังการทำรัฐประหารแล้วจอมพลสฤษดิ์ ก็ขึ้นสู่อำนาจสูงสุดในนามของหัวหน้าคณะปฏิวัติและนายกรัฐมนตรี และได้อาศัยอำนาจเด็ดขาดตามมาตรา 17 จัดการกับปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนทำการกวาดล้างผู้ที่จอมพลสฤษดิ์เห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือเป็นปฏิปักษ์ทางการเมือง ตลอดจนปัญญาชน นักคิด นักเขียน เป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่า ภายใต้แนวความคิดเรื่องความเด็ดขาดต่อผู้กระทำความผิดนี้ ได้กลายเป็นเครื่องมือในการสร้างความสะพรึงกลัวแก่ประชาชนทั่วไป และในหลายกรณีได้มีผู้ซึ่งกลายเป็นเหยื่อทางการเมือง หรือนัยหนึ่งแพะรับบาป ไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนมากจะเป็นบรรดาคนจีน
     
    อาวุโสโอเค และ bookmarks ถูกใจ.
  3. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    อ่านต่อได้ที่ //bbs.playpark.com/topic/45898-ระบบการเมืองและการปกครองสมั/
    เพราะมันยาวมาก

    จากวันนั้น สิ่งที่ตกผลึกมาถึงทุกวันนี้
    คือแนวทางประชาธิปไตยที่ต้องยึดโยงความสุขของประชาชน คืนความสุขของประชาชน
    ถ้ามันไม่ยอมให้ถูกเรียกว่าประชาธิปไตยแบบสากล (ทำซากไร)
    แล้วไง
    เรียกมันว่า ประชาธิปไตยแบบไทย
    คิคิ
     
  4. stormtrooper

    stormtrooper อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    20 Jan 2015
    คะแนนถูกใจ:
    310
    กระทู้ล่อเป้า ฝ่ายลิ่วล้อไอ้แม้วมันทำอะไรโง่ ๆ ฝ่ายนี้ก็ไม่แพ้กัน
    ระบอบสฤษดิ์มันมีจุดอ่อนมากมาย โดยเฉพาะตัวผู้นำที่เน่าเฟะ มักมากในกาม หลังจากตายไปปรากฏว่ามีทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบมากมาย จนต้องถูกยึดทรัพย์ (เหมือนไอ้แม้ว) รวมถึงการสร้างระบอบอุปถัมภ์จนเฟื่องฟูในสังคมไทย จนเป็นหนามยอกอกมาจนถึงบัดนี้
     
    อู๋ คาลบี้, Alamos และ hey guys ถูกใจ
  5. stormtrooper

    stormtrooper อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    20 Jan 2015
    คะแนนถูกใจ:
    310
    เป็นตัวอย่างที่เลวทรามบัดซบเหลือที่จะกล่าว :D
     
  6. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  7. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    รบ.สฤษดิ์ หรือ อเมริกาล่ะครับ


    42 ปีที่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

    ซึ่งสุดแท้จะเรียกขานกันว่า “ตุลาวิปโยค” หรือ “ปฏิวัติเดือนตุลา”

    อีกด้านหนึ่ง เหตุการณ์ 14 ตุลา คือความขัดแย้งภายใน “กลุ่มขุนศึก” ผู้ถืออำนาจปกครองบ้านเมือง ณ เพลานั้น

    ตอนเกิดเหตุตำรวจจับนักศึกษา ตามมาด้วยการชุมนุมใหญ่ เดินขบวน และจบด้วยการจลาจลนองเลือด ระหว่างวันที่ 9-15 ต.ค. 2516 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพิ่งจบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ และสอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12

    เชื่อว่า ตอนนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ในวัย 20 ต้นๆ คงไม่ทราบหรอกว่า การแย่งชิงอำนาจภายในกลุ่มขุนศึก ระหว่าง “สองจอมพล” กับ “หนึ่งนายพล” เป็นจุดเปลี่ยนของการจลาจลกลางเมือง

    ตัวละครสำคัญในฝ่ายทหาร พ.ศ.นั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร กับพล.อ.กฤษณ์ สีวะรา

    จะว่าไปแล้ว “สามขุนศึก” ล้วนเติบโตมาจากค่ายสี่เสาเทเวศร์ ของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

    บังเอิญว่า จอมพลสฤษดิ์เสียชีวิตอย่างกะทันหัน อำนาจจึงตกอยู่ในมือจอมพลถนอม โดยมีจอมพลประภาส นั่งเก้าอี้ผู้บัญชาการทหารบก มาตั้งแต่ปี 2509 และ พล.อ.พล.อ.กฤษณ์ เป็นรองผู้บัญชาการทหารบก นานถึง 7 ปี

    พล.อ.กฤษณ์ เติบใหญ่ในกองทัพภาคที่ 1 ตั้งแต่ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ในวันที่จอมพลสฤษดิ์ ก่อการยึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป.พิบูลสงคราม

    การผูกขาดอำนาจของจอมพลถนอม ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควบผู้บัญชาการทหารสูงสุด และจอมพลประภาส ในตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย ควบผู้บัญชาการทหารบก ทำให้นายทหารคนอื่นหมดโอกาสขยับ

    จอมพลถนอม เหมือนรู้สัญญาณว่า 7 ปี ในเก้าอี้ ผบ.ทบ.นานเกินไปแล้ว จึงแต่งตั้ง พล.อ.กฤษณ์ เป็นแม่ทัพบก ตอนปลายเดือนก.ย.2516

    ช่วงที่เกิดจลาจลกลางเมืองในวันที่ 14-15 ต.ค.2516 พล.อ.กฤษณ์ ในฐานะผู้กุมอำนาจกองทัพบก จึงขอให้สองจอมพล พร้อมครอบครัวเดินทางออกนอกประเทศ

    หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ศูนย์อำนาจใหม่จึงอุบัติขึ้น โดยมี พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ.ประจวบ สุนทรางกูร อธิบดีกรมตำรวจ

    พล.อ.กฤษณ์ จึงเป็นผู้ถืออำนาจที่คอยค้ำยันรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์และแอบแฝงสร้างพรรคการเมือง 4-5 พรรค

    หลังเลือกตั้งปี 2518 พล.อ.กฤษณ์ ได้รวบรวมพรรคขนาดกลาง-เล็ก 10 พรรค หนุน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แห่งพรรคกิจสังคม เป็นนายกรัฐมนตรี

    เมื่อเกษียณอายุราชการ พล.อ.กฤษณ์ ยังเล่นการเมืองหลังม่าน เดินเกมเปลี่ยนตัวนายกฯ โดยอาศัย ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และพล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ เป็นตัวประสานพรรคอื่นๆ แต่หม่อมคึกฤทธิ์ รู้ทันเกมอำนาจ จึงชิงประกาศยุบสภา หักหลังฝ่าย พล.อ.กฤษณ์

    การเลือกตั้งเดือนเม.ย.2519 พล.อ.กฤษณ์ หันไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ สกัดหม่อมคึกฤทธิ์จนเป็นผลสำเร็จ แต่ปลายเดือนเดียวกัน พล.อ.กฤษณ์เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เพียงไม่กี่วัน

    อันที่จริง อำนาจในกองทัพเริ่มเปลี่ยน หลังจาก พล.อ.กฤษณ์ เกษียณอายุราชการ ทหารแยกออกเป็นหลายกลุ่ม โดยมีการแทรกแซงกองทัพจาก “ผู้มีบารมีเหนือรัฐ” และรัฐบาลสหรัฐ ที่ไม่ต้องการให้เกิดสงครามปฏิวัติประชาชน เหมือนในลาว กัมพูชา และเวียดนาม

    ความขัดแย้งในหมู่ประชาชน ระหว่างนักศึกษาปีกซ้าย กับมวลชนปีกขวา นับวันทวีความรุนแรงมากขึ้น

    รัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 จึงบังเกิดขึ้น โดยกองทัพแห่งชาติ นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ และ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

    ในปีเดียวกันนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อย จปร. และเป็นนักเรียนนายร้อย จปร.รุ่น 23

    ว่ากันว่า นักเรียนนายร้อยจปร. ทุกรุ่น ต่างยกให้จอมพลสฤษดิ์เป็นไอดอล เพราะเป็นผู้บัญชาการทหารแบบไทยๆ ไม่ได้จบนอกเหมือนจอมพล ป. และได้สร้างวาทกรรม “ประชาธิปไตยแบบไทย” ให้รุ่นน้องได้ยึดถือสืบทอดกันมา

    อีก 40 ปีถัดมา นักเรียนนายร้อย “ประยุทธ์” ก็ได้นำพาชาติไทยไปตามครรลองประชาธิปไตยแบบไทยอีกครั้ง

    - See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635864#sthash.TfRyv6AY.dpuf

    ประชาธิปไตยอย่างไหนคิดว่าดี ว่ามาเฮอะ
    ถ้ายังแกล้งตายกันอยู่ อย่าว่ากันนะ
    ขอมีความสุขแบบประชาธิปไตยแบบไทย นี่แหละ เรื่อยๆไปพลางๆ
    คิคิ
     
    por และ ปู่ยง ถูกใจ.
  8. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
  9. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    กระบวนการประชาธิปไตยพัฒนาคู่ขนานกันไป ระหว่างประชาธิปไตยแบบไทยโดย"เผด็จการทหาร"กับ "ประชาธิปไตยชนชั้น"โดยเผด็จการกรรมาชีพ สอดแทรกด้วยประชาธิปไตยปัญญาชนช่วงระยะเวลาสั้น 14ตค.16 แล้วโดนช่วงชิงการนำไปเมื่อเกิด 6ตค.19

    กระทั่ง ประชาธิปไตยคืนความสุขให้ประชาชนเป็นฝ่ายชนะโดย เปรม ติณสูลานนท์

    วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๖ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ ๒ และขึ้นเป็นแม่ทัพภาพที่ ๒ อัตราพลโท ในปีถัดมา พื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ ๒ คือ ๑๖ จังหวัดในภาคอีสาน ซึ่งขณะนั้นกำลังร้อนระอุด้วยภัยรุกรานจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) มีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท.เป็นแกนนำ ประชาชนเข้าใจว่าสังคมไทยมีชนชั้น และพวกเขาถูกเอาเปรียบ ปลุกปั่นให้ชิงชังในคนของรัฐ และระบอบการปกครองของประเทศ ทั้งสร้างความเชื่อแก่ประชาชนว่าการปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์เท่านั้นที่จะ ช่วยให้พวกเขาอยู่ดีกินดี และหนทางที่จะบรรลุได้ คือ ต้องต่อสู้ ต้องทำสงครามปลดแอกอำนาจรัฐ และนี่คือภาระหนักของนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตย ของชาติ ซึ่งแม้จะผ่านร้อนหนาว ผ่านสมรภูมิมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังมิเคยต้องรบกับคนไทยด้วยกันเอง


    เมื่อรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ ๒ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้เข้าประจำกองบัญชาการส่วนหน้าของกองทัพภาคที่ ๒ ตั้งอยู่ ณ จังหวัดสกลนคร ซึ่งจัดเป็นเขตพื้นที่สีแดง และทำให้ท่านทราบถึงความรุนแรงของสถานการณ์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเพียงวันที่สองที่ท่านไปอยู่ (๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๖) ทหารใต้บังคับบัญชาถูกซุ่มโจมตีตายไปทีเดียว ๒๓ นาย จนโลงศพที่สกลนครแทบไม่พอใส่ เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านเสียใจมาก และตั้งใจว่าต้องทำงานในพื้นที่นี้ต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้ ขณะนั้น ยุทธวิธีที่ใช้ต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) คือวิธีปราบปรามศัตรูของชาติแบบใช้กำลัง หรือที่เรียกกันว่า “แบบทหาร” ซึ่งใช้ในสมรภูมิอื่น ๆ ได้ผลสำเร็จ แต่ครั้งนี้ สถานการณ์กลับตรงข้ามคือ “ยิ่งปราบยิ่งเพิ่ม ยิ่งตียิ่งโต” ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ ทหารไม่ทราบว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นใคร เพราะ ผกค. ไม่แสดงตัว และที่สำคัญ ผกค. ก็คือชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งมีจิตใจฝักใฝ่ปฏิบัติตามแนวทางของ พคท. สิ่งที่สังเกตได้คือ เวลาทหารไปเยี่ยมเยียนชาวบ้าน มักไม่ได้รับการต้อนรับ ทั้งชาวบ้านยังแสดงท่าทีรังเกียจ แต่ฝ่ายทหารก็ไม่ละความตั้งใจที่จะประสานสัมพันธ์ ทั้งที่รู้ว่ากำลังอยู่ท่ามกลางภัยอันตราย หลังจากท่านและผู้ใต้บังคับบัญชา ได้ใช้ความพยายามอยู่เป็นเวลานาน ชาวบ้านจึงเริ่มวางใจ และถ่ายทอดเรื่องราวให้ทราบ ในที่สุด ท่านและนายทหารฝ่ายเสนาธการก็สามารถประมวลสาเหตุหลัก ๓ ประการที่ทำให้คนไทยไปเข้ากับฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือ๑. ความลำบากยากจน๒. ความคับแค้นใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม๓. การถูกกดขี่ข่มเหง และหนทางที่จะมีชัยชนะเหนือ ผกค. ได้ คือ ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป

    “มวลชนเป็นหัวใจของการทำสงครามปลดแอกของ พคท. การปลุกระดมการสร้างแนวร่วม จะนำไปสู่การจัดตั้งกองกำลังอาวุธ โดยอยู่ภายใต้การนำของพรรค ทั้ง ๓ สิ่งนี้ คือ แนวร่วม กองกำลังติดอาวุธ และพรรค ถือว่าเป็นแก้ววิเศษ ๓ ประการ ของ พคท. ในการต่อสู้เพื่อยึดอำนาจรัฐ” ข้อได้เปรียบของพคท. คือมองเห็นปัญหาและเข้าถึงจิตใจชาวบ้านได้ก่อนที่ภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือ และที่สำคัญ ปัญหาบางอย่างเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม กดขี่ รีดไถ เหยียดหยาม ทำให้ชาวบ้านรู้สึกเกลียดชัง และไร้ที่พึ่ง ประกอบกับวินัยที่ผู้ปฎิบัติงานของพคท. นำมาใช้คือ ปฏิบัติการทุกอย่างต้องฟังคำบัญชา ไม่เอาข้าวของประชาชน เคารพและช่วยเหลือประชาชน พูดจาสุภาพ การซื้อขายต้องเป็นธรรม ยืมของต้องคืน ทำของเสียหายต้องชดใช้ ไม่ทำให้พืชผลของประชาชนต้องเสียหาย ไม่ดื่มสุราในเวลาปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดุด่าทุบตีผู้อื่น ไม่ลวนลามสตรี ไม่ทารุณเชลย สินสงครามต้องมอบให้ส่วนรวม ดังนั้น ไม่ว่าทางรัฐบาลจะพยายามโฆษณาชวนเชื่อถึงความเลวร้ายของคอมมิวนิสต์ ก็ยากที่ชาวบ้านจะคล้อยตาม เพราะสิ่งนี้พวกเขาประสบตรงกันข้าม เมื่อเข้าใจสถานการณ์ วิเคราะห์พบสาเหตุ แนวทางแรกที่พลโท เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒ และนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ได้คิดนำมาใช้คือ การดึงมวลชนจาก พคท. มาสู่ฝ่ายรัฐ ซึ่งรวมถึง นักรบ พคท. และ ผู้ให้การสนับสนุน พคท. ด้วย

    http://www.generalprempark.com/content/detail/1/16
     
  10. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    เสี้ยวประวัติศาสตร์ปีกซ้าย(ไทย-จีน)
    เสี้ยวประวัติศาสตร์ปีกซ้าย(ไทย-จีน) : มนุษย์สองหน้า โดยแคน สาริกา
    ดั่งที่ทราบกัน ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน กับราชอาณาจักรไทย เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 โดยสองผู้นำ "โจว เอินไหล" นายกรัฐมนตรีจีน กับ "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช" นายกรัฐมนตรีไทย ได้ร่วมลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของสองชาติ

    จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ความสัมพันธ์ของสองชาติยิ่งนานวันยิ่งแนบแน่น แต่ในมุมของ "ซ้ายไทย" มันเป็นความเจ็บปวดรวดร้าวที่ฝังลึกในจิตใจ เมื่อ "แนวหลังที่ไว้วางใจได้" อย่าง พรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) ตัดสัมพันธ์ และยุติการช่วยเหลือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)

    จุดเปลี่ยนของแนวหลังพังทลายคือ 7 มกราคม 2522 พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (พคว.) ตัดสินใจหนุนแนวร่วมประชาชาติกัมพูชา โค่นล้มรัฐบาลของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือ "เขมรแดง" ที่จีนให้การสนับสนุน จีนจึงก่อสงครามสั่งสอนเวียดนามในเดือนกุมภาพันธ์ 2522

    ระหว่างนั้น พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ดำเนินนโยบายต่างประเทศตามหลักเบญจศีล รักษาดุลยภาพทางความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และจีน

    พลันที่กองทัพเวียดนามนับแสนบุกยึดครองแผ่นดินกัมพูชา พล.อ.เกรียงศักดิ์จึงส่ง "ทูตลับ" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, พล.อ.พัฒน์ อัคนิบุตร และ พล.ท.ผิน เกษร ไปพบกับเติ้ง เสี่ยวผิง โดยมีการเจรจาให้ พคจ.ยุติการสนับสนุน พคท. และเพื่อเป็นการตอบแทน ทางฝ่ายไทยจะสนับสนุนนโยบายของประเทศจีนเกี่ยวกับกัมพูชา

    กล่าวอย่างเป็นรูปธรรม จีนขอใช้ดินแดนไทยลำเลียงอาวุธส่งไปให้เขมรแดง ที่ถอยมาตั้งหลักตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา

    ต่อมานายกฯ เกรียงศักดิ์เดินทางไปเยือนจีน ได้บรรลุข้อตกลงระหว่างไทยกับจีน เรื่องการช่วยเหลือกลุ่มเขมรแดงและเขมรกู้ชาติฝ่ายอื่นๆ ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยเรียกร้องให้จีนปิดสถานีวิทยุของ พคท. ที่ตั้งอยู่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน

    ฝ่ายจีนจึงสั่ง "สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย" (สปท.) ยุติการออกอากาศในวันที่ 11 กรกฎาคม 2522 และตัดความช่วยเหลือทุกด้านแก่ พคท.

    สถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศได้ผันแปรไปอย่างรวดเร็ว "คณะนำ พคท." กลับปรับตัวไม่ทัน และไม่สามารถอธิบาย "ความขัดแย้งในหมู่พรรคพี่น้อง" ได้กระจ่างใจ จึงทำให้ขบวนปฏิวัติในเขตป่าเขาตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย

    ก่อนหน้านั้น "คณะนำ พคท." ได้ปฏิเสธ "แผนยึดอีสาน" ที่เวียดนามเสนอช่วยการปฏิวัติไทย แถมยังประณามเวียดนามที่บุกเข้ายึดกัมพูชา

    ฝ่ายซ้ายไทยงงเป็นไก่ตาแตก "พรรคพี่น้อง" ที่เคยให้การสนับสนุนการปฏิวัติไทยอย่างแข็งขัน กลับเป็นฝ่ายที่จะคุกคามเอกราชอธิปไตยของไทย และตัดขาดความช่วยเหลือทุกด้าน

    ที่ช็อกไปทั้งป่าคือ จีนสั่งปิดสถานีวิทยุ สปท. ส่งผลให้สมาชิกพรรค และนักรบเกิดความกังขาต่อองค์การนำ พคท.

    อยากแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ปีกซ้าย ประเด็นการปิด สปท. ให้ติดตามอ่านจากนิตยสาร "ฟ้าเดียวกัน" ฉบับเดือนมกราคม-เมษายน 2558 ว่าด้วยเรื่อง "กำเนิดและจุดจบของสถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.)" เขียนโดย สรณ ขจรเดชกุล

    ผู้เขียนได้บอกเล่าความเป็นมาของ "สปท." กระบอกเสียงของ พคท. ที่ส่งเสียงข้ามฟ้ามาจากยูนนาน ตั้งแต่วันเปิดสถานีจนถึงวันปิดสถานี

    ที่สำคัญมีเอกสารคำชี้แจงเนื่องจากการยุติออกอากาศ สปท. ของศูนย์การนำ พคท. ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน รวมถึงจดหมายของสหายนำบางคนที่พร่ำรำพันก่อนความพ่ายแพ้มาเยือน

    เชื่อว่า เอกสารชุดนี้ บรรดาสหายชาวนา และปัญญาชนที่เคยเข้าป่า ไม่เคยเห็นมาก่อน นอกจาก "สหายนำ" ไม่กี่คน จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามยิ่ง
    http://www.komchadluek.net/detail/20150702/209005.html

    แถม

    หนังสืออีกหนึ่งฟางฝัน บันทึกแรมทางของชีวิต โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา โดยแพรวสำนักพิมพ์

    บทที่ 11 หน้าที่ 104
    ฮานอย เวียดนาม, ตุลาคม 2518


    “การร่วมกินร่วมอยู่ตลอดเวลาสองสามเดือนที่ผ่านมา อาจทำให้พวกเรา 'ใกล้ชิด' กันมากไป จนบางครั้งก็เกิดเรื่องกระทบกระทั่งกันขึ้น ตั้งแต่อยู่ในจีน ฉันสังเกตเห็นประสิทธิ์เริ่มใช้ลีลาลูกทุ่งของเขาคอย 'เบรก' หมอเหวง อยู่เรื่อยๆ ทีแรกก็เข้าใจว่าเป็นความขวางหูขวางตาตามประสาคนต่างบุคลิก และคุณหมอเองก็ชอบทำท่า 'เป็นปลื้ม' กับจีนเป็นพิเศษ บางครั้งถึงกับระบุออกมาอย่างภาคภูมิใจว่าตนมีชื่อจีนว่า 'หยาง' อะไรทำนองนั้น และบางทีก็ตื่นเต้นกับความสำเร็จของสังคมนิยมจีนอย่างมากมาย ทั้งๆ ที่ 'จะบอกให้ว่าโรงงานทอผ้าแถวอ้อมน้อยใช้เครื่องจักรทันสมัยกว่าที่นี่ไม่รู้กี่เท่า' (คำพูดของประสิทธิ์)


    บทที่ 13 หน้าที่ 122-123
    ฮานอย เวียดนาม, ต้นปี 2519


    “อาการ 'เขม่น' ของประสิทธิ์ที่มีต่อ หมอเหวง เริ่มลุกลามระบาดมาถึงฉันกับพี่เสก แม้จะระบุไม่ได้ว่ามีเรื่องสำคัญอะไรนักหนาในบรรดาความขัดแย้งที่ดูจุกจิกไร้สาระเหล่านั้น แต่เราสามคน (กับอัมพร ซึ่งเป็นแนวร่วมโดยธรรมชาติของประสิทธิ์) ก็อดไม่ได้ที่จะทำการ 'เบรก' หมอเหวงอย่างเปิดเผย ในยามที่เขาแสดงทัศนะจุดยืนของตนเกี่ยวกับกรณีบาดหมางระหว่างจีนกับเวียดนาม โดยมีท่าทีเอนเอียงไปข้างจีนอย่างเห็นได้ชัด จุดยืนในการเบรกของพวกเราไม่มีอะไรซับซ้อนนอกเหนือไปจากความปรารถนาที่จะเป็นตัวของตัวเองโดยไม่งมงายกับใครทั้งสิ้น ...”


    บทที่ 16 หน้าที่ 145-146
    หลวงน้ำทา ลาว, ตุลาคม 2519


    “เรากลับมาเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางสู่ 'แนวหน้า' หลังจากรอคอยมาแสนนาน สหายไหมกับสหายเพชรแจ้งว่า จุดหมายของพี่เสก (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) กับฉันคือ เขตฐานที่มั่นภูหินร่องกล้า ในเขตจังหวัดพิษณุโลก ส่วนประสิทธิ์กับอัมพรจะต้องเดินทางไปยังเขตป่าเขาแถวจังหวัดอุดรธานี สหายร่วมรุ่นคนอื่นๆ อันได้แก่ เทิดภูมิ, เหวง, ปรีดี, ลี, ประทีป และธง ต่างได้รับคำสั่งให้ไปประจำการในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะเขตน่านและเชียงราย ซึ่งถือเป็นฐานสำคัญของกองกำลังในภาคเหนือ …


    “พี่เสกขอเปลี่ยนชื่อจัดตั้งใหม่เป็น 'สหายไท' ซึ่งมีนัยแสดงความเป็นอิสระทางความคิด แต่ก็มีอีกเหตุบันดาลใจที่เขาไม่บอกใครนอกจากคนใกล้ชิด นี่เป็นชื่อที่พี่เสกจงใจเลือกเมื่อได้ยินคนที่เชิดชูบูชาทุกอย่างที่เป็นจีนตั้งชื่อตนเองเสียเข้มขลังว่า 'สหายเข้ม ลูกไทย' ดังนั้นเพื่อแสดงความข้องใจเป็นการส่วนตัว ตรรกะอันตรงไปตรงมาก็น่าจะปรากฎอยู่ในชื่อ 'สหายไท (พ่อเข้ม)'”
     
  11. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ช่วงที่เผด็จการทหารครองอำนาจยาวนานในบ้านเราถึง 15 - 16 ปี
    ก็มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งในช่วงเวลาสั้นๆ หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2511
    ต้นปี 2512 ก็มีการเลือกตั้ง
    แล้วพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอมก็ชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาล
    ท่ามกลางปัญหาการทุจริตการเลือกตั้ง

    พอมีปัญหาภายในสภา ส.ส. ทวงสัญญาผลประโยชน์ตอบแทนกัน จอมพลถนอมจึงยึดอำนาจตัวเองในปลายปี 2514
     
  12. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    กระบวนการประชาธิปไตยพัฒนาไปด้วยการ เปลี่ยนมือสลับหน้าเล่นกันเป็นระยะๆ
    อาจเป็นเพราะ ประชาธิปไตยนั้น ยังไม่คืนความสุชสู่ประชาชน

    ตอบง่ายๆแบบนี้แหละ คิคิ
     
  13. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    คนไทยที่เติบโตสู่วัยหนุ่มสาวในช่วงปีพ.ศ.2516และหลังจากนั้น หากสนใจการเมืองต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

    ฝั่งซ้ายมีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ ลอกเอาระเบียบแบบแผนของคอมมิวนิสต์มาใช้แต่เสนอขายในชื่อ"ประชาธิปไตย" นี่คือความยากลำบากของหนุ่มสาวสมัยนั้นที่แม้จะไม่เห็นด้วยกับระบอบเผ็จการทหารแต่ก็ไม่ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ การที่ฝั่งซ้ายได้ผูกขาดการ"รักความเป็นธรรม"และ"ประชาธิปไตย"ไปแล้ว หากไม่เลือกเดินทางซ้ายก็จะถูกยัดเยียดว่าเป็น"ทาสเผด็จการ"

    ผู้นำนิสิตนักศึกษาฝั่งซ้ายหลายคนเข้ามาอยู่ในทีมที่ปรึกษาของทักษิณ พวกนี้ได้นำเอาการแบ่งแยกด้วยการจัดหมวดหมู่คนกลับมาใช้ใหม่ วาทะกรรมคำว่า"นปช"ถูกนำมาใช้เพื่อผูกขาดประชาธิปไตย นัยคือคนที่ไม่ใช่"นปช"คือคนฝักใฝ่เผด็จการ

    คำว่า"ประชาธิปไตย"จึงถูกบิดเบี้ยวตลอดมาในสังคมไทย

    จนถึงยุคลุงตู่ มีคนกล่าวหาว่าไม่เป็น"ประชาธิปไตย"และพยายามออกมาชูสองนิ้วสามนิ้วบ้าง ค่อนแคะกระแนะกระแหนทุกครั้งที่โอกาสอำนวย

    แต่ที่แปลกคือหากฟากฝั่ง"ประชาธิปไตย"ไม่ชอบอะไร สิ่งนั้นมักดีต่อคนไทยและสังคมไทยเสมอ
     
  14. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    พคท.ใต้อุ้งเท้าทุนนิยมสามานย์
    มันเข้ากันเหมือนผีเน่ากับโล่งผุ
     
    อาวุโสโอเค และ hey guys ถูกใจ.
  15. ่johnyoter

    ่johnyoter สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    246
    ไม่ว่าเข้าสู่อำนาจด้วยวิธีไหน ถ้าโครงสร้างยังรวมศูนย์อำนาจ มันก็คือเผด็จการ
     
  16. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    เผด็จการสร้างประชาธิปไตย
    ประชาธิปไตยส่งต่อให้เผด็จการ
    ดูๆมันวนๆเวียนๆ เช่นนั้นเอง
    ชวนให้คิดซะว่า ประชาธิปไตยไม่เคยสร้างประชาธิปไตยได้โดยตัวมันเอง

    Like a circle in a spiral
    Like a wheel within a wheel
    กลมเหมือนดั่งวงกลมในวงเวียน
    กลมเหมือนดั่งล้อในวงล้อ
    กลมเหมือนดั่งวงกลมในวงเวียน/กลมเหมือนดั่งล้อในวงล้อ
    Posted by มิสนอราห์
    http://www.oknation.net/blog/missnorah/2007/12/20/entry-1

    ตวามเป็นกลางหากมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว มันคงติดอยู่ในดวามวนๆเวียนๆนี้เอง คิคิ

     
  17. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    ฟังเพลง
     
  18. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    ฟังเพลง The Windmill of your Mind มาตั้งแต่เด็กๆ แต่ได้ดูหนัง The Thomas Crown Affairs เวอร์ชั่นสองตอนโตแล้ว

    ชอบเพลงครับ แต่หนังแค่เฉยๆ
     

Share This Page