8 ข้อห้ามตาม พรบ.ประชามติ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Anduril, 29 Apr 2016

  1. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    29 เม.ย.59 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต.แถลงผลประชุม กกต.ว่า กกต.มีมติให้ออกร่างประกาศ กกต.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ จะมีผลเมื่อประกาศดังกล่าวลงราชกิจจานุษาแล้ว คาดว่าจะมีผลไม่เกินสัปดาห์หน้า โดยมีข้อกำหนด สิ่งที่ประชาชนทำได้ 6 ข้อ และสิ่งที่ทำไม่ได้ 8 ข้อ
    โดยสิ่งที่ทำไม่ได้ 8 ข้อ คือ
    1.การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ 2.การนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือส่งต่อข้อมูลในลักษณะดังกล่าว 3.การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอันมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ 4.การจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน ตามกฏหมายเข้าร่วม และมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง

    5.การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการขายการแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไปเพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง 6.การใช้เอกสารใบปลิวหรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย หรือปลุกระดมทางการเมือง 7.การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม และ 8.การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างไรอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง

    ทั้งนี้ นายธนิศร์ กล่าวต่อว่า กรณีสื่อมวลสามารถรายงานหรือเสนอข่าวด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ด้วยความรับผิดชอบ เป็นกลาง คำนึงถึงความเท่าเทียมและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งนี้ กกต.อาจจะออกประกาศเพิ่มเติม ถ้ามีกรณีใดเกิดขึ้นหลังจากนี้อีกเพื่อให้เกิดความชัดเจน กรณีการกระทำในเรื่องอื่น ที่ กกต.อาจเขียนบอกว่าสามารถทำได้ ซึ่งการออกประกาศของ กกต.ยืนอยู่บนพื้นฐาน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่การกระทำอาจจะผิดกฎหมายอย่างอื่น เช่น พ.ร.บ.รักษาความสะอาด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยประชาชนพึงระวังความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย
    http://www.naewna.com/politic/213722
    ................................................................................
    ก็ไม่น่าจะยากเกินไปนะครับ สำหรับการปฎิบัติตาม เท่าที่เห็นในที่นี้ก็ไม่มีลักษณะต้องห้ามของสิ่งที่ทำไม่ได้อยู่เลย
     
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    :):):) เราไม่เกี่ยวเรื่องนี้
     
    Anduril likes this.
  3. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
  4. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ข่าว 7 สี - กกต.ประชุมวางกรอบการแสดงความเห็นร่างรัฐธรรมนูญ ว่าอะไรทำได้ หรือทำไม่ได้ และอะไรที่เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการขัดกฎหมายประชามติ

    การประชุม กกต. เพื่อพิจารณาแนวทางปฎิบัติในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มสีเขียว สิ่งที่สามารถทำได้ เช่น การแสดงความเห็นว่ารับหรือไม่รับโดยใช้เหตุผล กลุ่มสีเทา คือ การกระทำที่ยังสงสัยว่าจะทำได้หรือไม่ และกลุ่มสีแดง คือ การกระทำที่ผิดกฎหมายชัดเจน ได้แก่การใช้ถ้อยคำรุนแรง หยาบคาย ก้าวร้าว ปลุกระดม ซึ่งการประชุมเพิ่งจะเสร็จสิ้นลงเมื่อสักครู่ที่ผ่านมา

    สำหรับการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำถามพ่วงท้ายประชามตินั้น สนช.ได้จัดสมาชิก 88 คน ลงพื้นที่ 9 กลุ่มจังหวัด เพื่อทำความเข้าใจ ได้แก่กลุ่มจังหวัด ลพบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อุดรธานี บุรีรัมย์ ภูเก็ต สงขลา เชียงใหม่ และพิษณุโลก นอกจากนี้ จะใช้เวทีตามโครงการ สนช.พบประชาชน และโครงการแผนแพร่ประชาธิปไตยที่มีอยู่แล้ว ทำความเข้าใจคำถามพ่วงกับประชาชน

    พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยัน การรณรงค์รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะที่มีการบิดเบือน เจตนาไม่สุจริต ไม่สามารถทำได้ ส่วนการตีความวิธีการ จะมีรายละเอียดกำหนดไว้ใน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหากกลุ่มการเมืองใดเป็นห่วงสถานการณ์ก็ขอให้หยุดเคลื่อนไหวเพื่อให้ ประเทศสงบ และไปใช้สิทธิในการแสดงความผิด ผ่านการทำประชามติ โดยยืนยันจะไม่มีการล้มการออกเสียงประชามติ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฎิรูปประเทศไทย ระบุพร้อมให้ความร่วมมือหากเห็นว่าการแสดงความคิดเห็น ของตนเองที่ผ่านมาขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเชื่อว่า นายกรัฐมนตรี จะสามารถคุมสถานการณ์ จนนำไปสู่การจัดทำประชามติ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ ต้องการให้ประเทศเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย พร้อมขอให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นรัฐบาล โดย กปปส. พร้อมส่งตัวแทนเข้าร่วมเวทีแสดงความเห็น ผ่านรายการโทรทัศน์ หากได้รับเชิญจาก กกต.
     
  5. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ส่วนที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการดำเนินคดีกับผู้ที่โพสต์ข้อความในเชิงล้อเลียนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ควรใช้กฎหมายหมิ่นประมาทดำเนินการมากกว่าการใช้บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ซึ่งอยู่ในหมวดความมั่นคง นั้น ตนขอชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่พบพฤติกรรมของผู้ที่ถูกกล่าวหา ซึ่งเข้าข่ายกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จึงต้องใช้มาตรการดังกล่าวดำเนินการ และหากปล่อยไปโดยไม่ดำเนินการอาจจะนำไปสู่การแสดงออกที่กระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นผ่านสังคมออนไลน์ ยังถือว่า เป็นไปในระดับที่ฝ่ายความมั่นคงได้ประเมินไว้ และรับมือได้ ส่วนการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะขยับไปสู่การเล่นเกมใต้ดินหรือไม่นั้น ตนยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ทราบแต่เพียงว่ากลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านนั้นไม่เคยหยุดต่อต้าน นับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 57 เป็นต้นมา

    “การแสดงความเห็นต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หากไม่มีลักษณะสื่อสารให้เกิดความเข้าใจผิดแล้ว คสช. ไม่ได้ห้าม แต่กรณีที่ใครจะแสดงความเห็นอะไร ควรระวังด้วยว่าต้องไม่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือกระทบ พาดพิงองค์กรใด หรือบุคคลใดให้เกิดความเสียหาย ซึ่งสิ่งที่มีการเคลื่อนไหวที่ถูกดำเนินคดีนั้น คือการกระทำที่พาดพิงไปยังบุคคลในรัฐบาล ให้ไม่มีความน่าเชื่อถือ จึงเป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าการกระทำแบบนั้นไม่เหมาะสม” พ.อ.วิธัย กล่าว

    พ.อ.วิธัย กล่าวด้วยว่า สำหรับการแสดงความเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการติดแฮชแท็ค โพสต์อย่างไร ไม่ให้ถูกจับนั้น ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการล้อเลียน โดยตนมองว่า ประเด็นการติดแฮชแท็คนั้นไม่ชัดเจน ว่าเจ้าหน้าที่จะทำอะไรหรือไม่ แต่ส่วนตัวมองว่าการแสดงความเห็น หรือ ติดแฮชแท็คนั้นทำได้ แต่หากจะผิดต้องขึ้นอยู่กับเนื้อหามากกว่า ส่วนทิศทางของการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตนมองว่าแนวทางจะไม่ต่างจากเดิมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว และสถานการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นยังไม่ถือว่าเกินระดับความคาดหมาย
    http://www.komchadluek.net/detail/20160430/226802.html
    ............................................................................
    เห็นมีเสียงบ่นมากมายจากสื่อ นักวิชาการ ฯลฯ ว่า ประชามติควรให้สิทธิปชช.ในการแสดงความคิดเห็นเพื่อจะได้ รธน.ที่สมบูรณ์ แต่ผมกลับมองว่า รัฐบาลต้องการปรามกลุ่มคนที่มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลมากกว่า กลุ่มคนเหล่านั้นเป็นกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลอยู่แล้ว เป็นการตัดไฟต้นลม ก่อนที่การบิดเบือนจะลุกลามจนควบคุมไม่ได้เช่นปี 2553
     

Share This Page