ไม่ทราบว่า "สื่อใน" มีเผยกันไปบ้างหรือเปล่า... หรือมีเผยไปแล้ว และเหมือนๆกัน เลยไม่เอามาลง … ------------------------------------------- ------------------------------------------- ------------------------------------------- ------------------------------------------- ผมว่า มีอะไรๆที่ "น่าเอือม" มากกว่า 10 ข้อนี้แน่ๆ... เพื่อนๆ จะมาลองแชร์ความรู้สึกนึกคิดกันเพิ่มเติมดูมั๊ยครับ... เผื่อใครเข้ามาอ่านแล้ว รู้สึกว่าตัวเองว่า กำลังเป็น(ต้นเหตุ)อยู่ อาจจะปรับปรุงตัว ให้น่าดู น่าชม น่าติดตามกันมากขึ้นก็ได้ ที่สำคัญ ถ้าโพสต์แล้วเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน หรือต่อส่วนรวมได้ ก็ยิ่งดีครับ...
ผมไม่ค่อยได้ดูเฟสบุ๊ค เวลาเข้าเฟสบุ๊ค ที่ค่อนข้างหงุดหงิดแกมขำคือบรรดาคนที่คิดว่าตนคือศูนย์กลางจักรวาล คือคุณๆจะแชร์แต่เรื่องส่วนตัวของตัวเองอย่างไม่มีขีดขั้นจำกัด เริ่มตั้งแต่ภาพกาแฟกับปาต้องโก๋จิ้มนมสำหรับอาหารเช้า เสื้อผ้าที่ใส่ งานที่ทำประจำวันตลอดจนเรื่องและภาพของหมูหมากาไก่ของคุณๆเหล่านั้น ขนาดมองออกนอกหน้าต่างเห็นมะละกอสุกยังเอาภาพมาแชร์ ผมว่าคนที่อยู่กับเฟสบุ๊คมากไปจะเสียเวลาชีวิตกับเรื่องสาระน้อยของตัวเองและผู้อื่นอย่างน่าเสียดาย
ไอ้พวกที่ร้อนรนทนไม่ได้ เวลาเห็นคนที่เคารพนับถือกันแสดงความเคารพแก่กันและกัน ต้องเอารูปมาโชว์ พร้อมแขวะว่าเป็นหนอนไม่มีกระดูกสันหลัง ชอบหมอบกราบ! กรูผิดมากหรอ? ที่กรูจะไหว้ครูบาอาจารย์ และพ่อกรู
เรื่องภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นรถชนคนบาดเจ็บหนัก ตาย เห็นด้วยเลยไม่น่าแชร์ ถ้าเริ่มได้ไม่อยากให้พวกมูลนิธิแชร์รูปพวกนี้ออกมา นอกจากภาพดูน่ากลัวแล้วมันเหมือนไม่ให้เกียรติคนตายและครอบครัวเค้าด้วย
กฎหลักของมารยาทเน็ต แปล เรียบเรียง และดัดแปลงจาก มาจากหนังสือ มารยาทเน็ต (Netiquette) โดยเวอร์จิเนีย เชีย มารยาทเน็ต (netiquette) คืออะไร มารยาทในการสือสารแบบเครือข่าย หรือไซเบอร์สเปซ คำว่า “มารยาท” หมายถึงกิริยาอาการทีพึงประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม กล่าวอีกนัยหนึงคือมารยาทเน็ตคือชุดวิธีประพฤติตนทีเหมาะสมเมื่อคุณใช้นเตอร์น็ต เมื่อคุณต้องเจอกับวัฒนธรรมใหม่ๆ และโลกไซเบอร์สเปซก็มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง คุณจะต้องยอมรับว่าอาจทำผิดพลาดไปบ้าง เช่น อาจจะไปละเมิดผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคุณอาจจะเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูดแบบผิดๆ และต่อว่าคนพูดโดยไม่ได้เจตนา สิ่งที่แย่กว่านั้นอีกคือ ไซเบอร์สเปซมีลักษณะบางอย่างที่ทำให้เราลืมไปว่า เรากำลังมีปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ไม่ใช่แค่รหัสตัวอักษร (ASCII) ทีปรากฏบนจอ กฎและคำอธิบายต่อไปนี้นำเสนอชุดแนวทางทั่วไปสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กฎข้อทีหนึ่ง อย่าลืมว่ากำลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนจริงจริง จริงอยู่ทีเราใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสือความรู้สึกและความคิดเห็นของเราอย่างอิสระ ออกสำรวจโลกใหม่ๆ และไปในที่ที่เราไม่เคยไปมาก่อน แต่อย่าลืมกฎข้อสำคัญ คือ คนที่คุณเจอในอินเตอร์เน็ตนั้นก็เป็นคนจริงๆเหมือนกับคุณนั้นแหละ แต่ถ้าคุณเป็นพวกที่ชอบพูดอะไรหยาบคายรุนแรงต่อหน้าคนอื่นเพื่อความสะใจ ก็คงต้องไปอ่านหนังสือประเภท สมบัติผู้ดี เพราะมารยาทเน็ตช่วยอะไรคุณไม่ได้ กฎข้อทีสอง การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง อย่าเชื่อเวลาคนพูดว่า “ศีลธรรมอย่างเดียวที่มีจริงคือ อะไรก็ตามที่คุณทำแล้วไม่มีใครเอาเรื่อง” บทความนี้เกี่ยวกับมารยาท ไม่ใช่ศีลธรรม แต่ถ้าคุณต้องพบเจอกับข้อขัดแย้งเชิงศีลธรรมในโลกอินเตอร์เน็ตคุณก็จงปฏิบัติตามแบบแผนที่คุณยึดถือในชีวิตจริง กฎข้อทีสาม รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ มารยาทเน็ตในแต่ละ “พื้นนที่” ไม่เหมือนกัน ให้ซุ่มก่อนร่วมวง เมื่อคุณเข้าไปในพื้นที่ีใดๆ ที่นั้น ถือเป็นที่ใหม่สำหรับคุณ ดังนั้นลองใช้เวลาสักพักสังเกตการณ์ก่อนว่า ที่นั้นเขาคุยอะไรกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หรือเข้าไปอ่านข้อความเก่าๆ จากนั้นค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา กฎข้อทีสีเคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ คนปัจจุบันดูเหมือนจะมีเวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมามาก และยังมีเครื่องมือทุ่นแรงมากขึ้นกว่าคนรุ่นปู่รุ่นพ่อเคยมี เมื่อคุณส่งอีเมล์หรือโพสต์ข้อความลงอินเตอร์เน็ตรู้ไว้ว่าคุณกำลังทำให้คนอื่นเสียเวลามาอ่านดังนั้นเป็นความรับผิดชอบที่คุณควรแน่ใจก่อนส่งว่าข้อความนั้นไม่ทำให้ผู้รับเสียเวลา คุณไม่ได้เป็นศูนย์กลางของไซเบอร์สเปซดังนั้นอย่าคาดหวังว่าคำถามทุกคำถามของคุณจะได้รับคำตอบในทันทีทันใด และอย่าทึกทักเอาเองว่าผู้อ่านทุกคนจะต้องเห็นด้วย หรือสนใจข้อโต้แย้งที่กระตือรือร้นของคุณ กฎสำหรับกระดานสนทนา (discussion group) ไม่มีใครชอบหรอกถ้าต้องเสียเวลาอ่านแล้วพบว่า มันไม่เห็นจะคุ้มค่าเวลาที่เสียไปเลย ผู้อ่านต้องตะลุยอ่าน ทั้งหมด กว่าที่จะไปถึงเนื้อความจริงๆ กฎข้อที่ห้าใช้ประโยชน์จากความเป็นนิรนาม โลกอินเตอร์เน็ตก็เหมือนโลกจริง คนที่สื่อสารกันในนั้นอยากให้คนอื่นชอบ การติดต่อสื่อสาร ผ่านเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดานสนทนา ทำให้คุณเข้าถึงคนที่คุณไม่เคยพบเจอ และไม่มีใครสามารถเจอคุณได้ คุณไม่ต้องถูกตัดสินด้วย สีผิว, สีตา, สีผม, น้ำหนัก, อายุ หรือการแต่งตัวของคุณอย่างไรก็ตาม คุณจะถูกตัดสินผ่านคุณภาพของสิ่งทีคุณเขียน นี้เป็นข้อได้เปรียบสำหรับคนส่วนใหญ่ที่เลือกจะติดต่อออนไลน์เพราะถ้าพวกเขาไม่สนุกกับการเขียนตัวหนังสือ ก็คงไม่ทำต่อ ดังนั้การสะกดคำให้ถูกและเขียนให้ตรงตามหลักไวยากรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญและรู้ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ และพูดอย่างมีเหตุมีผล ข้อมูลแย่ๆลามในโลกอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็วไม่ต่างกับไฟป่า และเมื่อมีการส่งต่อไปซ้ำๆ คุณก็จะพบว่ามันบิดเบือนไปเรื่อยๆ เหมือนเวลาเล่นเกมปากต่อปากในงานปาร์ตี กฎข้อที่หก แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่อ่านคำถามบนอินเตอร์เน็ต และถึงแม้ว่าจะมีส่วนน้อยมากในจำนวนนั้นที่ตอบคำถาม ความรู้โดยรวมของโลกก็เพิ่มขึ้อยู่ดี อินเตอร์เน็ตเองก็ก่อตั้งและเติบโตเพราะนักวิทยาศาสตร์อยากจะแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และพวกเราที่เหลือก็ค่อยๆเริ่มมีบทบาทหลังจากนั้น ดังนั้นคุณก็ทำในส่วนของคุณไป แม้ว่ามารยาทเน็ตจะมีข้อห้ามยาวเหยียด คุณก็มีความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น อย่ากลัวที่จะแบ่งปันในสิ่งที่คุณรู้ กฎข้อที่่เจ็ัดควบคุมสงครามการใส่อารมณ์ คนเรามักจะทำ “สงครามเกรียน” (flame wars) คือสงครามอารมณ์ในเน็ต เวลาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรงโดยไม่ยับยั้งชั่งใจหรือพยายามควบคุมอารมณ์มักจะมีระโยคท้าทาย การทำตัวเกรียนในอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องที่มีกันมายาวนาน แล้วบางครั้งมันก็เป็นเรื่อองสนุก ทั้งคนอ่านและคนเขียน บางที บางคนก็สมควรแล้วที่จะโดนเกรียน แต่มารยาทเน็ตต่อต้านสงครามเกรียนที่ไม่รู้จักจบสิ้นถ้อยคำแสดงความโกรธที่มาเป็นชุดๆส่วนใหญ่มาจากคนสองสามคนที่ตอบโต้กันไปมาแต่อาจครอบงำโทนของทั้งระทู้ ปลุกปั่นอารมณ์และทำลายมิตรภาพดีๆของชุมชนมันไม่ยุติธรรมต่อสมาชิกคนอื่นและถึงแม้ว่าบางทีสงครามเกรียนจะก่อให้เกิดความครึกครื้นแต่คนที่ไม่เกรียนด้วยก็จะเบื่ออย่างรวดเร็ว นอกจากนัั้นไม่ยุติธรรมที่จะใช้แบนด์วิทผูกขาดกันอยู่ไม่กี่คน กฎข้อที่แปดเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น กฎข้อที่เก้าอย่าใช้่อำนาจอย่างไม่สร้างสรรค์ การรู้มากกว่าคนอื่นหรือมีอำนาจมากกว่า ไม่ได้แปลว่าคุณมีสิทธิที่จะเอาเปรียบคนอื่นได้ เช่น ผู้ดูแลระบบไม่ควรอ่านอีเมล์ส่วนตัวของคนอื่น กฎข้อที่สิบให้อภัยความผิดพลาดของผู้อื่น ทุกคนเคยเป็นมือใหม่มาก่อนบางคนจึงทำผิดพลาดในแง่มารยาทเน็ตตั้้งแต่คำถามงี่เง่าหรือตอบคำถามยาวโดยไม่จำเป็น จงใจเย็นเข้าไว้ ถ้าใครทำผิดพลาดเล็กน้อยที่พอให้อภัยได้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องพูดอะไร แม้ว่าคุณจะรู้สึกโกรธมาก ก็ลองคิดให้ดีก่อนตอบโต้ การที่คุณมีมารยาทดี ไม่ได้แปลว่าคุณมีสิทธิไปไล่จับผิดคนอื่น ถ้าคุณตัดสินใจจะบอกคนที่ทำผิดมารยาทเน็ต ก็จงบอกอย่างสุภาพและเป็นส่วนตัว ดีกว่าไปป่าวประกาศให้คนอื่นรับรู้ด้วย จงให้โอกาสในความไม่รู้ของคน และอย่าถือตัวหรือหยิ่งว่าคุณรู้ดีกว่า