10 ข้อวิพากษ์ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ปาหี่-กำมะลอ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 22 Mar 2017

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    เมื่อวานนี้ (21 มีนาคม 2560) ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปยังสภาต่อไป ดร.โสภณ ยืนยันไม่ต้องห่วงภาษีนี้ ไม่มีผลใด ๆ เป็นแค่ภาษีปาหี่และกำมะลอ ห่วงรัฐขึ้น VAT 8% ดีกว่า
    ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ให้ความเห็นต่อความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อการออกพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 (http://bit.ly/2nQNXWM) ดังนี้:
    1. ภาษีนี้ที่ว่าจะประกาศใช้ในปี 2562 นั้น ยังไม่แน่ว่าจะได้ใช้ เพราะยังต้องผ่านสภา และอาจจะแท้งกลางทางก็ได้ อาจเป็นเพียงการเล่นปาหี่อย่างหนึ่ง สิ่งที่พึงระวังคือหากรัฐบาลไม่สามารถผ่านร่าง พรบ.นี้ ก็อาจขึ้นภาษี VAT เป็น 8% ซึ่งส่งผลต่อประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งที่มีทรัพย์สินหรือไม่มีก็ตาม
    2. ที่น่าตลกก็คือ การกำหนดให้เก็บภาษีสำหรับบ้านราคา 50 ล้านบาทขึ้นไป ข้อนี้ ดร.โสภณ ได้เคยวิเคราะห์ไว้แล้ว (http://bit.ly/1UsxJen) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีเพียง 1,351 หน่วยเท่านั้น ถ้าทั่วประเทศก็คงไม่กี่พันหน่วย จะคุ้มค่าเก็บไหม นี่แสดงความเป็นปาหี่ของกฎหมายฉบับนี้คือจริงๆ ไม่อยากจะเก็บภาษี เลยไพล่ไปเก็บสำหรับบ้านตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป
    3. ส่วนบ้านหลังที่ 2 แม้มีราคาไม่ถึง 50 ล้านก็จะเก็บนั้น ตามระยะเวลาการออกกฎหมายนี้ คือให้มีการใช้ในปี 2562 ก็เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้ผู้มีบ้านมากกว่า 1 หลังได้ผ่องถ่ายให้กับบุตรหลานหรือบุคคลอื่นไปก่อน เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงภาษี จึงทำให้กลายเป็น "อภินิหารทางกฎหมาย" ที่แม้ไทยจะมีกฎหมายนี้ในอนาคต แต่ก็เสมือนไม่มีกฎหมายใดๆ เข้าทำนองนักกฎหมายศรีธนญชัยจริงๆ
    4. กรณีที่ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ ได้ลดเพดานการจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินเปล่าลงจาก 5% เป็น 2% ก็แสดงนัยชัดเจนว่า คนรวย ๆ ไม่ต้องการเสียภาษี แม้รัฐบาลและสภานี้จะไม่มีนักการเมือง แต่เขาก็ยังปกป้องคนรวยอยู่ดี นี่ก็ยังเป็นรัฐบาลและสภาของคนรวย ในสมัยรัฐบาลและสภาที่ประชาชนเลือก ก็ยังต้องเกรงใจประชาชนมากกว่านี้ด้วยซ้ำไป
    5. อันที่จริงไม่ควรมีการลดหย่อนภาษีใด ๆ เลย ดูในความเป็นจริง คนจน ๆ มีจักรยานยนต์เก่าๆ คันหนึ่งราคาประมาณ 30,000 บาท ก็ยังต้องเสียภาษีปีละ 400 บาทหรือมากกว่า 1% ถ้าคนจนมีห้องชุดราคา 300,000 บาท ก็ต้องเสียภาษี 0.1% ก็เป็นเงินเพียง 300 บาท หรือเดือนละ 25 บาท ถูกกว่าค่าจัดเก็บขยะเสียอีก การจัดเก็บภาษีถูกๆ จึงอาจไม่คุ้มค่าในการเก็บ
    6. ที่รัฐบาลพยายามลดหย่อนการจัดเก็บภาษีโดยอ้างคนจนนั้น แท้จริง ก็เพื่อช่วยคนรวย เพราะถ้าคนจนต้องเสียภาษีถึง 1% เช่น มีห้องชุดราคา 300,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีปีละ 3,000 บาท หรือเดือนละ 250 บาท ซึ่งก็พอ ๆ กับการจ่ายค่าส่วนกลางเท่านั้น ไม่ได้มากมายอะไรเลย แต่คนรวยที่มีทรัพย์ราคา 50,000,000 บาท หากต้องเสียภาษี 1% เป็นเงิน 500,000 บาท พวกเขาคงไม่ต้องการเสีย จึงทำให้ร่างกฎหมายกำมะลอฉบับนี้ออกมา แทบจะเหมือนไม่มีการเก็บภาษีใด ๆ เลย
    7. ถ้ามีการเก็บภาษีที่ดินว่างเปล่าในอัตราสูงก็จะทำให้ประการแรกเจ้าของที่ดินต้องนำที่ดินมาพัฒนา ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทางหนึ่ง ประการที่สองทำให้ตลาดที่ดินมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพราะมีอุปทานที่ดินมากขึ้นราคาที่ดินไม่ถีบตัวสูงเว่อร์จนเกินไป ชาวบ้านที่ซื้อบ้านและคอนโดก็จะได้รับประโยชน์ราคาบ้านและคอนโดก็จะไม่สูงขึ้นมากจนเกินไปเช่นกัน ประการที่สามมีการพัฒนาที่ดินว่างเปล่าใจกลางเมือง ก็จะทำให้การพัฒนาสู่นอกเมือง การบุกรุกที่ชนบทและเกษตรกรรมและพื้นที่สีเขียวก็จะน้อยลง ลดโลกร้อนอีกต่างหาก และประการที่สี่ หากเมืองไม่ขยายออกสู่รอบนอกหนักหนักก็จะทำให้สาธารณูปโภคต่างๆ เช่นไฟฟ้าประปาโทรศัพท์ขยายออกไปยังไม่สิ้นสุดนั่นเอง
    8. โดยที่ภาษีนี้มีลักษณะกำมะลอและเล่นปาหี่ จึงแทบไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาบ้านแต่อย่างใด ถ้ามีผู้ใดอ้างขึ้นมาเพื่อขึ้นราคาบ้านและที่ดินขายให้กับผู้อื่นย่อมเป็นการอ้างที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ยิ่งกฎหมายนี้ยังไม่แน่ว่าจะผ่าน ก็ยิ่งเป็นการอ้างที่เลื่อนลอย
    9. ในความเป็นจริง การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ จากที่ ดร.โสภณ ได้ประมาณการไว้ว่าบ้านมือสองที่ขายในตลาดมีมูลค่าปีละ 1,202,767 ล้านบาทจากจำนวน 600,000 หน่วย (http://bit.ly/2mYQy3m) ก็เท่ากับเป็นเงินหน่วยละ 2 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาตลาด ราคาประเมินราชการอาจเป็นเงินเพียง 60% ของราคาตลาด หรือเท่ากับ 1.2 ล้านบาท จำนวนทั้งหมด 24 ล้านหน่วย ก็เป็นเงิน 28.8 ล้านล้านบาท หากมีการเก็บภาษีที่ 0.1% ก็จะเป็นเงิน 28,000 ล้านบาท แต่หากเก็บเป็น 1% ก็จะได้เงินสูงถึง 280,000 ล้านบาท เงินจำนวนนี้บวกกับภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น สามารถใช้บริหารท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
    10. การที่ท้องถิ่นจะมีเงินมากขึ้นในการบริหารท้องถิ่น ก็จะทำให้ท้องถิ่นมีอิสรภาพทางการเงินและทางการเมือง เป็นประชาธิปไตยที่แท้ ไม่ต้องถูกส่วนกลางครอบงำเช่นที่ผ่านมา ระบอบประชาธิปไตยก็จะได้รับการสถาปนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับระบอบคณาธิปไตยจากส่วนกลาง การให้ประชาชนท้องถิ่นดูแลผลประโยชน์ของตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ชอบแล้ว
    โดยนัยนี้การขึ้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงอาจไม่เป็นจริง รัฐบาลจึงอาจใช้เป็นข้ออ้างในการขึ้นภาษี VAT เป็น 8% ในที่สุด ทำให้ประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ต่างจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เก็บเฉพาะผู้มีทรัพย์ และยิ่งมีทรัพย์มาก ภาระภาษีก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัวอันเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในสังคมนั่นเอง แต่ถ้าไม่มีภาษีนี้ ความเหลื่อมล้ำก็จะไม่สิ้นสุด
    ร่วมกันวิพากษ์ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบปาหี่-กำมะลอนี้กันเถอะ
    ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1886.htm
     
  2. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    หรือว่าจะเปลี่ยนเป็น
    10 ข้อวิพากษ์ด๊อกเตอร์และผู้แอบอ้าง: ปาหี่-กำมะลอ ดี
     
  3. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
  4. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    คิดเลขผิดเหมือนเดิม

    แถมคนจนได้ทรัพย์สินที่ดินทำกินมูลค่า 1 ล้าน - 50 ล้าน (เช่นที่ดิน 10 ไร่ ไว้ทำนา)
    เก็บ 0.1% ก็ 1,000 - 50,000 บาท
    เก็บ 1% ก็ 10,000 - 500,000 บาท
    คนจนจะจ่ายยังไง ทำนา ทำสวน รายได้ปีละเท่าไหร่
    หลักพันต่อปียังพอไหว หลักหมื่นนี่หนักเลย
    เจอหลักหลายหมื่นถึงหลายแสนนี่ชีวิตติดลบเลย
    เก็บ VAT เพิ่ม 1%
    ใช้จ่ายปีละ 120,000 จ่ายภาษีเพิ่มพันสอง ยังพอไหว

    คนรวยผ่องถ่ายให้ลูก สมมุติมีลูกห้าคน เต็มที่ก็ไม่เกินคนละ 50 ล้านอยู่ดี โอนให้ลูกไม่เสียภาษี แต่โอนแล้วดันไปขายต่อก็โดนภาษีอยู่ดี เกิดลูกมันชั่วแอบเอาไปขายพ่อแม่ไม่รู้ ฟ้องก็เอาผิดไม่ได้เพราะที่ดินชื่อลูก เงินหายไปได้แต่มองตาปริบๆ
    แถมลูกๆก็ได้แค่คนละหลังหรือคนละแปลง ใครมีหลายสิบหลังหรือหลายสิบแปลงมีลูกห้าคน ก็ได้สิทธิแค่ห้าหลังหรือห้าแปลงอยู่ดี ส่วนเกินก็ต้องจ่ายภาษี

    ถ้าจะแถว่ามีห้าหลังหรือห้าแปลงพอดี ผมว่ายกให้ลูกคนละหลังหรือคนละแปลงก็ไม่แปลก ถือว่าเป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลานคนละหลังหรือคนละแปลง ก็ถือเป็นธรรมเนียมที่พ่อแม่พึงกระทำต่อบุตรธิดา แถมสมควรต่อภาระความเป็นพ่อแม่

    สุดท้ายก็คนละแปลง เกินไม่ได้

    บอกแล้วว่าเขาคิดรอบคอบ ให้คนถือครองที่ดินเหมาะสม
    กำมะลอหรือปาหี่ยังไง

    มีตัวอย่างให้ไปคิดดู
    คนจีนมาตั้งรกรากแถวสีลม มีบ้าน 77 ตารางวา ค้าขายของชำ ส่งลูกเรียนจบ มาค้าขายต่อ ไม่ได้รวยร้อยล้าน ไม่มีธุรกิจใหญ่โต ขายของชำเหมือนเดิม

    แต่ราคาที่ดินปรับสูงถึงตารางวาละหกแสนห้า
    ราคารวมสูงเกินกว่าห้าสิบล้าน
    ถ้าเสียภาษี 0.1% ก็ ห้าหมื่นกว่านิดๆ
    ถ้าเสียภาษี 1% ก็ ห้าแสนกว่านิดๆ
    อยากขายเพื่อลดภาระ
    ใครจะซื้อครับ ถ้าเอาไปต่อยอดทางธุกิจที่คุ้มทุนไม่ได้
    ที่แค่ 77 ตารางวา
    หรือจะไปตัดแบ่งเป็นหลายโฉนด
    แบ่งให้ลูกกะเมียก็อาจยุ่งยากปัญหาเยอะ
    ถ้ามีสิ่งปลูกสร้างเต็มพื้นที่

    กฏหมายมันก็มีทางหลบเลี่ยงบางเรื่อง
    เพราะภาษากฏหมายที่ต้องตีความ
    ทำให้ช่องทางนี้ระบายทางออกที่นึกไม่ถึงไว้
    ไม่ใช่เพื่อหลีกเลี่ยง
    แต่ไว้แก้ปัญหาบางอย่างที่คาดไม่ถึง
    แต่ก็ไม่ครอบคลุมได้ทั้งหมด
    ถ้าเจอมากเข้าเขาก็ปรับปรุงกฏหมาย

    ตัวเองคิดไม่รอบคอบครบถ้วนครบด้านเองต่างหาก
    ยังตะแบงว่าคนอื่นกำมะลอหรือปาหี่อีก
    เอาของที่อื่นมาเปรียบเทียบด้วยสิ

    โง่อย่างนี้อย่าเป็นที่ปรึกษาเลย
     
    Last edited: 23 Mar 2017
  5. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    ตอบโดยไม่อ่าน และจะไม่ยอมเสียเวลาอ่านด้วย


    ดอกเตอร์มหาวิทยาลัยไหนกัน คิดเปอร์เซ็นไม่เป็น
     

Share This Page