1 มกราคม 2015 EU ตัดสิทธิพิเศษทางการค้าของไทย

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Redbuffalo010, 29 Dec 2014

  1. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2014 สหภาพยุโรปประกาศหยุดความร่วมมือกับประเทศไทย ในเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) การเจรจาต่อรอง แต่เดิมมีการวางแผนการเจรจาเจ็ดรอบ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2014 เมื่อการเจรจามาถึงรอบที่ 4 วันที่ 07-11 เมษายน การเจรจาก็หยุดลงเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2013 ต่อเนื่องถึงปี 2014
    ดังนั้นการเจรจาเอฟทีเอ ระหว่างไทยและสหภาพยุโรป ไม่สามารถเสร็จทันกำหนดภายใน 1 มกราคม 2015 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยถูกสิทธิประโยชน์ทางภาษี GSP กว่า 6,200 รายการ ส่งผลให้สินค้าไทยเสียเปรียบและมีต้นทุนสินค้าสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ธนาคาร"ทยพาณิชย์คาดว่าประเทศไทยจะได้รับความเสียหายอย่างน้อย USD 47 ล้าน
    :mad::mad::mad:
     
    padd, โยธกา และ bookmarks ถูกใจ
  2. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    นี่แหละผลงานรัฐบาลที่ควายแดงบอกว่าบริหารเก่ง ทำไมต่างประเทศถึงชอบอีปู ก็โง่แบบนี้ ทำไมจะไม่ชอบ ผลประโยชน์ชาติ มันเอื้อให้ต่างประเทศหมด แล้วแกล้งโง่ ส่วนพวกควายแดงก็ชมกันไป
     
  3. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ทำไมน้อยจัง
    47 ล้าน usd
    โดนตั้ง 6200 รายการ
    สงสัยโดนเฉพาะหมวดที่ไม่ค่อยได้ส่งออก
     
    padd likes this.
  4. annykun

    annykun อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,591
    นึกว่าจะน่ากลัวกว่านี้ซะอีก แต่ทำไม่ทันเฉยๆ หรือเกี่ยวกับรัฐประหาร??
     
    padd likes this.
  5. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ไม่เป็นไรนี่ ตอนนี้ก็เห็นว่ากำลังเจรจาการค้ากับ มหาอำนาจทางเอเซียอยู่ กับอียูน่าสนใจเหรอ ส่งขายพวกอาหารทะเลแช่แข็ง ก็ชอบตีกลับ ข้าวกับสินค้าเกษตร อียู ก็ไม่ได้ซื้อ
     
    padd, SAMAN, por และอีก 2 คน ถูกใจ
  6. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    เจ้าสัวซี้ผีกุมขมับ
    งดจัดงานปีใหม่ให้พนักงาน
    แถมไม่รู้ต้องตัดโบนัสพนักงานด้วยมั๊ง
     
    architeer, padd, ปู่ยง และอีก 2 คน ถูกใจ
  7. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ส่งไปขายรัสเซียแทน
    แลกน้ำมันกะอาวุธ
     
    architeer, Octavarium, padd และอีก 4 คน ถูกใจ
  8. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    http://www.thanonline.com/index.php...85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417#.VKFLhF4AKA

    หายวับแสนล.1ม.ค.ตัดGSPส่งออกไป'อียู'

    เอาจริง 1 ม.ค.58 อียูตัดเหี้ยนจีเอสพี ส่งออกไทยไปอียู 6.7 แสนล้านระส่ำ คาดมูลค่าส่งออกสินค้าที่เคยได้จีเอสพีหายวับ 1 แสนล้าน ผู้ประกอบการหนีตาย เร่งหาตลาดใหม่ชดเชย เล็งเอเชีย กลุ่ม BRICS-แอฟริกา ลุยตั้งฐาน CLMV คงได้สิทธิจีเอสพีแข่งขัน หอการค้าแนะ4 วิธีแก้เกม
    นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มคู่ค้าในแถบสหภาพยุโรป(อียู) จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี)สินค้าไทยทุกรายการที่ส่งออกไปอียู จาก 2 เหตุผลคือ 1.สินค้าที่มีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 17.5% ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพีจะถูกตัดสิทธิ์ และ 2. จากการที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากธนาคารโลกให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างสูง(Upper-Middle Income Countries) เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ทำให้ไทยต้องเสียภาษีในอัตราปกติ(อัตรา MFN) ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก
    ด้วยเหตุนี้"ฐานเศรษฐกิจ"จึงทำการสำรวจผู้ส่งออกในหลายกลุ่มสินค้าที่ไทยส่งออกไปอียู(28 ประเทศ)ในโค้งสุดท้ายของปีนี้ ก่อนถูกตัดสิทธิจีเอสพีในปีหน้า ส่วนใหญ่ระบุไปในทิศทางเดียวกันว่าได้รับผลกระทบแน่แต่มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ก็ยืนยันตรงกันว่าได้เตรียม/ปรับแผนกลยุทธ์ เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแล้ว
    โดยในประเด็นข้างต้นนี้นายประชัย กองวารี นายกสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออกไปอียูสัดส่วนกว่า 80% เป็นถุงมือยาง การถูกตัดจีเอสพีครั้งนี้จะได้รับผลกระทบแน่นอน โดยทำให้การส่งออกถุงมือยางไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันสำคัญอย่างมาเลเซียมากขึ้น จากเดิมมาเลเซียไม่ได้จีเอสพีจากอียู แต่ไทยได้จีเอสพียังแข่งขันลำบาก เพราะมาเลเซียมีต้นทุนที่ถูกกว่า มีเครื่องจักรในการผลิตที่ทันสมัยกว่าสามารถผลิตได้ถึง 20 ล้านชิ้นต่อเครื่องต่อเดือน
    ขณะที่เครื่องจักรไทยล้าสมัยผลิตได้ประมาณ 6 ล้านชิ้นต่อเครื่องต่อเดือน แม้ขณะนี้รัฐบาลไทยได้อนุมัติสินเชื่อให้กับโรงงานแปรรูปยางเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร หรือขยายกำลังการผลิต 1.5 หมื่นล้านบาทแล้วแต่ยังมีความล่าช้าในทางปฏิบัติ
    "อียูถือเป็นตลาดใหญ่สุดของถุงมือยางไทย รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา การถูกตัดสิทธิจีเอสพีได้รับผลกระทบแน่นอน ทางออกคือทุกรายคงต้องเร่งหาตลาดใหม่ๆ ชดเชย เพราะนอกจากคู่แข่งมาเลเซียแล้ว เวลานี้ในเวียดนามก็มีการตั้งโรงงานผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออกแล้วหลายโรง และเวียดนามก็ยังได้จีเอสพีจากอียูจะทำให้เราได้รับกระทบมากขึ้น"
    เช่นเดียวกับคำตอกย้ำของนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวว่า จากการถูกอียูตัดจีเอสพี ที่จะทำให้การนำเข้ารถยนต์ของอียูจากไทยต้องเสียภาษีในอัตราปกติที่ 10% จากที่เคยได้จีเอสพีเสียที่ 6.5% จะทำให้ราคาสินค้ารถยนต์จากไทยสูงขึ้นกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามเพื่อรองรับผลกระทบ ทางผู้ประกอบการเร่งขยายตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้
    ส่วนในปีนี้มูลค่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปอียูช่วง 11 เดือนแรกมีมูลค่า 3.71 หมื่นล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 48% มองว่าเป็นผลจากอียูเร่งนำเข้าก่อนที่ไทยจะถูกตัดจีเอสพี คาดถึงสิ้นปีนี้จะส่งออกรถยนต์ไปตลาดอียูได้ราว 1 แสนคัน ส่วนในปีหน้าคาดจะลดลงเหลือประมาณ 9 หมื่นคัน
    อย่างไรก็ตามแรงกดดันนี้นายสุกิจ คงปิยาจารย์ กรรมการ และอดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่าในสินค้าเครื่องนุ่งห่ม หรือการ์เมนต์ส่งออกไปอียูคงได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะจากเดิมได้สิทธิจีเอสพีเสียภาษีนำเข้าที่ 9.6% ต้องกลับไปเสียภาษีในอัตราปกติที่ 12% ขณะที่เวียดนามคู่แข่งสำคัญยังได้สิทธิจีเอสพี คงเสียภาษีที่ 9.6% มองว่าไม่กระทบมาก เพราะภาษีต่างกันไม่มาก ทางออกผู้ประกอบการการ์เมนต์เวลานี้ หลายกลุ่มได้ขยายฐานการผลิตไปยัง CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม)ที่ยังได้จีเอสพีจากอียูเพื่อใช้เป็นฐานผลิตและส่งออก
    "ผู้ประกอบการต้องไปลงทุนในประเทศที่ได้รับจีเอสพี หรือลงทุนในประเทศที่จะได้เอฟทีเอกับอียู และหลังจากที่ไทยมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลใหม่แล้วต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับอียูให้เร็วที่สุดเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ภาษี 0% ชดเชยจีเอสพีที่ถูกตัดไป"
    ไม่แตกต่างไปจากกลุ่มสินค้ากุ้ง โดยที่นางอำไพ หาญไกรวิไลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยรอแยลฟรอเซนฟู๊ด จำกัด กล่าวว่าในปี 2557 การส่งออกกุ้งได้รับผลกระทบจากผลผลิตที่ยังไม่เพิ่มขึ้นจากความกังวลของผู้เลี้ยงในเรื่องโรคตายด่วน(EMS) และคาดหวังในปีหน้าผลผลิตจะปรับตัวดีขึ้นจากปีนี้ 20% แต่การถูกอียูตัดจีเอสพีส่งผลกระทบแน่นอน ทางออกเวลานี้โรงงานแปรรูปอาหารทะเล(ห้องเย็น) หลายรายได้พยายามขยายตลาดไปยังจีนและรัสเซีย ที่เป็นตลาดการบริโภคขนาดใหญ่
    ขณะที่นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ ประธานคณะกรรมการความยั่งยืนทางธุรกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยให้ความเห็นว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปอียู 6.7 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ใช้สิทธิส่งออกภายใต้จีเอสพีประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งการถูกตัดจีเอสพีสินค้าทุกรายการในปี 2558 คาดจะมีผลทำให้การส่งออกของไทยไปอียูลดลงไปมากกว่า 1 แสนล้านบาท จากเสียตลาดไปให้คู่แข่งขัน
    ต่อเรื่องนี้ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค่าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ข้อเสนอแนะว่าเพื่อลดผลกระทบจากการถูกอียูตัดจีเอสพี และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งใน 4 แนวทางคือ 1.กลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพควรย้ายฐานไป CLMV ที่ยังคงได้สิทธิจีเอสพีจากอียู เพื่อใช้เป็นฐานผลิตส่งออก 2.เร่งหาตลาดอื่นที่มีศักยภาพเพื่อชดเชย เช่นตลาดเอเชีย แอฟริกา และกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้) 3.การเร่งใช้สิทธิภาษี 0% ในเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)หลายกรอบที่ไทยได้ลงนามและมีผลบังคับใช้แล้วให้เต็มที่ เช่นในกรอบอาเซียนที่จากผลสำรวจผู้ประกอบการไทยยังใช้สิทธิส่งออกเพียง 37% ของรายการสินค้าที่อาเซียนได้ลดภาษีเท่านั้น และ 4.การบริหารจัดการต้นทุนเพื่อให้แข่งขันได้ดีขึ้น
    ด้านนายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออกวิเคราะห์ว่า จากที่ไทยจะถูกอียูตัดสิทธิจีเอสพี คาดในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2558 การส่งออกไทยไปอียูน่าจะติดลบ และจะดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 ส่วนไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ที่อียูได้เร่งนำเข้าสินค้าจากไทยมากก่อนที่ไทยจะถูกตัดจีเอสพีทำให้ตัวเลขเป็นบวกมาก คาดไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 คงขยายตัวไม่เท่าช่วงเดียวกันของปีนี้ และจะส่งผลให้การส่งออกทั้งปี ของไทยไปอียูในปี 2558 ติดลบ
    นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าการถูกอียูตัดจีเอสพีในปีหน้านั้น เป็นเรื่องที่ทั้งภาคเอกชนและกระทรวงพาณิชย์ตั้งหลักรับมือมานานแล้ว สินค้าหลายรายการก็เริ่มเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติแล้ว แต่สิ่งที่กรมจะช่วยเอกชน คือสร้างมูลค่าให้กับสินค้าโดยใช้นวัตกรรมมากขึ้น การรักษาตลาดเก่าและหาตลาดใหม่ ทั้งนี้กรมได้เตรียมแนวทางในการรับมือโดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันไปส่งออกตลาดอื่นทดแทน เช่น จีน เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอาเซียนให้มากขึ้นผ่านกิจกรรมส่งเสริมการทำตลาดต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีเพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งออก
    อนึ่ง จากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยถึงการใช้สิทธิจีเอสพีส่งออกสินค้าไทยไปอียูในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า 6,724 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2556 ที่มีมูลค่า 6,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกสินค้าไทยไปอียูภายใต้สิทธิจีเอสพีปี 2556 มีมูลค่า 9,052 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสำหรับสินค้าที่มีการใช้สิทธิจีเอสพีส่งออกไปอียูอันดับต้นๆ ในปีนี้ได้แก่ ยานยนต์ขนส่ง เครื่องปรับอากาศชนิดติดผนังและหน้าต่าง เลนส์แว่นตา ยางนอกรถยนต์ ถุงมือยาง เครื่องปรับอากาศแบบไม่มีหน่วยทำความเย็น วาล์ว เป็นต้น
     
  9. สับปรับ

    สับปรับ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    27 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    574
    โถ่....มันแบนนัก ก้อส่งขายรัสเซียบ้างก้อได้ เรือวิ่งแป๊ปเดียว โจรสลัดก้อไม่มี
     
    โยธกา likes this.
  10. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    นังเม้ยให้สัมภาษณ์นักข่าวว่า ที่อียูตัด GSP เพราะมีการชุมนุม มันโทษ กปปส ไว้แล้วครับ
     
    ปู่ยง และ Redbuffalo010 ถูกใจ.
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปีหน้า เป็นต้นไป สหภาพยุโรป หรือ อียู จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ จีเอสพี ที่ให้กับสินค้าไทย

    เนื่องจากไทย มีอัตรารายได้ต่อหัวประชาชาติ เกินเกณฑ์ที่กำหนด ในการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ เผย กระทบสินค้าส่งออก ทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรประมาณ 6,200 รายการ โดยเฉพาะสินค้าประเภทกุ้ง ยานยนต์ ขนส่ง เลนส์แว่นตา และเครื่องปรับอากาศ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด แนะปรับตัว เร่งหาตลาดใหม่เพิ่มเติมนอกจากตลาดยุโรป ย้ายฐานการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่ยังได้รับสิทธิพิเศษ
    **************************************************

    GSP ยังไงซักวันมันก็ต้องโดนตัด เพราะ GSP มันคือข้อลดหย่อนสำหรับประเทศที่ยากจนสามารถส่งของมาขายใน EU ได้ง่ายขึ้น
    พอประเทศไหนมีรายได้ต่อหัวเกินเส้นระดับความยากจน เค้าก็เอาสิทธิคืนแค่นั้น
    แต่ของประเทศไทยนั้นรายได้เกินเส้นไปนานแล้ว แต่ก็ยังหน้าด้านไปขอ GSP เค้าทีละ 2-3 ปี/ครั้ง ขอเป็นงวดๆ ไป
    คราวนี้ EU ก็เสนอไปว่าขี้เกียจต่อ GSP ให้แล้ว มาทำ FTA กันดีกว่า
    เพราะ GSP นั้นทาง EU ให้ส่วนลดกับประเทศไทยข้างเดียว
    แต่ถ้า FTA เราลดให้ภาษีให้คุณ คุณก็ลดภาษีให้เราด้วย ต่างฝ่ายต่างตอบแทน
    ก็เลยเจรจาตกลงกัน แต่พอดีมีรัฐประหารมาก่อน EU ก็เลยชะลอการทำ FTA ไปก่อน
    เรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรมาก รอซักพักเดี๋ยวเค้าก็กลับมาเจรจาเอง เพราะ EU ตอนนี้ทะเลาะกับรัสเซีย เศรษฐกิจยอบแย่บอยู่
    ไม่นับพื้นฐานเดิมที่แย่จากวิกฤติเรื่องหนี้ ตอนนี้ต้องการหาตลาดส่งออกสินค้าใจจะขาด
    คนมันต้องกินต้องใช้ จะทำหน้าหยิ่งแต่ท้องหิว มันก็กระไรอยู่
     
    Last edited: 7 May 2017
  12. Garfield

    Garfield อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,407
    ประเทศที่ถูกตัด GSP ไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียวครับ ประเทศที่เป็นคู่แข่งหลายประเทศก็โดนเหมือนกัน จริงๆถ้าโดนตัด GSP ช่วงนี้ก็ดีเหมือนกันนะเพราะมันเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศใน EU แย่มากๆอยู่แล้ว เหมือนรอวันตายอยู่ที่ว่าจะตายเมื่อใหร่ก็เท่านั้น ถึงได้สิทธิ์ GSP ยอดการส่งออกไป EU ก็คงไม่ได้ดีนัก ผู้ส่งออกไทยจะได้มีการปรับตัวหาตลาดใหม่ๆทดแทน แล้วก็จะได้ไม่ต้องมาโดน EU ใช้เรื่อง GSP เอาไว้กดดันประเทศเราในหลายๆด้านอีกด้วย
     
    padd, AlbertEinsteins, อู๋ คาลบี้ และอีก 3 คน ถูกใจ
  13. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    ผมอยากให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจและเกี่ยวข้องออกมาอธิบายให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจแบบนี้บ้างจังเลย
    ไม่งั้น"แดง"มันก็เอาไปขยายความสร้างเรื่องให้ประชาชนหลงประเด็น
    Screen Shot 2014-12-30 at 8.51.15 AM.png
     
  14. สับปรับ

    สับปรับ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    27 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    574
    สื่อเฮงซวย ชอบขายข่าวกำกวม อธิบายไม่หมด ให้คนด่า พอคนด่ามากๆก้อออกข่าวทีละนิดๆ ให้คนอ่านปะติดปะต่อเหมือนนิยายน้ำเน่า มิน่าหนังสือพิมพ์ถึงรอวันเจ๊ง เพราะขายข่าวไม่บอกที่มาของเรื่อง พอคนหาในโซเชียลกลับได้รุ้ถึงสาเหตุ แล้วหนังสือพิมพ์จะซื้อมาทำไม เปลืองตัง
     
  15. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    บางเคส หนังสือพิมพ์ก็นำภาพจากในเน็ตมาตีพิมพ์
    เลยมีภาพ เอกสารในวังที่(ผมคิดว่า)ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่,
    ประมวลภาพแผ่นดินไหวที่เชียงราย แต่ดันมีภาพแผ่นดินไหวในฟิลิปปินส์ติดมาด้วย

    หนังสือพิมพ์อีกเจ้าก็โดนดักควาย เรื่องเพจขายบริการหมาเพื่อ อึ๊บ ... หรืออย่างเมื่อหลายปีก่อนที่มีภาพเหตุการณ์ระทึกใจบนเครื่องบิน ซึ่งตีพิมพ์ทำนองว่าเป็นเหตุด่วนเหตุร้าย แต่ถูกจับได้ว่าเป็นภาพจากซีรีส์ต่างชาติซะงั้น !
     
    padd, SAMAN, jinxz และอีก 2 คน ถูกใจ
  16. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    คนไม่ค่อยเข้าใจครับ เหมือนกับที่ถ้าปีหน้า VAT 10% คนก็จะบอกว่ารัฐบาลขึ้นภาษี ทั้งที่จริงคือการยกเลิกการลดภาษีต่างหาก เวลาคนเราได้อะไรนาน ๆ ก็จะเคยชินคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องได้ ทุกคนรู้ครับว่า GST เป็นสิทธิพิเศษ แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าทำไมถึงได้พิเศษ แต่ที่โง่ที่สุดคือ คิดว่าเป็นสิทธิพิเศษสำหรับรัฐบาลประชาธิปไตยโดยเฉพาะครับ :D
     
    padd, bookmarks, SAMAN และอีก 3 คน ถูกใจ
  17. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    เอามาจากท่าน Hidden man ครับ "นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มคู่ค้าในแถบสหภาพยุโรป(อียู) จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี)สินค้าไทยทุกรายการที่ส่งออกไปอียู จาก 2 เหตุผลคือ 1.สินค้าที่มีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 17.5% ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพีจะถูกตัดสิทธิ์ และ 2. จากการที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากธนาคารโลกให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างสูง(Upper-Middle Income Countries) เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ทำให้ไทยต้องเสียภาษีในอัตราปกติ(อัตรา MFN) ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก"
    ปล ก็เรื่องปกติของ...แดง ครับ ตัดมาเฉพาะส่วนที่เป็นประโยชน์
     
    Last edited: 1 Jan 2015
    padd และ jinxz ถูกใจ.
  18. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เป็นไงละ ตามคาด ทำหยิ่งได้ซักพักตอนนี้ท้องมันหิวจนทนไม่ได้แล้ว เข้ามาทำ FTA กันเถอะ
    ตอนนี้เราก็ไม่ต้องแสดงอาการมาก ทำเรื่องใหญ่ต้องใจนิ่งๆ
    แค่ย้อนถามกลับไปว่าผู้แทนสมาคมการค้าได้ไปเจรจากับทางราชการของอียูแล้วหรือยัง ทางเค้าพร้อมหรือเปล่า
    เพราะถ้าไม่พร้อม เจรจาแล้วติดๆ ขัดๆ มันจะเสียเวลา แค่นี้เดี๋ยวก็วิ่งแจ้นไปเจรจาให้เองละ
    ***********************************************
    1427705220-92d9b35d57b93fbcb52b1284ff215c63.jpg
    เอกชนเสนอฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู
    นนทบุรี 30 มี.ค. – ผู้แทนสมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์เสนอฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู รมช.พาณิชย์รับข้อเสนอ แต่เน้นต้องดูความพร้อมของคู่เจรจาประกอบด้วย

    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้แทนสมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ (EABC) นำโดยนายรอล์ฟ-ดีเตอร์ ดาเนียล นายกสมาคมฯ โดย EABC เสนอตัวเป็นตัวกลางเพื่อผลักดันให้เกิดการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนา โดย FTA จะช่วยให้ไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและขับเคลื่อนให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    ในการนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีความยินดีกับข้อเสนอแนะของ EABC และเห็นว่าการเจรจา FTA ต้องสร้างประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ดี การเจรจาต้องดูความพร้อมของคู่เจรจาด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการค้าและการลงทุนอย่างเสรี ทั้งในระดับพหุภาคี และทวิภาคี และขจัดอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนโดยภาคเอกชน จึงขอให้ฝ่าย EABC มั่นใจในนโยบายการค้าและการลงทุนของไทย และเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนของยุโรปเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ตลอดจนใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    สมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ (European Association for Business and Commerce : EABC) เป็นสมาคมธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหอการค้ายุโรปและองค์กรภาคธุรกิจทั้งที่อยู่ในไทยและยุโรป 16 แห่ง ร่วมกับนักธุรกิจยุโรปในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกกำลังและทรัพยากรของภาคเอกชนยุโรป ให้เป็นหนึ่งเดียวในการสร้างความเข้มแข็ง ตลอดจนช่วยเหลือและส่งเสริมบรรยากาศทางการค้า การบริการ และการลงทุนให้กับบริษัทจากยุโรปในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและคาดหวังที่จะใช้ไทยเป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย


    ปัจจุบัน EABC มีสมาชิกเป็นบริษัทของยุโรปที่มีธุรกิจในประเทศไทย จำนวนกว่า 2,000 บริษัท โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558 EABC ได้ออกเอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคธุรกิจยุโรปในประเทศไทยประจำปี 2558 (European Business Position Paper) ซึ่งเน้นย้ำว่า EABC สนับสนุนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มั่นคงระหว่างไทยกับยุโรป โดยเฉพาะการเจรจา FTA ไทย-EU

    ในปี 2557 สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 4 ของไทย โดยมีมูลค่าการค้ารวม 42,802.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 3.62 โดยไทยได้ดุลการค้า 3,883.87 ล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกจากไทยไปสหภาพยุโรปมีมูลค่า 23,342.95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 4.22 การนำเข้ามีมูลค่า 19,459.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 11.60 .- สำนักข่าวไทย
    http://www.tnamcot.com/เอกชนเสนอฟื้นเจรจา-fta-ไทย/
     
  19. รู้สลึงคุยบาท

    รู้สลึงคุยบาท สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    29 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    30
    ส่งออก 2 เดือนแรก ปี58 -4.8%
    โครงสร้างสินค้าออกของไทย 2558(ม.ค. - ก.พ.)
    สินค้าเกษตรกรรม -17.71%
    สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร -2.50%
    สินค้าอุตสาหกรรม -1.65%
    สินค้าแร่และเชื้อเพลิง -28.26%
    ตลาดส่งออกสำคัญของไทย 2558(ม.ค. - ก.พ.)
    อาเซียน(9) -4.52%
    ญี่ปุ่น -9.61%
    สหรัฐ 5.55%
    สหภาพยุโรป(27) -5.60%
    จีน -17.38%

    2 เดือนที่ผ่านมา ส่งออกไปจีนลดลงมากกว่ายุโรป เรื่องตัด GSP แค่สร้างกระแสเกินความจริง

    553266_573911552750911_647566258208576871_n.png
     
  20. Octavarium

    Octavarium อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    831
    +1 Russia

    โลกนี้ไม่ได้มีแค่ยุโรปกับอเมริกา
     
  21. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    ยุโรปขู่ตัดGSP ผมฟังมาตั้งแต่อยู่ม.4 อายุ14 จนตอนนี้จะ40แล้ว :hi:
     
    AlbertEinsteins likes this.
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
  23. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในการทบทวนโครงการ GSP (Generalized System of Preferences) ของสหรัฐฯ ประจำปี 2559 ปรากฏว่าไม่มีประเทศไทยอยู่ในรายการที่สหรัฐฯ ประกาศตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP ส่งผลให้สินค้าที่ไทยเคยได้รับสิทธิ์ GSP จากสหรัฐฯ จะยังคงได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าทุกรายการเช่นเดิม

    ส่วนสินค้าไทย 3 รายการ ได้แก่ กล้องถ่ายโทรทัศน์ เลนส์แว่นตา และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ที่กรมการค้าต่างประเทศได้ยื่นคำร้องขอคงสิทธิ์ GSP เพราะคาดว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าไทยดังกล่าวของสหรัฐฯ อาจเกินเพดานที่กำหนด พบว่ามูลค่ายังต่ำกว่าเพดานที่กำหนด ส่งผลให้ยังสามารถใช้สิทธิ์ GSP ได้ต่อไป ไม่มีสินค้าไทยรายการใดถูกตัด GSP เลย

    โดย กรมการค้าต่างประเทศ ขอให้ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออกเร่งใช้สิทธิ์ GSP ที่ไทยได้รับให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกไทยไปยังสหรัฐฯ ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
     
  24. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
    เดี๋ยวปีหน้าไอ้มือดีมันจะกลับมาบอกว่า เค้าตัดสิทธิ์เพราะรัฐบาลเผด็จการ
    เชื่อผมดิ
     

Share This Page