https://www.facebook.com/greenpeaceseath?fref=nf http://www.prachatai.com/column-archives/node/2187 http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000054475 เป็นแดงล้มเจ้า-เหลือแป๊ะลิ้ม เขาเห็นตรงกันเรื่องไม่เอาถ่านหิน ไม่เอานิวเคลียร์ ผมเลยสงสัยว่า แล้วจะเอาอะไร? ค่าไฟห้ามแพง แต่จะเอาพลังงานสะอาด อันนี้มันฮานะครับ เหมือนคนมีเงินเดือนหมื่นแต่อยากขับเบนซ์ http://pantip.com/topic/31045414 แล้วถ้าเขาไปสร้างชายแดนไทยแล้วขายไฟให้ไทย ผมว่าจะเจ็บกว่านะ คือควบคุมอะไรไม่ได้เลย แถมภาษีและรายได้ไปตกกับต่างชาติอีก
เอาจริงๆผมก็ยังไม่อยากเอาตอนนี้นะครับ... แต่ไม่ใช่เพราะเรื่องระบบ เทคโนโลยี แต่เพราะยังไม่เชื่อใจบุคคลากรที่มีส่วนร่วมในโครงการพวกนี้ ตั้งแต่การจัดซื้อ การก่อสร้าง ติดตั้ง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตลอดจนส่วนที่ยาวนานที่สุดคือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน การควบคุมการทำงานให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การบำรุงรักษา ตลอดจนแผนสำรองต่างๆเมื่อเกิดวินาศภัย ถ้าสามารถทำให้ผมเชื่อใจในเรื่องนี้ได้ ผมคิดเอาเองว่าคงมีอีกหลายคนที่น่าจะเปิดใจรับมากขึ้น (ไม่รวมพวกค้านเพราะผลประโยชน์) ส่วนเขื่อน (ไม่รวมเรื่องบริหารจัดการน้ำ) เป็นส่วนที่อยากได้น้อยที่สุดเพราะคิดว่าประเทศไทยตอนนี้ในเรื่องทรัพยากรป่าไม้ ธรรมชาตินั้นน้อยลงมาก และยังไม่สามารถทดแทนได้ทันครับ ถ้าสามารถผลิตพลังงานจากเทคโนโลยีอื่นๆได้เพียงพอกับการใช้งานแล้ว ก็ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนครับ
เหมือนจะบอกว่า สาธารณูปโภคชั้นเลิศ เทคโนโลยีที่ดีมีคุณภาพสูง ถ้าบริหารจัดการอย่างมืออาชีพจริงๆ ทุกมิติ ทุกระบบ ฯลฯ ก็รับได้ ถ้าพลาดแล้วเป็นอันตรายกับประชาชน ก็ไม่คุ้ม
ถ้าพลาดแล้วเกิดเป็นอันตรายกับประชาชน ยังไงก็ไม่คุ้มครับ... แต่ทุกเทคโนโลยีผมว่ามันมีความเสี่ยงหมด จะมากจะน้อย จะรุนแรงมาก หรือน้อย กระทบต่อคนว่าขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีนั้นครับ แต่ผมเชื่อว่าการบริหารจัดการที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านั้นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่คงไม่มีทางที่จะไม่มีความเสี่ยงเลย ขนาดโรงไฟฟ้าของญี่ปุ่นก็ยังต้องปิดตัวลงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่สิ่งที่เห็นคือเขามีขั้นตอนการจัดการหลังเกิดเหตุการณ์ที่ดี พยายามทำให้ผลกระทบลดลงมากที่สุด และสูญเสียน้อยที่สุดครับ ถ้าอยากได้พลังงานสะอาด เทคโนโลยีที่ความเสี่ยงด้านชีวิตน้อยที่สุด ก็ทำได้ แต่เราอาจจะเจอความเสี่ยงด้านอื่นมาแทนเช่น ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าเทคโนโลยีอื่นสูงมากๆ ก็เป็นความเสี่ยงด้านการเงิน ระยะเวลา หรือการขาดแคลนพลังงานในอนาคตแทนครับ ทางที่ดีที่สุดของการโต้แย้งกันคือนำเสนอทางเลือกของแต่ละฝ่าย ไม่ปกปิด ไม่พูดความจริงแค่บางส่วน ไม่โจมตีกันด้วยวาทกรรมเพียงครึ่งเดียว ไม่ปลุกระดมให้เกิดการต่อต้านด้วยอารมณ์ หรือข้อมูลที่ผิด ถ้าสิ่งเหล่านี้ เรื่องแค่นี้ยังทำกันไม่ได้ ไม่ว่าจะพลังงานทางเลือกไหนๆ ก็ไม่เกิดขึ้นหรอกครับ... สุดท้ายเราก็ต้องไปพึ่งพาการนำเข้าแทน และมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต
จริงๆผมเชียร์ถ่านหินครับ ราคาถูก มีใช้ไปอีกเป็นร้อยปี ตัวอย่างจากประเทศเยอรมันที่ฝ่ายนิยมพลังงานจากแสงแดดชอบอ้าง เขาก็ใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า45%
ตรงนี้แหละประเด็นสำคัญ ฝ่ายรัฐ ฝ่ายหนุนให้เปิดสัมปทานพลังงาน ก็บอกไม่หมด เอาแค่โฆษณาเรื่องถ่านหินก็หมกเม็ดแล้ว ถ้าผมจำไม่ผิด ถ่านหินมี 4 เกรด โดย 2 เกรดแรก ค่อนข้างเผาไหม้หมดจรด สร้างมลพิษน้อยมาก ถ้าเลือกใช้ 2 เกรดแรกนี้ + ติดตั้งเครื่องกำจัดเพิ่มเติม แทบจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเลย แต่ที่เป็นข่าวว่ามีการลักลอบขนถ่านหินแถวสมุทรสาคร สมุทรสงคราม จนโดนต่อต้านและฟ้องศาลให้ระงับนั่นคือ ลิกไนท์ ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำที่มีมลพิษสูง ที่เห็นโทษกันชัดเจนกันมาแล้วที่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ....... และที่สำคัญ ปอตอทวย กับ ก.พลังงาน พยายามโหมโฆษณาชวนเชื่อเรื่องถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด ฉายสปอร์ตปูพรมไปทุกช่องทุกชั่วโมง .....แต่ไม่ยักจะระบุให้ชัด ๆ กันไปเลยว่า ถ่านหินที่จ้องจะเอามาใช้น่ะ เป็นชนิดไหนกันแน่ ไม่เข้าใจว่าการบอกข้อมูลให้ชัด ๆ โปร่งใส ที่สามารถสร้างความชอบธรรมและทำให้กระแสต่อต้านเบาลง ..... ทำไม ปอตอทวย กับ ก.พลังงาน ถึงไม่ทำ??? ต้องทำให้เรื่องราวมันเทา ๆ เหมือนสีที่แสดงเป็นตัวถ่านหินในสปอร์ทโฆษณานั่นเลย ไม่ต้องเสียเงินเสียทองจ้างเอเจนซีผลิตโฆษณาและซื้อเวลาฉายปูพรมเป็นร้อยล้านพันล้าน....หรอกครับ เอาแค่ ก.พลังงานตั้งโต๊ะแถลง ประกาศเลยว่า ถ่านหินที่จะนำมาใช้ไม่ใช่ ลิกไนท์คุณภาพต่ำ ขอให้ประชาชนสบายใจได้เลย ........ แค่นี้นักข่าวก็ทำข่าวให้ฟรี ๆ แล้ว จะต้องเสียเงินไปทำไมให้มากมายยุ่งยาก??? เพิ่มเติม ปล. ใครช่วยหาข้อมูลให้หน่อยซิว่า ที่เยอรมัน+ยุโรปใช้ถ่านหินน่ะ เป็นประเภทไหน
ถ้า ใช้ ม.44 พลักดัน อนุมัติงบประมาณระยะยาว ให้โครงการศึกษาโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ของไทยให้ดำเนินงานต่อไปโดย จะดีไหม?
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 14 พ.ย. ว่า นางอังกีล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี สร้างความแปลกใจให้กับคนทั่วโลกด้วยการประกาศว่าจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 18 แห่งทั่วประเทศซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นจำนวน 28% ของประเทศระหว่างปี 2015 - 2022 เพื่อป้องกันภัยพิบัตินิวเคลียร์เหมือนที่เกิดขึ้นที่ฟุกุชิมะเมื่อต้นปีที่ผ่านมา http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=121&cno=2664 .................................................................................... โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในเยอรมนี | เดลินิวส์ „โรงไฟฟ้า Schwarze Pumpe ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 2 เครื่อง มีกำลังการผลิตรวม 1,600 เมกะวัตต์ เริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2541 และจะสามารถใช้งานได้ไปจนถึงปี 2583 (42 ปี)“ อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/282587 ........................................................................................... เข้าใจได้ถึงการต่อต้านของคนในชุมชนเพราะจากข่าวของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสร้างโรงไฟฟ้าต่างๆครับ แต่จะทำอย่างไรให้ พวกเขา อุ่นใจได้ว่า หากเกิดอะไรขึ้นพวกเขาจะได้รับการดูแลที่ดีและรวดเร็ว ไม่ใช่รอการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยซึ่งกินเวลานาน รัฐ+เอกชน จัดตั้งกองทุนได้ไหมเมื่อเกิดปัญหาสามารถนำเงินมาใช้ได้ทันที
ผมว่าปัญหาหลัก ๆ มันอยู่ที่การบริหารจัดการมากกว่าครับ อย่างโรงไฟฟ้าแม่เมาะตอนนี้ปัญหาก็ยังไม่จบนะครับ จะสร้างโรงไฟฟ้าที่ใหม่ชาวบ้านรอบ ๆ พื้นที่ไม่มีความมั่นใจเรื่องสภาพแวดล้อมเลย อีกอย่างก็เมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ อย่างน้ำท่วมใหญ่ปี 54 ถามว่าถ้าตอนนั้นมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ตรงโซนพื้นที่น้ำท่วมจะเป็นยังไงครับ
เคยอ่านผ่านๆว่า เรากำลังจะเริ่มซื้อไฟฟ้าจากลาวมาใช้แล้ว จริงๆแล้วถ้าจะบอกว่า ทุกประเทศต้องผลิตพลังงานเพื่อใช้เองเพื่อรองรับการพลังงานในอนาคต ผมเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วยครับ แต่สิ่งที่ประชาชนกังวลคือ ปัญหามลพิษ และการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างหาก ทำอย่างไรให้ เขา มั่นใจว่าจะไม่มีปัญหา