http://www.oknation.net/blog/meeboo/2015/01/13/entry-1 แต่ว่า สิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้างครับ ผมหาไม่เจอ http://www.oknation.net/blog/meeboo/2015/01/13/entry-1 เอ่ นั่นสิ แต่ว่า ไม่มีกฏหมายใดเอาผิด แล้วใช้กฏหมายฉบับใดมาตั้งกรรมาธิการซักถามคดีฯ สภาฯทำไมสมคบกับปปช. ถาม อสส.ดูยัง
อันตรายยังไง เขาตัดสิทธิ์เพราะมันโกง จะให้โอกาสเข้ามาเล่นการเมืองทำไม อาจารย์แก่กระโหลกกะลาพวกนี้ ไม่อยากจะคิดเลยว่า ลูกศิษย์ที่เรียนด้วย จะมีตรรกะน่ากลัวเหมือนอาจารย์คนนี้ขนาดไหน
ค้นหาได้เกี่ยวข้องสุดก็แค่นี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติสิทธิทางการเมืองในการกำหนดเจตจำนงของตนตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลไว้ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองไทยที่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับสิทธิทางการเมืองเพียงการถือสัญชาติ การมีบัตรประชาชน และการได้สิทธิเลือกตั้ง ได้มีช่องทางการใช้สิทธิทางการเมืองทางตรงเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1.การมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 163 บัญญัติว่า “ประชาชนผู้มีสิทธเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนด ในหมวด 3 และหมด 5 แห่งรัฐธรรมนูญนี้ ” - จะเห็นว่าประชาชนผูมีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไมนอยกวาหนึ่งหมื่นคน เข้าชื่อร้องขอตอประธานรัฐสภาได้ซึ่งเป็นจำนวนที่ถือว่าไม่มากจนเกินไปที่จะทำให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างดังกล่าว 2. การมีสิทธิถอดถอนบุคคล - โดยประชาชนผูมีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไมนอยกวาสองหมื่นคน มีสิทธิเขาชื่อรองขอตอประธานวุฒิสภาเพื่อใหวุฒิสภามีมติออกเสียงถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ร่ำรวยผิดปกติ มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง บุคคลเหล่านั้น ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด รวมถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตบัญญัติไว้ 3.การออกเสียงประชามติ ประชาชนผูมีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงประชามติ ในกรณีต่อไปนี้ (1) การตัดสินใจดำเนินกิจการหรือโครงการที่กระทบถึงประโยชนไดเสียของประเทศชาติหรือประชาชน (2) ตามกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ใหมีการออกเสียงประชามติ สำหรับ การทำประชามติครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่19 สิงหาคม 2550 เพื่อให้แสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 4.สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ การที่ประชาชนหรือชุมชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น รวมกลุ่มหรือชุมนุม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน ทรัพยากร หรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้วย - มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ - มาตรา 62 ให้ประชาชนมีสิทธิ์ติดตามและร้องขอ ให้ตรวจสอบการทำงานของข้าราชการหรือ สส. - มาตรา 67 การทำ Public Hearing ก่อนทำเมกะโปรเจกที่มีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูง สามารถฟ้องร้องหน่วยงานได้ - มาตรา 212 ประชาชนมีสิทธิฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ในกรณีที่กฎหมายกระทบสิทธิเสรีภาพ - มาตรา 291 ให้สิทธิประชาชน 50,000 รายชื่อ เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ 5.สิทธิ เสรีภาพในการสื่อสาร และเสรีภาพของสื่อ - มาตรา 45-48 คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ทั้งการห้ามแทรกแซงและห้ามถือหุ้นเด็ดขาด โดยกำหนดให้คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวได้อย่างเท่าเทียม ให้ประชาชนมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันได้มากขึ้น รวมทั้งให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ผ่านการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความโดยวิธีอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังส่งเสริมการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ดังปรากฎในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ที่บัญญัติไว้ว่า “หากประชาชนไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามหน้าที่และไม่แจ้งสาเหตุที่ไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางการเมือง” ดังนี้
แค่ความจำสั้นน่ะครับ จำได้แค่หัวเรื่องแต่จำรายละเอียดไม่ได้ก็ออกมาปล่อยไก่แบบนี้แหละ บางทีแก่แล้วถ้าไม่อ่านหนังสือบอ่ยๆ ก็ไม่ต่างจากเด็กเพิ่งเข้าเรียนนั่นล่ะ อะไรๆ ก็สิทธิ แล้วความรับผิดชอบไปไหนหมดล่ะ หน้าที่อีกล่ะ ก็คนมันทำผิดจากหน้าที่ยังไม่พอมันยังโกงอีกไ่มีความรับผิดชอบอีก แล้วจะปล่อยให้มันเข้ามาทำงานการเมืองเพื่ออะไร? หรือจะบอกว่าให้ไปตัดสินที่การเลือกตั้งว่าถ้าทำผิดจริงคนก็ไม่เลือกงั้นเหรอ ตรรกกะไม่ต่างกับควายแดงเท่าไหร่เลยนะ
นักกีฬาทำตัวถ่อย เถื่อน โกง หรือเล่นไม่สมศักดิ์ศรี ยังถูกแบนตลอดชีวิต พนักงานประพฤติผิดร้ายแรง โกงเงินบริษัท ยังถูกไล่ออกจากงาน คนเลวที่เลวสุดขั้ว ต้องถูกลงโทษไม่ให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง เรื่องพวกนี้ส่งผลต่ออนาคต หน้าที่การงาน ควรยกไว้เป็นอุทาหรณ์ จะทำอะไรต้องคิดถึงผลระยะยาว ก็พวกเขาละเมิดกฎระเบียบ ทำลายชื่อเสียงจนเป็นอันตรายของวงการหรือองค์กร จะปล่อยให้ลอยหน้าลอยตาทำแบบนั้นอยู่อีกหรือ มัวแต่ห่วง กลัวคนผิด คนชั่วเป็นอันตราย ไม่สนใจอันตรายที่เกิดขึ้นกับส่วนรวมหรือองค์กร วงการเลยหรือ อาจารย์แบบนี้แหละที่เป็นอันตรายต่อการศึกษา
โกงกันชัดๆ เห็นๆ บ้านเมืองล่มจม มองไม่เห็นกันเลยจริงๆ สินะ พวกกาสรแดง ยังคงหลับหู หลับตา อวยกันไม่จบไม่สิ้น
ในประมวลกฎหมายอาญา ยังมีโทษประหารชีวิตเลย คือถ้าผู้ต้องโทษถูกประหาร ผู้ต้องโทษจะแก้ตัวยังไงครับ จะให้แก้ตัวด้วยการไปเกิดใหม่ แล้วกลับตัวเป็นคนดีเหรอ มันเป็นไปไม่ได้ ชาติหน้าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ไหมยังไม่รู้เลย ทำไมถึงชอบยกตัวอย่าง แบบมีข้อยกเว้นกันนักครับ
ที่มา เครดิต มติชน คอลัมน์ คมคำ ช่างเลือกคำคมที่ไม่บาดใจตัวเองนะ ถามว่า ถ้าทางกฏหมายไม่มีแล้วหรือถูกยกเลิกไปแล้ว... แต่ ถ้ากฏหมายยังมีอยู่จะผิดไหม และในทางจริยธรรมจะถือว่าผิดไหม? ท่านควรจะบอกกับสังคมให้ครบทุกด้าน ถ้าผิดจริงตามกฏหมาย เก่า ก็บอกมา แต่ไม่สามารถลงโทษได้ หรือไม่สามารถตัดสิทธิได้ เพราะกฏหมายถูกยกเลิกไปแล้ว ก็บอกมา ส่วนเจ้าตัว เมื่อได้รับฟังการตัดสินแล้ว จะลงเลือกตั้งอีกก็เรื่องของเขา