ไร้ข้อยุติ!! ปัญหาพิพาทหาดราไวย์ ระหว่างชาวเลราไวย์กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ หลัง 2 ฝ่ายไม่ยอมรับเงื่อนไข ต้องนำสู่กระบวนการยุติธรรม ด้านผู้ว่าฯ ภูเก็ต สั่งตั้งคณะทำงาน เร่งรังวัด 3 เมตร หน้าชายหาด ออกหนังสือสำคัญหลวง เพื่อให้ชาวเลผ่าน... เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2559 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผวจ.ภูเก็ต พร้อมด้วยกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัยพื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเล พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผบก.ภ.จ.ภูเก็ต พ.ต.ท.ประวุฒิ วงศ์สีนิล ผู้บัญชาการสำนักคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ผู้แทนสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทัพเรือภาคที่ 3 และอัยการร่วมแถลงผลการประชุมจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ 16 หน่วยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ดินพิพาทชาวไทยใหม่ราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต กับตัวแทนบริษัท บารอน เวิร์ล เทรด จำกัดว่า ภายหลังทุกฝ่ายร่วมกันประชุม เพื่อหาทางออกกรณีพิพาทดังกล่าวนั้น จากข้อเสนอปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายยังไม่รับข้อเสนอของกันและกัน จึงคาดว่าต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เนื่องจากทางบริษัทยังไม่รับเงื่อนไขที่ชาวเล คือ เสนอขอผ่านและใช้ประโยชน์พื้นที่ตามเส้นทางเดิม เนื่องจากบริษัทต้องการพัฒนาพื้นที่จุดดังกล่าวตามแผน ขณะเดียวกันข้อเสนอที่บริษัทเสนอให้ชาวเลย้ายศาลบาลัยมาอยู่ยังบริเวณรอยต่อจุดพิพาท โดยจะยกที่ดินให้ 200 ตารางเมตรนั้น ชาวเลไม่ยินยอม จึงให้กลับไปทบทวนอีกครั้ง โดยเบื้องต้นทางจังหวัดจะแก้ปัญหาโดย มอบหมายให้นายประเจียด อักษรธรรมกุล รอง ผวจ.ภูเก็ต เป็นประธานคณะทำงานร่วมกับที่ดินจังหวัดสำรวจพื้นที่หน้าชายหาด ซึ่งเป็นจุดรอยต่อชายหาดกับที่ดินบริษัท ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะกว้างประมาณ 3 เมตร เพื่อปรับปรุงให้เป็นทางผ่าน โดยประกาศเป็นที่ดินหนังสือสำคัญที่หลวง หรือ นสล. ส่วนเรื่องที่ 3 ที่บริษัทเสนอให้ชาวเลย้ายศาลบาลัยมาอยู่ยังบริเวณรอยต่อจุดพิพาท โดยจะยกที่ดินให้ 200 ตารางเมตรนั้น เบื้องต้นชาวเลยังไม่ยินยอม และต้องการให้อยู่ที่เดิม ซึ่งต้องพูดคุยว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะขอ 200 ตารางวา ที่จุดที่ตั้งบาลัยปัจจุบัน ซึ่งบริษัทจะรับไปพิจารณา และประการสุดท้าย ถ้าพี่น้องชาวเลไม่พอใจในผลดังกล่าว สามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองให้คุ้มครองชั่วคราว หรือฟ้องร้องให้พิสูจน์เอกสารสิทธิ ตามขั้นตอนกฎหมาย ขณะที่บริษัทบารอนเองถ้าคิดว่าต้องการปกป้องรักษาสิทธิ์ของตน สามารถร้องต่อศาลได้เช่นกัน หลังแถลงผลการประชุมเสร็จ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้แถลงผลดังกล่าวให้ชาวเลรับทราบก่อนจะแยกย้ายกันกลับ.
บริษัทบารอน เวิร์ล เทรด คู่กรณีกับชาวบ้านหาดราไวย์ มีกรรมการอย่างน้อยสองคนมาจากตระกูลอภิมหาเศรษฐี กรรมการสองคนนี้เกี่ยวพันกับบริษัทที่บุกรุกที่ดินสาธารณะในจันทบุรีด้วย หวังว่ารัฐจะจัดการกรณีพิพาทนี้อย่างเป็นธรรม
ไม่ได้อ่านรายละเอียดเพราะเชื่อว่าไม่มีทางที่ใครจะมีปัญญาไล่ชาวเลนั้นไปได้ เพราะเค้าไม่มีที่ไป อยู่แค่จะจบสวยหรือเปล่าเท่านั้น
อย่าปักใจเชื่อสื่อมากนักนะครับ ฟังความอีกด้านกันบ้าง ******************************************* กรณีพิพาทหาดราไวย์ แม้ว่าจะไม่ได้ข้อยุติ ทว่าได้ข้อสรูป 4 แนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ โดยเฉพาะการอ้างหลักฐานความเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ ล่าสุดหนึ่งในเจ้าของที่ดินออกมายืนยันเอกสิทธิ์ที่ออกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ไปติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้ กับผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี ธัญพิศิษฐ์ เลิศบำรุงชัย รายงานจากหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต http://www.nationtv.tv/main/content/social/378488242/ ******************************************** ในภาคใต้ โฉนดที่ออกอย่างถูกต้องในสมัย ร.5-6 ยังมีอยู่มาก http://news.sanook.com/1108114 ใน ม.วลัยลักษณ์ ยังมีชุมชนชาวบ้านที่อยู่ในเขตมหาวิทยาลัยอยู่ด้วย เพราะมีหลักฐานโฉนดออกมาตั้งแต่สมัย ร.5 เรื่องนี้เคยไปฟ้องคดีกับภาครัฐด้วย จนภาครัฐแพ้คดีมาแล้ว
ก็ต้องพิสูจน์และต่อสู้กันไป สำหรับผมคิดว่าโฉนดจะศักดิ์สิทธิ์ก็ต่อเมื่อมีคนอยู่ หรือ ดู แล ใช้ประโยชน์ ถ้ามีผู้บุกรุกก็ต้องไล่ให้ไวๆครับ