คณะรัฐมนตรีไฟเขียวร่างพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปิดช่องทนายยื่นอุทธรณ์-อนุญาตไต่สวนลับหลัง หากจำเลยหนีคดี วันนี้(13 ก.ย.) ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันที่ 13 ก.ย. 59 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน เรื่อง ร่างพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่า ครม.มีมติเห็นชอบ ตามที่ศาลยุติธรรม เสนอ ร่างพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมีหลักการสำคัญ 3 เรื่องได้แก่ 1.การใช้ทนายความในขั้นตอนพิจารณาคดี และขั้นไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า หากจำเลยคนใดที่ไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือ ให้สามารถร้องขอทนายความได้ โดยรัฐจะเป็นผู้จัดหาให้ เพื่อให้กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องนั้นได้ข้อมูลที่ชัดเจน 2.อนุญาตให้ศาลพิจารณาไต่สวนลับหลัง จำเลยได้ เนื่องจากที่ผ่านมา หากจำเลยไม่อยู่ หรือ หนีคดี ศาลจะไม่สามารถไต่สวนได้ ทำให้มีคดียังคงค้างอยู่ในศาลเป็นจำนวนมาก แต่ต่อไปนี้ได้อนุญาตให้ศาลสามารถสืบลับหลังจำเลยได้ 3.ในขั้นของการอุทธรณืและฎีกานั้น หากตัวจำเลยไม่อยู่ ที่ผ่านมาจำเลยสามารถให้ทนายความเดินทางมายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แต่กฎหมายฉบับนี้ระบุว่า หากจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา ตัวจำเลยจะต้องอยู่ในพื้นที่ เพราะถือว่า หากตัวจำเลยไม่อยู่หมายความว่า ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ นอกจากนี้ มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจาก อัยการ ระบุว่า โดยปกติกระบวนการยุติธรรมจะตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า ผู้ถูกกล่าวหาจะยังไม่ผิดจนกว่าจะมีการตัดสินของศาลในขั้นฎีกา เพราะฉะนั้นการที่เจ้าตัวไม่มายื่นอุทธรณ์หรือฎีกานั้นสามารถทำได้ โดยไม่ขัดหลักการ แต่ไม่ได้รวมถึงการหนีคดี แต่หมายถึงกรณีที่จำเลยเกิดเจ็บป่วย จนไม่สามารถมาแสดงตัวต่อศาลได้ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง รับประเด็นดังกล่าวไปหาถ้อยคำที่รัดกุม เพื่อให้ผู้ที่เจ็บป่วยสามารถส่งตัวแทนมายื่นอุทธรณ์และฎีกาได้ “กฎหมายฉบับนี้ ทำให้กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ ซึ่งสังคมเรียกร้องเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน และขอยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้จงใจที่จะแกล้งใคร” พล.ต.สรรเสริญ ระบุ. http://www.thaipost.net/?q=ไฟเขียวกมไต่สวนลับหลัง-ห้ามจำเลยหนีคดียื่นอุทธรณ์ ....................................................... เอ.... จะหมายถึงทุกคดีที่คงค้างในศาลหรือเปล่านะ
เสียดายที่หลักการของกฎหมาย ย้อนหลังไม่ได้ **************************************************** ในเรื่องกฎหมายย้อนหลังก็เช่นกัน การท่องวลีทางกฎหมายว่า "ห้ามใช้กฎหมายย้อนหลัง" นั้นเป็นการท่องวลีทางกฎหมายที่ไม่ครบ ทำให้เสียความหมายเข้าใจความหมายผิดเพี้ยน อันที่จริงต้องท่องว่า "กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด" เมื่อท่องวลีดังกล่าวได้ครบ จะได้ความหมายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ว่า การใช้กฎหมายย้อนหลังนั้นห้ามเฉพาะการใช้กฎหมายอาญาเท่านั้น ทีนี้เราต้องทำความเข้าใจว่า อะไรคือกฎหมายอาญา กฎหมายอาญานั้น มิเฉพาะแก่กฎหมายที่มีชื่อว่า "ประมวลกฎหมายอาญา" เท่านั้น แต่หมายถึงกฎหมายทุกฉบับที่มีโทษทางอาญา โทษทางอาญาต้องไปดูที่ ป.อาญา ม.๑๘ บัญญัติไว้ ๕ ประการ ได้แก่ 1. ประหารชีวิต 2. จำคุก 3. กักขัง 4. ปรับ 5. ริบทรัพย์สิน หากกฎหมายออกมาภายหลัง แล้วย้อนหลังมาเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดแล้วจะทำไม่ได้ http://natjar2001law.blogspot.com/2010/11/blog-post_5515.html
แต่ ข้อ 3. นี้ ผมนึกถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเลย เพราะ รธน.ฉบับใหม่จะให้อุทธรณ์ได้ ซึ่งจะมีผลให้กรณี หนีคดี จะอุทธรณ์ไม่ได้และศาลจะไต่สวนและพิจารณาคดีเพื่อตัดสินได้เลย ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า
ออกตัวก่อนว่าไม่ใช่นักกฏหมายนะครับ แต่กรณีนี้เป็นเรื่องของการพิจารณาคดีความซึ่งไม่ได้มีผลให้บทลงโทษหรือผลของคดีเปลี่ยนแปลงให้รับโทษใหม่ของกฏหมาย ดังนั้นน่าจะส่งผลให้คดีความต่างๆที่คั่งค้างอยู่ด้วยเหตุผลที่ผู้ฟ้อง จำเลย ที่หนีคดีอยู่ สามารถดำเนินการต่อได้นะ
ฝากไปบอก UNHCR ด้วยว่า "สิ่งที่มึงเรียกร้องมา กูไม่รับซักข้อหนึ่ง" คสช. ไม่ได้กล่าวไว้ แค่แปะชื่อไว้เฉยๆ ข่าว 7 สี - ประเทศไทยรับข้อเสนอแนะบางส่วน ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติให้คำแนะนำ ส่วนการยกเลิกใช้ศาลทหาร เป็นเพราะสถานการณ์โดยรวมผ่อนคลายขึ้น นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงเรื่องที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ มีข้อเสนอแนะเรื่องสิทธิมนุษยชนในไทย จำนวน 68 ข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, การจำกัดเสรีภาพที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมถึงการใช้ศาลทหาร ทั้งนี้ไทยได้พิจารณาข้อเสนอแนะดังกล่าว และได้ข้อสรุปว่าจะรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 6 ข้อ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม อาทิ การนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนยุติธรรม, การลดระดับ และพิจารณายกเลิกโทษประหารชีวิต รวมถึงการทบทวนกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศ และการกดขี่ทางเพศ ส่วนคำสั่งตามมาตรา 44 ยกเลิกการใช้ศาลทหารในคดีความมั่นคง และคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยให้ไปขึ้นศาลยุติธรรมนั้น ปลัดกระทรวงยุติธรรมระบุว่า ไทยยังไม่ได้ตอบรับข้อเสนอแนะนี้ เนื่องจากต้องดูรายละเอียดในคำสั่งอีกครั้ง ส่วนจะมีการรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมหรือไม่ จะแจ้งในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 33 อีกครั้ง ด้านพลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกล่าวถึงการยกเลิกใช้ศาลทหาร ตามคำสั่งของ คสช. เนื่องจากสถานการณ์โดยรวมมีความผ่อนคลายมากขึ้น และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จึงเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะยกเลิก ไม่ใช่ถูกแรงกดดันจากต่างชาติ
ปอกเปลือก ทรราช ชุมชนชาวเอเซียประมาณ 13,000 คนรวมตัวกันเดินขบวนประท้องต่อต้านการใช้ความรุนแรงและการเหยียดผิวในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (4 ก.ย.59)