โลกสวย หรือทำได้จริง

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย kokkai, 5 ต.ค. 2015

  1. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จากต้นทางถึงปลายทาง
    แก้ไขต้นตอความเหลื่อมล้ำ สลายวงจรความขัดแย้ง สร้างพลเมืองเป็นใหญ่ แนวทางที่ต้องเร่งสานต่อในการยกร่าง รธน.ฉบับใหม่ เพื่อประโยชน์ของของประชาชนไทยอย่างเป็นรูปธรรม
    หากวิเคราะห์ถึงรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งที่ฝังรากลึกมายาวนานในสังคมไทย หนึ่งในสาเหตุสำคัญ มาจากปัญหาเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เท่าเทียม จนสังคมคุ้นชินกับวาทกรรมที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” ซึ่งยิ่งตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น การจะตัดวงจรอุบาทว์ สลายความขัดแย้ง จำเป็นต้องแก้ไขตั้งแต่ต้นตอด้วยการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ระบุในเรื่องเหล่านี้ไว้อย่างชัดเจน และหากได้รับการสานต่อจะสามารถปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างแท้จริง

    ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ อดีตกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ
    ในฐานะรองประธานอนุกรรมาธิการศึกษาเตรียมการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ได้เคยกล่าวในงานเสวนาเวทีเสวนาพบสื่อมวลชน ในหัวข้อ “ปฏิรูปก่อนหรือหลังเลือกตั้ง ต้องปฏิรูป” ถึงแนวทางในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่น่าสนใจดังนี้ “การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมจะต้องทำให้แต่ละคนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นเอง ต้องมีกฎหมาย ทั้งกฎหมายให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดี ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีมหาชน หรือคดีทางปกครอง รวมทั้งจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและคดี ให้เขามีอาวุธเท่าเทียมกันในการต่อสู้คดีในศาล
    http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-documentary/item/41789-law04.html

    บทความยาวพอสมควร แล้วจะคัดมาให้ดูเฉพาะส่วนที่สำคัญ
     
    กีรเต้ likes this.
  2. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    “หลักสำคัญที่ต้องปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติมี 3 - 4 เรื่อง คือ จะทำอย่างไรให้ภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลดน้อยลง ซึ่งต้องไปดูเรามีกฎหมาย 700 - 800 ฉบับ แต่ 300 - 400 ฉบับ มีโทษทางอาญา กฎหมายเหล่านี้จึงลงไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติหมด เราจะถ่ายโอนภารกิจอย่างไรไม่ให้เรื่องทุกเรื่องไปลงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

    ประการที่หนึ่งให้มีเจ้าหน้าที่เฉพาะเรื่องเฉพาะทาง อย่างที่มีอยู่แล้ว เช่น เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า ให้มีอำนาจสอบสวนและดำเนินการฟ้องร้องคดี ก็จะเป็นการถ่ายโอนภารกิจ และ

    ประการที่สองเรื่องพนักงานสอบสวน วันนี้ควรแยก ให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ชัดเจน เพราะพนักงานสอบสวน คือ ต้นทางกระบวนการยุติธรรมที่แท้จริง และควรเป็นวิชาชีพที่มีทักษะ ส่วนว่าควรแยกอย่างไร ประเด็นที่มีข้อถกเถียง คือ แยกออกจาก สตช. หรือ แยกแต่อยู่ใน สตช. ตรงนี้ไปว่ากัน แต่เขาต้องมีความก้าวหน้าในฐานะของพนักงานสอบสวน

    ประเด็นต่อมา คือ การบริหารงานบุคคล จะทำอย่างไรให้การแต่งตั้งตำรวจเป็นไปตามระบบคุณธรรม ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ อีกประเด็นสำคัญ คือ เรื่องงบประมาณ ซึ่ง พล.ต.อ. อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อดีต รอง ผบ.ตร. เคยกล่าวไว้ว่าหากไม่แก้เรื่องงบประมาณ ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้นต้องจัดงบประมาณลงให้เพียงพอ” ศ.ดร.บรรเจิด ระบุ
     
    กีรเต้ และ Alamos ถูกใจ.
  3. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    วันนี้เรามีองค์กรดำเนินการเรื่องทุจริต ทั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) แต่ในส่วนของ ป.ป.ท. นั้นไม่ใช่องค์กรอิสระยังอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร ทำให้มีประเด็นพิจารณาเรื่องความเป็นอิสระ และร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ปรับปรุง ป.ป.ท. ให้อิสระเหมือน ป.ป.ช. พร้อมกับแยกให้ชัดเจนว่า ป.ป.ช.จะตรวจสอบตั้งแต่ระดับอธิบดีขึ้นไป ป.ป.ท. ตรวจสอบตั้งแต่ระดับรองอธิบดีลงมา คือ ให้ ป.ป.ช.ดูปลาใหญ่ ป.ป.ท. ดูปลาน้อย
     
    กีรเต้ และ Alamos ถูกใจ.
  4. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่

Share This Page