แสร้งทำภาษีที่ดินให้ดูปั่นป่วน จะได้ขึ้นภาษี VAT

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 2 ต.ค. 2017

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    มาดูเล่ห์กลการป่วนเพื่อไม่ให้เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยป้ายสีมั่วๆ ต่าง ๆ นานากัน แนวคิดแบบนี้ต้องการเตะถ่วง และยกเลิกภาษีนี้ไปเลย ตัวอย่างมีดังนี้:
    1. เก็บภาษีเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง ข้อนี้เป็นการบิดเบือนความจริง คนที่มีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ควรเก็บภาษีทั้งสิ้น จะพยายามหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีกันให้ได้หรืออย่างไร
    2. ใช้ค่าเฉลี่ยแทนราคาประเมิน อันที่จริง ควรที่จะใช้ราคาตลาดเพราะราคาประเมินของทางราชการต่ำกว่าความเป็นจริงมาก แต่ไม่มีสัดส่วนที่แน่นอนว่าต่ำกว่าเท่าไหร่ ควรที่จะให้ประชาชนแจ้งราคาซื้อขายตามจริงโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมโอน เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงแจ้งต่ำกว่าความเป็นจริง ประเทศไทยก็จะมีฐานข้อมูลราคาซื้อขายที่แท้จริง
    3. ใช้อัตราขั้นต่ำเพียงราคาเดียว ไม่มีก้าวหน้า ข้อนี้ก็แสดงเจตนาไม่ต้องการเสียภาษีหรือเลี่ยงภาษีชัดเจน แต่สำหรับทรัพย์ทุกประเภทและทุกราคา ก็อาจผ่อนผันให้ใช้อัตราเดียวกันได้ ยกเว้นที่ดินเปล่าที่เก็บไว้โดยไม่พัฒนา ควรเก็บภาษีให้หนัก เพื่อให้อุปทานที่ดินมีมากขึ้น ราคาบ้านจะได้ไม่สูงเกินไป
    4. เอสเอ็มอีควรเก็บอัตราเดียวกับที่อยู่อาศัย ข้อนี้จะไม่มีปัญหาเลย หากเป็นการจัดเก็บตามราคาที่แท้จริง เช่น บ้านราคา 5 ล้าน กับตึกแถวประกอบธุรกิจราคา 5 ล้านบาท หรือที่นาราคา 5 ล้านบาท ก็ควรเก็บภาษีในอัตราเดียวกัน
    5. ที่ดิน-บ้านพักอาศัยดั้งเดิมที่ความเจริญตัดผ่าน ไม่ควรเสียภาษีเต็มอัตรา กรณีนี้เป็นการเลี่ยงภาษีชัดเจน ถ้าคนเกษียณมีบำนาญเดือนละ 20,000 บาทแต่กลับมีบ้านหลังหนึ่งราคา 100 ล้านบาทในใจกลางเมืองเพราะได้รับมรดกมา อาจไม่สามารถเสียภาษีได้ ข้อนี้ก็ควรขายบ้านเสีย จะอ้างความจนอย่างไม่ละอาย เพียงเพื่อไม่เสียภาษี แล้วค่อยเก็บไว้ให้ลูกหลาน คงไม่ได้ แต่หากขายไปแล้วได้เงินมา ไปซื้อบ้านที่อื่น จ้างพยาบาลคอยปรนนิบัติ ก็ยังเหลือเงินอีกมหาศาล ไม่ควรเอาเปรียบสังคม
    6. บ้านหลังที่ 2 ราคาถูกของคนต่างจังหวัดที่มาทำงานใน กทม. ควรยกเว้น ข้อนี้เป็นการพยายามทำเรื่องหยุมหยิม ทุกวันนี้ใครก็ตามมีทรัพย์เป็นห้องชุดราคา 100,000 บาท ก็ต้องเสียค่าส่วนกลาง จะพยายามหาเหตุเลี่ยงให้ตีความยากเอาเปรียบสังคม นับเป็นสิ่งไม่ดี
    7. ที่ดินตาบอด/ที่ดินที่ผังเมือง/กฎหมายอื่นๆ ห้ามพัฒนาควรยกเว้น อันที่จริงใครมีที่ดินตาบอดก็ควรขายเสีย ถ้ากลัวเสียเปรียบ รัฐก็อาจตั้งหน่วยงานมารับซื้อในราคาที่เป็นธรรม จะหาเรื่องเลี่ยงภาษี นับว่าไม่สง่างาม แต่หากมีการรอนสิทธิ์ใด ๆ รัฐควรจ่ายค่าทดแทนแก่ประชาชน ไม่ใช่เล่น "เถิดเทิง" แบบ "จับแพะชนแกะ" อย่างนี้
    8. ที่ดินที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำป้องกันน้ำท่วม ควรยกเว้น ข้อนี้ก็เช่นเดียวกับข้อ 8
    9. คลับเฮาส์ บริการสาธารณะในโครงการจัดสรร กรณีนี้ถ้าเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ก็ไม่ควรเสียภาษี แต่ถ้ายังเป็นของนักพัฒนาที่ดิน เก็บไว้ใช้หาประโยชน์ทางธุรกิจ ก็ควรเสียภาษี ไม่ควรหลีกเลี่ยง เอาเปรียบสังคม
    นอกจากนี้ยังมีความพยายามบิดเบือนต่าง ๆ นานาได้แก่
    1. ประเด็นการกำหนดนิยามการใช้ที่ดินที่ขาดความชัดเจน ในกรณีของเกษตรกรรมและที่รกร้างว่างเปล่า โดยปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือเจ้าของที่ดินที่ไม่ต้องการเสียภาษีก็จะ "เสแสร้งแกล้งบ้า" ด้วยกันปลูกพืชผลต่างๆบนที่ดินราคาแพงเพื่อเลี่ยงภาษีดังนั้นทางออกที่สมควรก็คือการเก็บภาษีตามราคาที่ดินตามราคาตลาด ที่ดินที่มีราคาสูง ก็ต้องจ่ายภาษีมาก ไปหาใครอยากทำเกษตรกรรมก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลแต่จะนำมาอ้างเพื่อเลี่ยงภาษีตามหน้าที่พลเมืองไม่ได้
    2. ประเด็นผลกระทบของภาษีต่อกิจการวิสาหกิจขนาดย่อม SMEs ซึ่งไม่เป็นความจริง จากผลการศึกษาของทางราชการก็ชี้ให้เห็นว่าการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ การเก็บภาษีที่สูงเกินไปและไม่เป็นการบิดเบือนและเป็นช่องทางการทุจริตเช่นภาษีโรงเรือน การนำข้อปลีกย่อยเล็กน้อยเช่นสถาบันการศึกษาเอกชนนะครับเพื่อหาทางหลบเลี่ยงภาษีเป็นวิชามารที่น่าละอาย
    3. ประเด็นการประเมินภาษีทรัพย์สินที่มีการใช้ประโยชน์หลายประเภทรวมกัน ข้อนี้ก็เป็นอีกประเด็น "ฉ้อฉล" พี่พยายามจะหลบเลี่ยงการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยการพยายามแปลงการใช้ที่ดินเป็นอีกอันจะทำให้เสียภาษีน้อยลง แนวทางการแก้ไขก็คือการเก็บภาษีตามราคาตลาดเช่นเดียวกับข้อหนึ่งขั้นต้น
    4. ประเด็นการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งกรณีเลี่ยงภาษีอย่างน่าละอายใจเช่นที่ดินว่างเปล่าแปลงหนึ่งมีมูลค่าตลาด 100 ล้านบาท ถ้าต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจเสียสูงถึง 2 ล้านบาทต่อปี แต่การเสแสร้งทำดีด้วยกันยกให้ใช้ชั่วคราวเพื่อประโยชน์สาธารณะก็กลับไม่ต้องเสียภาษีและยังได้ "โล่ เกียรติยศ" ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเสียอีก นี่คือความดีที่แสนสามานย์โดยแท้
    5. ประเด็นพวกคนรวยๆ ที่ไม่ต้องการเสียภาษี ยังพยายามสร้างข่าวลือโคมลอยว่าจะเก็บภาษีเครื่องจักรด้วย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่รวมเครื่องจักรดังนั้นกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีเครื่องจักรจึงได้รับการยกเว้นภาษีที่เคยเก็บในกรณีภาษีโรงเรือนที่ผ่านมาด้วย การกล่าวอ้างอันเป็นเท็จนี้ก็เพียงการประสานเสียงเพื่อหาพวกที่จะไม่ยอมจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั่นเอง
    6. ประเด็นการประโคมข่าวว่าจะมีโทษจำคุกถ้าเลี่ยงภาษี อย่างที่ทางราชการได้ชี้แจงบทกำหนดโทษต่าง ๆ ก็ไม่แตกต่างจากบทลงโทษในกรณีการหลบเลี่ยงภาษีในภาษีโรงเรือนที่ใช้มาชั่วนาตาปี โทษจำคุกก็เป็นเพียงแค่การโฆษณาของเราเจ้าของที่ดินที่ไม่ยอมเสียภาษี เป็นพวกทำลายชาติโดยแท้
    ทางราชการควรยึดหลักการเก็บภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างแบบนานาอารยประเทศไม่ควรมีข้อยกเว้นยุ่งยิ้มหรือเอาใจชนชั้นสูงเจ้าที่ดินรายใหญ่ๆ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนแม้แต่น้อยเช่นเดียวกับการเก็บภาษีล้อเลื่อนหรือจักรยานยนต์เก่าๆ คันหนึ่งราคา 30,000 บาทก็ต้องเสียภาษี 400 - 500 บาทต่อปี (มากกว่า 1% อยู่แล้ว) คนที่เดือดร้อนจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นรายใหญ่ถึงซับมูลค่าสูงแต่ไม่ต้องการเสียภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งหากมีการเก็บภาษีนี้มาเมื่อ 50 ปีก่อน ณ อัตรา 1% ก็เท่ากับว่ามูลค่าทรัพย์สินที่เจ้าที่ดินรายใหญ่ถือครองอยู่นี้ เป็นภาษีที่ควรเสียแต่ไม่ได้เสียนั่นเอง (http://bit.ly/2rrllrH)
    อย่าปล่อยให้เจ้าที่ดินและนายทุนใหญ่ล้มหรือบิดเบือนระบบการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประโยชน์เฉพาะตน และพอล้มได้สำเร็จ รัฐบาลก็หาทางขึ้นภาษี VAT จาก 7% เป็น 8%-9% การขึ้นภาษี VAT เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้คนทั่วไปหมด ฤาษีออกจากป่ามาซื้อผงซักฟอกก็ต้องเสียภาษี VAT แต่การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเก็บกับคนมีทรัพย์ โดยเฉพาะที่มีมากที่ควรเจือจานให้สังคม ไม่ใช่เอาเปรียบสังคม
    สังเกตง่าย ๆ รัฐไม่ค่อยใส่ใจการกระตุ้นให้ประชาชนรู้เรื่องภาษีนี้เหมือนไม่อยากเก็บ ทีตอนเปลี่ยนเป็น VAT โหมโฆษณาให้ประชาชนเข้าใจกันยกใหญ่ แต่นี่กลับพูดให้ประชาชนสับสนจะได้ไม่ต้องเก็บซะงั้น วิชามารขั้นมหาเทพจริงๆ
    ที่มา: http://bit.ly/2xR1yod
     
  2. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    บางเรื่อง ยังมีคนไม่รู้อีกเป็นจำนวนมาก สังเกตุได้ว่า เมื่อครบรอบเดือนตุลา ก็จะมีโพสต์ทำนองที่ว่า รัฐบาล (ในสมัยนั้นๆ) จะขึ้นภาษี คนไม่รู้บางคนก็โมโหกันไปด่าว่ากันไป

    แต่บางที ก็มีคนบางกลุ่มพวก ไม่ว่าจะเป็นนักข่าว หรือนักวิชาการบางคน ที่รู้แล้วเข้าใจทุกประการ แต่ยังเลือกจะนำเสนอในแง่มุมนี้ บิดเบือนให้คนไม่รู้ได้เข้าใจผิดๆ สร้างอารมณ์ร่วมกันไป

    ผมถือว่า คนพวกนี้มัน “เหี้ย” ครับ

    ..................................................................................
    Kittitouch Chaiprasith

    "อุปาทานหมู่เรื่องขึ้น VAT เป็น 9%"

    วันนี้เปิด facebook มาแปบเดียวเห็นเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (อีกแล้ว) เลยไม่รู้จะพูดดีไหม? เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ #น่าเบื่อมากถึงมากที่สุด แต่ก็คิดว่าคงต้องออกมาพูดเสียหน่อย

    --------------------------

    - ประเทศไทยมีกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT อยู่ที่ 10% มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยให้ 10% นี้แบ่งเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9% และรวมภาษีท้องถิ่นอีก 1% รวมเป็น 10% (หมายเหตุ: ภาษีท้องถิ่นคิดเป็น 1/9 ของ VAT)

    - แต่เนื่องจากรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา #กลัวเสียคะแนนนิยมจากประชาชนคนไทย จึงออกกฎหมายพิเศษเพื่อลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 9% + 1% ลงมาเหลือ 6.3% และเมื่อรวมภาษีท้องถิ่นอีก 1/9 ของ 6.3% ซึ่งก็คือ 0.7% ก็จะได้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% อย่างที่เห็น

    - โดยที่กฎหมายพิเศษซึ่งออกเป็นพระราชกฤษฎีกานี้ ทำประจำทุกปี-สองปีตั้งแต่ปี 2540 จนปัจจุบัน เป็นเวลา 19 ปี ซึ่งพระราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าวนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ต.ค.ปีนี้ถึง 30 ก.ย.ปีหน้า

    #เป็นแบบนี้มาตลอด_19_ปี !!!!!

    - ข้างล่างนี้คือ เวปพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร ก็ลองไปอ่านดูจะเห็นว่ามันก็เขียนแบบนี้มาตั้งแต่ปี 40 ปีที่แล้วก็เขียนแบบนี้ สองปีก่อนก็เขียนสามปีที่แล้วก็เขียน... เขียนมาตั้งแต่ยุครัฐบาลชวน รัฐบาลทักษิณ รัฐบาลสุรยุทธ รัฐบาลสมัคร รัฐบาลอภิสิทธิ์ รัฐบาลยิ่งลักษณ์

    https://home.kku.ac.th/anuton/electronic%20tax/1603.0.html

    - กฎหมายบอกว่าให้ลดเหลือ 6.3% และจะปรับขึ้นเป็น 9% ตามเดิมอีกครั้งเมื่ออายุกฎหมายหมดวันที่ 30 ก.ย.ปีหน้า (ซึ่งพอปีต่อไป ก็ต่อเพิ่มไปเรื่อยๆ อยู่ดี...)

    *** ก็สงสัยว่าคนไทยยุคโซเซียลจะมาดราม่าอะไรกันเป็นประจำทุกปี?

    --------------------------

    *** ปรากฎการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่ายุคโซเซียลนั้น อินเตอร์เน็ทไม่ได้ทำให้ผู้คนในสังคมฉลาดรอบรู้ขึ้นเลย คนยุคนี้ เป็นเสมือนเพียง "ก้อนอารมณ์" ที่พร้อมจะถูกชักจูงไปทางใดก็ได้ตามอคติที่มี

    ขอเพียงแค่มีสื่อในมือ พาดหัวข่าวแรงๆ จูงจมูกและสร้างอารมณ์ให้ผู้คนเฮโลกันโดยไม่ต้องมีข้อมูล ไม่ต้องรู้อะไรทั้งนั้น

    *** นอกจากคนไทยที่ขาดวิจารณญาณเรายังมีสื่อที่ขาดจรรยาบรรณการทำข่าวทั้งที่รู้ว่าพระราชกฤษฎีกานี้มีเนื้อหาก็คือ

    "ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม"หรือชื่อเต็มๆ ของ พรก.นี้ซึ่งก็คือ...

    #พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

    (กรุณาดูที่เอกสารพระราชกฤษฎีกานะครับหัวเรื่องก็เขียนไว้ชัดเจน ข้างล่างตราครุฑ)

    *** ซึ่งถ้าสื่อไม่เล่นพาดหัวเรียกดราม่าก็แค่ลงไปตามปกติ คือ "ต่ออายุลด VAT" แค่นั้นก็จบแล้ว ดังตัวอย่างข่าวด้านล่างนี้

    - ครม.ไฟเขียวต่ออายุ VAT ที่อัตรา 7% อีก 1 ปี http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/717717
    - ครม.เคาะต่ออายุลดแวต 7% อีก 1 ปี สิ้นสุด 30 ก.ย.61 https://www.matichon.co.th/news/629332
    - มติ ครม.ต่ออายุภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อีก 1 ปี https://prachatai.com/journal/2015/07/60371

    แต่ถ้าสื่ออยากพาดหัวเรียกกระแสก็แบบข้างล่าง...

    - ราชกิจจานุเบกษา ประกาศปรับขึ้นภาษี VAT เป็น 9% เริ่มปี 2561 https://money.kapook.com/view180652.html
    - ราชกิจจานุเบกษาประกาศ !!! ปรับขึ้นภาษี VAT เป็น 9% เริ่มปี 2561 http://www.tnews.co.th/index.php/contents/364722

    --------------------------

    ผมก็หวังว่าปีหน้าคงไม่ต้องมาพูดซ้ำนะครับ (แม้จะเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ก็ตามเถอะ...)

    เครดิตภาพที่สองและสาม: เพจห่วยตูน


     
    หนูอ้อย และ HiddenMan ถูกใจ.
  3. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :giggle: เข้ามาขำ ด็อกรถไฟฟรี...
     
    wewe likes this.
  4. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    กูเบื่อ Dog วะ :rofl::rofl::rofl::rofl:



    22089545_1420038378115949_6010038304619784703_n.jpg



    "สรรพากร" เคลียร์ข้อข้องใจภาษี VAT สัมภาษณ์ประเด็นร้อนทางโทรศัพท์ กับนายประสงค์ พุทธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร

    นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ให้สัมภาษณ์เนชั่นทีวีถึงกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็น ร้อยละ 9 ว่า เป็นเทคนิคในการเขียนกฎหมายซึ่งทุกรัฐบาลตลอด 25 ปีที่ผ่านมาจะมีการเขียนไว้แบบนี้ เมื่อถึงปีหน้าเชื่อว่า จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้คงอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ซึ่งเมื่อไปบวกกับภาษีท้องถิ่นก็จะเป็นร้อยละ 7 เหมือนเดิม

    อธิบดีกรมสรรพากร อธิบายว่า มีประมวลรัษฎากรออกมาเมื่อปี 2535 กำหนดให้เพดานการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 10 แต่หลังจากนั้นในทุกๆปีก็จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้คงการเก็บภาษีมูลราคาเพิ่มไว้ที่ 6.3% เหมือนเดิมซึ่งพระราชกฤษฎีกาก็จะออกมาช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายนเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม เป็นเช่นนี้มาตลอด 25 ปี ยกเว้นปี 2540 ที่มีการขยับขึ้นภาษีมูลราคาเพิ่มไปเป็น 10% ในช่วงสั้นๆ เพราะเป็นเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟแต่ต่อมาก็มีการต่อรองและลดลงมาเหลือ 6.3% เหมือนเดิม

    "ไม่ต้องตกใจครับ เชื่อว่าปีหน้ารัฐบาลก็จะออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อคงภาษีแบบไว้ 6.3% เหมือนเดิม" อธิบดีกรมสรรพากรกล่าว

    ทั้งนี้มีกฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้ประชาชนต้องจ่ายภาษีอีก 1 ใน 9 ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กับท้องถิ่น เมื่อเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 จึงไปบวกภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 0.7 รวมเป็นต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 นั่นเอง

    http://www.nationtv.tv/main/content/economy-business/378573302/
     
    Last edited: 6 ต.ค. 2017
  5. wewe

    wewe สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    51
    รู้อะไรบ้างด็อก?
    เข้า สภากาแฟได้ก็เก่งสึดๆแระ
    พูดไปก็ไม่เก็ทหรอก
    เสียเวลากับคนชอบลักใช้ของฟรี เหอะๆๆ
     
    AlbertEinsteins, ปู่ยง และ tonythebest ถูกใจ

Share This Page