แทบไม่มีชาติไหนในโลก (โง่) ให้เช่าที่ดิน 99 ปี

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 21 Mar 2018

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    มีการอ้างกันเสมอว่าชาติอื่นเขาให้เช่าที่ดิน 99 ปี ดร.โสภณ ถามกลับว่า มีที่ไหน โกหกทั้งเพ ในฐานะที่ ดร.โสภณ เดินทางไปติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ในด้านอสังหาริมทรัพย์แทบทั่วโลก พบว่า ข้ออ้างข้างต้นคงเป็นเท็จ

    ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) แจกแจงให้เห็นถึงการให้เช่าที่ดินดังนี้:
    1. ดร.โสภณ ได้สอบถามไปยังนายกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มาเลเซียพบว่า ไม่มีการให้เช่าที่ดิน 99 ปีสำหรับชาวต่างชาติทั่วไป (http://bit.ly/1Tya4g8)
    2. มีให้เช่าสำหรับนักพัฒนาที่ดินที่จดทะเบียนเป็นบริษัทสิงคโปร์ที่ให้พัฒนาเฉพาะแปลงที่ทางองค์การฟื้นฟูเมือง (Urban Redevelopment Authority: URA) กำหนดไว้เท่านั้น (แทบไม่เคยมีต่างชาติมาแข่งด้วยเลย) แต่ต่างชาติอาจเช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมได้ 30 ปี แต่สำหรับในประเทศในขณะนี้ให้ซื้อที่ดินในนิคมฯ ได้เลย
    3. มาเลเซียมีกฎหมายให้เช่าที่ดิน 99 ปี ในทางปฏิบัติแทบไม่มีได้พบเห็น เขาให้ต่างชาติซื้อบ้านได้ในห้องชุดหรือหมู่บ้านจัดสรรละตามโครงการ Malaysia My Second Home (MSH) ซึ่งเดี๋ยวนี้เพิ่มราคาเป็นอย่างน้อย 20 ล้านบาท จะซื้อหรือเช่าที่ดินทั่วไปไม่ได้ โดยเฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและที่ดินชายแดน และทั้งนี้หมายถึงรัฐต่าง ๆ ในแหลมมาลายู ส่วนที่รัฐซาราวักและซาบาห์ที่อยู่เกาะบอร์เนียวยังไม่อนุญาต ยกเว้นตามโครงการ MSH
    4. ในมาเลเซีย ต่างชาติจะซื้อหรือเช่าที่ดินทั่วไปไม่ได้ โดยเฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและที่ดินชายแดน รัฐบาลมาเลเซียห้ามต่างชาติเช่าอย่างเด็ดขาด หรือที่ที่เม็กซิโกก็เช่นกัน ห้ามขาดไปเลยในกรณีที่ดินชายแดนในระยะ 50 กิโลเมตรจากชายแดน
    5. ประเทศลาวให้นายทุนเช่าที่ดิน 99 ปีเช่นกัน แต่เป็นเฉพาะพื้นที่ที่กำหนด โดยมากเป็นนักลงทุนจีนเป็นสำคัญ (พวกนี้คงหวังขยายอิทธิพลเข้ามาในลาวเช่นเดียวกับชาวเวียดนามที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก) อย่างไรก็ตาม หากให้เช่าทำสวนยางพาราก็มักเป็นเวลา 25 ปี (ตามอายุขัยของต้นยาง) แต่ส่วนใหญ่ที่สุดอย่างมากไม่เกิน 50 ปี จากการสัมภาษณ์ข้าราชการระดับผู้อำนวยการกองท่านหนึ่งในกระทรวงทรัพยากรฯ ของลาว ท่านกล่าวว่า ผลการให้เช่าที่ดินในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีนัยแต่อย่างใด
    6. กัมพูชาและลาว แต่เดิมเคยให้เช่า 99 ปี แต่ปัจจุบันกำหนดระยะเวลาไว้สูงสุด 50 ปีเท่านั้น เขาสรุปบทเรียนได้ว่าการให้เช่าระยะยาวเช่านั้นเสียเปรียบ
    7. เวียดนามก็ไม่มีการเช่า 99 ปี มีเช่าระยะ 50-70 ปี แต่ไม่ใช่ให้เช่าได้ทุกที่ ส่วนมากในนิคมอุตสาหรรมซึ่งไทยให้ซื้อได้อยู่แล้ว ไม่ต้องเช่าด้วยซ้ำไป

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา ไม่มีใครให้เช่า 99 ปีแต่อย่างใด ไทยเราจึงไม่จำเป็นต้องให้เช่ายาวนานเช่นนั้น และที่สำคัญ ไม่มีนักลงทุนรายใดเรียกร้องให้มีการเช่ายาวนานขนาดนั้นสักหน่อย

    อย่าเสียค่าโง่ให้เช่าที่ดิน 99 ปีเลย สร้างปัญหากับลูกหลานในอนาคต

    ที่มา: https://goo.gl/RrxJwC
     
  2. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    จะตอแหลทำไมให้หลายกระทู้นักละ :rofl::rofl::rofl::rofl:

    “ต่างชาติ”เช่าที่ดิน 99 ปี เท็จจริงอย่างไร..ฟังความให้ครบ
    http://www.komchadluek.net/news/scoop/272651
    p5fahlx4vWmfEpGKVzo-o.jpg

    เรื่องนี้เป็น2มุมมอง ภาคธุรกิจเห็นด้วยกับรัฐบาล อยากให้คนไทยก้าวข้ามเรื่องการเสียอาณานิคม แต่ภาคประชาชนก็อยากให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบ และฟังเสียงสะท้อนจากทุกฝ่าย

    ร้อนขึ้นมาแบบเงียบๆ สำหรับประเด็นรัฐบาลจะให้ต่างชาติ “เช่าที่ดินได้ 99 ปี” ที่เป็นเรื่องเอะอะโวยวายในฟากภาคประชาชน และเอ็นจีโอ ก่อนจะลามออกไปทางสื่อโซเชียล

    สืบเนื่องจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลักดันการลงทุนขนาดใหญ่ใน “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” (Eastern Economics Corridor Development-EEC) ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. … ครอบคลุมพื้นที่ จ.ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เรียกย่อๆ ว่า “พ.ร.บ.อีอีซี” เพื่อให้เกิดการลงทุนรอบใหม่ในภาคตะวันออก และอยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่า จะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ในเดือนมิถุนายนปีนี้

    ระหว่างนี้ จึงมีนักวิชาการคนหนึ่งออกมาเปิดประเด็นรัฐบาลกำลังร่างกฎหมายให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้ 99 ปี จากเดิม 50 ปี เป็นเรื่องใหญ่มาก โดยจะให้ชาวต่างชาติมาเช่าพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

    นักวิชาการคนนั้นชี้ว่า รัฐบาลจะนำร่างนี้ไปตราเป็นพระราชบัญญัติ แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว เพราะฉะนั้น รัฐบาลจะต้องทำตามมาตรา 77 วรรคสอง ที่ระบุว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ”

    จากนั้น ประเด็นเปิดทางต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ก็แพร่ระบาดไปในโลกออนไลน์ สื่อหลายสำนักเริ่มเกาะติดเรื่องนี้

    เดิมที กฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 540 ระบุว่า การเช่าจะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี และในปี 2542 รัฐบาลขณะนั้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดึงดูดให้ต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย จึงได้ออก พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 ขึ้นมา

    การเช่า หมายถึง การเช่าอสังหาฯ เพื่อพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมที่กำหนดเวลาเช่าเอาไว้เกิน 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี และได้กำหนดต่อไปอีกในมาตรา 4 ว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าดังกล่าวแล้ว ผู้เช่าและผู้ให้เช่า อาจจะตกลงต่อระยะเวลาการให้เช่าต่อไปอีกได้ โดยมีกำหนดไม่เกิน 50 ปี ตั้งแต่วันที่ตกลงกัน แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่

    ประเด็นให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปีนั้น ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ชี้แจงว่า กรณีการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศเช่าที่ดินเพื่อการลงทุนได้นาน 99 ปี ซึ่งถูกบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกว่า มิได้เป็นสิ่งที่คิดริเริ่มขึ้นในรัฐบาลนี้ แต่เป็นสิ่งที่มีใช้อยู่นานแล้ว ซึ่งปรากฏชัดเจนในพระราชบัญญัติ 3 ฉบับคือ พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม, พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน และ พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

    "รัฐบาลปัจจุบันเพียงแค่นำเอาสาระสำคัญที่มีอยู่แล้วในกฎหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวมาเรียบเรียงเป็นบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น และหวังผลในการสร้างแรงจูงใจนักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น”

    ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า การให้สิทธิแก่นักลงทุนต่างประเทศในการเช่าที่ดินนาน 99 ปี มิได้เป็นการอนุมัติระยะเวลาการเช่ารวดเดียว 99 ปี

    แต่แบ่งการอนุมัติออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกอนุมัติระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 50 ปี และระยะที่สอง สามารถต่ออายุการเช่าได้อีกไม่เกิน 49 ปี เมื่อรวม 2 ระยะแล้วไม่เกิน 99 ปี

    ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเงื่อนไขอีก 4 ประการกำกับการอนุมัติสิทธิการเช่าที่ดินระยะยาวอีกคือ ต้องเป็นการเช่าที่ดินเพื่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ต้องเป็นการเช่าที่ดินซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ และต้องมีการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ตลอดจนรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาวะชุมชน(EHIA) จึงจะเข้าเงื่อนไขได้สิทธิการเช่าระยะยาว 50+49 ปี

    ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคมนี้ บอร์ดอีอีซี จะเดินทางลงพื้นที่เพื่อชี้แจง และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้และให้เกิดการยอมรับในพื้นที่และเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็นผ่านเวทีสาธารณะและโซเชียลมีเดียตามนโยบายนายกรัฐมนตรี

    เรื่องนี้เป็น 2 มุมมอง โดยภาคธุรกิจเห็นด้วยกับรัฐบาล อยากให้คนไทยก้าวข้ามเรื่องการเสียอาณานิคม เสียสิทธิพิเศษของคนไทย เพราะเราอยู่ในโลกที่ต้องการจะหาเงินลงทุนมาร่วมลงทุน แต่ภาคประชาชนก็อยากให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบ และฟังเสียงสะท้อนจากทุกฝ่าย

    “ลาว” ลดเหลือ 50 ปี แต่เปิดทางต่อสัญญา?

    กรณีของ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนหลายประเทศ คือ สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีการสร้างแรงจูงใจนักลงทุนด้วยการให้เช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 99 ปี

    ด้านบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้รวบรวมสิทธิประโยชน์การเช่าที่ดินของประเทศต่างๆ พบว่า กัมพูชา มีระยะเวลาเช่า 99 ปี ไม่มีการต่อสัญญา, ลาว ระยะเวลาเช่า 50 ปี การต่อสัญญาจะพิจารณาเป็นรายกรณี, มาเลเซีย ระยะเวลาเช่า 99 ปี ไม่มีการต่อสัญญา, เมียนมาร์ ให้เช่า 50 ปี การต่อสัญญาครั้งละ 10 ปี ต่อได้ 2 ครั้ง, ฟิลิปปินส์ ให้เช่า 50 ปี ต่อสัญญาได้อีก 25 ปี, สิงคโปร์ ให้เช่า 99 ปี ไม่ให้ต่อสัญญา, เวียดนาม ระยะเวลาเช่า 70 ปี ไม่มีการต่อสัญญา, อินโดนีเซีย ให้เช่า 25-30 ปี ต่อสัญญาได้อีก 20 ปี, บรูไน 25-99 ปี การต่อสัญญาจะพิจารณาเป็นรายกรณี

    สำหรับ สปป.ลาว ที่มี “สื่อภาคประชาชน” นำเสนอข่าวว่า ลาวลดการให้ต่างชาติเช่าที่ดินเหลือ 50 ปีนั้น จากการตรวจสอบพบว่า สปป.ลาว มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2016 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการอนุญาตสัมปทานที่ดินในลาว

    โดยมาตรา 42 ของกฎหมายฉบับปรับปรุงใหม่ ได้บัญญัติอย่างชัดเจนว่า “อายุการลงทุนในกิจการสัมปทาน ให้พิจารณาตามประเภท ขนาด มูลค่าการลงทุน เงื่อนไข บทวิพากษ์เศรษฐกิจ-เทคนิคของกิจการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่สูงสุดไม่ให้เกิน 50 ปี”

    อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติวรรคที่สอง ในมาตรา 42 ก็ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “อายุการลงทุนสัมปทาน สามารถต่อได้ตามการตกลงของรัฐบาล หรือสภาแห่งชาติ หรือสภาประชาชนระดับแขวง ตามขอบเขตสิทธิที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”

    ด้วยเหตุนี้ การประกาศบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุนทั้งรายเก่าและรายใหม่ที่กำลังจะเข้าไปในลาวแต่อย่างใด

    กล่าวสำหรับนักลงทุนรายเก่านั้น ก็มีวิธีการบรรเทาผลกระทบด้วยการเปิดทางให้สามารถต่ออายุสัมปทานได้ ส่วนนักลงทุนรายใหม่ก็ได้รับรู้ข้อกำหนดของกฎหมายฉบับปรับปรุงใหม่ ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปลงทุนในลาวอยู่แล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายใหม่หรือรายเดิม คงไม่ได้มองเพียงอายุสัมปทานเท่านั้น หากยังมองไปถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับในด้านอื่นๆ ด้วย

    ทั้งนี้ มาตรการสำคัญที่รัฐบาลลาวใช้เพื่อดึงการลงทุนจากต่างประเทศให้ได้มากขึ้น ก็คือการยกเว้นภาษีกำไรเป็นเวลาถึง 10 ปีติดต่อกัน โดยมีเงื่อนไขว่าบริษัทเอกชนจะต้องลงทุนอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น และหลังจากครบกำหนด 10 ปีแล้วนั้น จึงจะมีการจัดเก็บภาษีกำไรในอัตราเดียวกันกับบริษัทเอกชนที่ลงทุนในเขตอื่นๆ ต่อไป
     
    AlbertEinsteins และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  3. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ขอบคุณสำหรับข่าวสารนะคะ
    ประเทศเล็กๆคงหลีกเลี่ยงกระแสของ "ทุน" ไม่พ้น
    แต่รัฐบาลที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติอย่างรอบด้านโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
    น่าคำนวณให้ประเทศได้ประโยชน์มากที่สุด
    การติดตามจนรับรู้ข้อมูลความเป็นจริงแล้วชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องกว่าสิ่งใด
     
  4. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    สุดท้ายด๊อกก็ไม่รู้เรื่องกฏหมาย ข้อมูลมั่ว
    เอาความมั่ว ความไม่รู้มาบิดเบือนใส่ร้ายผู้อื่น
    โดยอ้างแค่ว่ากรูจบด๊อกเตอร์มานะ กรูเป็นประธานประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยง่าวๆ กรูมีประสบการณ์ประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยนะ กรูเป็นเจ้าของบจก. เกี่ยวกับเรียลเอสเตทนะ คนอื่นผิดเสมอ กรูถูกเสมอ เอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้คนอื่น
     

Share This Page