แจ็ก หม่า ไม่รักเมืองไทย!?!

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 3 Apr 2017

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    เมื่อไม่กี่วันมานี้มีข่าวว่า "รัฐบาลมาเลเซียจับมือแจ็ค หม่า เปิดเขตการค้าเสรีดิจิตอล" อ้าวก่อนหน้านี้เห็นว่าจะมาลงทุนในไทยมิใช่หรือ หรือว่านายหม่าไม่รักเมืองไทยเสียแล้ว

    ตามข่าวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 (http://bit.ly/2mKVdXF) ปรากฏว่า "นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย และแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของอาลีบาบากรุ๊ป ซึ่งเป็นอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของโลก ร่วมกันประกาศเปิดเขตการค้าเสรีดิจิตอลหรือ DFTZ ในงาน เสวนา โกลบอล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์วันนี้ตามข้อตกลง DFTZ ที่เป็นความคิดริเริ่มและการร่วมมือกันระหว่างนาจิบและหม่าจะยกเลิกภาษีนำเข้า- สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงเกินกว่า 500 ริงกิตหรือ 3,850 บาท และคาดว่าตลาดนี้จะซื้อขาย สินค้ารวมมูลค่า 65,000 ล้านดอลลาร์ และสร้างงานได้ 60,000 ตำแหน่งภายในปี 2025 (2568). . . ทำให้. . .เอสเอ็มอี ก้าวข้ามอุปสรรคเรื่องข้อบังคับ กระบวนการและ กำแพงการค้าที่ซับซ้อน และส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆสามารถเชื่อมโยงกันในการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งมื่อเปิด DFTZ แล้ว มาเลเซียจะเป็นศูนย์กลางผู้ให้บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง และจะ เป็นศูนย์กลางสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาค"

    จริงๆ แล้วไทยได้รับความสนใจก่อนมาเลเซียด้วยซ้ำไป โดยในวันที่ 6 กันยายน 2559 มีข่าวว่า "'แจ็ค หม่า'พบ'ประยุทธ์' พร้อมช่วยหนุนระบบขนส่งสินค้า SMEs" โดยการพบกันในครั้งนั้นจัดขึ้นในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่ม 20 (G20) ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน (http://bit.ly/2mKPAZe) และในวัน 11 ตุลาคม 2559 นายหม่ายังได้มาพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล และกล่าว (เท็จ?) ว่า "นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ว่า เป็นสิ่งที่ดีและเดินมาถูกทาง โดยในส่วนของความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ทางบริษัทอาลีบาบาจะเปิดโอกาสให้เข้าร่วมฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอีนักศึกษาไทยไปฝึกงานที่ประเทศจีน. . ." (http://bit.ly/2o069R1)

    อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ก็มีข่าวว่า "มาเลเซีย ตั้ง “แจ็ค หม่า” เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจดิจิทัล" (http://bit.ly/2o06bbp) โดยตามข่าวกล่าวว่า "นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า แจ็ค หม่า จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการสร้างหนทางแห่งอนาคตให้กับมาเลเซีย นอกจากนี้ แจ็ค หม่า ยังตอบรับเข้าร่วมการประชุมโกลบอล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟอรั่ม (Global Transformation Forum) รวมทั้งเตรียมตัวใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคมปีหน้า (2560) ถ้ารัฐบาลไทยฉลาดพอ เห็นข่าวแบบนี้ต้องตามติดแจ็ค หม่า เพื่อชิงให้มาลงทุนไทยให้ได้ แต่นี่เขาก็ไปเสียแล้ว

    การที่นายหม่าไม่มาตั้งฐานที่ประเทศไทย ทำให้เราเสียหายหลายอย่าง
    1. เสียรู้มาเลเซีย
    2. เสียหน้าที่เขาไม่เลือกเรา
    3. เสียโอกาสการลงทุนและการจ้างงานมหาศาล
    4. เสียภาพพจน์ประเทศไทย
    5. เสียหายถึงความมั่นคงของรัฐบาล (ยิ่งกว่ากรณียิงเด็ก)

    เรื่องนี้น่าสนใจมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ซิงเกิลเกตเวย์" ก็ได้ เมื่อปลายปีที่แล้วก็มีข่าว "เมิน 3 แสนชื่อค้าน! สนช.เดินหน้าผ่าน พ.ร.บ.คอมพ์พรุ่งนี้" (15 ธันวาคม 2559: http://bit.ly/2objItQ) แต่รัฐบาลก็ออกมาปฏิเสธเป็นพัลวันว่าไม่ได้เอาจริงกับ "ซิงเกิลเกตเวย์" แต่ดูท่าทีกลับควบคุมสื่อต่าง ๆ อย่างเข้มงวด คนอื่นเขาก็คงมองออกว่าประเทศไทยของเราเป็นอย่างไร โอกาสการลงทุนของต่างชาติก็คงจะต้องทบทวนให้หนัก

    ยิ่งมาเจอกรณีเหมืองทองคำพิจิตรที่รัฐบาลให้สัมปทานบริษัทออสเตรเลียถึงปี 2572 แต่กลับให้ ม.44 เลิกสัมปทานไปอย่างนั้น นี่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลอาจขาดความแน่นอนด้านนโยบาย ทั้งที่ที่ผ่านมา ก็มีข่าวชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่หนุนให้คงเหมืองทองคำไว้ มีผลพิสูจน์ชัดว่าประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำ หาไม่คนงานเหมืองก็คงตายกันไปหลายคนแล้ว แต่นี่ไม่มีคนงานเหมืองตายเพราะเหมืองเลย อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลับเลือกเชื่อเอ็นจีโอแทนที่จะเชื่อประชาชนเจ้าของประเทศ

    เรื่องการลงทุนต่างชาตินี้ถือว่าน่าห่วงมาก ปกติไทยกับจีนก็คบหากันดีอยู่แล้ว จีนกับมาเลเซียไม่น่าจะไปด้วยกันได้มากนัก แม้จะมีคนจีนอยู่มากมายในมาเลเซีย แต่ประเทศนี้ปกครองโดยคนมาเลย์หรือภูมิบุตร คนจีน คนอินเดียสัญชาติมาเลเซีย ต่างเป็นพลเมืองชั้นสองของประชาชนมาเลย์ส่วนใหญ่ จะซื้อบ้านก็ยังต้องซื้อเต็มราคา ไม่ใช่ชาวมาเลย์ส่วนใหญ่ที่ซื้อในราคาที่มีส่วนลด แปลกไหม ลดให้กับคนส่วนใหญ่ แต่ไม่ลดให้คนส่วนน้อย

    การที่นายหม่าเลือกที่จะเอามาเลเซียนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมาเลเซียเปิดกว้างด้านเสรีภาพมากกว่าไทย อนาคตความยุ่งเหยิงคงมีแต่น่าจะน้อยกว่าไทย แม้ประเทศนี้ด้อยกว่าไทยในหลายด้าน แต่ก็ยังดีกว่าในสายตาของนายหม่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสะท้านใจจริงๆ สำหรับคนที่รักประเทศไทย เพราะไทยเราถูกเมิน จะเห็นได้ว่าการลงทุนข้ามชาติของไทยก็หดหายไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ขีดความสามารถของไทยตกต่ำลง

    ผมว่ารัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม ไม่ควรใช้อำนาจมากไปนัก ควรเผื่ออำนาจไว้ใช้ในยามจำเป็นบ้าง เพราะยิ่งใช้อาจยิ่งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ กระทำต่อขีดความเสี่ยงของประเทศที่เพิ่มขึ้น ถ้าวันใดผู้มีอำนาจหมดอำนาจไป ก็จะทำให้ยิ่งอยู่ยากกว่า "ทักกี้" ที่ไปได้ทั่วโลกยกเว้นประเทศไทยเสียอีก ผมจึงขอเตือนไว้เพื่อความมั่นคงของผู้มีอำนาจ และความมั่นคงของชาติ ผมว่านายหม่าคงรักเมืองไทย อยากมาอยู่เมืองไทยใจจะขาด แต่ติดขัดที่ท่านผู้นำ หรือรัฐบาลที่ออกจะไม่ "เวิร์ค" ในสายตาโลกเพราะไม่ได้มาตามแบบปกติ

    ถ้าไทยพอไปไหวจริง ๆ นายหม่าคงไม่ทิ้งไปเช่นนี้ มาเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยกันเถอะ!?!
    ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1901.htm
     
  2. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :rofl: เริ่มด้วยแจ๊ค หม่า... ตามด้วยมาเลเซีย วกเข้า Single Gateway ตบท้ายด้วยเหมืองทองพิจิตร รวมมิตรจริงๆ

    http://www.thansettakij.com/content/138255
    %E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2-696x408.jpg
     
    Alamos, Apichai, ridkun_user และอีก 1 คน ถูกใจ.
  3. kitty

    kitty สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    28 Apr 2016
    คะแนนถูกใจ:
    107
    ไม่ใช่รวมมิตร ผมว่า ด็อกแกมั่วมากกว่า อยู่ในโลกความจริง คงไม่มีใครฟังวิสัยทัศน์เสร่อปนติ๊งต๊อง เลยต้องมาแสดงในบอร์ดนี้
     
    Alamos, HiddenMan และ apollo ถูกใจ
  4. Apichai

    Apichai อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,042
    ไม่เป็น อย่าง ด๊อก ว่า
    แต่ น่ายินดีหรือเปล่า ?????

    http://www.thansettakij.com/content/138255

    ปิดดีล! “อาลีบาบา” ปั้นไทยเป็นฮับ
    1 April 2017

    วันที่ 1 เม.ย.60 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3249 ระหว่างวันที่ 2-5 เม.ย.2560 สื่อในเครือสปริง กรุ๊ป รายงานว่า “อุตตม สาวนายน” ระบุอาลีบาบามาลงทุนสเกลใหญ่ เกทับมาเลย์ “ไทยทำเลยุทธศาสตร์” ปักธง “เจน 5 อี-คอมเมิร์ซ พาร์ก” ในอีอีซี ดันเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าสู่ CLMV ก่อนต่อยอดอาเซียนและตลาดโลก เตรียมสรุป 5 เม.ย.นี้ เปิดทางให้คณะผู้บริหาร “ลาซาด้า-อาลีบาบา” พบนายกฯ ระหว่างประชุมบอร์ดอีอีซีที่ระยอง

    ท่ามกลางกระแสข่าว “อาลีบาบา” ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซของโลก ย้ายการลงทุนศูนย์กระจายสินค้าอี-คอมเมิร์ซภูมิภาคจากไทยไปมาเลเซีย ล่าสุดข่าวถูกสยบด้วยความเคลื่อนไหวสำคัญ เมื่อคณะผู้บริหารของ ลาซาด้ากรุ๊ป นำโดยนายธรินทร์ ธนียวัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการพาณิชย์ บริษัทลาซาด้า (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนจากลาซาด้า ภูมิภาคอาเซียน ได้เข้าพบนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เพื่อยืนยันการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กระจายสินค้าอี-คอมเมิร์ซของภูมิภาค

    นายอุตตมเปิดเผยว่า ผู้บริหาร ลาซาด้ากรุ๊ป ในกลุ่มอาลีบาบา ยืนยันชัดเจนว่าต้องการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคในการกระจายสินค้าอี-คอมเมิร์ซ ไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ก่อนไปสู่ภูมิภาคอาเซียน และตลาดโลก เนื่องจากไทยมีที่ตั้ง หรือยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางภูมิภาค



    ไทยยังมีขนาดตลาดอี-คอมเมิร์ซที่ใหญ่และเติบโตสูง กลุ่มลาซาด้า และอาลีบาบายังมองเอสเอ็มอีไทยมีซัพพลายเชน ขณะเดียวกันยังมองเห็นสิทธิประโยชน์การลงทุนในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก หรืออีอีซี และภาครัฐยังมีความมุ่งมั่นในการผลักดันภายใต้นโยบายขยายความเติบโตทางเศรษฐกิจ

    “ผู้บริหารลาซาด้ายืนยันว่าอาลีบาบา กรุ๊ป ต้องการลงทุนในไทยระยะยาว และสนับสนุนยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 กับอีอีซี โดยต้องการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศไทย”

    การลงทุนจะแบ่งเป็นเฟส เริ่มต้นจากการสร้าง “เจน 5 อี-คอมเมิร์ซ พาร์ก” ซึ่งเป็นพื้นที่เมืองที่มีองค์ประกอบเชื่อมโยงอี-คอมเมิร์ซ ตั้งแต่การพัฒนาผู้ประกอบการ การผลิตสินค้าเอสเอ็มอี ไปถึงการเป็นศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค ขณะนี้กำลังจัดหาสถานที่แล้วขีดเส้นพื้นที่ที่ต้องการจัดตั้งเจน 5 อี-คอมเมิร์ซ พาร์ก คาดว่าในเฟสแรกจะเริ่มลงทุนได้ภายในปีนี้ ส่วนเจน 5 จะเต็มรูปแบบได้ภายในระยะเวลา 3 ปี
     
    Alamos, HiddenMan และ ridkun_user ถูกใจ
  5. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    ไทยทำมานานเป็นปีแล้วแต่ผู้ประกอบการบางเจ้ายังไม่พยายามจะปรับตัวรัฐน่าจะออกกฎหมายควบคุมให้ัชัดเจนขึ้น
    เพราะยังมีการผิดสัญญากับคู่ค้าบ่อยๆสินค้าก็ยังไม่ได้มาตราฐานสมราคา
     

Share This Page