craditรูป ราดดำนา งับ เริ่มจากอภิมหาโปรเจค อย่างโฮปเวลล์ โครงการโฮปเวลล์เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีการเปิดประมูลสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการจราจร โดยผู้รับสัมปทานจะมีรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าผ่านทาง และรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ตลอดเส้นทาง ผลการประมูล บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนายกอร์ดอน วู เป็นผู้ชนะเหนือคู่แข่งคือ บริษัทลาวาลิน (SNC-Lavalin) จากแคนาดา มีการลงนามในสัญญาโดยนายมนตรี พงษ์พานิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากพรรคกิจสังคม มะจ้าย ปชป นะครัช ต่อมารัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด โครงการโฮปเวลล์ ก็เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกตรวจสอบโดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น และได้ประกาศล้มโครงการโฮปเวลล์(แต่ไม่ได้ล้มสัญญานะคราบบบบ) แต่พอในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 โครงการโฮปเวลล์ได้รับการผลักดันต่อโดย พันเอกวินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ยังประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ ปัญหาเรื่องเงินทุน แหล่งเงินกู้ (แต่เราไม่ได้จ่ายแม้แต่บาทเดียวนะครัช เพราะสัญญาระบุว่า ผู้ทำสัญญาจะเป็นคนจ่าย ล้วน ล้วน) หรือก็คือหลังจากนายอานันท์ ล้มโครงการไป แต่ รัฐบาลท่านชวนมาสานต่อครับ อย่างไรก็ตามประเด็นหลัก ที่โครงการไม่สามารถถูกดำเนินการไปต่อได้ เนื่องมาจากการที่ไม่มีการระบุไว้ในสัญญาว่าโครงการจะต้องแล้วเสร็จเมื่อใด ต่อมาในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (บิ๊กจิ๋ว) ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ให้ความเห็นชอบบอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ หลังจากบริษัทโฮปเวลล์หยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ตอนนี้ยกเลิกละน้าาาาาา ดังนั้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 กระทรวงคมนาคมจึงได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วย แต่บริษัทนี้ไม่ยอมจึง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นค่าใช้จากการเข้ามาลงทุนเป็นเงิน 56,000 ล้านบาท ในขณะที่การรถไฟฯ ก็เรียกร้องค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการ เป็นเงินกว่า 200,000 ล้านบาท คณะอนุญาโตตุลาการประกอบด้วย นายสมศักดิ์ บุญทอง รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ฯ และนายถวิล อินทรักษา อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท สรุป ที่ไทยเสียเงินเกิดจากการบอกเลิกสัญญา ในสมัยรัฐบาลบิ๊กจิ๋ว เนื่องจากในสัญญาเดิมที่ทำในสมัยชาติชาย นั้นไม่ได้ระบุวันเวลาแล้วเสร็จ ดังนั้น ที่บิ๊กจิ๋ว บอกเลิกจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา ศาลจึง ตัดสิน ให้เป็นฉะนี้แล http://th.wikipedia.org/wiki/โครงการโฮปเวลล์
เรื่องต่อมา "โรงพักร้าง" ก่อนอื่นมาดู Timeline กันก่อน 1.) พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ริเริ่มโครงการ 2.) ครม.สมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีมติ 6 พ.ย.2550 อนุมัติหลักการให้ สตช.และบริษัทธนารักษ์-พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ก่อสร้าง วงเงิน 17,679 ล้านบาท 3.) พล.ต.อ.พัชรวาท เสนอครม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อนุมัติ 17 ก.พ.2552 ให้ประมูลแบบรายภาค งบผูกพันสามปี วงเงิน 6,672 ล้านบาท ถูกกว่าการอนุมัติยุคสมชายประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท 4.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. 18 พ.ย.52 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เสนอ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนการประมูลเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมเป็นสัญญาเดียว เนื่องจาก ครม.อนุมัติเงินก้อนเดียวจึงเห็นว่าแยกประมูลเป็นรายภาคไม่ได้ และจะช่วยประหยัดงบประมาณทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม 5.) 20 พ.ย.52 สุเทพลงนามอนุมัติตามข้อเสนอของ พล.ต.อ.ปทีป 6.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. 25 มี.ค.54 ประมูลราคาแล้วเสร็จในสมัยที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี เป็น ผบ.ตร. 7.) เปลี่ยนแปลงรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ชินวัตร และ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภาวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เริ่มบริหารประเทศอย่างเป็นทางการ และรับผิดชอบในการบริหารสัญญาก่อสร้างโรงพักทั่วประเทศ 8.) ยุคพล.ต.อ.วิเชียร ขยายเวลาการก่อสร้างให้กับบริษัทผู้รับเหมา 2 ครั้งจากเดิมกำหนดต้องก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 17 มิ.ย.2555 เป็นวันที่ 13 ม.ค.56 รวมขยายเวลาให้ 7 เดือน 9.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ รับตำแหน่งนานเกือบ 1 ปี แต่ไม่มีการบริหารให้เป็นไปตามสัญญา 10.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. ยุคพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว 7 พ.ย.55 ขยายเวลาสัญญาการก่อสร้างอีก 60 วันจาก 13 ม.ค.56 เป็น 14 มี.ค.56 โรงพักร้างมีแต่เสาเพราะบริหารสัญญาผิดพลาดในยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์และอดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็น ผบ.ตร. ซึ่ง พล.ต.อ.พงศพัศ รับผิดชอบโครงการนี้โดยตรงและได้ทำบันทึกข้อความที่ 0008.322/1231 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 เพื่อเสนอ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี ผบ.ตร.ในขณะนั้น ลงนามให้ความเห็นชอบเรื่อง “ขอรับความเห็นชอบราคาและขออนุมัติจ้างก่อสร้างโครงการอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) 396 หลัง โดยวิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์” โดยในเอกสารดังกล่าวมีการลำดับเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงโครงการนี้อย่างละเอียดจนกระทั่งถึงการประกวดราคาซึ่งมีผู้สนใจซื้อแบบรูปรายการและเอกสารการปรกวดราคาจำนวน 10 ราย แต่มีผู้ยื่นซองเอกสารประกวดราคา 5 ราย ประกอบด้วย บริษัทซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บรษัทพีซ๊ซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามประสิทธิ์ บริษัทเพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทเบญจมาศ จำกัด พร้อมกับรายงานผลการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 29 ก.ค.2553 ซึ่งบริษัทพีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุุดคือ 5,848 ล้านบาท ในบันทึกข้อความดังกล่าวยังอ้างถึงความเห็นชอบของคณะกรรมการประกวดราคาพิจารณาว่าราคาที่บริษัทพีซีซีฯเสนอเป็นราคาที่เหมาะสม ไม่เกินราคากลางของทางราชการและวงเงินงบประมาณที่จัดสรร โดยสำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบด้วย ซึ่งในบันทึกฉบับนี้ยังยืนยันด้วยว่าคณะกรรมการประกวดราคาได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 และระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเสนอให้ ผบ.ตร.ให้ความเห็นชอบราคาการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เพื่อเสนอต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่น่าสนใจคือผู้ที่ลงนามเป็นต้นเรื่องในบันทึกข้อความดังกล่าวคือ พล.ต.ท.พงศพัศ (ยศขณะนั้น) ในฐานะ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(บร.11) เสนอต่อ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี ผบ.ตร. โดยเกษียรหนังสือด้วยลายมือมีข้อความว่า “เรียนผบ.ตร. พิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอ สกบ.ข้อ 4.1 และลงนามในหนังสือนำเรียนท่านรอง นรม.ที่ได้แนบมาพร้อมด้วยแล้ว จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา” ลงชื่อ พล.ต.ท.พงศพัศ 30 ก.ย.53 ขณะที่พล.ต.อ.วิเชียร ลงนามให้ความเห็นชอบท้ายหนังสือลงวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ตามที่ พล.ต.ท.พงศพัศ เสนอมา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=908280
มีจริงเรื่องเดียวคือป้ายแท็กซี่ครับ สร้างมาก็ไม่มีคนใช้จริง ๆ ความจริงบริการพวกนี้อย่าไปแข่งกับเอกชนดีกว่ายังไงก็สู้ไม่ได้ ส่วนที่เหลือจงใจทำให้เข้าใจผิดครับ ถ้าไปแย้งว่า ปชป. ไม่ได้ทำ มันก็จะบอกว่า ก็ไม่ได้บอกสักหน่อยว่า ปชป. ผิด สันดอนเป็นแบบนี้ครับ
ควายมันชอบหยิบเฉพาะวรรคตอนที่เอื้อประโยชน์ รายละเอียดก่อนหลังควายไม่สน เผยแพร่กันเองในฝูงที่ไม่เคยสนใจจะตามหาข้อเท็จจริง จะทำเป็นเอกสาร ใบปลิว โปสเตอร์ พาวเวอร์พ้อยท์ดีขนาดไหนก็ไม่ซึมผ่านกระโหลกครัช
กลัวมันโง่ไม่เลิกหรือ ช่างมันเฮอะ ไอ้พวกล้มเจ้า เผาบ้านเผาเมือง อ๊า ค่อยยังชั่ว พูดแล้วดี ไม่ต้องอธิบายยาว
คิดว่าเรื่องพวกนี้คงไม่ต้องอธิบายหรอกค่ะ พวกเค้าคงไม่ต้องการคำอธิบาย เพราะคงไม่รับรู้รับฟังอยู่แล้ว แค่ขุดเรื่องมาเบี่ยงประเด็น ช่วยกันขุดเรื่องโกงข้าว จำนำข้าว แล้วก็กระตุ้นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ทำหน้าที่ดีกว่าค่ะ ช่วงนี้ต้องเล่นเรื่องถอดถอนค่ะ อย่าเปลี่ยนประเด็นตามเค้า
ป้ายแท๊กซี่อัจฉริยะ สร้างมา ไม่มีแท๊กซี่จอดก็จริง แต่ก็ไม่ต้องเสียงบประมาณของประเทศเลย แถมเก็บรายได้ค่าโฆษณาป้ายเข้ารัฐได้อีก
สนามฟุตซอล 'หนองจอก' Timeline ย้อนกลับไปเมื่อเดือน มี.ค.ปี 2553 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ได้มีมติเลือกไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตซอลโลก ครั้งที่ 7 โดยพ่องานในการเสนอตัวติดต่อประสานงาน ก็คงหนีไม่พ้น "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ" ซึ่งนั่นหมายความว่า ไทยมีเวลาเตรียมตัวประมาณ 31 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง ภายใต้การบริหารของรัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมี นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นเจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ข้อสังเกต....เหตุใด ฟีฟ่า ถึงมีมติเลือกประเทศเจ้าภาพ ในปี พ.ศ.2553 หรือ ค.ศ.2010 ทั้งๆ ที่ ประเทศบราซิล เป็นเจ้าภาพครั้งล่าสุด ในปี ค.ศ.2008 หรือ พ.ศ.2551 ซึ่งทำให้สูญเสียเวลาไปเกือบ 2 ปีฟรีๆ ขณะที่มหกรรมกีฬาระดับโลกอื่นๆ อย่าง ฟุตบอลโลก, โอลิมปิก หจะมีการกำหนดชาติเจ้าภาพ ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยๆ ก็ 5-6 ปี ถ้ามองให้ดี แค่จุดเริ่มต้นก็ถือว่า "ช้า" นิดหน่อยแล้ว แต่แทนที่จะรีบดำเนินการ ก็ต้องมาเจอเหตุการณ์ "ชักเย่อ" กันไปมา ในเรื่องของสถานที่ในการสร้างสนามเมนสเตเดียม ซึ่งตอนแรกไม่ได้อยู่ในโปรเจกต์ แต่เนื่องจากสนามกีฬาในร่มที่ใช้แข่งในระดับสากลของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น มีความจุน้อยกว่า 10,000 ที่นั่ง ประกอบกับทางฟีฟ่าอยากให้ไทยมีสนามเป็นอนุสรณ์และได้ใช้ประโยชน์ต่อไป และในเดือน ต.ค.ปี 2553 ทาง กทม. และสมาคมฟุตบอลฯ จึงได้ศึกษาเพื่อคัดเลือกที่ดินที่เหมาะสม เหลือ 2 แห่ง ได้แก่ 1.พื้นที่บริเวณมักกะสัน ในเขตพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ของ รฟท. และ 2.พื้นที่บริเวณสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก โดยหลังจากใช้เวลาสำรวจข้อดี-ข้อเสีย ในที่สุด เดือน พ.ย.ปี 2553 ครม.ก็มีมติให้ใช้ที่ดินย่านหนองจอกเป็นที่สร้างสนามรองรับการแข่งขันฟุตซอลโลก 2012 และคาดว่าทุกอย่างจะพร้อมก่อสร้างอย่างเป็นทางการ ในช่วงกลางปี 2554 แล้วคำถามที่ว่าทำไมเราถึงปล่อยให้เวลาล่วงเลยมานานกว่า 6 เดือน ตั้งแต่ได้รับหน้าเสื่อเจ้าภาพเดือน มี.ค. กว่าจะเริ่มดำเนินการได้นั้น ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าในปีนั้นการเมืองในบ้านเรากำลังอยู่ในช่วงคุกรุ่น ระหว่างคนสองสี จนกระทั่งเกิดเหตุการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ใน กทม. เดือน พ.ค. ซึ่งกว่าจะฟื้นฟูให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะสงบเป็นปกติ ก็ต้องใช้เวลากันพอสมควร นโยบายการบริหารประเทศต่างๆ ถึงจะขับเคลื่อนเดินหน้าต่อไปได้ จากนั้นเหลือเวลาอีก 22 เดือน เมื่อเข้าสู่ปี 2554 ก่อนต้องส่งมอบสนามแห่งนี้ให้กับฟีฟ่าตามกำหนด ในเดือน ต.ค.ปี 2555 ดูแล้วก็น่าจะมีเวลาถมถืด สำหรับการก่อสร้างฯ ที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 500 วัน หรือประมาณ 1 ปีครึ่ง แต่แล้วแผนการทุกอย่างก็มีอันต้องล่าช้าออกไปอีก เพราะกว่าจะได้รับงบประมาณ 1,239 ล้านบาท จาก ครม. ก็ปาเข้าไปเดือน พ.ค. ก่อนเปิดประมูลประกวดราคาก่อสร้าง ในเดือน มิ.ย. ตามลำดับ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ สู่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ คนใหม่ ในเดือน ส.ค. หลังจากพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้ง ในเดือน ก.ค. แต่ยังไม่ทันจะตอกเสาเข็ม เคราะห์ก็ซ้ำกรรมก็ซัด เมื่อประเทศไทยเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ "มหาอุทกภัย" ในช่วงกลางปี 2554 รวมถึงในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้แผนงานต่างๆ ที่เคยวางไว้ พังทลายไปกับสายน้ำ เพราะงานก่อสร้างหยุดชะงักไปหลายเดือน ก่อนจะมาเดินหน้ากันต่ออีกครั้ง หลังน้ำลดช่วงต้นปี 2555 ถึงขนาดในเดือน ธ.ค. ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมบางท่านออกมารับสภาพว่า สนามฟุตซอลหนองจอกยังไงก็เสร็จไม่ทันศึกชิงแชมป์โลกแน่นอน ในขณะที่ทุกอย่างจะดำเนินการไปตามแผน ซึ่งในเดือน มิ.ย. มีรายงานว่า งานก่อสร้างได้คืบหน้าไปแล้ว 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ในช่วงกลางปี 2555 ประเทศไทยก็ต้องประสบปัญหาฝนตกหนักต่อเนื่อง และยาวนาน ติดต่อกันหลายเดือน จนส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างสนาม หนองจอกล่าช้ามากขึ้นไปอีก ยิ่งไปกว่านั้น ในเดือน พ.ค. กทม.ออกมาฟ้องอีกว่า ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไม่อนุมัติเงิน งวดที่ 3 จำนวน 116 ล้านบาท ให้ทาง กทม. สำหรับการสร้างสนามฟุตซอล ทั้งที่ๆ สำนักงบประมาณแผ่นดินยืนยันว่าได้จ่ายให้ครบไปหมดแล้ว โดยที่ช่วงที่เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือน กทม., สมาคมฟุตบอลฯ และคณะกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขัน ก็ช่วยกันเฮโลประชาสัมพันธ์โปรโมตทัวร์นาเมนต์กันอย่างเต็มที่ กลบเกลื่อนกระแสความความกังวล สนามหนองจอกสร้างไม่เสร็จ โดยเฉพาะ กมธ.ส.ว.กีฬา ที่เข้ามาไล่บี้ในช่วงโค้งสุดท้าย พร้อมประณามว่า ทำให้ "ประเทศชาติเสียหาย" แต่ดูเหมือนฝั่งของ กทม. ก็ยังยืนยันกัดฟันมาตลอดว่า "เสร็จแน่" ขณะที่สมาคมฟุตบอลฯ ทำเหมือนลอยตัวเหนือปัญหา ไม่ได้วิตกอะไร แถมยังออกตัวก่อนเลยว่า ต่อให้ไม่เสร็จ ก็ยังมีแผนสำรองอยู่แล้ว ซึ่งก็ได้ใช้สมใจ เพราะหลังจาก ฟีฟ่า ได้เดินทางมาตรวจสนามล่าสุด ในเดือน ต.ค. พวกเขาก็ใช้เวลาไม่นาน ประกาศยกเลิกการใช้สนามแบงค็อก ฟุตซอล อารีนา และยกโปรแกรมไปที่ อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ที่พร้อมกว่า เช่นเดียวกับสนามอื่นๆ อย่าง อาคารนิมิตรบุตร และสนามโคราช ชาติชาย ฮอลล์ ที่ จ.นครราชสีมา ข้อสังเกต...จะเห็นว่า ช่วงระยะเวลาปีกว่าๆ งานมากกว่าครึ่งตกเป็นภาระของ กทม. ขณะที่ สมาคมฟุตบอลฯ ที่เป็นผู้เสนอไอเดีย กับคณะกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขันฯ กลับไม่ได้มีบทบาทอะไรชัดเจน เช่นเดียวกับกระทรวงการท่องเที่ยวฯ หรือแม้กระทั่งการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ที่มีหน้าที่หลักในการดูแลด้านกีฬาของประเทศแท้ๆ ซึ่งเรื่องนี้ ทาง กมธ.ส.ว.กีฬา ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นเพราะปัญหาในการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน แทนที่จะมาจากกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นผู้แต่งตั้ง แต่กลับมาจาก นายกสมาคมฟุตบอลฯ ทำให้ดูเหมือนมีอำนาจมากที่สุด แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ได้ทำอะไรไปมากกว่าการเตรียมพร้อมนักกีฬา ซึ่งที่ผ่านมาก็แทบจะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้ว ขณะที่กรรมการจัดการแข่งขันแต่ละท่านก็ล้วนแต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะมีเวลาหารือกัน ปล เอาง่ายๆ นะครับ เรื่องนี้ มีผลกระทบจากทั้ง ม๊อบเสื้อแดง และ น้ำท่วมใหญ่ และพอเปลี่ยนรัฐบาล งบประมาณต่างๆก็มีปัญหา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ คือ ทำไม ไม่มีใครมาช่วย กทม ดำเนินการนอกจากจะมาแถลงข่าวตำหนิ+เร่งงานในช่วงสุดท้าย พอจบเรื่องก็โยนขี้ใส่กัน ? ปล 2 ทีตอนน้ำท่วมคนบางคนบอกเป็นภัยธรรมชาติหรือ รัฐบาลคุมไม่ได้ ตอน กปปส ชุมนุมก็อ้างว่าไปขวางไม่ให้จ่ายเงิน จำนำข้าว (ทั้งที่ความจริงข้างจ่ายก่อนกปปส เริ่มชุมนุมหลายเดือน) แล้วทำไมเรื่องสนาม ถึงไม่ใช้ตรรกะเดียวกัน? http://www.thairath.co.th/content/298348
สุดท้าย รถดับเพลิง เรือดับเพลิง เมื่อวันที่ 30 เมษายน ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาคดีเกี่ยวกับการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในคดีที่ กทม.ฟ้องนายนายประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทย (รัฐบาลทักษิณ) โดยมีคำพิพากษาให้นายประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทย ชดใช้เงิน 587,580,000 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 เมื่อปี 2547(รัฐบาลทักษิณ) ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดคู่ความยังสามารถอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้ โดยวันดังกล่าวนายประชา มาลีนนท์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาตามที่ศาลนัดไว้ ทั้งที่ทราบนัดล่วงหน้านานแล้ว โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง คงมีทนายความที่ได้รับมอบฉันทะจากนายประกันมาศาลแทน ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พฤติการณ์ของนายประชา จำเลยที่ 2 จงใจหลีกเลี่ยงและหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา จึงให้ออกหมายจับ พร้อมปรับนายประกันเต็มตามจำนวน 2 ล้านบาท ขณะที่พยานหลักฐานโจทก์(คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.) ยังไม่เพียงพอรับฟังว่า นายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 1 นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำเลยที่ 3 และ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการ กทม. จำเลยที่ 6 ปฏิบัติหน้าที่มิชอบในโครงการดังกล่าวจึงพิพากษายกฟ้อง โดยศาลมีคำสั่งให้ออกหมายจับนายประชา จำเลยที่สอง เพื่อติดตามตัวมาบังคับคดีรับโทษ และให้ออกหมายจับจำเลยที่ 4 ที่วันนี้ไม่ได้มาศาลฟังคำพิพากษา โดยให้ติดตามตัวมารับฟังคำพิพากษาในวันที่ 16 ต.ค. 09.30 น. พร้อมปรับนายประกัน 2,000,000 บาท อย่างไรก็ตาม นายประชา มาลีนนท์ กับ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อยู่ระหว่างหลบหนีคดีทุจรติรถดับเพลิง http://news.sanook.com/1592001/ประชา-มาลีนนท์ไม่รอด-ศาลปค.พิพากษาชดใช้587ล้าน-คดีจัดซื้อรถ-เรือ/ สรุป คดีนี้เกิดในสมัยรัฐบาลทักษิณ คนทำผิดคือรัฐมนตรีช่วย ซึ่งตอนนี้หนีคดีอยู่ ถามว่าเกี่ยวอะไรกับ ปชป ?
เพิ่มเติมเรื่องจุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะครับ... ตัวโครงการอาจจะล้มเหลวจริง แต่เรื่องงบประมาณอาจจะไม่ครับ http://www.dailynews.co.th/Content/..."ปรับใหม่เพิ่มออพชั่นให้ข้อมูลท่องเที่ยว รายงานข่าวจาก สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า จากที่ กทม. ได้จัดทำโครงการ จุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะ 150 จุดทั่วพื้นที่ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตระกูลอัจฉริยะในสมัยของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯกทม. ตั้งแต่ปี 2548 เพื่อให้การเรียกแท็กซี่เป็นไปอย่างมีระเบียบ ลดปัญหาการจราจร โดยให้เอกชนลงทุนและ กทม. ให้ผลตอบแทนในการติดป้ายโฆษณาได้จุดละ 1 ป้ายนั้น ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพราะมีปัญหาตั้งแต่ช่วงแรกที่เปิดให้บริการ ซึ่งเมื่อกดเรียกแท็กซี่จะมีสัญญาณไฟและมีเสียงดัง หรือมีรถแท็กซี่อื่นแวะมารับผู้โดยสารก่อน โดยผู้กดเรียกก็ไม่ได้รอขึ้นรถแท็กซี่ที่เรียกจากศูนย์ฯตามระบบดังกล่าว และแม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงในระยะต่อมา ก็ไม่มีประชาชนเรียกใช้บริการ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้รถแท็กซี่จอดในจุดจอด ทำให้รถแท็กซี่จอดรับผู้โดยสารตามถนนทั่วไปไม่เป็นระเบียบเช่นเดิม อีกทั้งประชาชนเองก็สามารถเรียกแท็กซี่จุดใดก็ได้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดสัญญากับเอกชนในปี 57 นี้ ตามระยะเวลาสัญญา 9 ปี ที่ทรัพย์สินของโครงการทั้งหมดจะเป็นของ กทม. โดย กทม. พิจารณาแล้วเห็นว่าจุดจอดดังกล่าว ที่มีการทำโครงสร้าง มีที่นั่งพักรอ ระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำช่องเว้าสำหรับให้จอดรถได้นั้นยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชน จะยังคงไว้ต่อไปแต่จะปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้มากขึ้น
"ห้าร้อยแปดสิบเจ็ดล้านห้าหมื่นแปดแสนล้านบาท" สังเกตหน่วยล้านบาทครับ ห้าร้อยล้านล้านบาท นี่ซื้อดาวอังคารมาดับเพลิงเหรอฮัฟ? ปล อุตส่าห์เอาสไตล์ท่านปูมาใช้ แมงวาปไม่มีใครสังเกตเบย เซ็งจิต บ้านผมไม่ใช่ช่อง ๓ ครับ ไอ้หาคนหายไปก็ไม่ใช่หน้าที่ผมซักกะหน่อย มาถามผมก็ไม่มีคำตอบให้หรอก เง้อ
เป็นประชาธิปไตย ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน (แต่ต้องเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยว่า อย่าโง่ และจำให้ได้ว่าใครทำอะไรไว้)
เรื่องโรงพักนี่ ง่าย ๆ เรยนะ ถ้าไม่อ่าน เพราะเกินสามบรรทัด ฟังเอาก้อด้าย อิอิ ตั้งแต่นาทีที่ 16:16 เป็นต้นไป
คนเรา เลือกกินในสิ่งที่อยากกิน เลือกเชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ เหตุผลเหล่านี้พอจะเข้าสมองผู้ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใดได้บ้าง แต่คงยากที่จะเข้าสมองกระบือแดง
สังเกตุ ท่าที เสื้อแดง และ แกนนำ ผมว่าคงไม่เข้าใจผิด แต่น่าจะเป็น การบิดเบือน เพื่อป้ายสี ส่วนหนึ่ง ข่าวเท็จ ข่าวลวง พอเสพแล้ว หลง งมงาย เพราะมันเร้าใจ กว่าความจริง ไม่งั้นคงไม่มีอะไร ขุดมาให้โจมตีได้อีก เมื่อไม่ชอบ จนเข้าขั้นเกลียด จะหาความจริง อะไรมาให้ฝ่ายตรงข้ามดูดี เขาไม่รับหรอกครับ ตามประสา ผู้ร้ายหนังไทย
อย่าลืมแก้ไขแต่งเรื่อง สปก 4-01 ด้วยนะ เดี๋ยวแดงเข้าใจผิด เพื่อไทย ทักษิณ ทำทิ้งไว้ทั้งนั้น พวกเราเป็นคนดี ไม่เคยโกงกินชาติ ทำเรื่องแบบนี้ได้ที่ไหน บ้านเมืองถึงได้เจริญๆมาถึงทุกวันนี้
แถตรงไหนคับ เรื่องสปก 4-01 ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่เเดงและคนไทยเข้าใจผิด คิดว่า ปชป. โกงดินกินป่า นำที่ทำกินไปแจกพวกตัวเอง เราต้องแก้ไขความเข้าใจผิดเรื่องนี้ หรือจะปล่อยให้เค้าเข้าใจผิดกันต่อไป
เรื่อง สปก. ต้องทำความเข้าใจครับ ถ้าก่อนประกาศ กับ หลัง ประกาศ ที่ดินนั้น มีเจ้าของ เป็นผู้ครอบครอง เป็นคนเดียวกัน หรือ ลูกหลานเขา ทำความเข้าใจ กับ สปก. ก่อน สปก. ตามเดิม มีสภาพ บังคับ อาจจะเป็นด้วยความหวังดี คือขาย หรือ โอน ให้บุคคลอื่นไม่ได้ เพื่อเอาไว้ทำกิน ไว้ทำประโยชน์ ให้เพียง สืบทอด ยังลูกหลาน แต่จะมีปัญหา หลายกรณี เช่นคนต้องการย้าย ถิ่นฐาน ธรรมดาของ ชาวบ้าน หรือบุคคลทั่วไป เขาจะยอมสละ หรือ ส่งคืน ให้รัฐ หรือครับ ก็เลย มีความ ยุ่งยาก ตรง นี้ เมื่อขาย หรือโอนไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ใหน ทุกที่หละครับ ต้องเริ่มจาก ครอบครอง ก่อน อันดับแรก อาจจะทำประโยชน์ หรือ แสดง ตน ว่า ครอบครอง คนนั้น คนนี้ ต่อมา ถึงจะ มีเอกสาร แสดงสิทธิ ต่างๆ