เว่อร์ไปไหม...ถ้าใช้เหตุผลข้อเดียวสนับสนุนเลื่อนสัมปทานปิโตรเลียม

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย kokkai, 18 Feb 2015

  1. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ปี. 53 เราใช้ไฟฟ้าระดับ 25K เมกะวัตต์ on Peak Demand
    ระดับอุณหภูมิเฉลี่ย
    สร้างหนึ่งโรงนิวเคลียร์ 4K เมกะวัตต์ก็แค่ 16-17 %
    อัตตราเติบโต YoY เทียบประมาณ 15-16 %

    ถ้าประเทศอื่นสร้างขนาดเดียวกัน
    ผมว่าไม่เหลือขายครับ
     
  2. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :cool: ส่วนหนึ่งที่ประเทศเราโดนประท้วงตลอดมาก็เพราะว่า "ความไม่ไว้ใจ" ในหน่วยงานรัฐบาลครับ
    ทั้งการศึกษาผลกระทบ มาตรฐานการดำเนินการ การควบคุม ความรู้ความสามารถของบุคคลากร
    มีมากพอหรือไม่? ข้อมูลที่แจ้งถูกต้องจริงหรือไม่? จะโกงกินกันมากน้อยแค่ไหน?

    คนส่วนมากรู้ว่าเทคโนโลยีมันดีจริง แต่คนนำมาใช้ดีพอหรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่องครับ
     
    Apichai, อู๋ คาลบี้, temp และอีก 5 คน ถูกใจ
  3. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    หลายโครงการของรัฐ มีการหมกเม็ดจริง ๆ ครับ อย่างการศึกษาผลกระทบมีการลักไก่ก็หลายอยู่ แล้วจะไม่ให้คนประท้วงได้อย่างไร
     
    อู๋ คาลบี้, temp, kokkai และอีก 3 คน ถูกใจ
  4. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ต่อสู้และประท้วงได้ สู้กันบนความจริง บนกฏหมายว่าไปตามกระบวนการ
    แต่ถึงขั้นปั้นข้อมูลเท็จ บิดเบือน มโน เพื่อหาความชอบธรรม อันนี้ก็เกินไป

    ต้องแยกระหว่างสมมุติฐาน ความน่าจะเป็น อันนี้ผมไม่คิดว่าเป็นการบิดเบือน แต่เป็นข้อกังวลและคาดการณ์ ซึ่งมีทั้งโอกาสที่จะเป็นไปได้และไม่ได้ อย่างนี้ต้องรับฟัง

    ตอนนี้สังคมเราเจอเรื่องแบบนี้เยอะมาก
    เสื้อแดงเสื้อเหลือง ธรรมกลาย การเมือง การก่อการร้าย ล้วนแล้วแต่สู้กันแบบพูดความจริงครึ่งเดียว ปั้นข้อมูลเท็จเอามาสู้ สุดท้ายจากการสู้ด้วยเรื่องความจริง จะกลายเป็นเรื่องศรัทธาเพราะเชื่อในข้อมูลที่ผิดๆ คราวนี้แก้ยากครับ
     
    อู๋ คาลบี้, temp, kokkai และอีก 3 คน ถูกใจ
  5. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ถ้า"ความไม่ใว้ใจ"เกี่ยวกะเรื่องโกงกิน กลัวงานออกมาไม่ได้มาตรฐาน กลัวอันตราย
    ขอพ่วง"นักการเมืองที่กำกับดูแล" เข้าไปด้วยครับ เพราะนี่คือตัวละคอนสำคัญที่ขาดไม่ได้ :nerd:
     
    อู๋ คาลบี้ และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  6. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/633816

    อย่างที่ทราบกันครับ ที่รีบเพราะแหล่งสำรวจที่พิสูจน์แล้วใช้ได้อีกไม่เกิน6-7ปี (ตรงนี้คุณรสนาเข้าใจผิดแล้วออกมาวีนผ่านสื่อ) แล้วการเปิดสัปทานครั้งที่21 เปิดตอนนี้กว่าจะนำมาใช้ได้ต่ำๆก็5ปี

    ของอย่างนี้มันต้องวางแผนนะ จะซื้อเขาหรือจะขุดมาใช้เอง(ถ้าสำรวจพบ) แถมยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีก

    ผมว่านี่ไม่ใช้เรื่อง ดังที่กลุ่มทวงคือพลังงานเข้าใจนะว่า"รอได้"
     
    Last edited: 25 Feb 2015
    dtonna, puggi, AlbertEinsteins และอีก 1 คน ถูกใจ.
  7. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    ที่สำคัญนะครับ ไอ้พวกทวงคืน บางคน มาพูดว่าไหนๆก็ใช้ราคาแพง ก็นำเข้าพลังงานสิ จะได้สงวนพลังงานไทยไว้ให้ลูกหลาน ผมโครตอยากจะบอกเลยว่า ตรรก บัดซบมาก นี่ขนาดเราผลิตแก๊ส ได้ในส่วนของเราพอสมควร แล้ว ซึ่งบางส่วนก็นำมาผลิตไฟฟ้า ค่าไฟตอนนี้ยังบ่นกันไม่เลิกว่าแพง ลองเอา LNG มาผลิตไฟฟ้าสิ รับรองค่า FT ขึ้นไปอีกเท่าตัว ไม่รู้พวกนี้มันใช้ตรรก แบบไหน
     
    dtonna, NISH, เผด็จการที่รัก และอีก 1 คน ถูกใจ.
  8. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    รัฐบาลไม่ว่ายุคหลัง โดยเฉพาะกระทรวงพลัังงานหรือหน่วยงานทางพลังงาน
    เอาเป็นสิบปีหลังนี้ ค่อนข้างแย่มาก
    ทั้งในเรื่องการหาแหล่งพลังงาน การวางแผนใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า การหาพลังงานทดแทน การประหยัด การแจ้งเตือนประชาชน หรือขอความร่วมมือ
    เข้าใจว่าเรามีปัญหาทางการเมืองรุนแรง
    แต่เรื่องแบบนี้ต้องมีจุดเตือนวิกฤตที่ต้องบอกกล่าวว่าต้องรีบดูแลเร่งด่วน
    ถ้าหากการคาดการถูกต้อง (หวังว่าผิด)
    เจ็ดปีนี่ไม่ช้า บัดเดี๋ยวก็ถึง

    ถ้าหมดจริง คราวนี้นำเข้าพลังงานกระอักแน่
    เดี๋ยวลามไปเศรษฐกิจอีก เพราะเราไม่ได้ร่ำรวย
    จีดีพีติดลบ เครดิตประเทศลดลง ย้ายฐานการผลิต
    คราวนี้อาหารจะแพง ค่ารถไปทำงานหรือขนส่งขึ้นราคา
    ค่าไฟฟ้าอิ่มไปเลย ทำให้เงินใช้สอยน้อยลง เงินหมุนน้อยลง
     
    dtonna likes this.
  9. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    หรือเพราะผลกำไรของปตท. มีผลต่อโบนัส เงินเดือน ค่าเบี้ยประชุม สวัสดิการ ผลตอบแทนอื่นๆ
    ที่พนักงานและผู้บริหารปตท.จะได้รับ เราเลยไม่มีทางได้รู้ข้อมูลของจริง จากปตท.
     
  10. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ถ้าเอาเข้าจริงๆ กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่
    แถมกระทรวงพลังงานในฐานะทั้งผู้จ้างในบางงานหรือเร็คกูเลเตอร์
    ก็สามารถขอความร่วมมือได้
    ผมว่ารัฐบาลเขาสามารถเรียกดูข้อมูลได้
    ถ้าข้อมูลผิดพลาด จับได้ ถือว่าไม่มีธรรมาภิบาล
    ไล่ออก เอาผิด ได้เลยนะครัชชช
    คราวนี้พนักงานและผู้บริหารปตท.ไม่ได้อะไรเลย
    เผลอๆบริษัทฯต้องจ่ายค่าปรับด้วย(ถ้ามีกฎหมาย)

    ทั้งนี้ข้อมูลต่่างๆ รัฐบาลกรองได้ย่อยได้สรุปสั้นๆได้
    แต่ไม่ควรบิดเบือนหรือโกหกมดเท็จ
    การกรองการย่อยการสรุป
    ก็เพื่อที่จะไม่เปิดเผยความลับหรือข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ
    เป็นการมีธรรมาภิบาลต่อผู้ถือหุ้นคนอื่นๆด้วย
     
    dtonna และ kokkai ถูกใจ.
  11. NISH

    NISH สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    26 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    27
    ตรรกะไม่ต้องขุดอนุรักษ์ให้ลูกหลาน จริงๆถ้าจะอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานต้องไม่ใช้พลังงาน แต่ตอนนี่มีแต่ใช้เพิ่มขึ้นทุกวัน เอาง่ายๆอย่าง car pool ยังทำกันไม่ได้เลย
     
    AlbertEinsteins likes this.
  12. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    ปัญหาตอนนี้คือบางกลุ่มไปคาดหวังปริมาณก๊าซสำรองที่ยังไม่พิสูจน์นี่สิครับ
     
  13. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ในความคิดผม
    ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในข้อมูลที่แสดง
    หาหลักฐานข้อมูลแท้จริง. มีแหล่งที่มาที่ไปไปคัดค้านแย้ง
    ถ้าพิสูจน์ทราบว่าข้อมูลของ ปตท เป็นเท็จ

    คราวนี้ก็สามารถกดดันให้
    เร็คกูเรเตอร์ให้เอาผิด (ถ้ามีกฎหมายรับรอง)
    กระทรวงการคลังและรัฐบาล ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ
    ตลาดหลักทรัพย์ ในแง่ธรรมาภิบาล
    ประชาชนเข้าไปซื้อหุ้นแล้วเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น
    สอบถามกดดันให้บริษัทฯรับผิดชอบหาผู้ทำผิด
    เหล่านี้เป็นต้น แค่มีเรื่องกดดันที่ผมบอกข้างต้นก็มีผลต่อทั้งภาพลักษณ์
    และความเชื่อมั่นนักลงทุน

    ตามทฤษฎีและหลักการ
    บริษัทฯก็ต้องเทคแอคชั่นหาคำตอบ แสดงความรับผิดชอบ

    ช่องทางมีหลายๆแบบ
    ไม่ต้องลงไปถนนหรือปลุกระดม
    เดี๋ยวไปๆมาๆคุมไม่อยู่ เผาแม่งเลย แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ
     
    Redbuffalo010 และ kokkai ถูกใจ.
  14. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ผมถึงชอบความเห็นบางท่านว่า เราเอา Fact มาคุยกัน
    เอาข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่มีที่มาที่ไปมาคุยกัน
    ข้อมูลมันจะหักล้างกันเอง ข้อมูลใครผิดใครถูก
    ตั้งสมมุติฐาน โมเดลคณิตศาสตร์ความน่าจะเป็น
    แค่นี้ก็เห็นภาพตัดสินใจกันได้แล้ว
    ทุกอย่างเป็นวิทยศาสตร์ เป็นกระบวนการหลักการใช้กันทั่วโลก
     
    dtonna และ Redbuffalo010 ถูกใจ.
  15. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    นี่แหละครับ บัดซบ ล้างสมองคนไปหมด จริงๆพวกทวงคืนมันน่าจะพวกเดียวกับไอ้เผาไทย เงินมีอยู่ในอากาศ ไอ้พวก ทวงคืน ก็มโนว่า พลังงานมีอยู่ในอากาศเยอะแยะ เค้าต้องคิดพลังงานแบบconservative ที่สุด เลือกที่พิสูจน์ได้ ไม่ใช่ไปหวังน้ำบ่อหน้า
     
  16. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    เสริมอีกนิด
    ทีนี้การสร้างความแตกแยก แบ่งแยกแล้วปกครอง
    สร้าง hate speech มันจะนำมาซึ่งความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน
    และที่สำคัญมันจะไม่เกิดกระบวนการ collaboration
    คราวนี้ข้อมูลที่มีจะไม่มีการกลั่นกรองวินิจฉัยจากทั้งสองฝ่าย
    เพราะความร่วมมือไม่เกิด ความไว้เนื้อเชื่อใจไม่มี
    สุดท้ายจะกลายเป็นใครพวกมาก ชนะ เพราะอ้างจำนวนคน
    ซึ่งกระบวนการมาตรงจุดนี้
    ใครกุมสื่อ สื่อสารกับคนหมู่มากได้ดีกว่า
    สื่อสารบ่อยครั้งหรือซ้ำๆครั้งมากกว่าจะได้เปรียบ

    คุ้นๆมั๊ย
    สุดท้ายจะกลายเป็นสองฝั่งจะลงถนนตีกัน
    มีเสื้อแดงเสื้อเหลือง
    ทหารเสื้อเขียวจะมายึดอำนาจเพราะตีกันไม่เลิก
    555555
     
  17. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    กลุ่มใจ หลายๆครั้งเหตุผลแพ้พวกปากดีเสียงดัง ครั้งนี้ก็เช่นกัน:D

    ยิ่งเห็นวิธีคิดของกลุ่มทวงคืนแล้วยิ่งท้อใจ คิดไปได้ว่า "รัฐยอมถอย แปลว่ารัฐผิดตั้งแต่ต้น" สลัดเอ๊ย:D

    (คุ้นว่าในกระทู้นี้คนนึง ก็คิดแบบนี้่นี่):rofl:

    ป.ล. ในที่สุดแก๊งเขาพระวิหารก็กลับมา อภิสิทธิ์ก็ไม่เข็ดนะ โดนเล่นเรื่องเขาพระวิหารโดยแก๊งนี้ไป ไม่เข็ด:giggle:

     
    dtonna, kokkai, puggi และอีก 1 คน ถูกใจ.
  18. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    เอ้าเสพข่าวเพิ่มไปเรื่อยๆ 5555555

    http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9580000024085

    ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ท่ามกลางกระแสเสียงแห่งความดีใจของภาคประชาชน แม้จะไม่ถึงขนาดให้ต้องไชโยโห่ร้อง อันเป็นปรากฏการณ์ภายหลังจากที่ประชุมร่วมรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งหัวโต๊ะ เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีมติให้เลื่อนการพิจารณาการยื่นสิทธิ์ขอเปิดสัมปทานและผลิตปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ออกไปอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้คณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นจากผลตกลงร่วมในเวทีระดมความเห็นที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 20 ก.พ.มาเป็นผู้ดำเนินการหาแนวทางแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วส่งให้ สนช.นำไปพิจารณาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

    กรอบแนวคิดของการปฏิรูปพลังงานนั้น ยังมีอีกประเด็นที่สังคมไทยกล่าวถึงน้อยมาก แต่กลับต้องถือว่ามีความสำคัญในระดับไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแปรระบบสัมปทานให้เป็นแบ่งปันผลประโยชน์ การยึดคืน ปตท. การกดดันราคาน้ำมันและก๊าซให้ลดลง นั่นคือ…

    เวลานี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าในอัตราเร่งผลักดันทุกกลไกของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ความเป็น “ศูนย์กลางพลังงานโลก” แห่งใหม่ โดยอาศัยผืนแผ่นดินด้ามขวานเป็นฐานที่มั่นในการผลักดัน

    จึงไม่แปลกที่ในห้วงเวลาหลายปีมานี้คนภาคใต้จะได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของรัฐที่ถูกทุ่มไปทับถมไว้ โดยเฉพาะพวกเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่ได้กระจายอยู่เต็มพื้นที่ ซึ่งสร้างความฮือฮาและเป็นข่าวครึกโครมมาอย่างต่อเนื่อง

    เมื่อเป็นแนวคิดการพัฒนาที่เชื่อมโยงระดับโลก จึงต้องทำความเข้าใจในภาพรวมก่อน กล่าวคือ แหล่งความเจริญของโลกนั้น เริ่มต้นจากที่ทวีปยุโรป ก่อนจะเคลื่อนไปสู่อเมริกา และยุคสมัยปัจจุบันได้เคลื่อนมาอยู่ในทวีปเอเชีย โดยประเทศที่กำลังบูมทางเศรษฐกิจและจะยังขยายตัวต่อเนื่องไปจนเป็นที่จับตาในแถบนี้ก็มีอาทิ จีน อ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย รวมถึงอีก 10 ประเทศกลุ่มอาเซียนไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งในจำนวนนี้รวมไทยไว้ด้วย

    ศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจของโลกอยู่ที่ไหน ที่นั่นก็จำเป็นจะต้องสร้างเส้นทางขนทั้งถ่ายสินค้า และโดยเฉพาะการลำเลียงพลังงานแบบให้สะดวกที่สุด ดังนั้นเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้วจึงเกิดการขุดคลองสุเอชระยะทางกว่า 100 กิโลเมตรในประเทศอียิปต์ เพื่อย่นย่อเส้นทางเรือขนส่งสินค้า น้ำมันและก๊าซ โดยไม่ต้องไปอ้อมครึ่งโลกผ่านแหลมกู๊ดโฮปที่ใต้สุดของทวีปแอฟริกา จากนั้นไม่นานก็ตามด้วยการขุดคลองปานามาที่ประเทศปานามาเพื่อให้เรือไม่ต้องไปอ้อมแหลมฮอร์นที่สุดของทวีปอเมริกาใต้เหมือนกัน

    สำหรับบนแผ่นดินเอเชีย ที่ผ่านมาเคยมีแนวคิดจะขุดคลองย่นย่อเส้นทางเดินเรือเช่นกัน ซึ่งแผนดินตรงกลางติ่งที่ยาวและแคบที่สุดคืนส่วนของคาบสมุทรมลายูที่อยู่ในประเทศไทย ย้อนหลักฐานไปได้ว่าเคยคิดจะขุดคอคอดกระหรือคลองกระมากว่า 300 ปี หรือในสมัยพระนารายณ์มหาราชโน้น แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีการขุดคลองดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแผ่นดินไม่ได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่อง โดยมีถึง 3 ช่องแคบทางทะเลให้เรือเดินสมุทรผ่านได้คือ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องลอมบอก

    ในส่วนของช่องแคบมะละกาที่อยู่ระหว่างประเทศสิงคโปร์กับรัฐยะโฮร์บารูของประเทศมาเลเซีย หรือที่มีคนจำนวนมากนิยมเรียกว่า ช่องแคบสิงคโปร์ เนื่องจากอยู่ตอนเหนือสุดจึงย่นระยะทางที่เรือบรรทุกสินค้า น้ำมันและก๊าซจะใช่บริการข้ามผ่าน 2 ฟากฝั่งคือ มหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ จึงส่งผลให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลที่สำคัญของโลก

    แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ สิงคโปร์นับเป็นศูนย์กลางพลังงานที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกในช่วงหลายสิบปีมานี้ โดยเฉพาะในด้านการกลั่นและส่งผ่านน้ำมัน ข้ามโลก

    สิงคโปร์นอกจากจะมีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่แล้ว ความเป็นศูนย์กลางพลังงานที่สำคัญของโลก ทำให้ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กแห่งนี้เป็นฐานที่ตั้งของโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซมากมาย

    มีข้อมูลระบุว่า หลายปีมานี้ช่องแคบมะละกามีเรือเดินสมุทรผ่านประมาณ 900 ลำต่อวัน หรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเทียบแล้วมีปริมารเรือที่วิ่งผ่านมีมากกว่าคลองสุเอชถึงประมาณ 2 เท่าตัว และมากกว่าคลองปานามาถึงกว่า 3 เท่าตัว จึงเกิดวิกฤตการณ์ตามมามากมาย ทั้งด้านการจราจรทางเรือที่ติดขัด ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนน้ำจืด ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้นปัญหาโจรสลัดคอยดักปล้นเรือสินค้าและเรือขนน้ำมันที่ผ่านช่องแคบแห่งนี้ก็เกิดขึ้นถี่ยิบ ซึ่งก็เป็นข่าวประจานไปทั่วโลกอยู่บ่อยครั้ง

    เมื่อเป็นเช่นนี้กลุ่มทุนจากทั่วโลก และแม้กระทั่งกลุ่มทุนไทยเอง จึงต่างก็เล็งแลมายังพื้นดินด้ามขวานของไทย ด้วยเห็นศักยภาพและช่องทางสร้างกำไรมหาศาล หากสามารถแจ้งเกิดโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่จะไปเสริมศักยภาพ อันมิใช่ไปแย้งชิงความเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าและแหล่งพลังงานข้ามโลกของช่องแคบมะละกาได้

    เมื่อยุคสมัยปัจจุบันโครงการขุดคลองที่ไม่ว่าจะเรียกคอคอดกระ คลองกระหรือคลองไทยไม่เหมาะสมที่จะทำได้แล้ว การทำโครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) เชื่อมระหว่างฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งก็คือการเชื่อมมหาสมุทรอินเดียเข้ากับมหาสมุทรแฟซิฟิกเหนือ จึงถูกคิดค้นขึ้นมาแทนที่การขุดคลอง ซึ่งก็สามารถตอบโจทก์ของการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าและศูนย์กลางพลังงานข้ามโลกแห่งใหม่ได้ดีทีเดียว

    ถึงวันนี้แลนด์บริดจ์ภาคใต้ได้ถูกกำหนดเป็นแผนและเดินหน้าผลักดันกันมาแล้วนับสิบปี โดยมีส่วนประกอบหลักได้แก่ ท่าเรือนำลึก 2 ฝั่งทะเลหัว-ท้าย ฟากอันดามันกำหนดสร้างขึ้นที่บริเวณชายฝั่งบ้านปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ส่วนฟากอ่าวไทยให้สร้างที่ชายฝั่งบ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา แล้วให้เชื่อมต่อกันด้วยถนนมอเตอร์เวย์ รถไฟขนตู้คอนเทรนเนอร์แบบรางคู่ รวมถึงระบบท่อน้ำมันและท่อก๊าซ

    ที่จริงแล้วโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่คือส่วนประกอบสำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด (Southern Seaboard : SSB) ซึ่งตามแผนนอกจากอภิมหาโครงการอย่างแลนด์บริดจ์แล้ว ยังประกอบไปด้วยนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่จะไว้รองรับการเกิดขึ้นของโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซ อันจะส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดมหึมาตามมา ซึ่งเป็นเหมือนต้นธารให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภคตามมามากมาย

    ทั้งนี้โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดก็คือการยกเอาโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด (Estern Seaboard : ESB) หรือโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เอามาไว้ที่ภาคใต้นั่นเอง ถือเป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อขยับขยายลงมา จึงเห็นได้ว่าขนาดของเซาเทิร์นซีบอร์ดจะใหญ่โตกว่าอีสเทิร์นซีบอร์ดหลายเท่า จึงไม่แปลกที่ในห้วงเวลานับสิบปีมานี้คนภาคใต้จึงได้สัมผัสถึงบรรยากาศที่ทุกรัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากมาย

    ไล่เรียงตั้งแต่การสร้างโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าจากก๊าซขนาดใหญ่ 2 โรงที่จะนะ ซึ่งจะตามมาด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินนับสิบโรง โรงไฟฟ้าชีวมวลอีกมากมาย โรงถลุงเหล็ก ถนนมอเตอร์เวย์ไทย-มาเลเซีย ถนนบายพาสหรือวงแหวนอ้อมเมืองต่างๆ อีกทึ้งยังมีท่าเรือทั้ง 2 ฟากฝั่งทะเลภาคใต้ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ยันนราธิวาส ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการลุงทุนในอุตสาหกรรมตามมาในทุกพื้นที่ของทุกจังหวัด

    เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้การผลักดันให้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่กระจายทั่วแผ่นดินด้ามขวานเพื่อรองรับการเกิดอุตสาหกรรมมากมายก็จริง แต่ทั้งหมดทั้งปวงได้ยึดเอาแนวแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลเป็นศูนย์กลาง ซึ่งตามแนวแลนด์บริดจ์นี้จะเกิดโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซและฐานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดยักษ์ ซึ่งในเนื้อแท้ก็คือการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ให้เกิดศูนย์กลางพลังงานโลกแห่งใหม่ โดยใช้ภาคใต้เป็นฐานการผลิตและส่งผ่านพลังงานข้ามโลกนั่นเอง

    ถ้ายุทธศาสตร์การพัฒนานี้ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ในอนาคตภาคใต้ของไทยจะช่วยแบ่งเบาเรือขนสินค้าให้ไม่ต้องไปผ่านช่องแคบมะละกาได้บางส่วน แต่โดยหลักๆ แล้วเรือขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางจำนวนมหาศาลฟากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งต้องวิ่งไปขึ้นน้ำมันดิบที่สิงคโปร์ แล้วผ่านกระบวนการกลั่นเป็นเบนซิน ดีเซล และอื่นๆ ก่อนนำลงเรือส่งต่อไปยังประเทศเศรษฐกิจใหม่แถบเอเชียในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือนั้น ต่อไปสามารถมาขึ้นน้ำมันดิบที่ฝั่งอันดามัน แล้วผ่านกระบวนการผลิตก่อนจะส่งต่อเป็นน้ำมันสุกฟากอ่าวไทยประเทศในแหล่งความเจริญใหม่ดังกล่าว ซึ่งนั่นเท่ากับช่วยแบ่งเบาภารกิจของช่องแคบมะละกาได้มหาศาล

    ทั้งนี้ทั้งนั้น หากประเทศไทยถูกขับเคลื่อนให้เป็นศูนย์กลางพลังงานแห่งใหม่ของโลก ภาคใต้กลายเป็นฐานอุตสาหกรรมเคมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตสินค้ากระจายเต็มพื้นที่ ถึงวันนั้น ปตท.จะเป็นกลุ่มทุนที่มีพลังอำนาจมากมายมหาศาลขนาดไหน

    ยิ่งถ้าให้มีการปล่อยผีสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 อีกทั้งไม่สามารถกดดันให้เดินหน้าปฏิรูปประเทศชาติ โดยเฉพาะด้านการปฏิรูปพลังงานได้อย่างที่ภาคประชาชนวาดหวัง ประกอบกับผู้คนในสังคมไม่สนใจใยดีกับกระบวนการพัฒนานำพาไทยไปสู่ความเป็นศูนย์กลางพลังงานโลกแล้ว

    แม้จะยังไม่มีคำตอบในเวลานี้ แต่ในจินตนาการของคนไทยจำนวนหนึ่งก็เชื่อว่า อย่างน้อย ปตท.น่าจะสามารถสยายปีกทะยานขึ้นไปยิ่งใหญ่ได้คับฟ้าเลยทีเดียว
     
  19. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแทนที่สิงคโปร์ก็ดีแล้ว ผู้จัดการพูดเหมือนกลัวไทยแซงสิงคโปร์
     
  20. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ความเห็นส่วนตัวผม สิงคโปร์มองไทยเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว
    ปฎิบัติกะเราแบบเป็นศัตรูไม่ใช่มิตร ต้องทำให้ไทยอ่อนแอจึงจะดี
    ถ้าหาประโยชน์จากไทยได้มากเท่าไหร่ ประเทศไทยพัฒนาได้ช้าเท่าไหร่ มันส่งเสริมเต็มที่
     
  21. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ถ้าขุดคลองไทยได้ขึ้นมาจริงๆ สิงคโปร์ตกกระป๋องแน่
     
  22. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    จะขุดคลองหรือทำเป็นแลนด์บริดจ์ ผมเห็นด้วยทั้งนั้น ขอให้เราได้ประโยชน์คุ้มค่าการลงทุน
    ส่วนเรื่องกลัวจะเกิดการแบ่งแยกแผ่นดินตามที่เคยมโนกันนั้น ผมว่าคนคิดมันปัญญาอ่อน
     
  23. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ไม่เข้าใจเหมือนกัน

    แต่ที่ผมหยิบมาก็แค่ขำขำ
    เพราะเคยบอกไว้ในกระทู้นึงว่าเดี๋ยวต้องมีการปล่อยของผ่านสื่อออนไลน์
    ปล่อยมาหนึ่งแระ
    เดี๋ยวคงมีมาเรื่อยๆ 5555
     
  24. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    อย่าไปว่ากันนะ เขาก็พยายามเสนอความจริงอีกด้าน ที่ข้อมูลมาจาก"หน่วยงานของรัฐ"

    คำถามคือ ถ้าบอกว่าหน่วยงานของรัฐโกหก.....แสดงว่าองค์กรอิสระอื่นๆก็โกหกด้วย(เช่น สตง)

    ก็อยู่ที่จะเลือกเสพครับ:rolleyes: เสพอย่างมีสติก็แล้วกัน ตั้งสติก่อนแชร์

     
  25. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    มาอีกข่าว

    ประสงค์ สุ่นศิริ “การที่รัฐไม่ฟังเสียงภาคประชาชนในเรื่องพลังงาน จะเป็นบทพิสูจน์สำคัญว่าทำงานเพื่อประชาชนหรือเพื่อคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง”
    blank.gif


    http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9580000024083


    พี่สงค์รัฐนะเขาฟังแล้ว ฝ่ายโวยวายนะฟังบ้างหรือป่าว
    อีกอย่างหยิบมือเดียวอย่าอ้างประชาชนพร่ำเพื่อ
    อย่างนี้เขาเรียกเหมารวม
    ประชาชนที่เห็นด้วยกะรัฐบาลมีอีกเยอะ แยกให้มันชัดๆ
     
    Last edited: 1 Mar 2015
  26. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    เอาซะหน่อย
    ผมไม่เคยคิดจะเข้าทู้นี้มาแต่แรก จนยาวเกินจะอ่าน
    ที่ไม่เข้ามาเพราะ คงไม่มีใครขวางได้ถ้าเขาจะทำ
    และผมไม่มีปัญา ความรู้เท่าเศษเสี้ยวเขาเหล่านั้น
    แต่คิดง่ายๆแบบบ้าน
    ราคาน้ำมันตอนนี้ถูกมาก ฉนั้นค่าสัมปทานตอนนี้เราก็จะได้ถูกมากใช่หรือเปล่าครับ
    คิดแบบบ้านๆว่ายังไงน้ำมันก็ต้องกลับมาแพง
    โอเคถึงเวลานั้นมูลค่าหุ้นก็จะสูงทำกำไรมากๆ เพราะซื้อมาถูก
    ถามว่าหุ้นที่ครองอยู่กระจายไปถึงมือใครบ้าง
    ฉะนั้นใครที่ถือหุ้นมาก ก็คงอยากให้เปิดสัมปทานเร็วๆแน่ครับ
    เก่งๆกันทั้งนั้นครับ คงคิดกันหลายชั้น
    หรือว่าผมคิดผิด หรือว่าผมมโน
    ยอมรับว่าผมคิดได้แค่นี้ ใครจะเมตตาสั่งสอนผม ถือว่าเป็นความกรุณาครับ
    ขอขอบคุณครับ
     
  27. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ถ้าพูดถึงหุ้น ปตท ก็รัฐบาลนั่นแหละครับถือหุ้นใหญ่ และอยากให้เปิดสัมปทานเร็ว ๆ

    ความขัดแย้งที่มันเกิดขึ้น มันไม่น่าจะใช่ความขัดแย้งที่แท้จริงหรอกครับ มันน่าจะเป็นแค่เรื่องที่ถูกหยิบยกมาอ้างเป็นความขัดแย้งเท่านั้น เป้าหมายจริง ๆ คืออะไร ต้องรอดูว่า เมื่อแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม แล้วบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่บรรลุเป้าหมาย ความขัดแย้งมันก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ นั่นแหละ
     
    hey guys likes this.
  28. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    แหม่ ท่านครับผมชอบคำตอบนี้ครับ ตอบยาวๆกว่านี้อีกหน่อยนะครับ
    ผมเชื่อครับไม่ว่าเรื่องอะไรที่ไม่จบเนี่ยเพราะไม่มีใครพูดอะไรตรงไปตรงมา
    ขอบคุณครับคุณSurawong
     
  29. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ผมคนตั้งกระทู้ก็ไม่รู้จริงกะเขาหรอก ข้อมูลที่มีทั้งหมดในกระทู้นี้เกิดจากการโพสต์ของสมาชิกทั้งนั้น :p
    เพียงแต่ผมไม่ใว้ใจผู้บริหารปตท. เพราะคิดว่าผู้บริหารเขาต้องคิดถึงกำไรสูงสุดของบริษัท(ใครหุ้นใหญ่หุ้นเล็กไม่เกี่ยว)
    มากกว่าจะคิดถึงกำไรสูงสุดของประเทศ ผมอาจจะคิดผิดก็ได้ แต่คนมันระแวงอะครับ :think:
     
    joonkung และ hey guys ถูกใจ.
  30. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ถ้าเราดูการเสวนาครั้งหลังสุด จะเห็นว่า มันยุติโดยการที่รัฐยอมเลื่อนการเจาะสำรวจออกไป เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม ตามที่ฝ่ายคัดค้านเรียกร้อง

    สาระที่ต้องการแก้ไข พรบ ปิโตรเลียมที่ถูกหยิบยกนำมาพูด โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ ที่พูดในลักษณะว่า เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเจาะสำรวจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล จึงไม่น่ามีเหตุผลอะไรที่ควรขัดข้องเลย

    คำถามก็คือ รัฐเลื่อนการเจาะสำรวจแล้ว ถ้าแก้ไข พรบ เพื่อเพิ่มทางเลือก โดยเพิ่มระบบ PSC เข้าไปแล้ว แต่เวลาจะเจาะสำรวจ เขาก็เลือกวิธีสัมปทานเหมือนเดิม ฝ่ายคัดค้านจะออกมาคัดค้านอีกหรือเปล่า

    เห็นปานเทพ โพสต์ในเฟสบุ๊ค บอกว่า ตอนนี้รัฐบาลควรทำการสำรวจแปลงที่คาดว่าจะมีน้ำมันไปเลย เพราะมีเงินกองทุนเยอะแยะ ถ้ารัฐบาลไม่สำรวจตอนนี้ มัวรอแก้ไข พรบ เสร็จก่อนแสดงว่ารัฐบาลต้องมีธงไว้แล้วว่าจะใช้ระบบสัมปทาน โดยจะอ้างว่าไม่มีเวลาแล้ว

    แสดงว่า การแก้ไข พรบ เพื่อเพิ่มทางเลือกนั้น ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ แต่แก้เพื่อบังคับให้เลือก ระบบ PSC ที่เพิ่มเข้าไปมากกว่า แถมยังเร่งให้รัฐบาลรีบทำการสำรวจก่อน พรบ เสร็จอีกต่างหาก ยังดีนะที่รัฐบาลไม่ย้อนถามว่า คุณจะรีบสำรวจไปทำไม เพราะเวลาผมจะสำรวจคุณมาถามผมว่า จะรีบสำรวจไปทำไม

    ความจริงที่คุณอภิสิทธิพูดว่า เป็นการเพิ่มทางเลือกนั้นมันก็ถูกต้อง เพราะการจะใช้ระบบสัญญาแบบไหนดี มันขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำมัน ถ้ามันเป็นแอ่งเล็ก ๆ เจาะไปแล้วเจอบ้างไม่เจอบ้าง การใช้ระบบสัมปทานมันดีกว่าแน่นอน แต่ถ้ามันเป็นแหล่งใหญ่มีมากมายมหาศาล การใช้ระบบ PSC น่าจะดีกว่า แต่ปัญหาก็คือไม่มีใครรู้ว่ามันจะมีมากหรือมีน้อยจนกว่าจะ เสียเงิน เจาะสำรวจไปแล้วนั่นแหละ

    รัฐบาลก็ไม่ใช่ว่าจะปิดประตูกับระบบ PSC เสียทีเดียว เพราะก่อนหน้าที่จะมีการเสวนา ก็เห็นให้สัมภาษณ์อยู่ว่าจะลองใช้ระบบ PSC กับแหล่งสำรวจในทะเลซึ่งคาดว่าน่าจะมีมาก โดยจะไปเติมเงื่อนไขในการให้สัมปทานว่าถ้าสำรวจพบว่าเป็นแหล่งใหญ่ จะใช้ระบบ PSC แต่ฝ่ายคัดค้านบอก ไม่เชื่อ คุณมาพูดหลอกภาคประชาชนเพื่อไม่ให้ชุมนุมมากกว่า เพราะคุณยังไม่ได้แก้ไข พรบ ปิโตรเลียมเลย แล้วคุณจะไปทำระบบ PSC ได้ยังไง มันจึงนำมาสู่การร่วมลงชื่อคัดค้านของคนดัง ๆ และมีการเสวนากัน จนมีการเลื่อนการเปิดสัมปทานเพื่อแก้ไข พรบ ปิโตรเลี่ยมก่อน

    คำถาม ถ้าแก้ พรบ ปิโตรเลียม เพิ่มระบบ PSC เข้าไปแล้ว รัฐบาลก็เลือกใช้ระบบ PSC กับแหล่งที่คาดว่าจะเป็นแหล่งใหญ่ เช่นแหล่งในทะเล แบบนี้ จบไหม

    คำตอบ ไม่น่าจบ เพราะระบบ PSC มันก็ต้องมีการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย ซับซ้อนกว่าระบบสัมปทานอีก รัฐบาลจะไปซี้ซั้วเจรจา มันไม่น่าจะถูกต้อง มันจะเชื่อได้อย่างไรว่า เป็นการเจรจาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อชาติและประชาชน

    คำถาม แล้วจะทำยังไง

    คำตอบ ไม่เห็นยากเลย คุณก็ตั้งพวกผมเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แนวทางพลังงานของประเทศ เพราะถ้าพวกผมเข้าไปนั่งตรงนั้นแล้ว จะใช้ระบบอะไรมันก็ไม่ใช่ปัญหา ปัญหามันอยู่ที่คุณจะตั้งพวกผมหรือเปล่า
     
    AlbertEinsteins likes this.
  31. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    เพราะมันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล ทำให้ต่างก็ไม่ใว้ใจกัน
    ตามความเห็นผม ผู้คัดค้าน น่าจะแสดงความบริสุทธิ์ใจ ว่าจะไม่รับตำแหน่งใดๆทั้งสิ้น
    ผมว่าการคัดค้านจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเยอะเลย
     
  32. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    เรื่องตำแหน่งรับไปแล้วนี่ครับ:eek:

    แต่ผมว่าเข้าไปก็ดีแล้ว สงสัยอะไรจะได้ถามไถ่กันให้เข้าใจ

    กลัวแต่ว่า คุยกันไม่รู้เรื่องนี่สิ

    เพราะอีกฝ่ายบอกมีไทยน้ำมันมหาศาลนี่:D
     
    puggi และ kokkai ถูกใจ.
  33. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ปานเทพคิดเหมือนผมเมื่อก่อนนี้ครับ คือ ยึดทุกอย่างเป็นของรัฐ100% ไหนๆก็กำไรเยอะนี่

    แต่โลกแห่งความจริงมันไม่ใช้ อธิบายง่ายๆคือ ถ้ายึดกลับมา คนเก่งๆจะออกจากปตท.หมดเพราะผลตอบแทนต่ำ(มันธรรมดาโลกอย่าไปด่าเขา เพราะคุณเองถ้ามีโอกาสดีกว่าก็ไป) ที่เหลือใน ปตท.จะมีแต่พวกไปไหนไม่รอด เกาะเก้าอี้แน่น

    สุดท้ายบริษัทเจ๊ง ไปไม่รอด ขาดทุน ที่ผมพูดไม่ได้มโน มีเวเนซุเอลาเป็นตัวอย่าง

    เวเนซุเอลา ประเทศที่มีน้ำมันดิบสำรองมากที่สุดในโลก"ต้องนำเข้านำมันดิบ
    http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/619644

    ปล มองโลกในแง่ดีคือปานเทพหวังดีจริงๆ มองในแง่ร้ายคือปานเทพรู้อยู่ในใจแต่พูดหาเสียงหาพวก
     
    Apichai และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  34. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ปานเทพย้อนแย้ง
    ปานเทพจะปล่อยของย้อนแย้งเอง
     
  35. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    "เพราะมันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล ทำให้ต่างก็ไม่ไว้ใจกัน"

    ผมก็คิดอย่างนั้นแหละครับ เพราะความไม่ไว้ใจ ความระแวง มันก็เลยกลายเป็นปัญหา
    แต่ประเด็นที่ผมมองมันเป็นอย่างนี้ครับ
    เวลาเรา สงสัย ระแวง ใคร หรือกลุ่มใด เราใช้วิธี ตรวจสอบ ว่ามันเป็นจริงอย่างที่เรา ระแวง สงสัย หรือไม่ ซึ่งกลุ่มที่คัดค้านนี่เขาก็ทำครับ แต่ว่าเขาทำจน ผมเองก็รู้สึกระแวงกลุ่มนี้เหมือนกันว่า แท้จริงแล้วคุณต้องการอะไรกันแน่ เพราะบางเรื่องสงสัยแล้ว เขาตอบแล้ว ก็ไปหยิบเอาเรื่องใหม่มาสงสัยต่อไปเรื่อย ๆ เหมือนไม่จบไม่สิ้น บางทีลืมหรือเปล่าก็ไม่รู้ ไปงัดเอาเรื่องเก่ามาสงสัยอีก บางทีเหมือนคิดอะไรยังไม่ออก ก็บอกไม่เชื่อที่เขาตอบเอาดื้อ ๆ ยังงั้นแหละโดยไม่มีเหตุผลอะไรประกอบความไม่เชื่อเลย มันมีความรู้สึกเหมือนกับว่าเขาต้องการเดินไปจุดหมายปลายทางสักแห่งหนึ่ง โดยโยนประเด็นต่าง ๆ ตามรายทางไปเรื่อย จนมาถึงเรื่องแก้ พรบ ปิโตรเลียม นี่แหละ

    ผมมองว่าการแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม คือจุดหมายปลายทาง เพราะเคยเห็นเขาร่างแก้ไข พรบ นี้มาก่อนแล้ว แต่เป็นคนละกลุ่มกัน ซึ่งกลุ่มนั้นไม่รู้ว่าตอนนี้หายไปไหนแล้ว แต่ยังเห็นสมาชิกหรือแกนนำในกลุ่มมาร่วมกับกลุ่มคัดค้านนี้อยู่

    ผมไม่ได้ติดใจเรื่องการแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม แต่ไม่เห็นด้วย ถ้ามีการแก้ไขเพื่อให้ตนเองเข้าสู่ "อำนาจ" เพราะมันไม่ถูกต้อง เราต้องขีดเส้นแบ่งให้ดี ระหว่างคำว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน การตรวจสอบของประชาชน กับการแสวงหาอำนาจ เพราะการเข้าไปมีอำนาจมันไม่ใช่การมีส่วนร่วม หรือ การตรวจสอบ ที่สำคัญก็คือ คำว่า ภาคประชาชน เป็นคำที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ หรือเป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ถ้าเป็นเพียงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งแล้วเข้าสู่อำนาจได้โดยวิธีนี้ กลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่มากมายหลายกลุ่มจะยึดเป็นต้นแบบในการเข้าสู่อำนาจหรือเปล่า การเข้าสู่อำนาจแบบนี้ มันเป็นเรื่องชั่วคราว มีวาระที่จะต้องออกไป แล้วมันจะกลายเป็นการเปิดประตูให้นักการเมืองในอนาคต เอาภาคประชาชนของตนเองมาเข้าประตูนี้หรือเปล่า

    ที่ผมพูดมานี่ เป็นความ ระแวง ของผมนะครับ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง มันเป็นความระแวงที่อยู่บนพื้นฐานของเรื่อง
    ทำไมฝ่ายคัดค้านชอบสงสัย แต่ไม่ชอบฟังคำตอบ
    ร่างแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม ที่บางกลุ่มร่างไว้ เป็นวัติถุประสงค์เดียวกับการแก้ไข พรบ ปิโตรเลียมครั้งนี้หรือเปล่า

    แก้ไขอะไรก็แก้กันไปเถอะครับ แต่อย่าแก้ไขให้ตนเองเข้าสู่อำนาจ เพราะมันจะยุ่งภายหลัง
     
    AlbertEinsteins likes this.
  36. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    เห็นด้วยครับ โดยเฉพาะท่อนท้าย
     
  37. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ถกรื้อ‘พลังงาน’ชื่นมื่น
    2ฝ่ายเห็นพ้องตั้ง3คณะ
    แก้หมดกฎหมาย3ฉบับ


    เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรก หลังเปิดเวทีเสวนาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ โดยการประชุมครั้งนี้มีม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
    http://www.naewna.com/politic/147980
    ------------------------------------------------------------------------------------------------
    ถ้าทำขนาดนี้แล้ว ยังจบไม่ลง ผมว่า ทั้งฝ่ายหนุน ฝ่ายต้าน
    รวมถึงประเทศไทย อาการหนักแล้วอะครับ
     
  38. Apichai

    Apichai อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,042
    อีกส่วน หนึ่ง ก็ NGO
    ให้ข้อมูลชาวบ้าน แบบ ความจริง ครึึ่งเดียว
     
    puggi, เผด็จการที่รัก, kokkai และอีก 2 คน ถูกใจ
  39. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
     
  40. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    13690788_687676678039917_6111071233186278906_n.jpg

    ขออัพอันนี้หน่อย เผอิญ ไปเจอ เวปด้านพลังงานที่ ทำสรุปตัวเลข
    รายได้ จากระบบสัมปทาน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้เลยว่า รัฐไม่ลงทุนอะไรเลยได้เท่าไหร่ เอกชนลงทุนเท่าไหร่ รายได้เอกชนเท่าไหร่

    หากกลุ่มทวงคืนอยากใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ผมอยากให้เอาจากตัวเลขนี้เลยตั้งต้นที่รายได้จากการขายปิโตรเลียม มาใส่โมเดลเลยว่า รัฐจะลงทุนเท่าไหร่ได้เพิ่มเท่าไหร่ จะได้คำนวณหา ROI ROA ROE ได้

    จะนำเสนอก็เอาตัวเลขเปรียบเทียบมาโชว์ ไม่ใช่ จะมโนอย่างเดียว อย่างการปรับ thailand plus3 ก็โชว์ให้เห็นแล้วว่าจะจัดเก็บยังไง จริงๆ ข้อมูลนี้ผมยังสงสัยตัวเลขบางตัวนะ แต่เท่าที่ดูแล้วพอใช้อ้างอิงได้


    อย่าลืมว่าระบบสัมปทานเราไม่ต้องลงทุน เอกชนรับความเสี่ยงหมด
     
    Last edited: 11 Aug 2016

Share This Page