จากที่ฟังรายการต้องถาม ของ อ.เจิมศักดิ์ ทางคุณอภิสิทธิ์ ก็พูดว่าไม่ได้ขัดว่าต้องเป็นแบ่งปันผลผลิตอย่างเดียว จะเป็นระบบสัมปทานก็ได้ แต่ที่ให้แก้กฎหมายเพื่อเพิ่มทางเลือก ซึ่งเวลานี้ก็แก้กฎหมายได้เร็วไม่ยาก และจากที่ดูการประชุม หาทางออกพลังงาน ผมก็ไม่เห็นเขาจะทะเลาะกันตรงไหน หน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องให้ความกระจ่างแก่ประชาชนอยู่แล้ว
เรื่องปตทขายหุ้นหมดเร็ว ความจริงผมก็ข้องใจตามที่มีคนด่าๆกันครับ แต่ก็ตามที่ผมโพสในหน้าแรก(กรณีเสี่ยยักษ์) มันก็ทำให้ผมคิดได้ว่าเรื่องจริง มันไม่เหมือนกับที่ผมมโน ส่วนทักษิณกับศาลรัฐธรรมนูญผมเห็นด้วยกับคุณกุ๊กไก่ทุกประการ
อันนี้มีข้อสังเกตุนิดว่า พวกที่รับข้อมูลกลุ่มทวงคืนมักจะ หรือชอบใช้ข้อมูลครึ่งเดียวเพื่อหวังผลทางหาแนวร่วม ถ้าจะให้พูดคือ มันก็เหมือนไปหลอกเขานั่นแหละ เช่นข้างบนคุณยกตัวอย่างมาเลเซีย เอาแต่ข้อดีมาพูด ทั้งๆที่มันมีอีดด้านที่เป็นข้อเสียมากๆ ถ้าท่านใดอยากรู้ก็ถามgoogleนะจ๊ะ(หรือในเฟสคุณอานิก อัมระนันทน์รายนั้นข้อมูลแม่น) เออแล้วคนไทยบางกลุ่มใช้แก็สถูกกว่าตลาดโลกนะเช่นภาคครัวเรือนและขนส่ง ส่วนน้ำมันเท่าตลาดโลกก็ดีแล้ว เรานำเข้าน้ำมันปีละ1ล้านล้าน จะเอาเงินที่ไหนมาอุ้มจ๊ะ เว้นแต่....ข้อมูลหม่อมกรและดร.ณรงค์ จริงเรื่องไทยมีแหล่งน้ำมันมหาศาล ปล อ่านตลอดนะจ๊ะสบายใจได้ แต่บางที่ไม่ตอบ เพราะคิดว่าสักวันคุณคงเข้าใจเองว่าอะไรจริงอะไรเท็จ
ขอไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้นะครัชชชช “ระบบสัมปทาน” ที่ใช้มา44ปีจากสัมปทาน 20 รอบ ทำให้คนไทยใช้น้ำมันและก๊าซแพงเท่าราคาตลาดโลก ทั้งที่เป็นน้ำมันดิบและก๊าซในอ่าวไทย ขณะที่ มาเลเซีย ใช้ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” คนมาเลเซียได้ใช้น้ำมันและก๊าซถูกกว่าไทยมากมาย ทั้งที่ขุดมาจากอ่าวไทยเหมือนกัน." เพราะตามข้อเท็จจริง เราเสพน้ำมันดิบในประเทศน้อยมาก ส่วนก๊าซเราเสพพอควร และมีการนำเข้ามากพอควร เผลอๆมากกว่าที่ผลิต ซึ่งราคาต้นทุนทั้งหมดอิงราคาตลาดโลก บวกส่วนเพิ่มภาษีที่มีซ้ำซ้อนไปมา รวมถึงการเก็บเบี้ยหัวแตกกองทุนไว้คอยอุดหนุนทั้งก๊าซ น้ำมันดีเซล นั่นนี่นู่น การอ้างว่า ระบบแบ่งปันผลผลิต จะทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซถูก ผมว่าไม่ใช่ข้อสรุปที่ถูกต้อง ถ้าคิดว่าใช่ แสดงการคำนวณออกมาให้เห็น กรุณาอย่าไปเทียบเคียงว่ามีแบบอย่างคือมาเลเซีย ขนาดแหล่งผลิตน้ำมันและก๊าซต่างกัน สัดส่วนการใช้น้ำมันและก๊าซที่ผลิตเองภายในประเทศกับภายนอกประเทศต่างกัน การอุดหนุนจากรัฐต่างกัน โครงสร้างภาษีแตกต่างกัน อัตราภาษีแตกต่างกัน ไม่สามารถเทียบเคียงได้ ถ้านำมาเทียบเคียงโดยไม่มีรายละเอียด แล้วบอกว่าน้ำมันและก๊าซ มาเลเซียถูกกว่าไทย แล้วสรุปว่าเป็นเพราะระบบแบ่งปันผลผลิต อย่างนี้คือมโน
วันนี้ที่เราเปิดเวทีอีกครั้ง ก็เพื่อทบทวน ข้อมูลเก่าใช่หรือไม่ เพราะฉนั้น คำถามและข้อสังเกตุก็ควรจะมีได้ทุกประเด็น ตามจริงแล้ว ก็ควรจะพูดได้เหมือนกันว่า ระบบสัมปทาน จะทำให้ ราคาน้ำมันและก๊าซถูก อันนี้ก็ต้องแสดงให้เห็นเป็นตัวเลขด้วยเหมือนกัน
อันนี้เป็นเรื่องการบิดเบือนราคาจากการที่เราใช้เงินกองทุน ผมก็ไม่เห็นด้วยที่ภาคอุตสาหกรรมใช้ถูกกว่าภาคครัวเรือน(ถ้าจริง) แต่ที่แน่ๆคือทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ได้ประโยชน์จากการบิดเบือนราคาตลาดจากนโยบายของเราเอง ตอนนี้คงต้องนิยามให้ชัดเจนว่าต้องการราคาน้ำมันและก๊าซเป็นอย่างไร เพราะผมงงหาความหมายไม่ถูก ต้องการให้ราคาขายต่ำกว่าตลาดโลก หรือเท่าอเมริกา หรือเท่ามาเลเซีย หรือฟรี ต้องพูดกันให้ชัดๆ
ที่เราคุยกันทั้งหมด นี้คือมโน ทั้งที่ ยังไม่ถึงวัน ที่ 16 มีนา เรามโนไปก่อนว่า ควรจะเป็นแบบใหน ท่านนายก ยังไม่ตัดสินใจเลย มโน ตะสะ......
ที่ผมพิมพ์มาทั้งหมด แทบไม่มีความเห็นส่วนตัวเลยนะ แค่พยามยามพูด"ข้อมูลจริงๆ"ที่ถูกบิดเบือนโดนฝ่ายทวงคืนพลังงาน ด้วยเจตนาจริงผมไม่คิดเอาชนะทางโวหารอะไรนะ ดังนั้นผมจึงไม่จำเป็นต้องพูดจาทิ่มแทงอะไรใคร ถ้าความจริงที่ผมพูดไปมันไปกระทบอัตตาคุณเข้า ก็ขอโทษด้วยแล้วกัน
ไม่เคยมีใครกล่าวไว้ว่า ระบบสัมปทาน จะทำให้ ราคาน้ำมันและก๊าซถูกนะครับ มีแต่เปรียบเทียบว่าถ้าระบบแบ่งปันผลผลิตไม่ได้ทำให้ต้นทุนถูกลงจริงเนื่องจากขนาดปริมาณน้ำมันและก๊าซที่คาดการไม่คุ้มค่า มีปริมาณน้อย ระบบสัมปทานจะมีต้นทุนที่ถูกกว่าซึ่งจะส่งผลให้น้ำมันและก๊าซถูกลง ส่วนระบบแบ่งปันผลผลิตน่าจะต้นทุนถูกกว่าเมื่อปริมาณน้ำมันและก๊าซอยู่สูงคุ้มค่าพอควร จึงเป็นที่มาที่ต้องพูดกันว่าแล้วปริมาณน้ำมันมีอยู่เท่าไหร่ ซึ่งผมแสดงความเห็นไว้ว่าสามารถประมาณการและคำนวณแสดงตัวเลขเปรียบเทียบได้แน่นอน ก็ตั้งเป็นสมมุติฐานหลายแบบ แล้วสร้างการคำนวณเปรียบเทียบ ก็จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน แต่การคำนวณตัวเลขขายปลีกโดยประมาณผมเคยเห็นของคุณมนูญ ศิริวรรณ (ถ้าผิดขออภัย) เคยยกตัวอย่างแสดงไว้ ซึ่งมีเหตุผลรองรับระดับนึงว่าที่น้ำมันบ้านเราแพงเพราะว่าด้วยเรื่องของภาษีต่างๆ ที่ add on อย่างมากมาย และ การจัดเก็บกองทุน ผมว่าทางฝั่งตรงข้ามกลุ่มทวงคืนเพื่อใครก็ไม่รู้มีการเสนอข้อมูล ตัวเลข ที่เด่นชัด ชัดเจนพอสมควรมาตลอดเวลาที่ถูกกล่าวอ้าง เช่น ปริมาณน้ำมันสำรองเอย การใช้ปริมาณน้ำมันและก๊าซเอย ผลผลิตน้ำมันในประเทศเอย หรือประมาณการราคาขายปลีกที่แยกรายละเอียด ซึ่งก็เปิดเผยข้อมูลดี จริงใจดี แต่ข้อมูลถูกผิดก็ต้องว่ากันอีกประเด็น แต่กลุ่มทวงคืนเพื่อใครก็ไม่รู้กลับไม่เคยมีข้อมูลสนับสนุนทางด้านตัวเลขที่ชัดเจน นอกจากบอกว่ามาเลเซียถูกกว่าเพราะระบบแบ่งปันผลผลิตเป็นต้น แล้วสรุปเองสั้นๆว่า ต้องระบบแบ่งปันผลผลิต เราจะได้ราคาน้ำมันและก๊าซถูก
เดี๋ยวไปค้นมาให้ครับ แต่ ณ ตอนนี้ กบง บอกให้เท่ากันหมด และในอดีตภาครัฐเอาเงินจากกองทุนไปอุ้มภาคครัวเรือน ขนส่งจนถูกสุดจริงๆ ส่วนข้อมูลหม่อมกร ผมอ่านแล้วมึนๆ ขอไปย่อยก่อน
ไม่เครียดครับ ไม่กระทบอัตตาผม ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ความจริงจะชนะเสมอ ไม่วันนี้ก็วันข้างหน้า ความเท็จจะพ่ายเสมอ เหมือนชนะวันนี้แต่วันข้างหน้าก็แพ้วันยังค่ำ ขอมโนล่วงหน้าเลยว่า นายกทุบโต๊ะเดินหน้าประมูลต่อ จะแก้กฏหมายก็แก้ไป ไม่รอ 555555
ข้อมูลจากอีกฝั่งมันไม่ใช้ครับ ผมว่ามันมึนทั้งแกนนำ มึนทั้งแกนนอน ดำน้ำกันไปหมด เอาเป็นว่า ตอนนี้ รัฐท่านให้จ่ายเท่ากันหมด จะได้เลิกมึน ข้างล่างเป็นข้อมูลรวมภาษี http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/tag/lpg/ ส่วนอันนี้เขาใช้ข้อมูลก่อนภาษี ปล ที่ดูต่างเพราะภาษีคนละฐานกัน แต่ถ้านับจากต้นทุนเพียวๆไม่รวมภาษี ภาคครัวเรือนถูกสุด ผมว่าเรื่องพลังงานมันโครตมึนเลย ใครมาแสดงตัวว่ารู้จริง ถ้าไม่ได้คลุกวงในมาเป็นสิบๆปี หน้าแตกเอาง่ายๆ
ในความคิดผม ผู้ที่รู้ข้อมูลเรื่องพลังงานดีที่สุดคือผู้บริหารระดับสูงของปตท. ไม่ใช่ผู้คัดค้านทั้งหลาย และไม่ใช่รัฐบาล แต่เขาจะบอกความจริงให้เราทราบหรือปล่าวแค่นั้นเอง ขอโทษด้วยถ้า ความคิดผมกระทบใจฝ่ายคัดค้าน แต่ผมคิดแบบนี้จริงๆ
จริงครับ เพราะเข้ามาที่นี่มาฟังความคิดเห็น เบิกตาดูข้อมูลใหม่ๆความคิดเห็นใหม่ๆ ไม่ได้มาดีเบตเพื่อแพ้ชนะ ไม่ได้มาเบ่งอัตตา ไม่ได้มาขอ like มาแลกเปลี่ยนแบบผู้มีอารยะ เพราะผลสรุปที่ได้ องค์ความรู้ที่ได้ หวังว่าจะสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติและเพื่อนร่วมชาติ แต่ที่ยกถ้อยคำแพ้ชนะ เพราะเชื่อในความจริง ความถูกต้อง ใครพูดจริงยังไงก็ถูก ใครบิดเบือนมั่วเดี๋ยวก็ผิดพลาดเอง และจะแพ้ภัยตนเอง
ตามจริงแล้ว ผมเองก็มีชุดข้อมูลที่หลายคนเอามาแสดง แต่ไม่เคยเอาตัวเลขมาแสดงเพราะ ผมไม่มั่นใจว่า ตัวเลขที่ผมมีอยู่นั้น ถูกต้องหรือไม่ เพราะแต่ละคนต่างมีตัวเลขต่างกันไป นี้แสดงให้เห็นอะไร แสดงให้เห็นว่า การรับรู้ สิ่งที่เรารู้ สิ่งที่เค้าอยากให้เรารู้ อาจเป็นคนละเรื่องเดียวกัน ในเมื่อผมเองก็ไม่มั่นใจว่า สิ่งที่ผมรู้นั้นถูกต้องหรือไม่ ก็อาศัยช่องทางอื่นเพื่อเปรียบเทียบ แม้กระทั่ง กระทู้นี้ก็อาจเป็นช่องทางที่อาจได้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้ ภาคประชาชนเองก็ไม่รู้จริง รัฐบาลก็ไม่รู้จริง มีคนรู้จริงเพียงไม่กี่คนหรอกครับในบ้านนี้เมืองนี้ แต่ข้อมูลบางอย่าง ไม่เปิดเผยออกมาให้ชัด เพราะแต่ละข้อมูลหมายถึงเงินจำนวนมหาศาล ที่อาจหายวับไปกับตา เมื่อวานผมได้นำคำแถลงของ มล ปนัดดา มาลงไว้ 3 ข้อ (ย้อนไปอ่านแล้วกัน) ใจความสำคัญคือ มีการเปลี่ยนแปลงในฝ่ายหนุนการเปิดสัปทานในบางเรื่อง นี้ก็แสดงให้เห็นอีกเหมือนกันว่า หากฝ่ายหนุนการเปิดสัมปทานถูกต้องดีแล้วทุกอย่าง จะยอมแก้สัญญา ให้เลวลงกว่าเดิมทำไม ส่วนรัฐบาลเองก็เช่นกัน ก็คงไม่รู้จริงไปทุกเรื่อง เดิมทีจะลุยเปิดสัมปทานโดยไม่ฟังเสียงใคร ในที่สุด ก็เปิดเวทีนี้อีกครั้ง น้ำเสียงท่านพลเอกประยุทธ์ เปลี่ยนไป จนดูเหมือนว่า พลเอกประยุทธ์กับบิกตู๋ เป็นคนละคนเลยทีเดียว ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ไม่มั่นใจสิ่งที่รัฐบาลจะตัดสินใจจนดูเหมือนว่า จะโยนเรื่องนี้เข้า ครม ตัดสินใจด้วยซ้ำ นี้ก็ต้องกลับมายืนยันอีกครั้งว่า จุดยืนผมไม่เปลี่ยนแปลง ในการเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากย้อนอ่าน เม้นท์แรกของผม ก็จะเจอประโยคที่ว่า “ความจริง ความเชื่อ ความเห็น ถูกนำมายำรวมกันจนเละ” วันนี้ก็มีข้อโต้แย้งเพิ่มจากฝ่าย คัดค้าน ลองมาฟังอีกสองความเห็นจากผู้คัดค้าน -กระทรวงพลังงานมั่วข้อมูลหรือไม่? เรื่องก๊าซจะหมดในอีก7ปีเมื่อ3ปีที่แล้วปลัดกระทรวงพลังงานในขณะนั้นคือนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ให้ข้อมูลในงานสัมนาของสถาบันวิทยาการพลังงานว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดใน 18ปีและประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซ LNG มาใช้มากขึ้น - นายธีระชัย นำรูปถ่ายจากเอกสารของกลุ่ม ปตท. มาเผยแพร่ว่าแหล่งปิโตรเลียมส่วนใหญ่ของไทยถูกค้นพบไปแล้วตั้งแต่สัมปทานรอบที่ 1 และแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบในรอบต่อๆ มามีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะ 3 รอบสุดท้าย คือรอบ 18 19 และ 20สัมปทานรอบ 21 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เคยเปิดมาแล้วในอดีตพยายามสื่อว่าการสำรวจรอบ 21 จะมีโอกาสสำเร็จน้อย จึงเป็นข้ออ้างว่าจำเป็นต้องให้เอกชนในรูปสัมปทาน มิฉะนั้น เขาจะไม่คุ้ม แต่ในมุมกลับ ในเมื่อโอกาสสำเร็จมีน้อย และถ้าเจอปิโตรเลียมก็จะเป็นแหล่งเล็กๆ ก็ย่อมแสดงว่า รอบ 21 จะไม่ช่วยแก้ปัญหาที่อ้างว่าก๊าซจะหมด ได้มากนัก วิธีแก้ปัญหา ก็จะต้องอาศัยการนำเข้าอยู่ดี ใช่ไหม ผมอยากบอกบางเรื่องถึงบางคนว่า สาเหตุที่เปิดเวทีรอบนี้ได้ ไม่ได้มาจากใคร มาจากคนสนิท ท่านพลเอกเปรม ครับ
เอาใจยากนะเรา รัฐบาลไม่ฟังก็ด่าเขาเผด็จการ พอรับฟังก็พูดว่า"เห็นมั๊ยฝ่ายผมถูก" เพิ่มเติมอัตราการใช้GASบ้านเรา มันพุ่งสูงเร็วกว่าที่คาด เพราะรัฐบาลอุ้มราคาให้ถูกกว่าตลาดโลก มันก็ไม่แปลกที่จะหมดเร็ว
ดูเหมือนชวนทะเลาะมากกว่านะ ตั้งแต่หน้า สอง ก็ไม่ตอบแล้วแก้เกี้ยวว่า กลัวคุณน้อยใจ มาหน้านี้ ก็พูดถึงอัตตา มาบรรทัดนี้ก็บอกว่า มีตรงใหนที่ผมด่ารัฐบาลว่าเป็นเผด็จการ และมีตรงใหนที่ผมบอกว่า "เห็นมั๊ยฝ่ายผมถูก" และมีตรงใหนที่ผมเป็นฝ่ายทวงคืน ผมเห็นจะต้องกลับมาบอกอีกครั้งแล้วว่า คงไม่ต้องเกรงใจกันต่อไปแล้ว สำหรับนิสัย ที่ไม่เคยสำนึก ซ้ำร้ายยัง ชวนทะเลาะ เรียกผมว่า "เรา" ทั้งที่ผมไม่ได้เป็นเพื่อนเล่น คราวนี้คงไปจริงแล้วครับ เจอกันเมื่อชาติต้องการ..... บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่ตนเป็นคนโง่ บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้นได้บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่าคนโง่
ผมพูดโดยความหมาย ไม่ใช้ตรงตามตัวอักษร ใจเย็นๆ โปรดฟังอีกครั้ง เขาไม่ฟังก็ไปด่าเขา พอเขารับฟัง ก็ได้ทีบอกเขารับฟังเพราะฝ่ายตูถูก
ที่ไม่ตอบเพราะมันต๊องไง คุณอ้างอิง ดร.ณรงค์ แต่ไม่สนใจว่าดร.ณรงค์พูดผิดหรือถูก คำตอบคุณมันไม่เมกเซ็น ผมเลยขี้เกียจตอบ แต่ตื้อนักก็ตอบให้ก็ได้ - คือลักษณะที่คุณพูดมันเป็นการพยายามเอาชนะทางโวหาร มันไร้สาระ ปล. ถ้าผมใช้เหตุผลเดียวกับคุณ เช่น มีตรงไหนที่ผมเอาคุณไปรวมกับกลุ่มทวงคืนพลังงาน ย้อนกลับไปอ่านดีๆอีกหลายๆรอบ
เหมือนจะแรง แต่ผมก็เฉยๆนะ แต่ผมเข้าใจนะ ฝ่ายหนึ่งพยายามอิงตามตัวอักษรโดยไม่ดูบริบทคำพูด มันก็ออกมาเช่นนี้แล
ขอแสดงความเห็นยาวหน่อย นอกจากความจริง ข้อเท็จจริง และข้อมูลที่ถูกต้อง คงต้องกลับไปเรื่องของนิยามที่ชัดเจนด้วย ผมคงชี้แจงให้ทราบแนวความคิดผม เหตุที่ผมสนับสนุนให้เดินหน้าต่อไปจากปัจจัยข้อมูลเพียงไม่กี่ข้อ 1 ความมั่นคงทางพลังงาน ใครจะบอกว่าตัวเลขพลังงานคงเหลือ 7 ปี หรือ 18 ปี หรืออื่นๆ สำหรับผมเป็นนัยยะสำคัญที่น้อยมากในความคิดของผม ปัจจัยที่ผมกังวลหลักๆคือเรื่องจากเหตุการณ์ซ่อมท่อก๊าซหรือซ่อมแท่นขุดเจาะของพม่าที่ทำให้เรามีความเสี่ยงเนื่องจากระบบพลังงานของเราพึ่งพาก๊าซเป็นหลัก แม้จะมีแหล่งอื่นเช่นแหล่งร่วมไทยกับมาเลเซีย ก็ดูเหมือนจะมีปัญหาในอนาคตในไม่ช้า (จากความจำนะครับ ขี้เกียจค้นข้อมูล) ส่วนแหล่งพลังงานอื่นๆก็ถูกต่อต้านไม่ว่าถ่านหิน นิวเคลียร์ หรือการสร้างเขื่อนใหม่ๆ หรือจะนำแบบ micro grid เช่นพลังงานความร้อนจากสิ่งต่างๆ ขยะเอย เศษเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตรเอย ก็ไม่เพียงพอ อาจต้องมี micro grid หลายพันแห่ง ซึ่งก็ไม่คุ้มค่าเพราะค่าพลังงานต่อหน่วยจะสูง ไหนจะเรื่องมลพิษ โลกร้อน สุดท้ายก็จะต้องหันไปพึ่งพิงน้ำมันเป็นหลักซึ่งราคาพลังงานก็จะสูงมากถ้าวันใดราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นไปหลักร้อยเหรียญ 2. ส่วนในแง่ราคาทั้งน้ำมันและก๊าซ ก็เห็นข้อมูลประกอบว่าที่จ่ายหลักๆคือภาษี น้ำมันสามสิบกว่าบาท ภาษีเอยเงินกองทุนเอยกินไปสิบกว่าบาทเกือบยี่สิบ ราคาเนื้อน้ำมันแค่สิบกว่าบาท ถ้าบอกว่าเราผลิตเองสมมุติว่าราคาเนื้อน้ำมันเหลือครึ่งนึง ภาษีจะหายไปประมาณครึ่งนึง โดยรวมราคาลดครึ่งนึง ก็จะไม่ได้ใช้ราคานี้ เพราะราคาต่ำกว่าตลาดโลก จะเกิดระบบกองทัพมดเอาไปขายนอกประเทศ ดังนั้นส่วนต่างที่เหลือ(เพื่อให้ราคาเท่าตลาดโลก) รัฐควรได้ไป แต่เราก็มีน้ำมันดิบที่ผลิตเองไม่พอกับการบริโภค (ผมเชื่อข้อมูลฝ่ายตรงข้ามกลุ่มทวงคืน เพราะถ้าเรามีเยอะจริงป่านนี้ขุดมาใช้ตั้งนานแล้ว(ใช้ตรรกกะล้วนๆ)) ดังนั้นความจำเป็นเร่งด่วนผมว่ามีแน่ และต้องรีบเพราะสำรวจขุดเจาะทีนึงไม่ใช่วันสองวัน 3. คงเหลือประเด็นว่าระบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต จากที่ได้อ่านมาจากทั้งสองฝั่ง นิยามในความคิดเห็นของผมที่เข้าใจคือ ระบบสัมปทานกำหนดระยะเวลา รัฐให้สิทธิไม่ต้องลงทุน แล้วผู้ได้สัมปทานแบ่งจ่ายกำไร ภาษี ตามแต่ที่ตกลง สิทธิในการบริหารจัดการอยู่ในมือเอกชนเพราะเขาลงเงินรัฐอำนวยความสะดวก โดยเรามีกรอบการจ่ายผลประโยชน์คือระบบไทยแลนด์สามบวก ระบบแบ่งปันผลผลิต นิยามในความคิดเห็นของผมที่เข้าใจคือ ระบบคล้ายสัมปทานกำหนดระยะเวลา รัฐให้สิทธิและร่วมลงทุน แล้วผู้ได้สัมปทานจะเหมือน Business Partner โดยผลผลิตที่ได้จะมีการแบ่งปันให้แต่ละฝ่าย ตามแต่ที่ตกลง สิทธิในการบริหารจัดการอยู่ในมือเอกชนและรัฐร่วมกัน โดยเรายังไม่มีมีกรอบการจ่ายผลประโยชน์ที่ชัดเจน จากนิยามข้างต้นโดยตรรกะคร่าวๆ ระบบสัมปทานน่าจะให้ผลดีต่อรัฐได้ดีกว่า ในกรณีที่แหล่งน้ำมันหรือก๊าซนั้นมีปริมาณไม่สูงมากนัก ความเสี่ยงทั้งหมดอยู่ที่เอกชน ระบบแบ่งปันผลผลิตน่าจะให้ผลดีต่อรัฐได้ดีกว่า ในกรณีที่แหล่งน้ำมันหรือก๊าซนั้นมีปริมาณสูงมากพอ เพราะตัวเงินที่ได้จากการปันผลผลิตจะสูงมาก ความเสี่ยงทั้งหมดอยู่ที่เอกชนและรัฐ เพราะลงเงินทั้งคู่ ถ้าสมมุติฐานที่ว่าแหล่งผลิตบ้านเรามีผลผลิตไม่มาก ระบบสัมปทานน่าจะตอบโจทย์ การดันทุรังไปที่ระบบแบ่งปันผลผลิตก็คือการร่วมช่วยจ่ายเงินให้คนลงทุนลดความเสี่ยงเอกชน ซึ่งการลงทุนคงเป็นระดับหลายพันล้านบาทแน่นอน นั่นเลยเป็นความคิดเห็นของผมว่าทั้งสองฝ่ายมีผู้เชี่ยวชาญทั้งนั้น สร้างโมเดลแล้วคำนวณดูก็เห็นคร่าวๆแล้ว ถ้าเรามีโมเดลที่มีสมมุติฐานเรื่องผลผลิตที่ได้ที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย เราก็สามารถเลือกได้แล้วว่าใช้ระบบใด แถมยังได้ตัวเลขกรอบการเจรจาที่จะใช้เรื่องผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งนี้ฝ่ายระบบสัมปทานมันไม่ซับซ้อน ตัวเลขผลประโยชน์สามารถคาดการณ์ได้ แต่ฝั่งแบ่งปันผลผลิตก็ยังไม่เคยแสดงแจ้งออกมา ซึ่งผมก็เข้าใจได้เพราะก็ยังยึดหลักการว่าผลผลิตเรามีมากมาย ดังนั้นระบบแบ่งปันผลผลิตจะดีกว่า ผมจะไม่กล่าวถึงพฤติกรรมด้านอื่นๆ แต่สรุปคือแน่ใจแล้วเหรอว่าระบบแบ่งปันผลผลิตให้ประโยชน์ทางด้านการเงิน ผลผลิตน้ำมันและก๊าซ สูงกว่าระบบสัมปทาน. ถ้าสมมุติฐานเรื่องผลผลิตจากแหล่งน้ำมันและก๊าซต่ำซึ่งก็มีปัจจัยแวดล้อมสนับสนุนจากข้อมูลของคุณธีระชัยที่ว่าการค้นพบมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ฝ่ายทวงคืนคงต้องแสดงสมมุติฐานที่หนักแน่นในเชิงวิทยาและชัดแจ้งมากกว่าพูดไปเรื่อยๆ
ปัญหาเรื่องแก๊สแพง จะไม่เกิดหรอก ถ้าหากว่า การผลิตที่ไทยทำได้มันเพียงพอต่อการใช้ในทุกภาคส่วน แต่เมื่อความต้องการมันเยอะขึ้น ก็ต้องมีการนำเข้า คราวนี้ปัญหามันเกิดเพราะว่าการตรึง ราคาขาย ที่ 333 เหรียญ ต่อ ตัน ก็ราคานำเข้ามันสูงกว่า ต้นทุนการผลิตทุกอย่างในประเทศนี่ ทำไงดีวะ เอางี้ ใช้กองทุนน้ำมัน มาอุ้มละกัน อุ้มกัน นานๆ อุบ๊ะ ราคาน้ำมันตลาดโลกก็ขึ้น จริงๆ ราคาแก๊สตลาดโลกก็ขึ้น แต่เราตรึงไว้ที 333 เหรียญ คราวนี้ พวกรถยนต์เอย อุตสาหกรรมต่างๆ ก็ รีบมาใช้แก๊สเลย ยิ่งเพิ่มการนำเข้าเข้าไปอีก การประมาณการแก๊สสำรองเราก็ผิดพลาดไป เพราะ demand เพิ่มสูงกว่าที่คิด จากที่คิดว่าจะใช้ได้เป็น 20-30 ปี ก็เหลือเป็นใช้ได้แค่ 10กว่าปี ล่าสุดอาจจะแค่ 7 ปี นี่คือเรื่องจริง ไม่มโน ขอวกมาที่ภาคปิโตรเลียม แต่ไหนแต่ไรมา ภาคปิโตรเลียม กว่าจะดึงเค้ามาลงทุน ต้องเขียนโครงการ ว่าจะมีโรงแยกแก๊ส สร้างขึ้นมา ลงทุนเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน เพื่อเอาแก๊สมาใช้ อยู่ดีๆ พวกทวงคืน หาผู้ร้ายเพื่อจะได้โชว์ความเป็นพระเอก ก็ไปหาว่าไอ้ภาคนี้แหละ ตัวการทำให้แก๊สโดนใช้เยอะไม่เหลือถึงภาคประชาชน ทั้งที่ เค้าใช้มานานมากแล้ว ตั้งแต่เราเริ่มขุดเจาะแก๊ส เราต้องเชิญเค้ามาลงทุน กว่าจะคุยกว่าจะสรุป มันยาวเหยียด แต่พวกทวงคืนไม่เคยรู้ หรือว่ารู้แต่ไม่พูด จริงสำหรับผม ตอนนี้มันก็พอดีอยู่แล้ว ทุกอย่างใช้แก๊สต้นทุนเดียวกัน แต่จะให้ดี ต้นทุนแก๊สควรจะเฉลี่ยระหว่าง การผลิตเอง กับการนำเข้า ให้ได้ต้นทุนที่แท้จจริง ทุกภาคส่วนจะได้ยอมรับความจริง ทำให้คล้ายๆกับ ค่า FT การไฟฟ้า ที่อ้างอิงตามต้นทุนการผลิตที่ผันแปรตามราคาตลาดของต้นทุนแต่ละประเภท การที่พวกทวงคืน อ้างแต่ภาคครัวเรืือนอย่างเดียว แล้วภาคอื่นๆละ เค้าไม่ได้ทำประโยชน์ให้ประเทศหรืออย่างไร ที่สำคัญ การให้ข้อมูลบิดเบือน สร้าง hate speech เคยยอมรับบ้างมั้ย การให้สัมปทานก็มีการปรับปรุงเป็น ไทยแลนด์ 1, 2 และล่าสุดมาเป็น 3 ที่ระบุรายละเอียดชัดเจน ว่าเป็นอย่างไร หากว่าจะมาให้ใช้ระบบ แบ่งปัน ควรโชว์ข้อมูลตัวเลขว่าจะจัดสรร แบ่งปันยังไง จะได้เปรียบเทียบได้ถูก ไม่ใช่มาแต่อ้างว่า ประเทศอื่นทำแล้วได้อย่างนู้นอย่างนี้ เพราะข้อโต้แย้งนี้ ก็จะโดนแย้งกลับได้ว่า อีกหลายประเทศที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ก็เจ๊งเหมือนกัน หรือไม่มีคนลงทุน ผมขอรายละเอียดแบบให้ชัดเจนแบบ ไทยแลนด์ 3 เลยดีกว่า ไม่ใช่ มาสร้าง มายาคติ ว่าดีกว่าอย่างนู้นอย่างนี้ แต่ไม่มีข้อมูล
เรื่องพลังงานหมดกี่ปีมันมีที่มาฮะ แต่คนที่มั่วคือ "รสนา" ปริมาณสำรองแก๊สมันมีทั้งสำรวจแล้ว และปริมาณที่เป็นไปได้
ขออนุญาติมายาคติจากแหล่งข่าว สาเหตุที่เรื่องมันบานปลายเพราะ มีคนบางคนบางกลุ่มไปขอค่าโฆษณา ปตท ไม่ไดั เขาไม่ให้เลยสร้างเรื่องขู่กรรโชกทรัพย์ เอาสาวกเป็นฐาน เพื่อนผมใน ปตท บอกมา ไม่รับรองความถูกต้อง
ขอมา มโนต่อ ต่อมา พอราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้น แก๊สตลาดโลกขึ้น ทำให้ต้นทุนแก๊สก็ขึ้น ฉิบหายแล้ว ทั้งเบนซิน ดีเซล ขึ้นหมดเลย รัฐบาลจะเอาไงดีวะ เอางี้ เราตรึงแก๊ส กับ ดีเซล ละกัน แก๊ส ก็ตรึงที่ 333 เหรียญ ดีเซล เอาให้ไม่เกิน 30 บาทละกัน ไหนๆ ดีเซล ก็ใช้เยอะกว่าเบนซิน เอ รัฐบาล จะเอาเงินที่ไหนมาอุ้ม เอาไงดีวะ เอาเงินที่ไหนดี เอางี้้ ให้ไอ้ไอ้พวกใช้เบนซิน มาอุ้มละกัน อ้อ ไอ้พวก ใช้โซฮอล ก็เอามาอุ้มด้วย แต่เอาจากพวกโซฮอล มาอุ้มไม่เยอะ เท่าเบนซิน ใช้เงินผ่านกองทุนน้ำมันนี่แหละ ดังนั้น นโยบาย น้ำมันแพง ในส่วนของเบนซิน เกิดจากนโยบาย แต่ไอ้พวกทวงคืน แม่ง เล่นแต่ เบนซินไทยแพงฉิบหาย แพงกว่าที่นู่นที่นี่ โดยไม่พูดถึง ภาษี และค่าการตลาด ที่เป็นส่วนในการเอาเงินมาอุ้ม แก๊ส และดีเซล เวลาทวงคืน พูดทุกครั้งพูดแต่เบนซิน แพง ต้องทวงคืน ปตท แต่ไม่เคยพูดว่า ดีเซลเรา แม่งถูกกว่าตลาดโลกโว้ย กรูไม่รู้ กรูไม่เห็น กรูพูดแต่เบนซินอย่างเดียว ทั้งที่ราคาหน้าโรงกลั่น ทั้งทีไทยและทั่วโลกไม่แตกต่างอย่างเป็นนัยยะ อ้อ แล้ว ทวงคืน ก็จะด่าๆๆๆ เรื่องค่าการตลาด ค่าการกลั่นโดยมาอ้างว่า แพงกว่า ตลาดโลกเช่น ณ วันที่ xx แม่งล่อไป 3-4 บาท ทั้งที่ หากเราหาราคาเฉลี่ยแล้ว ก็จะไม่แตกต่างกับที่เค้าชี้แจงว่า ชอบเล่าเหตุการณ์แบบ snapshot ไม่เล่าแบบต่อเนื่อง บิดเรื่องมาทำ Hate speech พอเค้าชี้แจ้ง ก็ทำเป็นเข้าใจละ แต่พอนานไป วกกลับมาเรื่องเดิมตลอด ณ ปัจจุบัน คสช แก้ปัญหาเรื่องน้ำมันได้ดี ไม่เอามาอุ้มแก๊ส และผมยอมรับได้ถ้าเอาเบนซิน มาอุ้ม โซฮอล ในช่วงที ราคาเอททานอลอาจจะมีต้นทุนสูงกว่า ราคาน้ำมัน แต่ขอว่าอย่าอุ้มดีเซลอีกเลย มันบิดเบื้อนกลไกตลาด ส่วนพวกทวงคืน จะไปเล่นเรื่อง ทำไมต้นทุน เอทานอลเราแพง กว่าที่ บราซิล หรือสหรัฐที่เอามาอ้างอิง ขอให้คิดถึงผลผลิตต่อไร่เราด้วยว่า ห่วยกว่า ที่บราซิลเท่าไหร่ หรือจะใหนำเข้าเอทานอล ไมอุ้มเกษตรกร ก็ว่ากันไป แตอย่า บิดเบือนข้อมูลและทำ hate speech เท่าทีทราบหลายเรื่องปตท ฟ้องร้อง จนมีการต้องขอโทษทางเฟซบุค แต่เสือกไม่ให้คนทั่วไปดู มาแล้วทีนึง พฤติกรรมอย่างนี้มันทุเรศ หว่ะ
เรื่องแหล่ง ก๊าซของพม่า พวกเรากำลังถูก ปทตหลอกอยู่กันรึเปล่าครับ http://www.pttep.com/th/ourBusiness_EAndPprojectsDetail.aspx?ContentID=134 โครงการเมียนมาร์ เอ็ม 11 ข้อมูล ณ - ประเภทธุรกิจ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สัมปทาน/สัญญา แปลง เอ็ม 11 ขนาดพื้นที่ 5,373 ตารางกิโลเมตร ที่ตั้ง อ่าวเมาะตะมะ ผู้ร่วมทุน บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ปตท.สผ.อ.) 45% บริษัท โททาล อี แอนด์ พี เมียนมาร์ 40% บริษัท JX Nippon Oil & Gas Exploration (Myanmar) จำกัด 15% ผู้ดำเนินการ บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ปตท.สผ.อ.) ระยะการดำเนินงาน ระยะสำรวจ ประเภทการลงทุน โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ แหล่งปิโตรเลียม - ชนิดของปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และ คอนเดนเสท วันที่ลงนามในสัญญา 25 กรกฎาคม 2548 วันที่เริ่มการผลิต - เว็บไซต์ - ถ้าแบบนี้ความไม่มั่นคงทางพลังงานเกิดจากใครกันแน่ ปตท ใช่หรือไม่ ขอความจริงให้ปรากฏก่อนได้รึเปล่าครับก่อนจะเปิดสัมประทานรอบใหม่เรากำลังโดน ปตท ปั่นหัวกันหรือไม่ หลุ่ม M5 , M6 โครงสร้างผู้ถือหุ้น http://www.pttep.com/en/ourBusiness_EAndPprojectsDetail.aspx?ContentID=20 Yadana Project Information as of December 31,2013 Type of Business Exploration and Production Concessions Blocks M5 and M6 Area 26,140 square kilometers Location Gulf of Martaban, Union of Myanmar Partners Total E&P Myanmar 31.24% Unocal Myanmar Offshore (UMOL) 28.26% PTTEP International Limited (PTTEPI) 25.5% Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE) 15% Operator Total E&P Myanmar Phase Production Investment Type PTTEP as Joint Venture Partner Petroleum Fields Yadana, Badamyar and Sein Type of Petroleum Natural Gas Signing Date July 9, 1992 Production Start-up July 1, 1998 Website -