เว่อร์ไปไหม...ถ้าใช้เหตุผลข้อเดียวสนับสนุนเลื่อนสัมปทานปิโตรเลียม

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย kokkai, 18 Feb 2015

  1. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ความจริงผมก็กำลังงนะว่าคนเขาอยากด่า ปตท หรือ รัฐบาล:cool:
     
  2. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ผมว่าเขาไม่ใว้ใจผู้บริหารปตท.
    ถ้ารัฐบาลเชื่อข้อมูลของปตท. คงโดนด่าไปด้วยอะครับ :p
     
    bookmarks และ joonkung ถูกใจ.
  3. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ตามจริงไม่อยากต่อประเด็นนี้ครับ
    แต่เมื่อถามมาก็ตอบไป แต่ตอบแค่ตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้ม
    เพราะผมเชื่อว่า คุณ คงไม่อยากไปศาลเป็นเพื่อนผมแน่(ฮา)

    คราวที่แก๊ส รั่ว ผมได้ข้อมูลจากเพื่อนที่ทำงาน ปตท กลางทะเล
    ต่างกับข่าวที่ออกมาจาก ปตท

    แค่นี้พอครับ
     
    conservative และ kokkai ถูกใจ.
  4. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    เวลาเราตัดสนใจอะไรซักอย่าง เราเชื่อข่าวลือหรือข่าวจริงครับ?

    ถ้าเป็นข้อมูลที่กลาวหาเรื่องพลังงานยังพอพูดคุยกันได้

    แต่ถ้ายกข่าวลือมาพูด ก็จบครับ ไม่มีอะไรจะต่อ:rock:
     
    conservative likes this.
  5. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    กำลังสรุปว่า ทุกอย่างที่เราได้รับข่าวสารเป็นข่าวจริง ใช่หรือไม่
    ทุกอย่างที่เรารู้ เค้าบอกเราหมดแล้ว ใช่หรือไม่

    ถ้าหากว่าเชื่ออย่างนั้น ก็จบเหมือนกันครับ
     
  6. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    มันต่างกันระหว่างข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

    กับข้อมูลประเภท "เขาเล่าว่า"

    ครับผม
     
  7. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ไม่เป็นไรครับ เพราะผมไม่ต่อแล้ว

    เอาเป็นว่า อำนาจสูงสุดในการตัดสินใจอยู่ทีฝ่ายบริหาร
    คือ รัฐบาล จะเอาอย่างไง ก็เป็นไปตามนั้น
    ส่วนผลดี เสีย ก็ปล่อยให้ลูกหลาน เป็นคนบอกแล้วกัน
     
  8. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    กรรมติดจรวด กำไรจากแสนล้าน เหลือห้าหมื่นล้าน:D (หัวเราะออกเพราะไม่ได้ถือตัวนี้)
    1424397406-PTT-o.jpg
     
    Last edited: 20 Feb 2015
  9. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    แต่ไอ้พวกสาวกทวงคืน ปตท มันเชื่อกันหัวปักหัวปำ น่ะสิ
     
  10. Apichai

    Apichai อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,042
    วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ คุณมนูญ ศิริวรรณ พูดเรื่อง ปัญหาพลังงานไทย ที่จัดโดยชมรมเสือเก่ามา เลยเก็บความมาฝาก

    ก่อนอื่นพูดถึงผู้จัดและผู้พูดก่อน
    ชมรมเสือเก่าคือกลุ่มพนักงานเกษียณหรือพนักงานที่ลาออกแล้วของบริษัทเอสโซ่(ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทเชื้อชาติอเมริกันสัญชาติไทย

    คุณมนูญ ศิริวรรณ เป็นพนักงานเก่าเอสโซ่ ทำงานที่นี่หลายปี และเมื่อออกไปก็ยังไปทำงานในวงการพลังงาน จึงเป็นผู้มีความรู้มีประสบการณ์ตัวจริง(ไม่เหมือน บางคนที่ทำงานเป็นพนักงานในบริษัทผู้รับเหมาที่มาทำงานให้บริษัทด้านพลังงานเพียงปีเดียว แต่ออกไปแล้วไปแต่งหน้าทาปากว่าตัวเองเคยทำงานในบริษัทน้ำมันต่างชาติ...ออกสี่อด้วยความจริงครึ่งเดียวแค่ไม่กี่ปีกลายเป็น”กูรู้”ด้านพลังงานไปในบัดดล)

    คุณมนูญเป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือไม่แพ้คุณประมนต์ สุธีวงษ์ ซึ่งเป็นพนักงานเก่าของเอสโซ่เช่นกัน

    ๑.ประเทศเรานำเข้าน้ำมันมากกว่าการส่งออก นำเข้า ๑.๓ ล้านล้านบาท ส่งออก ๓แสนล้านบาท

    ๒.ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าน้ำมันดิบ คือ ๒๕๐๐๐๐:๕๐๐๐๐ ล้านบาท

    ๓.ก๊าซธรรมชาติไม่มีการส่งออก ใช้ยังไม่พอเลย

    ๔.ประเทศเรานำเข้าพลังงานรายใหญ่ของอาเซียน

    ๕.เราส่งออกน้ำมันดิบเพราะน้ำมันดิบของเรามีคุณภาพสูง กลั่นแล้วจะได้เบนซินมากกว่าดีเซล ซึ่งเก็บเอาไว้นอกจากจะไม่ตอบสนองกับความตัองการในประเทศแล้วยัง ขายออกไปยังง่ายได้ราคามาก

    ๖.การขายของที่ไม่เหมาะกับการใช้ในประเทศ ทุกประเทศทำเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่มีประเทศไหนเขาด่ากัน

    ๗.การกดดันของบางกลุ่มบางคนทำให้ คสช. ตกลงสั่งให้งดส่งน้ำมันดิบออกนอกประเทศ ก็ไม่เป็นไรเก็บไว้ แต่ประเทศสูญเสียรายได้ ได้ค่าภาคหลวงน้อยลง

    ๘.สิงคโปร์นำเข้าน้ำมันดิบมากที่สุด เพื่อกลั่นขาย ไทยนำเข้ามากที่สอง เพื่อใช้

    ๙.ก๊าซก็เช่นกัน แต่สิงคโปร์นำเข้าเพื่อทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่ไทยนำเข้าเพื่อผลิตไฟฟ้า

    ๑๐.สรุปไทยนำเข้าพลังงาน "เพื่อใช้”สูงสุดในอาเซียน

    ๑๑.น้ำมันสำรองที่สำรวจแล้ว เรามีน้อยกว่ามาเลย์ แต่ใช้มากกว่า (ก๊าซด้วย) สำรองน้อยกว่า ผลิตน้อยกว่า ใช้มากกว่า

    ๑๒.ปริมาณสำรองลดลงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณสำรองมี ๓ ระดับตามความน่าจะขุดพบได้ดังนี้ P1 น่าจะขุดค้นพบพลังงาน ๘๕-๙๐ เปอร์เซนต์ ...P2 น่าจะพบ ๕๐ เปอร์เซ็นต์... P3 น่าจะพบ ๑๐ เปอร์เซ็นต์

    ๑๓.อันแรกคือ P1 สามารถเอาไปกู้เงินได้ อันที่สองและสามไม่มีมูลค่าทางไฟแนนซ์

    ๑๔.พลังงานสำรองประเมินในปี ๒๕๕๕ บอกว่ามีพอใช้ได้ไปอีก ๑๕ ปี

    ๑๕.เวลาพูดว่าเรามีปริมาณพลังงานสำรองเยอะแยะต้องพูดให้ชัดว่าพูดถึง พี ไหน หรือ พูดรวมทั้ง สามพี หรือพูดถึง พีสี่ซึ่งหมายถึงว่ายังไม่ได้มีการสำรวจเลย

    ๑๖.ไฟฟ้าพึ่งพาก๊าซสูงถึง ๖๘ เปอร์เซ็นต์ แต่ก๊าซที่ขุดได้ไม่พอใช้ต้องนำเข้าตลอด

    ๑๗.นำเข้าก๊าซจากพม่ามาทำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่แน่ว่าจะเพิ่มได้ตลอดเพราะพม่าเขาก็เตือนแล้ว เพราะประเทศเขากำลังพัฒนา ต้องใช้มากเหมือนกัน

    ๑๘.นำเข้าจาก สามแหล่ง ในพม่า แต่ไม่ใช่ว่าทั้งสามแหล่งใช้แทนกันได้ เพราะมาด้วยค่าความร้อนไม่เท่ากัน

    ๑๙.ใครที่บอกว่าประเทศไทยไม่มีระบบแบ่งปันผลผลิต ไม่จริง ไทยมีสองระบบ ก๊าซไทยมาเลย์ใช้ ระบบแบ่งฯ

    ๒๐.ในอ่าวไทยใช้ระบบสัมปทาน แหล่งเจดีเอมาเลย์ใช้ระบบแบ่งปันฯ ระบบแบ่งปันที่ใช้อยู่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า ระบบสัมปทานไทยแลนด์ ๓... ๕๓% ต่อ ๗๐ %

    ๒๑.ระบบไหนดีกว่าอยู่ที่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยาการ

    ๒๒.ปัจจุบันเราได้ซื้อก๊าซส่วนของมาเลย์มาใช้ด้วย แต่มาเลย์บอกว่าเร็ว ๆ นี้จะไม่ให้แล้วเพราะต้องการใช้บ้าง
    (พม่าก็จะลดการขายให้ มาเลย์ก็จะลดการขายให้ เตรียมตัวไฟดับไฟตก)

    ๒๓.IEA (สถาบันพลังงานระหว่างประเทศ) สองปีที่แล้วมาประเมิน ๑๐ ประเทศในอาเซียนว่า ไทยมีความเสี่ยงด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน เพราะพึ่งพาพลังงานจากนอกประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ (อีก ๒๐ ปีข้างหน้า ต้องซื้อเขาหมด)

    ๒๔.ก๊าซอเมริกาถูก เพราะเจอเชลล์ก๊าซ เมื่อมีเยอะ มันก็ถูก

    ๒๕.ก๊าซไทยราคาผูกกับน้ำมันเตา เพราะเราใช้น้ำมันเตาทำไฟฟ้า และเราเอาก๊าซมาทำไฟฟ้า การผูกกับราคาน้ำมันเตาทำให้ค่าไฟฟ้าของเราถูกมา ๔๐ ปี

    ๒๖.อเมริกาไม่ส่งออกทั้งน้ำมันและก๊าซ ตั้งแต่ยุคที่ยิวรบแขก และอเมริกาเข้าข้างยิว

    ๒๗.ตามที่มีคนอยากให้อเมริกาขายก๊าซจะได้ไปซื้อ โปรดคิดถึงค่าแปรรูปจากไอเป็นก้อน แล้วกลับมาจากก้อนเป็นไอด้วย

    ๒๘.และอย่าลืมบวกค่าขนส่งเพราะเรือขนก๊าซผ่านคลองปานามาไม่ได้ ต้องอ้อม

    ๒๙.ถ้าค่าไฟแพงเพราะต้องซื้อพลังงานมาผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมคงย้ายฐาน เวียตนามมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาเลย์มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน

    ๓๐.ใครที่คัดค้านแสดงความเห็นต่างจะเจอ เฮทสปีช

    ๓๑.เฮทสปีชมีไว้เพื่อปิดปากคน เพื่อให้หยุดพูด หลายคนไม่อยากถูกด่าจึงหยุดพูด ทุกคนโดนหมด คสช ข้าราชการ นักวิขาการ

    ๓๒.อัตราความสำเร็จในการพบปิโตรเลียมในประเทศไทย ไม่ใช่ ๓๐-๔๐% ตามที่มีคนมโนฯ แค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ปตท.สผ.เจาะไป ๗๐ หลุม ในเชิงพาณิชย์ได้แค่ ๗ หลุม

    ๓๓.ทุกประเทศส่งออกน้ำมันดิบ แต่ไม่มีประเทศไหนถูกด่า

    ๓๔.เวียตนามเจอน้ำมันดิบเท่าไหร่ส่งออกหมด เพราะไม่มีโรงกลั่น

    ๓๕.ไทยส่งออกน้ำมันดิบน้อยมาก ส่วนที่ส่งออกก็เพราะน้ำมันดิบที่ได้มาไม่เหมาะสมกับการใช้ในประเทศ

    ๓๖.แต่เดิมละแวกนี้มีโรงกลั่นน้ำมันแต่ที่สิงคโปร์ แต่รัฐบาลต้องการให้มีการตั้งโรงกลั่นในประเทศไทย เพื่อประหยัดเงินตราต่างประเทศ แต่การจะให้บริษัทน้ำมันให้มาตั้งโรงกลั่นในประเทศไทยนั่นก็คือต้องให้เขาได้ผลประโยชน์ประมาณเดียวกับที่ตั้งโรงกลั่นอยู่ในสิงค์โปร์ จึงเป็นที่มาของค่าขนส่งค่าประกันการขนส่งที่รวมอยู่ในราคาน้ำมัน (ฝรั่งคงไม่อยากมาเพราะอยู่สิงคโปร์ก็ดีอยู่แล้ว จะต้องมาลงหลักปักเสาโรงกลั่นใหม่ทำไม ต้องมา กระจายความรู้ด้านเทคโนโลยี่ให้พวกหน้าเหลืองพวกนี้ด้วย...ต้องให้เครดิตคนในยุคโน้นที่ดึงมาจนได้)

    ๓๗.โรงกลั่นในสิงคโปร์ส่งออก ๖๖% ใช้เอง ๓๔% … ไทยส่งออก ๑๖% ใช้เอง ๘๔ %

    ๓๘.กำลังการผลิต(กลั่น) สิงค์โปร์มากกว่า เป็นเท่าตัว

    ๓๙.ผลตอบแทนธุรกิจโรงกลั่น เฉลี่ย ๕- ๖ % (ถ้าลงทุนหนึ่งร้อยบาทได้กำไร ห้าบาท...คงไม่ลงทุนให้เหนื่อย เอาตังค์ไปทำอย่างอื่นดีกว่า)

    ๔๐.การส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกด้วยราคาต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่น ให้นึกถึงโกดังเก็บข้าว ในบางจังหวะที่เก็บจนล้น ต้องระบายออก ก็ต้องขายถูก

    ๔๑.หรือส่งไปบางที่ที่คู่แข่งเยอะก็ต้องขายถูกเพื่อให้แข่งกับเขาได้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการค้าขาย

    ๔๒.สินค้าอย่างอี่น ข้าว น้ำตาล น้ำมันปาล์ม ปูนซีเมนต์ เวลาระบายออกด้วยราคาถูกไม่ถูกด่า แต่น้ำมัน(บางประเภทที่ความต้องการใช้ในประเทศน้อย)ต้องระบายออกจากคลังด้วยการขายจะถูกด่า

    ๔๓.ราคาน้ำมันแพงเพราะภาษี และการเก็บเข้ากองทุน ๓๐-๕๐ เปอร์เซนต์ แล้วแต่ชนิดของน้ำมัน

    ๔๔.ถ้าให้บริษัทน้ำมันไม่เอากำไรเลย ราคาหน้าปั๊มจะลดลงได้ลิตรละ ๑.๕๐ บาท เท่านั้น

    ๔๕.ราคาหน้าโรงกลั่นสหรัฐแพงกว่าราคาหน้าโรงกลั่นไทยนิดหน่อย แต่หน้าปั๊มไทยแพงกว่าเพราะภาษี มาเลย์ก็เช่นกัน มีตัวเลขประกอบแต่ขี้เกียจจด

    ๔๖.เวลาเทียบต้องเทียบทั้งโครงสร้างไม่ใช่แค่บางส่วน ถ้าเทียบแค่บางส่วน เขาเรียกบิดเบือน

    ๔๗.เบนซินเก้าห้า ใช้วันละ ล้านห้าแสนลิตร ...ดีเซล ใช้วันละ ห้า-หกสิบล้านลิตร คุมราคาดีเซล ยี่สิบเก้าบาท ถูกกว่า ๗ ประเทศในอาเซียนนานถึงสามปี แต่ไม่ได้รับการพูดถึง จะพูดถึงแต่เบนซินที่แพงกว่าเขาและมีคนใช้แค่หยิบมือเดียว

    ๔๘.รอจนดีเซลที่อเมริกาถูกกว่าประเทศไทย จึงหยิบมาเทียบ จริง ๆ ดีเซลที่อเมริกาแพงกว่าไทยตลอด จนกระทั่งช่วงน้ำมันลดนี่แหละที่ต่ำกว่า

    ๔๙.การเอาก๊าซธรรมชาติที่มีคุณภาพมาทำหุงต้ม ก่อนให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ ก็เหมือนกับเราโค่นไม้สักมาทำฟืนแทนที่จะส่งเข้าโรงงานเฟอร์นิเจอร์ก่อน ผลสุดท้ายเราได้ใช้ไฟจากฟืนไม้สัก แต่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ของเราต้องสั่งซื้อไม้สักจาก ตปท. (เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่คุ้มค่ามากๆ)

    ๕๐.การที่อุตสาหกรรม ปิโตรฯ ไม่ต้องจ่ายค่าขนส่ง ค่าการตลาด แต่ก๊าซหุงต้มต้องจ่ายเพราะธุรกิจต่างกัน เขาไม่ต้องมีร้านค้าย่อยร้านค้าส่ง ไม่ต้องมีถัง มีรถขนของ ฯลฯ

    ๕๑.สัมปทานและแบ่งปันมีข้อดีและข้อเสียทั้งสองระบบ

    ๕๒.สองระบบนี้ทั้งสองฝ่ายตอบตรงกันว่า ผลประโยชน์ไม่ได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร

    ๕๓.กัมพูชาใช้ระบบแบ่งปัน เรียก ๘๐% เข้ารัฐ แต่ป่านนี้ยังไม่มีใครมาลงทุน

    ๕๔.แปลงสำรวจที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนกับ เวียตนาม ...เวียตนาม ใช้วิธีแบ่งปันยังไม่มีใครมาลงทุน แต่ไทยสัมปทาน ได้ตังค์เข้าหลวงแล้ว

    ๕๕.ระบบสัมปทานทำให้ไทยได้ สองแสนล้านบาทในปี ๕๖ และได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ไทยแลนด์ ๓ ได้ค่าตอบแทน ๗๓% ไทยแลนด์ ๑ ได้ ๕๕% (ใครต่อรองไทยแลนด์ ๓ หนอ เก่งจัง)

    ๕๖.นอรเวย์ใช้ระบบสัมปทานแต่ทรัพยาการเขาอุดมสมบูรณ์มากจึงต่อรองได้ ๘๐%

    ๕๗.กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมเป็นของรัฐทั้งสองระบบ ตามกฎหมายปิโตรเลียม ...แค่สิทธิในการบริหารจัดการเท่านั้น ถ้าเป็นระบบแบ่งปันฯ สิทธิในการบริหารจัดการอยู่ที่รัฐ (ถ้าได้รัฐบาลด้าน ๆ คงกินกันแหลก) ระบบสัมปทาน สิทธิในการบริหารจัดการเป็นของเอกชน

    ๕๘.ระบบสัมปทาน รัฐจะรับผลตอบแทนเป็นเงินหรือเป็นปิโตรเลียมก็ได้

    ๕๙.ระบบสัมปทานถ้ามีข้อพิพาทตั้งอนุญาโตตุลาการที่ศาลโลก “เฉพาะเรื่องการยกเลิกสัมปทานเท่านั้น” ข้อขัดแย้ง อื่นๆ ไม่ต้องไปศาลโลกขึ้นศาลไทยหมด ซึ่งเป็นแบบนี้ทุกชาติตามกฎบัตรของยูเอ็น

    ๖๐.ความจริงระบบแบ่งปันฯ ก็มีข้อ(๕๙)นี้ ใครที่บอกว่าใช้ระบบสัมปทานคือการเสียสิทธิสภาพ เสียเอกราช ฯลฯ ถือว่า "ขี้จุ๊เบ่เบ๊"

    จาก Chula friends 07
     
    puggi, นอกคอก, AlbertEinsteins และอีก 1 คน ถูกใจ.
  11. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    มาฟังอีกความเห็นหนึ่ง จาก ดร.ณรงค์ โชควัฒนา นักธุรกิจและนักวิชาการ
    “เรื่องพลังงานในประเทศไทย” “เป็นการปล้นประเทศครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
    http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9580000021166
     
    joonkung likes this.
  12. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ผมยืนยันมาหลายเม้นท์แล้วว่า
    อย่าเพิ่งไปไกล กลับมาหา พื้นฐานที่เป็น fact ก่อน
    ว่า อะไร เป็น อะไร ให้เสด็จน้ำ ให้ได้ก่อน

    ประเภทอวดภูมิเท่ห์เท่ห์ ค่อยทำเวลาว่างก็ได้
     
    joonkung และ Apichai ถูกใจ.
  13. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ฝั่งค้านกับฝั่งหนุนต่างยึดถือข้อมูลกันคนละเรื่อง
    แล้วตรูจะเชื่อใครดีละเนี๊ยะ :snooze:
     
    chackrapbong likes this.
  14. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ฟังแล้วใช้สติสักนิด...ดร.ณรงค์ บอกไทยมีก๊าซมาก ถ้ามีก๊าซมากขนาดนั้นจะไปนำเข้าจากพม่าและมาเลทำไม แล้วตอนพม่าบอกจะหยุดโรงขุดก๊าซคนก็กลัวไฟดับ ต้องสำรองพลังงานกันวุ่นวาย โลกหนอโลก ข่าวประเภท เขาเล่าว่าเชื่อกันจัง
     
    puggi, Apichai, AlbertEinsteins และอีก 1 คน ถูกใจ.
  15. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ ผมว่าฝ่ายที่ใช้อารมณ์ลองตั้งสติ แล้วแย้งให้ได้สิครับ ว่าใน60ข้อนี้ มีตรงไหนข้อมูลเป็นเท็จ

    ไม่ใช้ไปด่าเขาว่ารับเงินกลุ่มทุนมา....เพราะพฤติกรรมกลุ่มทวงคืน มันไม่ต่างกับเสื้อแดงเลย
     
    puggi และ Apichai ถูกใจ.
  16. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    นอกจากจะต้องอ่านให้เกิน สามบรรทัดแล้ว ยังต้องอ่านให้เกิน สามเม้นท์ด้วย

    เมื่อวาน ก็บอกว่า เพื่อน(สนิทผมเป็นวิศวกร ที ตปท )เล่าให้ฟัง
    วันนี้ ผมบอกแค่ มาฟังอีกความเห็นหนึ่ง
    ไม่มีตรงใหนเลย ทีบอกว่า ผมเชื่อทุกเรือง ที่ได้ยิน ได้ฟัง
    ผม กำลังจะฟัง ท่านเสนอข้อมูลว่า เรื่องใหนจริง เรื่องใหนเท็จ
    เพราะผมไม่มีความรู้

    ขอความกรุณาแสดงให้ดูหน่อยครับ
    กำลัง รออ่านอยู่
    ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  17. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    googleก็มีครับ:cool:
     
    chackrapbong likes this.
  18. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ปฎิรูปพลังงานคราวนี้ เสียดายที่ไม่ได้เชิญ google เข้าร่วมด้วย

    แต่ยังไงต้องขอขอบคุณที่ชี้แนะครับ
     
    joonkung likes this.
  19. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ขอบคุณข้อมูลของคุณ Apichai
    ผมเริ่มเข้าใจภาครัฐระดับนึงว่าทำไมรีบเดินหน้า เพราะสิ่งที่น่ากังวลคือความมั่นคงทางพลังงาน กลายเป็นว่าเราใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพมาก

    แทนที่ประชาชนเราๆท่านๆจะสนใจในเรื่องประสิทธิภาพ ก็สร้างกระแสเรื่องราคาน้ำมันและก๊าซถูกๆ (เข้าใจเรื่องปากท้อง)

    เช่น ถ้าเราหาพลังงานทดแทนในรูปแบบที่รับกันได้และสะดวกสบายลดการใช้ก๊าซคุณภาพสูงในครัวเรือน มูลค่าผลผลิตและกำไรที่ได้ต่อประเทศจะดีกว่ามั๊ย

    สิ่งที่ผมเป็นห่วงคือระบบพลังงานไฟฟ้าที่ใช้จากมาเลเซียและพม่า
    มาเลเซียและพม่าจะต้องยกระดับประเทศ ดังนั้นโอกาสที่เราจะไม่ได้ใช้ก๊าซในราคาถูกหรือไม่ได้ใช้เป็นไปได้
    การเร่งสำรวจจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำ ยิ่งทอดเวลาไปเรื่อยๆ ความเสี่ยงยิ่งสูง และถ้าสำรวจแล้วไม่พบ ยิ่งดิ้นเข้าสู่ความตาย

    ผมว่ากลุ่มทวงคืนให้ใครก็ไม่รู้ซึ่งมีนักวิชาการมากมายน่าจะต้องมีความสามารถในการประเมิณผลในหลายๆแง่มุม ไม่ควรดิ้นกันไปมาแค่ด้านเดียว เพราะผมไม่อยากให้สิ่งที่ผมสงสัยเป็นจริงว่ากลุ่มทงวงคืนให้ใครก็ไม่รู้ส่วนนึงรับงานจากกลุ่มนอกประเทศ หลายเรื่องไม่เมคเซ้นต์แต่ดิ้นกันจัง

    กลับมาเรื่องไฟฟ้านิด
    ผมว่าถึงเวลาที่เราต้องพึงพาพลังงานนิวเคลียร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้าทำได้เราคงลดการพึ่งพาพลังงานภายนอกได้สูงทีเดียว และสามารถสร้างเสถียรภาพด้านพลังงานได้ดีมาก. ถ้ายังดิ้นไปดิ้นมาแบบนี้ เวียตนามแซงแน่ๆเพราะใครๆจะไปลงทุนมากขึ้น ค่าแรงเราก็แพงพม่ากะเขมรกินไป ภาษาเราก็ไม่เด่นเท่าฟิลิปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย

    สุดท้ายผมคงได้เห็นบ๊วยเออีซี Poor Country ไทยแลนด์ ตลกแห่งเอเซีย ก่อนตายแน่
     
    Last edited: 21 Feb 2015
    puggi และ chackrapbong ถูกใจ.
  20. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    หากแก้ปัญหาเรืองพลังงานกันไม่ตก
    พลังงานนิวเคลียร์เป็นตัวเลือกที่ผมเห็นว่า หนีไม่พ้น
    แม้จะขัดความรู้สึก คนส่วนใหญ่ในประเทศ แต่คงเลี่ยงลำบากแล้วครับ

    ที่น่าสังเกตุ คือ ขณะนี้ลาว กำลังใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงที่ไหลพาดผ่านประเทศ
    เป็นเส้นทางที่ยาวมาก ลาวสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า จำนวนมาก และเริ่มประสบความสำเร็จ
    นโยบายแห่งชาติของเขาคือ ก้าวสู่การเป็น แบตเตอรี ในภูมิภาคนี้
     
  21. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    พลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ต้องทำ
    แถมราคาเฉลี่ยถูกและอนุรักษโลกมากกว่าด้วยซ้ำ ไม่ต้องโค่นป่าเป็นพันไร่เพื่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ. ไม่ขวางทางน้ำธรรมชาติเช่นแม่น้ำโขงที่อาจมีผลต่อระบบนิเวศน์ของสัตว์บางชนิด แถมสร้างพลังงานได้สูงพอที่จะรองรับประชากรระดับร้อยล้านชีวิตได้ให้สามารถดูเกมโชว์ หนังโป๊ อินเตอร์เน็ต แสงส่องสว่าง หุงหาอาหาร หรือเดินทางคมนาคม

    ความเสี่ยงมีแน่นอน แต่อยู่ในวิสัยที่สามารถควบคุมได้ในระดับที่ให้เกิดความปลอดภัย แต่ผู้ดูแลก็ต้องมีวินัยมีระบบขั้นตอนที่รัดกุม เพราะพลาดท่าไป ก็หมายถึงการทำลายพื้นที่อยู่อาศัยหลายสิบตารางกิโลเมตร กับหลายล้านชีวิต เช่นกัน
     
    chackrapbong likes this.
  22. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    และผมเชื่อว่าพลังงานนิวเคลียร์จะไม่เกิดในบ้านเราในอีกยี่สิบปี (เอาแค่เซ็นสัญญาก่อสร้าง)
    กลุ่มทวงคืนเพื่อใครก็ไม่รู้จะกลายเป็นกลุ่มสร้างนิวเคลียร์หลังบ้านคนสนับสนุนทันที
     
    puggi likes this.
  23. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    และนี้จะเป็นประโยค ที่คุณ อภิสิทธิ ปิดท้ายเมื่อวานว่า
    "ทรัพยากรมีพอสำหรับมนุษย์ทุกคนแต่ไม่มีพอกับ คนโลภครับ"
     
    bookmarks และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  24. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    "เพราะผมไม่อยากให้สิ่งที่ผมสงสัยเป็นจริง ว่ากลุ่มทวงคืนให้ใครก็ไม่รู้ส่วนหนึ่งรับงานจากกลุ่มนอกประเทศ"

    คงไม่ใช่หรอกครับ เหตุมันมาจากตรงนี้มากกว่า

    "คิดดูว่าหลุมเจาะน้ำมันในซาอุดิอาระเบียยังไม่มีการเผาแต่ถ้าดูในอ่าวไทยซิ มีมากจนต้องเผาทิ้ง แล้วยังมาโกหกว่ามีก๊าซน้อยต้องนำเข้าจากพม่า ต้องไปซื้อก๊าซ NGV ซึ่งต้องขนมาในอุณหภูมิลบ 150 องศา อุตส่าห์ไปซื้อมาจากต่างประเทศเพื่อจะขายให้คนไทยแพง ๆ เท่านั้นเอง ผมว่ามันหลอกลวง ถ้าไม่จริงให้ประกาศมาซิว่าไม่ใช่"

    อันนี้ลอกมาจากของ ดร ณรงค์ (คุณเผด็จการโดนไปเต็ม ๆ เลย ที่อ้างว่าซื้อก๊าซจากพม่า)

    เหตุมันเริ่มจากความคิดที่ว่าเรามีก๊าซมีน้ำมันมากมายมหาศาลจนต้องเผาทิ้ง นั่นแหละ ปัจจุบัน คุณณรงค์ก็น่าจะยังเชื่ออย่างนี้อยู่ แต่แกนนำคนอื่น ๆ ดูจะเลิกเชื่อไปแล้ว เพราะเคยได้ยิน มล กร แกออกตัวว่าแกไม่เคยพูดว่าประเทศไทยมีน้ำมันเยอะ คุณรสนา ก็ออกตัวว่า มีอดีตอธิดีกรมอะไรผมจำไม่ได้ละ (เกี่ยวกับพลังงานนี่แหละ) พูดมาก่อนว่าประเทศไทยมีน้ำมันเยอะ ภาคประชาชนมาพูดทีหลัง

    จะเชื่ออยู่หรือเลิกเชื่อแล้ว ก็ตาม เรื่องมันเริ่มมาแล้วมันหยุดไม่ได้เพราะถ้าหยุดไปนี่เสียคนหลายคนเลย เพราะไปพูดกับประชาชนไว้เยอะแยะมากมายเป็นปี ๆ มาแล้วตั้งแต่สมัย ASTV เป็นหัวหอกอยู่ด้วยโน่น

    เริ่มตอนแรก ๆ มันก็ไม่มีประเด็นเรื่องสัมปทาน หรือ แก้ไข พรบ ปิโตรเลียมหรอก เพราะตอนนั้นเชื่อว่าเรามีพลังงานมากมายมหาศาล แล้วทำไม่ประชาชนต้องใช้พลังงานราคาแพง ประชาชนได้อะไรจากทรัพยากรเหล่านี้ มันมีการคอรัปชั่น ร่วมมือกับอเมริกา อะไรต่าง ๆ นานา เป็นลักษณะการเรียกร้องเรื่องราคา เรื่องความโปร่งใส เรื่องผลประโยชน์ที่ประชาชนเจ้าของพื้นที่ควรได้รับมากกว่านี้ ซึ่งเรื่องผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่นี่ ก็น่าจะเป็นเหตุให้ มีการเพิ่มเติมสัญญา Thailand three plus ที่ให้เงิน อบต ละมั้ง

    เรื่องสัมปทานที่เพิ่งจะมาคัดค้านก็ตอนเปิดสัมปทานนี่แหละ โดยตอนแรก ๆ ก็บอกว่าไทยเสียประโยชน์ถ้าใช้แบบสัมปทาน ใช้แบบแบ่งปันผลผลิตได้ประโยชน์มากกว่า ซึ่งมันก็มีการชี้แจงกันมาตลอดว่าผลประโยชน์มากหรือน้อยมันไม่เกี่ยวกับรูปแบบสัญญา เพราะไม่ว่าจะเป็นสัญญาแบบไหนก็ตาม ถ้าคุณต้องการมากคุณก็เรียกมาก แต่คู่สัญญาเขาจะเอาด้วยหรือเปล่าล่ะ แต่ไม่ได้ผลเพราะฝ่ายคัดค้านยืนกระต่ายขาเดียวว่าต้องแบบแบ่งปันผลิตเท่านั้น ซึ่งทางภาครัฐเขาก็ถามเหมือนกันว่า แล้วสัญญาแบบแบ่งปันผลิตที่ว่านะจะทำรูปแบบอย่างไร ไทยได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ปรากฎว่าตอบไม่ได้ (คงไม่ทันตั้งตัว แต่จะเอาอ่ะ)

    ผมก็สงสัยเหมือนกันว่าทำไมต้องไปยืนกระต่ายขาเดียวว่าต้องแบบแบ่งปันผลผลิต เลยลองหาข้อมูลสัญญาแบบแบ่งปันผลผลิตดู มันก็มีข้อแตกต่างอย่างที่รู้ ๆ กันนั่นแหละ คือเราต้องไปร่วมลงทุน ซึ่งหมายถึงว่าเราเป็นผู้เข้าไปมีส่วนบริหารจัดการด้วย ผมจึงเดาเอาว่า น่าจะเป็นตรงนี้แหละ คือเรามีส่วนในการบริหารจัดการ น้ำมันจะมีมากมีน้อย ไม่สน จะต้องลงทุนเท่าไร ไม่สน ขอให้ได้เข้าไปบริหารจัดการก็แล้วกัน

    แต่ปัญหาก็คือ ดันมาติด พรบ ปิโตรเลียม อีก ที่กำหนดว่าให้ใช้ระบบสัมปทาน ก็เลยต้องเดินหน้าแก้ไข พรบ ปิโตรเลียมเข้าไปด้วยนั่นแหละ วันที่เสวนา ก็เห็นออกตัวกันอยู่ว่า ไม่ได้คัดค้านการสำรวจ แต่อยากให้แก้ไข พรบ ให้มีทางเลือกอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ไม่เห็นเสียหายอะไร เหมือนที่คุณอภิสิทธิ พูดนั่นแหละ

    ปัญหาก็คือ ถ้าแก้ไข พรบ ปิโตรเลียมแล้ว เขายังเลือกใช้วิธีสัมปทานอยู่ จะคัดค้านอีกหรือเปล่า
     
    puggi, Apichai และ AlbertEinsteins ถูกใจ
  25. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    "เพราะผมไม่อยากให้สิ่งที่ผมสงสัยเป็นจริง ว่ากลุ่มทวงคืนให้ใครก็ไม่รู้ส่วนหนึ่งรับงานจากกลุ่มนอกประเทศ"

    นั่นคือความคิดเห็นส่วนตัวของผมที่ผมมีโอกาสจะคิดหรือมโนครับ
    เฉกเช่นเดียวกับกลุ่มทวงคืนพลังงานเพื่อใครก็ไม่รู้ที่ยัดเยียดผู้เห็นต่างว่า
    รับใช้กลุ่มทุนพลังงาน ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้
    เงินไม่ได้สักบาท แถมผมจ่ายค่าพลังงานทุกวัน
    ถ้าจ่ายได้ก็จ่ายเพราะผมใช้พลังงานเพื่อความสะดวกสบาย
    ถ้าจ่ายไม่ได้ ผมก็ประหยัด ใช้เท่าที่จ่ายได้ เพราะบ้านเรานำเข้าพลังงาน

    ผมถึงเชื่อในข้อเท็จจริง หลักฐานข้อมูล หลักการ เหตุผล
    และประโยชน์ที่ได้รับมากกว่า

    ซึ่งขอกล่าวตรงนี้ว่าจากข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ได้รับรู้มา ตามสื่อต่างๆ
    ประกอบกับความเชื่อของผมที่ว่าด้วยเรื่องของราคาที่ควรจะสะท้อนความจริง
    ไม่ใช่หมกเม็ดโยกซ้ายโยกขวา
    ผมค่อนข้างเชื่อไปทางฝ่ายที่เห็นตรงข้ามกลุ่มทวงคืนเพื่อใครก็ไม่รู้
    น้ำมันกับก๊าซที่แพงๆก็เห็นๆอยู่ว่าเป็นภาษีเป็นส่วนใหญ่
    ส่วนเรื่องจะสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต
    ก็ตั้งสมมุติฐานให้รับได้ทั้งสองฝ่าย
    แล้วคำนวณตัวเลขกันออกมา ก็จะเห็นว่าแบบไหนดี ได้ประโยชน์มากกว่า

    เหมือนที่ผมเคยแสดงความเห็น เท่าที่จับใจความได่้(ไม่มีผลหรือตัวอย่างคำนวณ)
    ระบบแบ่งปันผลผลิตจะให้ประโยชน์ต่ำกว่าระบบสัมปทาน
    ถ้าแหล่งผลิตนั้นๆมีน้ำมันน้อย
    ซึ่งก็รับรู้ได้ระดับนึงว่าแหล่งผลิตบ้านเราไม่สูงมากนัก
    ดังนั้นระบบสัมปทานน่าจะตอบโจทย์กว่า(หรือป่าว)

    แต่นี่ดันจะไปทางแบ่งปันผลผลิตอย่างเดียว
    ถ้าสมมุติฐานผมถูกต้อง
    เท่ากับช่วยเหลือผู้ประมูลให้ได้กำไรมากขึ้น คุ้มค่าในการลงทุน
    กำไรตรงนี้หลักๆคงหลายพันล้านบาท
    จ่ายค่าโฆษณาลงหนังสือพิมพ์ เว็ปไซท์ ค่าที่ปรึกษา
    รวมๆจ่ายสักสามสี่ร้อยล้านบาทก็ยังคุ้ม

    (ข้อความข้างล่างเป็นความคิดเห็นส่วนตัว)
    เรื่องวันเสวนา เรื่องแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม ก็มาจากปากคุณอภิสิทธิ
    กลุ่มทวงคืนพลังงานเพื่อใครก็ไม่รู้ ไม่เห็นเคยเล่นให้เป็นประเด็นใหญ่มาก่อน
    แสดงว่าไม่เคยได้ศึกษาอะไรรอบด้านเลยหรือไม่
    ผมเชื่อว่าคุณอภิสิทธิคงเห็นช่่องทาง ตามแบบนักการเมือง
    เพื่อซื้อเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้มีเวลาตกลงหาข้อสรุปร่วมกัน
    ก่อนบานปลายขัดแย้งรุนแรง

    สรุปในส่วนนี้คือกลุ่มทวงคืนพลังงานเพื่อใครก็ไม่รู้ตั้งธงมาตั้งแต่ต้นในความคิดเห็นของผม
    เมื่อตัั้งธงไว้ ยืนกระต่ายขาเดียวว่าต้องแบบแบ่งปันผลผลิต
    ก็จะไม่รับฟังความคิดเห็น ข้อมูลใดๆทั้งนั้น
    แสดงความจริงครึ่งเดียว
    ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
    ใส่สีใส่ร้ายฝ่ายตรงข้าม

    ถ้าบอกว่าไม่ได้คัดค้านการสำรวจ ผมคงเชื่อไม่ได้
    ถ้าพูดให้เต็มๆในความคิดผมคือ

    ไม่ได้คัดค้านการสำรวจถ้าเป็นระบบการแบ่งปันผลผลิต
    แต่คัดค้านการสำรวจถ้าเป็นระบบสัมปทาน
    เพราะบางคนในกลุ่มทวงคืนพลังงานเพื่อใครก็ไม่รู้รับจ๊อบ มีผลประโยชน์ส่วนตัว

    ปอลิง
    เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมล้วนๆ คงไม่สามารถเหมาเป็นความคิดเห็นทั้งหมดของฝ่ายตรงข้ามกลุ่มทวงคืนพลังงานเพื่อใครก็ไม่รู้. อย่าเหมารวม
     
    puggi likes this.
  26. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    คุณอภิสิทธิ์ ผู้สนับสนุนภาคประชาชนได้นำเสนอไว้ 3 ประเด็น คือ 1)ธุรกิจพลังงานผูกขาดโดยธรรมชาติ 2)การผลิตพลังงานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ 3)ธุรกิจพลังงานส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพ ฉะนั้นพลังงานจะต้องตอบโจทย์ใน 3 เรื่อง คือ ต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีความมั่นคง และต้องมีความเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะใช้ระบบสัมปทานหรือระบบแบ่งปันผลประโยชน์ PSC จะต้องตอบโจทย์ใน 3 เรื่องนี้ให้ได้

    "พ.ร.บ.ปิโตรเลียมใช้กันมากว่า 44 ปีแล้ว แต่วันนี้สถานการณ์พลังงานของประเทศเปลี่ยนไป ไทยมีประสบการณ์ในธุรกิจพลังงานมากขึ้น ฉะนั้นควรมีอำนาจต่อรองกับภาคเอกชนผู้สำรวจและผลิตมากขึ้น รวมถึงต้องมีวิธีจัดสรรที่ดีขึ้นด้วย"

    ม.ล.ปนัดดา ดิศกุลรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงพลังงานและภาคประชาชน ที่มีข้อห่วงใยในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และข้อกติกาบางประการให้ได้ข้อสรุปก่อนวันเปิดสัมปทาน รอบที่ 21 ในวันที่ 16 มีนาคมนี้
     
    bookmarks และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  27. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    เรื่องเผาก๊าซเผาน้ำมันทิ้งเล่นนี่. ถ้าความจำผมไม่ผิด
    เป็นกระบวนการที่เผาเศษที่เหลือที่ไม่สามารถนำส่งหรือใช้งานได้
    เข้าใจว่าเป็นเรื่องกระบวนการผลิตหรืออุปกรณ์ระบบสายการผลิตการกลั่นของเราที่ทำให้เป็นแบบนี้ที่ต้องเอาเศษมาเผาทิ้ง
    ถ้าคิดแบบนักค้าขายก็คงเสียดาย
    เอาไปต้มน้ำกลับมาปั่นเป็นพลังงานไฟฟ้าดีกว่า เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    แต่ถ้าปรับเปลี่ยนระบบใหม่หรือเอาไปต้มน้ำหรือทำนู่นนั่นนี่
    ต้องลงทุนอีกเท่าไหร่ คุ้มค่าหรือไม่
    ยกตัวอย่างเช่น
    อาจลงทุนเพิ่มสักร้อยล้าน แต่ผลลัพท์ได้คืนแค่สิบล้าน
    จ่ายค่าโอเปอเรชั่นกับค่าซ่อมบำรุงสิบห้าล้าน
    ไม่เผาทิ้งก็เป็นมลพิษทางอากาศ
    เผาทิ้งคุ้มกว่ามั๊ย

    ข้อสังเกตุส่วนตัวอีกอย่าง ASTV กะสนธิเคยเป็นหัวหอกทะลุทลวง
    สนธิเปิดตูด ASTV ถอยๆออกไป ตั้งแต่เริ่มมีกลุ่มทวงคืนพลังงานเพื่อใครก็ไม่รู้
    หรือว่าเริ่มเห็นแววเสียหมาข้อมูลไม่แน่น
    หรือสร้างเรื่องเพื่อให้ได้ขึ้นเวทีประท้วง
    หรือสร้างเรื่องเพื่อได้ค่าไถ่จากผู้มีอำนาจบ้างแล้ว
    เลยเริ่มถอยเถอะโยมเพราะกรูก็ไม่ได้นำแล้ว
     
    puggi และ chackrapbong ถูกใจ.
  28. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    ฝ่ายหนึ่งอ้างข้อมูลก๊าซที่เหลือว่าใช้ได้อีกกี่ปีจากข้อมูลจริงที่มีอยู่ อีกฝ่ายใช้ข้อมูลจากการคาดการณ์ ซึ่งตรงนี้จะเอาไปตายดาบหน้าไม่ได้นะครับ ต้องระบุให้ชัดว่าเหลือใช้อีกกี่ปี จะคาดการณ์ไม่ได้ ถ้าถึงเวลาจริงแล้วเหลือใช้ก็ดีไป แต่ถ้าเอาตามตัวเลขที่คาดการณ์แล้วดันหมดก่อนเป็นสิบปีเรื่องใหญ่เลยนะครับ

    ถ้าใช้เวลาข้อมูลก๊าซที่เหลือโดยที่ไม่คาดการณ์ก็กำหนดเส้นตายได้ว่าเวลาที่ออกกฎหมายใหม่ สำรวจ ขุดเจาะเอามาใช้นะทันเวลานั้นไหม
     
    puggi และ chackrapbong ถูกใจ.
  29. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    หากทุกฝ่ายมุ่งที่ผลประโยชน์ส่วนรวม แลกเปลี่ยนข้อมูล ด้วยเหตุผล
    หาข้อสรุปที่ดีร่วมกันด้วยความจริงใจ ไม่ตั้งแง่แพ้-ชนะ

    ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจ บนพื้นฐาน ประโยชน์ของประชาชน
    หวังว่ารัฐบาลจะตัดสินใจได้ถูกต้อง
     
    kokkai และ joonkung ถูกใจ.
  30. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ปัญหาบางเรื่องมันมีการพูดขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้รับการชี้แจงแก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้อง คนที่รับรู้ไปเขาก็เอาไปฝังหัวฝังใจอยู่ตลอด ตัวอย่างที่ ดร ณรงค์ พูดเรื่อง ก๊าซเรามีมากต้องเผาทิ้ง เพื่อนำก๊าซต่างประเทศมาขายแพง ๆ หรือ ขุดเจาะก๊าซน้ำมันในทะเลแล้วใส่เรือลักลอบไปขายต่างประเทศ

    มันมีภาพจริง มีการเผาจริง มีเรือขนน้ำมันจริง แต่ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างที่ ดร ณรงค์ พูดหรือเปล่ามันไม่มีการแก้ไขชี้แจง คนฟังเขาก็ต้องเชื่อ ดร ณรงค์ แล้วมันก็พัวพันมาถึงว่า เพราะแบบนี้เองประชาชนถึงต้องใช้พลังงานแพงกว่าคนประเทศอื่น ทั้ง ๆ ที่เรามีพลังงานของเราเองเยอะแยะมากมาย และมันก็พัวพันมาถึง ก็เพราะคุณทำสัญญาขุดเจาะเสียเปรียบต่างชาตินั่นแหละ คุณต้องสัญญาแบบที่ประเทศอื่นเขาทำกันซิ เขาได้ประโยชน์เข้าประเทศเยอะกว่า สัญญาแบบคุณไม่มีใครเขาทำกันแล้ว ต้องแก้กฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ใช้สัญญารูปแบบอื่นด้วย

    ถ้าถามว่าแกนนำคัดค้านปัจจุบันอย่างคุณรสนา มล กรณ์ รู้ไหมว่าข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างไร ผมว่า รู้อยู่แก่ใจ แต่รู้แล้วก็เฉยไม่ถ่ายทอดไปให้ประชาชนเข้าใจ

    ผมดูทีวีบางช่องเขาไปสัมภาษณ์ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ คำตอบของประชาชนคือ อยากให้มันจบเร็ว ๆ จะได้ใช้แกสราคาถูกลง ค่าไฟ จะได้ลดลง

    คุณทำได้หรือครับ จะใช้สัญญารูปแบบไหนก็แล้วแต่ แต่ทำให้ค่าแกส ค่าไฟ มันถูกลงตามที่ประชาชนคาดหวัง
     
  31. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ถ้าถามว่าแกนนำคัดค้านปัจจุบันอย่างคุณรสนา มล กรณ์ รู้ไหมว่าข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างไร ผมว่า รู้อยู่แก่ใจ แต่รู้แล้วก็เฉยไม่ถ่ายทอดไปให้ประชาชนเข้าใจ

    ผมพยายามเข้าไปถาม google
    google ก็ไม่ยอมบอก

    google โง่กว่าที่คิดไว้เยอะเลย
     
    Apichai likes this.
  32. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ขอเม้นท์สุดท้ายครับ
    เพราะผมไม่ได้ข้อมูลเพิ่มจากที่หวัง
    และขออภัยเพื่อนหลายคนด้วย ที่อาจมีความเห็นที่ไม่สุภาพ
    แต่ก็ด้วยความจริงใจครับ

    ที่สำคัญคือไม่ได้เม้นท์เพื่อได้ like
    เพราะชีวิตจริงมีคน like มากพอแล้ว

    ขอบคุณมากครับ
     
  33. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    ขอไม่เชื่อนะครับ
     
    Apichai และ chackrapbong ถูกใจ.
  34. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ไปหาใน google คงไม่มีหรอกครับ ก็อย่างที่ผมบอกนั่นแหละว่า บางเรื่องมันไม่มีการชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ เมื่อมันไม่มีการชี้แจง ใน google มันก็ไม่มี จะมีก็แต่คำกล่าวหาทั้งนั้น

    ที่ผมบอกว่าแกนนำอย่างคุณรสนา และ มล กรณ์ น่าจะรู้อยู่แก่ใจ เพราะคุณรสนาแกอยู่ในคณะกรรมการปฏิรูปพลังงานครับ ซึ่งในคณะกรรมาธิการชุดนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเยอะแยะมากมาย จนคุณรสนาแกบอกว่าเยอะเกินไป คือเยอะมากกว่าฝ่ายค้านของแกนั่นแหละ แล้วแกอยู่ท่ามกลางผู้เชี่ยวชาญมากมาย แกจะไม่ถามเลยหรือว่าคุณเอาแกสไปเผาทิ้งทำไม คุณปล่อยให้มีการลักลอบขนน้ำมันไปขายต่างประเทศทำไม เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องใหญ่นะครับ คนรักชาติรักแผ่นดินจะปล่อยผ่านไปได้อย่างไร

    ความจริงเรื่องนี้ ผมก็สงสัยมาตั้งแต่ ดร ณรงค์ พูดครั้งแรก ๆ แล้ว ว่ามันเป็นไปได้หรือ มันจริงหรือเปล่า แต่มันหาคำตอบไม่ได้ ก็สงสัยมาตลอดเหมือนกัน เมื่อมาเจอคนที่พอรู้เรื่องเหล่านี้ก็ถามเขา คำตอบที่ได้รับก็คล้าย ๆ ที่คุณ
    ไอสไตน์ อธิบายนั่นแหละ คือเขาดูดแกสจากแท่นเจาะต่าง ๆ ส่งผ่านท่อไปยังแท่นกลางเพื่อทำการแยกเอาน้ำออก
    ซึ่งในกระบวนการแยกของเขานี้มันก็จะมีแกสที่รั่วไหลควบคุมไม่ได้พยายามลอยตัวออกไปตามธรรมชาติของมันเขาก็ต้องปล่อยออกไป (ไม่รู้ว่ากลัวมันระเบิดหรือเปล่า) แต่จะปล่อยให้มันลอยไปเรื่อยเปื่อยก็ไม่ได้เพราะมันอันตราย ก็เลยต้องเผามันทิ้งตรงปากปล่องนั่นแหละ ส่วนเรื่องเรือขนน้ำมันไปขายต่างประเทศ ก็จริงอีก แต่มันไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย ที่เขาไปขายต่างประเทศเพราะดูดขึ้นมาแล้วประเทศไทยไม่รับซื้อ เนื่องจากมันไม่ตรงสเปคที่ต้องการ เขาก็เลยต้องขายให้ต่างประเทศไป

    เรื่องแบบนี้ ผมไม่เคยเห็นกระทรวงพลังงานมาอธิบายชี้แจง มันกลายเป็นว่าใครสงสัยก็ไปหาคำตอบกันเอาเอง จะอาศัยแกนนำอธิบายได้ไหม ก็ไม่ได้เพราะมันไม่เข้าทางเขา มันถึงวุ่นวายกันมาไม่รู้จบอยู่ทุกวันนี้แหละ
     
    puggi, chackrapbong, AlbertEinsteins และอีก 1 คน ถูกใจ.
  35. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    อธิบายมาก นอกจากจะไม่ได้อะไรแล้ว(เพราะเขาอยากเชื่ออย่างที่อยากเชื่อ) ยังถูกยัดข้อหากลุ่มทุนพลังงาน โดนตามด่า3ชั่วโครต:D

    ส่วนหอเผาทิ้ง(Flare) ถ้าเปิดใจรอบด้านถามgoogleดูก็รู้ครับ (ดร.ณรงค์บอกมีเยอะจนต้นเผาทิ้ง กลุ่มทวงคืนแต่ละท่านสุดยอดดดดดดดดดด)
    https://www.google.co.th/search?sourceid=chrome-psyapi2&ion=1&espv=2&ie=UTF-8&q=เผาแก๊สทิ้งทำไม&oq=เผาแก๊สทิ้งทำไม&aqs=chrome..69i57.3755j0j4

    http://pantip.com/topic/31981910

    http://pantip.com/topic/32429802

    http://tamagozzilla.blogspot.com/2013/04/flare-system-elevated-flare-mo-memoir.html

    ส่วนที่หม่อมกร พูดเรื่องเอาน้ำมันดีๆไปขายนอกหมด มันเรื่องเบาปัญญาที่แท้จริง เพราะน้ำมันดิบดีๆที่เขาว่ามันกลั่นแล้วได้เบนซิน แต่ประเทศไทยใช้ดีเซลมากกว่าเบนซินเยอะ ใครอธิบายอธิบายอะไรก็ไม่ฟัง "ผมว่ามันกลายเป็นเรื่องอัตตา" ไปแล้ว


    สุดท้ายลุงตู่ก็สั่งงดส่อออกน้ำมันดิบ ควรด่าใครครับ กลุ่มทวงคืนหรือรัฐบาล ที่สั่งเรื่องไร้สาระขนาดนี้

    http://pantip.com/topic/32533970



    เรื่องเปิดสัมปทานก็เหมือนกัน เขา
     
    Last edited: 22 Feb 2015
    puggi และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  36. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ผมนี่กด like ให้พี่ตู่ที่หักดิบเลือกระบบสัมปทานเลยครัชชชช

    55555555555
     
  37. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    บางทีเขาอธิบายแล้วแต่ไม่ฟังครัชชชช
     
  38. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    มล กร. พูดไม่ผิด แต่พูดความจริงแค่ครึ่งเดียวครัชชชชช

    555555555
     
    Last edited: 22 Feb 2015
    puggi และ chackrapbong ถูกใจ.
  39. Apichai

    Apichai อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,042
    มล กร (หรือ ตู่) , นายใหญ่เชฟรอน และ VP ของ ปตท เป็น เพื่อน ร่วมรุ่น กัน
    เพื่อน ๆ ในรุ่น ได้เคยจัดสัมนา เรื่องพลังงาน โดย ดร สมเกียรติ TDRI เป็น ผู้ดำเนินรายการ (ก็ร่วมรุ่นเหมือนกัน) เมื่อสัก 2 ปีก่อน
    เพื่อน ๆ ส่วนใหญ่ จะโน้มเอียงไปทางข้อมูลส่วนมากของ เชฟรอน และ ปตท
    มีติดใจ เรื่อง ราคาก๊าซ ที่ขายให้ อุตสาหกรรม ในกลุ่ม ปตท
    เสียดาย ผมไม่ได้ไปฟังด้วย
     
  40. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ด่าจนคนทำงานหมดกำลังใจ พอจับได้ไล่ทันว่ากลุ่มทวงคืนพลังงานตั้งคำถามผิดๆมั่วๆ ก็เปลี่ยนคำถามไปเรื่อยๆโดยไม่กลับมาข้อโทษและชี้แจงว่าตัวเองเข้าใจผิดไป "จนบางครั้ง คนที่ไม่ค่อยตามข่าวยังหลงเข้าใจผิดอยู่เลยทั้งที่เขาอธิบายไปแล้ว"

     
    puggi และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  41. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ผมอยากที่จะเรียนอีกสักนิดหนึ่งครับที่ ท่านสปช.รสนา พูดถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ท่านธีระชัยด้วย เหมือนทวงความซื่อสัตย์สุจริตและการรักษาประโยชน์ส่วนรวมจากผม ผมก็เสียใจอยู่นิดหนึ่งครับว่า เราก็เป็นสปช.กรรมาธิการเดียวกัน ก็เอาไปพูดในนั้นก็ได้ ท่านพูดเหมือนกับว่า การที่ข้าราชการไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ จะไปรักษาผลประโยชน์ของเอกชน เหนือผลประโยชน์ของส่วนรวม อันนี้ถ้าเป็นคนอื่นเขาน่าจะถือว่าหมิ่นประมาทแล้วนะครับ (เสียงโห่แสดงความไม่พอใจดังจากฝั่งกองเชียร์ภาคประชาชนทางด้านล่าง จนผู้ดำเนินการต้องอนุญาตให้อยู่ในความสงบ) ผมอยากจะเรียนนะครับในเมื่อท่านพูดนะ รัฐวิสาหกิจนี่ เป็นองค์กรของรัฐหรือเปล่าครับ แล้วใครควรจะเข้าไปดูแลรัฐวิสาหกิจ สมัยท่านธีระชัยเป็นรัฐมนตรีคลัง ท่านตั้งใครไปอยู่ในรัฐวิสาหกิจบ้าง ผมเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจที่กฟผ. เข้าไปครั้งแรกสมัยท่านนายกอภิสิทธิ์ นะครับ ที่แต่งตั้งผมเข้าไป ผมก็ดูแล้วว่าท่านคงคิดว่าผมมีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริตที่จะดูแลผลประโยชน์ของรัฐได้ (เสียงปรบมือ ให้กำลังใจ )

    ผมเป็นผู้แทนที่กระทรวงการคลัง เข้าไปในบริษัทเอสโซ่ ประเทศไทยจำกัด(มหาชน) ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นเพียง12.5% ด้วยหน้าที่ที่จะผลักดันให้เขาเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ตามธรรมาภิบาลของ กลต.ซึ่งท่านธีระชัยก็เคยเป็นเลขาธิการนะครับ แล้วพอผมครบเทอมที่เอสโซ่ รัฐบาลในยุคท่านนายกอภิสิทธิ์ ท่านรัฐมนตรีคลังในสมัยนั้น ก็อนุมัติให้ผมได้อยู่ต่อทั้งๆที่ควรจะเป็นSeat(ที่นั่ง) ของกระทรวงการคลัง

    ผมว่าถ้าเรามองเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แล้วว่าถ้าข้าราชการได้รับผลตอบแทนแล้วก็จะต้องไปเอื้อเอกชน ผมว่าเป็นการมองที่แคบเกินไปนะครับ แล้วก็เป็นการไม่ให้เกียรติท่านอื่น ย่ำยีศักดิ์ศรีคนอื่น เราอยู่ในสถานการณ์พิเศษนะครับท่านก็รู้ว่าสถานการณืพิเศษเป็นอย่างไร ข้าราชการประจำอย่างผมจริงๆแล้วไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปอยู่ในสปช.(สภาปฏิรูปแห่งชาติ) หรือในสนช.(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เลย แต่บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ เราก็มีความรู้ความสามารถ ผมทำงานมาในเรื่องนี้และเรียนมาในเรื่องนี้30กว่าปีนะครับ

    เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมชี้แจงไป ก็ชี้แจงด้วยความรู้และประสบการณ์ขอให้ท่านฟังบ้าง ไม่ใช่ท่านไม่ฟังเลยแล้วสรุปว่ามีข้อบกพร่อง ผมว่าผมชี้แจงข้อบกพร่องที่ท่านชี้หมดทุกประเด็นแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะเรียนด้วยว่าถ้าท่านไม่อยากจะให้ข้าราชการไปเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ ซึ่งผมเรียนว่ามีประมวลจริยธรรมข้าราชการ แล้วเราก็มีคุณสมบัติที่ไม่ขัดกับพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการพนักงานรัฐวิสาหกิจ แล้วถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีพ.ร.บ.หลักทรัพย์ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนเข้าไปอีก เขาเน้นเรื่องธรรมภิบาล ท่านธีระชัยก็ทราบว่าต้องส่งไปเรียนIOD (สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย)ไม่รู้กี่คอร์ส ผมคิดว่าถ้าเราตั้งแง่กันแบบนี้ เราจะเอาใครมาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นของรัฐครับ เราจะเอาผู้รับเหมาหรือครับ หรือเราจะเอาหัวคะแนนมาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ

    http://www.energy24hours.com/b/board/252/คำต่อคำ-คุรุจิต-แจงประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนบอร์ดรัฐวิสาหกิจ-.html
     
    dtonna, NISH และ puggi ถูกใจ
  42. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    ผมตอบเรื่องนี้ได้แค่ว่าแท่นขุดเจาะทั้บหมดในประเทศไม่สามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ต้องส่งมอบให้ ปตท สผ ทั้งหมดโดยใชัราคา brent ข้อมูลนี้มาจากบริษัท mubadalapetroleum ส่วนการแอบส่งออกขายนั้นมีแต่ข่าวไม่กล้ายืนยันแต่ต้องบอกว่าถ้าเกิดการลักลอบขายก็เกิดหลังส่งมอบแล้วเท่านั้น ตามสเปกน้ำมันที่เราผลิตและกลั่นแล้วเป็นน้ำมันเกรด A ที่นำไปใช้ใน usa ซะส่วนใหญ่ ส่งที่ผมอยากให้รัฐเปิดเผยคือข้อมูลที่ถูกต้องไม่ใช้ข้อมูลที่ถูกปรุงแต่งเพื่อให้ตัวเองได้ผลประโยขน์ เมื่อได้ข้อมูลรอบด้านแล้วเอามากางวิเคราะห์กันหาผลดีผลเสียและหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อประเทศ ผมขอแค่นี้ได้รึเปล่า หากใครจะด่าผมว่าเป็นสาวกแป๊ะก็เรื่องของคุณแต่ถามจากใจคุณจริงๆถ้าทำตามที่ผมบอกประเทศและสังคมจะได้หรือเสียมากกว่ากัน
     
    chackrapbong likes this.
  43. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    จากข้อสรุปของคุณเอง สุดท้ายก็ไม่หนีไปจากที่คุยๆกันในนี้เลยคือเราต้องตั้งต้นกันเรื่องข้อเท็จจริงข้อมูลที่ถูกต้อง (Fact) แล้วนำข้อมูลว่าวิเคราะห์หาทางออกที่ดีที่สุดให้ประเทศ

    ทีนี้แต่ละฝ่ายเขาเริ่มคายข้อมูลกันออกมา (ผมก็ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกผิดประการใด) เพื่อสนับสนุนตัวเอง. ประเด็นที่ผมเห็นคือกลุ่มทวงพลังงานให้ใครก็ไม่รู้มักไม่ยอมรับทั้งในแง่ข้อมูลและตัวบุคคลที่นำเสนอ เพราะข้อมูลนั้นทำให้สิ่งที่ตัวเองพ่นออกไปเป็นเรื่องมโน หรือเสียหน้าเพราะรู้ไม่จริงเต้าข่าวโคมลอยหลอกสาวก แถมมโนข้อมูลใหม่ยกเมฆสวนกลับพ่นออกมาพร้อม Hate Specch แนวใครเห็นตรงข้ามไม่รักชาติ ถูกซื้อตัวโดยกลุ่มทุนพลังงาน ไอ้คนนั้นคนนี้เป็นโต้โผถูกซื้อตัวแล้ว

    สรุปสั้นๆคือไม่ฟังใคร กรูถูกคนเดียว แทนทีจะดูข้อมูลว่าใช่ไม่ใช่อย่างไร ของใครถูกใครผิด ข้อมูลนั้นๆใช้ได้ไม่ได้อย่างไร

    และที่สุดๆก็คือพฤติกรรมเหล่านี้มาจากสาวกแป๊ะเป็นส่วนมาก
    พวกคุณรสนาก็อีโก้ลงไม่ได้ลงไม่เป็น

    เข้าใจตรงกันนะ
     
    Last edited: 22 Feb 2015
    dtonna, puggi, chackrapbong และอีก 1 คน ถูกใจ.
  44. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    ไอ้พวก ทวงคืน นี่ พอเป๋ ก็ไปเล่นหลายเรื่องครับ เช่นเรื่อง การถือหุ้นของ บอร์ด และผู้บริหาร
    แม้แต่สมาชิกคนนึงของเวป ก็อยากจะรู้ให้ได้ พอเค้าไม่ขอเปิดเผยข้อมูล เพราะว่าการเปิดข้อมูลก็จะ
    กลายเป็นว่า หาเรื่องโจมตี เพียงแต่บอกว่าไปหาข้อมูลในรายงานประจำปี พวกนี้ก็ดิ้นพราดๆ
    ถึงกับ ด่าว่าผมเป็นพวก ปตท 555 ทั้งที่ผมพยายามบอกว่า เรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องที่มีการอนุมัติขอผู้ถือหุ้น การปฎิบัติตามกฎ กลต ตลท แต่พวก อยู่ในกะลาก็ไม่ฟังอะไรหรอกครับ

    ตอนนี้พวกทวงคืน และขาหุ้น อะไรก็ตาม จะเป็นตัวทำให้พลังงานไทยวิกฤติ และแพงฉิบหายในอนาคต อย่าง รสนา ก็เสนอแต่ โซลาร์เซล พวก rooftop ติดบนโรงงาน ผมไม่รู้ว่าแกล้งโง่ หรืออย่างไรพวกนี้ กฟผ ต้องอุดหนุน adder , FIT ตั้งเท่าไหร่ สุดท้ายใครจ่าย ก็ประชาชน และถ้าค่าไฟแพง พวกต่างชาติมันย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น จะออกมารับผิดชอบไหวมั้ย

    ไอ้พวกขาหุ้น ngo ทั้งหลายค้าน ถ่านหินอยู่นั่นแหละ ทั้งที่ ถ่านหินมันจัดการด้านมลภาวะได้ ตอนภาคใต้ไฟดับหมด ก็หาเรื่องด่า กฟผ ว่าเจตนาทำเพื่ออ้างจะสร้างโรงไฟฟ้า ทำเป็นอ้างเรื่องกำลังผลิตภาคใต้ว่าเพียงพอ แต่กฟผ ชี้แจงว่า สมมติ โรงงานมีเครื่องผลิตไฟฟ้า 4 เครื่อง เค้าไม่ได้เดินเครื่องเต็มที่4เครืืองต้องสำรองไว้เครื่อง ดังนั้น กำลังการผลิตที่อ้างอิง มัน 100% แต่จริงๆมันใช้ไม่ได้ขนาดนั้นต้องเผื่อความเสียหายกรณี ซ่อม ฯลฯ พวกห่านี่เงียบแล้วก็เปลี่ยนเรื่องคุย ตอนนี้เค้าจะค้านโรงไฟฟ้าที่กระบี่่ กับที่ เทพา เรื่องคัดค้านไม่อยากพูดอะไรมากเคยเจอกับแกนนำรองๆ ที่บ้านกรูด ฟังแล้ว ก็เสียความรู้สึก

    พูดแล้ว อีกไม่กี่ปี ไทยเจอวิกฤติพลังงานแน่ๆ
     
    dtonna, เผด็จการที่รัก, kokkai และอีก 2 คน ถูกใจ
  45. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    น้ำมันในทะเลนี่ มันดูดขึ้นมาแล้วมันต้องมีที่เก็บครับ ที่ผมถามเขามานี่รู้สึกว่าจะเก็บใส่เรือเลย แต่เวลาขายมันจะต้องผ่านใครยังไง อันนี้ผมไม่ได้ถาม เพราะมัวแต่ไปสนใจแต่ว่า ไอ้เรือที่บรรทุกน้ำมันนั้นมันลักลอบหรือเปล่าเท่านั้น แต่ที่คุณ joonkung บอกมานั้น มันเป็น ไฟว์ บังคับหรือเปล่าครับ คือเมื่อเขาดูดขึ้นมาได้เขาต้องขายให้เราอยู่แล้ว เอาไปขายต่างประเทศไม่ได้ แต่ที่เขาไปขายได้ เพราะเราไม่เอาเองเนื่องจากมันไม่ตรงสเปค

    เท่าที่เคยฟังคุณคุรุจิตชี้แจง เห็นบอกว่าการดูดน้ำมันในทะเลนั้น เขามีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบปริมาณ และคุณภาพตลอด ไม่ได้ปล่อยให้บริษัทขุดเจาะว่ากันไปตามสะดวก แต่ก็สงสัยกันได้ครับ เพราะเราดูอยู่ไกลลิบ ต้องใช้กล้องส่องไม่รู้ว่าเขาทำอะไรกันก็สงสัยไว้ก่อน เพียงแต่ว่าบางครั้งเราก็ต้องไว้วางใจเจ้าหน้าที่ของรัฐเหมือนกัน ไม่งั้นเราก็ปวดหัวเองแหละครับ เพราะเข้าไปใกล้ ๆ ก็เข้าไม่ได้ มีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบก็ไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ มันจะยุ่งนะครับ

    ส่วนข้อมูลนั้น ผมให้ไม่ได้นะครับเพราะไม่มี (พูดเล่นครับ) แต่อยากจะบอกว่าข้อมูลบางเรื่องนั้น ผมว่ากระทรวงพลังงานก็ขอบริษัทไม่ได้หรอกครับ เพราะมันเป็นความลับทางธุรกิจของเขาซึ่งเขาต้องใช้สำหรับแข่งขันกันระหว่างธุรกิจ ถ้าเขาให้เรามาเขาก็กลัวคู่แข่งจะรู้ตื้นลึกหนาบางของเขา มันเหมือนกันทุกธุรกิจครับไม่ใช่เฉพาะธุรกิจพลังงาน เพราะฉะนั้น เรื่องข้อมูลนี่ ผมว่าภาคประชาชนคงได้แค่เท่าที่กระทรวงพลังงานเขามีอยู่เท่านั้นแหละครับ
     
  46. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    กลุ่มทวงคืนพลังงาน เป็นพวกชอบมโน มั่วข้อมูล พอโดนจับได้ว่ามั่วถ้าไม่แถต่อก็ทำเงียบ แล้วก็มาส่งสัยเรื่องใหม่ๆต่อไป

    คุณchackrapbong ให้ลิงค์คุณณรงค์มา แล้วบอกให้ผมอ่านเกินสามบรรทัด ผมสงสัยว่า คุณเคยตั้งคำถามกับสิ่งที่ตัวเองอ่านหรือเปล่า

    saudi-arabia-oil.jpg
    Saudi-Arabia-could-be-running-short-on-oil.jpg
    OilSaudi_1506204c.jpg
     
    HiddenMan, Apichai, NISH และอีก 3 คน ถูกใจ
  47. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    เดิมทีตั้งใจว่า จะอ่านอย่างเดียว บังเอิญ ถูกพาดพิง
    ต้องขอคั่นรายการชี้แจงสัก ห้านาทีต่อความเห็นนี้

    "กลุ่มทวงคืนพลังงาน เป็นพวกชอบมโน มั่วข้อมูล พอโดนจับได้ว่ามั่วถ้าไม่แถต่อก็ทำเงียบ แล้วก็มาส่งสัยเรื่องใหม่ๆต่อไป
    คุณchackrapbong ให้ลิงค์คุณณรงค์มา แล้วบอกให้ผมอ่านเกินสามบรรทัด ผมสงสัยว่า คุณเคยตั้งคำถามกับสิ่งที่ตัวเองอ่านหรือเปล่า"

    -เอาผมไปรวมกับกลุ่มทวงคืนพลังงาน

    ผมขอชี้แจงว่า ผมเป็นคนไทย ที่ไม่ได้ยืนอยู่ข้างใหน ทั้งฝ่ายคุณอภิสิทธิ์หรืออีกฝ่ายหนึ่ง
    ถ้าหากอ่านได้เกินสามบรรทัดและเกินสามเม้นท์ คงจะเห็นว่า ผมเรียกร้องให้มีการเปิดเผย
    ข้อมูลให้มากกว่านี้เท่าที่ทำได้
    -เมื่อผมเล่าสิ่งที่เพื่อนผมบอกในด้านข่าว ก็ถูกกล่าวหาว่า เชื่อข่าวลือ ความเห็นไม่เป็นวิทยาศาสตร์
    -เมื่อผมถามว่า ขอแสดงให้เห็นว่าข้อมูลใหนจริง ข้อมูลใหนเท็จ ก็บอกผมว่า ให้ไปถาม google

    ประเด็นมีแค่นี้ครับ

    และวันนี้ก็มาบอกอีกว่า ผมไม่สงสัยถึงสิ่งที่ผมให้ link มาหรือ
    และนี้ก็เป็นอีกบรรทัดที่แสดงให้เห็นว่า อ่านไม่ครบถ้วนจริงจริง
    เพราะ link นี้ผมบอกว่า มาฟังอีกความเห็นหนึ่ง
    ใช่หรือไม่
    ส่วนที่ผมจะสงสัย หรือ ไม่สงสัย ต้องขอพูดอย่างหยาบหยาบเลยครับว่าไม่เกี่ยวกับใคร และไม่มีสิทธิที่จะมาห้ามผม
    ไม่ให้สงสัย

    หากกระทู้นี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่มีจริง
    ก็คงจะไม่มีคำถามลักษณะนี้เกิดขึ้น

    เดิมทีท่านนายก ก็จะไม่ฟังใครอีกแล้ว ลุยเปิดสัมปทานรอบใหม่เลย
    นาทีสุดท้าย ก็เปิดเวทีนี้ขึ้นมา ผมคิดว่า น่าจะมีเหตุผลที่ต้องเปิดฟัง
    ความเห็นอีกสักรอบตามที่รัฐบาลจัดขึ้น และในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็จะได้
    ข้อสรุป ก่อนวันที่ 16 นี้

    ขอเสียเวลาเท่านี้ครับ

     
    kokkai, Gop และ joonkung ถูกใจ
  48. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    มาไม่ทัน
     
  49. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ออกตัวก่อนนะครับ ที่ผมจะบอกนี่มันเป็นความเห็นเชิงจิตวิทยา
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    คนทั่วไปจะมีความประทับใจ ต่อสิ่งเร้าภายนอกในทางดีหรือร้าย(ภาพลักษณ์)
    มักจะตัดสินเอาจากที่เจอกันครั้งแรก หรือได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นครั้งแรก
    ***ทักษิณและปตท. ตอนแรกๆผมก็ไม่ค่อยจะสนใจนัก จนมีข่าวออกมาครึกโครม ผมจึงสนใจจริงจัง
    ---ทักษิณตอนซุกหุ้น แล้วศาลดันตัดสินหักดิบกฎหมาย จากผิดกลายเป็นไม่ผิด เจ้าตัวเองก็หน้าด้านพอที่จะทำเฉย
    ---ปตท.ประกาศวันขายหุ้นครึกโครม แต่พอถึงวันขายจริงประชาชนทั่วไป กลับไม่มีโอกาสได้ซื้อแม้แต่หุ้นเดียว
    ภาพลักษณ์ที่น่าเคลือบแคลงใจ เชื่อถือไม่ได้ จึงประทับอยู่ในใจผมมาตลอด
     
  50. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    คุณอภิสิทธิ์ตั้งคำถามถึงท่านนายกฯ 5 ข้อ
    1 เรามีเหตุผลอะไรที่จะไม่แก้ ก.ม.ปิโตรเลียมเพื่อเพิ่มสิทธิให้ประชาชนและชุมชน??
    2 เรามีเหตุผลอะไรที่จะไม่แก้ ก.ม.ให้รัฐบาลมีทางเลือกมากกว่าเดิม??
    3 เรามีเหตุผลอะไรที่จะไม่แก้ ก.ม.ให้เอกชนแข่งขันกันมากกว่าเดิม??
    4 เรามีเหตุผลอะไรที่จะไม่แก้ ก.ม.เพื่ออุดช่องโหว่ของกติกาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน??
    5 เรามีเหตุผลอะไรที่จะไม่แก้ไขก.ม. เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลได้โปร่งใส ชัดเจน??

    วันนี้ดูเหมือนจะเริ่มได้ข้อสรุปบางประเด็นแล้ว จาก การแถลงของ มล ปนัดดา 3 ข้อคือ
    1.สองฝ่ายเห็นตรงกันว่า การบริหารจัดการพลังงานต้องเป็นไปตามนโยบายด้านความมั่นคง
    ด้วยประสิทธิภาพ และความเป็นธรรม
    2.สองฝ่ายเห็นตรงกันว่า ต้องทบทวนปรับปรุง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพื่อให้รัฐบาลมีทางเลือกมากกว่าการเปิดสัมปทานมากขึ้น
    3.ตั้ง คณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อหาข้อสรุป ทั้งนโยบายการเปิดสัมปทาน การแก้ไขกฎหมายจากนั้นจะนำเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนวันที่ 16 มีนาคม

    “ระบบสัมปทาน” ที่ใช้มา44ปีจากสัมปทาน 20 รอบ ทำให้คนไทยใช้น้ำมันและก๊าซแพงเท่าราคาตลาดโลก ทั้งที่เป็นน้ำมันดิบและก๊าซในอ่าวไทย ขณะที่ มาเลเซีย ใช้ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” คนมาเลเซียได้ใช้น้ำมันและก๊าซถูกกว่าไทยมากมาย ทั้งที่ขุดมาจากอ่าวไทยเหมือนกัน."

    เป็นการตั้งข้อสังเกตและความเห็นท้ายสุดและสุดท้ายจริงจริง (เพราะคนที่พาดพิงผมไม่มาตอบ)
    แล้วไปรอผล วันที่ 16 มีนาคม
    ผมอาจไม่ได้แสดงรายละเอียดทางเทคนิค เพราะไม่ได้จบวิศวะมาทางด้านปิโตรเคมี
    และไม่ได้อาศัย google มาเป็นมาตรฐานเพราะ google ไม่ใช่พ่อผมเหมือนที่ UN ไม่ใช่พ่อทักษิณ

    แต่ก็ใช้สามัญสำนึกพื้นฐานแสดงความหวังดีและห่วงใย ต่ออนาคตประเทศชาติ โดยการติเพื่อก่อเท่านั้น

    ในที่สุดแล้วท่านนายก ต้อง “กล้าตัดสินใจ” ไม่ต้องไป “ทำโพล”
    เพราะเรื่องน้ำมันและก๊าซ ผลประโยชน์มหาศาล และ ลึก เกินกว่าที่ประชาชนจะเข้าใจ
     
    bookmarks likes this.

Share This Page