นอกจากนี้สมาชิก สนช.ยังเชื่อว่าการเก็บภาษีการรับมรดกไม่ได้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้จริงอย่างที่รัฐบาลต้องการ แต่ในที่สุดก็มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.... ด้วยคะแนน 160 ต่อ 16 เสียง งดออกเสียง 10 ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ..... ที่ประชุมมีมติรับหลักการด้วยคะแนน 172 ต่อ 8 งดออกเสียง 7 พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ 25 คน มาพิจารณาร่าง พ.รบ.ทั้งสองฉบับดังกล่าวภายใน 90 วัน อย่างไรก็ดี ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะต้องออกมาบังคับใช้แน่นอน โดยตั้งเป้าให้มีผลบังคับใช้ในราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ เพียงแต่ว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดจากร่างที่รัฐบาลจัดทำมาบ้าง เพราะหากจะตีตกไปเลยจะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมา http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000000229 ............................................................................................. รอดูครับ น่าจะใกล้แล้ว
วันก่อนเห็นว่าภาษีมรดกมาแล้ว ไม่ทราบว่าภาษีที่ดินเป็นไงแล้วครับ (หรือว่ามาแล้วจำไม่ได้) แต่เห็นที่น่าห่วงอันนึงคือเรื่องเช่าที่ดิน99ปี ยังไม่ค่อยเห็นรายละเอียด ยังไม่รู้จะวิจารณ์อะไรครับ ทักไว้ก่อน
เริ่มใช้แล้วนะครับ กรุงเทพฯ 31 ม.ค. – วันพรุ่งนี้จะเริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 หลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เป็นเวลา 180 วัน ตามที่กฏหมายกำหนด ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า ใครคือผู้ที่ต้องเสียภาษี แน่นอนต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย บุคคลธรรมดาผู้ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ภายในราชจักรตามกฏหมาย และบุคคลไม่มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินอยู่ภายในประเทศไทย คราวนี้เรามาดูกันว่า บุคคลที่ได้รับการยกเว้นภาษี มีใครบ้าง เป็นผู้ที่รับมรดกจากเจ้าของมรดกที่เสียชีวิตก่อนวันที่กฏหมายใช้บังคับ คือ เสียชีวิตก่อนวันพรุ่งนี้ คู่สมรสของเจ้าของมรดก บุคคลที่ได้รับมรดกที่เจ้าของมรดก หน่วยงานของรัฐ หรือนิติบุคคล แสดงเจตนาหรือประสงค์ ให้ใช้มรดกเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา การศึกษา และเป็นบุคคลหรือองค์กรระหว่างประเทศ ตามข้อผูกพันธ์ที่มีต่อองค์กรสหประชาชาติหรือกฏหมายระหว่างประเทศ ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี คือ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เงินฝาก หรือเงินอื่นใดซึ่งเจ้าของมรดกเรียกถอนคืนจากสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่รับเงินไว้ ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน และทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา คำถามสำคัญ คือ มรดกจำนวนมากน้อยขนาดไหนจึงต้องเสียภาษี คำตอบคือมรดกส่วน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าที่เกิน เช่น ได้รับมรดก 110 ล้านบาท ส่วนที่เกินคือ 10 ล้านบาท ต้องนำมาคิดภาษี แต่หากผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดาน ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 จากนั้นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับมรดก โดยยื่นและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ส่วนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ทำหน้าที่แทน ผู้ที่ได้รับมรดกสามารถผ่อนชำระภายในไม่เกิน 5 ปี กรณีไม่ยื่นแบบภายในเวลากำหนด เจ้าพนักงานจะประเมินภาษีภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การขอคืนภาษี ผู้ยื่นคำร้องสามารถขอคืนภาษีได้ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ชำระภาษีทั้งหมด โดยจะได้เงินภาษีคืนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันตรวจสอบแล้วเสร็จ แต่ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยคืนได้ หากผู้มีหน้าที่เสียภาษี ไม่เห็นด้วยกับผลประเมิน มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งประเมินภาษี หากไม่ยื่นแบบโดยไม่มีเหตุผลอันควร ต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากปิดบังซ่อนเร้นภาษีจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หากจงใจยื่นข้อความเท็จ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ. –สำนักข่าวไทย
สารภาพมาซะดีๆ ว่าใครมีชื่อในข่าวนี้บ้าง ผู้บริหารตระกูลดังพร้อมใจรายงานการโอนหุ้นก่อนภาษีมรดก เริ่มมีผลบังคับใช้วันนี้ ส่วนใหญ่เน้นทำรายการโอนให้ "บุตร-เครือญาติ" ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 กฎหมายภาษีมรดกจะมีผลบังคับใช้ส่งผลให้ผู้มีทรัพย์สินเกินกว่า 100 ล้านจะต้องเสียภาษีส่วนเกิน 5% ทำให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากได้ทยอยแจ้งการโอนหุ้นที่ถือครองให้กับทายาทเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีดังกล่าว โดยวันนี้สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานว่า นายวิชัย ทองแตง ได้โอนหุ้นบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ 2.74% ให้กับลูก คือ นายอัฐ ทองแตง นายอิทธิ ทองแตง และนางสาววิอร ทองแตง และนายอติคุณ ทองแตง ภายหลังการโอนเหลือถือ 2.65% นายวิชัย ยังได้โอนหุ้นบริษัท บลิส-เทล จำนวน 8.145% ให้กับบุตร คือ นายอิทธิ ทองแตง และนางสาววิอร ทองแตง และนายอติคุณ ทองแตง ภายหลังการดำเนินธุรกรรมดังกล่าวไม่เหลือการถือครองหุ้นบลิสเทล พร้อมกันนี้ นายวิชัยยังได้โอนหุ้น บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น 7.23% และโอนหุ้น บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่งทั้งหมดที่ถือ 7.23% และ 11.28% ตามลำดับ ให้กับลูก นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ได้โอนหุ้นบริษัท การบินกรุงเทพ 16.19% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ภายหลังการจำหน่ายคิดเป็น 7.84% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ โดยเป็นการโอนออกให้ลูก คือนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ จำนวนหลักทรัพย์ 9.05% และนางสาว ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ 4.76% ภายหลังการโอน จะถือสัดสัดส่วน 24.94%และ 15.79% ตามลำดับ นายยืนยง โอภากุล โอนหุ้นบริษัท คาราบาวกรุ๊ป 4.5% ให้ลูก นางสาวณิชา โอภากุล นางสาวนัชชา โอภากุล นายวรมัน โอภากุล นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ได้โอนหุ้น บริษัท เมืองไทยประกันภัย รวมจำนวน 1.2 ล้านหุ้น ให้กับลูก คือ นางนวลพรรณ ล่ำซำ 4 แสนหุ้น นางวรวรรณพร พรประภา และนายสาระ ล่ำซำ จำนวน 8.4 แสนหุ้น นางนุชนารถ รัตนสุวรรณชาติ ได้โอนโหุ้น บริษัทบางกอก เดค-คอน 16.07% ให้กับลูก คือนางสาวณัฐนันท์ ประสงค์ชัยกุล ภายหลังการดำเนินการดังกล่าว นางนุชนารถ เหลือการถือหุ้นบางกอกเดค-คอน 27.89% และนางสาวณัฐนันท์ เหลือถือหุ้น 22.77% นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ได้โอนหุ้นบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น ให้กับภรรยา คือนางศิริธร แบแลเว็ลด์ และลูก คือ น.ส.ภัทรี แบแลเว็ลด์ รวมจำนวน 1.5 พันล้านหุ้น