หากผมเป็นผู้สมัครและต้องการนำเสนอนโยบายสู่ประชาชน ผมจะต้อง - ซื้อสื่อ ซื้อโฆษณา จ้างคนประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนรู้จัก และสนใจมาฟังนโยบายของผม จัดวันตั้งเวที ปราศรัยนโยบาย ทั้งหมดใช้เงิน 1 ล้านบาท - แต่ถ้าหาก ผมให้เงินกับผู้ที่สนใจให้มาฟังนโยบายผม เป็นค่าเดินทาง ค่าเสียเวลา ทั้งหมดใช้เงิน 1 ล้านบาท แบบไหนจะได้ผลดีกว่ากันครับ
คุณกำลังจะบอกว่า การซื้อเสียง = การซื้อโฆษณา = ถูกต้อง ? ถ้าถูกกฎหมายก็ทำเลยครับผมถือเป็นการกระจายรายได้
คนไทยโดยส่วนใหญ่เค้าสำนึกเรื่องบุญคุณ พวกซื้อเสียงเค้าก็ทำกันอย่างนั้นบางทีเลี้ยงข้าวมื้อเดียวทวงบุญคุณไปทั้งชาติ ข้ามเรื่องนี้ไปเรื่องเลือกตั้ง การเลือกตั้งต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมถ้าจะแจกตังส์คนมาฟังนโยบายต้องไม่เลือกคน ต้องไม่ห้าม ต้องไม่อั้น ผมจะไปมันทุกเวที ดูสิจะถูกใจใคร ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเลือกปฏิบัติ ยุบพรรคไปเลย
อีกอย่างที่สงสัย ผู้สมัครใช้เงินซื้อเสียง 1 ล้านบาท กับผู้สมัครใช้เงินซื้อสื่อ,ประชาสัมพันธ์ 5 ล้าน ใครจะมีแน้วโน้มเข้าไปโกงมากกว่ากัน
ให้เป็นข้อมูลเบื้องต้นครับ ครั้งหนึ่งมีผู้ชายคนหนึ่งเคยทำแบบนี้และประสบความสำเร็จ หลักการแจกเงินแบบนี้ แม้วเคยใช้ในการหาเสียงมาช้านาน ตั้งแต่สมัยไทยรักไทย ไม่ว่าแจกเงินให้กับผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย หัวละ 500 บาท เรื่องนี้เป็นที่ฮือฮา การจ่ายให้มวลชนในการร่วมกิจกรรมของพรรค ทำให้ระยะยาว ความเป็นประชานิยมกลับไม่สร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชน ปัญหาคือ การเมืองที่พึงประสงค์คืออะไรกัน
โกงหรือไม่โกงอยู่ที่สันดานครับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใช้เงินหาเสียงเท่าไร อย่างไร พื้นฐานรวยอยู่แล้ว หรือยังไม่รวย แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยการซื้อเสียงก็แสดงว่ามีสันดานขี้โกงแล้ว
ซื้อเสียง 1 ล้านบาท มีแนวโน้มโกงมากกว่า เพราะว่าโกงตั้งแต่แรก แปลว่าเป็นผู้สมัครที่ไม่มีศีลธรรม การโกง ไม่โกง โกงมาก หรือโกงน้อย ไม่เกี่ยวกับจำนวนเงิน หรือโอกาส แต่เป็นเรื่องศีลธรรมล้วนๆ อนึ่ง ศีลธรรม แปลความหมายจากภาษาอังกฤษจากคำว่า Moral จะแแปลว่าคุณธรรม ความชอบธรรมก็ได้ ซึ่งมีความหายกว้างกว่า ศีลธรรมตามแบบที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจกัน
สมมุติเราจะใช้เงิน 1 ล้านเพื่อหาภรรยา 1 คน ระหว่าง ใช้ 1 ล้านซื้อสื่อเพื่อหาภรรยา กับให้เงิน 1 ล้านสำหรับคนที่ยอมเป็นภรรยา แบบไหนจะมีโอกาศเจอคนรักจริงมากกว่ากันล่ะครับ ในทางการเมืองนักการเมืองไทยคิดเป็นแค่การใช้เงินฟาดหัวหรือครับ
การซื้อเสียงเป็นการโกง เพราะว่ากฏหมายห้ามใช่หรือไม่ครับ ถ้าใช่แปลว่า หากกฏหมายไม่ห้าม ให้คนเลือกวิเคราะห์เอง ก็ไม่ใช่การโกงหรือเปล่าครับ
แปลว่าคนที่เลือก สส.ที่ซื้อเสียง มีโอกาศที่ไม่ได้รัก สส.คนนั้นจริง คนที่เลือก สส. ไม่ซื้อเสียง แปลว่ารัก สส.คนนั้นจริง (ความสามารถ บุคลิก นโยบาย อื่นๆ)
อ่านดูแล้ว คิดว่าบอกไม่ได้ครับว่า แนวโน้มใครโกงมากกว่ากัน เหมือนวิธีนึงโกงแบบตรงๆ อีกวิธีอาจโกงเชิงนโยบาย
ในทางการเมืองไม่ต้องรักกันหลอกครับ แต่หมายถึง "ไม่มีส่วนร่วม" ซื้อขายกันเสร็จก็จบ สส จะไปทำระยำตำบอนอะไรก็ไม่รู้ไม่สน เลือกตั้งรอบใหม่ซื้ออีกก็เลือกอีก
แต่ผมไม่ได้ให้เงินเพื่อให้เขาเลือก แค่ให้เขามาฟัง จะเลือกไม่เลือกเรื่องของเขา ให้ศาลตัดสิน ก็ซื้อเสียงครับ ในจุดๆนี้
ให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนเป็นนโยบายประชานิยม ก็เหมือนกัน เพราะคนเลือก เลือกเพราะตนเองได้ประโยชน์ "ถ้าอันหลังไม่โกง อันแรกผมก็ว่าไม่โกง" ปล. แต่ผมเกลียดการซื้อเสียงครับ เป็นการดูถูกคน ใครเอาเงินมา ประชานิยมมา ผมไม่เลือกครับ
คือถ้าเราเลือกเขามาเราต้องดูว่าเขาจะทำอะไรให้เราบ้าง ถึงจะเลือก เรื่องนั้นมันเปรียบเทียบไม่ได้หรอกครับ กฎหมายเลือกตั้งกล่าวถึงเรื่องสัญญาว่าจะให้ด้วย
คุณบอกคุณไม่ได้หาเสียง แต่บอกว่าแค่ให้คนมาฟังนโยบาย มันต่างกันตรงไหน เปลี่ยนแค่คำพูดเท่านั้น ต่อให้คุณไม่ได้ลงเลือกตั้ง แล้วคุณพูดให้คนเขาไปลงคะแนนให้คนใดคนหนึ่ง นั่นเขาก็เรียกหาเสียงนะ แต่ถ้าคุณใช้เงินผิดตามกฎหมาย กกต. ข้อใดข้อหนึ่ง (อย่างเช่นข้อที่คุณยกตัวอย่างมานั่นแหละ) เขาก็เรียกว่า ซื้อเสียง ครับ
เป็นค่าเสียเวลา ค่ารถ เหมือนซื้อสินค้าหรือบริการจากคนหรือเปล่าครับ เหมือนผมจ้างนักประชาสัมพันธ์ ถ้าคนที่ผมจ้างเลือกผม แปลว่าผมซื้อเสียงหรือเปล่า
นั่นคือเรื่องการจ้างงาน เป็นการจ้างทำงานไม่ใช่ให้เงินเปล่าๆครับ แยกให้ออกด้วย ถ้าคนที่จ้างเลือกคุณก็เรื่องขแงเขา เพราะเงินที่ให้ไม่ใช่สำหรับจูงใจ คุณช่วยเอาพิพากษามาให้อ่านหน่อยครับ
มาตรา 44 ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่นหรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการดังนี้ (2) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
อันนั้นเป็นการจ้างงาน จ้างทำของ แบบที่ท่าน JSN ว่าไว้แหละครับส่วนคนทำป้ายถ้าเขาจะเลือกคุณ คุณก็ไม่ผิดครับ แต่อย่าลืมว่า กกต. เขาก็กำหนดวงเงินการโฆษณาหาเสียงไว้ด้วยเช่นกัน
คุณพูดว่า ให้เงินแค่มาฟังไม่ใช่มาเลือก เลยเลยถามคุณแล้วมันพิสูจน์ได้ยังไงว่าให้เงินเพื่อมาฟังและ คุณพิสูจน์ยังไงว่าคนที่มาฟังไม่ได้ถูกจูงใจ
ข้อพิสูจน์ละครับ อีกอย่างการจ้างมาฟังมันสร้างแรงจูงใจให้เลือกตนนะครับ เพราะถ้าอีกพรรคไม่จ้างแล้วไม่มีคนฟัง มันยุติธรรมกับคู่แข่งมั้ยครับ
ผู้สมัครจนๆทำแต่ใบปลิวชวนให้คนมาฟัง อีกคนสมัครที่เงินเยอะกว่าโฆษณาทางโทรทัศน์+จ้างทำสื่อโฆษณาที่น่าสนใจ+อีเว้นสถานที่น่าสนใจดึงดูด มันก็ไม่ยุติธรรมเหมือนกันครับ
ก็มีปัญหาต่อว่า การจ่ายมาฟังไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้เลือกตน การนำเสนอนโยบายประชาชนก็ได้เห็นอยู่ตามป้ายหาเสียง ถ้าใครสนใจเขาไปฟังเองครับ ไม่ต้องไปจ้างครับ
แต่มันไม่เท่ากับจ้างคนมาฟังครับ ผู้สมัครถ้าจนเขาไม่มาเล่นการเมืองหรอกครับ เขาต้องมีค่าสมัครไม่ใช่คิดจะสมัครก็สมัครครับ
นั่นคือคุณสรุปแล้วว่า จ้างคนมาฟังเท่ากับซื้อเสียง จริงๆก็อาจจะซื้อเสียงนั่นแหละครับ แต่ผมชอบตั้งคำถามถึงสิ่งที่มีอยู่ เพื่อจะได้เข้าใจ จะได้ไม่เป็นเหมือนนิทานลิง5ตัว
ไม่อยากจะวนนะครับ แต่ผมแย้งว่า จ้างคนมาฟัง ไม่เท่ากับซื้อเสียง ผมให้เงินให้มาฟัง ไม่ได้บอกว่าให้เลือกผม
กฎหมายถึงให้ทำการโฆษณา นโยบายไงครับ ให้ประชาชนเห็น ใจเย็นๆ แล้วลองคิดตามนะครับ.... ถ้ามีผู้สมัคร 2 คน คนที่ 1 ได้งบหาเสียงมา 1 ล้านบาท แล้วเอามาใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนมาฟัง รายละเอียดนโยบายของเขา คนที่ 2 ได้งบหาเสียงมา 1 ล้านบาท แล้วไม่ทำโฆษณาแต่ไปไล่แจกชาวบ้านให้มาฟังนโยบาย (คือคนมาฟังยังไม่รู้นโยบายคราวๆเลย) คุณคิดว่าผู้สมัครคนไหน เข้าใจ "ประชาธิปไตย" มากกว่ากันครับ ? .... ปล. ผมอยากให้ลบนิทานพื้นบ้าน เรื่อง ศรีธนณชัย ออกไปจากประวัติศาสตร์ชาติไทย เสียจิ้งจริ่งงงงงงง
นอกจากทุนทรัพย์ ที่ จขกท. ตั้งเป็นเงื่อนไข 1 ล้านบาท (ค่าใบปลิว ค่าคนเดินแจกใบปลิว ค่าไฟ ค่าเครื่องเสียง ค่าสถานที่ก็จะไม่พอแล้ว)... ผู้สมัครจะต้องมี อีกอย่างน้อย 3ตัว คือ 1. มีต้นทุนทางสังคม ติดตัวมาก่อนที่จะสมัคร ถึงจะสร้างแรงดึงดูด ให้ประชาชนมาสนใจนโยบายของเรา ครับ เช่น เคยออกสื่อมาก่อน จะเป็นดารา เป็นนักร้อง เป็นพิธีกร เป็นนักกีฬา เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นข้าราชการที่เคยมีผลงาน เป็นคนที่มีประชาชนรู้จักอยู่บ้าง พอสมควร เป็นคนที่มีคนดังๆ มาสนับสนุน เป็นญาติพี่น้อง ลูกหลานนักการเมือง ที่มีฐานเสียงเดิม ..... นั้นเป็นต้นทุนทางสังคม 2. มีนโยบายที่ดีจริงๆ จับต้องได้ ฟังปุ๊บ ประชาชน เข้าใจปั๊บ มีสโลแกนหาเสียง ที่น่าสนใจ โดนใจ ชวนให้มาฟัง นโยบายฉบับเต็มๆ ในการหาเสียง .... นั้นเป็นตัวโปรดักซ์ 3. มีความเป็นไปได้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ขัดต่อหลักศีลธรรม สามารถ ทำได้เลยในทันทีที่ได้รับเลือก ... นั้นเป็น สิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นจริง ทำได้จริง เมื่อมีความชัดเจนในนโยบายของผู้สมัครแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนเริ่มรู้จักผู้สมัครในเรื่องการพัฒนาการศึกษา ต่อไปก็มุ่งหน้า ให้ความคิดเห็น ต่อข่าวสารบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่นเวลาที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาออกข่าวเรื่องรถโรงเรียน เราก็ต้องหาทาง แสดงความคิดเห็นให้ดีกว่า จะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ก็แล้วแต่ ต้องโหนกระแส ให้ตลอด พยายามออกทุกสื่อให้ประชาชน จำได้ (ยกตัวอย่าง นาย โสภณ นักวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์, สุหฤท นักจัดรายการวิทยุ ฯลฯ ) ถ้ากระแสดี หมดไปแล้ว 1 ล้าน แต่จะมีนายทุนมาหาและมอบให้อีกหลายล้านเลยนะ อิอิอิ