คนแห่ซื้อ ‘ทูน่า’ น้ำลึก หลงทะเล! ตกได้เพียบทุกวันที่ชุมพร ถือเป็นเรื่องแปลกที่มี ‘ปลาทูน่า’ น้ำลึก เข้ามาที่ชายฝั่งจำนวนมากจนชาวประมงต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ตกได้ทุกวันส่งขายให้แม่ค้าที่ตลาด กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว และผู้นิยมบริโภคเนื้อปลามาหาซื้อ เป็นตลาดแห่งเดียวที่มีขาย... เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณตลาดสดสะพลี เขตเทศบาลตำบลสะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่งเป็นตลาดสดชุมชนอยู่ริมถนนติดกับชายทะเลอ่าวสะพลี มีอาหารทะเลสดๆจำหน่ายทุกวัน กำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ชาวบ้าน รวมถึงผู้รักสุขภาพที่นิยมบริโภคเนื้อปลาทะเล ต่างเดินทางไปซื้อและสั่งจอง ‘ปลาทูน่า’ จากแม่ค้าไปทำอาหารกิน หลังจากมีข่าวว่า ชาวประมงชายฝั่งวางอวนและตกเบ็ด จับปลาทูน่าขึ้นมาส่งขายเกือบทุกวัน นายพิศิษฐ์ ลี้วิริยะไพฑูรย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร กล่าวว่า ที่ตลาดสดสะพลีแห่งนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะมีทั้งชาวบ้านในพื้นที่ ชาวบ้านจากต่างอำเภอ และนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัด เดินทางมาสั่งจองและซื้อปลาทูน่าหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปลาโอดำหรือปลาโอหม้อ เป็นปลาทะเลน้ำลึกตัวใหญ่หายาก จากแม่ค้าในตลาดสด หลังจากชาวประมงชายฝั่งออกไปวางอวนและใช้เบ็ดตกได้นำมาขาย ซึ่งพบว่ามีชุกชุมอยู่ในอ่าวสะพลีแถวเกาะง่ามเกาะจระเข้ ที่ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 10-15 กิโลเมตร มีน้ำหนักตัวละ 5-10 กิโลกรัมขึ้นไป "ปลาชนิดนี้ซื้อขายกันในท้องตลาดกิโลกรัมละ 80-100 บาท เนื่องจากเป็นปลาหายาก ชาวบ้านทั่วไปมักไม่เคยเห็น ไม่เคยได้บริโภค และถือว่าเป็นตลาดสดเพียงแห่งเดียวในจังหวัดชุมพรที่มีปลาทูน่าขายจนกลายเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว และชาวบ้านที่ต้องการจะมาดู และซื้อไปบริโภคกัน" ผู้ใหญ่บ้าน กล่าว.
ลองติดตามเฟสคุณบรรจง นะแส ดูเห็นว่า ประมงพื้นบ้านเริ่มดีขึ้นสามารถจับปลาหายากที่ขนาดใหญ่ขึ้นครับ บรรจง นะแส เมื่อก่อนนานน้านถึงจะโผล่หน้ามาให้ดูซักตัว เมื่อจัดการไล่อวนลากอวนรุนและเรือปั่นไฟออกไป หลังจากนั้นก็เริ่มโผล่มาทุกเดือน ตอนนี้โผล่มารายอาทิตย์และรายวันแล้ว.....อินทรีย์ทะเลท่าศาลาในวันนี้ ที่มา Nuch Anu Nuch Anu"รวมพลคนกินปลา" 11 ปีที่แล้วลงไปทำงานวิจัยที่อ่าวพังงา บันทึกเรื่องราวการต่อสู้ของชุมชนประมงพื้นบ้านรอบอ่าวพังงา กับการทำประมงทำลายล้าง ด้วยเครื่องมืออวนลาก และอวนรุน การต่อสู้ของพี่นองเริ่มขึ้น ถ้าจำไม่ผิดประมาณ ปี 2540 เรืออวนลากส่วนใหญ่มาจากอ่าวลึก จ. กระบี่และภูเก็ต ส่วนอวนรุนเป็นเรือของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ในอดีตขณะที่ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีการใช้อวนรุนกันอย่างกว้างขวางในอ่าวพังงา เมื่อประมาณปี 40 ทรัพยากรประมงอยู่ในภาวะวิกฤต ทำให้พี่น้องประมงชายฝั่งหลายชุมชนยอมกลืนเลือด เลิกอวนรุน เพราะรู้ว่า ทำกันอย่างนี้ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว จะตายกันหมดทั้งอ่าว จึงลุกขึ้นมาสู้เพื่อให้อวนลาก อวนรุนหมดไปจากอ่าว การต่อสู้ในตอนนั้นไม่ไดอยู่บนฐานวีาใครมีอาซญาบัตรถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง แต่อยู่บนฐานคิดที่ว่าเครื่องมือทำลายล้างต้องหมดไปถึงแม้จะถูกกฎหมายก็ตาม ในการต่อสู้ พี่น้องรวมเป็นเครือข่าย ระดมทุน ออกตรวจจับร่วมกับองค์กรระดับท้องถิ่น กดดันภาครัฐเพื่อประกาศเขตห้ามทำประมงอวนลากอวนรุน เสียเวลา เงินทอง และเสียชีวิต ในที่สุดก็ได้ชัยชนะด้วยมาตรการการบังคับใช้กฏหมายที่เข้มแข็ง เผาเรืออวนรุนหน้าศาลากลางจังหวัดกระบี่ไปหลายลำ ไม่ง่ายเลย แต่พี่น้องทำได้ ที่กล่าวมาทั้งหมดก็แค่จะบอกว่า อวนรุนในอ่าวพังงาที่ยกเลิกไปทั้งหมดไม่เคยได้รับค่าชดเชยสักบาทเดียวจากรัฐ ไม่มีการออกมาเรียกร้อง ต่อรอง เพราะวันนั้น ในอ่าวพังงาไม่เฉพาะอวนรุนแต่อวนลากก็ถูกยกเลิกด้วยเหมือนกัน... เป็นเช่นนี้แล..... บรรจง นะแส กุ้งธรรมชาติฝั่งอันดามัน(สตูล) ถ้าเราดูแลทะเลให้ดีๆ อย่าให้มีเครื่องมือทำการประมงแบบทำลายล้าง คนไทยก็จะมีสิทธิ์กินกุ้งตัวขนาดนี้ได้ทุกคนแน่นอน
เป็นเครื่องยืนยันว่า การปฎิบัติตามกรอบกฎหมายอย่างเคร่งครัด เราสามารถเฉลี่ยการใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ การฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นการเบียดบังทรัพยากรของส่วนรวมให้ตกไปอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น สมควรได้รับการประณามไม่ใช่การชดเชย
นี่แหละสาระสำคัญที่ต้องส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ให้ตระหนักถึงความสำคัญและความเท่าเทียมที่ได้จากกฏหมาย ไม่ใช่อะไรก็สองมาตรฐาน ควรจะเหลือแต่ เมิงทำผิด โดนจับ ลงโทษตามกฏหมาย
นี่คือข้อดีที่ได้จากการจัดระเบียบเรือประมงจริงๆ ต้องพูดถึงและส่งต่อกันให้มากๆ ไม่ควรปล่อยให้พวกบิดเบือนเสียงดังมาเสี้ยมอีก