ผ่านตามา เหมือนว่า สมัยก่อน การแต่งตั้งพระสังฆราส เป็นสิทธิ์ของกษัตริย์ทั้ง 100% ที่จะทรงโปรดพิจารณา มาสมัยนี้ รัฐธรรมนูญฉบับไหนไม่ทราบ ให้อำนาจการคัดเลือกเป็นของฝ่ายการเมืองและ มส. ก่อนจะยื่นทูลเกล้าถวายเพื่อลงพระนาม คล้ายๆ การแต่งตั้งนายก ที่กษัตริย์ มีอำนาจเพียงลงพระนาม อันนี้ ไม่ทราบจริงเท็จแค่ไหน สำหรับความเห็นผม ผมมองว่า ถ้าเปรียบเทียบกัน พระสังฆราส น่าจะสูงสุดไม่ต่างกับกษัตริย์ของพระ ผู้ที่จะคัดเลือก หรือแต่งตั้งได้ ไม่ควรเป็นนักการเมือง เพราะเป็นความต่ำเกินกว่าจะมีอำนาจในการคัดเลือก หากแต่ควรให้อำนาจแก่ผู้ที่มีระดับชั้นเดียวกันหรือไกล้เคียง เช่น จากพระสังฆราสองค์ก่อน หรือกษัตริย์ หรืออย่างน้อย ก็เป็นระดับอาวุโสของยศพระ คล้ายกับการเป็น ผบสส หรือ ผบตร แต่มีข้อยกเว้น หากพระในระดับพึงจะเป็นมีความด่างพร้อยก็ว่ากันไป สุดท้าย ก็จำเป็นต้องผ่านพระราชอำนาจในการลงพระนาม ไม่ควรมีฝ่ายการเมืองสกปรกเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทีนี้ ว่าถึงเรื่องการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อันนี้ ผมไม่เคยเห็นด้วยเลย เพราะคิดว่า มันน่าจะเป็นการสร้างความแตกแยกเสียมากกว่า เราไม่เคยกีดกันศาสนาอะไรใดๆ มาแต่ไหนแต่ไร ถ้าย้อนไปดูเป็นร้อยๆ ปีก่อน เราก็มีมิสชันนารีเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในบ้านเรา ได้ดำรงตำแหน่ง ยศ เหมือนเช่นคนพุทธมาก็มาก แม้จะเป็นต่างชาติด้วยซ้ำ เพียงแต่ ศาสนาพุทธ มีข้อบัญญัติที่ถูกกับวิถีของชาวไทยเราอยู่แล้ว และเป็นศาสนาดั้งเดิม ไม่มีศาสนาใด มีปัญญาทำลายล้างพุทธออกไปจากไทยได้หรอกครับ และเชื่อว่า ไม่มีศาสนาอื่นใด คิดทำลายพุทธออกไปจากไทยด้วย อาจจะยกเว้นพื้นที่ 3 จชต ที่มีบ้าง เพราะเขาต้องการแบ่งแยกดินแดน สิ่งที่จะทำลายพุทธศาสนา คือชาวพุทธเรานี่แหละ ดังที่เราเห็นกันอยู่ เกิดมาพึ่งเคยเห็นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าทิ้งตำแหน่งกษัตริย์ที่สุขสบายเพื่อออกไปหาทางหลุดพ้น ขณะที่ตัวเต็งระดับจะไปเป็นสังฆราสในเมืองไทย กลับสะสมรถหรู ใช้ชีวิตแบบหรูหรา มีม็อบพระมาเชียร์ดันตูดขึ้น ใช่วิถีที่พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนมาอย่างนั้นหรือ เป็นทางหลุดพ้นของพระแก่อย่างสมเด็จช่วงอย่างนั้นหรือ
ที่ให้ฝ่ายการเมือง โดยความเห็นชอบของ มส. เสนอชื่อพระสังฆราช มาจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ครับ
ถ้างั้นสังฆราชองค์ที่กำลังจะมีก็เป็นองค์แรกของแบบใหม่สิเพราะจาก wiki ถ้างั้นแบบเก่าเค้าเขียนว่าไง หรือไม่มี??? อย่างนี้ถ้าลุงตู่จะใช้ ม.44 ยกเลิกบางส่วนของ พรบ แล้วกลับไปใช้แบบเดิมก็ไม่น่าเกลียดน่ะ เพราะยังไม่มีใครได้เป็นตาม พรบ นี้เลย
ใช่แล้วครับ ของปี 2505 ก่อนการแก้ไขhttps://sites.google.com/site/nongw...h-thiy/phra-rach-bayyati-khna-sngkh-ph-s-2505
ใช่ครับ พระสังฆราชพระองค์ใหม่จะเป็นพระองค์แรกที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายฉบับปัจจุบันที่แก้ไขเมื่อปี 2535 แต่สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว การเมืองเลือกข้าง ลามไปถึงพระ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้ความรู้และความเห็น คุณ โทนี่ ยังคมเหมือนเดิม หลายๆคนก็เช่นกัน ชอบสังคมแบบนี้ครับ จริงๆแล้ว ณ เวลานี้ ทุกอย่างยังคงต้องผ่าน กษัตริย์อยู่ แต่ถ้าเป็นศาสนาประจำชาติ มันจะเกี่ยวข้องกับคนเยอะขึ้น และสุดท้ายแล้ว กษัตริย์จะเป็นแค่เพียงตรายาง 100% เหมือนกับการร่างกฎหมายบางอย่าง ที่มีการระบุว่า ถ้าส่งพระองค์แล้วไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วตีกลับ พิจารณาใหม่ 3 ครั้ง ถ้ายังไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ก็ให้ประกาศใช้ได้เลย เวลานี้ มันคือ หมาเถนส่งชื่อให้นายก แค่นั้น แต่ต่อไป มันจะไม่ใช่แค่หมาเถน แต่มันจะเป็น รัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎรเลย
ผมอ่านเจอtimelineส่วนนึงจากนี่ครับ ไม่ทราบว่าเนื้อเรื่องและช่วงเวลาตรงจริงแค่ไหน http://tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=3463 ธรรมยุติกนิกายได้รับการก่อตั้งโดยรัชกาลที่ 4 เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ทำให้ธรรมยุติกนิกายได้รับอภิสิทธิ์เหนือกว่าพระในมหานิกาย ทั้งที่มีจำนวนน้อยกว่า ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการออก พ.ร.บ.การปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 .......... เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงมีพระหนุ่มหัวก้าวหน้าในยุคนั้นที่เรียกว่า คณะปฏิสังขรณ์ ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นประชาธิปไตย จึงเข้าไปหานายปรีดี พนมยงค์ ทำให้เกิด พ.ร.บ.สงฆ์ ที่เป็นประชาธิปไตยในปี 2484 จากเดิมที่เป็นระบบมหาเถระสมาคมที่รัชกาลที่ 5 ตั้งขึ้น เปลี่ยนเป็นระบบสังฆสภาที่เลียนแบบการปกครองของรัฐ แต่เมื่อถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ อีกครั้งในปี 2505 โดยรื้อฟื้นมหาเถระสมาคมขึ้นมา และมีการแก้ไขกฎหมายอีกครั้งในปี 2535 ---------- ข้อสังเกตที่ผมเห็นในfbช่วงนี้ มีความพยายามโยงเปรียบเทียบกรณีช่วงนี้กับกรณีของพระรูปหนึ่งในอดีต (ผมโตไม่ทันและไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้) ซึ่งตลอด2ปีมานี้ก็เห็นได้ชัดว่ามีการเปรียบเทียบพล.อ.ประยุทธ์กับจอมพลสฤษดิ์อยู่ตลอดเรื่อยๆ เป็นความพยายามเชื่อมโยงเพื่อหวังผลทางการเมืองทั้งในด้านอาณาจักรและศาสนจักรหรือไม่? ความขัดแย้ง(ที่มีคนพยายามจะโยงให้เป็น)ของนิกาย ก็เคยได้ยินวงสนทนาบ้านๆเรื่องจำนวนประชากรพระมานานแล้ว เรื่องความไม่เท่าเทียม(คงต้องมีสโลแกน'พระเท่ากัน'ละมั๊ง (งั้นสมณศักดิ์คงต้องเลิกล่ะ)) จนยุคนี้ถึงกับมีม็อบพระมาชุมนุมปฏิบัติทำ คงไม่ใช่แค่ปกป้องรถพระทำหรือหวังอำนาจเป็นช่วงๆแค่ไว้ช่วยอุ้มต้นทาสต้นทำ วันก่อนเฮีย'คกก็มาโพล่งสอดรับชงว่าให้พระโหวตแก้ปัญหาพระอีก ผมว่าเรื่องศาสนาประจำชาตินี้ข้อสังเกตของจขกท.วิเคราะห์ได้น่าสนใจครับ
ย้อนประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์ ทรงยับยั้งกฎหมาย ถือเป็น ประวัติศาสตร์สำคัญ อีกครั้ง ของสถาบันนิติบัญญัติไทย ที่พระมหากษัตริย์ ทรงใช้พระราชอำนาจ ยับยั้ง การออกกฎหมาย คือ ร่าง พ.ร.บ.เหรียญเฉลิมพระเกียรติ และ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา คืนให้แก่ รัฐสภา หลังจากที่ นายกรัฐมนตรี นำขึ้น ทูลเกล้าฯถวาย ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนหน้านี้ เคยมีเหตุการณ์ คล้ายๆ กัน เกิดขึ้นมาแล้ว 2 กรณี ในสมัย พระบาทสมเด็จ ประปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จากหนังสือ รัฐสภาไทยในรอบ 42 ปี (2475-2517) ของ "ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์" กล่าวถึง เรื่องนี้ไว้ โดยสรุปดังนี้ กรณีแรก ทรงยับยั้ง ร่าง พ.ร.บ. เมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม 2477 รัฐบาล ได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.อากรมรดก และ การรับมรดก สภาผู้แทนราษฎร ลงมติเห็นชอบ จึงนำขึ้น ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อ ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ ได้พระราชทาน ร่าง พ.ร.บ.นั้น คืนมาให้ สภาฯพิจารณาใหม่ โดย ทรงจะให้เพิ่ม บทบัญญัติ ยกเว้น การเก็บอากรมรดก จากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ให้ชัดแจ้งว่า ไม่ต้องเก็บ อากรมรดก มีพระราชประสงค์ จะให้เติมข้อความ ต่อไปนี้คือ "พระราชทรัพย์สินใดๆ ที่เป็น พระราชมรดก ไปยังผู้อื่น นอกจาก ผู้สืบราชสมบัติ ต้องเก็บ อากรมรดก นอกจากนั้น เป็นพระราชทรัพย์ ฝ่ายพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสีย อากรมรดก" คณะรัฐมนตรี ยืนยันว่า ตามร่าง พ.ร.บ.นี้ ทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสีย อากรมรดกอยู่แล้ว ที่ประชุมสภา ได้พิจารณา และ ลงมติ ด้วยคะแนนลับ ยืนยัน ตามร่างเดิม ด้วยคะแนนเสียง 132 ต่อ 89 นายกรัฐมนตรี จึงได้ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อ ทรงลงพระปรมาภิไธย อีกครั้งหนึ่ง ในการนี้ ได้ให้ ม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณ กราบบังคมทูล ถวายรายงานด้วยว่า ตามร่าง พ.ร.บ.นั้น ตรงกับ พระราชประสงค์แล้ว คือ จะไม่เรียกเก็บ อากร จากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และ รัฐบาล จะร่างกฎหมาย ยกเว้นอากรดังกล่าว ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในที่สุด ได้ทรงยอม ลงพระปรมาภิไธย กรณีที่สอง ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2477 รัฐบาล เสนอร่าง พ.ร.บ.ต่อ สภาฯ ซึ่ง มีหลักการอย่างเดียวกัน รวม 3 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา, ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญาทหาร สำหรับเนื้อหา ในการแก้ไข คือ เมื่อ มีการตัดสินประหารชีวิต ให้ใช้วิธีการประหาร ด้วยการยิง แทน การตัดหัว ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้แถลงเหตุผลว่า การประหารชีวิต โดยวิธีตัดศีรษะนั้น เป็นที่น่าสยดสยอง อย่างยิ่ง บางครั้ง เป็นการทรมาน อย่างน่าเวทนา เพชฌฆาตบางคน ไม่มีความชำนาญพอ มีการพลาดบ่อยๆ บางครั้ง มีเสียงโอดครวญน่าสงสาร เพราะ แทนที่จะฟันคอ ไปฟันถูก ศรีษะบ้าง หลังบ้าง การตระเตรียมประหาร ก็เป็นเรื่องใหญ่โต ซึ่ง เป็นการทรมานมากขึ้น จนนักโทษบางคน บ้าไป หรือ เกือบบ้าไป ขณะที่ ค่าใช้จ่าย ในการจ้างเพชฌฆาต และ การตระเตรียม ก็ใช้เงิน มิใช่น้อย ถ้า เปลี่ยนเป็น วิธียิงเสีย จะทุ่นค่าโสหุ้ยมาก นอกจากนั้น ยังบัญญัติไว้ว่า "ในการลงอาญาประหารชีวิต ให้เอาตัว ไปประหารชีวิต ณ ตำบล และ เวลา ที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการนั้น จะเห็นสมควร แต่ห้ามมิให้ เอาตัวไปประหารชีวิต ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่ วันคำพิพากษาถึงที่สุด" หลังจากที่ ร่างกฎหมาย ทั้ง 3 ฉบับ ผ่านสภาแล้ว ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย แต่ พระมหากษัตริย์ พระราชทานคืน ร่างกฎหมาย มาให้สภา พิจารณาใหม่ โดยกำหนด ให้แน่นอนว่า (1) ผู้ต้องคำพิพากษา ลงโทษให้ประหารชีวิตนั้น จะต้องให้ได้ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อ พระราชทานอภัยโทษ และ ยอมให้ ญาติ หรือ ผู้ต้องคำพิพากษานั้น ทูลเกล้าฯแทนได้ด้วย (2) ในระหว่างที่ ยังไม่ได้ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ให้รอ การประหารชีวิต (3) ต้องบัญญัติ ให้ชัดเจนว่า ฎีกานั้น จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่ละเลยชักช้า วันที่ 29 กันยายน สภาฯ ลงมติ ด้วยคะแนนลับ ยืนยัน ตามร่างเดิม จึงได้ทูลเกล้าฯถวายไป อีกครั้งหนึ่ง แต่ พระมหากษัตริย์ ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย คืนมา ภายในกำหนดเวลา ในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นอันให้ใช้บังคับ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับนี้เป็นกฎหมายได้ ....อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลปัจจุบัน ยังไม่เคยมี เหตุการณ์ที่ สำนักราชเลขาธิการส่ง ร่าง พ.ร.บ.ใด คืนรัฐสภา มาก่อน เพียงแต่ในช่วง รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ช่วงปี 2534-2535 สภา ได้ส่งร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ประมวลกฎหมายอาญา ส่งเข้าสำนักราชเลขาธิการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงลงพระปรมาภิไทย เช่นกัน แต่ ยังไม่ได้มีการส่งกลับคืน ก็มีการยุบรัฐบาลพอดี ทำให้เรื่องนี้เงียบหายไป
สรุปจะแถออกนอกเรื่องใช่ไหมครับ ไหนบอกผมว่าใครอยากรู้อะไรให้ตั้งกระทู้ใหม่ แต่ตัวเองก็ไม่ทำตาม หรือตอบคำถามชาวบ้านเลย ใจดำจริง
ถ้าส่งพระองค์แล้วไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วตีกลับ พิจารณาใหม่ 3 ครั้ง ถ้ายังไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ก็ให้ประกาศใช้ได้เลย ย้อนประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์ ทรงยับยั้งกฎหมาย เอาข้อมูลการลงปรมาภิไธยมาให้ ท่านขงเบ่งดู นอกเรื่องตรงไหนมิทราบ
โอ hot boy มีน้ำโห ทำเป็นอ้างนู้น อ้างนี้ แกล้งโง่ ก็แค่อยากเสียดสีสถาบันเท่านั้นเอง เหมือนมุข "ถ้ามัน จีทูจีเก๊ จะมีการส่งมอบข้าวตามสัญญาที่เหลือ 9 แสนตันได้อย่างไร" เอาแต่ถามไม่ตอบใจดำจริงๆ
บอกว่าผมแถออกนอกเรื่อง ยังไม่อธิบายนอกเรื่องตรงไหน ซ้ำยังมากล่าวร้ายว่าเสียดสีสถาบันเพิ่มเข้าไปอีก ครั้นจะถามเสียดสียังไง ป่วยการที่จะได้คำตอบ สุดท้าย... ตัวเองดันแถซะเอง ไปถึงเรื่องจำนำข้าว จีทูจีเก๊ เพลีย....
5555 ตลกดี ทำไมละครับ ทักษิณซื้อจักรวาลแล้ว! หว่านเงินรอบโลก ไปดวงจันทร์ ตำน้ำพริกเล่น'แฉ 9 สิ่งที่ทักษิณทำได้' แล้วทำไมถึงมีข้อความแบบนี้ได้ ....ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีรัฐธรรมนูญ..... ......คือการปกครองที่พระมหากษัตริย์ มีอำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ ซึ่งบางครั้งเรียกกันง่ายๆว่า เป็นการปกครองแบบกษัตริย์อยู่เหนือกฏหมาย
Pravit Rojanaphruk ผ่าน Khaosod English พุทธศาสนามิได้สอนให้คลั่งชาติ ผมไม่เอาพุทธหรือศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ ควรคำนึงถึงคนนับถือศาสนาอื่นหรือไม่นับถืออะไรเลยบ้าง#ป#พุทธ#ศาสนาBuddhismnever teaches anyone to become nationalist. I am against making any faith national religion. Think about those who have different faith or no faith.#Thailandavit Rojanaphruk ผ่าน Khaosod Englishพุทธศาสนามิได้สอนให้คลั่งชาติ ผมไม่เอาพุทธหรือศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ ควรคำนึงถึงคนนับถือศาสนาอื่นหรือไม่นับถืออะไรเลยบ้าง #ป #พุทธ #ศาสนาBuddhism never teaches anyone to become nationalist. I am against making any faith national religion. Think about those who have different faith or no faith. #Thailand เด๋ะเขาไล่ออกจากกลุ่มหรอก ป. (อยู่ที่ไหน หัวหน้าตายหมด)
กำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ศาสนาพุทธ เป็น ศาสนาประจำชาติ เกิดตำถามขึ้นมาในใจทันทีว่า "เพื่ออะไร" คนที่มีความประสงค์อย่างนี้ พอจะรู้ไหมว่า ใน สังคมสังคมหนึ่ง นั้น มี ความหลากหลาย ใน ศรัทธา และ ความเชื่อ มากน้อย เพียงใด? มองเห็นไหมว่า ศรัทธา และ ความเชื่อ ที่ แตกต่างกันนั้น ก่อให้เกิดความร้าวฉานเพียงใด เรา อยาก เป็น ประชาธิปไตย แบบ ฟารั้งหนังหมู กัน ตัวสั่น-งันงก เรา ลอกแต่ความเลวร้ายของประชาธิปไตยมาใช้ แต่ในสิ่งดีดีเราไม่สนใจ อย่างนี้หรือที่ยกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตยเหนือกว่าคนอื่น ไม่รู้จะพูดอย่างไรดี นอกจากว่าลืมตาตื่นได้แล้วกระมัง? ไหน-ไหน ก็ ไหน-ไหน แล้ว แวะ ไปหาจานผีเสียหน่อย เห็นหน้าทีไร นึกถึง เทวทัต ทุกทีไป ไม่ขออภัย เพราะ คิดอย่างนั้นจริงจริง ตะนิ่นตาญี วันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๐๕.๔๐ นาฬิกา
จริงๆแล้วกรณีสมเด็จช่วงนี่ก็มีส่วนดีอยู่อย่างหนึ่ง อย่างน้อยขณะนี้สังคมไทยได้รับการยืนยันแล้วว่าทักษิณ เพื่อไทย เสื้อแดง นปช. ลิเบอรัล ธรรมกาย มหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนา คือองค์กรเนื้อเดียวกันและกลมกลืนกันเป็นที่สุด
จะนับถือศาสนาไหนๆๆ ก็คนไทยด้วยกัน ถ้าบัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติจะเกิดอะไรขึ้น ? เป็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันก็ดีแล้วนี่ อิสระเสรี "ประชาธิปไตย" ใครอยากนับถืออะไรก็ตามสะดวก เห็นเรียกร้อง สิทธิ เสรีภาพกันจนต้องเผาบ้านเผาเมือง ตลกดีจริงๆ พวกกาสรแดง+จานบิน+มส. ถ้ามันเรื่องมากนัก ก็ยุบแม่มไปเลย ต่อไปนี้ก็ตามสะดวก ผิดกฎหมายก็จับสึกแม่มให้หมด ยัดคุกไปเลยดีมั้ย เหนื่อยใจกับพวกจังไรพวกนี้จริงๆ
บางคนพอเห็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบันก็รีบงับทันทีเลยนะ กะจะหาเรื่องไปขยายหลอกควายต่อละสิ ประเด็นเรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช นอกจากจะเป็นประมุขสงฆ์แล้วยังเป็นการสถาปนาพระอิสริยยศให้สูงขึ้นเสมอเจ้านายในพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าต่างกรม มีการใช้ราชาศัพท์อย่างพระราชวงศ์ทุกประการ ตรงนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าอยากจะเป็นก็ต้องเปลื้องมลทินของตัวเองให้สิ้นสงสัยเสียก่อนสิ ส่วนที่มีการกระพือข่าวชวนเชื่อว่าฝ่ายมหานิกายถูกรังแก โดยยกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ) อดีตพระพิมลธรรมนั้น ก็แค่จะหาข้ออ้างมาโจมตี ที่จริงแล้วในตอนที่สมเด็จอาจถูกคดีก็ยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ไม่อยู่ในแคนดิเดตสังฆราชอยู่แล้ว จ่อมาเมื่อสมเด็จพระสังฆราชวัดราชบพิตรสิ้นพระชนม์ในปลายปี 2531 สมเด็จอาจท่านเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และท่านกับสมเด็จวัดสามพระยาซึ่งเคยเป็นคู่กรณีสมัยท่านโดนคดี (สมเด็จฟื้นท่านเป็นผู้จับสมเด็จอาจสึก) ท่านทั้งสองรูปต่างรู้ว่าตัวเองนั้นมีมลทินเมื่อครั้งนั้น จึงทำจดหมายไม่ให้เสนอนามของท่านเอง หากมีการเสนอก็ขอให้ถอนชื่อออกเสีย และหลังจากนั้นสมเด็จอาจก็มรณภาพลงในปลายปี 2532 เรื่องที่ว่าถูกรังแกจนไม่ได้เป็นสังฆราชนั้นมันคนละเวลากันเลย ตอนเป็นคดีกับตอนปฏิบัติหน้าที่ห่างกันตั้งเกือบ 20 ปี
หลักฐานที่เป็นจดหมายถึงอธิบดีกรมการศาสนา ขอเสนอชื่อพระรูปอื่น และจดหมายแจ้งถอนนามจากการเข้ารับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช จากสมเด็จพระราชาคณะทั้ง 2 รูป มีลงตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระญาณสังวรฯ "บวรธรรมบพิตร" ด้วยครับ ในจดหมาย สมเด็จอาจเสนอชื่อสมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สำหรับกรณีปัจจุบัน เทียบกันไม่ได้ นอกจากต่างกรรมต่างวาระแล้ว ยังเป็นเรื่องความขัดแย้งสีเสื้อการเมืองทางโลกด้วย
ขอบคุณ kaeake.blogspot ผมเพียงแค่ตัดมาบางส่วน คือในส่วนที่เราไม่นึกถึง ผู้หลักผู้ใหญ่สมัยก่อนแม้จะผิดบ้าง ดีบ้าง ก็ยังมีข้อคิดอะไรที่ดี ๆ ให้เรานะครับ
ขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างมากที่ได้เข้ามาช่วยเสริมความรู้มากขึ้นในกระทู้นี้ เนื่องจากข้าพเจ้าต้องเดินทางไปปราบเบ้งเฮกที่แดนไกล เลยไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาดูได้เหมือนเมื่อก่อน ขอบคุณอีกครั้งครับสำหรับสังคมอุดมปัญญาและแง่คิดดีๆหลากหลายต่างๆ ปล.รูปตัวเหี้ยในห้องพระนี่ผมขำกลิ้งเลย 5555
ด้วยความห่วงใยท่านเป็นอย่างสูง การศึกที่ท่านจะไปปราบเบ้งเฮ็กนั้น ง่ายแค่พลิกฝ่ามือ หากว่าท่านจับได้แล้วฆ่าเสีย แต่อย่าลืมว่าเบ้งเฮ็กเอง เป็นเสมือนตะเกียงที่ไม่ไร้น้ำมัน การฆ่าเขาเพียงคนเดียวท่านอาจจะได้ ศัตรูที่เป็นบริวารว่านเครือของเบ้งเฮ็กอีกไม่รู้กี่คนต่อกี่คน ซึ่งไม่เป็นผลดี ต่อท่านเลย แต่หากท่านปราบเบ้งเฮ็กด้วยใจให้ยอมสยบท่านแต่โดยดีแล้ว ท่านเองกลับได้ความศรัทธาจากมวลชนฝ่ายเบ้งเฮ็กทั้งมวลเป็นแน่แท้ ปล. ผมเองก็อยากเสวนากับท่านมากๆ ถ้ามีโอกาสนะครับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เขียนให้ในหลวงนับถือศาสนาพุทธ แต่อุปถัมภ์ทุกศาสนาในประเทศไทย วันสำคัญทางพุทธศาสนาก็เป็นวันหยุดราชการ ทางการจัดงานส่งเสริมพุทธศาสนาในวันสำคัญทางพุทธศาสนาทุกปี ทั่วประเทศ งานพระศพของสมเด็จพระสังฆราช ทางการก็ให้ความสำคัญเป็นพิธีใหญ่เหมือนงานของพระราชวงศ์ ทีวีทุกช่องฉายพระวรธัมโมวาทของสมเด็จพระสังฆราชในวันสำคัญต่างๆ ทุกปี แต่ช่วงปีใหม่ ก็ฉายคำปราศรัยอวยพรปีใหม่จากผู้นำทุกศาสนาของไทย แบบเดิมที่มีอยู่ผมว่าดีแล้ว ถึงจะให้ความสำคัญกับศาสนาพุทธมาก แต่ก็ไม่ละทิ้งศาสนาอื่น