เดินหน้าโครงการรถไฟ ไทย-ญี่ปุ่น

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 6 Feb 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    5 ก.พ.| ข่าว 19.00 น. ทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพ-แหลมฉบัง และกรุงเทพ-อรัญประเทศ



    คมนาคมทดสอบระบบขนส่งรถไฟไทย-ญี่ปุ่นขนาดเล็กรองรับเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนใต้
     
    อาวุโสโอเค, Alamos, temp และอีก 3 คน ถูกใจ
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    ไหนเผด็จการทหาร ไม่มีใครคบไง
     
    อาวุโสโอเค และ Alamos ถูกใจ.
  4. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    มีผลประโยชน์ก็คบหมดแหละครับ
    13693-attachment.jpg
     
    AlbertEinsteins, JSN, Alamos และอีก 1 คน ถูกใจ.
  5. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    เคยมีคนบอกว่าใครชอบหรือเป็นพวกทหารโง่ เลว ถ้างั้นภาพนี้ก็.......
     
    หนูอ้อย likes this.
  6. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    เรื่องนี้ผมอยากให้เป็นวาระแห่งชาติเลย ไม่ว่ายุคไหน รัฐบาลไหนเข้ามาทำงาน ต้องสานต่อโครงการรถไฟต่างๆให้สำเร็จ เพราะนี่คือโอกาสสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยอย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งในอนาคต ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ถ้าเราทำโครงสร้างพื้นฐานที่ดีรองรับเอาไว้ การลงทุนมหาศาลจะมาที่ประเทศไทยอย่างแน่นอน
     
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ระบุ ในวันที่ 20 มิถุนายนนี้ จะหารือกับทางการญี่ปุ่นถึงโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยผลการศึกษาล่าสุดของญี่ปุ่นพบว่ามูลค่าโครงการสูงถึง 5.3 แสนล้านบาท ขณะที่ไทยประมาณการไว้ที่ 4.4 แสนล้านบาท ญี่ปุ่นจึงเสนอให้ไทยพัฒนาพื้นที่ตามแนวโครงการ ทั้งในส่วนของสถานีและหัวเมืองที่ทางรถไฟผ่าน เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าทางการเงิน
     
  8. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หารือกับกรมรถไฟญี่ปุ่นเร่งสรุปแผนรถไฟความเร็วสูง กทม.- เชียงใหม่

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูง หลังหารือกับกรมรถไฟญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นจะเร่งสรุปผลขั้นกลางให้แล้วเสร็จ พร้อมเสนอคณะรัฐมนตรีเดือนกรกฎาคมนี้ ขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โดยเฉพาะการศึกษาผลตอบแทนและความคุ้มค่า

    เบื้องต้น การก่อสร้างอาจแบ่งเป็น 2 ตอน เริ่มเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตรก่อน เพราะให้ผลตอบแทนดีกว่า เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ คาดเริ่มออกแบบปีหน้า ใช้เวลา 1 ปี ก่อนเริ่มก่อสร้าง



    ญี่ปุ่น สนใจลงทุนระบบรางเพิ่มเติม โดยศึกษาเส้นทาง มุกดาหาร-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด เชื่อมทวาย ด้านรองนายกรัฐมนตรี ระบุเตรียมเสนอเรื่องครม.อังคารนี้

    รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ บอกว่า ทูตของประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาเข้าพบ วานนี้ (24 มิ.ย.) พร้อมแสดงความสนใจที่จะศึกษาเส้นทางรถไฟสาย มุกดาหาร-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ที่จะมีการลงทุนร่วมกันอีกหนึ่งโครงการ

    ซึ่งโครงการนี้ ก็ยังเชื่อมต่อไปถึง โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 28 มิถุนายนนี้ พร้อมกับโครงการเส้นทางรถไฟ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉะบัง และ โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์ สัตหีบ แผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา รวมถึง การพัฒนาเส้นทางถนนและทางรางที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าหารือร่วมกันด้วย เพื่อจัดทำแผนพัฒนาระบบการคมนาคมในเส้นทางดังกล่าวให้มีความชัดเจนอีกครั้ง

    กล่าวถึงผลการลงประชามติ สหราชอาณาจักร ออกจากสหภาพยุโรป หรือ อียู ว่าในส่วนของประเทศไทย ไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล เป็นเรื่องของความผันผวนในระยะสั้นเท่านั้น โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เตรียมรับมือมาแล้วก่อนหน้านี้ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งไทยไม่ควรไปตื่นตัวตาม เนื่องจาก ผลกระทบคงมีแต่ในยุโรปเท่านั้น

    นายสมคิด ยังกล่าวถึงเป้าหมายการส่งออกของไทยว่า ยังคงตั้งเป้าไว้ที่ 5% และคงไม่ต้องคิดถึงการปรับ หรือไม่ปรับเป้า เพราะรัฐบาลจะเร่งเดินหน้า และผลักดันให้การส่งออกขยายตัวให้ดีที่สุด เพราะจาการลงประชามติของอังกฤษที่ต้องการออกจากสหภาพยุโรปนั้น คงมีผลกระทบแต่ในยุโรปเท่านั้น ไทยไม่ควรที่จะตื่นตาม





    ไทย-ญี่ปุ่นร่วมลงนามความร่วมมือระบบรางพร้อมเร่งรัดญี่ปุ่นศึกษารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกทม.-เชียงใหม่



    รัฐบาลไทย-ญี่ปุ่น ลงนามความร่วมมือก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายเคอิจิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ได้ลงนามความร่วมมือร่างบันทึกการพัฒนาระบบราง ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีระบบเดียวกับรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น

    ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จะได้ผลสรุปในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ ก่อนจะเริ่มออกแบบโครงการในปีหน้า และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561

    โดยไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นร่วมวางแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี รวมทั้งร่วมพัฒนารถไฟทางคู่ เส้นทางกาญจนบุรี-แหลมฉบัง-อรัญประเทศ และเส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ซึ่งจะเร่งรัดโครงการให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด

    นอกจากนี้ ยังได้ลงนามความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนนซึ่งญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม และร่วมวางมาตรการดูแลความปลอดภัยทางถนน ให้มีมาตรการออกมาก่อนช่วงเทศกาลปีใหม่ เพื่อช่วยลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
     
    Last edited: 7 Aug 2016
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อสร้างได้ในปี 2561

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ร่วมกับนาย เคอิจิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น

    โดยที่ประชุมมีการหารือโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และได้ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางร่วมกัน โดยไทยจะลงทุนจัดหาขบวนรถไฟ งานเดินรถและงานซ่อมบำรุง

    ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นจะช่วยเหลือเรื่องการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวเส้นทางรถไฟ โดยเริ่มต้นพัฒนาที่สถานีบางซื่อ - พิษณุโลก เป็นระยะที่ 1 ด้านรูปแบบการลงทุนจะหารือเพิ่มเติมนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยมีระยะคืนทุน 50 ปี

    เบื้องต้นยังยึดตามบันทึกความร่วมมือฉบับแรกที่ตกลงร่วมกัน ในการใช้เทคโนโลยีระบบรถไฟชินคังเซน จากประเทศญี่ปุ่น โดยแยกระบบรางออกจากรางรถไฟเดิม คาดว่าจะสามารถสรุปผลการศึกษาได้ในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายนปีนี้ หลังจากนั้นปี 2560 จะพิจารณารูปแบบการลงทุน และเริ่มการลงทุนก่อสร้างโครงการในปี 2561 ตามกรอบเวลาที่วางไว้

    สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใต้ กาญจนบุรี-แหลมฉบัง-อรัญประเทศ และการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เป็นแนวเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ไทยได้ขอให้ทางญี่ปุ่น เข้ามาดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งทางญี่ปุ่นตอบรับ ในส่วนของการขนส่งสินค้า มีการตั้งสำนักงานขึ้นมา เพื่อปรับปรุงระบบขนส่งของไทยให้มีประสิทธิภาพ



    JICA หารือร่วมรัฐมนตรี คมนาคม ถึงความร่วมมือพัฒนารถไฟชานเมืองสายสีแดง รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เปิดเผยถึง การดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต ที่ทางไจก้าได้รับไปดำเนินการจากกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2563

    ขณะเดียวกัน ได้หารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เรื่องการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง การใช้ประโยชน์จากพื้นที่สองข้างทางรถไฟ และสถานีซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยรวมถึง การพัฒนาเชิงพาณิชย์ด้วย
     
    Last edited: 11 ต.ค. 2016

Share This Page