จังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงที่ผ่านมา มีโครงการพัฒนาแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ใช้งบประมาณมหาศาลปรากฏสู่สาธารณะเป็นระยะ ล่าสุดชาวเน็ตในพื้นที่ได้พากันวิจารณ์โครงการติดตั้ง "ตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์" กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) หลังจากมีข่าวว่าตู้กรองน้ำที่ว่านี้ ราคาสูงถึงตู้ละกว่า 500,000 บาท เรียกว่า "ตู้กรองน้ำครึ่งล้าน" ก็คงไม่ผิดนัก เสียงวิจารณ์ของชาวเน็ตในพื้นที่ชายแดนใต้ ส่วนใหญ่มองว่าเป็นราคาที่แพงเกินไป น่าจะนำงบก้อนนี้ไปช่วยเหลือคนจนที่บ้านพังหรือไม่มีบ้านอยู่อาศัยมากกว่า ขณะที่หลายคนตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการจัดซื้อ โดยนำไปเปรียบเทียบกับโครงการติดตั้งเสาไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ "เสาไฟโซลาร์เซลล์" ที่ใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ถูกชาวบ้านร้องเรียนอย่างหนักว่าใช้งานไม่ได้ ไฟไม่ติด หรือไม่ก็ติดๆ ดับๆ จนถูกรัฐบาลตั้งคณะกรรมการสอบสวน และสั่งการให้แก้ไขโดยด่วนมาแล้ว จากการตรวจสอบเพิ่มเติมของ "ทีมข่าวอิศรา" พบว่า โครงการนี้มีศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศอ.บต.เป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้ว 2 สัญญา เป็นงบประมาณปี 60 ทั้ง 2 สัญญา งวดแรกตั้งงบเอาไว้ 11,500,000 บาท ติดตั้ง 19 จุด ราคากลางอยู่ที่จุดละ 610,000 บาท โดยเลือกพื้นที่เป้าหมายทางความมั่นคงของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) และพื้นที่เป้าหมายด้านการพัฒนาตามภารกิจของ ศอ.บต. ส่วนงวดที่ 2 ตั้งงบเอาไว้ 45 ล้านบาท เป้าหมายติดตั้งอีก 82 จุด ราคากลางจุดละ 549,000 บาท จากโครงการที่ตั้งเอาไว้ และได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว พบว่าเฉพาะปีงบประมาณ 2560 ศอ.บต.มีแผนติดตั้ง "ตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์" 101 จุด เตรียมงบไว้รวมๆ 56,500,000 บาท แต่เมื่อดำเนินโครงการจริง องค์กรตรวจสอบในพื้นที่พบว่า ศอ.บต.ติดตั้ง "ตู้กรองน้ำ" ไปแล้ว 91 จุด ราคาจุดละ 549,000 บาท ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นราว 51 ล้านบาท ข้อสังเกตขององค์กรตรวจสอบในพื้นที่ก็คือ เหตุใด ศอ.บต.จึงต้องแตกสัญญาจัดซื้อออกเป็น 2 สัญญา หรือต้องการเลี่่ยงมติคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นช่องทางในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ (ไม่ต้องมีการประกวดราคา) และที่สำคัญคือ งบประมาณถึง 51 ล้านบาทนี้นำมาจากที่ไหน นอกจากนั้นยังมีการตั้งคำถามว่า พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการงวดแรก ไม่มีพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เลย แต่ไปติดตั้งที่ จ.สตูล กับ จ.สงขลา ทั้งหมด เพราะแม้พื้นที่ จ.สตูล และสงขลาจะเป็น 2 ใน 5 จังหวัดที่ ศอ.บต.รับผิดชอบเช่นกัน แต่ก็ไม่ใช่พื้นที่ความมั่นคงตามเป้าหมายของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จากการตรวจสอบ "จุดติดตั้ง" ตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พบว่าส่วนใหญ่ติดตั้งเอาไว้ตามมัสยิดกับวัด มีบางจุดติดตั้งในโรงเรียน สำนักงาน อบต. แต่บางจุดก็ไปติดตั้งไว้ในสถานีตำรวจ และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน จึงมีคำถามว่าชาวบ้านในชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ เพราะแม้มัสยิดจะเป็นแหล่งรวมของพี่น้องมุสลิมที่ต้องไปละหมาดวันละ 5 เวลา แต่ก็คงเป็นเรื่องผิดปกติ หากไปละหมาดแล้วจะขนถังน้ำไปรองน้ำมาใช้ที่บ้านด้วย ส่วนวัดในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยมากไม่ใช่แหล่งรวมผู้คน หากไม่ใช่วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเมื่อองค์กรตรวจสอบในพื้นที่ ขับรถไปดูตามจุดที่มีการติดตั้งตู้กรองน้ำฯ พบว่าบางจุดตั้งอยู่ห่างไกลชุมชนมาก และไปหลบมุมอยู่ลึกๆ โดยหลายๆ จุดที่ไปสังเกตการณ์ ไม่เห็นมีชาวบ้านไปต่อคิวรับน้ำหรือกดน้ำจากตู้กรองน้ำฯที่ว่านี้เลย นอกจากนั้น หลายพื้นที่เริ่มมีการร้องเรียนเข้ามาว่า ชิ้นส่วนของตู้กรองน้ำเริ่มเป็นสนิม เช่น ที่บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี หลายแห่งชาวบ้านร้องเรียนว่าตู้กรองน้ำฯเสีย น้ำไม่ไหล บางแห่งก็มีช่างเข้าไปซ่อมแซม แต่เมื่อพิจารณาจากสัญญาติดตั้ง พบว่าตู้กรองน้ำฯที่ติดตั้งชุดแรกๆ จะหมดระยะเวลาประกันภายในเดือนหน้านี้ คำถามก็คือ เมื่อหมดประกันแล้วเกิดชำรุด ขัดข้องขึ้นมา จะมีช่างไปซ่อมให้หรือเปล่า สรุปประเด็นที่ "องค์กรตรวจสอบการใช้งบประมาณในพื้นที่" ตั้งคำถามนอกเหนือจากราคาต่อเครื่องค่อนข้างแพง และแยกการจัดซื้อออกเป็น 2 สัญญา โดยใช้ "วิธีพิเศษ" ไม่มีการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ แล้ว ยังมีคำถามคาใจอื่นๆ อีกหลายข้อ เช่น 1.ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเลือกพื้นที่ และบริเวณที่ติดตั้งตู้กรองน้ำ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นที่ต้องการของชาวบ้าน 2.มีการอบรมผู้นำท้องถิ่นหรือผู้นำชุมชนเพื่อดูแลตู้กรองน้ำฯ ให้ใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาหรือไม่ และ 3.ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ไฟ 2 ระบบ คือ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ หากมีแสงแดดมากพอให้เก็บไฟไว้ แต่ถ้าแสงแดดไม่พอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าปกติได้ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม มุมมองด้านดีของตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ก็มีเหมือนกัน "ทีมข่าวอิศรา" ลงพื้นที่ "ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตร" ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่งเป็นจุดติดตั้งตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และได้พบกับ ธัญญา แก้วเจริญ ผู้ใหญ่บ้าน ธัญญา ยืนยันว่า ตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ตอบโจทย์ชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก เพราะได้บริโภคน้ำสะอาดฟรี จึงมีชาวบ้านมารับน้ำตลอดทั้งวัน แต่ก็รู้สึกเป็นห่วงว่าถ้าหมดระยะเวลาประกันแล้ว เครื่องมีปัญหา จะทำอย่างไร เช่นเดียวกับชาวบ้านในพื้นที่อย่าง พัชรี เจียมแก้ว ชาวบ้านหมู่ 3 ต.ลำพะยา ที่บอกว่า ตู้กรองน้ำฯมีประโยชน์มาก ชาวบ้านไปรับน้ำกันเยอะ เพราะน้ำสะอาด รับประทานได้ เสียแต่ว่าจุดติดตั้งอยู่ไกลบ้านไปหน่อย ทำให้ต้องเดินทางไปรับน้ำค่อนข้างไกล ส่วนทหาร และ อส.ในพื้นที่ใกล้เคียง นำโดย พลทหารนพดล คงกล้า สังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 152 กองพลทหารราบที่ 15 ก็นำถังน้ำขนาดใหญ่ไปกดน้ำจากตู้กรองน้ำฯกันอย่างคึกคัก ทุกคนพูดตรงกันว่า น้ำสะอาด ดื่มได้อย่างสบายใจ จึงนำถังมาขนน้ำไปดื่มที่ฐานปฏิบัติการทุกวัน นี่คือข้อมูล 2 ด้านของโครงการตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ราคาตู้ละครึ่งล้าน ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายที่บอกว่าไม่คุ้มค่า ราคาแพงเกินไป น่าจะนำงบไปใช้เรื่องอื่นมากกว่า กับอีกฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านและกำลังพลในพื้นที่ ซึ่งบอกว่าได้ประโยชน์จากตู้กรองน้ำฯอย่างมาก แต่ห่วงว่าถ้าหมดประกันแล้วเกิดเครื่องเสียขึ้นมาจะทำอย่างไร เรื่องนี้่ยังไม่จบ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของราคาตู้ละครึ่งล้าน ว่าแพงจริงหรือไม่ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุด โปรดติดตามตอนต่อไป! ------------------------------------------------------------------------------------------------------ https://www.isranews.org/south-news/documentary/64619-water.html
ช่วยเจาะ... ก่อนอื่นต้องรู่ก่อนว่า "ครึ่งล้าน" เป็นค่าอะไรบ้าง? http://www.springnews.co.th/view/223082 ศูนย์เทคโนฯแจงยิบ ยัน! เครื่องกรองน้ำแสงอาทิตย์ ราคาไม่สูงเกินจริง ตามที่ สื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการติดตั้งตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ว่าแพงเกินไปหรือไม่ ทำไมต้องทำสองสัญญา ทำไมติดตั้งนอกพื้นที่ความมั่นคง มีการฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่นหรือไม่ และใครรับผิดชอบค่าน้ำ – ค่ากระแสไฟฟ้า นั้น ล่าสุดวันนี้ ( 28 มี.ค.) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศสส.) ขอเรียนชี้แจงประเด็นข้อสังเกต การดำเนินการเกี่ยวกับการติดตั้งตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ 1. เรื่องราคาแพงเกินไปหรือไม่ บริษัท เซ็นทริก (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้พัฒนาระบบเครื่องกรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards (เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์)” ประจำปี 2559 ประเภท รางวัลนวัตกรรมประเภทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือที่เกิดขึ้นในปี 2556 ทั้ง 6 องค์กรที่ร่วมลงนามความร่วมมือ (สวทน./สวทช./สนช./สอท./SET/CPALL) และเพิ่มเติมอีก 5 องค์กร ในปี 2557 ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.วท.), หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (TCC&BoT), สมาคมธนาคารไทย (TBA), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) รวมเป็น 11 องค์กร ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำผลงานวิจัยที่มีอยู่ในแต่ละองค์กรและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ผู้ประกอบการ SMEs มีอยู่มาทำการทดสอบหรือทดลองกับกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคในตลาดจริง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่ผลงานนวัตกรรม ที่สูงขึ้นในระดับประเทศต่อไป (ข้อมูลจาก : http://www.7innovationawards.com/award/detail-873) เครื่องกรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นี้ มีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าตู้กรองน้ำที่พบเห็นโดยทั่วไป โดยได้พัฒนาระบบควบคุมและรายงานผลระยะไกลเพื่อตรวจสอบการทำงานเครื่องกรองน้ำทุกเครื่องที่ผลิตโดยบริษัทตลอดอายุการใช้งานราคาที่จำหน่ายทั่วๆ ไปจะสูงกว่าราคาที่ ศอ.บต. จัดซื้อจัดจ้างเพราะถือว่าเป็นราคาพิเศษแต่คุ้มทุน เพราะติดตั้งจำนวนหลายเครื่อง ในส่วนของการดูแลภายหลังหมดระยะเวลาการรับประกัน บริษัทฯ ก็ยังติดตามตรวจสอบการทำงานของเครื่องด้วยระบบการติดตามและตรวจสอบการทำงานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตลอดอายุการใช้งาน โดยแจ้งความผิดปกติที่ตรวจพบโดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จากส่วนกลางและสามารถสั่งการบำรุงรักษาเบื้องต้นผ่านระบบดังกล่าว ในกรณีเมื่อตรวจพบความผิดปกติการทำงาน ก็จะแจ้งมายังผู้รับผิดชอบตามที่มีการลงทะเบียน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลประจำจังหวัด และประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าตรวจสอบการทำงานของเครื่องได้ทุกจุด ตามที่ได้รับรหัสผ่านซึ่งผู้รับผิดชอบสามารถเข้าตรวจสอบการใช้งานได้ตลอดเวลาที่ http://www.centrixthai.com/login ซึ่งจะปรากฏหน้าจอที่แสดงรายละเอียดดังนี้ คุณสมบัติการทำงานของตู้ผลิตน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ 1. สามารถกรองน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบาดาล หรือน้ำผิวดินที่มาจาก ห้วย หนอง คลอง บึง ได้โดยตรง สามารถกรองน้ำที่มี สนิมเหล็ก โลหะหนัก ความกระด้าง และน้ำกร่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เป็นระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ทำงานด้วยระบบควบคุม PLC 3. มีระบบกำจัดเชื้อโรคและสารปนเปื้อน สามารถกำจัดตะกอนสารปนเปื้อนเชื้อโรคมิให้อุดตันระบบกรอง มีการถ่ายตะกอนออกโดยอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูง 4. ต้องผลิตน้ำดื่มปลอดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปลอดสารปนเปื้อนโดยเฉพาะสารกำจัดวัชพืช ปุ๋ยเคมีที่ปนเปื้อนมากับน้ำดิบ ต้องปลอดกลิ่นและสี และคุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่มกระทรวงสาธารณสุข 5. โครงครอบที่ใช้ทำตัวตู้เป็นเหล็กปลอดสนิมชนิดพิเศษเคลือบวัสดุอัลลอยด์ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม 6. สามารถใช้กระแสไฟฟ้าได้จากหลายแหล่งทั้ง เครื่องปั่นไฟ โซล่าเซลล์ หรือ ไฟจากอาคาร ทำงานเป็นระบบพลังงานผสมผสาน (Hybrid Energy Sources) เพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงานและมีความยืดหยุ่นในการติดตั้งในพื้นที่ห่างไกล 7. มีระบบเตือนการเปลี่ยนไส้กรอง อุปกรณ์สิ้นเปลืองของระบบบำบัดน้ำเพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยของน้ำดื่ม 8. มีระบบควบคุมรายงานผลระยะไกลมายังศูนย์ควบคุม เพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม การทำงานของเครื่องและสนับสนุนการซ่อมบำรุง 9. มีต้นทุนในการผลิตน้ำต่ำ โดยมีค่าต้นทุนในการผลิตน้ำ (ค่าไฟฟ้า สารเคมี ค่าอะไหล่ และค่าซ่อมบำรุง) เนื่องจากใช้พลังงานเดินเครื่องจากแสงอาทิตย์เป็นส่วนใหญ่ 10. สามารถผลิตน้ำดื่มได้ 4,000 ลิตรต่อวันเป็นอย่างน้อยเพื่อให้ครอบคลุม ความต้องการน้ำดื่มของประชากรประมาณ 1,000 คน ขั้นตอนการบำบัดและกรองน้ำ ประสิทธิผลสูงถึง 11 ขั้นตอน 1. มีการติดตั้งถังพักน้ำภายในทำจากสแตนเลสตีล เพื่อความปลอดภัยและเพื่อรับน้ำ จากแหล่งน้ำดิบหรือประปาหมู่บ้าน ก่อนสูบเข้าระบบเครื่องกรอง 2. มีถังพักน้ำดิบภายในที่มีการดีไซน์ให้มีการเร่งการตกตะกอนและลดปริมาณสนิมเหล็ก และถ่ายตะกอนหยาบก้นถังออกเป็นคาบๆ ป้องกันมิให้ไหลผ่านเข้าไปในระบบกรอง มีการติดตั้งระบบแสงยูวีภายในถังเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคในขั้นต้น 3. มีชุดกรองกำจัดสนิมเหล็กและโลหะหนัก ทำงานแบบอัตโนมัติ 4. มีชุดกำจัดตะกอนขุ่นที่ปนเปื้อนมากับน้ำดิบด้วยระบบTurbulence filter และ มีระบบควบคุมการถ่ายตะกอนส่วนเกินโดยอัตโนมัติ มีขนาดของการกรองได้ละเอียดถึง 80 ไมครอน 5. มีชุดกรองความกระด้างแบบอัตโนมัติสามารถล้างทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยน้ำเกลือ 6. มีชุดกำจัดตะกอนละเอียดที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน ( 5 /1,000 m.m) 7. มีระบบฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ด้วยแสงยูวี Ultra Violet Rays ขนาดความเข้มข้นสูงที่ความถี่ 254 nm และลดสารอินทรีย์ปนเปื้อน (Total organic carbon= TOC) และผลิตคลื่นความถี่ 185 nm ที่สามารถผลิตแก็ซโอโซนเพื่อส่งไปยังถังน้ำดื่ม 8. มีระบบ Nano filtration กำจัดสารแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.0009 ไมครอน (9/10,000,000 m.m) เพื่อกำจัดความกระด้างในน้ำ สารละลายส่วนเกิน ความเค็ม ตลอดจนสารเคมีเกษตรที่อาจปนเปื้อน สารพิษเช่นสารหนู ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช และโลหะหนัก 9. มีถังพักน้ำสะอาดปลอดเชื้อขนาดความจุ 250 ลิตรพร้อมระบบผสมโอโซนรักษาคุณภาพน้ำ 10. มีระบบกรองซ้ำด้วยถ่านกัมมันต์ เพื่อปรับรสชาติของน้ำดื่ม กำจัดกลิ่น สี ที่อาจหลงเหลือ 11. มีระบบฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ด้วยแสงยูวี Ultra Violet Rays ก่อนแจกจ่ายน้ำดื่มด้วยอัตราการไหล 10 ลิตรต่อนาที คุณสมบัติพิเศษ 1. มีระบบรายงานผลคุณภาพน้ำ และติดตามการทำงานของเครื่องมาที่ศูนย์ควบคุม เพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงที่หน้างาน และการสนับสนุนการวางแผนการซ่อมบำรุง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลระบบในระยะยาว 2. สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตน้ำในช่วงกลางวัน หรือในกรณีที่แสงแดดไม่พอ และกลางคืนก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมในการผลิตน้ำดื่มได้ มีความยืดหยุ่นด้านการใช้งานและส่งเสริมการประหยัดพลังงานไฟฟ้า 3. มีระบบกำจัดเชื้อโรคถึงสามขั้นตอนคือ – แสงยูวี Ultra Violet Rays ต่อจากไส้กรอง 80 ไมครอน – ผ่านแสงยูวี Ultra Violet Raysและ ผสมแก็สโอโซน ก่อนจ่ายน้ำดื่ม – ไส้กรอง Nano filtration กำจัดสารแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.0009 ไมครอน คุณลักษณะทางเทคนิคเบื้องต้น 1.ขนาดกว้าง 100 x ยาว 120 x สูง 200 ซ.ม ( โดยประมาณ ) 2.อัตราการผลิตน้ำดื่ม ชั่วโมงละ 200 ลิตร พร้อมถังพักเก็บ 250 ลิตร 3.จ่ายน้ำดื่มด้วยปั้มน้ำ 24 VDC อัตราการไหล 10 ลิตรต่อนาที 4.น้ำดื่มผสมด้วยแก็สโอโซนเพื่อให้ผลฆ่าเชื้อปนเปื้อน ภายในขวดหรือภายในภาชนะที่นำมาเติมน้ำ เพื่อให้น้ำดื่มสะอาดบรรจุในภาชนะที่สะอาดปลอดเชื้อ 5.ใช้ Flow sensor และ electronic controller ควบคุมปริมาณการกรองน้ำตามอายุการ ใช้งานของ ไส้กรองแต่ละตัว เพื่อให้ประสิทธิภาพการผลิตน้ำได้คุณภาพคงที่ 6.ชุดคอนโทรลในเครื่องมีช่องใส่ internet SIM card เพื่อรายงานข้อมูลภายในเครื่องไปยังโทรศัพท์มือถือ Tablet PC ด้วย ระบบremote monitoring system เพื่อรายงานสถานการณ์ทำงานของระบบ มีเซ็นเซอร์ภายในเครื่องต่อพ่วงที่สามารถแจ้งเตือนหากระบบผลิตน้ำเกิดขัดข้องเช่น หากมีน้ำรั่วภายในเครื่อง หากมีข้อขัดข้อง หากไส้กรองอุดตันจนผลิตน้ำได้ช้าผิดปกติ ระบบอัตโนมัติ เพื่อตัดวงจรไฟฟ้าบางจุด กรณีที่เครื่องขัดข้อง ไม่สามารถไปซ่อมแซมได้ทันเวลา เป็นต้น 7.อัตราการใช้กระแสไฟฟ้า ขณะผลิตน้ำดื่มประมาณ 950 watt / ชั่วโมง 8.อัตราการใช้กระแสไฟฟ้า ขณะจ่ายน้ำดื่มประมาณ 131 watt / ชั่วโมง 9.อัตราการใช้กระแสไฟฟ้า หากผลิตและจ่ายน้ำดื่มในคราวเดียวกันประมาณ 1,081 watt / ชั่วโมง เปรียบเทียบราคาเครื่องกรองน้ำที่มีเทคโนโลยีและกำลังการผลิตใกล้เคียงกัน เครื่องกรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จากประเทศแถบยุโรปและมีการนำมาเสนอขาย ในประเทศไทย ซึ่งตั้งราคาขายในท้องตลาดอยู่ที่ประมาณ 4,800,000 บาท รุ่น TSS 200 Trunz Seawater system 200 (ตามเอกสารแนบ) เมื่อเทียบกับเครื่องกรองน้ำของบริษัทฯ ซึ่งใช้วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยคนไทยจนได้รับรางวัล”สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards” แล้ว จะเห็นได้ว่าเครื่องกรองน้ำของบริษัทฯ ซึ่งมีราคา 549,0000 บาท มีราคาถูกกว่าเครื่องกรองน้ำที่มีเทคโนโลยีและ กำลังการผลิตใกล้เคียงกัน ประมาณ 8 เท่า เครื่องกรองน้ำของบริษัท ที่มีเทคโนโลยีและกำลังการผลิตใกล้เคียงกัน ในรุ่นที่มีกำลัง การผลิตขนาด 125 ลิตร/ชม. (รุ่นเล็กกว่าที่นำไปใช้ในโครงการของ ศอ.บต.) เป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพการทำงาน โดยมีการจัดหาไปใช้ในโครงการน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโครงการที่ขาดแคลนน้ำดื่ม ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การดำริของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทั้งนี้ หากนำตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท ไปเปรียบเทียบราคากับตู้กรองน้ำทั่วไปที่มีขนาดใกล้เคียงกันจะไม่สามารถเปรียบเทียบได้ตามข้อเท็จจริง เนื่องจากมีคุณสมบัติและเทคโนโลยีที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
2. ทำไมต้องจัดซื้อจัดจ้างเป็น 2 สัญญา ศอ.บต. ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการติดตั้งตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลิตน้ำขนาด 4,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งเป็นน้ำดื่มสะอาดและได้มาตรฐานสำหรับการบริโภค โดยสามารถใช้กระแสไฟฟ้าได้จากหลายแหล่ง ทั้ง เครื่องปั่นไฟ โซล่าเซลล์ หรือไฟจากอาคารทำงานเป็นระบบพลังงานผสมผสาน (Hybrid Energy Sorces) โดยแยกงบประมาณออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 2.1 พื้นที่เน้นหนักในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ สะบ้าย้อย นาทวี และอำเภอเทพา) อำเภอละ 2 จุด รวม 74 จุดๆ ละ 549,000 บาท จำนวน 40,626,000 บาท 2.2 พื้นที่ที่ต้องการพัฒนาภายใต้การกำกับดูแลของ ศอ.บต. (จังหวัดสตูล และอีก 12 อำเภอของจังหวัดสงขลา) อำเภอละ 1 จุด รวม 19 จุดๆ ละ 549,000 บาท จำนวน 10,431,000 บาท ดังนั้น ศอ.บต. จึงได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็น 2 สัญญาตามพื้นที่ตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยการดำเนินการในพื้นที่เน้นหนักในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ สะบ้าย้อย นาทวี และอำเภอเทพา) จำนวน 74 จุด กำหนดส่งมอบงานภายใน 270 วัน และพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาภายใต้การกำกับดูแลของ ศอ.บต. (จังหวัดสตูลและอีก 12 อำเภอของจังหวัดสงขลา) จำนวน 19 จุด กำหนดส่งมอบงานภายใน 120 วัน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จุดติดตั้งได้ใช้ประโยชน์จากโครงการซึ่งถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในการลดค่าใช้จ่ายจำเป็นในการซื้อน้ำดื่มในชีวิตประจำวัน เนื่องจากในพื้นที่ที่ต้องพัฒนาฯ จะสามารถดำเนินการติดตั้งครุภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แล้วเสร็จได้โดยใช้เวลาน้อยกว่าการดำเนินการในพื้นที่เน้นหนักในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงฯ ซึ่งการดำเนินการในพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบ 3. มีการฝึกอบรมให้กับผู้นำท้องถิ่น ผู้ใช้งานหรือไม่ บริษัทผู้รับจ้างได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมการใช้งานโครงการติดตั้งตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่างเทคนิคประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ที่โรงแรมปาร์ควิวรีสอร์ท อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 ที่โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นอกจากนี้ยังมีการอบรมการใช้งานเบื้องต้นให้กับผู้ดูแลบริเวณจุดติดตั้งเครื่องกรองน้ำเรียบร้อยแล้ว 4. ตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสนิมตามที่มีการนำเสนอหรือไม่ จากการนำเสนอว่าตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในพื้นที่บ้านน้ำบ่อ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี เป็นคราบสนิมเกาะบริเวณตัวโครงสร้างจนทำให้ดูเหมือนว่าตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นั้นผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น ขอเรียนชี้แจง เนื่องจากสถานที่ติดตั้งอยู่บริเวณใกล้ทะเลและพื้นที่มีฝุ่นลูกรัง เมื่อมีฝุ่นเกาะนานเข้าและมีน้ำกระเด็นจากการกดน้ำใช้ จึงเป็นรอยลักษณะคล้ายคราบสนิม เจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการตรวจสอบแล้ว ปรากฎว่าไม่ใช่คราบสนิม สามารถเช็ดออกได้ เมื่อทำความสะอาดแล้วลักษณะพื้นผิวก็กลับมาเป็นปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว 5. การรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า ตามที่ได้จัดการอบรมที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่ผู้จัดอบรมได้แนะนำแนวทาง การหารายได้โดยวิธีการบริจาคโดยสมัครใจจากผู้ใช้น้ำดื่ม หรือการตั้งกรรมการเก็บค่าน้ำดื่มในราคาที่ชุมชนบริหารจัดการเอง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ซึ่งในการใช้น้ำดิบเข้ามา สู่ระบบการกรองส่วนใหญ่ใช้ที่มาจากน้ำประปาหมู่บ้านหรือน้ำจากแหล่งธรรมชาติ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้หรือหากมีค่าใช้จ่ายก็จะเป็นจำนวนน้อย (ราคาน้ำต้นทุนเมื่อมีการเดินเครื่อง 24 ชั่วโมง จะได้น้ำดื่ม 120,000 ลิตร โดยมีค่าน้ำไม่เกิน 750 บาท/เดือน เมื่อคิดเทียบจากราคาน้ำดิบที่ราคาประมาณ 3 บาทต่อ 1,000 ลิตร) และจากระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ตู้กรองน้ำฯ สามารถใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก จึงมีค่าใช้จ่ายด้านกระแสไฟฟ้าในกรณีแสงแดดไม่เพียงพอหรือเหตุสุดวิสัยอื่นที่ทำให้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า จากจุดติดตั้งนั้นไม่มากซึ่งสามารถใช้แนวทางดังกล่าวเพื่อบริหารจัดการได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการดำเนินการติดตั้งตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไปตามความต้องการ ของประชาชนในพื้นที่ โดยจะดำเนินการส่งมอบให้กับท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ดูแลรับผิดชอบและซ่อมบำรุงต่อไป
วิษณุ ปัด GT200 คือค่าโง่ ชี้เป็นค่าซื้อความรู้ แต่แพงไปหน่อย รองนายกฯ เตรียมเรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องถกเรียกค่าเสียหายเครื่องตรวจระเบิดเก๊ GT200 ขอเวลาศึกษาข้อกฎหมาย วอนอย่าเรียกเสียค่าโง่ ให้เรียกค่าซื้อความรู้ แต่แพงไปหน่อย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มอบหมายให้รับผิดชอบการเรียกเงินเยียวยาจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม รุ่น GT200 หลังจากศาลอังกฤษมีคำพิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์ ประมาณ 400 ล้านบาท โดยให้นำเงินจำนวนนี้ไปชดเชยแก่ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากการซื้อเครื่องมือที่ไม่สามารถใช้งานได้ว่า นายกฯ มอบหมายตนในที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 ให้ไปพิจารณา 2 ประเด็นคือ 1. การเรียกร้องค่าเสียหายตามที่ศาลอังกฤษได้ยึดทรัพย์ไว้ จะมีการเรียกหารือกับหน่วยงาน 7-8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะให้สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) เป็นองค์กรหลักเพราะมีกฎหมายด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอยู่ 2. เมื่อมีการซื้อเครื่องดังกล่าวมาแล้วแต่ประสิทธิภาพไม่ตรงกับที่คิด เราจึงเป็นผู้เสียหายที่สามารถเรียกเงินเยียวยาอย่างที่หลายประเทศได้ทำ ผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดซื้อ GT200 ดังกล่าวถือเป็นความผิดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า โดยข้อเท็จจริงแล้วคนซื้อจะมีความผิดด้วยก็ต่อเมื่อมีการทุจริต แต่จะมีจริงหรือไม่ ขณะนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับผิดชอบในส่วนคดีอาญา แต่การเรียกเงินเยียวยานั้นเป็นเรื่องทางแพ่ง เมื่อสินค้าไม่ตรงตามที่โฆษณาและศาลอังกฤษมีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐาน เราก็จะยึดแนวทางนั้น นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ความเสียหายของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย รวมกันประมาณ 600-800 ล้านบาท มากกว่าทรัพย์สินของบริษัทผู้ผลิตที่ถูกศาลมีคำสั่งยึดราว 400 ล้านบาทเสียอีก ใครเป็นคนหลอกเราเราก็ฟ้องคนนั้น แต่ต้องดูข้อกฎหมายความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยจะยึดผลประโยชน์ของรัฐเป็นตัวตั้ง เมื่อถามว่า เรื่องนี้จะเรียกว่าเป็นค่าโง่ได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงต้องแล้วแต่สื่อ แต่มันไม่ดีเพราะทำให้เกิดความรู้สึกว่า อะไรที่ควักเงินซื้อดูจะเรียกเป็นค่าโง่ทั้งหมดได้อย่างไร ถ้าเรียกได้ก็เป็นค่าฉลาด ที่สำคัญถือเป็นค่าซื้อความรู้ แต่แพงไปหน่อย