เอาจริงๆ ถ้าพิจารณากันโดยเนื้อหาแล้ว เรื่องนี้ถือว่ารัฐบาลชนะนะ เพราะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการไปเรียบร้อยแล้ว ลองมาพิจารณาจากสถานการณ์ตอนนี้ การสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่หยุดชะงักมา 2 ปี เดินหน้าไม่ได้ โดนแช่แข็งอยู่ แล้วมติ กพช. เมื่อ 18/2/2560 ออกมาให้เดินหน้าศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อ ต่อมาก็มีม๊อบต้านถ่านหินออกมาประท้วง สุดท้ายก็มาตกลงกันได้ว่าให้ศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมใหม่ สรุป ฝั่งรัฐบาลก็ได้ในสิ่งที่ต้องการคือการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมโครงการที่เดินหน้าต่อไปได้ แต่ฝั่งม๊อบต่อต้านถ่านหินต่างหากที่ต้องถอยร่นออกไป จากจุดเดิมที่โครงการเดินหน้าไม่ได้โดนแช่แข็งอยู่ แต่ตอนนี้กลับเป็นว่าโครงการเดินหน้าต่อไปได้แล้ว โดยฝั่งม๊อบเองนั้นละที่เป็นฝ่ายอนุญาตให้ทำต่อด้วยซ้ำ เรื่องนี้ ดูเผินๆ เหมือนฝั่งรัฐบาลกับกฟผ. จะแพ้ แต่ความจริงแล้วกลับชนะเพราะได้ในสิ่งที่ต้องการไปเรียบร้อยแล้วนั้นเอง กลศึกมันซ่อนเงื่อนจริงๆ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานยืนยันมติกพช. ไม่ได้สั่งเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชี้เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ : ชี้แจงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ พูดคุยประเด็นเลิก EIA เดิมศึกษาใหม่โรงไฟฟ้ากระบี่ กับคุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ ประจำสำนักผู้ว่าการ กฟผ. แถมสุดท้ายโฆษก คสช. บอกว่าให้ปรับปรุง EIA และ EHIA ใหม่ ไม่ได้บอกว่าให้ทำใหม่หมด ดูในคลิปเวลาที่ 1.10 ข่าว 7 สี - การลำเลียงถ่านหินจากท่าเทียบเรือ ไปยังโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินนั้น ส่วนหนึ่งต้องผ่านพื้นที่ป่าชายเลน และพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้เกิดความกังวลถึงกระทบทางระบบนิเวศวิทยา ประเด็นนี้เป็นอย่างไรติดตามจากรายงาน
การไฟฟ้าลงทุนเอง พวกฝ่ายค้านโรงไฟฟ้าด่าเข้าข้างนายทุน? ฝ่ายค้านหนุนชีวมวล ลม แดด แต่ไอ้พวกนั้นแหละนายทุนในตลาดหุ้นทั้งนั้น!!! บางทีผมก็งงว่าคนเรามันจะบิดเบือนข้อมูลไปเพื่ออะไร
แล้วเพื่อนธรณ์ก็โดนพวกลักอันดามันด่าตามระเบียบ โดยพวกลักอันดามันไม่เคยแสดงผลงานอื่นนอกจากต้านโรงไฟฟ้า ถ้ามีพวกปะการังคงไม่หายไปเพียบขนาดนั้นจนต้องให้คนจากที่อื่นมาเป้นตัวตั้งตัวตีมาฟื้นฟูรณรงค์กันหรอก
มีวงในว่า นายทุนขาย lng พยายามล้มนายทุนถ่านหิน 5555 จริงๆจะเอาอะไร มันก็มีนายทุนได้หมดละวะ ไอ้พวกห่านี่ สร้างวาทะกรรมหลอกควาย
สุดท้ายทุกอย่างก็เป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการอยู่ดี ครม.ให้จัดทำ EIA และ EHIA โรงไฟฟ้า จ.กระบี่ เพิ่ม ทำเนียบฯ 21 ก.พ.-นายกฯ สั่งเดินหน้าสำรวจ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้ง EIA และ EHIA โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ โดยให้คณะทำงานทั้งสามฝ่ายและประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งให้เดินหน้าสำรวจ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้ง EIA และ EHIA โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ จากที่ชะลอไปก่อนหน้านี้ โดยให้คณะทำงานทั้งสามฝ่ายและประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ยืนยันทำเพื่อคนไทยและประเทศไทย ไม่ใช่เพื่อตัวเอง นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า หากสามารถเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ ก็จะใช้งานได้ประมาณปี 2566-2567 แต่หากไม่สามารถสร้างได้ ประชาชนก็ต้องแบกรับการใช้พลังงานราคาสูงขึ้น.-สำนักข่าวไทย นายกฯสั่งเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ยันไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง อีไอเอ-อีเอชไอเอ ใหม่ทั้งหมด เพียงแต่นำของเดิมมารับฟังความเห็นเพิ่ม คาดใช้เวลา 1 ปีเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ โดยยืนยันว่า การจัดทำการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ และการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรืออีเอชไอเอ รัฐบาลไม่ได้สั่งให้ไปเริ่มต้นนับหนึ่งทั้งหมด แต่ให้นำอีไอเอและอีเอชไอเอที่ชะลอไว้ ไปศึกษาทำความเข้าใจใหม่ โดยให้มีคณะกรรมการไตรภาคีเข้ามาร่วมทำงานด้วย ทั้งนี้ หากรายงานอีไอเอ และอีเอชไอเอ ออกมาว่า สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้ ก็ทำ แต่หากทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องทำ ซึ่งการศึกษาก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ถ้าสร้างได้ ก็จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ปี 2566 หรือ 2567 ดังนั้น อย่าวิตกว่ารัฐบาลจะถอยหลัง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หากสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ไม่ได้ แล้วไม่มีไฟฟ้าใช้ในอนาคต ใครจะรับผิดชอบ อีกทั้งทุกวันนี้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น เพราะราคาน้ำมัน ราคาแก๊ส เพิ่มสูงขึ้น หากจะมาเรียกร้องให้ค่าไฟฟ้ามีราคาถูก คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ก็ต้องรับฟังข้าราชการเขาด้วย
เห็นทาง ปชป. ออกมาค้านเรื่อง ถ่านหินด้วยและเสนอเรื่อง LNG และว่า สามารถเริ่มที่ เทพาได้เลย พอจะอธิบายให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องพลังงานอย่างผมเข้าใจได้ไหมครับ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ได้อย่างไร?
ใช้ lng ก็เพิ่มสัดส่วนการใช้เกิน70% ความเสี่ยงยิ่งสูง อีกอย่างราคา ก๊าซ ผันผวนสูงกว่าราคาถ่านหิน ยังไงผมก็อยากให้ สัดส่วน lng: coal ให้ใกล้เคียงกัน ความเสี่ยงด้านพลังงานจะดีขึ้น
22 ก.พ. 60 - นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารกลาง กล่าวถึงข้อเสนอให้ทำประชามติในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะเสนอให้การทำประชามติหรือไม่ ปัจจุบัน กกต.มีกฎหมายประชามติรองรับอยู่แล้ว โดยแบ่งอกเป็น 2 แนวทาง คือ 1.หากอยากทำประชามติรับฟังความคิดเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจ กรณีนี้ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก คนมาใช้สิทธิ์จำนวนเท่าไหร่ก็ได้ และให้ยึดเสียงข้างมาของผู้มาใช้สิทธิ์ แต่ผลประชามติจะออกมาอย่างไรรัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายและ 2.การทำประชามติเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งต้องมีเงื่อนไข โดยที่ผู้มาใช้สิทธิ์ต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ซึ่งเรื่องต้องระบุว่ามีผลกระทบกับคนจังหวัดกระบี่ทั้งจังหวัดหรือไม่ หรือเฉพาะบางอำเภอเท่านั้นและผลประชามติต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ด้วย และมีผลผูกพันในทางปฎิบัติ http://www.komchadluek.net/news/politic/261431 ............................................................... ถ้าเป็นประชามติ จะดีไหมครับ ?
http://www.bugaboo.tv/watch/301772 ข่าว 7 สี - รัฐบาลจัดทำอินโฟกราฟฟิกและอีบุ๊ค 5 ชุด เพื่ออธิบายและทำความเข้าใจโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน จังหวัดกระบี่และรวมไปถึงโรงไฟฟ้า จะนะ จังหวัดสงขลา อินโฟกราฟฟิก 40 หน้า และเอกสารเกี่ยวกับพลังงาน เพิ่มเติมในรูปแบบอีบุ๊คในรูปแบบการ์ตูนอีก 4 ชุด เป็นการอธิบายความจำเป็นของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน จังหวัดกระบี่ และโรงไฟฟ้า จะนะ จังหวัดสงขลา ในการชี้แจงประเด็นต่างๆทั้งเรื่องความมั่นคงทางพลังงานความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ฝั่งอันดามันรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว รวมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตชุมชน โดยยืนยันเป็นการใช้เทคโนโลยีสะอาด ทันสมัย ตรวจสอบได้ ควบคุมกระบวนการผลิต รวมถึงมลพิษอย่างเข้มงวดและมากกว่ากฎหมายกำหนด 3 เท่าเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซและการฟุ้งกระจาย ตั้งแต่การขนส่งถ่านหิน และการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อคุณภาพอากาศ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต พร้อมระบุถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าของโลก ขณะเดียวกันพลังงานทางเลือกหรือพลังงานหมุนเวียนยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ขณะที่นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสนับสนุนรัฐบาลที่ให้มีกระบวนการศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีความสมบูรณ์และโปร่งใส เพราะถึงทำให้การก่อสร้างต้องชะลอออกไป แต่เมื่อมีผลการศึกษาที่ทุกฝ่ายยอมรับ ก็จะเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดการประท้วงใดๆขึ้นมาอีก ก.พลังงาน-กฟผ.ถกศึกษา EIA-EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ http://news.ch7.com/detail/216249/กฟผ.พร้อมแก้ไข_200_ข้อกังวลโรงไฟฟ้าถ่านหิน_จ.กระบี่.html พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment) และรายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA (Environmental Health Impact Assessment) โรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ.จะพิจารณาให้เริ่มต้นจัดทำใหม่ หรือจะรับแนวทางแก้ไขของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี โดยขณะนี้ สผ.ได้ส่ง EIA กลับมาให้ กฟผ.แก้ไขข้อกังวลต่างๆ กว่า 200 ข้อ ซึ่ง กฟผ. จะต้องปรับปรุงพร้อมกับนำความเห็นของไตรภาคีประกอบการยื่นต่อ สผ.อีกครั้ง ถ้า สผ.เห็นว่าต้องเปิดรับฟังความเห็น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ก็สามารถเปิดเวทีรับฟังความเห็นเพิ่มเติมได้มากกว่า 3 ครั้ง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ไม่ต้องเริ่มต้นกันใหม่ http://sports.ch7.com/detail/216265 ชาวชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้า ยอมรับเป็นห่วงประเด็นสุขภาพ หากมีโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน แต่ก็มั่นใจว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถดูแลได้อย่างดี... กฟผ.รอแนวทางแก้ EHIA โรงไฟฟ้ากระบี่ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะมีความชัดเจนสัปดาห์หน้า
หลายประเทศนำเทคโนโลยี USC มาใช้ และในวันนี้ เรามีต้นแบบโรงไฟฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อสร้างมาแล้วกว่า 25 ปี http://sports.ch7.com/detail/216376 นายกรัฐมนตรี จี้ทำ "EIA - EHAI" โรงไฟฟ้าถ่านหินให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ช้าจะเสียการ ชี้หากผลออกมาผ่านกลุ่มคัดค้านต้องยอมรับ อย่าเสียเวลาประท้วงอีก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ถึงเรื่องการทำ EIA และ EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่าไปฟังคำบิดเบือนของใครทั้งสิ้น วันนี้ให้ไปทำใหม่ก็ไปทำใหม่ คำว่าทำใหม่ก็ต้องมีของเก่าอยู่แล้วด้วย ก็เอาของเก่ามาพิจารณาร่วมกันกับของใหม่ที่ยังทำไม่เสร็จ ทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งถ้าไม่ผ่านก็สร้างไม่ได้ ทุกคนต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดผลตามมา แล้วเราก็ต้องไปพิจารณาทางเลือกอื่นที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนเดือดร้อนในเรื่องของค่าไฟฟ้าน้อยที่สุด รวมทั้งต้องคำนึงถึงต้นทุนด้านพลังงานชนิดอื่นอีก การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนสามารถใช้ในโรงงานขนาดเล็ก ในการที่จะส่งเข้าเป็นพลังงานไฟฟ้าหลักอยู่ในระบบอย่างเดียว ค่อนข้างที่จะเป็นปัญหา เพราะไม่เสถียร จึงต้องมีพลังงานหลักใส่เข้าไปด้วย ทั้งหมดก็จะมีการผสมกันทดแทนกันอยู่ในกรอบ 100 เปอร์เซ็นต์ ของการจัดหาพลังงาน จริง ๆ แล้วรัฐบาลไม่อยากจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะไม่ได้เป็นผลอะไรกับรัฐบาล แต่เป็นผลกับประเทศชาติ การทำ EIA และ EHIA ก็ขอให้เร่งทำ ให้ได้ข้อยุติ จะได้ หรือไม่ได้ก็แล้วแต่ ยิ่งช้าก็จะยิ่งเสียการ จะได้รีบคิดกันใหม่ จะทำอะไร แล้วก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน การเสียอนาคต เสียโอกาส ความเสี่ยง พลังงาน ต้นทุน แล้วก็ความเสถียร แล้วก็ราคาค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบด้วย
มันจบแบบ ค่าไฟแพงขึ้น หรือว่า ที่เสนอ lng ความเสี่ยงพลังงานก็จะมากกว่าเดิมอีก ที่สำคัญค่าไฟก็จะแพงขึ้นในกรณีราคาน้ำมันสูงขึ้นแบบในอดีต เพราะlng ราคาสวิงแรงกว่า ถ่านหิน
ชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าถ่านหินมัตสึอูระ ประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถอยู่ร่วมกับโรงไฟฟ้าได้ http://www.krobkruakao.com/local/37556 วันนี้มีความคืบหน้า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ โดยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่านายกรัฐมนตรี สั่งยกเลิก EIA และ EHIA ที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ เพื่อเริ่มต้นใหม่ พร้อมระบุว่า เป็นห่วงการมีส่วนร่วมของประชาชน พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันผ่านเอกสารเผยแพร่ข่าว เมื่อหัวค่ำว่า นายกรัฐมนตรี สั่งให้สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหนังสือไปถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อแจ้งให้ กฟฝ. ยกเลิกการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ในกรณีโครงการสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และให้เริ่มต้นกระบวนการศึกษาผลกระทบใหม่ทั้ง 2 ฉบับ พลโทสรรเสริญ บอกว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงในประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญ และระบุตอนหนึ่งว่า มีหลายปัญหาที่รัฐบาลต้องแก้ไขปฎิรูปเพื่อให้มั่นคงระยะยาว เช่นเดียวกับกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ที่ต้องรับฟังความเห็นประชาชน ซึ่งเมื่อมีคำสั่งดังกล่าวแล้ว เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะหามาตรการ เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติให้เป็นผล ขณะเดียวกัน ได้เรียกร้องให้ผู้เห็นต่างเปิดใจกว้าง รับฟังรัฐบาลโดยระบุเพิ่มเติมว่า การระดมมวลชนมาเพื่อชุมนุมเรียกร้อง ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนจนเกิดความวุ่นวาย รัฐบาลจะดำเนินการเฉียบขาด ก่อนจะมีการเปิดเผยคำสั่งยกเลิก EIA และ EHIA เมื่อช่วงเย็น วันนี้เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ได้ เผยแพร่แถลงการณ์ ฉบับที่ 4/2560 ผ่านเฟซบุ๊ค และเครือข่ายออนไลน์ มีใจความสำคัญ คือเรียกร้องให้รัฐบาล แสดงความจริงใจในการเริ่มต้นกระบวนการศึกษา EIA และ EHIA ใหม่ทั้งหมด โดยการออกหนังสือ อย่างเป็นทางการที่จะให้รายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯทั้งสองฉบับเป็นโมฆะภายในวันพรุ่งนี้ หากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าว เครือข่ายจะออกแถลงการณ์ เพื่อกลับมาชุมนุมใหม่อีกครั้ง แต่หลังรับทราบประเด็นข่าวว่า นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ยกเลิกรายงานทั้งสองฉบับแล้ว นายประสิทธิชัย หนูนวล หนึ่งในแกนนำเครือข่ายปกป้อง อันดามันจากถ่านหิน เปิดเผยกับทีมข่าว 3 มิติ ว่าเครือข่ายและผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ พอใจ ที่นายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นไปตามแถลงการณ์ของเครือข่าย และพรุ่งนี้เครือข่ายฯ จะติดตามว่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือสผ.จะส่งหนังสือถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อแจ้งไปยัง การไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย ให้ยกเลิกรายงานทั้ง 2 ฉบับ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำชับมาหรือไม่ หลังจากนั้นเครือข่ายฯ จึงจะประเมินว่าจะ มีท่าทีหรือแถลงการณ์ใดๆออกมาเพิ่มเติม ถ้าดูในกระบวนการทำ EIA และ EHIA แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน หลัก เริ่มจากที่เจ้าของโครงการคือรัฐวิสาหกิจ ต้องจัดการรับฟังและสำรวจความคิดเห็นทั้งหมด 3 ครั้งเรียกชื่อย่อ ว่า รายงานค. 1 ค. 2 และ ค.3 ใช้เวลาราว 12 เดือน ขั้นที่สองคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ใช้เวลาอนุมัติการดำเนินการราว 18-24 เดือน ขณะที่สถานะล่าสุดของร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั้ง 3 ขั้นตอน ร่างรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพฉบับสมบูรณ์ ถูกส่งให้คณะผู้ชำนาญการ ของสผ. เพื่อให้ความเห็น ก่อนจะขออนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งการกลับไปเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนั้น จะทำให้โครงการเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จออกไปเป็นปี 2567 หรือ 7 ปี นับจากนี้หรือหากเป็นการให้ทบทวนและแก้ไขใหม่ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จเป็นประมาณปี 2564 ถึง2565 หรือราว 4-5 ปี นับจากนี้ ขยายข่าว 27/02/60 โรงไฟฟ้าถ่านหิน จำเป็นแค่ไหน นายกรัฐมนตรี ยังสั่งการให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเตรียมเปิดเวทีสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานก่อนที่จะเดินหน้าทำ EHIA และ EIA ใหม่ เพื่อให้เห็นภาพรวมพลังงานของประเทศไปพร้อมกัน กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ นายกฯ สั่งให้ทำ EIA และ EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ใหม่ทั้งหมด พร้อมให้เปิดเวทีทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการใช้พลังงาน
http://www.nationtv.tv/main/content/378536653/ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินยังคงเป็นข้อถกเถียงกับทั้งฝ่ายที่สนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน โดยทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นไป ติดตามรายงาน คุณธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย นักวิชาการจุฬาฯ หนุนสร้างโรงไฟฟ้าแม้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองสูงกว่าร้อยละ 40 แต่หากดูตามรายภาคแล้วพบว่า บางภาคมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าใกล้เคียงหรือน้อยกว่าพื้นที่นั้น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชี้ให้เห็นถึงปัญหาความมั่นคงทางพลังงาน หากไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปรียบเทียบกำลังการผลิตและความต้องการใช้ไฟฟ้ารายภาค ภาคเหนือ มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 4,014 MW มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพียง 2,873 MW ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 3,622 MW แต่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า 3,693 MW จึงต้องซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว มาเพิ่มอีก 1,200 MW ภาคกลาง มีกำลังการผลิต 22,655 MW มีความต้องการเพียง 99 MW ที่เหลือถูกส่งไปกรุงเทพมหานคร ที่มีกำลังการผลิตเอง 2,690 MW ในขณะที่ความต้องการสูง 10,095 MW สำหรับภาคใต้ มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 3,182 MW มีความต้องการใช้ไฟฟ้า 2,600 MW ทั้งยังมีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น พื้นที่ภาคใต้ จึงเป็นพื้นที่เป้าหมายของการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เชื้อเพลิงจากถ่านหินคือสิ่งที่รัฐบาลเลือก เพิ่มสัดส่วน จากปัจจุบันที่ใช้ก๊าซ ผลิตไฟฟ้ามากถึงร้อยละ 60 ซึ่งมากเกินไป วงเสวนาถ่านหิน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า เมื่อถ่านหินไม่เป็นที่ยอมรับของภาคประชาสังคม ตัวเลือกอื่นก็เหลือเพียงพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนพลังงานหมุนเวียนนั้นไม่สามารถเป็นไฟฟ้าฐานได้ เนื่องจากมีกำลังการผลิตเพียงหลักร้อย MW ล่าสุดรัฐบาลได้ยกเลิก รายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เรื่องนี้ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความไม่ชัดเจนในหลายด้านจริง โดยการรับฟังความเห็น ซึ่งในกรณีของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คงไม่สามารถใช้วิธีฟังเสียงส่วนใหญ่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น นักวิชาการเห็นว่า จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม โดยมีทางเลือกเป็น นิวเคลียร์ ถ่านหิน รวมถึงพลังงานหมุนเวียนเสริม ซึ่งหากต้องยืดระยะเวลา ออกไป นั่นหมายถึงต้นทุนก่อสร้างที่ สผ.ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ดึงทุกฝ่ายร่วมทำEIAใหม่ การล้มเลิก อีไอเอและอีเอชไอเอ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แม้จะเป็นการยอมอ่อนข้อให้กับกลุ่มที่คัดค้าน แต่ก็ถือว่าเป็นตัดสินใจที่ดีที่สุดในขณะนี้ จะเป็นเพราะอะไร ไปติดตามจากรายงานพิเศษ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 28 ก.พ.2558 นี่เป็นเสียงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เริ่ม “นับหนึ่ง” ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือ มูลค่า 4.1 หมื่นล้านบาท จากเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำเสียงแข็งว่า การจัดทำอีไอเอและอีเอชไอเอ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ให้ “ทำต่อ” จากของเดิมได้เลย ไม่ต้องเริ่มใหม่ หากย้อนกลับไปในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา นอกจากการประเด็นผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีต่อ “แหล่งท่องเที่ยวระดับโลก” เช่น กระบี่แล้ว ประเด็นที่ฝ่ายต้านฯ หยิบยกมาเป็น “หลักพิง” และโน้มน้าวให้สังคม “ไม่เอา” โรงไฟฟ้ากระบี่ คือ “จุดอ่อน” ในการจัดทำอีไอเอและอีไอเอชไอ ที่ “ไม่ครบถ้วน” “ไม่สมบูรณ์” และ“ประชาชนไม่มีส่วนร่วม” และก็ได้เสียงตอบรับมากพอสมควร ประสิทธิชัย หนูนวล แกนนำเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน บอกว่า การทำอีไอเอและอีเอชไอ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นเพียงกระบวนการที่ “ฉ้อฉล” เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับโครงการฯ มีการนำ “ตำรวจ-ทหาร” มาปิดกั้น ไม่ให้ฝ่ายที่ไม่เห็นต่าง เข้ามาร่วมเวทีรับฟังความเห็นในชุมชน ในขณะที่ชุดข้อมูลที่นำมาเปิดเผยต่อสาธารณชนเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งระบุว่า การจัดทำ “อีไอเอและอีเอชไอเอ” โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และท่าเทียบเรือ มีข้อบกพร่องนับร้อยข้อ และยังไม่มีแนวทางลดผลกระทบที่ชัดเจน เช่น การสร้างอุโมงค์และแนวสายพานลำเลียงถ่านหิน เหนือสิ่งอื่นใด ที่ตั้งท่าเทียบเรือ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบี่นั้น เป็นพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ “แรมซ่าไซต์” อีกทั้งยังไม่มีการทบทวนผลกระทบทางด้านสุขภาพที่สอดคล้องความเป็นจริง หากพล.อ.ประยุทธ์ ดึงดันที่จะให้ “สานต่อ” อีไอเอและอีเอชไอเอฉบับเดิม เพื่อจะเริ่มสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ให้ได้ภายใน 1 ปีจากนี้ น่าจะมี “ผลได้” ไม่คุ้ม “เสี่ยง” และมีโอกาสเพลี้ยงพล้ำสูงในเกมมวลชน ขณะที่ “กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์” ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวกับ “ทีมข่าว NOW26” โดยระบุว่า กฟผ.ไม่หนักใจ ในการเริ่มต้นจัดทำอีไอเอและอีเอชไอเอ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และท่าเทียบเรือใหม่เลย เพราะอีไอเอและอีเอชไอเอฉบับก่อน กฟผ.ได้ฟังความเห็นของชุมชนจนได้ทางเลือกที่ทุกฝ่ายพอแล้ว และก็มีข้อมูลพื้นฐานเดิมรอบรับ แต่อาจต้องเพิ่มบางส่วน นอกจากนี้ ที่ผ่านมา กฟผ.ตอบคำถามของ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้ทุกข้อ ส่วนการก่อสร้างท่าเทียบเรือในแหล่งชุ่มน้ำบนปากแม่น้ำกระบี่ ทาง คชก.ได้เห็นชอบแล้วว่า สามารถทำได้ และตามปกติแล้วการจัดทำอีไอเอ และอีเอชไอเอ จะใช้เวลา 2 ปี ดังนั้น กฟผ.มั่นใจว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี สะท้อนความมั่นใจของกฟผ.ว่า การทำตามขั้นตอน ระเบียบ กฎหมาย ก่อนการสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ ผ่านทุกข้อแน่นอน เพียงแต่ต้องอาศัยเวลาอีก 1-2 ปี สร้าง “มวลชน” สนับสนุนให้เข้มแข็งกว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น แม้ว่าคำสั่งพล.อ.ประยุทธ์ จะทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ต้องเลื่อนออกไปอย่างน้อย 2 ปี แต่ก็เป็น “ทางเลือก” ที่สมเหตุสมผล เพราะจะทำให้ทั้งฝ่ายต้านและฝ่ายหนุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีโอกาสกลับมามานั่งคุยกัน “บนโต๊ะ” แทนการระดมมวลชนมากดดันบน “ท้องถนน” โดยเฉพาะในยามนี้ ยามที่รัฐบาลกำลังเผชิญศึกหลายด้าน สู้ปล่อยให้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการ “เลือกตั้ง” เป็นผู้ตัดสินใจ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด รายงานพิเศษ : เปิดรายงานการใช้ไฟ้ฟ้า-กำลังผลิตในประเทศไทย
ความเห็นต่างในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของข้อมูล กระทั่งนายกรัฐมนตรีตัดสินใจยกเลิกรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA และให้เริ่มกระบวนการใหม่ทั้งหมด นักวิชาการ เห็นตรงกันว่า นี่จะเป็นโอกาสดีที่ประชาชนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จะได้รับฟังความเห็นซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่แนวทางที่ดีที่สุด ติดตามจากรายงาน รัฐมนตรีพลังงานเผยเตรียมเปิดรับฟังความเห็นประชาชนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ภายในเดือนนี้ ย้ำจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานประเทศในอนาคต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ EHIA ใหม่ภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้มากที่สุด ซึ่งภายในเดือนนี้จะมีการเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ข้อยุติ โดยการเปิดรับฟังความเห็นก็จะดูในจังหวัดสำคัญๆ ขณะที่การดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ทำตามขั้นตอนกฎระเบียบของกฎหมายซึ่งถ้าขั้นตอนตามกฎหมายผ่านก็มองว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องยอมรับ ส่วนสถานการณ์ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีปริมาณการใช้และปริมาณการผลิตใกล้เคียงกัน แต่ในอีก3-4ปีข้างหน้า อาจประสบปัญหาหากไม่มีการสำรองปริมาณไฟฟ้า เช่นการเพิ่มโรงไฟฟ้าใหม่หรือการเพิ่มกำลังไฟฟ้า ซึ่งก็เป็นสิ่งที่กระทรวงพลังงานกำลังพยายามหาวิธีจัดการแก้ไขปัญหาเพื่อให้มีปริมาณไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ ขณะที่การให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางด้านพลังงานจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมาเช่นที่จ.นครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับ ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขณะที่ได้ให้ความช่วยเหลือเกือบสมบูรณ์แล้ว รวมถึงพลังงานจังหวัดทั้ง 9 จังหวัดได้รายงานข้อมูลผลกระทบจากอุทกภัยปัจจุบันได้เข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนเป็นอีกภารกิจที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญ และผลของการดำเนินงานก็พิสูจน์ได้ ด้วยรางวัล EIA Monitoring Awards 2016 ในปีที่ผ่านมา ติดตามจากรายงาน เหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั้งประเทศไทยเมื่อปี 2521 ที่ทำให้ทุกคนได้รับบทเรียนถึงการไม่มีไฟฟ้าสำรองในประเทศ สร้างความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ทั้งเศรษฐกิจและสังคม การสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อสร้างพลังงานสำรองจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นนับจากนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางพลังงาน ไม่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันแบบที่ผ่านมา ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านพลังงานในอนาคต เพราะความต้องการใช้พลังงานของประเทศที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางการเสริมสร้างพลังงานอื่นขึ้นมาทดแทน หนึ่งในนั้นคือการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพงและการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินเองในประเทศ เพื่อเป็นทางออกของวิกฤติพลังงานในอนาคต ติดตามได้จากรายงาน
http://news.ch7.com/detail/220546 หลังมีคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 4 และ 5 แต่งตั้งคณะกรรมการ และอนุกรรมการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ไฟฟ้าในภาคใต้ ที่มีผู้บัญชาการทหารบกและเลขาธิการ คสช.เป็นประธานนั้น วันนี้ได้เปิดคิวเวทีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ไฟฟ้าใน 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งทางเลือกในการสร้างโรงไฟฟ้าที่เหมาะสม คำนึงถึงผลประโยชน์ของภูมิภาคและประชาชน โดยแบ่ง 3 พื้นที่ คือแถบอันดามันจัดที่จังหวัดกระบี่ มี พลโทปิยวัฒน์ นาควานิช เป็นประธาน ภาคใต้ตอนบนจัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี พลตรีวรพล วิศรุตพิชญ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธาน และภาคใต้ตอนล่างจัดที่จังหวัดสงขลา มี พลโทคุณวุฒิ หมอแก้ว แม่ทัพน้อยที่ 4 เป็นประธาน ทุกเวที ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอข้อมูลของ กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากนั้นเป็นการรับฟังความเห็นกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ส่วนเรื่องที่มีทหารเป็นตัวหลักในเรื่องนี้นั้น มีคำอธิบายว่า เป็นการรับฟังความเห็น โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมคณะด้วย และเชื่อว่าเวลา 1 เดือนน่าจะเพียงพอ ในอนาคต พลังงานทดแทนมีโอกาสเป็นอีกหนึ่งทางออกของวงการพลังงานบ้านเราได้ เพราะวันนี้ภาครัฐ ที่ได้วางโรดแม็ปการปฏิรูปพลังงานอย่างชัดเจน ขณะที่ภาคเอกชน อย่างบางจากปิโตรเลียม บริษัทพลังงานสัญชาติไทย ก็เดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมระบบสะสมพลังงาน สิ่งเหล่านี้คือการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของไทยที่ก้าวหน้าขึ้นไปพร้อมๆกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ติดตามจากรายงานพิเศษวิกฤตพลังงาน ทางออกประเทศไทย ตอนนี้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถูกนำเสนอออกมาผ่านโลกโซเชียลอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน ประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมา เป็นเรื่องการประกาศลดการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินของจีน ซึ่งถูกนำมาตีความเผยแพร่ว่า จีนจะเลิกการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน http://www.krobkruakao.com/local/39693 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดสงขลา โดยเชิญภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน ร่วมให้ความเห็นโดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสถานการณ์ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยเปิดเวทีใน 3 จังหวัด ที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา แต่ที่ผ่านมามีการคัดค้าน จนคณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ใหม่ ซึ่งที่จังหวัดกระบี่ พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้แทน คสช. เปิดกิจกรรมการสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ตและ ตรัง มีประชาชนร่วมรับฟังจำนวนมาก แม่ทัพภาคที่ 4 ย้ำว่า การเปิดเวทีครั้งนี้เพื่อให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ไฟฟ้าในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตแต่การนำเสนอความคิดเห็นวันนี้ ยังไม่ใช่ข้อสรุปที่ คสช.และรัฐบาลจะนำไปประกอบการตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ แต่จัดขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการให้หาทางออกที่ส่งผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด แต่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ขณะที่นายทวารัฐ สูตะบุตร โฆษกกระทรวงพลังงาน นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่าภาคใต้มีการใช้ไฟฟาสูงสุด ในพื้นที่ 14 จังหวัด 2,630 เมกะวัตต์ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2,613 เมกระวัตต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเพราะอากาศร้อนอบอ้าว การขยายตัวของเศรษฐกิจการท่องเที่ยว การใช้พลังงานหมุนเวียนจากพลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม แดด และชีวมวล ไม่เสถียร เพราะต้องขค้นอยู่กับสภาพอากาศ จึงจำเป็นต้องมีโครงการโรงไฟฟ้าที่มั่นคงขึ้น โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งยืนยันได้ว่าเป็นพลังงานที่สะอาด ส่วนการเสนอความคิดเห็นมีทั้งกลุ่มสนับสนุนและคัดค้าน เช่น นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ซึ่งเห็นว่ารัฐไม่ควรผูกขาดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อแก้ปัญหาไฟฟ้าในภาคใต้เพียงทางเลือกเดียว ขณะที่นายอมฤติ ศิริพรจุฑากุล ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า กลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ไม่ได้คัดค้านแบบไม่มีทางออก แต่เรียกร้องให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำข้อกังวลของประชาชนไปศึกษาให้รอบด้าน เช่น ผลกระทบต่อด้านการท่องเที่ยวไปพิจารณาให้มากขึ้นด้วย ส่วนที่จังหวัดสงขลา พลโทคุณวุฒิ หมอแก้ว แม่ทัพน้อยที่ 4 เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งมีตัวแทน 25 คน จากจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ หนึ่งในผู้่ร่วมคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน และท่าเทียบเรือน้ำลึกเทพา จังหวัดสงขลา เห็นว่าการเปิดเวทีลักษณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ และชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนไม่ได้เข้าร่วม จึงอยากเห็นเวทีที่รับฟังแต่ละปัญหา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี
NGO พวกนี้ก็แปลกๆ ดีแฮะ พอเค้าจัดเวทีให้เข้าร่วมก็ไม่เข้าร่วม เสร็จก็มาบอกว่าภาครัฐไม่เห็นหัวประชาชน แล้วก็คัดค้านกันต่อไป ทุกเวทีก็ให้เวลาเท่ากัน คนละ 10 นาที แถมเวทีบางจังหวัดก็ให้จำนวนผู้คัดค้านมาพูดมากกว่าผู้สนับสนุนซะอีก เจ้าหน้าที่ คุมเข้มเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเวที ที่ ทาง คสช.เปิดเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้โดยมีภาคประ ชาชน -ประชาสังคม จากพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ประกอบด้วย จ.สุราษฎร์ธานี ,นครศรีธรรมราช,ชุมพรและระนอง กว่า 1,260 คน โดยก่อนเข้าพื้นที่เขตสัมมนา ทางเจ้าหน้าที่มีการตรวจเข้มความปลอดภัยทุกคน ที่เข้าในห้องประชุม ทั้งตรวจวัตถุระเบิด โดยทุกคนให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ก่อนการแสดงความคิดเห็น ทางที่ประชุมได้อธิบายกติการการแสดงความคิดเห็น ให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ ห้ามแสดงออกในทางที่ไม่เหมาะสมและอนุญาตให้แสดงความคิดเห็นคนละ 10 นาทีเท่านั้น. http://news.ch7.com/detail/221001 รายงานสดจาก จ. กระบี่ : เริ่มแล้วสำหรับเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อจะรวบรวมความเห็นเสนอต่อหัวหน้า คสช.ภายใน 1 เดือน ก่อนตัดสินใจว่าเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าหรือไม่
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000064509 แหล่งก๊าซ JDA มีปัญหา ถ้าไฟตก ไฟดับ แล้วจะรู้ว่า การมีแหล่งพลังงานหลักที่หลากหลาย จะปลอดภัยขนาดไหน
อย่าไปซื้อไฟฟ้ามาเลยครับ ต้องไฟดับ ทุกวัน วันละหกชั่วโมงตอนหกโมงเย็นเป็นต้นไป จนกว่าแหล่งก๊าซ JDA จะซ่อมเสร็จ
พอมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น ไม่เห็นมีพวกโลกสวยทุ่งลาเวนเดอร์ออกเสนอวิธีการแก้ไขอะไรบ้างเลยนะครับ http://sports.ch7.com/detail/235198 กฟผ.สั่งเร่งจ่ายไฟช่วยเสริมภาคใต้ เหตุแหล่งผลิตขัดข้อง หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี โฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ได้รับแจ้งจาก ปตท.ว่า เกิดเหตุขัดข้อง ต้องหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA-A18 ส่งผลให้โรงไฟฟ้าจะนะ เครื่องที่ 1 ต้องปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมันดีเซลแทน และต้องหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าจะนะ เครื่องที่ 2 ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงให้ใช้น้ำมันดีเซลในการเดินเครื่องแทนก๊าซธรรมชาติได้ กฟผ.จึงต้องปรับแผนการจ่ายไฟ เพื่อให้พื้นที่ภาคใต้มีไฟฟ้าใช้เพียงพอกับความต้องการใช้ที่ 2,350 เมกะวัตต์ โดยได้ประสานขอซื้อไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซีย รวมทั้งให้โรงไฟฟ้าขนอมเดินเครื่องเพิ่ม และได้สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา เขื่อนบางลาง รวมถึงเพิ่มการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางอีก 200-300 เมกะวัตต์ มาช่วยเสริมระบบ หากภาคใต้ไม่มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงกว่าปัจจุบันหรือมีเหตุการณ์อื่นมากระทบอีก เชื่อว่าจะสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้ได้เพียงพอ คาดว่าจะใช้เวลาซ่อม 3 วัน อย่างไรก็ตามต้องขอให้ประชาชนในภาคใต้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่หยุดดังกล่าวจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย นอกจากนี้ ยังกล่าวว่าทุกครั้งที่เกิดเหตุขัดข้อง หรือหยุดซ่อมบำรุง กฟผ.ต้องหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าจะนะบางส่วน หรือหากสายไฟฟ้าที่เชื่อมโยงระหว่างภาคกลางกับภาคใต้ขัดข้อง จะทำให้กระทบกับการจ่ายไฟฟ้าของภาคใต้ ดังนั้นภาคใต้จึงควรต้องมีแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงและช่วยให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้มีความมั่นคงเพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า
มาเลเซีย 17 พ.ย. - พาไปรู้จักกับโรงไฟฟ้าถ่านหินจิมาห์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวง เพียง 60 กิโลเมตร ที่นั่นใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเปิดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามาเกือบ 10 ปีแล้ว ระบบเทคโนโลยีและความรู้สึกของชุมชนต่อโรงไฟฟ้าที่นั่นเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน. – สำนักข่าวไทย ปัจจุบันถ่านหินถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ รวมทั้งที่ประเทศเพิ่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ล่าสุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำสื่อมวลชนภาคใต้ ศึกษาดูงานการผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินจิมาร์ของมาเลเซีย ที่มีความคล้ายคลึงกับเทคโนโลยีโครงการศึกษาก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทพาในประเทศไทย
เจ้าหน้าที่กว่า 1 พันนาย คุมเข้มเวทีแสดงความคิดเห็นสร้างโรงไฟฟ้าที่จ.กระบี่ เบื้องต้นยังไม่มีกลุ่มต้าน กระบี่ 28 ม.ค.-ประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขณะที่กลุ่มต่อต้านปฏิเสธร่วมเวทีดังกล่าว เวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน จ.กระบี่ ที่ ต.คลองขนาน ต.เหนือคลอง ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ที่ทำการ อบต.คลองขนาน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีประชาชนใน 4 ตำบลของ อ.เหนือคลอง ประกอบด้วยตำบลคลองขนาน เหนือคลอง ตลิ่งชัน และปกาสัย รวมถึง ต.คลองท่อมใต้ และโคกยาง อ.คลองท่อม ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียลงทะเบียนเข้าร่วมมากกว่า 2,500 คน ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด โดยนำเครื่องสแกนมาติดตั้งบริเวณประตูทางเข้าป้องกันพกพาอาวุธเข้ามา การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ แยกเป็น 2 แบบ คือ กรอกแบบสอบถาม และแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา โดยให้เวลาคนละ 5 นาที ภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขณะที่ก่อนเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นมีตัวแทนเครือข่ายประชาชนพื้นที่ 4 ตำบลของ อ.เหนือคลอง แสดงจุดยืนสนับสนุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ระบุเป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ขณะที่กลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินกระบี่ไม่ได้เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ แกนนำระบุเหตุผลว่า เนื่องจากการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพของ กฟผ.ถูกยกเลิกมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ กฟผ.นำโครงการเดิมกลับมาใหม่อีกครั้ง การจัดทำเวทีครั้งนี้จึงไม่มีความโปร่งใส.-สำนักข่าวไทย โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ที่ไม่เป็นไปตามแผน ทำให้ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ รัฐบาลจึงต้องเตรียมความพร้อมหาแหล่งพลังงานเพิ่ม ด้วยการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน