ความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปีของเยอรมันมากกว่าของไทยครับ กังหันลมเลยผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ แดดทางเขตอบอุ่นค่อนข้างสม่ำเสมอกว่าทางเขตร้อนที่มีเมฆมาก แต่ไม่ว่าจะลมหรือแดดมันไม่สารมารถกำหนดกำลังไฟได้แน่นอนครับ เกิดช่วงเวลาที่ต้องการไฟสูงแล้วแดดไม่มี ลมไม่พัดนี่จะทำไงล่ะครับ
น่าจะมีเท็คนิคการเก็บพลังไฟฟ้าไว้ใช้เวลาที่ลมไม่พัด ไม่งั้นรัฐบาลเขาคงไม่ทุ่มงบประมาณตั้งเสาติดสายไฟเพื่อส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมตามริมฝั่งทะเลตอนเหนือส่งไปทางใต้ของประเทศที่ไม่มีทะเล ระยะทางกว่า 500 กม
ก็ใช้วิธีแชร์กับพวกโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซหรือนิวเคลียร์ไงครับ เวลาไหนลมพัดแดดออก พวกโรงไฟฟ้าเหล่านี้ก็เบาเครื่องลง แต่ของไทยแม้แต่โซลาร์เซลล์หรือกังหันลมยังโดนต่อต้าน ยังจะหวังอะไรล่ะครับ
เก็บเข้าแบตเตอรี่ไงครับ ยิ่งแพงไปใหญ่ ราคาค่าแบตเอตอรี่อาจเกือบเท่าราคากังหัน เวลาแบตเตอรี่หมดอายุ ก็กลายเป็นขยะพิษอีก
ถ้าตามบ้านหรือโรงงานที่ผลิตไฟไว้ใช้เองคงเป็นแบบนั้น แต่ถ้าผลิตเพื่อขายไฟก็ผ่านตัวควบคุมแล้วเข้าสายส่งเลย
พอดีคุณ Bonner เค้าถามว่าเก็บพลังงานยังไง ก็เก็บไว้ในแบตเตอรี่ จะใช้ก็ดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ (DC) ผ่านอินเวอร์เตอร์แปลงเป็น AC ถ้าแบบนี้ค่อนข้างจะดี เพราะเราสามารถรู้ปริมาณไฟฟ้าสำรองจาก grid สำรองแบบนี้ และระบบgrid จะค่อนข้างมีเสถียรภาพแต่ลงทุนสูงมากโดยเฉพาะค่าแบตเตอรี่ ในตอนนี้หลายประเทศเลยพยายามวิจัยเรื่องการเก็บพลังงานในแบตเตอรี่กันมากมาย เพื่อให้ได้แบตเตอรี่แบบใหม่ที่เก็บไฟฟ้าได้สูง เร็ว ขนาดเล็กลง ปลอดภัยจากการระเบิดตอนเก็บพลังงานและราคาถูกลง ถ้ามีแบตที่ดีต่อไปรถไฟฟ้าหรือไฟฟ้าไฮโดรเจนอาจทดแทนรถน้ำมันได้เลย ถ้าต่อ grid เข้าระบบเลยก็แบบคุณ Solid Snake เลย แต่วิศวกรเขาก็ต้องคำนึงถึง ภาระ load ของสายส่งด้วยมั๊ง ไม่ใช่สักแต่ว่าต่อเข้าไป เพราะภาระ load ที่มีอาจทำให้สายส่งเสียหายได้
แบตยังแพงดังนั้นไม่มีระบบเก็บพลังงาน ลมและแดดไม่มีความสม่ำเสมอดังนั้นก็ต้องมีโรงไฟฟ้าจากพลังงานที่คุมได้เช่นแก๊สหรือถ่านหินอยู่ดี และก็ต้องเดินเครื่องเบาๆไว้เผื่อไฟไม่พอก็ต้องเร่งเครื่องปั่นไฟ สรุปเปลืองกว่ามาก *ค่าไฟเยอรมันแพงกว่าไทย4เท่า
เรื่องพลังงานทางเลือก ตอนนี้นึกถึงสมาชิกอยู่ท่านนึงที่เถียงกับผมบ่อยๆ ว่าขนาดจะติดโซลาร์เซล ยังจะไม่ให้เค้าติดเลย อยากให้มาดีเบทอีกรอบจัง เพราะรอบก่อนถามไปว่า ติดแล้วไม่ต้องมาขอ fit adder นะ ติดแล้วใช้ไปเลย ไม่ต้องมาขายคืนรัฐนะ อยากรู้ว่ามันจะยังติดกันหรือเปล่า พวก ngo ปัญญาอ่อน มีแต่โลกสวย ไม่รู้เรื่องความมั่นคงพลังงาน ผมละเห็นใจคนทำงานด้านพลังงานจริงๆ อย่างในเฟซเสรีไทย ก็มีคนนึงบ้าเรื่อง น้ำมันแก๊ส พอถามมากๆ ก็โดนโบ้ยว่าเป็นพวก นายทุน 555พวกนี้มันแถสีข้างถลอกจริงๆ สุดโต่งจนไม่มองความเป็นจริง เรื่องพลังงานลม ผมได้ไปฟัง IFEC โดย ดร คนที่ดูแลโปรเจค เค้ายังบอกว่า อย่าคาดหวังว่า เราจะได้แบบเมืองนอก ขนาดกังหันที่ออกแบบมา ยังเป็นกังหัน ที่หมุนรอบช้า ให้เหมาะกับลม เมืองไทยที่ไม่แรง เลยครับ
ทฤษฎีเกม NGO ไม่ได้โง่ และไม่ใช้ไม่รู้เรื่อง เพียงแต่มันต้องมีผลประโยชน์จูงใจให้เขาสุดโต่งขนาดนี้ เช่น สร้างผลงานเอาไว้รายงานให้สำนักงานใหญ่ต่างชาติ เพื่อของรับโบนัสหรือเงินเดือนเพิ่ม How Green Are Those Solar Panels, Really? http://news.nationalgeographic.com/...r-panel-manufacturing-sustainability-ranking/
55 ผมเคยฟัง NGO ดัดจริตคนนึงบอกว่าถ่านหิน นี่ มลภาวะตั้งแต่การขุดมาใช้เลยนะสู้ Solar ไม่ได้ เป็นพลังงานบริสุทธิ์ ผมเลยเข้าไปถามว่า รู้มั้ยว่า กว่าจะผลิตแผงโซลาร์นี่ ก่อสร้างมลภาวะขนาดไหน และเมื่อหมดอายุการใช้งาน เราจะกำจัดนี่ต้นทุนเยอะขนาดไหน มันบล็อกผมเลยครับ
นิวเคลียร์แม่มเลยครัช รำคาญโน่นก็ไม่ได้นี่ก็ไม่ได้ ตั้งที่ชลบุรีเขตทหารไปเลยครัช แถวนั้นก็แหล่งอุตสาหกรรมอยู่แล้วด้วย
จากความรู้ sneak sneak fish fish ของผมเอง โรงงานไฟฟ้า พวกนี้ต้องตั้งอยู่บริเวณที่มี แม่น้ำ และทะเล ครับ เผื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะไหลผ่านแม่น้ำลงทะเลไปเลย
ชลบุรีก็ทะเลไงครับ เขตทหารก็ริมทะเล แถมทะเลแถวนั้นก็เสื่อมโทรมไปพอสมควรแล้วด้วย ลองให้พัทยา กับนิคมอุตสหกรรมแถวนั้นใช้ไฟฟรีสักสิบปี ไม่รู้ จะสำเร็จอ่ะป่าว
อย่านะครับ สัตหีบทะเลยังดีอยู่ ข้ามไปก็เป็นแสมสาร มีพื้นที่อนุรักษ์เต่าทะเลด้วย รอเอาน้ำมันปาล์มมาใส่ตะเกียงจุดไฟตอนกลางคืนดีกว่า โมแลนติกดี ลูกจะได้เลิกเล่นเน็ตด้วย
http://www.thairath.co.th/content/514388 หมายเหตุประเทศไทย โรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำไมต้องสร้างที่กระบี่ โดย ลม เปลี่ยนทิศ 28 ก.ค. 2558 05:01 ช่วงนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงโฆษณาถี่ยิบ เพื่อผลักดันการสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอันสวยงามของไทย โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ ทั้งที่ จังหวัดกระบี่ มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลสวยงามติดอันดับโลก ทำไมต้องไปสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่เต็มไปด้วยมลพิษสารพัดที่ กระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอันสวยงามของไทย ผมไม่อาจทราบเจตนาเบื้องหลังได้ แต่จากข้อมูลโฆษณาของ กฟผ. อ้างข้อมูลจาก กรมการท่องเที่ยว ระบุว่า ปีที่แล้ว 2556 จังหวัดกระบี่มีนักท่องเที่ยว 3,275,495 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ชาวกระบี่ถึง 64,978 ล้านบาท (ปีนี้ 2558 การท่องเที่ยวคาดว่ากระบี่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 70,000 ล้านบาท) จากรายได้กว่า 400,000 ล้านบาทของ 5 จังหวัดไข่มุกอันดามัน แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของภาคใต้ เมื่อเห็นรายได้จากการท่องเที่ยวแล้ว ผมก็ไม่แปลกใจที่ ชาวกระบี่ และ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน จะคัดค้านการสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯก็ดันทุรังเดินหน้าเปิดประมูลให้ได้ในต้นเดือนหน้านี้ ก็ต้องลองวัดกำลังกันดู การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จะสามารถ สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในแหล่งท่องเที่ยวอันมีค่าของภาคใต้ได้หรือไม่ ผมเชื่อว่า สร้างไม่ได้ แม้จะมีการประมูลไปแล้วก็ตาม ผมก็ชอบท่องเที่ยว เคยไปเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวสวยงามมาหลายแห่งทั่วโลก เห็นคนของเขามีความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสวยงามแล้ว ก็ได้แต่ชื่นชมความเป็น “อารยชน” ของคนของเขา จะไปดำน้ำดูปะการัง ก็ต้องจ่ายค่าดู ไม่ใช่ดูฟรีอย่างไทย และจำกัดจำนวนคนในแต่ละวันด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ดำกันมั่วอย่างที่ไทยทำ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามให้ยั่งยืนตลอดไป จะได้เก็บไว้หากินนานๆ ความสวยงามของธรรมชาติ ไม่ใช่สร้างได้ในวันสองวัน แต่ธรรมชาติต้องใช้เวลาสร้างกันเป็นร้อยปี ผมจึงเรียนตามตรงว่า ผมมองไม่เห็นความจำเป็น ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จะดันทุรังไป สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางภาคใต้ของไทย เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินไปสร้างที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว สารพัดเหตุผลที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ยกขึ้นมาอ้าง เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด เรือขนส่งถ่านหิน 10,000 ตัน วิ่งแค่วันละ 2 ลำ ไม่กระทบต่อปะการังและแหล่งหญ้าทะเล ก็อ้างกันไป แต่ปัญหาที่ โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ก็พิสูจน์แล้วว่าเมื่อวันเวลาผ่าน ไป กฟผ.รักษาสัจจะกับประชาชนในท้องถิ่นได้แค่ไหน มีข้อมูลจากผู้รู้มากมายที่ไม่เห็นด้วยกับข้อมูลเชิงขู่ของ กฝผ. ที่อ้างว่า หากไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่วันนี้ ปี 2562 ภาคใต้จะเกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงพลังงาน มีข้อมูลหลายกระแสระบุว่า วันนี้กำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้สูงถึง 4 พันเมกะวัตต์ แต่ การใช้ไฟฟ้าสูงสุด ปี 2556 อยู่ที่ 2,683 เมกะวัตต์เท่านั้น ยังมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง สูงกว่า 1,300 เมกะวัตต์ ทำไมจึงต้องรีบสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ มีอะไรในกอไผ่หรือ ไฟฟ้าภาคใต้ ไม่เพียงมีกำลังผลิตสำรองสูงกว่า 50% เท่านั้น แต่ยังมี ไฟฟ้าจากเขื่อนรัชประภา ที่สามารถใช้ได้อีกมาก แค่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ลงทุน สร้างสายส่งเพิ่มเติมให้เพียงพอเท่านั้น ประหยัดทั้งการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วย ที่สำคัญไม่ทำลายแหล่งท่องเที่ยวสวยงามของกระบี่ นี่คือ ความจริง ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องฟังความอีกข้าง ท่านจะเลือก รักษาแหล่งท่องเที่ยวกระบี่ ที่ทำรายได้เข้าประเทศปีละ 70,000 ล้านบาท หรือ โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะทำลายการท่องเที่ยวอันดามันอย่างถาวร. “ลม เปลี่ยนทิศ” -------------------------------------------------------------------------------------- สรุปคือ ไม่อยากให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะกลัวแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม
เรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานลม นี่มันไม่ได้งดงามเหมือนเดินเล่นอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์แบบที่ NGO มันมโนกันหรอกนะครับ เสียงดังจนชาวบ้านไปร้องศาลปกครองให้เพิกถอนโครงการก็ทำกันมาแล้ว ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ ล่าสุดเสียงชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่เค้าสนับสนุนนะครับ ชัยภูมิ 9 ก.ย. – ทีมข่าวสำนักข่าวไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีศาลปกครองสั่งยกเลิกกิจการกังหันลมผลิตไฟฟ้า เช่าพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน จ.ชัยภูมิ. – สำนักข่าวไทย ประชาชนชาวอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จำนวนมาก ทยอยเดินทางมาชุมนุมกันบริเวณหน้าที่ทำการอำเภอเหนือคลอง เพื่อแสดงพลังสนับสนุนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว ซึ่งมีพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในอำเภอเหนือคลอง กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยื่นหนังสือถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงเจตนารมย์ของประชาชนในพื้นที่ ที่สนับสนุนโครงการนี้ โดยมีนายวิสูตร อินทรกำเนิด นายอำเภอเหนือคลองเป็นตัวแทนรับหนังสือ ที่ปรึกษากลุ่มชาวบ้าน 4 ตำบลรอบโรงไฟฟ้า ผู้แทนในการมอบหนังสือ ระบุว่า ปัจจุบันในพื้นที่อำเภอเหนือคลอง 8 ตำบล รวมกว่า 50 หมู่บ้าน มีประชาชนสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากว่าร้อยละ 80 โดยชาวบ้านในพื้นที่มีความมั่นใจว่า โครงการนี้จะไม่สร้างผลกระทบด้านสุขภาพ เพราะพื้นที่ก่อสร้าง เป็นพื้นที่โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่เก่า ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีผลกระทบ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ยังใช้เทคโนโลยีสะอาด ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบลงอีก และมองว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ที่ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ ขณะที่ประชาชนในพื้้นที่ก็จะได้รับประโยชน์จากกองทุนรอบโรงไฟฟ้า ขณะที่ นายอำเภอเหนือคลอง กล่าวระหว่างรับหนังสือ โดยขอให้ประชาชนในพื้นที่มีความสามัคคี ปรองดอง อย่ามองฝ่ายที่เห็นแตกต่างเป็นศัตรู เพราะต่างเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญเช่นเดียวกัน ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. วันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ จะพิจารณาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว หลังก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ชะลอโครงการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เรียกปลัดอำเภอคลองท่อม ชี้แจงหลังมีหนังสือถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ระดมชาวบ้านหมู่ละ 20 คน หนุนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ พร้อมยืนยัน ไม่มีนโยบายจัดตั้งมวลชน ชี้สร้างความแตกแยก หลังจากมีการแชร์หนังสือสั่งการของอำเภอคลองท่อม จ.กระบี่ ที่ระบุให้ทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน จัดคนหมู่บ้านละ 20 คน ไปสนับสนุนดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เวลา 15.00 น.บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดกระบี่ ลงนามโดยปลัดอำเภอ รักษาการนายอำเภอคลองท่อม นายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า เพิ่งเห็นหนังสือดังกล่าวหลังมีการส่งต่อกันมา หลังทราบเรื่องก็ได้ให้เจ้าหน้าที่เชิญตัวปลัดอำเภอคลองท่อม ผู้ลงนามในหนังสือดังกล่าวให้มาชี้แจงตนที่ศาลากลางวันนี้ และอยู่ระหว่างการประสานงาน เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นหนังสือจริงหรือปลอม หรือมีวัตถุประสงค์ใด แต่ทางจังหวัด ไม่เคยมีคำสั่งให้จัดตั้งมวลชนขึ้นมาสนับสนุน เพราะจะเกิดความแตกแยกขึ้น และรับฟังความเห็นของทั้ง 2 ฝ่าย เสนอส่วนกลางมาโดยตลอด ขณะเดียวกันวันนี้ นายอัจฉริยะ นพรัตน์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ปาล์มน้ำมัน จ.กระบี่ พร้อมกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานน้ำมันปาล์ม ได้เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ เข้ายื่นหนังสือผ่านจังหวัดถึงนายกรัฐมนตรี ให้รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ของผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อแก้ไขปัญหาไฟฟ้าภาคใต้ไม่เพียงพอ และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ หลังจากที่ผ่านมาได้มีการประกาศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้หยุดรับคำร้องและข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้า นายอัจฉริยะ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคมทั้งการสนับสนุนและการต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินของคนในพื้นที่ และที่ผ่านมาได้มีการเสนอทางเลือกความมั่นคงด้านพลังงานโดยเฉพาะจากปาล์มน้ำมัน จึงได้มายื่นหนังสือเพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่ขายไฟฟ้าได้แล้วจำนวน 42.5 แมกกะวัตต์ คิดเป็น 47 เปอร์เซ็นต์ของการใช้ไฟฟ้าในกระบี่ที่ 90 เมกกะวัตต์ แต่มีโรงงานสกัดที่ยื่นคำขอไปแล้ว 18 ราย 21 โรงงาน มีกำลังการผลิต 109.23 เมกกะวัตต์ จึงขอให้ทบทวนและรับซื้อ รวมทั้งปรับปรุงระบบสายส่งให้รองรับได้ต่อไป “ปลัดมท.”ยันไม่นโยบายเกณฑ์ม็อบหนุนสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขณะนี้ได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยให้รีบรายงานให้เร็วที่สุด พร้อมยืนยันว่า ทางกระทรวงมหาดไทยไม่เคยมีนโยบาย รวมถึงไม่เคยสั่งการให้มีการระดมคนมาสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ส่วนจะผิดระเบียบหรือไม่ต้องดูที่ข้อเท็จจริง ด้าน ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ยืนยันว่า กรมการปกครอง ไม่มีนโยบายที่จะมอบหมายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปจัดตั้งประชาชนมาสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ “ประวิตร” ไม่เชื่อสั่งเกณฑ์คนหนุนสร้างโรงไฟฟ้า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ไม่เชื่อจะมีการทำเอกสารสั่งเกณฑ์ชาวบ้านมาสนับสนุนการจัดสร้างโรงไฟฟ้าที่ จ.กระบี่ ไม่มีทาง เป็นไปไม่ได้ หากใครสนับสนุน ก็จะออกมาสนับสนุนเอง จะไปเกณฑ์ได้อย่างไร เอกสารใครก็สามารถทำได้ อ้างได้ เพื่อให้เกิดความเสียหาย และไม่รู้ว่าใครทำ ********************************************** เนื้อความที่ออกมาจากสำนักนายกฯ คือให้ทำความเข้าใจ และให้มีกระบวนการมีส่วนร่วม จากกระทรวงลงมาถึงจังหวัด เนื้อความคือให้ทำความเข้าใจ และให้มีกระบวนการมีส่วนร่วม ตรงกันกับที่มาจากสำนักนายกฯ แต่จากอำเภอลงไปถึงกำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน เนื้อความทำไมมันถึงกลายเป็นการเกณฑ์คนมาซะงั้น ???? สารถูกแปลงไปที่ขั้นตอนไหนกันแน่ ????
นี่คือวินาทีที่กลุ่มคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา และอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ประชิดรั้วทำเนียบรัฐบาลฝั่งถนนพิษณุโลก หลังปักหลักเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ เมื่อทราบผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ที่ให้เดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าถ่านดิน แกนนำก็ออกแถลงการณ์ ตัดสินใจปักหลักชุมนุมจนกว่า รัฐบาลจะสั่งยุติโครงสร้างก่อสร้าง ทำให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลต้องเข้าเจรจากับผู้ชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่เข้า-ออกทำเนียบรัฐบาล จนบรรยากาศเกิดความตึงเครียดมีการฉุดกระชากกันไปมาระหว่างฝ่ายตำรวจและกลุ่มผู้ชุมนุม ขณะที่นายกรัฐมนตรีหลังเสร็จสิ้นการประชุม กพช.ก็นั่งรถประจำตำแหน่งออกจากทำเนียบรัฐบาลโดยใช้ทางออกประตูสะพานอรทัยเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีได้ระบุว่า ที่ประชุม กพช.มีมติให้เดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดที่จังหวัดกระบี่ต่อไปตามขั้นตอนกฎหมาย เพราะโครงการดังกล่าวดำเนินการมาแต่ปี 2550 โดยมีการศึกษามาแล้วว่ามีความคุ้มค่าปลอดภัย ขณะที่ความเคลื่อนไหวที่จังหวัดกระบี่ นายกิตติชัย เอ่งฉ้วน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ หนึ่งในคณะกรรมการไตรภาคี ภาคประชาชนพิจารณาโรงไฟฟ้าถ่านหินและเป็นกลุ่มคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยืนยันว่า สมาชิกในกลุ่ม จะเดินหน้าคัดค้านต่อไป แม้ผลการประชุมของคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ จะมีมติให้เดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 870 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นไปตามที่กลุ่มคาดการณ์ไว้ เพราะรัฐบาลมีความพยายามสร้างโรงไฟฟ้าอย่างชัดเจนอยู่แล้ว พร้อมระบุด้วยว่า ที่ผ่านมาได้เสนอทางเลือก พลังงานทดแทน จากปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีโรงงานจำนวนมากในจังหวัด และพร้อมเดินหน้าผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการได้แต่ก็ไม่เป็นผล คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช.มีมติจากการประชุมวันนี้ เห็นชอบให้เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จังหวัดกระบี่ โดยนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดเผยผลการ ประชุมวันนี้ด้วยตัวเอง พร้อมระบุว่าโครงการดังกล่าว เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ที่ศึกษามาดีแล้ว ขณะเดียวกัน จากมติดังกล่าว ทำให้มวลชนกลุ่มที่คัดค้าน เคลื่อนกลุ่มมารวมตัวชุมนุมที่หน้าประตู 2 ของทำเนียบรัฐบาล ท่ามกลางการพยายามเจรจาของตำรวจเพื่อให้สลายการชุมนุม เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน และนักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน นำโดยนายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ประกาศปักหลัก ชุมนุม ในพื้นที่ประตู 2 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยืนยันเจตนารมณ์คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือกพช.มีมติในวันนี้ ให้เดินหน้าต่อไป นายประสิทธิ์ชัย กล่าวกับผู้ชุมนุมนส่วนหนึ่งว่า ให้ผู้ชุมนุมที่สมัครใจจะถูกจับตัว หรือเผชิญกับการสลายการชุมนุม ให้แยกตัวออกมาจากเด็ก และผู้สูงอายุอย่างเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง พร้อมกับยื่นคำขาดว่า รัฐบาลมี 2 ทางเลือก คือ จับผู้คัดค้านทั้งหมดและที่กำลังจะเดินทางมาสมทบเพิ่ม และอีกทางเลือก คือปฎิเสธโรงไฟฟ้าถ่านหิน พร้อมกับเสนอให้รัฐบาลแก้ปัญหา ด้วยการเปิดทางให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม แสดงความเห็นและกำหนทิศทางการพัฒนาโรงไฟฟ้า ว่าจะเป็นไปในแบบใด เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนในพื้นที่ ขณะที่เมื่อเวลา 19.00 น. พลตำรวจตรีภาณุรักษ์ หลักบุญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เข้ามาพูดคุยกับผู้ชุมนุม พร้อมขอให้ผู้ชุมนุม ซึ่งปักหลักที่ประตู 2 หน้าทำเนียบรัฐบาล ให้ชุมนุมในขอบเขต ตามที่ขออนุญาตไว้ ว่าจะอยู่ในพื้นที่ สำนักงานก.พ. และที่วัดโสมนัสราชวรวิหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้ชุมนให้สะดวก โดยมีตำรวจ 1 กองร้อยผลัดเปลี่ยนมาควบคุมสถานการณ์ ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายสาธิต อ่วมคง พนักงานเดินหมายศาลแพ่ง ได้นำหมายนัดไต่สวนศาลแพ่ง มาติดในพื้นที่ชุมนุม ตามคำร้องของพนักงานสอบสวนนครบาลดุสิต ที่ร้องต่อนางสาวจินดารัตน์ เพิ่มลาภวิรุฬ ผู้จัดการชุมนุม ให้ยกเลิกการชุมนุมตาม พรบ.การชุมนุมที่สาธารณะ ซึ่งศาลนัดไต่สวนวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 09.30 น. การประกาศเดินหน้าสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ถูกเปิดเผยจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือกพช.วันนี้ พร้อมอธิบายว่า โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2550 และเป็นไปตามแผน พัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ซึ่งมีการพิจารณาและศึกษามาแล้ว 2 ปีเห็นว่ามีความคุ้มค่าและปลอดภัย และยังระบุว่า รัฐบาลใช้มาตรการที่เหมาะสม ในการสร้างความเข้าใจไปแล้วในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องปลดล็อค เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากแหล่งพลังงานในพื้นที่มีน้อย สวนทางกับอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2558 ถึง 2579 หรือ PDP 2015 สรุปได้ว่า เมื่อสิ้นปี 2579 หรืออีก 19 ปีข้างหน้า จะมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 70,335 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยกำลังผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว นับจากสิ้ันปี 2557 ประมาณ 37,612 เมกะวัตต์ ระหว่างนี้ จะมีการปลดกำลังผลิตโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุ ในช่วงปี 2558 ถึง 2579 จำนวน 24,736 เมกะวัตต์ จึงต้องการกำลังผลิตโรงไฟฟ้าใหม่อีก 57,459 เมกะวัตต์ เมื่อคำนวณระหว่างโรงไฟฟ้า ที่ปลดกำลังผลิตจะได้ไฟฟ้า รวม 70,335 เมกะวัตต์ โดยแยกตามประเภทโรงไฟฟ้า ดังนี้ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 21,648 เมกะวัตต์ แยกเป็น ไฟฟ้าในประเทศ 12,105 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าที่ซื้อจากต่างประเทศ 9,543 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ 2,101 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น 4,119 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 17,478 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 12,113 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 7,390 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 1,250 เมกะวัตต์ ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 1,473 เมกะวัตต์ รวม 57,459 เมกะวัตต์ เมื่อรวมตามแผนก่อสร้างทั้งหมด จะได้ไฟฟ้า 70,335 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นหนึ่งในแผนงานนั้น ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้า 800 เมกะวัตต์ มีกำหนดเริ่มต้น ซื้อขายไฟฟ้า ประมาณเดือนธันวาคม ปี 2562 สถานการณ์พลังงาน โดยเฉพาะในส่วนของพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ที่ระยะหลังมานี้ค่อนข้างจะมีปัญหามาก โดยเฉพาะในส่วนของภาคใต้ เพราะหลายพื้นที่มีการขยายตัว โดยเฉพาะหัวเมืองสำคัญที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การจัดหาแหล่งพลังงานสำรองเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.ในปี 2559 ระบุว่า ประเทศไทยมีกำลังผลิตในระบบไฟฟ้าอยู่ที่ 41,556 เมกะวัตต์ แต่ด้วยขนาดของเมืองที่ใหญ่ขึ้นส่งผลให้การใช้ไฟฟ้ามีมากขึ้น โดยเฉพาะช่วง 2 ปี ย้อนหลัง คือ 2558-2559 พบว่า มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 2,273 เมกะวัตต์ โดยเฉพาะแหล่งตัวเมืองที่เป็นจุดท่องเที่ยว พบว่ามีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 2,630 เมกะวัตต์ ซึ่งสูงกว่ากำลังการผลิต ที่ผลิตได้เพียง 2,225 เมกะวัตต์ ดังนั้น เพื่อความมั่นคงทางพลังงานจึงนำมาสู่การวางนโยบายของภาครัฐ ผ่านแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ 2558-2579 หรือ PDP 2015 เพื่อกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และ แนวทางที่เสนอโดย กฟผ.คือเพิ่มการใช้ถ่านหินจาก 18 เป็นร้อยละ 23 และ ลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติจากร้อยละ 70 ให้เหลือร้อยละ 40 ด้วยเหตุผล เพื่อลดการพึ่งพาด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป รวมถึงปัจจัยด้านราคาที่สูง ซึ่งเป้าหมายนอกจากจะลดความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงในระยะยาว ยังช่วยทำให้ค่าไฟฟ้ามีราคาไม่สูง ไม่เป็นภาระกับประชาชน แต่อีกด้าน ยังมีข้อกังวลในหลายประเด็นของเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย โดยเฉพาะความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบกับชุมชน และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการผลิต ที่เมื่อคำนวณแล้วอาจมีต้นทุนที่สูงไม่แตกต่างจากเดิม จึงได้เสนอทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมเหตุผลให้รัฐบาลพิจารณา อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช.วันนี้ ถ้าได้ข้อสรุปว่าจะเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากถ่านหิน จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในปี 2564-2565 แต่หากไม่เดินหน้าต่อ กระทรวงพลังงานเตรียมลงทุนจัดสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้เพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ความเห็นต่างของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งมีทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้าน จนทำให้สังคมเกิดความสับสน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พยายามอย่างยิ่งที่จะชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ทั้งการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ติดตามจากรายงาน
มาร์ค ขอ รบ.ทบทวนหาทางเลือกอื่นสร้างโรงไฟฟ้า เชื่อผู้ชุมนุมไร้การเมือง จี้เอาผิดคนหนุนด้วย หากคนคัดค้านทำผิด กม.#nna
อดีตรมว.วิทย์ แนะรบ.นึกถึงผลดี-เสีย สร้างโรงไฟฟ้าในระยะยาว ถามประเมินEHIAเอชไอเอหรือยัง เชื่อชาวบ้านห่วงลูกหลาน #nna
EHIA https://www.egat.co.th/images/information/articles/2559/egat-hearing59-ehia-krabi.pdf EIA https://www.egat.co.th/images/information/articles/2559/egat-hearing59-eia-klongrua.pdf จากความเห็นที่แตกต่างกัน มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า เราจะมาดูข้อมูลและข้อเท็จจริงของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน เดินหน้าประเทศไทย : โรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด จ.กระบี่ สร้างความมั่นคงทางพลังงานภาคใต้ รายการ เดินหน้าประเทศไทย วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 พิธีกร : อภิญญา บุญยะประณัย แขกรับเชิญ : ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และโฆษกกระทรวงพลังงาน, สหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ ประจำสำนักผู้ว่าการ กฟผ. ข่าว 7 สี - บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โต้ข่าวลงทุนเหมืองถ่านหินที่ประเทศอินโดนีเซีย ไม่ได้นำถ่านหินมาขายในไทย ผู้บริหารบริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ EGATi ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าว กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล ไปลงทุนในเหมืองถ่านหินของบริษัทแห่งหนึ่งที่ประเทศอินโดนีเซียไว้ล่วงหน้า จนทำให้ กฟผ.ต้องผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เกิดขึ้นนั้น ขอยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เนื่องจากคุณสมบัติถ่านหินของเหมืองในอินโดนีเซีย มีค่าความร้อนไม่ตรงกับคุณสมบัติถ่านหินที่จะนำมาใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ดังนั้นยืนยันว่าจะไม่มีการนำถ่านหินเข้ามาขายให้กับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่อย่างแน่นอน ส่วนการลงทุนดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งและเจริญเติบโตให้กับบริษัท เนื่องจากสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้ทันที
โครงการดังกล่าวดำเนินการมาแต่ปี 2550 ปชป. เองก็เป็นรัฐบาลนั้นทำไมไม่ยกเลิกไปหว่า พอรัฐบาลทหารเป็นก็แห่กันมาค้านกันจัง
เพื่อไทย กับเสื้อแดงไม่น่าค้านนะ... 'พงษ์ศักดิ์'ลงพื้นที่กระบี่ ดันโรงไฟฟ้าถ่านหิน http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/507377
อยากจะเรียนทำความเข้าใจสักนิด เมื่อราวเดือนมิถุนายน 2559 ผมได้เข้าร่วมประชาพิจารณ์เรื่องการวางท่อแก๊สของ........ เฟสสี่ เขานำเสนอว่าจะวางท่อแก๊สจากมาบตาพุดผ่านปลวกแดงในพื้นที่ จังหวัดระยอง จากนั้นจะวางท่อในพื้นที่ อ.หนองใหญ่ อ.บ่อทอง และ อ.เกาะจันทร์ ในพื้นที่ชลบุรีผ่านไปยังฉะเชิงเทรา สุดท้ายที่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ผมก็เลยถามเขาว่า สามอำเภอของชลบุรี เป็นพื้นที่เกษตรกรรมใช่ไหม เขาตอบว่าใช่ ผมก็ถามเขาต่อว่าถ้างั้น ทำไมไม่วางท่อจากมาบตาพุดผ่านบ้านฉางเข้าสัตหีบ บางละมุง และศรีราชาที่ตรงกว่าและน่าจะถูกกกว่าการวางท่ออ้อมแบบนี้ เขาตอบว่ายังไงรู้ไหม เขาบอกว่าทีแรกก็คิดอย่างนี้แหละ แต่ติดที่ พื้นที่สัตหีบซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของทหารเรือเขาไม่ยอม ก็เลยต้องเป็นแบบนี้ ผมก็ย้อนเขาว่าถ้างั้นคุณก็มาลงก็มาในพื้นที่ ที่คุณคิดว่าไม่มีปากไม่มีเสียงใช่ไหม นี่คือความจริงที่ผมเจอกับตัวเอง
เกี่ยวกับฐานทัพเรือ และความมั่นคงหรือเปล่าครับ (เดา) แถวนั้นมีคลังอาวุธด้วย มีซ้อมรบ ท่อผ่านทางนั้นอาจอันตราย(มโนเพราะไม่รู้ว่าทีแรกจะวางท่อยังไง)
ที่ปรึกษากลุ่มชาวบ้าน 4 ตำบลรอบโรงไฟฟ้า ผู้แทนในการมอบหนังสือ ระบุว่า ปัจจุบันในพื้นที่อำเภอเหนือคลอง 8 ตำบล รวมกว่า 50 หมู่บ้าน มีประชาชนสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากว่าร้อยละ 80 โดยชาวบ้านในพื้นที่มีความมั่นใจว่า โครงการนี้จะไม่สร้างผลกระทบด้านสุขภาพ เพราะพื้นที่ก่อสร้าง เป็นพื้นที่โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่เก่า ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีผลกระทบ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ยังใช้เทคโนโลยีสะอาด ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบลงอีก และมองว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ที่ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ ขณะที่ประชาชนในพื้้นที่ก็จะได้รับประโยชน์จากกองทุนรอบโรงไฟฟ้า ข้อความสนับสนุนของชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้าดูแล้วมีภูมิความรู้น่านับถือ คนเขียนเอกสารมีความรู้ดีครับ ดูประโยคสุดท้าย น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่สนับสนุน แต่ไม่รู้ว่าเท่าไร และอนาคตจะเป็นอย่างไร ดูมันขัดกันในตอนต้นกับตอนท้ายนะ แน่ใจรึว่าชาวบ้านเขียนเอง
ไม่ผ่านEIA แล้วนายกอนุมัติได้ไงวะ แถมออกมารับรองอีกว่าปลอดภัย ในเมื่อยังไม่ผ่านEIA แต่มาพูดว่าปลอดภัย พอมวลชนบุกมาด่าว่าเป็นทรราชหน่อย ก็กลับลำอีกรอบ ให้ไปดูEIA แล้วก่อนอนุมัติทำไมไม่รอEIA ก่อนสรุปมันมีกี่บุคลิควะ
ถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟดับภาคใต้ เพราะสายส่งไฟจากภาคกลางช็อต อีกครั้ง ไม่รู้จะหูตาสว่างกันมั้ย แต่โดยส่วนตัว กฟผ คงต้องไปมุ่งที่เทพา ละ
ถ้าดับช่วง 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม ทั้งเดือนที่ลมสงบนี่น่าจะตาสว่างกันแหละครับ โซลาร์เซลล์ใช้ไม่ได้ กังหันลมก็ใช้ไม่ได้
พูดง่ายๆก็คือต่อให้ทำ EHIA ใหม่แล้วผ่าน... ก็ไม่ยอมรับอยู่ดี วันนี้ (19 ก.พ. 60) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 5 แกนนำเครือข่ายต่อต้านอันดามันจากถ่านหินร่วมกันแถลงข่าว หลังได้รับการปล่อยตัว และนำไปสู่การยุติชุมนุมต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ที่ปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลมาตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ. 60 โดยระบุว่ายอมสลายชุมนุมเนื่องจากรัฐบาลทำตามข้อเรียกร้องในการยกเลิก EHIA ที่เครือข่ายมองว่าไม่มีความชอบธรรม แต่พร้อมกลับมาชุมนุมใหม่หากรัฐบาลไม่ออกเป็นมติ ครม.ในการประชุม ครม.วันที่ 21 ก.พ. 60 สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ หากมีการยกเลิก EHIA เดิม 2 ฉบับของโรงไฟฟ้าและท่าเรือ จะมีการตั้งคณะกรรมการที่ได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่ายขึ้นมา เพื่อออกแบบกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและเป็นไปตามหลักวิชาการ สุดท้ายสรุปว่า... ทั้งนี้กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเชื่อว่า หากทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน จะไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในสถานที่แห่งใดได้เลยในประเทศไทย https://www.pptvthailand.com/news/ประเด็นร้อน/47022
มึงหัดดูข่าวซะบ้างนะ เค้าบอกตั้งแต่วันแรกแล้วด้วยซ้ำ ว่าให้เดินหน้าเรื่องศึกษาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนสร้าง ไม่ใช่ให้สร้างเลย พวกกาสรสีชาดนี่เหมือนกันหมดจริงๆ ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียดจริงๆ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานยืนยันมติกพช. ไม่ได้สั่งเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชี้เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ : ชี้แจงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่