รบกวน เล่า แบบย่อๆ ให้ด้วยครับ ว่า อะไรคือ สาเหตุ ที่ทำให้ประเทศ โบราณเก่าแก่ แบบนี้ ทั้งที่ เคยเป็นแชมป์บอลยุโรป เคยจัดโอลิมปิค?
เท่าที่อ่านน่าจะมาจาก หนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นมากจนเจ้าหนี้งดการจ่ายเงินกู้ให้ ทำให้รัฐฯไม่มีเงินใช้จ่ายในประเทศ และตอนนี้เจ้าหนี้ก็คือธ.กลางยุโรป( อียู) ก็บังคับให้ทำมาตรการรัดเข็มขัดและแผนฟื้นฟูตามที่กำหนดจึงจะจ่ายเงินกู้งวดต่อไปให้ ถ้าไม่จ่ายก็มีสิทธิ์ออกจากยูโรโซน ก็คือสมาชิกของอียู ครับ
กรีซ ไม่มีรายได้ จากในประเทศเลยเหรอครับ เช่น ภาษี หรือ รายได้จากภาครัฐ หรือ การท่องเที่ยว เกาะซานโตรินี ก็ดังนี่ครับ หรือ มีประชานิยม ด้วย ผมจำได้ว่า ประเทศเค้าดังมากจากกว่าได้แชมป์ บอลยุโรป และ เป็นเจ้าภาพโอลิมปิค เอเธนท์ หลังจากนั้นมาก็ ขาลง แบบดิ่งเลย
Thanong Fanclub เมื่อวานนี้ เวลา 17:56 น. · มีการแก้ไข · 53. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ ดูตารางจ่ายหนี้ของกรีซแล้ว เหนื่อยแทน มิถุนายายน หนี้ที่ต้องจ่าย6,740ล้านยูโร หนี้ไอเอ็มเอฟ1,500ล้านยูโร หนี้ตั๋วเงินระยะสั้น5,200ล้านยูโร กรกฎาคม หนี้ที่ต้องจ่าย5,095ล้านยูโร หนี้ไอเอ็มเอฟ452ล้านยูโร หนี้ตั๋วเงินระยะสั้น 2,000ล้านยูโร หนี้อีซีบี3,500ล้านยูโร สิงหาคม หนี้ที่ต้องจ่าย4,380ล้านยูโร หนี้ไอเอ็มเอฟ176ล้านยูโร หนี้ตั๋วเงินระยะสั้น1,000ล้านยูดร หนี้อีซีบี3,200ล้านยูโร กรีซแทบจะไม่มีเวลาหายใจในภาระหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนสูงมาก แก้ได้อย่างเดียวคือต้องลดหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่ยอม ให้รัดเข็มขัดลูกเดียว จึงนำมาสู่วิกฤติการเงินของกรีซเต็มรูปแบบ thanong 29/6/2015 http://www.bbc.com/news/world-europe-33303105 ..................................................................................... ถ้าสนใจ และมีเวลาลองเข้าไปอ่านดูครับ ค่อนข้างเข้าใจง่ายอ่านประกอบกับข้อมูลอื่นๆดู
ชาวกรีซชุมนุมสนับสนุนโหวต'โน'ประชามติเงินช่วยเหลือ มีประชาชนราว 17,000 คนรวมตัวกันบนท้องถนนของเอเธนส์และเทสซาโลนิกิเมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) แสดงพลังว่าจะโหวต "โน" ต่อข้อเสนอข้อตกลงช่วยเหลือล่าสุด พร้อมกล่าวหาเหล่าเจ้าหนี้นานาชาติว่าขู่กรรโชก "ชีวิตของเราไม่ได้เป็นของเจ้าหนี้" ป้ายข้อความหนึ่งที่ขึงอยู่เหนือผู้ประท้วง ที่ส่วนใหญ่เป็นเหล่าผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส และบอกว่าจะทำตามเสียงเรียกร้องของผู้นำรายนี้ที่ขอให้โหวตต่อต้านข้อตกลงล่าสุดในการลงประชามติวันอาทิตย์นี้(5ก.ค.) แม้เสี่ยงผลักให้ประเทศต้องออกจากยูโรโซนก็ตาม "ประชาชนกรีซเสียสละมามากแล้ว สิ่งที่ผมสนใจไม่ใช่ยูโร แต่เป็นสิ่งรับประกันเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่สง่างามของอนุชนรุ่นหลัง" สานเกลิส เซเรส วัย 50 ปี ที่ว่างงานมาตั้งแต่ช่วงต้นของวิกฤตหนี้สินปี 2010 บอกกับเอเอฟพีจากจัตุรัสซินตักมาในเมืองหลวง ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์(29มิ.ย.) เหล่าผู้นำสหภาพยุโรป ร้องขอผู้มีสิทธิ์ออกเสียงชาวกรีซ โหวตสนับสนุนข้อเสนอช่วยเหลืออันที่เป็นถกเถียงหรือไม่ก็เสี่ยงออกจากยูโรโซน โดยนายฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เตือนชาวกรีซว่าไม่ควรเลือกฆ่าตัวตายเพียงเพราะกลัวความตาย พร้อมเรียกร้องโหวต "เยส" เนื่องจากหากโหวต "โน" จะเท่ากับหันหลังให้แก่ยุโรป อย่างไรก็ตาม ลอลา บากรินา หนึ่งในผู้ชุมนุมบอกว่าเธอจะโหวต "โน" เพราะเธอต้องการปลดปล่อยลูกๆให้เป็นอิสระ" http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000073656 ..................................................................................... กับการประชามติ วันที่ 5 กค. ประชาชนก็แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ อยากอยู่ในยูโรโซนหรือแยกตัวออกมา แต่ส่วนมากทุกคนไม่ต้องการมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้
ถ้าจำไม่ผิดรายได้หลักของ กรีซ มาจากการท่องเที่ยว ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวก็ขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ แต่โดยรวมก็ไม่ได้ลดฮวบฮาบลง แต่ปัญหาหลักคือ นโยบายประชานิยมของทุกรัฐบาลในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ทำให้ใช้เงินเกินตัว ต้องตั้งงบประมาณแบบขาดดุลทุกปี คือจ่ายไปมากกว่าที่หาได้ ซึ่งส่วนต่างนี้ก็คือเงินกู้นั่นเอง แล้วการบริหารงบประมาณของกรีซ ก็คล้าย ๆ กับ ถอนเงินจากบัตรเครดิตใบหนึ่งไปจ่ายชำระขั้นต่ำให้อีกใบ ..... พอทำแบบนี้วนเวียนไปพักใหญ่ หนี้ก็กลายเป็นดินพอกหางหมู สำหรับไทย รัฐบาลเหลี่ยมก็เคยใช้มุกแบบนี้ตั้งแต่ไปกู้เงินก้อนใหม่มาจ่ายหนี้ IMF (ซึ่งไร้สาระเพราะนอกจากต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ก้อนใหม่แล้ว เงินกู้ก้อนเก่าก็ไม่ได้ส่วนลดเลย) ดีกว่า รบ. เหลี่ยม สะดุดเรื่องจริยธรรม+ธรรมาภิบาลตกเหวไปก่อน แผนกู้แบบนี้เลยสะดุดไปเป็นพัก ๆ ....... จนมาถึง รบ. ยิ่งเละ ที่กู้ถล่มทลายและยังตั้งหน้าตั้งตากู้เพื่อมาใช้ในประชานิยม มองเห็นความหายนะอยู่รอมร่อ ....... แต่สุดท้ายก็สะดุดธรรมาภิบาลตกเหวไปเหมือนไอ้เหลี่ยมพี่ชาย สถานการณ์ที่กรีซกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ อาเจนติน่า+ฟิลิปินส์ ก็เคยประสบมาแล้ว ล่าสุดประเทศในอัฟริกาก็ล้มพังพาบหนักกว่าที่ทุกประเทศเคยประสบมา
ผมว่างานนี้ต้องโทษตัวประชาชนกรีซเองส่วนหนึ่งด้วยล่ะครับ เสพติดประชานิยม ลองมองไปดูสมัยบ้านเราโดนต้มยำกุ้ง ยังต้องยอมก้มหน้าก้มตาให้ IMF จนเอาตัวรอดมาได้ แต่กรีซนี่ประชาชนเขาไม่ยอมให้ลดอะไรเลยแล้วจะเอาเงินเพิ่มโดยที่ของเก่าก็ยังไม่มีเอาไปจ่ายค่างวด มองยังไงก็แย่อ่ะครับ มีิาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่าจะปล่อยไปก็ไม่ได้ เพราะไม่อย่างนั้นประเทศอื่นอย่างเสปน อิตาลี ก็จะเอาอย่างบ้าง ไม่จ่ายหนี้เพราะเห็นว่ากรีซทำได้ สุดท้ายเลยต้องยอมตัดเนื้องอกทิ้งไปดีกว่าน่ะครับ
รัฐบาลกรีซตกแต่งบัญชีเพื่อให้มีคุณสมบัติเข้ายูโรโซน พอได้เข้าเลยเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รัฐบาลเลยกู้เงินมาทำประชานิยม ผลคือรายจ่ายสูงกว่ารายได้ เจ๊งสิครับ #จบข่าว
หลายๆข่าวก็ว่า มาจากการประชานิยมจนเคยตัวของนักการเมืองที่ต้องการคะแนนเสียง แต่บางมุมมองก็มองถึงเรื่องการเมืองระหว่างประเทศด้วย ที่ผู้นำกรีซแข็งกร้าวกับอียูเพราะอ้างว่าถูกปฎิบัติไม่เป็นธรรม วิกฤตการเงินในโปรตุเกส และไอร์แลนด์ก่อนหน้า เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ แต่กับกรีซไม่ลด ที่สำคัญรัสเซียให้ความช่วยเหลือกรีซเรื่องการเงิน แลกกับการเดินท่อก๊าซเข้ายุโรปผ่านกรีซ รัสเซียเองก็อยากได้พันธมิตรในอียูเพิ่ม เพื่อคานอำนาจกลุ่มตะวันตก รอดูตอนจบครับ
อันนี้เขาว่า สาเหตุของความล่มจมคือ ประชานิยม (ประชาชนนั่นแหละ) ประชานิยมต้นตอหายนะกรีซ http://www.thairath.co.th/content/206585
สงสัยว่าขนาดแบ่งบริหารเป็นแคว้นแล้ว กระจายอำนาจแล้ว ทำไมยังต้องพึ่งพิงประชานิยมจากรัฐบาลขนาดนั้น หรือว่าผมเข้าใจผิด ใครพอเข้าใจระบบบริหารเขตของกรีซช่วยหน่อยครับ
Idol ท่านเทพประชาธิปไตยมหาเดโชทักษิณเลยน๊ะนั่น รถคันแรก ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ สวัสดิการเพียบ ฯลฯ ผมยังไม่เคยไปตรวจสอบดู เห็นว่าค่าแรงขึ้นต่ำไม่แพ้เยอรมัน แต่เค้าไม่มีกรรมการชุดเขียวมาแจกใบแดงเหมือนของเรา
มองด้านหนึ่ง ลูกหนี้ที่หมดสิ้นหนทางจะทำอย่างไรจึงยืนขึ้นได้อีกครั้งล่ะ ยอมจ่ายหนี้ แต่ตัวเองจะไม่เหลืออะไรเลย ลูกหลานลำบากไร้สิ้นอนาคต กับข้อร้องเจ้าหนี้ ช่วยผ่อนปรนหน่อย ให้ฉันได้หายใจบ้าน ให้ลูกหลานฉัน ได้มีิกิน มีอนาคตบ้าง หากเจ้าหนี้ไม่ยอม ก็ต้อง ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ตอนวิกฤติปี 40 มีคนใช้มุกนี้ ในการพลิกพื้นฐานะกลับมา แถมประสบความสำเร็จด้วยนะเออ แนวคิดประมาณว่า หากเอากันให้ตายฉันก็ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้ เจาหนี้ก็สูญอยู่ดี แต่หากยอมให้ฉัน ได้หายใจ ฉันมีศักษภาพพอจะหาเงินมาจ่ายหนี้ได้ แต่กรณีกรีกปัญหาคือ พี่ซีปราซ แกไม่มีแผนฟื้ฟูอะไรเลยนี่สิ จะลดหนี้เอาเงินเพิ่มท่าเดียว เจ้าหนี้ที่ไหนจะยอมให้ แผนที่พอเป็นไปได้ คือ ไปซบรัสเซียอีก อียู ก็ไม่ยอมแน่นอน
ทำเหมือนกันทุกที่ครับ คือเอาเงินไปฝาก ตปท. ซึ่งปกติทำกันอยู่แล้ว พวกนี้จะรู้ล่วงหน้าก็จะโยกเงินตัวเองไปก่อน ส่วนรายเล็กรายย่อยซึ่งคือคนส่วนใหญ่ก็รับกรรมไป
กรีซ ใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ละพรรคแข่งขันกันใช้นโยบายประชานิยม...ถ้าเลือกพรรคผมไปเป็นรัฐบาล จะได้นั่น-ได้นี่ เรียกว่าใครเป็นรัฐบาล ก็ต้องเอาเงินหลวงไปแจกชาวบ้าน เงินหมดก็กู้ธนาคารกลางยุโรปมาประชานิยมแลกคะแนนเสียงต่อ เหมือนระบอบทักษิณ....... http://www.thaipost.net/?q=เมื่อไทยพวกหนึ่งอยากเป็นกรีซ เรื่อง "กรีซ" จะล้มละลายหรือไม่ล้ม ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องตระหนก แต่ควรเป็นเรื่องที่เราควรต้อง "ตระหนัก" มากกว่า! เพราะกรีซ...เป็นแหล่งกำเนิดนักคิด-นักปรัชญา-นักบัญญัติทฤษฎีการเมืองทุกระบอบ-ทุกระบบ ไม่ว่าประชาธิปไตย-เผด็จการ-คอมมิวนิสต์ และ ฯลฯ เป็นผลิตผลจากหยดสมอง "มนุษย์กรีซ" ตั้งแต่ก่อนคริสตกาลโน่นแล้ว! โดยเฉพาะ "ประชาธิปไตย" บางนครรัฐของกรีซใช้ปกครองมาก่อน ก่อน โซเครติส เพลโต อริสโตเติล เกิดด้วยซ้ำ มาวันนี้ กรีซ ที่ หยิ่งผยอง-ยิ่งใหญ่ คู่ตำนานโลก.... ด้วยทฤษฎีอารยประชาธิปไตยของเขาเอง ใช้ปกครองประเทศเอง และก็ด้วยประชาธิปไตยนั้น........... กรีซก็ "ฉิบหายเอง" แล้ว! ตรงนี้ เป็นจุดให้ตระหนักคิดว่า บรรดา "ระบบ-ระบอบ-ทฤษฎี" ที่มนุษย์บัญญัติ จะบอกว่าไหนดี-ไหนไม่ดี ไม่ได้ เพราะระบบ-ระบอบ-ทฤษฎี เป็นแค่ "นามธรรม" จับต้องไม่ได้ จะดี-ไม่ดี ยังสุขและประโยชน์ต่อมหาชนได้ตามฐานานุรูปได้หรือไม่ นั่นอยู่ที่คนใช้ คือรัฐบาล ........ คือตัวนายกฯ ว่ามีจิตสำนึกในการใช้อำนาจ "ด้วยนโยบาย" ภายใต้ระบบ-ระบอบ-ทฤษฎี นั้นๆ แบบไหน-อย่างไร? กรีซ ใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ละพรรคแข่งขันกันใช้นโยบายประชานิยม...ถ้าเลือกพรรคผมไปเป็นรัฐบาล จะได้นั่น-ได้นี่ เรียกว่าใครเป็นรัฐบาล ก็ต้องเอาเงินหลวงไปแจกชาวบ้าน เงินหมดก็กู้ธนาคารกลางยุโรปมาประชานิยมแลกคะแนนเสียงต่อ เหมือนระบอบทักษิณ....... พอได้เป็นรัฐบาลก็เอาเงินหลวงไปตกรางวัล พวกที่จ้างมาจลาจล เผาบ้าน-เผาเมือง
ก็ทุกแคว้น หลงผิดตามรัฐบาลกลางกันหมดไง ตอนนั้นคงไม่มีคนกรีกคนไหนคิดว่าจะมีวันนี้ ทุกแคว้นก็แข่งกัน ประชานิยมตามกันหมดเพื่อคะแนนเสียงไม่แพ้กัน เมื่อประชาชนรู้ไม่เท่าทัน แคว้นอื่นเค้าประชานิยมกันรวยๆ แคว้นเราคนก็จะเอาบ้าง ถ้าเราไม่ประชานิยม จะได้รับเลือกหรือ? แต่กรณีประชาชนรู้เท่าทัน ก็อีกเรื่องนึง อย่างในอเมริกา มีรัฐที่ใช้นโยบายจ่ายถาษีน้อยและประชานิยมสุดขีด แต่รัฐอื่นก็ไม่ได้บ้าจี้ตาม ผลคือ รัฐนั้นด้อยพัฒนากว่ารัฐอื่นชัดเจน สุดท้ายประชาชนรัฐนั้นก็เรียนรู้ว่ามันไม่เวริค ก็เปลี่ยนพรรค เลือกใหม่ ใช้นโยบายอื่นแทน ผลกระทบทางเศรษฐกิจของรัฐแห่งนั้น แทบไม่มีผลกระทบ ต่อภาพรวมของสหรัฐอเมริกาเลย การกระจายอำนาจ ตอนแรก แต่ล่ะพื้นที่ก็อาจมีนโยบายแตกต่างกัน แต่พอมันเริ่มลงตัว สุดท้าย นโยบายหลักก็จะลอกๆ กัน คล้ายๆกันหมดทั้งประเทศล่ะรับ กรีกมีปัญหาเพราะ คนกรีซ ในภาพรวมไม่เคยตระหนักถึงผลกระทบของนโยบายแบบนี้มากกว่า
ลองอ่านดูนะครับ Greese now26 ตอนนี้ สรุปประเด็นความเห็นของคุณ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลังเกี่ยวกับวิกฤติหนี้กรีซและยูโร 1. ก่อนเข้ายูโร กรีซและประเทศยุโรปใต้ฐานะการเงินไม่ดี รัฐบาลต้องกู้ดอกเบี้ยสูงจึงไม่มีปัญหาหนี้มาก แต่หลังจากทิ้งเงินสกุลตัวเองมาใช้ยูโร ปรากฎว่าแบงค์หรือเจ้าหนี้ให้เร็ทติ๊งกรีซเหมือนประเทศยุโรปเหนือที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งกว่า เพราะถือว่าอยู่ในเขตยูโรโซนเหมือนกัน เลยกู้กันแหลกรานทำให้มีหนี้สูงเกิน100%ต่อจีดีพีกันแทบทั้งนั้น 2. ความสามารถในการแข่งขันของกรีซและยุโรปเหนือไม่เท่ากัน เนื่องจากใช้ยูโรเหมือนกับประเทศในเขตยูโรอื่น ไม่สามารถทำให้ค่าเงินอ่อนเพื่อขายของได้ อีกวิธีหนึ่งที่จะทำได้คือต้องลดราคาค่าจ้างแรงงานในประเทศ แต่การทำเช่นนั้น จะทำให้เกิดการตกงานสูง และรัฐบาลจะมีภาระชดเชยสวัสดิการทางสังคมกับคนที่ตกงาน ทำให้เกิดปัญหาคาราคาซัง 3. เจ้าหนี้ไม่ลดหนี้ ทำให้แก้ไขปัญหากรีซไม่ได้ เพราะว่าหนี้กรีซสูงถึง320,000ล้านยูโร หรือ185%ต่อจีดีพีไม่สามารถจะชำระได้ ทรอยก้าปกป้องผลประโยชน์เจ้าหนี้ ไม่ยอมลดหนี้ (debt relief) ทำให้ยิ่งแก้ปัญหา ยิ่งจะทำให้วิกฤติกรีซเลวร้ายลงไปอีกจนกู่ไม่กลับ ถ้ากรีซได้รับการลดหนี้อย่างน้อย50% ป่านนี้ปัญหาสามารถเยียวยาได้ไปแล้ว 4. เมื่อตกลงกันไม่ได้ระหว่างกรีซและเจ้าหนีั รัฐบาลกรีซตัดสินใจทำประชามติให้ประชาชนกรีกเลือกเอาว่าจะรับแผนฟื้นฟูการเงินของเจ้าหนี้หรือไม่ ถ้าโหวตYes หรือยอมรับ กรีซจะทำตามโปรแกรมไอเอ็มเอฟต่อไป เป็นเด็กดี และรัฐบาลของนายศรีปราชญ์ต้องลาออก กรีซจะต้องวุนวายไปอีกระยะในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ปัญหาคือคนกรีกต้องการอยู่ในยูโร เพราะว่ารู้สึกว่ามันมั่นคงกว่า แต่ไม่ต้องการนโยบายรัดเข็มขัด ซึ่งขัดแย้งกัน แต่ถ้าประชาชนกรีกโหวตNo เท่ากับว่ากรีซไม่เอาด้วยกับเจ้าหนี้ที่ไม่มีการยืดหยุ่นแม้แต่น้อย และคงต้องออกจากเขตยูโร เบี้ยวหนี้320,000ล้านยูโรกับแบงค์และพวกที่ถือบอนด์กรีซ รวมทั้งหนี้125,000ล้านยูโรในรูปสภาพคล่องฉุกเฉินที่ทางอีซีบีให้การอัดฉีกแบงค์กรีซที่โดนถอนเงินในช่วงที่ผ่านมา จะมีการไม่เผาผีกันอีกแล้ว โดยกรีซจะกลับไปพิมพ์เงินDrachmaใช้เอง ระยะแรกจะลำบากมากหมือนประเทศไทยหลังลอยค่าเงินบาท เพราะว่าเศรษฐกิจจะล่มสลาย ไม่รู้ว่าค่าเงินจะอยู่ที่ไหน เงินจะเฟ้อจกระจุยกระจาย แต่หลังจากนั้นระบบการเงินจะมีเสถียรภาพมากขึ้นและจะค่อยๆฟื้น เพราะว่ากรีซมีภาคเกษตรและการท่องเที่ยวที่จะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น 5. กรีซอยู่ต่อไปในยูโรไม่มีอนาคต ประชาชนควรโหวตNoมากกว่า เพื่อว่าจะได้เบี้ยวหนี้ ลดภาระการใช้จ่ายส่วนที่เป็นหนี้ และสามารถใช้เงินสกุลตัวเองหรือDrachmaในการบริหารราคาและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 6. Jack Lew รมวคลังของสหรัฐกลัวว่า กรีซออกไปจากยูโรจะไปซบอกรัสเซีย ทำให้ปูตินสามารถใช้กรีซเป็นฐานทัพเรือของกองทัพรัสเซียได้ พยายามเรียกร้องให้เจ้าหนี้และกรีซตกลงกันให้ได้ โดยเจ้าหนี้ต้องยอมลดหนี้ให้กรีซ ท้ายที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าประชาชนชาวกรีกจะเอายังไงกันแน่ และไม่รู้ว่าประชาชนกรีกได้รับข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ถึงผลกระทบในการอยู่ในยูโรต่อไป หรือการออกจากยูโรเพื่อไปใช้Drachma รัฐบาลกรีซต้องใช้เวลาทั้งหมดตอนนี้ถึงวันทำประชามติในวันที่5กรกฎาคมในการให้ความรู้ประชาชนให้ทั่วถึง ถึงผลกระทบของการตัดสินใจว่าจะอยู่กับยูโรต่อไป หรือจะไปจากยูโร ถ้าประชาชนกรีกโหวตYes ศรีปราชญ์จะกลายเป็นหมาหัวเน่าทันที ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะว่าประชาชนปฏิเสธแนวทางของเขา เท่ากับศรีปราชญ์โดนประหารชีวิต ถ้าประชาชนกรีกโหวตNo เท่ากับว่าศรีปราชญ์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนให้ทำหน้าที่ผู้นำต่อไปในการเอากรีซออกจากระบบทาสของยูโร เขาจะเป็นฮีโร่ของกรีซ แม้ว่าช่วงแรกทุกคนจะต้องลำบากมากจากเศรษฐกิจและระบบการเงินที่ล่มสลาย แต่จะมีวันฟื้นคืนชีพเหมือนนกฟินิกซ์ thanong 30/6/2015 ............................................................................................ ปล. ศรีปราชญ์ที่อ.ทนงเรียกคือ นาย ซีปราส ครับ
มีการตกแต่งบัญชีให้สวยก่อนเข้า EU พอเข้าไปแล้วก็หลงตัวเองว่า เป็นประเทศร่ำรวยแบบเยอรมัน ฝรั่งเศส ผมยังมองไม่เห็นว่า กรีซ จะเอาเงินที่ไหนมาใช้หนี้ ประเทศมีรายได้อย่างเดียวคือการท่องเที่ยว เท่าที่ตามข่าว กลุ่มประเทศเจ้าหนี้ก็เอือมเติมทนแล้ว อยากให้กรีซ ออก ๆ ไป ให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไป แต่ประเด็นการออกจาก EU ต้องสมัครใจออกไปเอง ขับออกไปไม่ได้ กรีซเองก็อยากเบี้ยวหนี้ แต่ไม่อยากออกจากอียู คงคิดว่ามันดูเท่ห์กว่า ผมว่าถ้าไม่ออกจาก อียู กลับไปใช้เงินสกุลตัวเอง คงฟื้นตัวยาก
ถ้าจำไม่ผิดเป็นการผิดนัดชำระเงินงวดแรกครับ ถ้ารอบ 2 อาจจะมีผลมาก เท่าที่ตาม เหมือนกับว่านายกกรีซพยายามทำตัวเจ้าเล่ห์ เล่นแง่กับกลุ่มเจ้าหนี้ โดยเล่นเกมส์การเมือง โยนไปถามประชามติ ว่าจะออกจากยูโรหรือไม่ ถ้าสรุปว่ากรีซเบี้ยวจริง ๆ เยอรมันจะตกที่นั่งลำบาก
เท่าที่ทราบมาถ้าโดนประกาศว่าผิดนัดชำระหนี้จะถูกประกาศตัดเครดิตครับ ทีนี้หมายความว่าไม่ว่าประเทศใดจะทำธุรกรรมทางการเงินด้วย เช่นซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะต้องทำด้วยเงินสดครับ ไม่มีการให้เครดิตล่วงหน้าหรือผ่อนจ่ายไรงี้แล้ว ง่ายๆว่ากรีซเองจะค้าขายลำบากหน่อยครับ
ถ้า default แบ็งค์ในกรีซ ล้มละลาย เพราะ ถือ พันธบัตรรัฐบาลกันไว้แยะ ไอ้ที่ พวกประเทศเจ้าหนี้รวย ๆ แบบเยอรมันจ้องกันอยู่ ก็คือ ท่าเรือของกรีซ
คิดเล่นๆ ถ้ากรีซ ยอมไปกู้เงินจากรัสเซีย แล้วให้รัสเซีย มาเช่าใช้ท่าเรือทำเป็นฐานทัพ.... อียู จะแก้เกมส์ อย่างไร
ผมว่าอาจจะยาก เพราะดูจากปริมาณหนี้ที่กรีซติดอยู่ ถึงกู้มาก็โปะไม่หมด คงได้แค่จ่ายงวดใดงวดหนึ่งแล้วก็เกิดปัญหาวนเข้าลูปเดิมอีก ถ้าจะยอมให้มาตั้งฐานทัพก็เป็นไปได้ครับ แต่ประชาชนกรีซเขาจะเห็นด้วยรึเปล่านั่นก็อีกเรื่องนึงนะครับ เพราะกลายเป็นว่าไม่อยากให้อียูมาบงการกลับไปยอมก้มหัวให้รัสเซียแทน อีกอย่างรัสเซียเองก็เจอปัญหาเศรฐกิจเยอะเหมือนกันนะครับ นอกจากค่าเงินจะร่วงรูดแล้วยังมาเจอปัญหาราคาพลังงานตกอีก ใช่ว่าจะมีเงินถุงเงินถังให้กู้เยอะเหมือนกัน
http://www.bloomberg.com/news/artic...ed-to-accept-creditors-proposals-with-changes กรีซยอมแล้วจ้า พอดีพึ่งอ่านรายงานimf ที่บอกว่าต่อให้กรีซยอมเจ้าหนี้หมด ก็ไม่มีปัญญาใช้คืนหนี้ เลยได้คิดว่าจริงๆแล้วกรีซต่างหากไม่อยากออกจากeu แต่ไอ้ศรีปราชณ์มันเล่นการเมืองไปงั้นแหละ ดูดิ สุดท้ายก็ยอมจริงๆ
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000074587 ข่าวนี้บอกว่ายังไม่ยอมนะครับ แค่เล่นลิ้นโยนความกดดันกลับไปเยอรมัน ดูยังไง ๆ ก็จบไม่สวยแหง ๆ
ผมเห็นว่า แม้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศจะเป็นความจริง แต่สาเหตุที่ทำให้กรีซมาถึงจุดนี้ ยังไง ๆ ก็เป็นเพราะความไม่มีวินัยในการคลังอยู่ดีแหละครับ ที่บอกว่าเจ้าหนี้ยอมประเทศอื่นแต่ไม่ยอมกรีซประเทศเดียวนี่อาจจะสรุปหยาบเกินไป มันต้องดูพฤติกรรมทางการคลังของประเทศที่เขาลดหนี้ให้ด้วยว่าเหมือนหรือต่างกับกรีซยังไงบ้าง
เป็นความจริงครับ โดยหลักๆคือ ความไม่มีวินัยการคลัง และการใช้นโยบายประชานิยมของนักการเมือง ทำให้กรีซมีวันนี้ ส่วนบทวิเคราะห์นี้เป็นหนึ่งมุมมองเท่านั้นเอง เราไม่อาจรู้เลยว่า จริงๆแล้วปัญหาที่แท้จริงของกรีซคืออะไร ระหว่างนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง และเรื่องนี้จะจบอย่างไร สิ่งที่เรา(ประเทศไทย)ทำได้คือ นำมาเป็นบทเรียนให้กับประเทศไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับ กรีซ
พาดหัวข่าวนี่เรียกดราม่าเลยทีเดียว http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1436000121 น้ำตากรีซ...ชายชราร่ำไห้เข่าทรุดหน้าแบงก์ ทำงานหนักทั้งชีวิต แต่เบิกบำนาญได้น้อยนิด วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16:02:29 น. สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นาย Giorgos Chatzifotiadis ชายผู้สูงอายุวัย 77 ปี หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการจ่ายเงินของรัฐบาลกรีซ เข่าทรุดนั่งร่ำไห้อยู่หน้าธนาคาร หลังจากที่เขาเดินทางไปยังธนาคารมาแล้วถึง 4 แห่ง แต่เขากลับไม่สามารถเบิกเงินบำนาญของเขาและภรรยาได้เต็มจำนวน โดยเขาสามารถเบิกเงินได้เพียง 120 ยูโร (ประมาณ 4,400 บาท) ตามที่รัฐบาลได้กำหนด Giorgos เล่าว่า เขาและภรรยานั้นก็เหมือนกับชาวกรีซในตอนเหนือของประเทศจำนวนมาก ที่ทุ่มแทแรงกาย "อย่างหนัก" เพื่อทำงานในเหมืองถ่านหินที่เยอรมัน เพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต "ผมเห็นประชาชนที่ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน ต้องไปขอทานเพื่อเงินไม่กี่เซ็นต์สำหรับซื้อขนมปัง ผมเห็นการฆ่าตัวตายมากขึ้น ผมเป็นคนที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับเรื่องพวกนี้ ซึ่งมันทำให้ไม่สามารถยืนมองประเทศตัวเองในสถานการณ์เช่นนี้ได้...นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมหมดแรงมากกว่าปัญหาส่วนตัวของผม" เขากล่าว โดยมาตรการดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลกรีซมีคำสั่งควบคุมการเบิกจ่ายเงินจากตู้เอทีเอ็มให้กับชาวเมืองคนละ 60 ยูโรต่อวัน (ประมาณ 2,200 บาท) เนื่องจากเกิดวิกฤตด้านการเงินอย่างหนักภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รัฐบาลได้เปิดทำการธนาคารบางสาขาเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเบิกจ่ายเงินบำนาญของพวกเขาได้ แต่กำหนดวงเงินสูงสุดอยู่ที่ 120 ยูโรเท่านั้น ทั้งนี้่ รัฐบาลกรีซจะจัดให้มีการลงประชามติแก้ไขปัญหาการเงินภายในประเทศในวันพรุ่งนี้ (5 ก.ค.) ซึ่งจากผลสำรวจเบื้องต้นของสำนักโพลหลายแห่งเห็นไม่ตรงกัน แต่คะแนนเสียงนั้นใกล้เคียงกันมาก
นับถอยหลังประชามติ“กรีซ”ส่อเค้าวุ่น วิกฤตแน่แตก2ฝ่าย“รับ-ไม่รับ” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กรกฎาคม 2558 21:33 น. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตำรวจโยนแกสน้ำตาและปะทะกับผู้ประท้วงที่สนับสนุนการออกเสียงโหวตโน (Vote NO) หรือการไม่รับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ประเทศกรีซ กลางกรุงเอเธนส์ อย่างไรก็ตามการชุลมุนเข้าปะทะนี้ เป็นเพียงผู้ประท้วงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นและก็เลิกราไปในเวลาไม่นาน วันพรุ่งนี้ (5 ก.ค.) ประชาชนชาวกรีกจะไปออกเสียงลงประชามติ ว่าจะรับหรือไม่รับเงื่อนไขจากเจ้าหนี้ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการยุโรป (EC) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (EBC) ทั้งนี้เงื่อนไขของเจ้าหนี้เหล่านี้ออกมาจากที่ประชุม เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเรียกร้องให้กรีซปฏิรูปตามเงื่อนไขที่ให้ไปเพื่อแลกกับการปล่อยเงินกู้ก้อนสุดท้ายให้กรีซ ที่ประสบภาวะเงินหมดคลังไปใช้จ่ายภายในประเทศ รวมถึงชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ซึ่งกับไอเอ็มเอฟก็ผิดนัดไปแล้วและยังมีอีกหลายการชำระหนี้ที่กำลังจะถึงกำหนด สำหรับผลการลงประชามติ จะออกมาได้ 2 แนวทาง ดังนี้ หากชาวกรีกส่วนใหญ่ Vote YES คือ ยอมรับเงื่อนไขเงินกู้ของกลุ่มเจ้าหนี้ อาจทำให้นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีของกรีซ ไม่อาจจะอยู่ในตำแหน่งได้อีกต่อไป และเปิดทางสู่การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งรัฐบาลใหม่ อาจต่อต้านเงินอุดหนุน และส่งผลให้กรีซออกจากกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซน หรือ เรียกว่า GREXIT นั่นเอง หรือรัฐบาลชุดใหม่ของกรีซอาจสนับสนุนให้ยอมรับเงินอุดหนุน ก็จะต้องเจรจากับเจ้าหนี้รอบใหม่ ซึ่งกรีซจะยังอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป พร้อมกับได้รับเงินกู้งวดใหม่และก้มหน้ายอมรับการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัด ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง คือ ผลการลงประชามติ Vote NO นั่นคือ ไม่ยอมรับเงื่อนไขเงินกู้ของกลุ่มเจ้าหนี้ กรีซก็จะพยายามเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อแก้ไขเงื่อนไขการกู้เงิน แต่หากเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับกรีซ ก็จะทำให้กรีซต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนในที่สุด ขณะที่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจมองไปในทิศทางเดียวกันว่าผลการลงประชามติไม่น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นัก และไม่น่าจะมีผลเสียต่อกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซนโดยรวม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า รัฐบาลกรีซและเจ้าหนี้อาจจะหันหน้ามาเจรจากันอีกครั้ง การลงประชามติของกรีซในครั้งนี้ นอกจากจะถูกมองว่าเป็นการตัดสินอนาคตของกรีซในยูโรโซนหรือกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรแล้ว ยังเป็นการชี้่ชะตารัฐบาลฝ่ายซ้ายของนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีด้วย ถ้าผลการประชามติไม่เป็นไปตามที่นายซีปราส ปลุกระดมโหวตโนหรือไม่รับ โดยจากผลโพลที่ออกมาล่าสุด ชี้ว่า ทั้งสองฝ่ายมีคะแนนสูสีกันอย่างยิ่ง ซึ่งพบว่า ชาวกรีกร้อยละ 43 จะออกเสียงปฏิเสธ ขณะที่อีกร้อยละ 42.5 จะออกเสียงยอมรับเงื่อนไขของกลุ่มเจ้าหนี้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------- โพสต์ทูเดย์บอกว่า เริ่มเปิดลงประชามติตั้งแต่เวลา 7 โมง เวลาที่กรีซ หรือ 11 โมง เวลาบ้านเรา และปิดหีบเวลา 1 ทุ่ม หรือ 5 ทุ่ม ตามเวลาบ้านเรา ชาวบ้านก็เริ่มซื้อของกิน ของใช้จำเป็น มากักตุนแล้ว http://www.posttoday.com/รอบโลก/ข่าวรอบโลก/374368/กรีซเปิดลงประชามติแล้วคาดรู้ผลหลังปิดคูหา2ชม
อัพเดทเรื่องกรีซครับ Thanong Fanclub 3 ชม. · มีการแก้ไข · โหวตโน61%; โหวตเยส39% ประชาชนชาวกรีกส่วนใหญ่แสดงพลังออกมาแล้วว่า ไม่เอาแผนฟื้นฟูการเงินกรีซที่เสนอโดยเจ้าหนี้ยุโรปที่ให้บีบรัดเข็มขัดในการลงประชามติในวันอาทิตย์ที่5กรกฎาคมที่ผ่านมา ผลโหวตประชามติคือ 61%ไม่เอาแผนเจ้าหนี้ และ39%เอาแผนเจ้าหนี้