อีสานเลิกผลิตยางทั้งหมดทั้งสิ้น ดีกว่ามั้ย

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย hey guys, 31 Aug 2016

  1. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    กู๊ดเยียร์ ลงทุนโรงงานยางเรเดียลกว่า 5,000 ล้าน ด้านบริดจสโตนกับมิชลิน แจงไม่ซื้อยางอีสานวันนี้ รายงานจากบริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) แจ้งว่าคณะกรรมการได้อนุมัติลงทุน 162 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 5,633....... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/biz/news/451587


    ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมยางพาราไทย กล่าวว่า วันที่ 31 ส.ค.นี้ ทางผู้ผลิตยางรถยนต์ยี่ห้อบริดจสโตนกับมิชลิน จะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรณีที่ไม่รับซื้อยางพาราที่ผลิตจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน....... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/biz/news/451587


    พื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะปลูกยาง จริงหรือไม่
    หรือว่าผู้ประกอบการผลิตภัณท์เห็นแก่ได้ ไม่คิดถีงผลเสียต่อชาติ
    เรื่องแบบนี้เราย่อมรู้มาก่อน ทำไมปล่อยให้เกิดเรื่องห่วยๆขึ้นมาได้

    เรื่องยางเราผลิตกันมานานมาก ผมเกิดมาก็รู้ว่าเราขายยางมามาก คุณภาพดี
    ไม่อยากเชื่อว่าเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์

    ภาคใต้เค้าชำนาญ ผลิตได้มาก ช่างนี้ก็ล้นตลาด
    อีสานก็เลิกผลิตไปเฮอะ

    อ่อ แล้วกู๊ดเยึยร์ทำไม่รอหลังเลือกตั้งอ๊ะ ไม่รอประชาธิปไตยก่อนเหรอ
    เสื้อแดงเค้าบอกประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย ต่างชาติเค้าไม่ซื้อของเรา
    แล้วจะให้ใครซื้ออ๊ะ
    ผมก็ไม่ซื้อ ผมกินข้าวไม่ได้กินยาง
    หรือไม่ผักตบก็น่าจะกินดีกว่ากินยาง อ้า
     
  2. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    โกงกันจนเป็นปรกติ เลยนึกว่าฝรั่งจะยอมง่ายๆ
     
  3. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    คือผมไม่คิดว่าการทำแบบนี้เป็นการโกงนะครับ
    แต่คิดว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตของชาวสวนยางภาคอีสานมากกว่า โดยใช้สารตั้งต้นที่ต้นทุนต่ำ
    จึงส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดี

    คือเรื่องนี้อยากให้แยกเรื่องการเมืองออกจากการทำธุรกิจนะครับ
    เรื่องของการลดต้นทุนนั้น ถือเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งนะครับ ดังนั้นการใช้กรดซัลฟูริคเพื่อลดต้นทุนของชาวสวนยางภาคอีสาน ผมจึงคิดว่าไม่ใช่การโกงนะครับ
    แต่มาตรฐานวัตถุดิบที่บริษัทต่างชาติต้องการนั้นก็ต้องแยกไปอีกส่วนหนึ่งนะครับ
    ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานวัตถุดิบที่บริษัทกำหนดไว้ที่เกรด A แต่ชาวสวนยางภาคอีสานผลิตออกมาได้แค่เกรด B อันนี้ก็ต้องยอมรับการปฏิเสธการรับซื้อของบริษัทละครับ

    เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นละครับ ญี่ปุ่นผลิตของเกรด A จีนผลิตของเกรด B
    แต่ถ้าคุณยอมรับมาตรฐานของเกรด B ได้ เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า แต่ถ้ายอมรับไม่ได้ก็แค่ปฎิเสธการสั่งซื้อแค่นั้น อันนี้ไม่น่าจะเรียกว่าการโกงนะครับ
     
    Last edited: 31 Aug 2016
    ต้นหอม, annykun, อู๋ คาลบี้ และอีก 1 คน ถูกใจ.
  4. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  5. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ก่อนทำควรคิดซะก่อนว่าสินค้าแบบไหนที่ลูกค้าต้องการ
    เอาง่ายเข้าว่า เค้าตรวจเจอก็ต้องแบน
    เพราะเค้าก็ต้องรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบต่อลูกค้า
    แต่มันก็น่าปรับปรุงได้น่ะ ทำทันที
    แล้วไปคุยกะเค้าใหม่เพื่อหาทางออก
     
  6. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    ลองเข้าไปอ่าน มันก็ผสมกันหลายปัญหา คือ เกษตรกรถูกหลอก และเกษตรกรมักได้ อยากใช้ของถูก
    http://www.palangkaset.com/ยางเศรษฐกิจ/จะหยุด-กรดซัลฟิวริค-ต/
    แต่สิ่งที่พังไปแล้วคือตลาดยางพาราในภาคอิสาน
    รวมทั้งไอของกรดซัลฟิวริคที่ทำลายอายุต้นยางให้ลดลงครึ่งหนึ่ง

    ปัญหานี้ไม่พบในการกรีดยางพาราภาคใต้


    กรดที่แนะนำให้ใช้คือ กรดฟอร์มิคเข้มข้น 90% (Formic) เป็นกรดอินทรีย์ เวลาสลายตัวจะสลายได้หมด ไม่มีอนุมูลอะไรเหลือตกค้างที่จะทำให้คุณสมบัติของยางเสื่อมเสียได้ เป็นกรดอ่อน และไม่เข้มข้นเกินไป ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และไม่กัดกร่อนโลหะ

    ข้อดี

    1. ทำให้ยางแผ่นแข็งตัวสม่ำเสมอ
    2. ระเหยได้ดี ทำให้แผ่นยางไม่เหนียว มีความยืดหยุ่นดี
    3. ไม่ทำให้โรงเรือน และแผ่นยางมีกลิ่นเหม็น
    4. ทำให้อุปกรณ์การทำยางแผ่นเสียหายน้อย

    ข้อเสีย
    1. กรดฟอร์มิคมีราคาแพง
    2. การบรรจุถังใหญ่น้ำหนัก 30 กก. ร้านค้าต้องมาแบ่งใส่แกลลอนขนาดเล็กอีกทำให้ยุ่งยากในการแบ่งจำหน่าย
     
  7. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    อันนี้ขำๆนะ ลอกมาจากเพจจ่า ใครมีความรู้เรื่องกรีดยาง มาเล่าให้ฟังหน่อยสิเพื่อเป็นวิทยาทาน

    มา กูชาวสวนยางกูบอกให้ฟัง ::

    ยางมีสองประเภท เศษยาง กับ ยางแผ่น

    เศษยาง คือ ขี้ยาง ยางจอก ยางลูกถ้วย ขี้พรก(กะลามะพร้าว)

    ยางแผ่น คือ เอาน้ำยางพารามาทำเป็นแผ่น ใช้น้ำส้มฆ่ายาง (กรดฟอร์มิก) ตราแพะแดง ตราเสือ เอามาใส่แบบพิมพ์ เข้าเครื่องรีดยาง เอาไปตากแดดให้แห้ง

    ไอ้ที่มีปัญหานี่คือ เศษยาง ที่ส่วนมากพากันเอาไปทำยางรถยนต์ ทางใต้ส่วนมาก เวลาทำ ชาวสวนจะไม่เอาน้ำส้มฆ่ายางไปใส่ในจอกรับน้ำยางที่แขวนไว้ที่ต้นยาง แบบที่ทางอิสานทำ เพราะไอระเหยจากกรดมันจะไปทำให้ต้นยางตายนึ่ง (เปลือกต้นยางแข็ง ยืนต้นตาย อายุสั้น)

    แล้วที่กุเห็นเวลาสกู๊ปข่าว ถ่ายวิธีทำยางพาราทางอิสาน กุเคยเห็น แม่งเอาน้ำกรดใส่แบตเตอรี่รถยนต์ ใส่ลงไปในจอกยางเลยทีเดียว ไอ้สัด!!! มึงเอากรดไปรดใส่ต้นยาง มึงได้ก็ได้แค่ไม่กี่ปี ทางใต้อย่างร้ายแรงจนตรอกไม่มีตังกินจนต้องทำขี้จอกขาย เค้าใส่แค่น้ำส้มชีวภาพ ถามว่ามันได้มั้ย? มันก็ยังดีกว่าน้ำส้มฆ่ายางแบบอื่นๆ เช่น ซัลฟิวริก
    ขอบคุณ นาย ช้าง เสธ.สะวอน
     
  8. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    ถ้าคิดว่าการเอาของคุณภาพต่ำมาขายในราคาปกติไม่ใช่การโกงก็ตามใจครับ
     
  9. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    แบบแบ่งใส่ขวดขายเป็นลังก็มีครับ
     
    kokkai และ หนูอ้อย ถูกใจ.
  10. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ยางถ้วย ไม่มีมาตรฐานกลางที่ออกโดยหน่วยงานเหมือนยางแท่งนะครับ คุณภาพต่ำคุณภาพสูงไม่มีเกณฑ์วัดที่แน่นอน
    ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของลูกค้าเองนะครับ ที่จะเลือกวัตถุดิบที่เข้ากับสายการผลิตของตัวเองให้มากที่สุด

    เหมือนร้านขายข้าวผัดกระเพรา 2 เจ้า วิธีการผัดคนละสูตร ไม่มีมาตรฐานกลางของรสชาติผัดกระเพรา ลูกค้าเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะกินร้านไหนนะครับ

     
    Last edited: 31 Aug 2016
  11. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    อีสาน ทำยางถ้วยเยอะเพราะได้เงินเร็วด้วยครับ กรีดไม่กี่มีดก็เก็บขายได้แล้ว ยอมให้เค้าหักน้ำอีก พอถามว่าทำไมไม่ทำแผ่นก็บอกว่าเสียเวลา ต้องทำงานหลายรอบ กว่าจะขายได้ก็นาน
     
  12. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ดื้อมาก สมกับเลือกเพื่อไทยเป็นรัฐบาลมาทุกสมัย ใครพูดก็ไม่ฟัง

    ต่อไปนี้คือไว้ใจแต่ยาง มิชลิน และบริสโตน ยี้ห้ออื่นไม่กล้าใช้ กลัวยางรถระเบิด

    #ยางพาราที่อุบลปลูกกันตั้งแต่ปี2540มันเอาที่ไหนมาพูดว่าทำตั้งแต่ปู่ย่าตายาย
     
    gaiser, puggi และ อู๋ คาลบี้ ถูกใจ
  13. เลอคู

    เลอคู สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    17 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    36
    สมัยปี2550 มีข่าวนายทุนภาคใต้ กว้านซื้อที่ปลูกยางภาคเหนือ ตลอดจนอีสาน แล้วใช้คนในพื้นที่เป็นนอมินี ทำกันเป็นขบวนการ
    ท่านเลอคูสังเกตุอย่างว่า ในเมื่อคนเหนือ-อีสาน ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกยางเลย จะเอาความชำนาญที่ใหนมาทำมากล้าลงทุน ถ้าไม่ใช่เอาประสบการณ์จากภาคใต้มาทำ ตั้งกระทู้จะแขวะคนอีสานก็คิดให้มันรอบด้านเสียก่อน เสียชื่อห้องสภากาแฟหมด ว่าแล้วล็อคอินมีความรู้เขาถึงหนีหายไปทีละคน2คน เหลือแต่ลูกกระจ้อก ให้ท่านเลอคูตบเล่น :D
     
  14. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    เมื่อไหร่จะได้คำตอบซักทีนะว่าเสื้อแดงที่ทิ้งเสื้อแดงติดคุกบาปไหม งั้นถามอีกดีกว่าว่า คนที่รับจ้างโกหกใส่ร้ายคนอื่นบาปไหม คนที่บอกว่าเสื้อแดงมีเกียรติแต่ตั้งพอเขาติดคุกก็ตั้งท่ารังเกียจ แบบนี้เป็นคนดีหรือเปล่า สงสัยคงไม่ได้โดนเลอคูตบหน้าซะแล้ว
     
  15. เลอคู

    เลอคู สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    17 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    36
    กระทู้นี้เขาคุยเรื่องอะไรกัน สอดไม่เข้าเรื่อง เดี๋ยวท่านเลอคูเอากลีบตบปากเลยนี่ อิชะนีดอกทอง ไปไกลๆท่านเลอคู เหม็นสาปชะนี
     
  16. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    ก็เคยถามในกระทู้ที่เกี่ยวข้องแล้วก็ไม่เห็นตอบ นอกกระทู้ก็ไม่ตอบ งั้นที่เลอคูบอกว่าจะตอบทุกอย่างก็โกหกซินะ
    อีกอย่างเคยได้ยินว่าชะนีเป็นคำที่เพศที่3หรือมือดีมักพูดแบบหยามเยียดว่ากระเทยใช้เรียกผู้หญิง งั้นก็แปลว่าเลอคูเป็นกระเทยเหมือนมือดีกับ HOT BOY
    สรุปว่าเลอคูคือกระเทยที่ดีแต่พูดซินะ
     
    Tohchida likes this.
  17. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    พูดกันตรงๆนะหนูอ้อย อย่าโกรธกัน ผมเคยได้คุยกับ
    เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ไม่ใช่เกษตรอำเภอหรือ
    เกษตรตำบล รวมไปถึงนักวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน
    เขาบอกกับผมว่าพื้นที่ที่ปลูกยางพาราแล้วให้น้ำยาง
    ที่ดีที่สุด อยู่ในเขตภาคใต้และภาคตะวันออกของไทย
    ภาคเหนือภาคอีสานก็ปลูกได้ รวมไปถึงแขวงอุดมไซ
    แขวงซำเหนือของลาว หรือจังหวัดรัตนคีรี จังหวัด
    มณฑลคีรีของกัมพูชา หรือแม้กระทั่งในเวียตนาม
    ก็ปลูกได้ แต่เมื่อกรีดน้ำยางออกมาแล้ว กลับได้น้ำยาง
    ที่มีคุณภาพต่ำ ไม่จับตัว เพราะพื้นที่เหล่านี้ไม่ใช่พื้นที่
    ร้อนชี้นเหมือนภาคใต้และภาคตะวันออกที่เมื่อกรีดยางแล้ว
    น้ำยางจะจับตัวคงรูปได้เร็วกว่า ด้วยเหตุนี้เองทำให้นักลงทุน
    จากจีนได้เข้ามาตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา
    ราว 10 แห่งในพื้นที่จันทบุรีและระยอง คาดกันว่าจะต้องใช้
    น้ำยางดิบหลายล้านตันเป็นวัตถุดิบ ซึ่งจริงๆแล้วภาคอิสาน
    กับภาคเหนือควรหันมาปลูกข้าว ทำปศุสัตว์ และประมงน้ำจีด
    ที่สามารถทำได้ดีกว่า ซึ่งในอนาคตอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญและ
    จำเป็นต่อประชากรในโลกที่จะมีถึงแปดพันล้านคนในอนาคต
    ผมเชื่ออย่างนั้นจริงๆ ตามประสบการณ์และข้อเท็จจริงที่มีครับ
     
    conservative, Anduril, หนูอ้อย และอีก 1 คน ถูกใจ.
  18. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450

    5555
    มั่วชิบ...
    คนสวน คนกรีดยางที่ภาคใต้ เค้าใช้คนอีสานมาเป็นสิบปีแล้ว
    จะดูกถูกคนอีสานว่าโง่งั้นรึ เป็นคนงานสวนยาง เป็นคนกรีดยางเป็น สิบปี
    แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรยังไง
    นี่ยังคิดว่ามีสติปัญญาพอจะมาตบเกรียนคนอื่นอีกน๊ะเนี่ย
     
    conservative likes this.
  19. เลอคู

    เลอคู สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    17 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    36
    อุ้ยคนอีสานกี่คนที่คุณว่า ไปรับจ้างกรีดยางที่ภาคใต้ ตั้งแต่ปี49 ท่านเลอคูนึกว่าคนใต้จะฉลาดพอ ใช้คนพม่าซึ่งค่าแรงถูกกว่า
    แต่ว่าเป็นเจ้าของสวนหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็อย่าสะเออะ มาเถียงเลย เพราะเพื่อนท่านเลอคู เป็นเจ้าของสวนยางอยู่ที่กระบี่ คนงานเป็นพม่าผสมคนปักใต้ ไม่มีคนอีสานแม้แต่คนเดียว เรื่องยางมาบูมช่วงนโยบายกล้ายาง มีการทำราคายางสูงสมัยทักษิณ นายทุนก็หาพื้นที่ปลูกกันมาก ภาคใต้ไม่พอหรอก ไปพื้นที่อื่นหมด

    แล้วเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องมุสา ไปแล้ว ทีหลังอย่ามาจิตนาการน้ำแตก เถียงอีกละ ไม่มีใครหรอกรู้ทุกเรื่อง แต่สะเออะ เอาข้อมูลใน กูเกิ้ลมาเกลือกกั้ว แล้วคุยว่าตัวรู้ แต่ไม่เคยอยู่ในพื้นที่จริง มีเพื่อนที่เป็นคนสวนยางจริง

    ไปเปลี่ยนล็อคอินได้นะ ท่านเลอคูอายแทน มนุดกูเกิ้ลจำเขามาพูดทั้ังนั้น :D:D:D
     
  20. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    ...
    ตัวผมเองเกิดและเติบโตในยุคที่ปักษ์ใต้เฟื่องฟูด้วยเศรษฐกิจ “ยางพารา” ทั่วเทือกทิวเขาและที่นาเก่าต่างสมบูรณ์ไปด้วยพืชยืนต้นเขียวขจี กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางหัวบันไดไม่เคยแห้ง ใครมีที่ดิน 5 ไร่ขึ้นไปเป็นต้องปลูกยาง เพราะพิสูจน์แล้วว่าน้ำยางยุคนั้นสร้างคนให้ร่ำรวย ส่งลูกหลานไปเรียนไกลถึงเมืองหลวงและเมืองนอก สร้างคหบดีใหญ่ สร้างตำรวจ สร้างทนายความ สร้างนายอำเภอขึ้นมากมาย

    คนใต้ใหญ่โตโอ่อ่าเพราะยางพารา ถือเงินสดเป็นฟ่อนไปถอยรถป้ายแดงโดยไม่ง้อไฟแนนซ์ เริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ด้อยกว่าคนกรุงเทพฯ เลยแม้แต่น้อย แต่ยางพาราอีกนั่นแหละที่ทำให้คนใต้มีรูปแบบความคิดทางการเมืองเฉพาะที่แตกต่างไปจากคนไทยทั่วไป

    ต้นทศวรรษที่30มีนโยบาย”อีสานเขียว”เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งคนบ้านผมเอ่ยเล่นๆว่าถ้าอยากเขียวจริงต้องเอายางไปปลูกสิเพราะภาคใต้ยุคนั้นเขียวมาก ยางพาราขึ้นดกดื่นขนาดไม่มีที่โล่งให้มองดาวด้วยซ้ำ แต่ดูเหมือนตอนที่อีสานได้รับการสนับสนุนให้ปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ คนใต้ทั่วไปเกิดความรู้สึกไม่ค่อยพอใจนัก เพราะยางพาราถูกทำให้เข้าใจกันว่า เป็นพืชประจำถิ่นปักษ์ใต้ ปลูกที่ไหนก็ไม่ขึ้น แต่ลืมไปว่า สุดท้ายนักปรับปรุงพันธุ์ยางปรับแต่งพันธุ์จนงอกงามบนแผ่นดินแห้งแล้งทางอีสานได้ แม้จะต้นเล็กกว่า ความเข้มข้นของน้ำยางน้อยกว่า แต่ก็ให้ผลดี

    คนใต้ที่พอมองอนาคตออก เริ่มกังวลนับตั้งแต่ต้น เพราะเศรษฐกิจยางพาราที่ปักษ์ใต้เคยมีอำนาจต่อรองสูงมาหลายสิบปี รัฐเริ่มเข้ามาแทรกแซง รัฐบาลไหนที่เสนอนโยบายขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราไปสู่ภาคอื่น คนใต้ไม่ค่อยชอบหรอก เพราะกลัวว่าผลผลิตที่มากเกินไปมันจะฉุดราคาให้ต่ำลง

    และนักการเมืองปักษ์ใต้เองก็รู้ว่าคนใต้อ่อนไหวกับยางพารายางจึงถูกเอามาใช้เป็นนโนบายสำคัญของการหาเสียงทุกยุคสมัยหากใครขึ้นปราศรัยไม่พูดเรื่องยาง(ให้ถูกใจ)คืนนั้นก็เหมือนไม่ได้ปราศรัยอะไรเลยเพราะคนรอฟังแค่นั้น

    จริงๆยุคยี่สิบสามสิบปีก่อนไม่ต้องปราศัยเรื่องยางพาราก็ได้เพราะเหมือนเสือนอนกินอยู่แล้วความต้องการในประเทศขยายตัวแต่การผลิตเท่าเดิม เพียงแต่ยุคยี่สิบปีหลังนี่เอง หลังจากพื้นที่ปลูกยางในประเทศและต่างประเทศขยายตัว ความต้องการซื้อและผลผลิตเริ่มไม่สมดุลกันแต่ละปี นโยบายยางพาราจึงกลายเป็นจุดสนใจ และคนใต้เองก็เริ่มรู้สึกไม่มั่นคง (แม้ว่าจะมีปาล์มน้ำมัน -พืชเศรษฐกิจใหม่เข้ามาเบียดแทรกพื้นที่เพาะปลูกยางพารา แต่ก็อยู่ในสถานะเดียวกัน คือขึ้นอยู่กับตลาดโลก)เพราะคิดมาตลอดว่า เรื่องยางพาราเป็นเรื่องของคนใต้ เป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลต้องใส่ใจ เพราะนี่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

    ยุค 30 ปีก่อนยังไม่มีการซื้อขายน้ำยาง ยังไม่มีโรงงานรับซื้อน้ำยางดิบไปผลิตยางแท่ง คนปักษ์ใต้จะกรีดยางเพื่อผลิตยางแผ่นรีด และขี้ยาง คนมีสวนเยอะทำยางแผ่น ทั้งกรีดเองและจ้างคนอีสานมาเป็นคนงาน(นั่นทำให้คนใต้รู้สึก “เหนือกว่า” คนอีสานมาตั้งแต่ตอนนั้น เพราะช่วงปี2520-2530 ภาคอีสานประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องยาวนาน แรงงานอีสานจำนวนมากทิ้งที่นาสมัครเข้าโรงงานในภาคกลาง บางส่วนอพยพลงไปภาคใต้ที่อุดมสมบูรณ์กว่า ไปเป็นลูกจ้างสวนยางพารา คนอีสานจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเอาต้นทุนความรู้การทำสวนยางจากภาคใต้กลับไปสร้างความมั่งคั่งบนแผ่นดินเกิด

    แต่คนใต้ยังติดภาพเก่าก่อนที่รู้สึกว่าคนอีสานเป็นเพียงแรงงานอพยพราคาถูกอยู่ง่ายกินง่ายเหมือนที่ตาลุงคนใต้คนหนึ่งพูดในที่ชุมนุมม๊อบสวนยางเกี่ยวกับวัฒนธรรมการกินที่มีแค่น้ำปลาก็กินข้าวได้เพราะแกติดภาพจากครัวเรือนแรงงานอีสานอพยพในยุคนั้นซึ่งมันก็จริงเพราะคนอีสานยุคนั้นมากับความแร้นแค้นจึงต้องปรับตัวแต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนสิบกว่าปีให้หลังตอนราคายางถีบตัวพุ่งพรวด คนอีสานจอดรถกระบะป้ายแดงในกงสี(บ้านพัก) ของนายจ้าง และอำนาจต่อรองสูงขึ้น เพราะนายจ้างก็กรีดยางเองไม่เป็น

    สุดท้ายหลังจากนโยบายขยายพื้นที่เพาะปลูกทางภาคเหนือและอีสานสำเร็จคนอีสานส่วนใหญ่ทยอยกลับบ้านนายจ้างคนใต้ขาดแคลนคนงานสวนยางอยู่พักใหญ่กระทั่งต้องมุ่งไปหาแรงงานต่างด้าวเอารถกระบะไปขนกันมาจากทางระนองซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นแรงงานผิดกฎหมายแต่ค่าแรงถูกกว่าคนอีสานมาก)....

    http://www.matichon.co.th/news/1226

     
  21. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    เพื่อนท่านเลอคู เป็นเจ้าของสวนยางอยู่ที่กระบี่

    แล้วท่านเลอคูอยู่จังหวัดอะไรครับ..ตรังรึปล่าวเอ่ย
     
  22. เลอคู

    เลอคู สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    17 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    36
    เอาเรื่องขี้ปากคนเขียนมาพูด มาอ้าง ท่านเลอคูขำหวะ สุดท้ายก็ไม่ได้สัมผัสคนสวนยางจริงๆมนุดกูเกิ้ลอีกคน 55
     
  23. เลอคู

    เลอคู สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    17 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    36
    เพื่อนเลอคูอยู่กระบี่ เขาเล่าให้ฟัง
     
  24. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    อย่าให้ผมเห็นท่านเลอคูเอาขี้ปากชาวบ้านมาอ้างล่ะ

    ว่าแต่ท่านเลอคูไม่เห็นตอบ ว่าอยู่จังหวัดอะไร
     
  25. เลอคู

    เลอคู สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    17 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    36
    ผมเป็นคนใต้ชุมพร หลังสวน
     
    tonythebest likes this.
  26. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    ....โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ตามนโยบายสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ.2547-2549) แบ่งพื้นที่ปลูกในภาคอีสาน 700,000 ไร่ และภาคเหนือ 300,000 ไร่ โดยมีบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ "ซีพี" เป็นผู้รับผิดชอบผลิตกล้ายางพาราให้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) นำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

    สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับความสนใจจากเกษตรกรอีสานสูงมาก เนื่องจากราคายางพาราที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่ากิโลกรัมละ 90 บาท ในช่วงที่เริ่มเกิดโครงการนั้น เป็นแรงกระตุ้นและดึงดูดให้เกษตรกรสมัครเข้าร่วมจนล้นโครงการ พื้นที่ปลูกยางพาราคาน่าจะสูงกว่า 1 ล้านไร่....

    http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000113369

    จากเมเนเจ๋อ เอามาให้อ่านเล่นๆ ครับ อย่าคิดมาก

    สิ่งที่ต้องคิดจริงๆ จังๆ คือ การออกนโยบายแบบเห่อตามกัน
    เหมือนพวกขายโรตีสายไหมตามริมถนน

    การคิดว่า เมื่อราคายางดี ก็เร่งรีบส่งเสิรมให้ปลูกให้เยอะๆ ทั้งที่ทำธุรกิจมาก็น่าจะรู้
    เมื่อผลผลิตออกมามากกว่าความต้องการ ราคามันย่อมตก เป็นธรรมชาติ
    แต่เราก็ทำกันแบบนี้กันมานาน เพียงแต่ไม่คิดว่า จะรวมถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลด้วย
    แถมยังเป็นรัฐบาล ที่สาวกเชื่อว่า เป็นคนที่ทำธุรกิจเก่งกาจเสียนักหนา
     
    whiskypeak, อู๋ คาลบี้ และ kokkai ถูกใจ
  27. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
    ยังมีหน้ามาทำตัวขี้คุยอีกน๊ะเนี่ย
    ตกยุคไปซะแล้ว...พม่าน่ะรุ่นหลังแล้วเฉิ่ม
    คนอีสานกลับไปทำสวนยางบ้านตัวเองหมดแล้ว
    เคยไปดูมั่งป่าว
    แล้วราคายางน่ะ สูงสุดสมัยมาร์คน๊ะ อย่าเฉิ่ม
    โกหก โง่ ๆ แบบนี้ต้องคอกกระบือราชดำเนินอย่างเลย
    555
     
  28. เลอคู

    เลอคู สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    17 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    36
    ก๊าก คนอีสานที่ฉิ่มว่า มันกี่คนหรือฉิ่ม คนอีสานที่ฉิ่มว่า มันกี่คนที่ไปเป็นนายทุนเจ้าของสวน
    ฉิ่มมโนเหมากากๆ แล้วเอามาเถียงกับท่านเลอคู เราคิดว่าฉิ่มไปสัมผัสกับคนปลูกสวนยางจริงๆดีกว่า อย่าดีแต่เสพข้อมูลจาก google จากที่เขาเอาข้อมูลบางส่วนแล้วมาเขียนให้สเกลมันใหญ่หน่อยเลย

    นายทุนใต้ เขาไปพร้อมกันตั้งแต่ปีที่ท่านเลอคูพูดเอาไว้คอมเม็นบนๆนั่นแล้ว

    ฉิ่มไปขี้ไป๊ ๆๆ ข้อมูลกากๆ เอามาไล่ต้อนท่านเลอคู ไม่ได้หรอกนะฉิ่ม :D

    เอาแค่ยางกว่าจะได้น้ำยาง ถ้าสายป่านไม่ยาวไม่มีทุนรอมแรม ก็กินขี้ไปก่อนได้น้ำยางอานะ กว่าจะได้น้ำยาง ฉิ่มกลับบ้านไปปลูก กว่าฉิ่มจะได้น้ำยาง ฉิ่มกินขี้ไปก่อน นะ :D:D
     
  29. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    จะเชื่อได้ไหมเนี้ย เมื่อก่อนก็บอกว่าเป็นเสื้อแดง เพราะเสื้อแดงมีเกียรติ แต่ตอนนี้พอเรื่องเสื้อแดงติดคุกโดนท้วง ไม่เห็นบอกว่าตอนนี้ตัวเองเป็นเสื้อแดงหรือบอกว่าเสื้อแดงติดคุกมีเกียรติเลย
     
  30. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ท่านเลอคูเข้ามาเยี่ยมตอนที่ท่านเลอกูไม่ค่อยว่าง เข้ามาแปปๆ
    แต่สำหรับท่านเลอคูให้เกียรติมา ไม่คุยคงไม่ได้ สวัสดีครับ

    เอาว่า ทั้งๆไม่รู้ท่าท่านเลอคูหมายถึงตนใต้ลงทุนหรือ คนเหนือคนอืสานลงทุนกันแน่
    ช่างเทอะ ใครจะลงทุนช่างแม่นมัน และไม่ใช่แขวะ อยากให้แม่นมันเลิกๆไปเทอะ
    เอาประสบการณ์มาอ้าง มันเกี่ยวไรกันวะ จะเลิกต้องคิดรอบด้านตรงประสบการณ์เนี่ยนะ

    ท่านเลอกูขอตบเล่นมั่งนะ ตบเล่นไปถึงนักประสบการณ์รุ่นพ่อท่านเลอคูเลยละกัน
    สมัยอีสานรุ่นพ่อจะตั้งพรรคคอมมิวนิสก็เอาคนเอาประสบการณ์เวียตนามไงมาร่วมก่อตั้ง
    ตั้งเสร็จก็ ฝึกทหารฝึกการเมือง โน่น จีน เวียต ลาว เขมร รัสเซีย นั่นละบิดาแห่งประสบการณ์ละ
    ปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน ปลดแอกประชาชนมาแล้วทั้งนั้นเป็นสิบๆปี
    พรรคคอมอีสาน ว่าในฐานะผู้เริ่มก่อตั้งพรรคอะนะ เอ้าเหนือด้วยก็ได้ จะว่าไปอีสานเนี่ยและมั้งเลิกก่อนเลยไม่เลิกเปล่า ขนอาวุธมายอมจำนนอีกด้วย
    ไงละ ประสบการณ์โค็ดเลิกทำไมอะ

    ท่านเลอคูจะรอบด้านยังไงก็ให้มันชัดด้วย ตรงประเด็นด้วย
    ตบวืดตบวาด ตบอะไรเหรอท่าน

    แถมให้หน่อย อันนี้จะว่าแขวะคนอีสานก็แล้วแต่ อยากให้แขวะก็จะแขวะ ก็ประสบการณืคนอีสานเนี่ยและ
    ท่านเลอกูไปกินอาหารนอกบ้าน เห็นข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยว เดี๋ยวนี้เห็นแต่คนอีสานทำเกือบทั้งนั้น
    อันนี้ก็เหมือนกัน ท่านเลอกูไม่อยากกินอะ ถ้าเป็นไปได้ด้วยฤทธิ์อะไรก็ตาม อยากให้เลิกเหมือนกัน
    2วันก่อนสั่งบะหมี่แห้งใส่ถุง คนอีสานขาย เป็นบะหมี่เฟรนด์ไชส์ด้วยนะ
    แสดงว่า ต้องฝึกต้องมีประสบการณ์ตามกฏเกณท์ของเฟรนด์ไชส์
    แต่ปรากฏว่า คนอีสานที่ว่าทำบะหมี่แห้งไม่เป็นอ๊ะ
    กลายเป็นว่า ตามที่สั่งได้มาคือ บะหมี่น้ำแยกน้ำ แม่ ท่านเลอกูจะกินบะหมี่แห้ง แสกให้น้ำมาทำไมวะ

    ท่านเลอคูครับ ท่านเลอกูเป็นประชาชนแปลว่าเป็นคนเรียบๆง่ายๆ อย่าให้รอบด้านเฟ้อนัก
    ท่านเลอกูก็ตอบท่านเลอคูง่ายๆตรงๆประเด็นแบบนี้และครับ
     
  31. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
    เอาคนใต้บางส่วนที่ไปลงทุน ไปเหมารวมกับนักกรีดยางอีสานส่วนใหญ่ที่กลับไปปลูกยางบ้านตัวเอง
    เสื้อแดงของแท้เลยน๊ะเนี่ย รู้ตัวป่าวเลอคูกำลังแถกกับเขยอีสานตัวจริงที่ไปปีละหลายครั้งเพื่อนคนอีสานก็แยะ
    กร๊ากกกก
     
    Last edited: 3 Sep 2016
  32. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ทำไมเจ้านายเก่าผม ที่เป็นเจ้าของไร่สวนยางที่กระบี่ตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นพ่อจนส่งเสียเขาไปเรียนที่สิงคโปร์กะอเมริกา บอกผมว่า สมัยก่อนเขาจ้างแรงงานอิสานให้มาทำสวนยางอ่ะ ตอนนี้ไปจ้างพม่าเมื่อสักสิบกว่าปีเกือบยี่สิบปีก่อนเพราะค่าแรงถูกกว่าเยอะ ทำงานได้งานมากกว่า ไม่ค่อยงอแง

    แถมคนอิสานกลับบ้านไปทำสวนยางเองก็เยอะ ขาดแคลนแรงงาน คนอิสานที่กลับไปมีทั้งกลับไปรับจ้างทำสวนยาง หรือ ไปปลูกยางเองก็มีนะเพราะแต่งงานกะคนใต้เลยย้ายกลับไปทำไร่สวนยางที่อิสานเพราะมีที่ดินที่นาอยู่
     
  33. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
  34. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    คณะอนุกรรมาธิการผลผลิตทางการเกษตร สนช.ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และค่ายยางรถยนต์เข้าหารือด่วน ได้ข้อสรุปทั้ง 2 ค่าย ยืนยันยังรับซื้อยางพาราจากภาคอีสานของไทย

    นายพรศักดิ์ เจียรณัย ประธานอนุกรรมาธิการผลผลิตทางการเกษตร สนช. เรียกการยางแห่งประเทศไทย บริษัท ศรีตรัง และตัวแทน 2 ค่ายผู้ผลิตยางล้อเข้าหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า ทั้ง 2 บริษัท ยืนยันไม่เคยประกาศจะยกเลิกการรับซื้อยางจากเกษตรกรในภาคอีสาน โดยยังเปิดรับซื้อตามปกติ และมีแผนที่จะลงทุนในไทยต่อเนื่อง เนื่องจากยางพาราของประเทศไทย เป็นยางที่มีคุณภาพดีที่สุดในอาเซียน

    ขณะที่นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา การยางฯ ได้รณรงค์ให้เกษตรกรยกเลิกการใช้กรดซัลฟิวริกมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันยังมีอยู่ราว 40% ของเกษตรกรในภาคอีสาน ที่ยังใช้กรดดังกล่าวอยู่ เนื่องจากมีราคาถูก เพียงกิโลกรัมละ 1.20 บาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับราคากรดฟอร์บิก และอะซีติก ที่แนะนำให้ใช้ ที่ราคากิโลกรัมละ 30-35 บาท ซึ่งหลังการหารือวันนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุมการใช้กรดซัลฟิวริกของเกษตรกรอย่างจริงจัง เพื่อควบคุมคุณภาพยางพาราในระยะยาว

    ทั้งนี้กระแสข่าวดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อราคายางก้อนถ้วย ปรับราคาลดลงทันที 2 บาท จากกิโลกรัมละ 25 บาท เหลือ 23 บาท แต่เชื่อว่าจะเป็นช่วงระยะสั้น ๆ หลังจากทุกฝ่ายได้ทราบข้อเท็จจริงแล้ว



    ชาวสวนยางพร้อมปรับไม่ใช้กรดซัลฟิวริก หลังยางไม่ได้คุณภาพตามบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ต้องการ

    นายวิทยา กลางรักษ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย บอกว่า ได้ทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักเองจากการนำเปลือกสับปะรด ผสมกากน้ำตาล น้ำ และขี้เถ้า หมัก 2 สัปดาห์ จะได้น้ำหมักที่นำไปหยอดในถ้วยยางหลังการกรีด ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที ก็จะจับตัวแข็งเป็นก้อน คุณภาพของยางไม่แตกต่างจากการใช้กรดซัลฟิวริก โรงงานก็รับซื้อ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกร

    สาเหตุที่เกษตรกรใช้กรด”กรดซัลฟิวริก” นายดิษฐเดช วัฒนาพร ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำยาง บุรีรัมย์ บอกว่า กรดชนิดนี้ราคาถูกกว่า”กรดฟอร์มิก”ที่เป็นสารธรรมชาติ ”กรดซัลฟิวริก”หาซื้อได้ง่ายกว่า ประกอบกับชาวสวนยางส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่ากรดตัวไหนส่งผลต่อคุณภาพยาง แนวทางการแก้ไข การยางแห่งประเทศไทย จะต้องยื่นมือมาช่วยเหลือ ด้วยการให้เกษตรจับกลุ่มซื้อ”กรดฟอร์มิก”แบบประมูล จะทำให้ราคาถูกกว่า”กรดซัลฟิวริก”

    นายวชิรวิชญ์ สกุลดีโชติวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดเลย บอกว่า มีการส่งเสริมให้มีการใช้กรดฟอร์มิก ตัวใหม่ มาแล้วประมาณ 3 ปี พร้อมกำชับไปยัง ผู้ค้าที่ไปรับซื้อยางในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ประชาสัมพันธ์ การใช้กรด กรดฟอร์มิก ตัวใหม่ แทนกรดซัลฟิวริก

    ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจังหวัดยโสธร เกรงว่าปัญหานี้จะทำให้ราคายางจากภาคอีสานที่ต่ำอยู่อยู่ถูกกดราคาไปอีก โดยราคายางก้อนถ้วย ขณะนี้ขายได้แค่ 22 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น



    ผู้ว่า กยท. ยืนยันบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ ไม่มีแผนยกเลิกการซื้อวัตถุดิบยางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ยอมรับ พบการใช้กรดซัลฟิวริก สูงถึงร้อยละ 60 ของการผลิตวัตถุดิบยางฯ

    นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ระบุ ได้รับการยืนยันจากบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ ไม่มีแผนยกเลิกซื้อยางจากเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ยอมรับ ยังพบว่ามีเกษตรกรใช้กรดซัลฟิวริก ในการผลิตยางก้อนถ้วย สัดส่วนร้อยละ 60 ของการผลิตวัตถุดิบยางพารา

    ที่ผ่านมา กยท.ได้รณรงค์ไม่ให้ใช้กรดดังกล่าว เพราะทำให้วัตถุดิบยางพารา ไม่ได้คุณภาพ ส่งผลเสียด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่ส่งเสริมให้หันมาใช้กรดฟอร์มิก แทน เพราะจะได้วัตถุดิบยางพาราที่มีคุณภาพดีกว่า เชื่อว่ากรดซัลฟิวริก จะหมดไปในอีก 2 ปีข้างหน้า

    ทั้งนี้ ผู้ผลิตวัตถุดิบยางพารา จำเป็นต้องใช้กรดดังกล่าวเป็นส่วนผสม เพื่อให้ยางก้อนถ้วยเซทตัว ส่วนสาเหตุที่เกษตรกร เลือกใช้กรดซัลฟิวริกแทนกรดฟอร์มิกที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะต้นทุนกรดซัลฟิวริก มีราคาเพียง 22 สตางค์ต่อลิตร ถูกกว่ากรดฟอร์มิก ซึ่งมีราคา 60 บาทต่อลิตร เพราะเป็นสินค้านำเข้า ไม่มีการแบ่งขาย

    ปัจจุบัน ปริมาณการผลิตยางพาราทั่วประเทศ อยู่ที่ประมาณ 4 ล้านตันต่อปี โดยมาจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 750,000 ตัน ในจำนวนนี้เป็นยางก้อนถ้วย 570,000 ตัน

    ด้านบริษัท มิชลิน ประเทศไทย ยืนยันไม่มีนโยบายแบนการรับซื้อยาง และยังดำเนินธุรกิจในไทยตามปกติ ส่วนกระบวนการรับซื้อ ซึ่งผ่านทางซัพพลายเออร์หลายราย รวมถึงบริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพอยู่แล้ว พร้อมย้ำไม่เคยมีแผนสร้างโรงงานใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะปัจจุบัน มีโรงงานผลิตแล้ว 6 แห่ง ในภาคกลางและตะวันออก ซึ่งเพียงพอต่อการผลิต

     
    Last edited: 17 Sep 2016

Share This Page