ภาพจากสถานีอวกาศ แสดงให้เห็นว่าแถวๆนี้เฉพาะอ่าวไทยเต็มไปด้วยเรือปั่นไฟ กรมประมงวิจัยพบอัตราจับสัตว์น้ำเฉลี่ยของ “อวนลาก” ลดลงอย่างรวดเร็ว -ปี 2504 จับได้ 298 กก./ชม. -ปี 2525 จับได้ 49 กก./ชม. -ปี 2534 จับได้ 23 กก./ชม -ปี 2549 เหลือเพียง 14 กก./ชม จะเกรงใจ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไปอีกนานแค่ไหนครับ ?
ประชาชนส่วนใหญ่เลือกรัฐบาลที่ให้สิทธิ์สัมปทานแก่ทุนใหญ่ ก็สมควรครับ หมดๆไปซะก็ดี คนส่วนใหญ่สมควรจะเดือดร้อนกันมั่งครับ จะได้รู้จักทำงานหนักๆแล้วจะฉลาดเอง ส่วนท้องถิ่น อบจ.ก็แค่รักษาประโยชน์ในขอบเขต พิ้นที่ของตนเองครับ แบ่งเขตกันไป ดูแลผลประโชน์ประชาชนของท้องถิ่นตัวสิครับ หรือจะต้องยอมให้เกิดฆ่ากันงั้นรือ
ข้อเสนอข้อเรียกร้องให้บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ของเจ้าสัวซีพี คุณธนินทร์ เจียรวนนท์ ให้เลิกซื้อปลาป่นจากเรืออวนลากของสมาคมรักษ์ทะเลไทย ที่ได้เสนอต่อบริษัทในเครือฯ ไปเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับในทางหลักการว่าจะนำเรื่องนี้ไปพิจารณา แต่นี่ก็เนิ่นนานมาเกือบปีแต่ก็หายไปในสายลม ไม่ยี่หระต่อความเดือดร้อนของเกษตรกรที่เป็นชาวประมงหลายแสนครอบครัวที่ต้องใช้ทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำในการประกอบอาชีพ รวมไปถึงประชาชนคนไทยที่บริโภคอาหารโปรตีนจากทะเลจำพวกกุ้งหอยปูปลา ที่จำเป็นต้องร้องขอท่าน ก็เพราะว่าถึงวันนี้ทะเลไทยวิกฤตสุดๆ ในเรื่องพันธุ์สัตว์น้ำในทะเล ที่บริษัทในเครือของท่านมีส่วนสำคัญในการทำลาย คือการใช้ปลาป่นจากเรืออวนลากในธุรกิจอาหารสัตว์ของท่าน ขอร้องเจ้าสัวซีพีสักเรื่องได้ไหมครับ
คิดดูสิว่าลูกปลาตัวเท่าหัวแม่มือยังติดอวดลาก แล้วปลาอื่นๆมีหรือจะเหลือ ตอนนี้ชาวเลขายเรือไปรับจ้างก่อสร้างกันเกือบหมดแล้ว