อยากถามคนเล่นหุ้นหน่อยครับ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย kokkai, 8 Dec 2014

  1. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    หลายๆบริษัท ที่เข้าอยู่ในตลาดหุ้น
    เขาโอนกำไรไปอยู่กับบริษัทลูก (ผู้บริหารจัดตั้งขึ้น เพื่อซื้อหรือขายกับบริษัทแม่)
    การทำแบบนี้มีการตรวจเช็คกันหรือปล่าวครับ
    มีความผิดไหมครับ
     
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    รอฟังคำตอบเหมือนกัน เอาไว้ประดับความรู้
     
  3. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ผมเองไม่ได้เล่นหุ้นกะเขาหรอกครับ
    แต่พอรู้ข้อมูลแบบนี้ รู้สึกว่า มันเอาเปรียบกันชัดๆ
    กำไรของบริษัทแทนที่จะได้เป็นเงินปันผล ตอบแทนผู้ลงทุน
    กลับถูกตัดแบ่งไปให้พวกผู้บริหารเสียก่อนแล้ว ที่เหลือจึงจะถึงมือผู้ซื้อหุ้น
    อีกอย่างหนึ่งคือ การทำแบบนี้ มันเป็นช่องทางปั่นหุ้นกันได้สบาย
     
    กีรเต้ likes this.
  4. ควันหลง

    ควันหลง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,786
    ถ้าทำแบบนั้นมันเข้าข่ายยักยอกทรัพย์ ไม่ใช่เหรอครับ ผมว่า ก.ล.ต. น่าจะกำกับดูแลในส่วนนี้อยู่นะครับ
     
    กีรเต้ likes this.
  5. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    คือมันทำได้นะครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ
    ไปตั้งบริษัทลูกที่สิงคโปร์ แล้วบริษัทแม่เป็นโรงงานผลิต
    ให้บริษัทลูกรับหน้าที่รับยอดขายแล้วว่าจ้างบริษัทแม่ทำการผลิต
    กำไรส่วนใหญ่ก็จะไปโตที่บริษัทลูก บริษัทแม่ก็จะกำไรน้อย
    ยิ่งไปกว่านั้น สิงคโปร์ก็เก็บภาษีน้อยกว่าไทย ทำให้เงินกำไรสุทธิหลังหักภาษีจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
    เมื่อคราวบริษัทลูกปันผลให้บริษัทแม่ จะถูกเก็บภาษีแค่ 10% เนื่องจากเป็นเงินรายได้จากการลงทุน
    แต่ถ้าเป็นกำไรมาโตที่บริษัทแม่ จะถูกเก็บภาษี 23% ตามภาษีของประเทศไทย
    ที่รู้คร่าวๆ ก็ประมาณนี้ละครับ
     
    padd, ridkun_user และ kokkai ถูกใจ
  6. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    มีจริงๆครับ บริษัทมหาชนที่ทำแบบนี้ ผมบอกชื่อไม่ได้(เพราะยังต้องซื้อขายกับพวกนี้อยู่)
    ผมสมมุติแทนก็แล้วกัน
    บริษัทก.(มหาชน) จะต้องซื้อวัตถุดิบA มาใช้ทุกครั้งที่ต้องผลิตสินค้า
    แต่มีผู้บริหารไปตั้งบริษัทข.ผลิตสินค้าA ตัวนี้ออกมาขายให้บริษัทก.ด้วย
    ผมก็เป็นรายย่อยที่ผลิตวัตถุดิบAตัวนี้เช่นกัน ข้อแตกต่างคือ
    ***บริษัทข.จะได้ออเดอร์ก่อนใคร คุณภาพห่วยซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ ต้องทำลายทิ้งก็ไม่เป็นไร ฝ่ายจัดซื้อไม่กล้ายุ่ง
    ราคาก็ได้สูงกว่าของบริษัททั่วไป
    ***ผมที่เป็นคนนอกจะได้รับออเดอร์ ก็ต่อเมื่อบริษัทข.ผลิตไม่ทัน ต้องแย่งออเดอร์กับรายอื่นๆด้วย
    คุณภาพต้องดี ราคาต้องต่ำสุดเท่าที่ทำได้ ฝ่ายจัดซื้อต่อรองราคาแบบเขี้ยวสุดๆ
    การทำแบบนี้ก.ล.ต.จะรู้เรื่องเหรอครับ ผมเห็นเป็นลักษณะนี้มาเป็นสิบๆปีแล้วมั้ง
    ไม่เห็นมีใครทำอะไรได้
     
    Lucy Van Pelt, temp และ padd ถูกใจ
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    อีกตัวอย่างก็เป็นบริษัทเกี่ยวกับเรือ
    ปกติเรือสินค้าทุกลำจะต้องชักธงสังกัดประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วก็ปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศนั้น
    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบริษัทเจ้าของเรืออาจไม่ต้องเป็นบริษัทในประเทศนั้นก็ได้
    มีบริษัทเดินเรือแห่งหนึ่งของไทยในตลาดหลักทรัพย์นี่ละ
    เคยมีเรือชักธงประเทศไทยอยู่หลายลำ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปชักธงสิงคโปร์ทั้งหมด
    เนื่องจากหากยังชักธงประเทศไทยอยู่ เมื่อขายเรือแล้วรายได้ที่ได้มาต้องเสียภาษี
    แต่เมื่อชักธงสิงคโปร์ เมื่อขายเรือแล้วรายได้ส่วนนี้ไม่ต้องนำมาเสียภาษี
     
    temp และ kokkai ถูกใจ.
  8. padd

    padd อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    14 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,139
    อันนี้งงๆนิดนึงค่ะ การซื้อขายสังหา ไม่ใช่อ้างอิงชื่อผู้เป็นเจ้าของหรือคะ แต่ว่าเรือนี่มันมีการจดทะเบียนเป็นเจ้าของเรือป่าว เรือแค่ใช้ธงมาอ้างความเป็นเจ้าของก็พอ :wondering:
     
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เรือมีบริษัทเป็นเจ้าของเรือครับ แต่เวลาออกไปในน่านน้ำสากลต้องชักธงประเทศใดประเทศหนึ่ง
    การชักธงนี่ไม่ใช่ให้ชักกันฟรีนะครับ มีค่าใช้จ่ายด้วย เพราะประเทศเจ้าของธงต้องรับผิดชอบเรือที่ชักธงของประเทศ
    สมมุติเรือที่ชักธงประเทศไทยถูกจี้ปล้นไป เป็นหน้าที่ของประเทศไทยที่จะตามไปเอาคืนนะครับ
    แล้วพื้นที่บนเรือที่ชักธงของประเทศนั้น ถือเป็นเขตอธิปไตยของประเทศด้วยเหมือนกัน
    หลักการนี่เช่นเดียวกับเครื่องบิน ถ้าเครื่องบินไทยถูกจี้ไปลงจอดที่ประเทศอื่น ประเทศนั้นๆ จะตามทหารไทยไปช่วยตัวประกัน
    เพราะการขึ้นไปบนเครื่องบิน ถือว่าเป็นเขตอธิปไตยของประเทศนั้นๆ ยกเว้นว่าไปไม่ทันจริงๆ อาจร้องขอให้ประเทศอื่นช่วยได้ครับ
     
    Last edited: 9 Dec 2014
    kokkai, อู๋ คาลบี้ และ padd ถูกใจ
  10. padd

    padd อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    14 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,139
    ขอบคุณค่ะ พอจะเข้าใจละ (ตรงค่าใช้จ่ายนี่แหละค่ะ :giggle: )
     
  11. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    outsource
    consult
    nationality
     

Share This Page