องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ParaDon, 8 Jan 2017

  1. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai




    องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ (อักษรย่อ ต.ร.ช.) เป็นองค์การในประเทศไทยที่ตั้งขึ้นภายใต้เจตนารมณ์ของกฎบัตรสหประชาชาติ และได้รับรองความถูกต้องโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ( ปัจจุบันได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ไปแล้ว ) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 59/96 หมู่บ้านพรร่มเย็น หมู่ 6 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี 12130
    https://th.wikipedia.org/wiki/องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งชาติ

    ตรช.-อตร.-อตส.-สตร.
    อยากทราบว่าองค์กรค์นี้ยังมีอยู่หรือไม่?
    องค์กรค์นี้มีทุกจังหวัดหรือเปล่า? (เท่าที่ดูมีหลายจังหวัด)

    ขอผู้ความรู้ช่วยชี้แนะด้วยครับเพราะเห็นมีชื่อย่อคล้ายกันหลายชื่อเหลือเกิน
    น่าเป็นห่วงจะมีการแอบอ้างไปต่างๆนาๆ บางคนไม่เข้าใจจะคิดว่าเป็นหน่วยงานของรัฐ

    ถ้าทำด้วยใจบริสุทธิ์ถือว่าเป็นการรวมตัวเพื่อพัฒนาสังคมเราให้ดีขึ้น
    แต่ถ้าร่วมตัวโดยมีเป้าหมายแอบแฝง ก็ไม่รู้สิอนาคตจะเป็นอย่างไร
     
    Last edited: 10 Jan 2017
    AlbertEinsteins likes this.
  2. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ชื่อนี้ถ้าเป็นองค์กรของรัฐ ไม่เคยได้ยินชื่อเลยครับ
    แต่ก็แปลกดีครับ ชื่อประธาน เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้คำสั่งของศาลจ.สงขลา ที่ไม่อนุมัติประกันเสื้อแดง เป็นโมฆะ
    http://www.ryt9.com/s/tpd/932032
     
  3. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    15439908_10207610171002310_2688293521768913402_n.jpg
    15541329_10207610171362319_5753686554156368907_n.jpg
    Credit ... BeeGee Gib
     
  4. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    Last edited: 8 Jan 2017
    AlbertEinsteins likes this.
  5. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  6. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
  7. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    1.png
    องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐ ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนองเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้เป็นองค์กรหลักและศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือในการดำเนินการของคณะกรรมการบริหารสูงสุดขององค์การ ที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนและนานาประเทศ เพื่อควบคุมและตรวจสอบอำนาจรัฐในทุกระดับให้เป็นไปโดยโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมป้องกันมิให้เกิดความบิดเบือนในอำนาจนั้นๆ และให้เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และชนชาติสมาชิกของนานาประเทศที่ได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ และอื่นๆในสังคม ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองประชาชนและชนชาติ สมาชิกที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยถูกข่มเหง รังแก ข่มขู่ จากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา ๘๗ (๓) ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ว่ารัฐต้องส่งเสริมให้มีการตรวจสอบอำนาจรัฐในทุกระดับ ช่วยประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับทุกองค์กร หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ ช่วยเหลือในการดำเนินงานเพื่อสิทธิศักดิ์ศรีและคุ้มครองความเป็นมนุษย์ ในฐานะเป็นองค์กรของประชาชนและเพื่อประชาชนตลอดจนชนชาติสมาชิก องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐ มีอำนาจในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆเพื่อรักษาทรัพย์สินของชาติที่เป็นภาษีของประชาชนตลอดจนผู้บังคับใช้กฎหมายและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ให้อำนาจหรือสิทธิแก่ประชาชนไว้แล้วตามมาตรา ๕๖, ๕๗, ๕๙, ๖๐, ๖๒, ๗๔ เป็นต้น ยังให้ความร่วมมือกับทุกองค์กร หน่วยงานและมวลชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศ และส่งเสริมช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรือง
    %E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%991(1).jpg
    https://xn--12c4db3b2bb9h.net/threa...จรัฐแห่งชาติ-อักษรย่อ-ต-ร-ช.5173/#post-124554
     
  8. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    หลายท่านคงรู้แต่ผมงงเพราะมีหลายองค์กรทับกันไปทับกันมา
    ไม่รู้ว่าอันใหนจริงอันใหนปลอม :(
     
    Last edited: 8 Jan 2017
  9. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai


    ลองค้นเจอข่าวเก่า



    เด็กแว๊นยังมีบัตร
     
    kokkai likes this.
  10. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
  11. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    rer.jpg
    Logo_PNG%20735.png
    tn-5-255(1).jpg

    สำหรับเนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 มีดังนี้

    มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5 มาตรา 123/6 มาตรา 123/7 และมาตรา 123/8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

    มาตรา 123/2 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต

    มาตรา 123/3 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

    มาตรา 123/4 ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ ขององค์การระหว่างประเทศ โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตน ให้กระทําการ หรือไม่กระทําการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

    มาตรา 123/5 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทําการ ไม่กระทําการ หรือประวิงการกระทําอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

    ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลใดและกระทําไป เพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลนั้น โดยนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน มิให้มีการกระทําความผิดนั้น นิติบุคคลนั้นมีความผิดตามมาตรานี้ และต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่า แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ

    บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลตามวรรคสอง ให้หมายความถึง ลูกจ้าง ตัวแทน บริษัท ในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทําการเพื่อหรือในนามของนิติบุคคลนั้น ไม่ว่าจะมีอํานาจหน้าที่ในการนั้น หรือไม่ก็ตาม

    มาตรา 123/6 ในการริบทรัพย์สินเนื่องจากการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ นอกจากศาลจะมีอํานาจริบทรัพย์สินตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้ด้วย เว้นแต่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ในการกระทําความผิด

    (1) ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทําความผิด

    (2) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่บุคคลได้มาจากการกระทําความผิด หรือจากการเป็นผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรือผู้โฆษณาหรือประกาศให้ผู้อื่นกระทําความผิด

    (3) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่บุคคลได้มาจากการจําหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ตาม (1) หรือ (2)

    (4) ประโยชน์อื่นใดอันเกิดจากทรัพย์สินหรือประโยชน์ตาม (1) (2) หรือ (3)


    ในการที่ศาลจะมีคําสั่งริบทรัพย์สินตาม (1) ของวรรคหนึ่ง ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งการกระทําความผิด รวมทั้งโอกาสที่จะนําทรัพย์สินนั้นไปใช้ในการกระทําความผิดอีก

    ในกรณีที่ศาลเห็นว่ามีวิธีการอื่นที่ทําให้บุคคลไม่สามารถใช้ทรัพย์สินตาม (1) ของวรรคหนึ่ง ในการกระทําความผิดได้อีกต่อไป ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ดําเนินการตามวิธีการดังกล่าวแทนการริบทรัพย์สิน

    หากการดําเนินการตามวรรคสามไม่เป็นผล ศาลจะมีคําสั่งริบทรัพย์สินนั้นในภายหลังก็ได้

    มาตรา 123/7 บรรดาทรัพย์สินดังต่อไปนี้ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้ รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําความผิด

    (1) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่บุคคลได้ให้ ขอให้ หรือรับว่า จะให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทําการ ไม่กระทําการ หรือประวิงการกระทําอันมิชอบด้วยหน้าที่

    (2) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาจาก การกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม

    (3) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศได้มาจากการกระทําความผิดตามมาตรา 123/2 หรือมาตรา 123/3 หรือความผิดในลักษณะเดียวกันตามกฎหมายอื่น

    (4) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่ได้ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทําความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัลในการที่บุคคลได้กระทําความผิด

    (5) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ที่บุคคลได้มาจากการจําหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

    (6) ประโยชน์อื่นใดอันเกิดจากทรัพย์สินหรือประโยชน์ตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5)


    มาตรา 123/8 เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคําขอของโจทก์ว่าสิ่งที่ศาลสั่งริบ ตามมาตรา 123/6 (2) (3) หรือ (4) หรือมาตรา 123/7 เป็นสิ่งที่โดยสภาพไม่สามารถส่งมอบ ได้สูญหาย หรือไม่สามารถติดตามเอาคืนได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือได้มีการนําสิ่งนั้นไปรวมเข้ากับทรัพย์สินอื่น หรือได้มีการจําหน่าย จ่าย โอนสิ่งนั้น หรือการติดตามเอาคืนจะกระทําได้โดยยากเกินสมควร หรือมีเหตุ สมควรประการอื่น ศาลอาจกําหนดมูลค่าของสิ่งนั้นโดยคํานึงถึงราคาท้องตลาดของสิ่งนั้นในวันที่ศาลมี คําพิพากษาและสั่งให้ผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งสิ่งที่ริบชําระเงินหรือสั่งให้ริบทรัพย์สินอื่นของผู้กระทําความผิด ตามมูลค่าดังกล่าวภายในเวลาที่ศาลกําหนด

    การกําหนดมูลค่าของสิ่งที่ศาลสั่งริบตามวรรคหนึ่งในกรณีที่มีการนําไปรวมเข้ากับทรัพย์สินอื่น หรือการกําหนดมูลค่าของสิ่งนั้นในกรณีมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้มาแทนต่ำกว่าการนําไปรวมเข้ากับทรัพย์สินอื่น ในวันที่มีการจําหน่าย จ่าย โอนสิ่งนั้น ให้ศาลกําหนดโดยคํานึงถึงสัดส่วนของทรัพย์สินที่มีการรวม เข้าด้วยกันนั้น หรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้มาแทนสิ่งนั้นแล้วแต่กรณี

    ในการสั่งให้ผู้ที่ศาลให้ส่งสิ่งที่ริบชําระเงินตามวรรคสอง ศาลจะกําหนดให้ผู้นั้นชําระเงินทั้งหมด ในคราวเดียว หรือจะให้ผ่อนชําระก็ได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่กรณี

    ผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งสิ่งที่ริบซึ่งไม่ชําระเงินหรือชําระไม่ครบถ้วนตามจํานวนและภายในระยะเวลา ที่ศาลกําหนด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดตามอัตราที่กฎหมายกําหนด

    ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งริบทรัพย์สินเนื่องจากการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ แต่คําพิพากษายังไม่ถึงที่สุด ให้เลขาธิการมีอํานาจเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินดังกล่าว จนกว่าคดีถึงที่สุด หรือศาลมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษาและจัดการ ทรัพย์สินให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด”

    สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ ด้วยประเทศไทยได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (United Nations Convention against Corruption : UNCAC) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2554 อันก่อให้เกิดหน้าที่ในการปฏิบัติตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในของประเทศไทยเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญา ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งในขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเป็นผู้ถูกประเมินและติดตามผลการปฏิบัติตามอนุสัญญา การที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเรื่องความพยายามและความจริงจังในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายใน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตรวมถึงการแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในประเทศ จึงมีความจําเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องการกําหนดความผิดการให้หรือรับสินบนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ การกําหนดอายุความ ในกรณีหลบหนีและอายุความล่วงเลยการลงโทษการกําหนดการริบทรัพย์สินในคดีทุจริตให้เป็นไปตามหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่า อีกทั้งยังเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีกลไกในการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเนื่องจากการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวถือเป็นอาชญากรรมที่มีลักษณะพิเศษ จึงควรบัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความเชี่ยวชาญของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางาน และเป็นหลักประกันมิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลมากเกินความจําเป็น นอกจากนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินให้ถูกต้อง จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้.

    อ่านฉบับเต็ม : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

    ข้อกฏหมายถูกบังคับใช้ไม่หมดเจ้าหน้าที่ละเลยที่จะใช้หรือเลือกใช้บางมาตราเพื่อเอื้อกับคดีเจ้าหน้าที่สมควรต้องเข้าข่าย
    ม.123 ด้วย

    ทำไม่ต้องให้ภาคประชาชนต้องยกขบวนออกมาตั้งแก็งค์ตั้งกลุ่มกระตุ้นหรือชี้ให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้กฏหมายมาตราใหนด้วย
    ความผิดน่าจะอยู่ที่การบังคับใช้กฏหมายหรือวิจารณ์ญาณที่ไม่ถูกต้องของตัวเจ้าหน้าที่เองมากกว่าเลยทำให้เกิดการลักลั่นมาตลอด
     
  12. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai


    เพราะชีวิตบัดซบหรือความบัดซบมันเกิดจากคนบางกลุ่มบางพวก
     

Share This Page