Tongrob Sunontalad จู่ๆ ภาพนี้ก็เด้งขึ้นมา บนนิวส์ฟีดของผม เป็นภาพเก่าที่ The Independentฉบับ Tuesday 31 March 2015 เคยเผยแพร่เอาไว้ . ภาพเด็กหญิงซีเรียน ยกสองมือขึ้นท่วมหัว เพียงเพราะช่างภาพชาวตุรกี Osman Sağırlı ถือกล้องเข้าไปถ่ายรูปใกล้ๆ . เด็กน้อยเ็นผู้ลี้ภัยสงคราม พักอาศัยอยู่ที่ค่ายอพยพ Atmeh ชายแดนตุรกี . เด็กน้อยยกมือเพราะ #คิดว่ากล้องถ่ายรูปคือปืน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของบ้านเมือง เต็มไปด้วยควันปืน ระเบิด และสงคราม . ออสมัน เจ้าของภาพบอกว่า "เธอแค่สี่ขวบ และผมก็คิดว่าเธอกลัว เพราะเธอกัดริมฝีปากแน่น พร้อมกับยกมือขึ้น ทั้งๆที่ผมมีแค่กล้องถ่ายรูปเท่านั้น" . พลเรือนตายประมาณ #สองแสน กลายเป็นผู้อพยพประมาณ #สี่ล้าน นี่คือความล้มเหลวของมนุษยธรรมอย่างสิ้นเชิง ____________________ http://www.independent.co.uk/…/syrian-child-photographed-su… ............................................. นี่เป็นแค่ 1 ภาพที่ถูกถ่ายทอดให้เราได้เห็น ในขณะที่ความเป็นจริงที่ถูกซ่อนอยู่อาจโหดร้ายมากกว่าที่เราเห็นอีกมากมาย
47 ปีผ่านมา แต่ภาพโหดร้ายก็ยังคงอยู่ ทหารอเมริกันเข้าตรวจค้น หาทหารเวียดกง ในหมู่บ้าน"หมีลาย" ภาคกลางของเวียตนาม สิ่งมีชีวิตในหมู่บ้านที่เคลื่อนไหวได้ ต้องตกเป็นเหยื่อของคมกระสุนทหารอเมริกัน *** ภาพจากพิพิธภัณฑ์สงคราม เมืองโฮจิมินต์
เกือบครึ่งศตวรรษที่สงครามได้สิ้นสุดลง แต่โชคร้ายที่เด็กน้อยเวียตนามบางคนที่เกิดมาในปัจจุบันยังคงได้รับผลกระทบจาก"ฝนเหลือง" ที่อเมริกาใช้สงคราม เมื่อไม่กี่ปีนี้ เคยได้ข่าวว่าผมถังบรรจุ"ฝนเหลือง"ที่สนามบินประจวบ จะมีใครรู้มั้ยว่ามันอันตรายขนาดไหนถ้ารั่วไหลลงน้ำ ลงดิน
"ฝนเหลือง" มันไม่ได้สลายตัวไปตามวันเวลา มันยังคงอยู่ในน้ำ ในดิน ปลา ผัก ดูดซึมเข้าไปสะสม คนไปกิน ผัก กินปลา ต่อ ก็ส่งผลไปสู่ลูกหลานในอนาคต ตายทีเดียวจบ ดีกว่าทรมานเพราะพิการ
มกราคม 1966 เด็กชาวเวียดนาม 2 คนจ้องทหารอเมริกันที่กำลังถืออาวุธ เอ็ม 79 โดยมีแม่ของพวกเขากอดลูกๆเอาไว้ ป้องกันการโจมตีขากบรรดาทหารเวียดกงที่เปิดฉากยิงในพื้นที่เบาไทร สงครามที่ก่อขึ้น สร้างบทเรียนความเจ็บปวด ความสูญเสียอย่างไม่อาจลืม
เสร็จแล้วไอ้ประเทศห่าจิกที่ส่งทหารรุกรานไปทั่วโลกนี้ ก็มาออกตัวว่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน กล่าวหาประเทศโน้นประเทศนั้นมีการค้ามนุษย์ แล้วก็เจ้ากี้เจ้าการจัดอันดับเค้าไปทั่ว ถ้ามันจัดอันดับประเทศตัวเองเข้าไปด้วย แม่งคงตกต่ำกว่าเทียร์ 4 เทียร์ 5 ไปแล้วมั้ง.... สัส
ที่เขมรลุกขึ้นมาฆ่ากันเอง เป็น killing field ก็เพราะ ซีไอเอนั่นแหละ เป็นต้นเหตุไปยุแยงตะแคงรั่ว หนุนนายพลลอนนอลขึ้นมาล้มล้างสีหนุ เขมรแดงก็เลยได้ช่องปลุกระดมมวลชน แล้วก็เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์คนที่เห็นต่าง กล่าวหาคนที่เห็นต่างว่าเป็นพวกเดียวกัยซีไอเอ เป็นสายลับของซีไอเอ จากนั้นก็จับไปทรมานแล้วก็ฆ่าทิ้ง
สงครามเวียตนามก็เหมือนกันครับ ถ้าปล่อยให้เวียตนามสู้รบกันเองก็คงไม่ล้มตายกันเยอะแยะ ประธานาธิบดี โง ดิ่ง เหยี่ยม ของเวียตนามใต้คนแรก อเมริกาหนุนหลัง แต่หลังจากนั้นท่านคิดจะดำเนินนโยบายต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ยังไงท่านก็ลงมือทำ โดยไม่ฟังคำสั่งอเมริกา ซีไอเอเลยวางแผนโค่นล้ม โดยให้ทหารอีกกลุ่มปฏิวัติยึดอำนาจ ท่านพ่ายแพ้เลยหลบหนี ท่านมอบตัว และถูกนำตัวเข้าไปในรถถัง จากนั้นทหารก็สังหารท่านในรถนั่นเอง
ปรกติผมไม่ค่อยเชื่อเรื่องปาฏิหารย์เหนือธรรมชาติ แต่สำหรับเมืองไทยประเทศของเรา ผมคงพูดสั้นๆว่า เราโชคดีที่พระสยามเทวาธิราชปกปักษ์รักษาให้แดงเหลืองไม่เข่นฆ่ากันเองแบบข้างบ้าน
ผมก็เชื่อเช่นนั้นเหมือนกันครับ แต่ผมต้องย้อนหลังไปถึงหลังจากเวียตนามใต้แตก มาถึงลาว เขมร และคอมมิวนิสต์ในไทยแข็งกล้ามากช่วงนั้น ถ้าหากพระสยามเทวาธิราชไม่ปกปักษ์รักษา ก็น่าจะล่มสลายไปตอนนั้นแล้วครับ
เด็กรุ่นหลังที่เกิดมาแล้วไม่เคยพบภัยจากการห้ำหั่นกันของมนุษย์ที่เรียกว่าสงครามนั้น ย่อมยากจะจินตนาการ ความโหดร้ายนั้นอย่าว่าแต่ยกมือไหว้ร้องขอชีวิตเลย ก้มกราบเท้าก็ใช่ว่าจะรอด หากดูในรูปเก่า ๆ จะเห็นภาพ คนก้มหัวยอมให้อีกฝ่ายสังหาร ไม่ใช่คนนั้นไม่คิดสู้ แต่เป็นเพราะเขาไม่สามารถจะต่อสู้ต่อไปได้ หมดทั้งกำลังกาย หมดทั้งกำลังใจที่จะมีลมหายใจต่อ บางครั้งผมก็อดเป็นห่วงพวกเด็กเกรียนเหล่านี้ไม่ได้ คนเราเมื่อกลายเป็น สัตว์กระหายเลือดเมื่อไร พวกดีแต่ปากจะเศร้าน้ำตาเช็ดหัวเข่า
ถึงตรงนี้ผมนึกถึงประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ย่อมหมุนวนตามกงล้อแห่งประวัติศาสตร์ หากตัดความเป็นตัวตนเราออกไป สิ่งนี้ก็เหมือนการปรับสมดุลย์โดยกลไกทางธรรมชาติ ในประวัติศาสตร์การทำสงครามย่อมมีข้อยกเว้นเสมอ ประวัติศาสตร์ ความโหดร้ายย่อมมี จุดพักทางใจ แต่ที่ใด เมื่อไร บอกไม่ได้ แต่จะสัมผัสได้เมื่อเกิดขึ้น หรือได้เจอ ขออนุญาตนำเหตุการณ์ครั้งนั้น มาลงไว้เป็นหลักฐานในกระทู้นี้ครับ
จากนิตยสาร LIFE 100 PHOTOGRAPHS THAT CHANGED THE WORD ภาพในหน้า 134-135-136 เป็นเหตุการณ์ในช่วงสงครามเวียดนาม ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เป็นภาพที่รู้จักและดังมากที่สุดในโลกชุดหนึ่งด้วย ดูภาพพร้อมคำบรรยายจากนิตยสารนี้ได้ทั้งเล่ม Dropbox ส่วนตัว ตามlink นี้เลย...... (66.75MB)