สัมปทาน หรือ แบ่งปันผลผลิต

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย เผด็จการที่รัก, 23 ต.ค. 2014

  1. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    553667_10202813910855009_1628268214_n.jpg

    อานิก อัมระนันทน์
    10390063_10204444871788013_9088310835490644309_n.jpg
    กระแสผลักดันให้เลิกระบบสัมปทาน เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC (Production Sharing Contract) เริ่มด้วยการบิดเบือนว่าสัมปทานที่ผ่านมาเลวร้ายต่างๆนานา เมื่อมีการชี้แจงข้อเท็จจริง เหตุผลที่อ้างอิงก็ปรับเปลี่ยนไป แต่ผู้ตามกระแสยังโดนใจอยู่ไม่วาย มาดูกันทีละประเด็นว่า PSC ดีกว่าสัมปทานจริงไหม...




      • เพิ่มรายได้รัฐ?ความจริงสัมปทานหรือ PSC เป็นเพียงรูปแบบ ทั้งคู่สามารถกำหนดให้ส่วนแบ่งรัฐสูงเท่าไรก็ได้ แต่ต้องไม่เกินศักยภาพของประเทศ มิฉะนั้น จะไม่สามารถจูงใจให้คนมาเสี่ยงลงทุน ตัวอย่างประเทศเขมรตั้งไว้ 80% แต่เก็บได้จริง = 0 เพราะไม่เกิดการพัฒนา ประเทศนิคารากัวรัฐได้เพียง 40% ทั้งที่ใช้ PSC แต่นอร์เวย์รัฐได้ส่วนแบ่งกว่า 80% แม้จะใช้สัมปทาน
    ประเทศไทยก็ใช้ PSC ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJDA) ซึ่งที่ผ่านมาให้ผลตอบแทน รัฐ:เอกชน = 59:41 เทียบกับระบบสัมปทานปัจจุบัน Thailand III ที่ 72:28




      • ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ? จุดนี้เป็นเสน่ห์ของ PSCถึงกับมีวาทกรรม ”รัชกาลที่ 7 พระราชทานให้มา”
    แต่ความจริง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม มาตรา 23 ระบุว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ..” ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ไปขุดหาและจำหน่ายโดยแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐตามที่กำหนดปริมาณสำรองย่อมเป็นของชาติทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย รัฐเลือกรับค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมก็ได้ ทั้งยังมีกลไกที่ควบคุมความมั่นคงอีกหลายอย่าง



    PSC ส่วนใหญ่ให้เอกชนเป็นผู้ขายน้ำมันทั้งหมด แต่มักกำหนดเกณฑ์ให้ได้ราคาตลาดโลก ป้องกันการขายบริษัทในเครือถูกๆ เพราะรัฐต้องการเงินเข้าคลังเป็นสำคัญ เอกชนขายย่อมมีแรงจูงใจให้ได้ราคาดีที่สุด รัฐก็จะได้รับเงินมากขึ้นด้วย ในสัมปทานรายได้รัฐรูปแบบต่างๆก็มากขึ้นเช่นกัน



    ถ้ารัฐจะรับน้ำมันจาก PSC ไปขายเองก็ไม่แน่ว่าจะขายได้แพงกว่า มิหนำซ้ำยังเสี่ยงว่าจะรั่วไหลเพราะภาครัฐมักเกิดการทุจริตภายในมากกว่าเอกชน



    ถ้ารัฐมีนโยบายจะขายน้ำมันราคาถูกให้ประชาชน ก็สามารถทำได้ไม่ว่าเป็นสัมปทานหรือ PSC เพราะเป็นการอุดหนุนราคา แต่เป็นวีธีช่วยคนจนที่ด้อยประสิทธิภาพ และมักสร้างปัญหาการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่นเวเนซุเอลา มาเลเซียและอินโดนีเซียก็กำลังลดหรือเลิกนโยบายนี้




      • ทรัพย์สินเป็นของรัฐ? แม้ PSC ระบุเช่นนั้น แต่เอกชนเป็นผู้ใช้ทรัพย์สินตลอดช่วงสัญญา PSC รัฐจะยึดหรือแยกออกมาโดยพละการไม่ได้ ฉะนั้น ในทางปฏิบัติจึงไม่แตกต่างอะไรกับระบบสัมปทานของไทยที่กำหนดว่า เมื่อสิ้นสุดสัมปทาน ผู้รับสัมปทานต้องส่งมอบทรัพย์สินต่างๆ "อันจำเป็นต่อการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา หรือขนส่งปิโตรเลียม ..ที่เกี่ยวกับพื้นที่ผลิตแปลงนั้น ให้แก่รัฐบาลไทยโดยไม่คิดมูลค่า"
    อนึ่ง ทรัพย์สินบางอย่าง เช่น แท่นขุดเจาะ (drilling rig & equipment) ที่ทั่วโลกมักจะเช่ามาใช้ ก็มีการเช่าทั้งในระบบสัมปทานและPSC




      • รัฐได้ข้อมูล? ความจริงระบบสัมปทานไทยก็ได้ข้อมูลครบถ้วนเช่นกัน (มาตรา 76 ของ พ.ร.บ.) ทำให้รัฐมีข้อมูลทางเทคนิคต่างๆไปวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการให้ได้ประโยชนืสูงสุดในการประมูลรอบต่อไป
    แต่ในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล ระบบสัมปทานไทยมีข้อมูลที่สามารถค้นหาได้ดีกว่าระบบ PSC ของมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย ทั้งในเรื่องปริมาณสำรอง การผลิต สถิติหลุมเจาะ การถือครองพื้นที่สัมปทาน ซึ่งเปิดเผยบน website ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แต่เราจะหาตัวเลขสถิติที่ละเอียดเท่านี้ในฝั่งของมาเลเซียหรืออินโดนีเซียยากนัก




      • การควบคุมของรัฐ? มีทั้งคู่ แต่ PSC ให้มากกว่า! ในระบบสัมปทานไทย ผู้รับสัมปทานต้องเสนอแผนงานสำรวจเพื่อรับการอนุมัติในแต่ละช่วง ในการผลิตก็ต้องได้รับอนุมัติจากภาครัฐ พื้นที่ไม่ใช้ต้องคืน พื้นที่สงวนต้องจ่ายค่าเช่า ฯลฯ
    แต่ PSC ไปไกลกว่ามาก รัฐต้องมีหน่วยงานขนาดใหญ่เพื่อติดตามตรวจสอบ ทั้งแผนงาน+อนุมัติงบ การดำเนินงาน+อนุมัติการจ่ายเงิน ของเอกชนอย่างละเอียด ... อาจฟังดูดื แต่มีผลเสียบ้างไหม?


    พํฒนาล่าช้า! กรณีพื้นที่ทับซ้อนไทยและเวียดนามที่แบ่งเขตกันปี 2540 ฝั่งไทยที่ใช้ระบบสัมปทานพัฒนาก๊าซ(แหล่งอาทิตย์)ขึ้นมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ปี 2551 เวียตนามใช้ PSC สำรวจพบก๊าซเช่นกัน แต่ยังไม่สามารถพัฒนาได้ ปัจจุบันฝ่ายเอกชนประกาศขายโครงการแล้ว



    หากช้าทั้งระบบ เราจะต้องนำเข้า LNG มากขึ้น ซึ่งแพงกว่าอ่าวไทยมาก ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว!




      • ธรรมาภิบาล? อันนี้มิใช่เหตุผลของฝ่ายเสนอ PSC แต่เป็นประเด็นที่ต้องระวังให้มาก
        • การที่เอกชนต้องขออนุมัติเจ้าหน้าที่อย่างถี่ยิบ เปิดโอกาสให้เรียกสินบนหรือไม่? เปิดช่องให้ผู้มีอำนาจแทรกแซงการจัดซื้อจัดจ้างง่ายไหม? ที่อินโดนีเซีย CEO บรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติเคยถูกจับข้อหาคอร์รัปชั่น ที่มาเลเซียยังไม่มีแต่ความโปร่งใสและอำนาจตรวจสอบค่อนข้างน้อย
        • ฝ่ายเรียกร้อง PSC เลือกปิโตรนาสของมาเลเซียเป็นต้นแบบ แต่ทราบไหมว่าเขามีปัญหาธรรมาภิบาลมาก? ปิโตรนาสขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยรัฐสภาไม่สามารถตรวจสอบ ปิโตรนาสถูกใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองเมื่อ 2 ใน 4 รัฐที่ผลิตปิโตรเลียมไม่ได้รับเงินค่าภาคหลวงจากรัฐบาลกลาง หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านในรัฐชนะเลือกตั้ง นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลก็น้อยมาก
        • ในขณะที่ระบบสัมปทานเป็นการประมูล ตรงไปตรงมามีสัญญามาตรฐาน PSC มักเป็นการเจรจาแต่ละสัญญา เป็นช่องทางให้แทรกแซงโดยมิชอบหรือไม่? ประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาปิโตรเลียมอย่างมีธรรมาภิบาลจะใช้ระบบสัมปทาน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา กลุ่มประเทศในยุโรปและสแกนดิเนเวียทั้งหมด ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น
        • การมีส่วนร่วมของประชาชน - เอกชนต้องทำ EIA ไม่ว่าในระบบสัมปทานหรือ PSC แต่ไม่ได้แปลว่า PSC จะให้ชาวบ้านหรือ NGO เข้าไปร่วมตัดสินใจในโครงการต่างๆ อย่างที่คาดหวังกัน
    เป็นที่ยอมรับในสากลโลกว่า “ คอร์รัปชั่น = อำนาจผูกขาด/อำนาจรัฐ + ดุลพินิจ –ความรับผิดชอบ “


    การเปลี่ยนมาใช้ระบบ PSC จะเพิ่มทั้งอำนาจรัฐและดุลพินิจ เป็นการปฏิรูปถอยหลัง



    ถ้าจะเดินหน้าต้องปฏิรูปโครงสร้างให้ถูกทาง รวมทั้งปฏิรูปค่านิยมให้คนมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ



    #จะลงพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ พุธที่ 6 สิงหาคม 2557
    https://www.facebook.com/notes/10204444851387503/
    -------------------------------------

    ลองฟังข้อมูลอีกด้านดูฮะ

    จุดยืนของผมคือผลประโยชน์ระยะยาวของไทยเป็นหลัก

    ?คุณรู้หรือไม่ อุ้มราคาน้ำมันคือการช่วยคนรวย?

    ปล.มีฝ่ายปฎิรูปโจมตีคุณอานิกว่าพึ่งมาสนใจพลังงานเมื่อคุณปิยสวัสดิ์เป็นCEOปตท. แต่จริงๆถ้าติดตามมานา คุณอานิกสนใจเรื่องนี้มานานแล้วนะ แถมความรู้แน่น ที่สำคัญ ไม่ใช้คำพูดให้คนไทยเกลียดกัน
     
    ridkun_user, bird, padthaiwoonsen และอีก 3 คน ถูกใจ
  2. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ใครที่คิดว่าธุรกิจพลังงานไทยกำไรเลิศ ลองอ่านข่าวนี้ดูครับ ต่างชาติหนีไปหลายรายแล้ว
    ธุรกิจน้ำมันไทยปราบเซียน'เชลล์-เอสโซ่'ยันไม่ถอนลงทุน
    http://www.thairath.co.th/content/294281
    --------------------------------------------------------
    กำไรสูงคงมีแต่ต่างชาติมาลงทุนเพิ่ม ไม่หนีหรอกครับ
     
    ปู่ยง, bird, อาวุโสโอเค และอีก 3 คน ถูกใจ
  3. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ยิ่งตามเรื่องนี้ยิ่งปวดหัว
     
  4. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ผมไม่เชื่อว่า ปตท จะเก่งกว่า เชลล์หรือ เอสโซ่
    น่าจะเป็นตัวกฎหมายที่เอื้อให้ ปตท ผูกขาดตลาดและการผลืตในประเทศ
    ถ้าเก่งจริง ป่านนี้ ปตท มันขยายไปทั่วโลกแล้ว
     
    conservative, sorrow, bird และอีก 5 คน ถูกใจ
  5. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    คุณอาณิก เป็น ผู้รู้ที่ให้ข้อมูลได้ชัดเจน ชี้แจงถึง ผลได้ผลเสียในแต่ละรูปแบบวิธีการ
    และยังอธิบายเรื่อง Half truth หลายอย่างของ กลุ่มคนดี ได้อย่างชัดเจน
    ผู้รู้อย่ากนี้น่าจะสนับสนุนครับเพราะคุณอาณิกก็ไม่เห็นด้วยกับ ปตท ในหลายเรื่องที่ต้องปรับปรุง
    ได้เสนอแนะ แนะนำ วิธีที่ ไม่ใช่สุดโต่งไร้สาระ แบบไม่มองถึงผลกระทบอื่นๆแบบกลุ่มคนดี
     
    bird, JSN, เผด็จการที่รัก และอีก 1 คน ถูกใจ.
  6. Words of the Buddha

    Words of the Buddha อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,860
    :sunglasses: มันก็เหมือนระบอบการปกครองนั่นแหละขอรับ กระพ๊มว่า... ผู้นำดี คิดดี ทำดี คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน กระทำตนให้โปร่งใส เป็นผู้นำในความสามัคคี และยุติทุกสิ่งด้วยธรรม... ให้แม่มเป็นคอมมิวนิสต์ ฟาสซิส ซาดิส เซลฟี่ อีโบล่า... กระพ๊มว่ามันก็ดีทั้งนั้น...

    :sweat: แต่ต่อให้มันชื่อ ปชต. จากเทวดาจักรวาลออโต้บอทประทานมา ชื่อชมพู่อารยา ป่องป่าวหว่า? หรือชื่อพระศรีอารย์ของแท้แน่นอนมาเอง... แต่เป็นแบบที่ผ่านๆมา... มันก็อิหรอบเดิม เตะหมูเข้าปากเหียก... คนก็มีหน้าที่ทำมาหาแดรกเลี้ยงเหียก เลี้ยงหมู (ไว้ให้เหียกแดรก) กันต่อไปขอรับ...

    :tearsofjoy:
     
    bird, อู๋ คาลบี้ และ -KGB- ถูกใจ
  7. Bayonet

    Bayonet อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,804
    นาทีนี้ ผมคิดว่าใครที่ พยายามขวาง การใช้ระบบ แบ่งปันผลประโยชน์ มีเจตนาอื่นแอบแฝงแน่นอน

    1. ถ้ารู้ว่าจุดอ่อนคืนเรื่อง ธรรมาภิบาล ก็หาวิธีอุดมันซิ จากเดิม ปตท.หรือรัฐวิสาหกิจ จะประกอบด้วย ภาคธุรกิจ+ภาครัฐ ก็เปลี่ยนสูตรใหม่ใส่ ภาคประชาชน อย่างสภาคุ้มครองผู้บริโภค (องค์กรอิสระที่ควรจะเกิดตั้งแต่ รธน.2540 แล้ว) จากเดิมกรรมการบริหารมีแค่คนฝ่ายธุรกิจ+คนจากฝ่ายรัฐ ที่ผ่านมาแค่อ้างว่าได้ใส่คนจากภาคประชาชนเข้าไปเป็นกรรมการบอร์ด แต่กลับไม่ยอมให้แตะงานบริหารเลย กรรมการจากภาคประชาชนเลยกลายเป็นเสียงส่วนน้อยในบอร์ด โหวตเมื่อไรก็แพ้ทุกที กลายเป็นหัวหลักหัวตอ จวักไร้สาระ
    ต่อไปนี้ต้องมีคนจากฝ่ายผู้บริโภคเข้าไปเป็นกรรมการ และทำหน้าที่ ฝ่ายตรวจสอบ ซึ่งองค์กรใหญ่ ๆ ทุกแห่งล้วนมีฝ่ายตรวจสอบทั้งสิ้น และงานตรวจสอบคือ นำเสนอข้อเท็จจริงว่าขัดต่อระเบียบกฏเกณฑ์หรือไม่ คำว่าถูก-ผิด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสียงโหวตหรือจำนวนมือที่ชูสนับสนุน

    2. ถ้าผลประโยชน์พอกัน ทำไม นักธุรกิจพลังงาน กาฝากพลังงานในภาครัฐและเอกชน จะขวางระบบ แบ่งปันผลประโยชน์ ซะสุดตัวไปทำไม? ผมงงนะเนี่ย ก็อาศัยการเปิดสัมปทานรอบนี้ ทดลองเป็นระบบนี้ให้หมดทุกหลุมเลยซิ ไม่เห็นจะเสียหายอะไรเลยไม่ใช่หรือ?

    3. ผมไม่รู้ว่าที่ 'เชลล์-เอสโซ่' จะถอดใจจากประเทศไทย สาเหตุจากไม่สามารถประมูลสัมปทานบ่อน้ำมัน ที่โดนผูกขาดโดย ปตท.
    เชฟรอน หรือเปล่า? ถ้าใช่นี่ยิ่งเป็นการสะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่า การทำธุรกิจด้านพลังงานในไทย แค่มีโรงกลั่นเล็ก ๆ + ปั๊มขายปลีก มันไปไม่รอด แต่ถ้าแค่ได้สัมปทานขุดเจาะอย่างเดียวไม่ต้องยุ่งกับการกลั่น+การขาย ก็โกยกำไรมหาศาลได้แล้วจากตัวอย่างของ เชฟรอน

    4. การสำรวจน้ำมันในกรุงเทพฯ แถวคลองทวีวัฒนาและอีกหลายจุด แล้วบอกว่าเสียเงินไปร้อยกว่าล้านเปล่า ๆ นั้น ผมคิดว่าการสำรวจจุดหนึ่งก็คงมีต้นทุนประมาณนี้ สำรวจ 10 จุด ถ้าเจอแค่จุดเดียวก็อาจคุ้มทุนได้แล้ว อันนี้เป็นเรื่องการลงทุน บริหารความเสี่ยง และคิดว่าก่อนที่จะลงทุนสำรวจเป็นร้อยล้าน ผู้ตัดสินใจคงไม่ได้หลับหูหลับตาเจาะมันเรื่อยเปื่อย หรือแค่เอาแท่งเหล็กพลังจิตเดินสุ่มชี้ส่งเดช มั๊งครับ

    แล้วจากพฤติกรรม หมกเม็ด เรื่องข้อมูลพลังงานมายาวนานตั้งแต่อดีต ผมยังสงสัยว่าที่ไม่เดินหน้าต่อใน กทม. เพราะน้ำมันน้อยไม่คุ้ม หรือว่าเพราะกลัวการตรวจสอบกันแน่ อยู่ในเมืองใหญ่ย่อมอยู่ในสายตาทั้งนักวิชาการ สื่อ ชาวบ้าน ทำอะไรตุกติดได้ลำบาก ขืนทำอะไรผิดกฏอาจถูกฟ้องร้องตีแผ่ได้ง่าย ๆ เช่นเรื่อง เสียง กลิ่น ควัน มลภาวะ สุขภาพของชุมชนรอบ ๆ บ่อขุดเจาะ ปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้จะถูกนำมาวิเคราะห์ประเมินตามหลัก บริหารความเสี่ยง ทั้งสิ้น น้ำมันอาจจะมีไม่น้อยกว่าแถวกำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แต่ต้นทุนการถูกฟ้องร้องอาจสูงกว่าเป็นร้อยเท่าจึงเป็นข้อสรุปว่า ไม่คุ้มกับการลงทุน ก็เป็นได้
     
    Last edited: 24 ต.ค. 2014
    conservative, ปู่ยง, bird และอีก 6 คน ถูกใจ
  8. padthaiwoonsen

    padthaiwoonsen สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    79
    Location:
    Bangkok
    นั่นสิครับ แต่ละฝ่ายต่างก็มีข้อมูล ต่างก็มีนักวิชาการ เรื่องเดียวกันบางเรื่องตัวเลขยังไม่ตรงกัน
    ปวดหมองยิ่งกว่า '' อิ้กคิวซัง ''
    ท่านลองมาอ่านมุมมองและข้อเสนอของมนูญ สิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน และอดีตผู้บริหาร บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด ที่สื่อนำเสนอไว้หลายเดือนก่อนหน้านี้
    ปฏิรูปพลังงาน : เผือกร้อนในมือคสช.
    ควันของการยึดอำนาจโดยคสช.ยังไม่ทันจาง ก็มีข่าวลือส่งต่อกันในโลก Social Media ราวกับไฟลามทุ่งว่า คสช.จะทำการปฏิรูปพลังงานอย่างพลิกฟ้า

    คว่ำแผ่นดิน บ้างก็อ้างว่าจะมีการยึดปตท.กลับคืนมาเป็นของรัฐ หรือไม่ก็จะมีการปลดบอร์ดยกชุด บ้างก็บอกว่าจะมีการลดราคาน้ำมันลง 20-30% อดีตส.ว.บางคนก็ออกมาเสนอแนะคสช.ให้ลดราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนที่มีการขึ้นราคาไปแล้วทุกเดือนๆ ละ 50 ส.ต./ก.ก. โดยให้ลดลงมาอยู่ที่ราคาเดิมก่อนปรับขึ้นไป คือที่ 18.13 บาท/ก.ก. บางคนไปไกลถึงขนาดทำรูปเผยแพร่ใน Social Media เลยว่า ในเมื่อรัฐธรรมนูญยังฉีกได้ ทำไมสัมปทานปิโตรเลียมจะฉีกไม่ได้ ถ้าจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง

    ตกลงตอนนี้ทุกคนจึงมองคสช.เหมือนเป็นแก้วสารพัดนึกที่จะทำอะไรก็ได้อย่างที่ตัวเองต้องการ โดยไม่ต้องสนใจกฎระเบียบ เหตุผล และผลกระทบใดๆ ที่จะตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เลยเป็นแรงกดดันไปที่คสช.ที่จะต้องตั้งรับกับปัญหาต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา โดยเฉพาะปัญหาด้านการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและท้าทาย เพราะด้านหนึ่งเป็นเรื่องของข้อมูล ความรู้ความเข้าใจ และความมั่นคง ความยั่งยืนด้านพลังงาน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของชาติในระยะยาว แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และความเป็นอยู่ของประชาชน ที่อยากจะได้ใช้พลังงานในราคาถูก

    ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์ที่ คสช.มีอำนาจเต็มในการบริหารและแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ควรใช้โอกาสดีๆ อย่างนี้ดำเนินการอะไรตามลำดับก่อนหลังเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ผมจึงใคร่ขอเสนอคสช.ให้ดำเนินการในเรื่องเร่งด่วนดังต่อไปนี้ คือ

    1. ในระยะสั้นนั้น คสช.จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการบิดเบือนโครงสร้างราคาพลังงานในปัจจุบัน ซึ่งมีความไม่เป็นธรรมในกลุ่มผู้ใช้พลังงานกลุ่มต่างๆ สูงมาก เช่น กลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล (ซึ่งมีกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 17 ล้านคัน ซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยใช้อยู่) ซึ่งต้องรับภาระภาษีสรรพสามิตและจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯในอัตราสูง ส่วนผู้ใช้น้ำมันดีเซลและก๊าซแอลพีจีกลับได้ใช้ในราคาต่ำจนเกินไป เพราะได้รับการอุดหนุนโดยไม่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต หรือนำเงินกองทุนน้ำมันฯที่เก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลมาอุดหนุน เป็นต้น

    ดังนั้น การปรับโครงสร้างราคาทั้งระบบ (ทั้งภาษีสรรพสามิตและเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ) จึงเป็นงานที่ต้องทำอย่างรีบด่วนเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้พลังงานทุกกลุ่ม แก้ไขปัญหาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพิ่มรายได้ให้รัฐ ไม่บิดเบือนกลไกตลาด และแก้ไขปัญหากองทุนน้ำมันที่กำลังติดลบอยู่ในปัจจุบันสูงถึง 7,335 ล้านบาท

    2. ตัดสินใจเดินหน้าเปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยเร็ว เพราะเราล่าช้ามาหลายปีแล้ว (ประเทศไทยไม่ได้มีการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใหม่มาเป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว) เนื่องจากความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการว่าจะใช้ระบบใด ระหว่างระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) กับระบบสัมปทานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

    ดังนั้น คสช.จึงควรรีบพิจารณาความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว เนื่องจากประเทศไทยต้องเตรียมรับมือกับการผลิตปิโตรเลียมที่ลดลงและแหล่งผลิตก๊าซฯที่กำลังจะหมดลงไปในอนาคตอันใกล้นี้

    ความจริงแล้วเรื่องดังกล่าวทางกระทรวงพลังงานและสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เคยทำการศึกษาเรื่องระบบสัมปทานของไทย และสรุปว่าการแบ่งปันผลประโยชน์แบบ Thailand 3 ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสมกับสภาพของแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมของไทยที่มีแหล่งสำรองไม่ใหญ่มาก และรัฐบาลก็ได้ส่วนแบ่งกำไรสูงอยู่ในระดับถึงร้อยละ 70

    แต่เพื่อความสบายใจของฝ่ายที่เห็นต่าง คสช.อาจสั่งกระทรวงพลังงานให้ตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานขึ้นมาทบทวนผลการศึกษาอีกครั้งหนึ่งก็ได้ เพียงแต่ต้องเร่งรัดผลการทบทวนให้ออกมาโดยเร็ว เพราะเรื่องนี้ยังเกี่ยวโยงไปถึงข้อเสนอข้อที่สาม ซึ่งอาจเป็นเรื่องระยะยาว แต่ก็ต้องรีบดำเนินการเช่นเดียวกัน นั่นก็คือการบริหารจัดการกับแหล่งปิโตรเลียมในแปลงสัมปทานปัจจุบันที่กำลังจะหมดอายุลงในอีก 8 ปีข้างหน้า

    3. การตัดสินใจว่าจะใช้ระบบใดในข้อสองจะนำไปสู่การเปิดประมูลการบริหารจัดการ แหล่งปิโตรเลียมที่อายุสัมปทานกำลังจะสิ้นสุดลงในอีก 8 ปีข้างหน้า และเหตุผลที่ต้องทำล่วงหน้าก่อนหมดอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี ก็เพื่อรักษาแหล่งผลิตให้สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และการลงทุนในการเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติมเพื่อรักษาระดับการผลิตไม่ให้ลดลง

    นอกเหนือจากทั้งสามเรื่องใหญ่ๆ นี้แล้ว ยังมีรายละเอียดอีกมากที่จะต้องนำมาศึกษาและพิจารณาแก้ปัญหาค้างคาใจของสังคมไปพร้อมๆ กัน เช่น การศึกษาต้นทุนที่แท้จริงของก๊าซแอลพีจีที่ออกมาจากโรงแยกก๊าซว่าเป็นเท่าไรกันแน่ และราคาขายที่เหมาะสมของก๊าซที่โรงแยกก๊าซขายเป็นวัตถุดิบให้กับภาคปิโตรเคมีนั้นควรจะเป็นอย่างไร เป็นต้น

    ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องทำให้เกิดความโปร่งใสในข้อมูล และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงจะทำให้การปฏิรูปพลังงานเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่นและด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

    นี่คือข้อเสนอเร่งด่วนสามข้อที่ผมคิดว่า คสช.ควรรีบดำเนินการโดยเร็วที่สุดครับ !!!

    ที่มา http://bit.ly/1tBdzSl
     
  9. Words of the Buddha

    Words of the Buddha อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,860
    :flushed: อ่านแล้วจับใจฟามได้ว่า:
    1. ปัญหาสัมปทานตอนนี้ หมายถึงสัมปทานเก่ากำลังหมด ทำให้กำลังการผลิตลดลง ซึ่งปล่อยต่อไปจะเกิดการขาดแคลน... เนื่องจากไม่มีสัมปทานเปิดสำรวจใหม่... ไม่ใช่ทรัพยากรหมดไปแล้ว...

    2. ราคาปัจจุบัน คือเอากระเป๋าซ้ายไปโปะกระเป๋าขวา เพราะกระเป๋าซ้ายกระเทือนน้อย (ปชช.ส่วนใหญ่คือผู้ใช้) กว่ากระเป๋าขวา (นายทุน, อุตสาหกรรม, ขนส่งคือผู้ใช้) ทำให้ต้นทุนแท้จริงทั้งมวลบิดเบือนไปหมด ปชช. ไม่รู้ว่าจริงแท้ต้นทุนอยู่ที่ตรงไหนกันแน่ หลักการเดียวกับหน่วยงานรัฐฯที่ควบคุมสาธารณูปโภค วันหยุดชาวบ้านส่วนใหญ่จะอยู่บ้านทำกิจส่วนตัว, พักผ่อน แต่รัฐเลือกจะปิดน้ำ ปิดไฟทำงานสารพัดในวันนั้นเพราะ 1 โอฯสองเด้ง 2 โรงงานไม่ค่อยเดือดร้อน (ชาวบ้านช่างแม่มัน...)

    3. การสำรวจแหล่งใหม่ หากไม่จัดการให้เป็นธรรม เบ็ดเสร็จ... ก็เตะหมูเข้าปากเหียกเหมือนเดิม...

    :rage: ต้นตอของปัญหาคือ... ไม่ใช่ไม่มีพลังงาน... แต่ระบบสัมปทานเมื่อหมดอายุจะเป็นข้อต่อรองให้พวกนายทุนใช้กดดันราคาพลังงาน หรือแหล่งพลังงานต่อไป... ใช่หรือไม่ขอรับ???
     
    temp, conservative, bird และอีก 4 คน ถูกใจ
  10. มนุษย์ตูดแดง

    มนุษย์ตูดแดง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    648
    ประเด็นเรื่องเป็นค่าสัมปทานหรือแบ่งปันผลประโยชน์มันก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน
    แต่ถ้าจะบอกว่าทดลองทำเฉยๆ ทำทุกบ่อนี่มันคงไม่ใช่แค่ทดลองเฉยๆแล้วครับ
    ถ้ามีการเสียประโยชน์ขึ้นมานี่คนทำหัวขาดนะครับ โดยทั่วไปก็เลยไม่อยากเปลี่ยนแปลงมากนัก
    ถ้าจะตัดสินจริงๆว่าจะเปลี่ยนไปเป็นแบ่งปันผลประโยชน์หรือไม่ คงต้องดูตัวเลขประเมินกันอีกทีก่อนจะบอกได้ว่า
    คุ้มหรือไม่ที่จะเปลี่ยน

    โดยส่วนตัว ผมสงสัยจริงๆแล้วคนที่ออกมาเคลื่อนไหวมีจุดประสงค์อะไรแอบแฝงหรือเปล่า (ต้องการฐานเสียงทางการเมือง?)
    ประชาชนต้องการอะไรกันแน่ (ประชาชนอยากได้พลังงานราคาถูก แม้ว่าจะไม่สมเหตุผลหรือเปล่า?)
    กองทุนน้ำมันเพื่อเสถียรภาพของราคาน้ำมันนี่ผมว่าดีนะ แต่อุดหนุนนั่นนี่เป็นส่วนลดนี่ต้องเริ่มลดได้แล้ว ถึงเวลาที่ประชาชนในฐานะผู้ใช้พลังงานต้องตระหนักถึงราคาที่แท้จริงของพลังงาน แล้วไปสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงาน มากกว่า
     
  11. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ตอบกลับด้วยความเห็นส่วนตัวจากที่ติดตามทั้ง2ฝ่ายเป็นข้อๆนะครับ

    1 ข้อนี้ไม่เกี่ยวกับระบบสัมปทาน แต่เรื่องปรับปรุงปตท.ผมก็เห็นด้วยในหลายเรื่อง เพียงแต่ขอว่าฝ่ายภาคปฎิรูปอย่าไปชี้นิ้วด่าเขาว่าเป็นโจร ผมสังเกตุว่าแนวคิดฝ่ายรสนาจะเป็นแบบสังคมนิยม แต่อีกฝ่ายจะเป็นแบบตลาดเสรี แต่ยังไงก็อยากให้คุยกันเพื่อประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช้ชื่อเสียงและอีโก้ของใคร

    2 ผลประโยชน์เข้ารัฐอยู่ที่จะตกลงทั้ง2แบบครับ คำถามว่าทำไมอยากให้ลองกลับไปอ่านบทความคุณอานิกอีกรอบ และระบบแบ่งปันผลผลิตรัฐต้องร่วมลงทุนด้วยนะ

    ส่วนเรื่องทดลอง ระบบสัมปทานเรามี3แบบ ชื่อ thai1อันนี้ผู้รับสัมปทานได้ประโยชน์มากที่สุด ก็เชฟรอนนั่นแหละ แต่ก็ต้องเข้าใจสภาพเมื่อ30กว่าปีก่อนด้วยนะครับ

    ส่วนthai2 ต้องเสียเข้ารัฐมาก จนไม่มีคนมาประมูล เลยมาเป็น ระบบสัมปทานthai3ในตอนนี้ ทุกอย่างมีที่มาครับ ไม่ได้มโนเอา ผมว่าอย่าพึ่งไปด่าข้าราชการว่าโกง(ทั้งที่ไม่มีหลักฐาน) ฟังเขาก่อนว่าทำไม

    3 เชพรอนกำไรมากเพราะเป็น thai1 ครับ เป็นความจำเป็นเมื่อ30ปีก่อน ลองอ่านเรื่องสัมปทานตามลิ้งดูครับ
    https://www.facebook.com/notes/siri...ทศไทย-รัฐเสียเปรียบจริงหรือ/10151568681089124

    4 สำรวจกรุงเทพไม่เจอครับ ไม่มีหมก
     
    conservative, bird, Bayonet และอีก 1 คน ถูกใจ.
  12. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    ปตท ไปเปิด บริษัทบทเกาะ เคแมนทำไม ? หากมีการบริหารที่บริสุทธิ์จริง
     
    conservative และ padthaiwoonsen ถูกใจ.
  13. -KGB-

    -KGB- สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    45
    ถ้าอำนาจการให้ สัมปทานครั้งนี้อยู่ในมือพวกเหลี่ยม ไม่ได้อยู่กับอำนาจในปัจจุปัน คิดเล่นๆว่า
    พวกที่ดันสัมปทานตอนนี้ จะออกมาช่วยเหลี่ยมดันเหมือนนี้ตอนนี้หรือไม่
     
  14. padthaiwoonsen

    padthaiwoonsen สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    79
    Location:
    Bangkok
    ประเด็นนี้ PTTEP บริษัทในเครือ PTT ซึ่งไปเปิดบริษัทย่อยมากที่สุดเคยชี้แจงว่า '' การจัดตั้งบริษัทดังกล่าวเป็นไปเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการการลงทุน และลดความเสี่ยงของการลงทุน เนื่องจากเคย์แมนมีกฎหมายการจัดตั้งบริษัท การเพิ่มทุน การลดทุน และการปิดบริษัทที่ไม่ยุ่งยาก รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ต่ำ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไปของบริษัทน้ำมันนานาชาติรายใหญ่ทั่วโลก ''

    ที่มา http://bit.ly/1qTGfWy
     
  15. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    วิธีคิดมันต่างกันเพราะข้อมูลพื้นฐานต่างกันภาครัฐเปิดสัมปทานต้องการจูงใจให้นักลงทุนมาลงทุนเพราะแหล่งพลังงานของประเทศเรามันเจาะสำรวจยากมีโอกาสพบได้น้อยถ้าเราไปตั้งเงื่อนไขหรือเรียกผลประโยชน์มากเกินเหตุหรือทำรูปแบบสัญญาเหมือนประเทศที่เขามีแหล่งพลังงานมากเจาะสำรวจง่ายบรรดานักลงทุนเขาก็จะไม่สนใจมาลงทุนเพราะมันไม่คุ้มกับการลงทุนแต่กลุ่มผู้ต่อต้านกลับยืนยันจะให้เอารูปแบบสัญญาของประเทศที่เขามีแหล่งพลังงานมากเจาะสำรวจง่ายมาทำไม่สนว่าจะมีใครสนใจมาลงทุนหรือไม่ซึ่งมันเป็นวิธีคิดที่ถูกป้อนข้อมูลว่าประเทศไทยมีพลังงานมากมายมหาศาลมาแต่แรกนั่นแหละ
     
    annykun, bird, HiddenMan และอีก 1 คน ถูกใจ.
  16. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    ว่าแต่ปริมาณสำรองของเรากะมาเล ก็ไม่ต่างกันนี่หว่า ไหงราคาขายปลีกต่างกันลิบโลกแว้.....
     
  17. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ถ้าหมายถึงน้ำมัน ราคาหน้าโรงกลั่นเรากับมาเลเท่ากันฮะ ที่ทำให้ราคาปลีกต่างกันคือโครงสร้างภาษีและกองทุน จากนโยบายรัฐ
     
    ปู่ยง และ bird ถูกใจ.
  18. chaidan

    chaidan อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    281
  19. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    เคยดูกร๊าฟที่ภาครัฐนำมาแสดงเปรียบเทียบปริมาณสำรองของเราน้อยกว่ามาเลเซียเยอะเทียบกับมาเลอินโดและประเทศในตะวันออกกลางของเรามีนิดเดียวเท่านั้นส่วน ปตท สผ นั้นขุดเจาะได้เขาก็ทำอยู่งวดนี้ก็คงเสนอขอสัมปทานด้วย
     
  20. Alkene

    Alkene สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    183
    ปริมาณสำรองเรามีแค่ 7% ของมาเลฯ เท่านั้นครับ

    ปริมาณสำรองของไทยมี 440 ล้าน บาร์เรล ขณะที่มาเลฯ มีถึง 5860 ล้านบาร์เรล

    อัตราการผลิตเราได้วันละ 3 แสนกว่าบาร์เรล แต่ใช้วันละ 1 ล้านบาร์เรล คิดเป็น 32% ของความต้องการ ส่วนอีก 68% เราต้องนำเข้า

    เทียบกับมาเลฯ ที่ผลิตได้วันละ 5 แสน ใช้ 6 แสน เท่ากับว่าผลิตได้ 94% ส่วนต่างที่นำเข้าแค่ 6%

    3-vert.jpg
     
    maya, Bayonet, เผด็จการที่รัก และอีก 1 คน ถูกใจ.
  21. bird

    bird อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    607
    จด จด จด...ข้อมูลเพียบ..:blush:
     
    padthaiwoonsen likes this.
  22. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616

    บร้าาาาาๆๆๆๆๆ ไปแล้ว หม่อมกร คนดีเค้าบอกว่า ประเทศไทยมีน้ำมันอยู่ใต้ดินมหาศาล ไปเอาตัวเลขนั่นมาจากไหน ไม่เชื่อหม่อมกร ได้ยังไง 555
     
    padthaiwoonsen และ bird ถูกใจ.
  23. annykun

    annykun อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,591
    พอจะเข้าใจฝ่ายที่ต้องการให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตนิดๆ แฮะ

    คือระบบนี้หากเป็นรัฐบาลมีความสามารถ ต่อรองเก่งๆ ไม่โกง จะสามารถทำประโยชน์กับประเทศชาติมากกว่า ระบบสัมปทานแบบเดิมมาก และหากไปได้สวยยังสามารถออกนโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนได้อีกด้วย เช่น เอากำไรของรัฐมาอุดหนุนราคาน้ำมัน ให้ถูกลงเพื่อประชาชน มันก็จะดีกว่าไง

    แต่ในมุมของ คสช. ผู้นำที่มีความสามารถ? ใครล่ะ? แป๊ะลิ้มหรอ?? แล้วรับประกันได้หรือเปล่าว? ว่าผู้นำที่มีความสามารถจะชนะเลือกตั้ง แล้วแผนจะคืนประชาธิปไตยใน 1-2 ปี นักการเมืองกลับมาแน่นอน หากตอนนั้นเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตละก็ แดกกันสนุกเลย ยิ่งถ้าเผาไทยกลับมาด้วยแล้วยิ่งเสร็จเลย มุขปฎิรูปกระจายอำนาจ ใช้ป้องกันไม่ได้ด้วย กฎหมายปฎิรูปปราบโกงก็ไม่รู้จะพึ่งได้แค่ไหน? แถมต้องรอ สปช. คิดก่อนอีก แผนการจัดการพลังงานของไทยจะยิ่งล่าช้าออกไปอีก ซึ่งถ้าเลทออกไป ก็เป็นปัญหาตามมาในอนาคตอีก

    แล้วระบบแบ่งปันผลิต มันจะใช้ได้ดีก็ต่อเมื่อเรามีแต้มต่อ เหนือกว่าบริษัทน้ำมันต่างชาติมากๆ เท่านั้น เช่นมีน้ำมันเยอะ เหมือนประเทศค้าน้ำมันอย่าง ซาอุ เวเนฯ แต่ตามข้อมูลที่ฝ่ายรัฐได้มา โอกาสเจออย่างมากก็ 4% น้อยมาก แต้มต่อเราไม่มีเลย แล้วเราจะตั้งเงี่อนไขสูงๆได้มั๊ย? ตั้งสูง เค้าก็ไม่มาลงทุน รัฐต้องลงทุนเอง ใช้เงินเท่าไหร่? งั้นจะต่างอะไรกับปั๊มสามทหารสมัยก่อนแล้วถ้าขาดทุนล่ะ? ภาษีอุ้มอีกมั๊ย? ปฎิรูปถอยหลังชัดๆ หากจะให้ต่างชาติมาลงทุน ก็ต้องยอมให้เค้าบีบ เค้าได้เยอะเราได้น้อยแบบนี้จะได้กำไรเท่าไหร่ แล้วจะอุดหนุนราคาให้ถูกลงได้กี่ตังค์? ไม่อยากคิดว่า ถ้าไอ้แม้วกลับมา ออกกฎหมายเอื้อบริษัทต่างชาติ จัดส่วนแบ่งให้เค้าเยอะๆ ประเทศได้เศษกระดูก แล้วมันก็ให้นอมินีเข้าถือหุ้น แดกพุงกาง ประเทศ ประชาชนไม่ได้อะไรเลย

    ดังนั้นสัมปทานคือเสือนอนกิน ความเสี่ยงน้อยมาก คสช. คงชอบแบบนี้มากกว่า อย่าลืมว่าระบบแบ่งปัน คือรัฐต้องลงทุนและมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนด้วย ซึ่งหากโชคร้ายเป็นแบบนั้น ประเทศเสียหายหนักแน่ (และ คสช. ชาติ ศาสน กษัตริย์ ก็จะกลับมาสู่วังวนอันตรายอีกรอบ แดงมันไม่พลาดแน่) แถมในสถาวะเศรษฐกิจแบบนี้ รัฐบาลคงไม่าอยากลงทุนเพื่อเพิ่มภาระแน่ๆ

    คำถามสำคัญที่ต้องเคลียร์ ผู้สนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิต มั่นใจในข้อมูลตัวเองแค่ไหน? แน่ใจขนาดไหนว่าประเทศไทยจะมีน้ำมันมากอย่างที่ว่า แล้วรับประกันได้ว่าถ้าให้รัฐร่วมลงทุนแล้วจะไม่ขาดทุน รับประกันได้ว่าเราจะได้เปรียบ บริษัทน้ำมันต่างชาติจนเรียกส่วนแบ่งสูงๆได้จริงๆ
     
    padthaiwoonsen, bird, ryukendo และอีก 2 คน ถูกใจ
  24. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    ใครว่าไทยไม่มีน้ำมัน ดูข้อมูลการส่งออกน้ำมันเฉพาะด่านแม่สอดที่เดียว
    http://www.danmaesot.com/oil_export6.html
    รวมปีที่ผ่านมาด่านเดียวส่งออกน้ำมันมากกว่า 210 ล้านลิตร
     
  25. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    ขอถามแบบคนไม่รู้นะครับ แล้วจะทราบได้อย่างไรครับว่าที่ส่งออกไปคือน้ำมันดิบที่ขุดเจาะได้ในประเทศไทย ไม่ใช่การนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นแล้วส่งออกครับ?
     
    padthaiwoonsen, bird และ puggi ถูกใจ
  26. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    ก็คำกล่าวอ้างของกระทรวงพลังงานบอกว่าไทยผลิตน้ำมันได้น้อยต้องน้ำเข้ามาเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการๆใช้งานภายในประเทศ ผมเลยคิดตามความคิดของชาวบบ้านว่าหากผลิตไม่พอใช้ขนาดต้องนำเข้ามาแต่ทำไมยังมีเหลือส่งออกเป็นร้อยล้านลิตรเฉพาะด่านเดียว
    และที่สำคัญผมอยากให้ข้อมูลการใช้งานของภาคประชาชนจริงๆแสดงให้ถูกต้องสักทีเพราะตอนนี้เราอาจจะใช้พลังงานแพงเพื่อแบกรับภาคอุตสาหกรรมของ ปตท อยู่รึเปล่า
     
  27. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    เข้าใจครับ ผมกำลังมองว่าตกลงแล้ว

    ปตท. ผลิตน้ำมันในประเทศไทยเพื่อส่งออก แล้วนำเข้าเพื่อมาขายในประเทศ หรือว่า
    ปตท. ผลิตน้ำมันในประเทศเพื่อใช้ในประเทศแล้วไม่เพียงพอจึงนำเข้าเพิ่ม รวมถึงนำเข้าเพื่อกลั่นและส่งออกขายต่อด้วย

    เรื่องการนำเข้า-ส่งออก ก็เรื่องหนึ่ง เรื่องที่เรามีน้ำมันในประเทศเพียงพอ (และมีคุณภาพ) ต่อความต้องการในประเทศก็อีกเรื่องหนึ่งครับ
     
    padthaiwoonsen, maya, bird และอีก 2 คน ถูกใจ
  28. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    แค่ข้อมูลว่าไทยส่งออกน้ำมัน ก็แสดงว่า ไทยมีน้ำมันพอเพียงจะบริโภคในประเทศแล้วหรือครับ ?

    และน้ำมันที่ส่งออกเป็น น้ำมันแบบไหนครับ ? น้ำมันดิบ เบนซิน ดีเซล
     
  29. Bayonet

    Bayonet อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,804
    ขอตอบแบบคนที่ไม่ค่อยรู้อะไรมากเรื่องนี้นะครับ ใช้ความคิดส่วนตัวล้วน ๆ

    ด่านแม่สอด ออกไปคือพม่าครับ และพม่าอยู่ใกล้ตะวันออกกลางกว่าไทยซะอีก ไม่เห็นความจำเป็นที่พม่าจะต้องมาซื้อน้ำมันจากไทย ที่ค่าขนส่งน่าจะสูงกว่าพม่าไม่น้อยนะ

    และน้ำมันไม่ว่าจะขุดจากอ่าวไทยหรือซื้อจากตะวันออกกลางมา ต้องส่งไปที่โรงกลั่นแถวระยอง ชลบุรี เกือบทั้งหมด แปลว่าเรือน้ำมันต้องวิ่งอ้อมผ่านมาเลย์ สิงคโปร์ แล้วค่อยมาอ่าวไทย ผมยังไม่เคยได้ยินว่ามีการขนส่งน้ำมันดิบจากฝั่งอันดามันผ่าน จ.พังงา ระนอง แล้วเอารถวิ่งขนมากลั่นที่ชลบุรี ระยอง เลยนะ (อันนี้ผมเดานะไม่รู้จริง ๆ)

    เพราะฉะนั้น ถ้าจะมีน้ำมันส่งออกไปทางด่านแม่สอดจริง ๆ คงต้องคำนวณต้องทุนจากน้ำมันในอ่าวไทย เพราะถ้าคำนวณต้องทุนน้ำมันจากตะวันออกกลาง ไม่รู้ว่าลิตรจะกี่บาทกันล่ะ

    พอมานั่งคิดเรื่องนี้ก็นึกไปถึงข้อมูลจากฝ่ายปฏิรูปพลังงานที่อ้างว่า ปตท. เอา แก๊ส ก๊าซ น้ำมันในไทย ต้นทุนในประเทศ ส่งออกไปขายต่างประเทศ ฟันกำไร แล้วให้คนไทยส่วนใหญ่ จ่ายค่าพลังงานในราคา นำเข้าจากต่างประเทศ แทนซะงั้น ไม่งั้นผมนึกไม่ออกจริง ๆ ว่า พม่าจะมาซื้อน้ำมันจากไทย ไม่ว่าจะน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูปไปทำไม???
     
    padthaiwoonsen, conservative, joonkung และอีก 2 คน ถูกใจ
  30. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    แล้วบริษัทอื่นๆ อย่างเอสโซ่ เชลล์ ก็เป็นเหมือน ปตท หรือเปล่าครับ ตัวเลขการส่งออกทางด่านแม่สอดก็ไม่น้อยเหมือนกัน ดูจากตาราง บางจาก ส่งออกมากกว่า ปตท เสียอีกครับ
     
    padthaiwoonsen และ bird ถูกใจ.
  31. Alkene

    Alkene สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    183
    อย่าลืมแปลงหน่วยด้วยนะครับ ข้อมูลการส่งออกแสดงเป็นลิตร แต่เวลานำเข้าใช้หน่วยบาร์เรล
    ที่ท่านนำมาต้องเอามาหาร 159 ด้วยจึงจะเทียบกันถูกครับ
     
  32. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ผมเข้าใจคุณนะ เพราะคนส่วนมากไม่มีเวลามานั่งลงรายละเอียด พอเจอคนที่น่าเชื่อถือพูดอะไรก็เชื่อไปก่อน...

    - พม่านำเข้าน้ำมันจากสิงค์โปรเป็นส่วนมาก(ทางเรือ) นำเข้าจากไทยจะเป็นทางบก *และน้ำมันจากตะวันออกกลางเป็นน้ำมันดิบ พม่าโรงกลั่นน้ำมันไม่พอ จึงต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปครับ
    http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000092208

    ประเด็นที่อย่ากจะคุยจริงๆอยู่ตรงหัวข้อสุดท้ายคุณต้องแยกขาด 3 ส่วนนะคือ บริษัทที่รับสัมปทานสูบน้ำมันดิบ บริษัทที่กลั่นน้ำมันดิบ และนโยบายรัฐบาล
    1 จากปากหลุมจะเป็นบริษัทที่รับสัมปทาน (จ่ายให้รัฐรวมๆ70%ของกำไรสุทธิ) ขายให้โรงกลั่นในราคาตลาดโลก (น้ำมันดิบส่วนนี้สูบได้ไม่พอความต้องการในประเทศ จึงต้องนำเข้า) ตรงนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นปตท.

    2 ส่วนโรงกลั่น ประเทศไทยมีกำลังการกลั่นน้ำมันเกินความต้องการภายในประเทศ และต้องดูด้วยว่าประเทศไทยใช้น้ำมันชนิดไหนมาก ไทยใช้น้ำมันดีเซลมาก แต่น้ำมันดิบในไทยเวลากลั่นจะได้เบนซินมาก (ทำให้เกิดดราม่าเรื่องส่งน้ำมันดิบไทยออก ทั้งๆที่โรงกลั่นไทย อยากกลั่นแล้วให้ได้ดีเซลมากกว่าเพราะกลั่นแล้วตรงตามความต้องการในประเทศ เลยขายน้ำมันดิบที่ไม่ตรงความต้องการออก แล้วซื้อน้ำมันดิบชนิดตรงความต้องการเข้ามา ก็ไม่รู้จะดราม่าทำไม งงเหมือนกัน)

    *** น้ำมันดิบที่หาในประเทศไม่พอเลยมีการนำเข้าน้ำมันดิบ มากลั่น ส่วนที่กลั่นเกินความต้องการก็ส่งออกไปขายในรูปน้ำมันสำเร็จรูป...*** ตรงนี้คือข้อดีเพราะมีรายได้เข้าประเทศ

    3 เรื่องราคา โรงกลั่นส่งไปขายในพม่าในราคาหน้าโรงกลั่น ขายให้ไทยก็เป็นราคาหน้าโรงกลั่นไม่ต่างกัน แต่ของไทยที่แพงกว่าเพราะ มีการบวก ภาษี + กองทุนน้ำมัน + กองทุนอนุรักษ์พลังงาน ราคาจึงเพิ่มจากราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งตรงนี้เป็น**นโยบายรัฐ เพิ่มเติมอ่านข้างล่างครับ
    https://www.facebook.com/notes/siriwat-whin-vitoonkijvanich/พลังงานซีรีย์-ตอนที่-2-โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย/10151491058934124

    ส่วนแก๊ส ใช้ในประเทศเกือบหมดครับ เรื่องแก๊สนี่ส่งออกน้อยถึงน้อยมากแค่ส่งไป กัมพูชา ลาว-พม่าโดยการลักลอบฮะ(ตรงนี้ปตท.คงไม่กล้าทำแน่ๆ) เพราะไทยเราอุ้มราคาแก๊สจนถูกกว่าประเทศข้างๆเยอะ อุ้มไปขายเป็นถังๆกำไรบาน ที่ไปขายส่วนมากกองทัพมด (ส่งออกเป็นทางการก็มีไปลาว-กัมพูชา แต่เพราะเขาไม่มีท่าเรื่อรอบรับ ถึงต้องนำเข้าผ่านไทย)
    http://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/เรื่องจริงจากอ่าวไทย-เว/
     
    Last edited: 25 ต.ค. 2014
    padthaiwoonsen, maya, puggi และอีก 2 คน ถูกใจ
  33. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    เรื่องน้ำมันส่งออกนี่ เคยฟังภาครัฐเขาชี้แจงเหมือนกัน แต่ยอมรับว่า เข้าใจยากอาจเป็นเพราะไม่มีความรู้เรื่องน้ำมันเลย แต่พอจับใจความได้บ้างว่าน้ำมันที่เขาดูดขึ้นมาแต่ละหลุมนี่มันไม่ใช่มีคุณภาพเหมือนกันหมด บางแห่งเอามากลั่นแล้วได้น้ำมันประเภทที่ปริมาณการใช้มันมีน้อยแต่ดันกลั่นได้เยอะก็มี บางแห่งมีสารอะไรก็ไม่รู้ (ฟังไม่รู้เรื่อง)เจือปนอยู่มากก็มี เพราะฉะนั้นถ้านำมากลั่นขายในประเทศมันไม่คุ้มทุน สู้ขายให้ประเทศที่เขาต้องการดีกว่า (ถ้าผมจับความมาไม่ผิดมันก็เป็นแนว ๆ นี้แหละ)

    ถ้าถามว่าฟังเขาอธิบายแล้วยังคาใจไหม ก็ตอบว่า ยังคาใจอยู่ เพราะเราคิดเลยเถิดไปถึงว่า แบบนี้มันก็อ้างกันได้ซีถ้าอยากส่งออกขายต่างประเทศ แต่ช่วงหลัง ๆ บังเอิญมาเห็นกร๊าฟที่เขาแสดงถึงปริมาณการนำเข้า ส่งออกให้ดู เทียบกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ มาเลเซีย ขวัญใจของเรานั่นแหละ ปรากฎว่าของมาเลเซียก็มีทั้งนำเข้า และส่งออกเหมือนกัน นำเข้าของเขาน้อยกว่าเราเยอะ แต่ส่งออกของเขาก็มากกว่าเราเยอะเหมือนกัน แสดงว่าของเขาก็มีการนำเขาและส่งออกน้ำมันที่ดูดขึ้นมาได้เหมือนกัน เลยทำให้เบาใจไปหน่อย ยิ่งถ้าดูสัดส่วนการนำเข้า การผลิตได้ และการส่งออกของเราแล้วก็เบาใจลงไปอีก เพราะสัดส่วนการส่งออกมันน้อยมากแต่สัดส่วนการนำเข้าน่ากลัวมาก ส่วนที่ผลิตได้ก็งั้น ๆ แหละ ไม่น่าภูมิใจ แต่ที่สำคัญก็คือเขาเปิดเผยตัวเลขเรื่องการส่งออกไม่ได้ปิดเป็นความลับ ทำให้พอเชื่อได้ว่าไม่น่าจะมีการตุกติกอะไร

    มีผู้อธิบายเพิ่มเติมให้ฟังว่า น้ำมันที่เขาดูดขึ้นมาได้นั้น ถ้ามันไม่ตรงสเปคที่เขาต้องการเขาก็ขายไป เพื่อนำรายได้เข้าประเทศเป็นเรื่องปกติที่เขาทำกัน
     
    padthaiwoonsen, temp, maya และอีก 4 คน ถูกใจ
  34. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ทำไมประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกถึงใช้แต่ระบบสัมปทาน ตรงนี้ผมก็ไม่รู้นะ งง เหมือนกัน
    1458488_281128518743849_1780309133499727307_n.jpg
    https://www.facebook.com/topsecretthai/photos/pcb.281129485410419/281128518743849/?type=1&theater

    ถ้าระบบแบ่งปันต้องใช้ความสามารถในการเจรจาเยอะกว่า...ให้ใครเจรจาดี รัฐบาลเพื่อไทยที่จะกลับมา?

    10669313_309959095875455_1044171128149218010_o.jpg
     
    Last edited: 26 ต.ค. 2014
    bird, ryukendo, padthaiwoonsen และอีก 1 คน ถูกใจ.
  35. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    บทเรียนจากเวเนซูเอลา
    ---------------
    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลเวเนซุเอลาประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องสแกนนิ้วทุกครั้งก่อนซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต เนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนอาหารและข้าวของเครื่องใช้ในประเทศ หลายคนจึงเกิดคำถามตามมาว่า ทำไมประเทศที่ร่ำรวยจากการขายน้ำมันอย่างเวเนซุเอลาจึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นได้

    เมื่อพูดถึงประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรน้ำมันทั่วโลก เวเนซุเอลาคือหนึ่งในประเทศเหล่านั้น จากสถิติระบุว่า แหล่งน้ำมันที่ได้รับการสำรวจแล้วของเวเนซุเอลามีปริมาณน้ำมันรวมมากที่สุดในโลก คือประมาณ 3 ล้านล้านบาร์เรล ขณะที่แท่นขุดเจาะทั่วเวเนซุเอลาสามารถผลิตน้ำมันดิบได้ราว 2 ล้าน 5 แสนบาร์เรลต่อวัน มากเป็นอันดับ 9 ของโลก 2 ใน 3 ของน้ำมันที่ผลิตได้ในเวเนซุเอลาจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 95 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ขณะที่ GDP เกือบครึ่งหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจน้ำมันเช่นเดียวกัน

    ทว่าความร่ำรวยจากน้ำมัน กลับไม่ได้หมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ปัจจุบัน ชาวเวเนซุเอลากำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างหนัก ภาพของประชาชนต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรอเวลาห้างเปิด หรือภาพการแย่งชิงสินค้าบนชั้นวางขาย กลายเป็นภาพที่เห็นได้ชินตา ทั้งในกรุงการากัสและเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ จนล่าสุด รัฐบาลเวเนซุเอลาได้ประกาศใช้ระบบจำกัดการซื้ออาหารของประชาชน ด้วยการบังคับให้ทุกคนต้องสแกนลายนิ้วมือของตัวเองก่อนซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันการกักตุนสินค้า

    นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำในเวเนซุเอลาคนหนึ่งเปิดเผยว่า แท้จริงแล้ว ปัญหาขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคในเวเนซุเอลาไม่ได้เกิดจากการกักตุน หากแต่เป็นผลพวงจากนโยบายหลายอย่างของภาครัฐเอง ตั้งแต่การพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากเกินไป เมื่อประกอบกับการแทรกแซงค่าเงินของรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ระบบการนำเข้าซึ่งเป็นแหล่งสำคัญที่สุดของเครื่องอุปโภคบริโภคในประเทศต้องสะดุดลง ขณะเดียวกันนโยบายควบคุมราคาสินค้าที่เกินพอดีจากภาครัฐ ก็ทำให้ระบบการผลิตสินค้าในประเทศถูกทำลายลง

    นอกจากนี้ การไล่เวนคืนที่ดินของภาครัฐ และการกว้านซื้อที่จากเกษตรกรโดยบริษัทเอกชนตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา ยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของเวเนเซุเอลาที่เคยน้อยอยู่แล้ว ลดน้อยลงไปอีก เมื่อผลผลิตน้อยลง ราคาสินค้าเกษตรจึงสูงขึ้นจนแตะระดับที่การนำเข้าจากต่างประเทศถูกกว่าการซื้อหาในประเทศ แต่การนำเข้าสินค้าเกษตรนี้ก็ต้องวนไปเจอกับอุปสรรคด้านค่าเงินอีกเช่นกัน กลายเป็นวัฏจักรของปัญหาที่มีความซับซ้อน จนนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้จะไม่จบลงง่ายๆ

    ภาวะข้าวยากมากแพงไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ประชาชนทั่วไปเท่านั้น บริษัทเอกชนตลอดจนหน่วยงานต่างๆ เองก็ประสบปัญหาไม่แพ้กัน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่างโตโยตาและจีเอ็ม เพิ่งจะประกาศหยุดผลิตรถยนต์ในเวนเซุเอลาเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากยอดขายลดลงและไม่มีวัสดุ สายการบินสัญชาติต่างชาติอย่างน้อย 7 แห่งยกเลิกเที่ยวบินเข้าออกเวเนซุเอลา หลังรัฐบาลจำกัดการใชเ้งินดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยแห่งการากัสก็ต้องหยุดผ่าตัดให้คนไข้ เพราะขาดแคลนอุปกรณ์การรักษา

    ยิ่งไปกว่านั้น การผลิตและส่งออกน้ำมันที่เคยเป็นรากฐานอันแข็งแรงของเศรษฐกิจเวนเนซุเอลา ก็ไว้ ใจไม่ได้อย่างที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั่วโลกลดลงไปแล้วกว่าร้อยละ 25 ขณะที่ปริมาณน้ำมันที่เวเนซุเอลาผลิตได้ก็ลดลงอย่างมากเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการและการดูแลรักษาโรงกลั่นที่ไร้ประสิทธิภาพของภาครัฐ ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศอุดมน้ำมันอย่างเวนเนซุเอลา กลับต้องยอมน้ำเข้าน้ำมันดิบชนิดเบาจากแอลจีเรีย เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศ

    ประชาชนหลายคนบ่นว่า เครื่องสแกนลายนิ้วมือตามห้างสรรพสินค้าเหล่านี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร แถมยังทำให้พวกเขาต้องใช้เวลาต่อแถวนานขึ้นไปอีก ซึ่งไม่ต่างจากท่าทีของรัฐบาลเวเนซุเอลาที่มีต่อปัญหานี้เท่าใดนัก เพราะนอกจากจะไม่พยามยามบรรเทาความเสียหายของจากขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวแล้ว พวกเขายังคงปล่อยให้นโยบายต่างๆ ที่เป็นต้นตอของวิกฤตการณ์ทั้งหมดถูกบังคับใช้อยู่ต่อไป ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    http://news.voicetv.co.th/world/125189.html
    ----------------------------------------------------------------------------

    คำถามพวกที่อยากใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต อยากเพราะเขาบอกว่าดี หรืออ่านข้อมูลจนบรรลุเอง?

    ถ้าสัมปทาน กว่าจะสูบขึ้นมาใช้ได้ก็ เกือบ10ปี ถ้าดำเนินการจนไม่ทันสัมปทานเก่าหมดจนเกิดความเสียหาย ใครรับผิดชอบ?
     
    bird และ padthaiwoonsen ถูกใจ.
  36. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    รูปแบบสัญญาที่ต่างกัน ความจริงสาระมันไม่ใช่เรื่องแบบไหนมีรายได้มากหรือน้อยหรอก เพราะไม่ว่าเราจะทำสัญญารูปแบบไหน เราก็สามารถเขียนเงื่อนไขความต้องการของเราลงไปได้ทั้งนั้น จะเอาผลประโยชน์ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ หรือเขียนไปว่าไม่เอาผลประโยชน์อะไรเลย ใครได้สัมปทานขุดเจาะได้ยกให้ฟรีเลย มันเขียนได้ทั้งนั้นแหละไม่ว่าจะเป็นสัญญารูปแบบไหน

    แกนนำแต่ละคนน่าจะรู้ดี รู้อยู่แก่ใจว่า สาระมันไม่ใช่แบบไหนได้ประโยชน์มากแบบไหนได้ประโยชน์น้อย แต่ความแตกต่างของสัญญาสองแบบนี้ที่กลุ่มต่อต้านต้องการคือ การเข้าไปมีส่วนร่วมเท่านั้น จึงพยายามบอกให้ใช้สัญญาแบบแบ่งปันผลผลิต เพราะนั่นหมายถึงว่าเราต้องเข้าไปลงทุนร่วมนั้่นแหละ ถ้าเข้าไปร่วมแล้วมันจะพัฒนาได้ หรือได้ผลประโยชน์เป็นกอบเป็นกำหรือไม่ ค่อยไปว่ากันอีกที เพราะที่ภาครัฐพูดหรือชี้แจงมานั้น เขาไม่เชื่อ ต้องการมีส่วนเข้าไปดูเองในนามของภาคประชาชน

    การเข้าไปมีส่วนร่วมของภาคประชาชนถ้าถามว่า ดีไหม มันก็ดีอยู่หรอก แต่มันก็มีคำถามตามมาอีกมากมายว่า แล้วภาคประชาชนคือใคร อย่างบอร์ด ปตท นี่ เป็นประชาชนไหม เรียกว่าภาคประชาชนได้ไหม หรือคนเหล่านี้เป็น เทวดา ทำไมคุณถึงไม่ต้องการให้คนเหล่านี้่เป็นบอร์ด เพราะเห็นไปเรียกร้องให้ปลดเขาอยู่ ถ้าเขาทุจริตประพฤติมิชอบ มันก็มีกฎหมายอยู่ ทำไมไม่ดำเนินการตามกฎหมาย เพราะการดำเนินการตามกฎหมาย มันก็คือการมีส่วนร่วมของประชาชนเหมือนกัน แต่การกล่าวหาลอย ๆ ว่าคนโน้นโกงคนนี้ทุจริต แบบที่สื่อบางสำนักทำอยู่ทุกวันนี้ มันไม่ใช่การมีส่วนร่วม มันไม่ใช่การตรวจสอบ แต่มันเหมือนการใส่ร้ายป้ายสีปลุกปั่นยุยงสร้างความเกลียดชังให้ประชาชนมากกว่า

    การมีส่วนร่วม การตรวจสอบ มันก็ต้องมีระดับอยู่เหมือนกันว่า ร่วมอย่างไรแค่ไหน ตรวจสอบอย่างไร แต่ถ้าเข้าไปมากเกินไปมันจะกลายเป็นการ จุ้นจ้าน จัดการเองหมด มันพัฒนาอะไรไปไม่ได้หรอก เพราะมันจะเข้าตำราที่ว่า ถ้าไม่ใช่ข้า หรือพวกข้าแล้ว คนอื่นไว้ใจไม่ได้ทั้งนั้น

    ทรัพยากรเป็นของชาติและประชาชน ไม่มีใครเถียงหรอก แต่การนำทรัพยากรขึ้นมาทำประโยชน์ มันเป็นขบวนการจัดการแทนประชาชนอยู่แล้ว เขาก็เลือกรูปแบบการจัดการที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด ได้ประโยชน์ต่อชาติและประชาชนมากที่สุด ซึ่งแน่นอน คนที่เข้าไปบริหารจัดการมันก็เป็นไปได้ที่จะมีคนเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้เอาประโยชน์ของประชาชนมาเป็นของตนเองหรือเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ทุกคนมีสิทธิสงสัยได้ แต่ความสงสัยมันต้องอยู่บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่สงสัยแล้วถามแล้วเขาตอบแล้ว ก็ไปเปลี่ยนประเด็นใหม่ไปเรื่อย ๆ ไม่จบไม่สิ้น หรือเขาตอบแล้วแกล้งไม่รู้ไม่เข้าใจนำมาพูดซ้ำซากอยู่นั่นแหละ เอาเวลา ซ้ำซาก ไปรวบรวมหลักฐานการทุจริตประพฤติมิชอบฟ้อง ปปช ดีกว่าไหม ประชาชนเขาจะได้สรรเสริญ
     
    Bayonet, bird, padthaiwoonsen และอีก 1 คน ถูกใจ.
  37. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    voicetv?
    แล้วระบบสัมประทาน48ปีผ่านมาแล้วเคยให้อะไรดีๆกับสังคมบ้างทำไมคุณถึงกลัวระบบแบ่งผลผลิตเหลือเกินและโจมตีไม่หยุด ตกลงคุณอยากให้ใครได้ประโยชน์จริงๆ กลุ่มพลังงาน หรือประชาชนและประเทศชาติเพราะความเห็นของคุณก็แค่ออกมาโจมตีฝ่ายตรงข้ามอย่างเดียว

    http://wbi.worldbank.org/wbi/Data/w...ve Industries Programme - Oil & Gas Guide.pdf

    2.27 Anti-bribery/corruption

    Provisions relating to anti-bribery and/or corruption are not commonly seen in PSCs, although we note that this is a developing body of law internationally, with extensive and far-reaching legislation being introduced relatively recently, for example in the UK and the US. Where such provisions are included, these are generally quite extensive, requiring the Contractor to warrant that it has not made and will not make any gift or reward to any officials or employees of the State to induce or reward such persons for any acts taken in accordance with their duties.
     
    Last edited: 27 ต.ค. 2014
  38. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    - ถ้าจะยกตัวอย่างประโยชน์จากสัมปทานเดี๋ยวก็หาว่าผมอวยรัฐบาลป๋าเปรมอีก เอาเป็นว่า อะไรที่คุณคิดว่าระบบสัมปทานมันแย่ละครับ

    - ส่วนว่าทำไมผมเห็นว่าระบบสัมปทานดีอยู่แล้ว ก็ตามกระทู้ข้างบนที่ผมโพสเลยครับ นั่นแหละเหตุผล

    - ผมก็ไม่ได้โจมตีใครนะ และก็ไม่มีฝ่ายตรงข้ามด้วย ไม่อยากให้จ้องจับผิดใคร แค่มาคุยกันว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำรับไทย

    - สิ่งที่คนคิดต่างนำเสนอ คือความจริงเต็มๆครับ ไม่ใช้พูดแค่ครึ่งเดียวแล้วเอามาจับผิดฝ่ายตรงข้าม (เช่นด่าว่าปตท.เลวขายน้ำมันแพงกว่าประเทศเพื่อบ้าน ทั้งๆที่ ราคามันต่างเพราะภาษีและกองทุนน้ำมัน)
     
    bird, puggi และ padthaiwoonsen ถูกใจ
  39. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    คำถามที่ต้องตอบคือ น้ำมันที่ขุดในไทย กลั่นออกมาแล้วได้อะไรบ้าง ใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน
     
    bird likes this.
  40. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    เคยอ่านเจอว่าแก๊สบ่อเดิมจะหมดปี61 ต้องรีบเปิดสัมปทานใหม่ ไม่งั้นอีกหน่อยต้องซื้อใช้เท่านั้น
    ยังมึนๆว่า เจาะเองกะซื้อเขา ปชช.ก็โดนราคาครือๆกัน แล้วจะรีบเอาของตัวเองมาใช้ทำไมหว่า เสียทั้งเงินเสียทั้งสต็อกวัตถุดิบ
     
    Bayonet และ joonkung ถูกใจ.
  41. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    อย่างละเอียดก็ตามลิงค์ครับ คร่าวๆคือคนไทยใช้ก๊าซราคาถูกกว่าตลาดโลกเยอะ ถ้าต้องนำเข้าแก๊ส ค่าไฟค่าก๊าซพุ่งอีกเท่าตัว
    https://www.facebook.com/notes/อานิก-อัมระนันทน์/เลิกผลิต-นำเข้าทั้งหมด/10205052986590503

    10553504_10205053354239694_5155082028830134509_n.jpg
     
    Last edited: 27 ต.ค. 2014
    ridkun_user, bird, puggi และอีก 2 คน ถูกใจ
  42. Alkene

    Alkene สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    183
    มันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วครับที่รัฐไม่สามารถทำธุรกิจได้อย่างเอกชน เพราะปัจจัยหลายๆด้าน หลักๆคือเรื่องเงินลงทุน ขั้นตอนการสั่งการที่มากมาย ความคล่องตัวย่อมน้อยกว่าครับ
     
    padthaiwoonsen, bird, puggi และอีก 1 คน ถูกใจ.
  43. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ความจริงแล้วจะเป็นสัญญาแบบไหน มันก็คงให้สังคมได้เท่าที่มันจะให้ได้เท่านั้น คงไม่ดีไปกว่ากันเท่าไรนักเพราะปัญหามันอยู่ที่แหล่งพลังงานของเรามากกว่า
    48 ปีที่ผ่านมา เราเคยปรับสัญญามาแล้ว จาก Thailand 1 เป็น Thailand 2 เพราะเราไปขุดเจาะพบแหล่งน้ำมันและคิดว่ามันจะโชติช่วงชัชวาล จึงมีการเรียกผลประโยชน์สูงขึ้นใน Thailand 2 แต่มันไม่เป็นอย่างที่คิด บริษัทที่ขุดเจาะ เจ๊งไม่เป็นท่า จนต้องเลิก Thailand 2 มาเป็น Thailand 3 อย่างทุกวันนี้แหละ
    ผมถึงบอกไง ว่า ถ้าเราต้องการผลประโยชน์จริง ๆ ไม่ว่าสัญญาแบบไหนมันก็เขียนลงไปได้ทั้งนั้น อย่าง Thailand 2
    นั่นแหละ
     
  44. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ทำไมต้องรีบเปิดสัปทานรอบที่21 คร่าวๆคือ ช้ามาตั้งแต่ปี2555เพราะติดกลุ่มต้าน ทำให้มีผลกระทบค่าไฟแพงขึ้นเรื่อยจากการนำเข้าแก๊สมาปั่นไฟ และถ้าไทยยอมรับพลังงานถ่านหินมากขึ้นก็ไม่ต้องเร่งเปิดประมูล(ถ่านหินถูกกว่า)

    สัญญาสัมปทานแบบไทยแลนด์1เอกชนได้42% รัฐได้58% คิดเป็นเงินเอกชนได้ไปแล้ว145000ล้าน หมดสัญญา2564

    สัญญาสัมปทานแบบไทยแลนด์3 (ใต้ระบบ Thailand III ซึ่งรัฐได้ 72%) เอกชนลงทุนทั้งหมด 132,600 ล้านบาท (ตั้งแต่ปี 2543) รัฐได้รายได้ 56,600 ล้านบาท แต่เอกชนยังขาดทุนอยู่ 44,770 ล้านบาท

    ซึ่งสัปทานล่าสุดเป็นไทยไทยแลนด์3พลัส ไทยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม อ่านรายละเอียดได้ข่างล่างครับ
    https://www.facebook.com/notes/10205118305583437/
     
    padthaiwoonsen, puggi และ bird ถูกใจ
  45. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    รู้ไหมว่าตอนนี้เราได้รายได้จากการขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเท่าไหร่
    ผมมีข้อมูลที่คำนวนแล้วของเดือน มค. 2557มาให้ครับ
    ว่าเราได้รายได้เฉลี่ยทั้งหมด 12.2% เท่านั้นทั้งกันนี้ผมนำข้อมูลการขุดเจาะและรายได้ภาคหลวง(สัมปทาน)มาให้ดู ที่ผมคำนวนเฉพาะเดือน มค. นะครับ ช่วยกันดูว่าประเทศไทยไม่มีน้ำมันจริงหรือ และเราได้ผลประโยชน์จากทรัพยากรที่ บรรพบุรุษ และบูรพกษัตริย์ ทิ้งไว้ให้เท่าไหร่
    http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=saleValueRoyalty

    ดังนั้นถ้าคิดทั้งปีเรามีการให้ขุดน้ำมันและก๊าซมีมูลค่ารวม ต่อปีคือ
    544,086,626,760 บาท เราได้ผลตอบแทนเป็นเงิน
    66,450,853,176 บาท คิดเป็น 12% โดยประมาณ ถามท่านๆว่าเราคิดอย่างไรกับผลประโยชน์ที่ได้
     
    Last edited: 29 ต.ค. 2014
    padthaiwoonsen และ Words of the Buddha ถูกใจ.
  46. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ลมเม้มเพราะคุณ Alkene อธิบายได้ดีมากๆเลยครับ ขอบคุณครับ:*

    ส่วนตัวไม่ต่อตา้นการปฎิรูปอะไรนะ แต่คุยกันด้วยความจริง อย่าสร้างความเกลียดชังกันเลย:h:
     
    Last edited: 29 ต.ค. 2014
  47. Alkene

    Alkene สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    183
    รายได้ของรัฐจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทาน มี 3 ประเภท ครับ
    1. ค่าภาคหลวง Thai I อัตราร้อยละ 12.5 , Thai III อัตราร้อยละ 5-15 ของมูลค่าที่ขาย
    2. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ตาม พรบ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาตรา 20 ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิจากการประกอบกิจการปิโตรเลียม
    3. ผลตอบแทนพิเศษ ตามมาตรา 7 ทวิ พรบ. ปิโตรเลียม 2532 เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมที่มีกำไรรายปีสูงกว่าปกติ โดยเก็บแบบขั้นบันได
     
    puggi, padthaiwoonsen, HiddenMan และอีก 1 คน ถูกใจ.
  48. Alkene

    Alkene สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    183
    สัดส่วนรายได้จากภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่เก็บจากผู้รับสัมปทาน มีมากกว่าเงินค่าภาคหลวงอีกครับ

    ไม่มีชื่อ.jpg
     
  49. padthaiwoonsen

    padthaiwoonsen สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    79
    Location:
    Bangkok
    สืบเนื่องจากข่าว '' กรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะนำเรื่องการต่อสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ให้ที่ประชุมสปช.พิจารณาก่อน ''
    ที่มา http://www.msn.com/th-th/news/other/สปชวอนนายกฯชะลอต่อสัมปทานปิโตรเลียม/ar-BBbQNyb

    พอดีวันนี้มีบทความของมนูญ ศิริวรรณ เรื่อง ''ทำไมไม่รอสภาปฎิรูป'' ในเดลินิวส์ ผมเห็นว่ามีสาระน่าสนใจ ดังต่อไปนี้

    กลายเป็นประเด็นคัดค้านกันอย่างใหญ่โตกับการตัดสินใจของกระทรวงพลังงานในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21 จนถึงขนาดมีการยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ให้ปลด รมว.พลังงาน ปลัดกระทรวง และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงานบางคนออก

    หนึ่งในข้อคัดค้านคือ ทำไมกระทรวงพลังงานจึงเร่งรีบเปิดสัมปทานรอบที่ 21 โดยไม่รอให้มีการนำเข้าไปพุดคุยกันในสภาปฏิรูปฯ เสียก่อนเพราะยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรลียมของชาติว่า จะเป็นแบบใดดีระหว่างระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบสัมปทาน

    ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นด้านพลังงานที่มีข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนานและยากที่จะหาข้อสรุปได้ระยะเวลาอันสั้นเพราะระบบทั้งสองนั้นมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ถึงแม้จะนำเข้าไปถกกันในสภาปฏิรูปฯ ก็คงต้องใช้เวลายืดยาวเป็นปีกว่าจะหาข้อสรุปได้ และสมมุติว่าตกลงกันได้ว่าจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ก็ใช่ว่ากระทรวงพลังงานจะรับไปเปิดประมูลได้ทันทีนะครับ แต่จะต้องดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้เปลี่ยนจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตซึ่งขั้นตอนการแก้กฎหมายนี้ยังไม่รู้จะใช้อีกกี่ปี

    ขณะเดียวกันทางด้านการบริหารจัดการกระทรวงพลังงานจะต้องไปออกกฎหมายจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นเพื่อมาทำหน้าที่บริหารจัดการและเจรจากับผู้ประกอบการในการดูแล และควบคุมการดำเนินงานของผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด เพราะระบบนี้จะต้องมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการเป็นรายแปลงสำรวจเลยทีเดียว ไม่เหมือนกับระบบสัมปทานที่มีระเบียบและเงื่อนไขกำหนดเอาไว้ ง่ายต่อการตรวจสอบและกำกับดูแล

    ยิ่งผู้คัดค้านเรียกร้องให้มีการออกพ.ร.บ.สภาการพลังงานแห่งชาติและบรรษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้น 100% มาเป็นผู้ผูกขาดบริหารจัดการเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมแบบเดียวกับบริษัทปิโตรนาสของมาเลเซียด้วยแล้วก็เชื่อได้เลยว่าเรื่องนี้ไม่จบภายในสองปีนี้แน่นอน

    เรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้น ไม่ใช่มาเร่งรัดขอเปิดกันในตอนนี้อย่างที่มีผู้กล่าวหากันแต่ความจริงคือการเปิดสัมปทานได้ล่าช้ามาเป็นเวลาถึงสองปีแล้วจากการคัดค้านของคนกลุ่มหนึ่งมาโดยตลอด
    ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็คือ เจ็ดปีแล้วที่เราไม่ได้พบแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ ในไทยเลยมีการค้นพบแหล่งก๊าซเล็ก ๆ เพียงหนึ่งแห่งมีปริมาณสำรองเพียง 0.5 ล้าน ลบ.ฟุต น้อยมาก

    ในขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เรามีอยู่ในปัจจุบันก็มีแต่จะหมดไปน้ำมันใช้ไปได้อีก 4 ปี ก๊าซอีก 7 ปี ดังนั้นการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงานของชาติ

    การเปิดสัมปทานรอบนี้ทางกระทรวงพลังงานก็ได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับรัฐมากขึ้นจากระบบเดิมคือระบบ Thailand 3 เป็นระบบ Thailand 3 Plus โดยมีทั้งเงินให้เปล่าตอนเซ็นสัญญา (Signature Bonus) และค่าตอบแทนการผลิตตามปริมาณ (Production Bonus) ซึ่งทำให้รัฐได้ส่วนแบ่งผลปะโยชน์สูงขึ้นจากเดิมที่เคยได้ในระดับ 60% โดยสัมปทานใหม่นี้รัฐอาจได้สูงถึง 65-70% ด้วยซ้ำไป
    ผมจึงไม่เห็นเหตุผลว่าเราจะต้องรอให้มันช้าไปอีกเพื่ออะไร !!!.

    ที่มา http://www.dailynews.co.th/Content/economic/277307/ทำไมไม่รอสภาปฏิรูป?+-+พลังงานรอบทิศ
     
  50. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    เรื่องพลังงานผมเห็นด้วยว่า ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในหลายๆเรื่อง หลายอย่าง ปตท ใช้ข้อได้เปรียบความเป็นรัฐวิสาหกิจ ไปเอาเปรียบเอกชน หลายอย่าง บางเรื่องอ้างเป็นเอกชน ฯลฯ ต้องทำให้ชัดเจน

    แต่ว่า การที่พวกทวงคืน ไปเล่น ด่ากราด คนอื่น เลวชั่ว ตัวกูถูกที่สุด

    ใครเค้าอยากจะมาคุยด้วย ที่ ปิยสวัสดิ์ หลุดว่าถ้ารู้จริงก็ไปฟ้องศาลเอา ไม่ใช่มาเห่าตรงนี้

    พวกทวงคืนก็จะเป็นจะตายไม่นึกถึงไปด่าพ่อ ล่อแม่เค้า มาก่อน เล่นกล่าวหาว่าพวกปตท ผิด ผู้บริหารถือหุ้นปตท ก็จะพยายามเสี้ยมว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงทั้งที่เค้าทำถูกต้องตามกฎ กลต ตลท แต่ถ้าพวกทวงคืนว่า ผิด มันต้องผิด สมาชิกเวปเราคนนึงก็เป็น จนปัญญาที่จะคุยด้วยเหตุผลได้แถไปนู่นนี่

    ถามหน่อยแล้วฝั่งนั้นเค้าอยากจะมาคุยเหรอ ถ้าไม่เห็นแก่หลวงปู่นี่ ไม่มีหรอกการคุยเจอกันในศาลอย่างเดียว ปิยสวัสดิ์ฟ้องรสนา อยู่ ผมอยากดูว่าศาลตัดสินอย่างไรเหมือนกัน
     

Share This Page