สิ่งที่เป็นจริงที่คนไทยต้องรู้ 1.รัฐบาล พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ ออก พรก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน 27ตุลาคม พศ. 2540 และได้จัดตั้ง ปรส. ( :: องค์การเพื่อการปฎิรูปสถสบันการเงิน :: Financial Restructuring Authority :: FRA ) 2.คณะกรรมการชุดแรกของ ปรส.คือ นายธวัชชัย ยงกิตติกุล 27 ตค.2540 3.รัฐบาลพล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 6 พย. 2540 4.#พันตำรวจโทดอกเตอร์#ทักษิณ#ชินวัตร#เป็นรองนายกฯด้านการต่างประเทศไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ #ในการจัดตั้ง#ปรส.#แต่อย่างใด 5.ปรส.ยุครัฐบาลพล.อ.เชาวลิต ทำงานได้เพียง 16 วันก็สิ้นสุดความรับผิดชอบตามรัฐบาลที่ลาออก เพราะการประกาศ ""ลอยตัวค่าเงินบาท"" สิ้นสุดรัฐบาลพล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ สิ้นสุดความรับผิดชอบทั้งหมด 6.วันที่ 9 พย. 2540 นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงต่ำแหน่งนายกฯสมัยที่ 2 7.รัฐบาลชวน ประกาศแต่งตั้งในวันที่ 23 พย. 2540 การสรรหาโดยนาย ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมต.คลัง นาย อมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. นาย มนตรี เจนวิทย์การ เป็น เลขาธิการ ปรส.เนื่องจากนาย วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ (มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ) 8.ปรส.ยุครัฐบาลชวน 2 สั่งปิดกิจการถาวร 56 สถาบันการเงิน 9.ปรส.ยุครัฐบาลชวนแต่งตั้ง ดำเนินการนำสินทรัพย์ 56 สถาบันการเงินประมูลขายแบบ"ยกเข่ง"ในราคา"เลหลัง" จากราคาสินทรัพย์ 851,000 ล้านบาท ขายไปในราคา 190,000 ล้านบาท 10.รัฐบาลชวน 2 ตราพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ เพื่องดเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อสินทรัพย์ 10.1 เอื้อประโยชน์ใหกลุ่มทุนต่างประเทศ ยกเว้นภาษีให้กองทุนรวมฯ 10.2 เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายซื้อใช้กองทุนรวมฯ(ตาางชาติ)ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าประมูล เข้ามาใช้สิทธิ์ได่รับการยกเว้นภาษี
จิ่วปิดชั่วคราว สถาบันการเงิน 58 แห่ง นั่นแหละ ที่ทำให้หนี้เน่า พาหนี้ดี เน่าไปด้วย ยอด แปดแสนกว่าล้าน มันรวมเอากับยอดหนี้บวมจากการลอยตัวค่าเงินบาท บวกดอกเบี้ยโคตรมหาโหด 18 % up ระหว่างปิดชั่วคราว แบ็งค์ก็เดือดร้อน มีเชื้อหนี้เน่าติดเมาจากไปแนนซ์ อีกต่างหาก
แน่นอนครับ... เหมือนกับจำนำข้าว ท่านยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว สิ้นสุดความรับผิดชอบทั้งหมด ถ้าขายข้าวไม่ได้ แล้วขาดทุน ผู้รับผิดชอบต้องเป็นรัฐบาลนี้ครับ...
เสื้อแดงนี่ถนัดเขาล่ะ ความจริงครึ่งเดียว รัฐบาลชวนสั่งปิด 56 ไฟแนนท์ ถาวร แต่ที่สั่งปิดทำธุรกรรมในรัฐบาลจิ๋วอัลไซเมอร์ ไม่ถือว่าถาวรสินะ
อันนั้นเรียกว่าถอดเครื่องช่วยหายใจ ถือว่ายังไม่เสียชีวิตครับ แต่มาเสียชีวิตตอนรัฐบาลชวน 2 ดังนั้นจึงถือว่ารัฐบาลชวน 2 เป็นฆาตกรครับ
รัฐบาลนายชวนมันเห้จริงๆ ผ่านรัฐบาลทักษิณคิดขี้ข้าทักษิณทำ มา3รัฐบาลยังจัดการเช็คบิลนายชวน ธารินทร์ ไม่ได้ ปล่อยให้ขี้ข้าทักษิณทำได้แค่เอาเรื่องปรส.มาเล่นทุกครั้งที่เริ่มจนมุม มาร์คชั่งไข่ฆาตรกรร้อยศพยังชิดซ้าย หุหุ
ฝรั่งบอกให้ปล่อยล้มรัฐบาลห้าวแทรกแซง เดี๋ยวเสียวินัยทางการเงิน แต่พอแบงค์อเมริกันล้ม มันพิมพ์แบงค์มาอุ้มสถาบันการเงินเฉยเลย
ปรส. หรือชื่อเต็มคือ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (ทักษิณเป็นรองนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ออกพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2540 ทำให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ปรส. ชุดแรกขึ้น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2540 โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ เป็นอันดับแรก โดย ปรส. มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการดูแลบริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ 1. คดีที่เกี่ยวพันกับปรส.คือกรณีขายสินทรัพย์สถาบันการเงิน 56 แห่ง ที่ อมเรศ ศิลาอ่อนและ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. ถูกฟ้องฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 (เฉพาะในส่วนของ ปรส.) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 คือไปเอื้อประโยชน์เอกชนที่ประมูลสินทรัพย์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ โดยไม่ได้ให้เอกชนรายดังกล่าวคือ บริษัท เลแมน บราเดอร์ส โดยราคาสินทรัพย์ที่เป็นปัญหาอยู่ที่ 11,520 ล้านบาท วางหลักประกัน 10 ล้านบาท แต่บริษัทไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับ ปรส.ภายใน 7 วันนับจากวันที่ 20 ส.ค. 2541 พร้อมทั้งต้องชำระเงินงวดแรกร้อยละ 20 ของราคาเสนอซื้อที่ชนะการประมูลเป็นเงิน 2,304 ล้านบาท แต่ไม่ได้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีแต่การวางเงินประกัน 10 ล้านเท่านั้น ศาลจึงเห็นว่า การประมูลดังกล่าวไม่เกิดสัญญาขึ้น อย่างไรก็ตามต่อมามีการชำระเงินเต็มจำนวนจากการประมูลสินทรัพย์ดังกล่าว ความหมายคือ ไม่มีความเสียหายทางการเงินเกิดขึ้น ปรส.ได้เงินตามราคาที่ประมูล เพียงแต่ขั้นตอนทำสัญญาผิดกฎหมาย และผู้บริหาร ปรส. (อมเรศ ศิลาอ่อน และ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ)ไปเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน ศาลจึงสั่งจำคุก 2 ปี ปรับ 20,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา 3 ปี เพราะอายุมากและเคยทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ลิ้งข่าวรายละเอียดคดีอมเรศ ศิลาอ่อน http://goo.gl/SgHv2K 2. คดีล่าสุดเกี่ยวกับ ปรส. ที่ ป.ป.ช.เพิ่งตัดสินไปเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ว่า มนตรี เจนวิทย์การ เลขา ปรส. เอื้อประโยชน์ให้กับ เกียรตินาคิน ซึ่งเป็นบริษัทของ ภรรยาพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล (ยิ่งลักษณ์1 จากการเลือกตั้งปี2554) ในการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ลิ้งข่าวรายละเอียดคดีมนตรี เจนวิทย์การ http://goo.gl/ugHKZK อ้าว...แล้วความเสียหาย 8 แสนล้านบาทคืออะไร??ความเสียหายแปดแสนล้านนั้นก็คือ ผลงานของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, ดร.วีรพงษ์ รามางกูร, ทักษิณ ชินวัตร และทนง พิทยะ ที่ร่วมกันบริหารประเทศจนล้มละลาย ต้องเอาประเทศเข้า IMF เพื่อขอกู้เงินมาใช้หนี้ระยะสั้น ทำให้ IMF เข้าควบคุมการเงินของประเทศ นำไปสู่การปิดสถาบันการเงินและการตั้ง ปรส. มาเผื่อจัดการหนี้เสียที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นหนี้สินของสถาบันการเงิน 56 แห่งรวมกันแล้วเป็นเท่าไหร่ นั่้นคือผลงานของชวลิตกับพวกโดยตรง การที่ปรส. ไม่สามารถขายหนี้ 8 แสนล้านได้เท่ากับจำนวนหนี้ เหตุผลหลักก็เป็น เพราะชวลิตทำให้หนี้พวกนี้เป็นหนี้เน่า ปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันใดๆ "คนทำให้หนี้เน่าไม่ต้องรับผิดชอบอะไร คนขายหนี้เน่าไม่ได้ราคากลับกลายเป็นคนผิด" คดี ปรส. นี้เองเป็นสิ่งที่พรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และปัจจุบันคือ พรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือนมาตลอด ข้อมูลเพิ่มเติม"ข้อเท็จจริงในด้านนโยบาย ปรส." http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q1/2007march13p5.htm