เราได้มีการกระจายอำนาจกันมานานพอสมควร(เกิน 10 ปี) ต่อไปอาจจะต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯทุกจังหวัด ตำรวจก็อาจต้องเลือกกันเองในจังหวัด เท่าที่เป็นมา สมาชิกเห็นว่าเป็นไงบ้างครับ? ---------------------------------------------------------------------------- กรอบแนวคิดการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักการ และสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย และการบริหารจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมมีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล และการเงินการคลังของตนเอง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารราชการส่วนภูมิภาค รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการของตนเองได้มากขึ้น โดยปรับบทบาท และภารกิจของราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มบทบาทให้ส่วนท้องถิ่น เข้าดำเนินการแทน เพื่อให้ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค รับผิดชอบในภาคกิจมหภาค และภารกิจที่เกินกว่าขีดความสามารถ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการได้ โดยกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านนโยบาย และด้านกฎหมายเท่าที่จำเป็น ให้การสนับสนุน ส่งเสริมด้านเทคนิควิชาการ และตรวจสอบติดตามประเมินผล ด้านประสิทธิภาพการบริหารของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐต้องกระจายอำนาจให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ดีขึ้น หรือไม่ต่ำกว่าเดิม มีคุณภาพมาตรฐาน การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน ภาคประชาสังคม และชุมชนมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และติดตามตรวจสอบ http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=decen04
27 ส.ค.57 - นพ.ประเวศหนุนกระจายอำนาจยึดโมเดลชุมชน ป้องระบบราชการอ่อนแอ-ลดคอรัปชั่น ปัดรวมสปช.ชี้ยื่นข้อเสนอปฎิรูปแล้ว http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378421688/
"สภาพัฒนาการเมืองพะเยา" ยื่น "สปช."เร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หนุนพัฒนาการเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง เพื่อจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลางให้บรรลุผล... เมื่อวันที่ 9 มี.ค.58 นายประยูร เผ่าเต็ม เลขานุการเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดพะเยา ภายใต้สภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ประเด็นสำคัญหนึ่งที่ทางคณะทำงานภาคประชาสังคมในจังหวัดพะเยาที่เป็นเครือข่ายของสภาพัฒนาการเมือง ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และดำเนินการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเมืองภาคประชาชน คือ การขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารท้องถิ่นจากส่วนกลางมาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศให้มากขึ้น โดยขณะนี้ทางเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดพะเยา ได้มีแนวทางการจัดทำหนังสือที่เป็นสรุปข้อเสนอทางการพัฒนาการเมือง โดยขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของการบริหารจัดการ อปท.เพื่อท้องถิ่น ซึ่งได้นำเสนอต่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พะเยา ตามขั้นตอนแล้ว http://www.thairath.co.th/content/485828
สปช.หนุนกระจายอำนาจแนะปชช.แสดงความเห็น 24 เม.ย. 58 การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่ออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่ประชุมยังคงพิจารณาในส่วนภาคที่ 2 เรื่องผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ในหมวด 7 การกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น ซึ่งสมาชิก สปช.ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาประชาชน เพราะที่ผ่านมาส่วนกลางดูแลได้ไม่ทั่วถึง โดย นายเชื้อ ฮั่นจินดา สมาชิก สปช. ยังเห็นว่า มาตรา 211 ไม่ควรกำหนดให้ประชาชนมีส่วนตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา การบริหารงานท้องถิ่น เพราะจะกระทบต่อการบริหารงานท้องถิ่นได้ ซึ่งประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นเท่านั้น http://news.sanook.com/1785186/
ไม่อยากคิดแทนคนอื่น แต่อย่างที่เห็นครับ แค่เลือกตั้ง ยังไม่สามารถ ***. เพื่อเลือกเฟ้นคนดีๆ เข้ามาได้ กระจายไปก็เหมือนเดิม ปลูกฝัง วางบรรทัดฐานเอาโทษคนกระทำผิดให้เฉียบขาดซะก่อน ประเทศเรากระจายมานานแล้วครับอำนาจ ผู้ว่าฯ > นายอำเภอ > อบจ. > อบต. > กำนัน > ผู้ใหญ่บ้าน >..... แล้วเป็นไงครับ กลายเป็นผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นมากมายก่ายกอง ผลประโยชน์ล้วนๆ ไม่มีเรื่องดีๆ เจือปน ขนคนเลือกตั้ง ขนคนเข้ามาก่อม็อบเผาบ้านเมือง ทั้งนั้น
แต่ก่อนสนับสนุนแนวคิดนี้มาก เดี๋ยวนี้ไม่สนับสนุนเลย ยิ่งทำประเทศยิ่งทรุดฮวบๆ คนไทยไม่พร้อม มีแต่สำลักอำนาจ เบ่งบานคอร์รัปชั่น เอาตรงๆคือคนไทยยังฉลาดไม่พอที่จะใช้อำนาจ
การกระจายอำนาจเปรียบเสมือนดาบ 2 คม หากแต่สามารถหาสัดส่วนความพอดีได้ สำหรับผมคิดว่าน่าจะเป็นคุณูปการไม่น้อย เพราะปัญหาที่ผ่านมา การรวบอำนาจสู่ส่วนกลาง รัฐบาลสั่งให้ทำอะไรก็ยากจะขัดขืน แม้แต่สั่งให้แยกแผ่นดิน เพียงเพื่อตัวเองจะสามารถหนีความผิดได้ หลายคำสั่งจากส่วนกลางก็ก่อให้เกิดปัญหา เช่นการสร้างเขื่อน การสร้างท่าเรือ บางครั้งไม่ได้ปรึกษา คนในพื้นที่ทำให้เกิดความเสียหายบางครั้งไม่สามารถฟื้นฟูได้ หากเอาการทุจริตเป็นที่ตั้งเป็นเหตุ เพื่อไม่ให้เกิดการกระจายอำนาจ ผมว่านักการเมืองระดับประเทศสร้างความเสียหายไได้มากกว่า
เท่าที่เห็นในปัจจุบัน ที่ยังใช้ระบบเลือกตั้งเดิมๆ กติกาเดิมๆ คนควบคุมการเลือกตั้งเดิมๆ นักการเมืองจ้องจะให้ครอบครัว ญาติพี่น้อง เข้ามาเป็นตัวเลือกทั้งนั้น ***จะได้เป็นฐานเสียงของเขา ในการเลือกตั้งระดับชาติ ***เล่นการเมืองแล้วรวย ***สร้างอิทธิพล คุ้มครองธุรกิจสีเทาได้ ***สร้างอิทธิพล ตัดแข้งตัดขาคู่แข่งทางธุรกิจได้ ***มีงบประมาณอยู่ในมือ ที่สามารถสร้างผลประโยชน์ทับซ้อนได้ ฯลฯ นักการเมืองถึงได้เชียร์กันทุกพรรค แต่พวกโลกสวยเนี๊ยะ มันบ้าประชาธิปไตย
เงินงบประมาณ เป็นหน้าที่ส่วนกลางต้องหามาให้พอใช้ ส่วนอำนาจในการใช้งบ ส่วนกลางห้ามยุ่ง เด๋วรับประทานกันไม่พอ
ตราบใดที่ชาวบ้าน ตาสีตาสา ยังไหว้ควาย สามขา กินน้ำส้วมที่ผุดขึ้นมา ไหว้ถนนคอนกรีตที่โก่งเพราะขยายตัวว่ามีพญานาค ผมว่าอย่าเพิ่งกระจายอำนาจเลย รับรอง เราจะได้ควายล้วนๆ ไม่มีวัวปน มาบริหารท้องถิ่น
ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ไป เหมือนอย่าง กทม เลือกตั้งผู้ว่า ทุจริตก็มีเช่นคดี รถดับเพลิง กว่าประชาชน จะเรียนรู้ต้องใช้เวลา วันนี้ถึงจะไม่ดีมาก แต่เชื่อว่า ระบบก็เริ่มมีการปรับตัวทำให้การทุจริตน้อยลง สำคัญคือหัวหากไม่ส่าย หางก็กระดิกยาก แล้วยิ่งมีระบบตรวจสอบที่เข้มข้นตลอดเวลาด้วยแล้ว การทุจริตก็ทำได้ยาก ผลประโยชน์จะตกลงแก่ท้องถิ่นเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
ผมมองว่า การกระจายอำนาจแก้ปัญหาการเมืองได้ แต่การกระจายอำนาจไม่ช่วยให้ประเทศไทยเจริญขึ้น ด้วยเหตุผลที่พวกท่านว่ามานั่นแหละ แต่ว่า.... เราต้องเลือกเอาซักอย่างรึเปล่าว? ระหว่าง จบปัญหาการเมืองก่อนให้ประเทศเดินไปได้ แล้วหวังอนาคตมันจะเข้ารูปเข้ารอยทุกอย่างจะดีขึ้นตามธรรมชาติของมัน หรือ จะผลักดันประเทศให้ไปในทางที่ถูกต้อง แล้วเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมๆกัน แต่ยากเย็นแสนเข๊ญ เพราะปัญหาการเมืองจะกดดันหนักขึ้นเรื่อยๆ