ใส่คีย์เวิร์ด"จามจุรี" เล่นเอาซะเหน่ือย ที่แท้ก็"ก้ามปู" นี่เอง สถานที่ตั้งของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั้นจะตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี ถนนพญาไท และถนนราชปรารภ ซึ่งแต่ก่อนนั้นบริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า “สี่แยกสนามเป้า” เมื่อเวลาผ่านมาได้มีการจารึกรายนามเพิ่มเติมอีกเป็น 160 คน มีทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจ 12 นาย ปัจจุบันมีรายชื่อเพิ่มจาก พ.ศ.2483-2497 รวม 801 นาย ย้อนอดีตไปเมื่อประมาณกว่า 60 ปีที่ผ่านมา ในสมัยที่ผู้เขียนยังอยู่ในวัยเยาว์ บ้านพักอาศัยของผู้เขียนจะอยู่ในย่านสี่แยกราชเทวี ซึ่งที่สี่แยกนี้เองจะมีวงเวียนน้ำพุ ในช่วงค่ำคืนน้ำพุจะมีไฟหลากสีสันส่องสลับกันดูสวยงาม ซึ่งผู้คนจะพากันเรียกว่า “วงเวียนน้ำพุราชเทวี” เท่าที่จำความได้ในตอนนั้นช่วงบ่ายใกล้ค่ำคุณแม่จะทำกับข้าวใส่ชามให้พี่เลี้ยงพาผู้เขียนไปป้อนข้าว ซึ่งพี่เลี้ยงมักจะพาเราเดินไปตามถนนพญาไทเพื่อจะไปเล่นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งยุคนั้นถนนพญาไทจะมีต้นก้ามปูขึ้นเรียงรายดูร่มรื่นตลอดสองฝั่งถนน ซึ่งเป็นถนนลาดยางมะตอยมีทางรถยนต์วิ่งสวนไปมาแค่สองเลน ต้นก้ามปูใหญ่จะเริ่มมีตั้งแต่สี่แยกวงเวียนน้ำพุราชเทวี ไปจนถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สนามเป้า สะพานควาย วงเวียนบางเขน ไปจนถึงสนามบินดอนเมือง ซึ่งในตอนนั้นการจะเดินทางจากราชเทวีไปสนามบินดอนเมืองได้นั้นจะต้องไปตามเส้นทางถนนพหลโยธินเพียงเส้นทางเดียว และยังไม่มีถนนวิภาวดีรังสิตดังเช่นทุกวันนี้ สองข้างทางของถนนพญาไทนั้นจะเป็นคูน้ำใสและยังเคยได้เห็นชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ริมถนนได้ใช้น้ำในคูน้ำนี้ซักเสื้อผ้าล้างจานชามกันอยู่ริมถนน ส่วนที่บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์นั้นก็จะมีคูน้ำอยู่ด้านหน้าเช่นกัน และมักจะมีคนมานั่งตกปลาอยู่ด้านหน้า ด้วยเหตุที่กรุงเทพฯในตอนนั้นมีคูคลองอยู่เต็มไปหมด จึงได้รับการยกย่องจากชาวต่างชาติให้กรุงเทพฯ เป็น “เวนิสแห่งตะวันออก” ในยุคนั้นการเดินริมถนนเพื่อไปอนุสาวรีย์ชัยฯ นั้นไม่อันตรายเหมือนในสมัยนี้ เพราะถนนจะมีรถยนต์ใช้เส้นทางน้อยมาก ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลในสมัยนั้นแทบจะไม่มีรถยนต์ของญี่ปุ่นให้เราได้พบเห็น ส่วนมากจะเป็นรถยนต์ที่สร้างในประเทศทางแถบยุโรปเสียมากกว่า ส่วนรถประจำทางหรือรถเมล์นั้นก็จะใช้สีของรถยนต์เป็นสัญลักษณ์ เช่น รถเมล์ขาวจะวิ่งจากสนามหลวงไปที่สำโรง รถเมล์แดงจะวิ่งจากกระทรวงเศรษฐการ(กระทรวงพาณิชย์)ไปห้วยขวาง รถเมล์สีเทาจะวิ่งจากสนามหลวงไปดอนเมือง เป็นต้น เส้นทางเดินจากราชเทวีนั้นจะต้องผ่านวงเวียนศรีอยุธยา ผ่านกรมการสัตว์ทหารบก ก่อนจะมาถึงโรงพยาบาลหญิง ซึ่งปัจจุบันก็คือโรงพยาบาลราชวิถี ลักษณะของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในตอนนั้นจะตั้งอยู่ตรงกลางสี่แยกคล้ายวงเวียน จะมีรถยนต์ขับวิ่งอ้อมเพื่อไปตามแยกต่างๆ สมัยนั้นพี่เลี้ยงของผู้เขียนจะพาเดินข้ามไปเล่นที่รอบๆ อนุสาวรีย์ฯ ซึ่งยังไม่รั้วรอบขอบชิดเหมือนในปัจจุบัน การข้ามถนนไปนั้นก็ไม่อันตรายเพราะไม่มีรถสัญจรไปมาหนาแน่นเหมือนในสมัยนี้ เพราะส่วนใหญ่จะมีรถสามล้อถีบซึ่งเป็นสามล้อนั่งสาธารณะที่นิยมใช้กันมาก และเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะไม่รุนแรงเพราะใช้แรงคนถีบไม่มีเครื่องยนต์ และเมื่อผู้เขียนได้ผ่านไปที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิครั้งใด ก็มักจะนึกทบทวนถึงอดีตซึ่งแตกต่างจากในสมัยนี้โดยสิ้นเชิง และกรุงเทพฯในยุคนั้นสมกับคำกล่าวที่ว่า “กรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร” จริงๆ เพราะร่มรื่นปราศจากมลพิษทั้งทางเสียงและควันพิษ ต่อมาในยุคสมัยที่นายทหารระดับบิ๊กท่านหนึ่งซึ่งมียศเป็น “จอมพล” มีตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีจากการปฏิวัติและสืบทอดอำนาจมานานนับสิบปี และยังมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งให้ตัดต้นก้ามปูทิ้งตั้งแต่สี่แยกราชเทวีไปจนถึงสนามบินดอนเมืองนับร้อยต้น สาเหตุอันเนื่องมาจากที่ลูกชายของท่านรองนายกฯ ได้ขับรถยนต์เกิดอุบัติเหตุไปชนต้นก้ามปูจนเสียชีวิต จึงได้สั่งให้ตัดต้นก้ามปูที่มีลำต้นใหญ่ขนาด 2-3 คนโอบทิ้งทั้งหมด นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง และต่อมาจึงได้มีการถมคูคลองต่างๆ เพื่อขยายถนนหนทางให้กว้างขวางขึ้น ภาพของกรุงเทพฯ ที่มีแต่ความร่มรื่นด้วยต้นไม้จึงได้มลายหายไป คงเหลือไว้แต่ภาพถ่ายในอดีตและในความทรงจำของคนที่เกิดทันในยุคนั้น....
เมื่อก่อนก็เคยคิดอยากให้ กทม. เอาต้นไม้ใหญ่มาปลูกริมทางในเมืองหลวงเยอะๆ เหมือนในอดีต แต่ก็เห็นมีการตัดโค่นขยาย ถนน รื้อถอน ก่อสร้างตึกกันอยู่ตลอดเวลา ต้นไม้ใหญ่-น้อย ก็ถูกรื้อถอนอยู่ตลอด... แต่ในช่วงเวลานี้ เรากำหนดพื้นที่สงวน กันไว้ได้หลายแห่งแล้ว พื้นที่ที่จะไม่ขยายถนน หรือรื้อถอนสิ่งก่อสร้างอีกแล้ว ก็น่าจะเอาต้นไม้ใหญ่กลับมาปลูกได้อีก... ... ฝากถึง คุณชายหมู ด้วยขอรับ
จอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกฯ สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี จอมพลประภาสฯ สั่งให้ตัดต้นก้ามปู หรือต้นจามจุรี เนื่องจากลูกชายขับรถไปชนต้นก้ามปูและเสียชีวิต
บรรยากาศ ต้นก้ามปูใหญ่และมีคูคลองอยู่ด้านหน้าอาคาร เท่าที่ยังคงหลงเหลือน่าจะเป็นซอยสมคิดหลังเซ็นทรัลชิดลม และอีกที่คือถนนวิทยุ ต้นก้ามปูเป็นไม้เปราะ หักง่ายและหากปลวงกินเป็นโพรงก็ยืนต้นตาย อ่านแล้วเห็นภาพในอดีตของราชเทวีเลย เขาว่ามีน้ำพุสวยก่อนเป็นสี่แยก แต่ไม่รู้เป็นวงเวียนแต่เดิมไหมจำไม่ได้ว่าทันได้เห็นไหม แต่วงเวียนปทุมวันนี้ได้ทันเห็น จำได้ว่าตรงมาบุญครอง แถวนั้นมีโรงเรียน อะไรสักโรง จำไม่ได้เพราะเด็กมากๆ
ขอโทษครับที่ไม่ได้แปะลิ๊งค์ เอาฉบับเต็มมาให้อ่านอีกรอบ .. อนุสาวรีย์ชัยฯ แต่ก่อนเป็นอย่างไร .. สวัสดีครับ..ท่านผู้อ่านทุกท่าน..คอลัมน์ “ถามมา ตอบไป” ก็กลับมาพบกับทุกท่านอีกครั้งเป็นการเฉพาะกิจ สาเหตุก็เนื่องมาจากได้มีแฟนนิตยสาร “ชีวิตต้องสู้” ท่านหนึ่งนั่นก็คือ “คุณสุทธาสินี ลำภาษี” ได้สอบถามมายังเว็บไซต์ “ไลฟ์นิวส์ออนไลน์ดอทคอม” ว่า อยากจะทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ“อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” ในสมัยก่อนแต่ละช่วงว่ามีลักษณะความเป็นมาอย่างไร พอเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องเก่าๆ ย้อนอดีตแบบนี้ ท่านบก.ก็เลยยกหน้าที่นี้ให้กับ “โก๋แก่” ในฐานะที่มีอาวุโส(แก่)ที่สุดในกองบรรณาธิการเป็นผู้ไขข้อข้องใจให้กับคุณสุทธาสินี ในเมื่อได้รับเกียรติแกมบังคับแบบนี้มีหรือที่คนอย่างนายโก๋แก่จะปฏิเสธได้ ก็เลยต้องขอรื้อฟื้นคอลัมน์นี้กลับมาอีกครั้งเป็นการเฉพาะกิจในฉบับนี้..! ก่อนอื่นนั้นคงต้องขอกล่าวถึงที่มาที่ไปของเรื่องนี้กันพอเป็นกระษัย “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ”สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเทิดทูนวีรกรรมของบรรดา ทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่สละชีพเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทยในกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ถึง 59 คน หลังจากนั้นจึงได้มีการริเริ่มที่จะสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้น โดยมี“พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา” เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2484 และท่าน“จอมพล ป.พิบูลสงคราม” ได้เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2485 โดยมีสถาปนิกผู้ออกแบบคือ “หม่อมหลวง ปุ่ม มาลากุล” และมีศิลปินผู้ปั้นและก่อสร้างงานนี้ก็คือ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ, นายอนุวัตร แสงเดือน, นายพิมาณ มูลประสุข, นายแช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมดูแลของ“ศ.ศิลป์ พีระศรี” สถานที่ตั้งของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั้นจะตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี ถนนพญาไท และถนนราชปรารภ ซึ่งแต่ก่อนนั้นบริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า “สี่แยกสนามเป้า” เมื่อเวลาผ่านมาได้มีการจารึกรายนามเพิ่มเติมอีกเป็น 160 คน มีทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจ 12 นาย ปัจจุบันมีรายชื่อเพิ่มจาก พ.ศ.2483-2497 รวม 801 นาย ย้อนอดีตไปเมื่อประมาณกว่า 60 ปีที่ผ่านมา ในสมัยที่ผู้เขียนยังอยู่ในวัยเยาว์ บ้านพักอาศัยของผู้เขียนจะอยู่ในย่านสี่แยกราชเทวี ซึ่งที่สี่แยกนี้เองจะมีวงเวียนน้ำพุ ในช่วงค่ำคืนน้ำพุจะมีไฟหลากสีสันส่องสลับกันดูสวยงาม ซึ่งผู้คนจะพากันเรียกว่า “วงเวียนน้ำพุราชเทวี” เท่าที่จำความได้ในตอนนั้นช่วงบ่ายใกล้ค่ำคุณแม่จะทำกับข้าวใส่ชามให้พี่เลี้ยงพาผู้เขียนไปป้อนข้าว ซึ่งพี่เลี้ยงมักจะพาเราเดินไปตามถนนพญาไทเพื่อจะไปเล่นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งยุคนั้นถนนพญาไทจะมีต้นก้ามปูขึ้นเรียงรายดูร่มรื่นตลอดสองฝั่งถนน ซึ่งเป็นถนนลาดยางมะตอยมีทางรถยนต์วิ่งสวนไปมาแค่สองเลน ต้นก้ามปูใหญ่จะเริ่มมีตั้งแต่สี่แยกวงเวียนน้ำพุราชเทวี ไปจนถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สนามเป้า สะพานควาย วงเวียนบางเขน ไปจนถึงสนามบินดอนเมือง ซึ่งในตอนนั้นการจะเดินทางจากราชเทวีไปสนามบินดอนเมืองได้นั้นจะต้องไปตามเส้นทางถนนพหลโยธินเพียงเส้นทางเดียว และยังไม่มีถนนวิภาวดีรังสิตดังเช่นทุกวันนี้ สองข้างทางของถนนพญาไทนั้นจะเป็นคูน้ำใสและยังเคยได้เห็นชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ริมถนนได้ใช้น้ำในคูน้ำนี้ซักเสื้อผ้าล้างจานชามกันอยู่ริมถนน ส่วนที่บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์นั้นก็จะมีคูน้ำอยู่ด้านหน้าเช่นกัน และมักจะมีคนมานั่งตกปลาอยู่ด้านหน้า ด้วยเหตุที่กรุงเทพฯในตอนนั้นมีคูคลองอยู่เต็มไปหมด จึงได้รับการยกย่องจากชาวต่างชาติให้กรุงเทพฯ เป็น “เวนิสแห่งตะวันออก” ในยุคนั้นการเดินริมถนนเพื่อไปอนุสาวรีย์ชัยฯ นั้นไม่อันตรายเหมือนในสมัยนี้ เพราะถนนจะมีรถยนต์ใช้เส้นทางน้อยมาก ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลในสมัยนั้นแทบจะไม่มีรถยนต์ของญี่ปุ่นให้เราได้พบเห็น ส่วนมากจะเป็นรถยนต์ที่สร้างในประเทศทางแถบยุโรปเสียมากกว่า ส่วนรถประจำทางหรือรถเมล์นั้นก็จะใช้สีของรถยนต์เป็นสัญลักษณ์ เช่น รถเมล์ขาวจะวิ่งจากสนามหลวงไปที่สำโรง รถเมล์แดงจะวิ่งจากกระทรวงเศรษฐการ(กระทรวงพาณิชย์)ไปห้วยขวาง รถเมล์สีเทาจะวิ่งจากสนามหลวงไปดอนเมือง เป็นต้น เส้นทางเดินจากราชเทวีนั้นจะต้องผ่านวงเวียนศรีอยุธยา ผ่านกรมการสัตว์ทหารบก ก่อนจะมาถึงโรงพยาบาลหญิง ซึ่งปัจจุบันก็คือโรงพยาบาลราชวิถี ลักษณะของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในตอนนั้นจะตั้งอยู่ตรงกลางสี่แยกคล้ายวงเวียน จะมีรถยนต์ขับวิ่งอ้อมเพื่อไปตามแยกต่างๆ สมัยนั้นพี่เลี้ยงของผู้เขียนจะพาเดินข้ามไปเล่นที่รอบๆ อนุสาวรีย์ฯ ซึ่งยังไม่รั้วรอบขอบชิดเหมือนในปัจจุบัน การข้ามถนนไปนั้นก็ไม่อันตรายเพราะไม่มีรถสัญจรไปมาหนาแน่นเหมือนในสมัยนี้ เพราะส่วนใหญ่จะมีรถสามล้อถีบซึ่งเป็นสามล้อนั่งสาธารณะที่นิยมใช้กันมาก และเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะไม่รุนแรงเพราะใช้แรงคนถีบไม่มีเครื่องยนต์ และเมื่อผู้เขียนได้ผ่านไปที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิครั้งใด ก็มักจะนึกทบทวนถึงอดีตซึ่งแตกต่างจากในสมัยนี้โดยสิ้นเชิง และกรุงเทพฯในยุคนั้นสมกับคำกล่าวที่ว่า “กรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร” จริงๆ เพราะร่มรื่นปราศจากมลพิษทั้งทางเสียงและควันพิษ ต่อมาในยุคสมัยที่นายทหารระดับบิ๊กท่านหนึ่งซึ่งมียศเป็น “จอมพล” มีตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีจากการปฏิวัติและสืบทอดอำนาจมานานนับสิบปี และยังมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งให้ตัดต้นก้ามปูทิ้งตั้งแต่สี่แยกราชเทวีไปจนถึงสนามบินดอนเมืองนับร้อยต้น สาเหตุอันเนื่องมาจากที่ลูกชายของท่านรองนายกฯ ได้ขับรถยนต์เกิดอุบัติเหตุไปชนต้นก้ามปูจนเสียชีวิต จึงได้สั่งให้ตัดต้นก้ามปูที่มีลำต้นใหญ่ขนาด 2-3 คนโอบทิ้งทั้งหมด นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง และต่อมาจึงได้มีการถมคูคลองต่างๆ เพื่อขยายถนนหนทางให้กว้างขวางขึ้น ภาพของกรุงเทพฯ ที่มีแต่ความร่มรื่นด้วยต้นไม้จึงได้มลายหายไป คงเหลือไว้แต่ภาพถ่ายในอดีตและในความทรงจำของคนที่เกิดทันในยุคนั้น
และถ้าพูดถึงเรื่องของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แล้วไม่ได้พูดถึง “ก๋วยเตี๋ยวเรืออนุสาวรีย์ฯ” ก็คงจะขาดๆ เกินๆ ไปสักหน่อย ผู้เขียนก็เลยจะขอเล่าแถมให้อีกสักนิด เอาเป็นช่วงที่อยู่ในชีวิตจริงของผู้เขียนที่ได้สัมผัสมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513-2514 ซึ่งในยุคนั้นผู้คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันแค่“ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต” ที่ขายกันอยู่ริมคลองรังสิต และ “ก๋วยเตี๋ยวเรืออนุสาวรีย์” ที่ขายกันอยู่ในคลองสามเสนบริเวณต้นถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นถนนที่มีความยาวเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ตรงบริเวณนี้ แต่ไปสิ้นสุดปลายทางไกลถึงจังหวัดเชียงราย ในสมัยที่ผู้เขียนเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ. 3) ที่ “โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง” ซึ่งปัจจุบันก็คือ “โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย” พอถึงเวลาเลิกเรียนตอนบ่ายผู้เขียนกับพลพรรคที่สนิทสนมกันประมาณ 4-5 คน ก็จะพากันเดินจากโรงเรียนเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับบ้านที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และเกือบจะทุกวันที่ไปก็มักจะต้องแวะกินก๋วยเตี๋ยวเรือกันก่อนที่จะกลับบ้าน ซึ่งคลองที่เรือจอดขายอยู่นั้นจะมีชื่อเรียกว่า “คลองสามเสน” เป็นคลองสาขาออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณใกล้กับโรงพยาบาลวชิระในย่านถนนสามเสน คลองสามเสนในสมัยนั้นน้ำคลองจะไม่ดำและส่งกลิ่นเหม็นเหมือนในปัจจุบัน เรือที่มาขายก๋วยเตี๋ยวจะเป็นเรือพายลำเล็กๆ ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าจะพายมาจอดริมคลอง โดยจะใช้หัวเรือเสียบเข้าริมฝั่งจอดเรียงรายกันมากมายหลายสิบลำ มีให้เลือกสั่งทั้งก๋วยเตี๋ยวหมูและก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัว ที่ริมคลองนั้นเขาจะใช้ไม้กระดานต่อยื่นออกมาเล็กน้อยเหมือนทางเดินริมคลอง ไม่มีโต๊ะหรือเก้าอี้ให้นั่งจะมีแค่ม้านั่งตัวเล็กๆ หรือจะเรียกว่านั่งแบบยองๆ เหลาก็ว่าได้ โต๊ะนั้นก็ไม่มีต้องใช้มือถือชามและใช้ตะเกียบโซ้ยเส้นก๋วยเตี๋ยวเข้าปาก ซึ่งในยุคนั้นเขาจะขายแค่ชามละ 50 สตางค์ จึงมีผู้คนแวะมาทานกันแน่นขนัดทุกวัน จนบางครั้งต้องยืนรอเล่นเก้าอี้ดนตรีกันอยู่สักพักถึงจะมีที่ว่างให้เราได้นั่ง และจากการที่ต้องยืนรอนานนี้เองเพื่อให้คุ้มค่ากับการรอคอย คนส่วนใหญ่จึงพากันสั่งทีละหลายๆ ชามสำรองไว้เพื่อความต่อเนื่องในการรับประทาน พูดถึงเรื่องการสั่งก๋วยเตี๋ยวแล้วก็เลยทำให้นึกถึงเมื่อครั้งที่ผู้เขียนเป็นวัยรุ่นสุดซ่าในช่วงนั้น ก็อย่างที่บอกกล่าวกันไปแล้วว่า ผู้เขียนกับเพื่อนๆ มักจะพากันเดินไปที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิกันแทบทุกวัน และจะแวะกินก๋วยเตี๋ยวเรือกันอยู่เป็นเนืองนิจ จนมีอยู่วันหนึ่งก็ได้มีการท้าทายและและต่อรองกันว่า ไอ้การที่จะมานั่งโซ้ยก๋วยเตี๋ยวกันแบบเดิมๆ ทุกวี่ทุกวันนั้นมันก็ไม่มีอะไรที่แปลกใหม่ชวนให้ตื่นเต้น เพื่อนทุกในกลุ่มก็เลยลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าวันนี้เราจะมาแข่งขันกินก๋วยเตี๋ยวเรือให้รู้กันไปเลยว่าใครจะได้ครองตำแหน่งชูชกประจำกลุ่ม แต่มีข้อแม้ว่า..ใครที่กินได้น้อยที่สุดคนนั้นต้องเป็นคนจ่ายเงิน..แหมมันช่างยุติธรรมดีแท้..กินมากแต่ไม่ต้องจ่าย เพื่อนๆ ทุกคนต่างก็รักษาเหลี่ยมของตัวเองเอาไว้ต่างคนต่างกลัวว่าถ้าไม่รับคำท้าเดี๋ยวเพื่อนพ้องจะหาว่า..ไม่แน่จริง ทุกคนจึงต้องยอมรับคำท้ารวมทั้งตัวผู้เขียนเองด้วย ว่าแล้วทุกคนก็เข้านั่งประจำที่ การแข่งขันในครั้งนี้ไม่มีเวลาเป็นตัวกำหนด อยู่ที่ใครจะกินได้มากหรือน้อยกว่าใครอย่างต่อเนื่องไม่มีเบรกหรือขอเวลานอกแต่อย่างใด ว่าแล้วก๋วยเตี๋ยวชามแรกก็ส่งถึงมือของทุกคนโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือก๋วยเตี๋ยวหมู..มีข้อห้ามเพียงอย่างเดียวคือห้ามกินเกาเหลาเพราะไม่มีเส้นจะเป็นการเอาเปรียบคู่ต่อสู้ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณสักห้านาที ชามก๋วยเตี๋ยวเปล่าๆ ที่มีคราบก๋วยเตี๋ยวติดอยู่ก้นชามที่พอจะยืนยันได้ว่าไม่ได้เอาชามเปล่ามาหลอกลวงกัน ผู้เขียนกวาดสายตาไปทางด้านซ้ายและขวาเห็นพวกเพื่อนๆ มันเริ่มจะมีชามวางอยู่ข้างๆ ตัวคนละ 4-5 ชามกันแล้ว แต่ตัวเราเองยังมีอยู่แค่สามชามรวมในมือด้วยก็เป็นสี่ เมื่อเวลาผ่านเลยไปประมาณ 15 นาที สปีดในการกินของแต่ละคนเริ่มแผ่วลงไปเรื่อยๆ พอทุกคนสรุปว่ากินต่อไปไม่ไหวแล้ว ก็เริ่มนับจำนวนชามเพื่อเป็นการเก็บคะแนน ปรากฏว่าพวกมันกินกันยังกับยัดทะนานแต่ละคนมันกินได้ไม่ต่ำกว่า 10 ชาม คนที่ชนะเลิศครองแชมป์ชูชกมันกินได้ 16 ชาม ส่วนตัวผู้เขียนเองนั้นน้อยสุดกินได้แค่ 8 ชาม คะแนนห่างกันครึ่งต่อครึ่ง ก็เลยต้องล้วงกระเป๋าควักเงินจ่ายค่าก๋วยเตี๋ยวทั้งหมดไปแบบไม่ค่อยจะเต็มใจสักเท่าไร..แล้วก็คิดอยู่ในใจไม่ให้ใครได้ยินว่า..ซวยฉิบ..กินก็นิดเดียวดันต้องมาจ่ายเงินอีก..ไม่ยุติธรรมเลยนี่หว่า สรุปวันนั้นผู้เขียนต้องจ่ายเงินไปหลายสิบบาท พอจ่ายค่าก๋วยเตี๋ยวเสร็จสรรพจึงหันมาพูดกับพวกมันว่า เงินรายอาทิตย์ที่พ่อแม่กูให้มามันลงไปอยู่ในท้องพวกมึงหมดแล้ว ทีนี้พวกมึงคนใดคนหนึ่งต้องเป็นคนจ่ายเงินค่ารถเมล์ให้กูกลับบ้าน แล้วก็พวกมึงคนใดคนหนึ่งอีกเช่นกันต้องจ่ายค่าข้าวกลางวันที่เหลืออีก 4 วันให้กูด้วยไม่งั้นกูมาเรียนไม่ได้ และถ้าไม่จ่ายก็เท่ากับว่าพวกมึงเป็นเพื่อนกินไม่ใช่เพื่อนตาย..เพราะมึงกินเงินกูไปหมดแล้ว เจอไม้นี้เข้าพวกมันถึงรีบพยักหน้ารับคำอย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก..ผมรู้..! และนี่ก็คือเรื่องราวความเป็นมาของ “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” และเรื่องจริงของผู้เขียนที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานที่แห่งนั้นครับ “คุณสุทธาสินี”
สมัยก่อนราวปี พศ 2508 ที่ทำงานอยู่ถนนสีลม ใกล้ป่าช้าฝรั่ง บ้านอยู่ฝั่งธนฯ ขึ้นรถเมล์สีเหลืองมาลงที่หน้า สถานเสาวภา หรือ หน้า รพ จุฬาฯ ไม่แน่ใจ เดินข้ามถนนผ่านโรงแรมมณเฑียร เดินผ่านพัฒน์พงศ์ พ้นออกมาจะเจอถนนสีลม ทางขวามือเป็น รพ กรุงเทพคริสเตียน ตอนเช้าถนนสีลมยังสงบ พบคนเดินไปทำงานไม่กี่คน ซึ่งแตกต่างกับถนนสีลมสมัยนี้มาก
ถึงไม่สั่งตัดตอนนั้นยังไงก็คงต้องตัด ที่เชียงใหม่เองถนนสายแม่ริม สองข้างก็เป็นก้ามปูเหมือนกัน ตัดทิ้งเพื่อขยายถนน ต้นก้ามปูเองมีกิ่งที่เปราะมากหักง่าย สนับสนุน เราควรจะปลูกไม้ใหญ่ ที่คัดสรรชนิดที่เหมาะสมที่สุด