สปช.มีมติ 130 ต่อ 79 คะแนน ไม่เห็นด้วยข้อเสนอคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมาก ให้เดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21… เมื่อวันที่ 13 ม.ค. มีรายงานว่า ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครั้งที่ 4/2557 ได้พิจารณาศึกษาเรื่องการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากเป็นผู้เสนอ โดยได้ดำเนินการประชุม และอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่เวลา 10.00 น. กระทั่งเวลา 19.32 น. ได้มีการลงคะแนน โดยมี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม ขณะที่นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน แถลงผลการศึกษาว่า ผลการพิจารณาสรุปเป็น 3 แนวทาง คือ 1.ให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบสัมปทาน ไทยแลนด์ทรี พลัส ตามแผนงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2.ยกเลิกการใช้ระบบสัมปทาน ในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 และนำระบบแบ่งปันผลผลิต และ 3.ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี พลัส และให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการศึกษาและเตรียมการให้มีระบบแบ่งปันผลผลิตที่ เหมาะสมกับศักยภาพของการผลิตปิโตรเลียมให้พร้อมไว้เพื่อเป็นทางเลือก แล้ให้รัฐบาลตัดสินใจในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นหลัก จึงมีมติเสนอทางเลือกที่ 3 ต่อที่ประชุมสปช.เพื่อพิจารณาเสนอ ครม.ต่อไป จากนั้น ที่ประชุมได้มีการลงมติ โดยสมาชิกสปช. ส่วนใหญ่ มีมติไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมาก ที่จะให้มีการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ด้วยคะแนน 130 ต่อ 79 คะแนน งดออกเสียง 21 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 230 คน ส่วนการเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่องจะทำอย่างไร ให้ประเทศไทยมีกลไกป้องกันและขจัดความทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีประสิทธิภาพ ยกไว้พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ก่อนที่ น.ส.ทัศนา สั่งปิดประชุมในเวลา 19.33 น.
ด้วยมารยาท (ที่ไม่รู้จะมีกันหรือเปล่า) นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน รวมทั้งกรรมธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากทุกคน ที่พยายามดันทุรังให้เปิด สำ-ปะ-ทาน ในครั้งนี้ให้ได้ ควรพิจารณาตัวลาออกจากตำแหน่งกรรมาธิการซะ เพราะข้อเสนอทั้ง 3 ทาง มันคือเส้นทางเดียวคือ การดันทุรังให้เปิดสัมปทานเดี๋ยวนี้ แทนที่จะมีทางเลือกที่ 4 อาทิเช่น ให้เลื่อนเปิดไปอีก 6 เดือน เพื่อพิจารณาศึกษาผลประโยชน์ระหว่าง ไทยแลนด์ทรี พลัส กับ ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือทางเลือกที่ 5 ให้ทดลองทั้ง 2 ระบบพร้อมกันเพื่อดูว่าระบบไหนให้ผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่ากัน สังคมไทย คนไทย ต้องร่วมกันผลักดันเรื่องจรรยาบรรณ จริยธรรม และคุณธรรม ตั้งแต่ตอนเป็น สนช. สปช. แบบนี้แหละ ถ้าตอนนี้ยังไม่ตื่นตัวเรียกร้อง ก็ยากที่จะหวังให้นักการเมืองในอนาคตมีสปิริตได้ เพราะฉะนั้น สนช. สปช. ควรทำตัวเป็น แบบอย่างที่ดีในการปฏิรูปการเมืองไทย ณ บัดนี้ ด้วยครับ
ช้อยส์นี่มัน ?.$#&* 1. ลุย -ตามแผนเดิม 2. ลุย -เปลี่ยนระบบ 3. ลุย -ระบบเดิมไปพลาง &ศึกษาเพิ่มเผื่อไว้ใช้คราวหลัง แต่ งดออกเสียง 21 >>>ไอ้พวกนี้มันยังไง คำถามคือ"จะเอาเดี๋ยวนี้ไหม?" ถ้าเห็นด้วยแน่ใจแล้วก็ตอบ'เอา' ถ้าไม่เห็นด้วยก็ตอบ'ไม่เอา' ถ้ายังไม่แน่ใจก็คือ'ยัง'ไม่เอา แต่ดันโผล่มา"หนูไม่รู้"
ตกลงว่ากระทรวงพลังงานต้องดูแลปกป้องด้านพลังงานของประเทศหรือว่าต้องดูแลกลุ่มทุนพลังงาน นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงานและสมาชิกสภาปฎิรูปด้านพลังงาน หรือ สปช. กล่าวว่า มติของ สปช.วานนี้ ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของคณะทำงาน สปช.ด้านพลังงาน และให้ส่งรายงานต่อคณะรัฐมนตรีนั้น ในส่วนกระทรวงพลังงานพร้อมเดินหน้าตามรัฐบาล แต่เห็นว่าสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ควรเปิดที่ประกาศไปแล้ว เพราะว่าเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากแหล่งก๊าซที่พิสูจน์แล้วในไทยจะหมดในอีกไม่ถึง 7 ปี และศักยภาพแหล่งปิโตรเลียมของไทยไม่สมบูรณ์มากนัก หากเสนอผลประโยชน์และสูงเกินไป จะไม่จูงใจในการลงทุน สุดท้ายจะกระทบต่อประชาชน หากไม่มีการลงทุนก็ต้องนำก๊าซเข้ามาทั้งหมด กระทบกับค่าไฟฟ้า นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ในขณะนี้การเปิดสัมปทานรอบ 21 ยังเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โดยจะปิดรับข้อเสนอในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เช่นเดิม ซึ่งจะมีการยื่นขอมากน้อยแค่ไหน คงจะต้องรอดูช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนปิดรับข้อเสนอ ทั้งนี้ สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 จะเปิดให้สำรวจแปลงสัมปทาน 29 แปลงด้วยกัน เป็นแปลงบนบก 23 แปลง แปลงในทะเลอ่าวไทย 6 แปลง http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000004916
ต้องประชาธิปไตยแบบ ควาย ๆ แดง กรรมาธิการเสนอมาอย่างไร ก็ต้องโหวดผ่านหมด สติปัญญาไม่ต้องใช้คิดกัน อันนี้ สิ ถึงเรียกว่าเป็น เจตนารมณ์ ประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่ ในกรรมาธิการ โดยหลักแล้วเป็นรัฐบาล พอเอาเข้ามาในสภา ที่เป็นสส.รัฐบาลส่วนใหญ่ มันก็ผ่าน เพราะ สส. ไทย เป็นควายกันหมดแล้ว คิดเองไม่เป็น ไม่ต้องรอให้มีคนกระตุกจมูกก่อน แต่อันนี้ สมาชิก สนช. เค้ารู้จักคิดเอง ตัดสินใจเอง ไม่ได้โง่เป็นควาย มันก็เกิดเหตุการณ์แบบนี้นี้ได้เป็นเรื่องที่ควรอยู่แล้ว เพราะ สภามีหน้าที่กลั่นกรอง ตรวจสอบ กฏหมาย ไม่ใช่รอให้เค้ากระตุกปาก ดูแบบ พรบ. นิรโทษกรรม สมัยรัฐบาลอีโง่ดิ...ใหม่ ๆ ก็หนุนกัน แถก ๆ มุด ๆ ไปเรื่อย พอนายสั่งถอย มันถอย ไม่ต้องมีเหตุผล อันนนั้นแหละควายแท้ ๆ เลย