ศาลฎีกา 19 เม.ย. - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้อง คดีทุจริตโครงการระบายข้าวแบบจีทูจี ของอดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ กับพวกรวม 21 คน นัดพิจารณาคดีครั้งแรก 29 มิถุนายนนี้ องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 9 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ รับฟ้องคดีทุจริตโครงการระบายข้าว ที่นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำเลยที่ 1 , นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำเลยที่ 2 กับพวกอีก 19 คน ฐานทุจริตโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี คดีครบองค์ประกอบความผิด และอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลฎีกา จึงประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยนัดแรกนัดตรวจพยานหลักฐานทั้ง 2 ฝ่าย 29 มิถุนายนนี้. –สำนักข่าวไทย
เพิ่งรู้ว่ามีการแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่ควรแก้ไขอีกเยอะ กรณีคดีคอร์รัปชั่น ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ เมื่อปี 2554 ในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เคยแก้กฎหมายเกี่ยวกับอายุความของการคอร์รัปชั่นมาก่อนแล้ว โดยเพิ่มมมาตรา 74/1 ในพ.ร.บ.ป.ป.ช. ที่กำหนดว่า “มาตรา ๗๔/๑ ในการดําเนินคดีอาญาตามหมวดนี้ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่างถูกดําเนินคดี มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ” เท่ากับว่าปัจจุบันการดำเนินคดีกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แม้จะมีการหลบหนีระหว่างดำเนินคดีไม่ว่าจะหลบหนีไปนานเท่าใด คดีก็ไม่มีวันขาดอายุความ เมื่อใดที่จับตัวได้ก็สามารถนำมาดำเนินคดีได้เสมอ น่าสงสัยว่าเหตุใดการแก้ไขกฎหมายในปี 2554 ถึงไม่รวมกรณีที่ศาลตัดสินว่ามีความผิดแล้วแต่จำเลยหลบหนี ให้ไม่มีการนับอายุความระหว่างการหลบหนีเข้าไปด้วย หมายเหตุ กรณี “คดีที่ดินรัชดา” ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่หลบหนีจากความผิดที่ศาลตัดสินให้จำคุก 2 ปี นั้น เป็นกรณีที่ศาลตัดสินและคดีถึงที่สุดแล้วไม่ใช่กรณีหลบหนีระหว่างดำเนินคดีจึงไม่ใช่กรณีตามพ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตรา 74/1 แต่เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 98(3) ที่กำหนดให้มีอายุความ 10 ปีนับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาจนถึงวันที่นำตัวมาลงโทษได้ http://ilaw.or.th/node/3024
นายภัทรศักดิ์(เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม) กล่าวว่า ประเด็นที่ 3 ร่างมาตรา 240 เกี่ยวกับอำนาจพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา และการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้องที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้การพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ในศาลฎีกา แต่ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ของสหประชาชาติ ได้กำหนดให้ผู้ต้องคดีมีสิทธิอุทธรณ์ได้อย่างน้อย 1 ชั้นศาล ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงตั้งข้อสังเกตการณ์ยื่นอุทธรณ์ว่า เดิมรัฐธรรมนูญ 50 กำหนดให้ผู้ต้องคดีสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ในประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องปรากฏว่าเป็นหลักฐานใหม่ และมีสาระสำคัญในการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้ภายใน 30 วัน ก็น่าจะเป็นการกำหนดที่มีข้อจำกัดเกินไป จึงเห็นควรว่าการยื่นอุทธรณ์น่าจะใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการอุทธรณ์ในคดีทั่วไป คือ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยไม่ต้องถึงขนาดมีหลักฐานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ แต่ผู้ต้องคดีที่ต้องการยื่นอุทธรณ์ไม่ว่าตัวจะอยู่ในประเทศหรือหลบหนีไปต่างประเทศจะต้องมายื่นอุทธรณ์ด้วยตัวเอง
คุณเสียดายโอกาสของคนไทยบ้างไหมครับ แทนที่จะมุ่งหาช่องทางพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น แต่กลับต้องมาวุ่นวาย หาช่องทางไม่ให้คนโกงลอยนวล หรือสร้างเกราะป้องกันคนขี้โกง เสียทั้งเวลา เสียทั้งงบประมาณ เพราะมีตัวเอี้ยๆ ปะปนอยู่ในประเทศอยู่แค่ไม่กี่ตัว
รัฐสภา 21 เม.ย. – วิป สนช.กำหนดวันลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ และนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ก.พาณิชย์ กรณีถูกกล่าวหากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ในโครงการรับจำนำข้าว โดยกำหนดวันซักถาม 30 เมษายนนี้ แถลงปิดสำนวนคดีวันที่ 7 พฤษภาคม และลงมติในวันที่ 8 พฤษภาคม. – สำนักข่าวไทย