วีรพงษ์ รามางกูร

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย kokkai, 4 Feb 2016

  1. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    วิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน
    28 มกราคม 2016 โดย blogger [อ่าน 30 คน , ยังไม่มีความเห็น , ID]
    1-9.jpg

    โดย วีรพงษ์ รามางกูร

    ทั่วโลกต่างก็ติดตามความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ หลังจากราคาลดต่ำลงกว่า 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล การดิ่งลงของราคาน้ำมันดิบเป็นไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 เป็นต้นมา คาดกันว่าราคาคงจะลดลงไปอีก บางสำนักก็ทำนายว่าจะลงไปถึง 20 เหรียญ ข่าวดังกล่าวสร้างความตระหนกตกใจและทำให้เกิดความผันผวนทั่วกันไปหมด กลายเป็นวิกฤตการณ์น้ำมันขาลง กลับกันกับวิกฤตการณ์น้ำมันขาขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน
    ที่จะเห็นชัดโดยตรงก็คือ ราคาสินค้าเกษตร เช่น ยางพาราและธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย และน้ำตาล การปรับตัวสำหรับพืชล้มลุกอาจจะทำได้ง่ายกว่า แต่พืชยืนต้น เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ปัญหาคงจะหนักและเกิดขึ้นเร็ว ถ้าการตกต่ำของราคายืดเยื้อต่อไปเป็นเวลานาน นโยบายสินค้าเกษตรควรจะเป็นอย่างไร การใช้วิธีชดเชยราคาโดยไม่มีการจำกัดปริมาณการผลิต โดยใช้ภาษีอากรของคนทั้งประเทศ ควรทำเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น แต่จะทำเป็นการถาวรคงเป็นไปไม่ได้

    การพัฒนาอุตสาหกรรมใช้ยางภายในประเทศ โดยหน่วยงานของรัฐก็จะยิ่งสร้างปัญหาในการสูญเสียงบประมาณมากยิ่งขึ้น เพราะเท่ากับเอาภาษีอากรของคนไทยไปช่วยอุดหนุนผู้ใช้สินค้ายางพาราในต่างประเทศ
    http://chaoprayanews.com/blog/article/2016/01/28/วิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน/
    ------------------------------------------------------------------------------------
    ข้อสงสัยของผมก็คือ
    ***การพัฒนาเพื่อใช้ยางภายในประเทศ ยิ่งสร้างปัญหาสูญเสียงบประมาณ
    ความคิดผมก็คือ เรื่องนี้เราควรทำมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่งมโข่งส่งออกเป็นวัตถุดิบมาตลอด
    และควรทำกับสินค้าเกษตรทุกตัวด้วย
    ***เพราะเท่ากับเอาภาษีอากรของคนไทยไปช่วยอุดหนุนผู้ใช้สินค้ายางพาราในต่างประเทศ
    ผมงงว่า การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเอง มันไปอุดหนุนต่างประเทศอย่างไร

    ใครที่รู้ลึก รู้จริง ช่วยอธิบายความหมายของ ดร.โกร่ง ให้เข้าใจทีเหอะ :rolleyes:
     
  2. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    555
    ขำความคิดที่ออกจากปากโกร่งมากเลย
    "ถ้าการตกต่ำของราคายืดเยื้อต่อไปเป็นเวลานาน นโยบายสินค้าเกษตรควรจะเป็นอย่างไร การใช้วิธีชดเชยราคาโดยไม่มีการจำกัดปริมาณการผลิต โดยใช้ภาษีอากรของคนทั้งประเทศ ควรทำเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น แต่จะทำเป็นการถาวรคงเป็นไปไม่ได้"
     
  3. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    คงหมายถึง"รับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ด" :p
     
  4. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    อดีตนักการเมืองบางคน ความคิดความอ่านไปไม่ไหวแล้ว
    สมควรวางมือไปเลี้ยงหลานมากกว่า
     
    Last edited: 4 Feb 2016
    IndyDekdee, อาวุโสโอเค, AlbertEinsteins และอีก 1 คน ถูกใจ.
  5. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    คนทำข่าวพิมพ์เกินหรือเปล่า

    เอาภาษีอากรของคนไทยไปช่วยอุดหนุนผู้ใช้สินค้ายางพาราในประเทศ แต่คนพิมพ์ข่าวเพลินไปหน่อย เติมคำว่า ต่าง ลงไป เลยกลายเป็น ในต่างประเทศไปเลย

    แต่จะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ตาม ผมก็ยังมองไม่ออกเหมือนกันว่า ผู้ใช้สินค้ายางพารา ได้รับการอุดหนุนจากภาษีอากรของคนไทยแบบไหน เพราะคำว่าผู้ใช้สินค้านี่มันหมายถึงผู้บริโภคแล้วนะ แกจะหมายถึงผู้ผลิตที่นำยางพาราไปใช้ผลิตสินค้าหรือเปล่าที่ได้รับการอุดหนุน แต่เท่าที่ฟังนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้ ก็ไม่เห็นว่าเอาภาษีไปช่วยผู้ผลิต มีแต่หาแหล่งเงินกู้ให้ ที่เขาช่วยจริง ๆ ก็เห็นมีแต่เกษตรกรเท่านั้น
     
  6. ทองเค

    ทองเค อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    25 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,875
    เรื่องยาง ถ้าพูดตรงๆ ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ รีไซต์เคิล ได้
    ถ้าพูดหัวชนกำแพงว่า ต้องมีคนซื้อ และตลาดรองรับ ตลอดกาล คงเป็นไปไม่ได้
    ธรรมชาติ ในการ อุปโภค บริโภค จะถ่วงกัน เป็น สมดุล อยู่
    เมื่อมีมาก จนล้นเหลือ ความต้องการก็ลดลง ราคา ย่อมตก
     
  7. ทองเค

    ทองเค อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    25 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,875
    โกร่ง มาอีกแล้ว ผมไม่เข้าใจจริงๆ ใคร การันตี หรือ ให้ราคา
    ตอนฟองสบู่ โกรง นี่ ทำตาปริบๆ พอฟอง สบู่มันแตก ผมเห็นแต่งอมือ หรือ เป็นสาเหตุเองไม่รู้
     
    อาวุโสโอเค, temp และ kokkai ถูกใจ
  8. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ผมก็เลยสงสัยว่าถ้ารัฐส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนา นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันผิดตรงไหน
    เมื่อมีการใช้มากๆ ต้นทุนต่อหน่วยก็จะถูกลง เราจะได้ลดการนำเข้าอีกด้วย
    ---------------------------------------------------------------------------------------------
    3 สถาบันวิจัยดังชี้ช่องระบายยาง ทุ่ม9.8พันล้านเพิ่มดีมานด์ในประเทศ3.3หมื่นตัน
    3 สถาบันวิจัยเสนอโมเดลใช้ยางในประเทศทำถนน-บล็อกปูพื้น-ใช้ในการจราจร พื้นที่นำร่องระบายยางได้ 33,300 ตัน ใช้งบประมาณกว่า 9,800 ล้านบาท สวก.แนะบรรจุเป็นกฎหมายรัฐ กระตุ้นอุปสงค์ยางในประเทศระยะยาว



    ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สวก.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมผลวิจัยจากสถาบันวิจัยต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สวก. เพื่อเสนอแนวทางเบื้องต้นในการกระตุ้นการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นโดยข้อเสนอแนะการนำร่องให้ดำเนินการเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพารา 4 รายการ โดย สวก.รวบรวม ได้แก่
    1.ยางบล็อกปูพื้น
    2.ยางพาราผสมยางมะตอยราดถนน (Asphaltic Concrete)
    3.ยางที่ใช้ในการจราจร แบ่งเป็นกรวยยาง และเนินสะดุดชะลอความเร็ว
    4.ยางปูพื้นคอกปศุสัตว์
    ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ยางประมาณ 33,330 ตัน ใช้งบประมาณกว่า 9,800 ล้านบาท ซึ่งรวมค่ายางแท่ง STR20 ที่ใช้ในการผลิต 60 บาท/กก.แล้ว
    http://dsfutures.co.th/business_news.php?news_id=56085
     
  9. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    เรียนมากเกินไป
     
    annykun, อาวุโสโอเค และ kokkai ถูกใจ
  10. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    เศรษฐกิจโลกปี 2559 โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
    http://www.matichon.co.th/news/54421

    ประโยคสุดท้าย
    อินโดนีเซียควรศึกษากรณีต้มยำกุ้งของไทยให้ดี

    กูรูผู้รู้จริง :rofl:
     
  11. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
    แก่แล้วแก่เลยจริง ๆ
    การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาระยะสั่นแบบแทรกแซงสินค้าเกษตร หรือโครงการรับจำนำควาย ๆ 15000
    แต่มันเป็นการเพิ่ม ดีมานต์ ในตลาด
    แล้วยังเพิ่มโอกาสทางการตลาด ในผลิตภัณฑ์ยางในอนาคต
    ดู ที่นอนยางพารา หมอนยางพาราดิ เดี๋ยวนี้นิยมกันมากขึ้น

     
    ปู่ยง likes this.
  12. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ผมเข้าไปอ่านในกระทู้ของพันทิพ เรื่องโดนร้านขายที่นอนยางพาราหลอก
    ผมว่าถ้ารัฐปล่อยปละละเลยเรื่องนี้ ความเชื่อถือ การตัดสินใจซื้อ จะมีปัญหาในอนาคต
    และส่งผลต่อราคาจนได้ เรื่องแบบนี้รัฐต้องทำงานเชิงรุกบ้าง อย่าปล่อยให้คนเลวเป็นตัวถ่วง ต้องจัดการให้เด็ดขาด
    กระทู้ที่เข้าไปอ่าน ลองอ่านดูนะครับ
    http://2g.pantip.com/cafe/home/topic/R7498817/R7498817.html
    ภาพที่มีสมาชิกโพสต์มา ว่าโดนหลอกยังไง
    Vp2X2N.jpg
     
    Last edited: 1 Mar 2016

Share This Page