ไม่รู้ว่าจะมีคนงงแบบที่ผมเคยงงหรือเปล่า ว่าแถวรัสเซียกับยุโรป และฝั่งอเมริกา ถ้ารบกันทางทะเล สภาพทางภูมิศาสตร์มันยังไง เพราะถ้าดูแผนที่แบบข้างล่าง จะเห็นว่ามันเป็นแนวชายฝั่งยาว ๆ ด้านใกล้ ๆ ขั้วโลกเหนือ จะรบกันอีท่าไหน ชายฝั่งก็ไกลกันซะขนาดนั้น แต่ความจริงคือ มันต้องดูลงมาจากขั้วโลก แบบนี้ ถ้ารบกันจริง ๆ ทางทะเลก็ลุยกันที่อาร์กติกนี่ละครับ
จีนระดม”เครื่องบิน ปืนใหญ่ จรวด”ประชิดชายแดนพม่า หลังพม่ายิงข้ามแดนทำคนจีนตาย admin | มีนาคม 24, 2015 จีนได้ระดมกำลังทหารจำนวนมาก พร้อมเครื่องบินรบ และอาวุธหนักอีกหลายชนิดเข้าสู่ชายแดนภาคตะวันตกเฉียงใต้ มณฑลหยุนหนัน กับภาคเหนือของพม่า หลังจากการปะทะชายแดนระหว่างกองทัพฝ่ายรัฐบาล และกองกำลังฝ่ายกบฏในเขตโกกัง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อจีนในช่วงข้ามเดือนมานี้ แต่ความเคลื่อนไหวทางทหารมีขึ้นหลังจากฝ่ายพม่าส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในเขตสู้รบ เป็นเหตุให้ระเบิดหลายลูกหล่นลงในดินแดนของจีน ซึ่งทำให้เกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลในกรุงปักกิ่่งอย่างหนัก ภาพที่ Sina.Com และนิตยสารโกลบอลไทมส์ (Golbal Times) นำออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ได้แสดงให้เห็นการเคลื่อนฝูงบิน J-11 เข้าเสริมกำลังในเขตเมืองหลินซัง (Lin Cang) ซึ่งมีชายแดนติดกับตอนเหนือของรัฐชานในพม่า รวมทั้งการเคลื่อนปืนใหญ่ กับอาวุธหนักอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ จรวด “หงฉี-12” หรือ HQ-12 ซึ่งเป็นจรวดต่อสู้อากาศยานสำหรับยิงเครื่องบินรบ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากนักวิชากร และสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นของรัฐ ถามรัฐบาลในปักกิ่งว่า เพราะเหตุใดกองทัพประชาชนจีนจึงไม่สามารถตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิดของพม่าได้ ปล่อยให้มีการล้ำแดนเข้ามาทิ้งระเบิด สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งคำถามที่ว่า ปัจจุบันกองทัพประชาชนจีนมีขีดความสามารถในการป้องกันเอกราชอธิปไตย และน่านฟ้าได้จริงๆ หรือไม่ คำถามต่างๆ เหล่านี้ ทำให้นายกรัฐมนตรี นายหลี่เค่อเฉียง ต้องออกมายืนยันในขีดความสามารถของรัฐบาลในการป้องกันประเทศ ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแจกแจงเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อพม่า ผ่านวิถีทางการทูต เพื่อป้องกันมิให้เกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นอีก สำหรับจีนนั้น เหตุการณ์ที่ชายแดนพม่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะไม่มีอะไรที่ทำให้จีนรู้สึก “เสียหน้า” เท่ากับปล่อยให้ประเทศที่เล็กกว่าอ่อนแอกว่าประเทศหนึ่ง ละเมิดอธิปไตยได้ครั้งแล้วครั้งเล่า โดยไม่มีการตอบโต้อย่างเท่าเทียม แต่ปัญหากับพม่ามีความละเอียดอ่อน และมีความอ่อนไหวมาก ทั้งทางการเมือง ความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจ และในทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจีนต้องพึ่งพาพม่าในการออกสู่มหาสมุทรอินเดีย พึ่งพาพลังงานจากแหล่งผลิตในทะเลเบงกอลของพม่า คือ ก๊าซปริมาณมหาศาลที่พม่าขายให้จีน และส่งผ่านระบบท่อความยาวนับพันกิโลเมตร เข้าสู่มณฑลหยุนหนัน ก่อนจะกระจายแบ่งปันนำไปใช้ในอีกหลายมณฑลทางภาคตะวันตกของประเทศ ในทางการเมืองระหว่างประเทศ จีนเป็นผู้อุปถัมภ์รัฐบาลทหารพม่าในอดีตมาตลอด ทั้งช่วยแก้ต่างให้ และใช้สิทธิยับยั้งเพื่อปกป้องพม่าในเวทีสากล ในปัจจุบันจีนระมัดระวังอย่างมากที่จะทำอะไรรุนแรงต่อพม่า ในขณะที่ความสัมพันธ์กับความร่วมมือระหว่างพม่ากับสหรัฐฯ และความสัมพันธ์กับอินเดีย ชาติประชาธิปไตยใหญ่ที่สุดในโลก ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับจีน ได้พัฒนาในทางบวกมาเป็นระยะๆ แต่จีนก็มี “ศึกใน” ที่จะต้องจัดการอย่างรอบคอบเช่นกัน.. นี่คือสถานการณ์ปัจจุบันระหว่างสองประเทศ หลังจากจีนได้กล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. เครื่องบินของพม่าได้ทิ้งระเบิดลงในเขตไร่อ้อยของชาวบ้าน ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 4 คน อีก 8 คนบาดเจ็บ และ ผู้เสียชีวิตได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 5 คน ในเวลาต่อมา จีนกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านั้นพม่ายังยิงปืนใหญ่ล้ำแดนเข้าไป ทำให้บ้านเรือนของราษฎรถูกทำลาย ซึ่งต่อมาเรื่องแบบนี้ได้กลายเป็นเหตุการณ์ปกติ คือ เกิดขึ้นติดต่อกันอีกหลายครั้ง ในวันที่ 14 มี.ค. เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า ได้ออกปฏิเสธว่า เหตุการณ์ระเบิด ที่จีนกล่าวหา ไม่ได้เกิดจากฝ่ายรัฐบาล ทั้งระบุว่าอาจเป็นฝีมือของอีกฝ่ายหนึ่งที่กระทำการโดยต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างจีนกับพม่า แต่เมื่อจำนนด้วยหลักฐานของฝ่ายจีนเวลาต่อมา พม่าก็ได้ออกแถลงแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนาที่เกิดขึ้น และแสดงความเศร้าใจต่อชาวจีนผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งให้คำมั่นจะจัดการสอบสวนสืบสวนหาฝ่ายรับผิดชอบในเรื่องนี้ แต่ภายในจีนไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น การล้ำอธิปไตยของพม่าได้ทำให้เกิดคำถามที่กดดันต่อรัฐบาลปักกิ่งติดตามมาอย่างมากมาย นอกเหนือจากปัญหาที่มีราษฎร (พม่า) อีกราว 70,000 คน หลบหนีการสู้รบจากเขตโกกัง ข้ามเข้าสู่ดินแดนจีน ซึ่งเป็นภาระต้องให้ข้าวน้ำ ให้ที่พักอาศัย ให้การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมพื้นฐานต่างๆ ขณะที่ฝ่ายพม่ามองว่า ในบรรดาผู้ที่หลบหนีนั้น ยังรวมทั้งฝ่ายกองโจรที่แอบแฝงไปรับการช่วยเหลือจากจีนด้วย กลุ่มกบฏในเขตโกกังนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ที่ปักกิ่งสนับสนุน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตที่รัฐบาลกลางพม่าให้สิทธิในการปกครองตนเองแห่งนี้ เกือบทั้งหมดมีเชื้อสายจีน และดินแดนแถบนี้ก็มีประวัติมายาวนาน รวมทั้งในครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนของจีน แต่สูญเสียไปในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองดินแดนพม่า และตกมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชานปัจจุบัน นักวิชาการจีนจำนวนหนึ่งถึงกับเรียกร้องผ่านสื่อออนไลน์ ให้รัฐบาลจีนต้องช่วยฝ่ายบกฏโกกัง บางคนเรียกร้องให้จีนโจมตีพม่าเป็นการตอบโต้การรุกล้ำอธิปไตยอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่จะไม่อาจจะเกิดขึ้นง่ายๆ ด้วยลมบนลมล่างที่กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นการเคลื่อนกำลังพล เคลื่อนอาวุธเข้าสูชายแดนติดกับพม่า จึงเป็นสิ่งที่จีนไม่มีทางเลี่ยง แต่จะเลยเถิดไปยิ่งกว่านั้น เป็นเรื่องลำบากยากเข็นยิ่ง วันที่ 14 มี.ค. โฆษกกองทัพอากาศจีน ได้ออกให้สัมภาษณ์ว่า เครื่้องบินรบของจีนได้ขึ้นลาดตระเวนตรวจการณ์บริเวณชายแดน ป้องกันมิให้เครื่องบินต่างชาติรุกล้ำน่านฟ้าได้อีก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สื่อออนไลน์ต่างๆ ก็ได้นำภาพการเคลื่อนกำลังของฝ่ายจีนออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จนถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ตามรายงานของ Sina.Com ปัจจุบัน กองทัพอากาศได้เข้าควบคุมสนามบินเล็กๆ ที่เมืองหลินซัง เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับฝูงบินขับไล่โจมตีแบบ J-7H ส่วน J-11 (ซึ่งจีนก๊อบปี้จาก Su-27SK ของรัสเซีย) อีกฝูงหนึ่ง ไปตั้งฐานที่สนามบินอีกแห่งหนึ่งห่างกันออกไป เนื่องจากต้องใช้ทางวิ่งขึ้นลงยาวกว่า J-7 นั่นเอง สื่อออนไลน์ของจีนอีกหลายสำนัก รวมทั้งเว่ยโป (Weibo) ยังเผยแพร่ภาพรถบรรทุกทหารหลายสิบคันนำทหารราบเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่ชายแดน กับรถลากปืนใหญ่อีกหลายกระบอก พร้อมรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ และจรวด “ธงแดง-12” (Hong Qi-12) รวมทั้งภาพ “โมบายเรดาร์” หรือฐานเรดาร์เฉพาะกิจที่ติดตั้งบนรถบรรทุก จอดอยู่ในหลายจุดตามแนวชายแดน “ธงแดง-12” หรือ Kai Shan-1 (KS-1) เป็นจรวดต่อสู้อากาศยานจากพื้นสู่อากาศ ระยะปานกลาง เป็นอาวุธอีกชนิดหนึ่งที่จีนก๊อบปี้ [เรียกให้ไพเราะว่า “รีเวิร์ส เอ็นจิเนียริ่ง” (Reverse-Engineering)] จากจรวด S-175 “ดาวินา” (Davina) ของโซเวียต/รัสเซีย นำวิถีด้วยเรดาร์ เป็นจรวดรุ่นเก่าที่ผ่านการใช้งานมานาน ขณะที่จีนทำจรวดต่อสู้อากาศยานพื้นสู่อากาศ ออกมาอีกหลายรุ่น ทันสมัยกว่า และประสิทธิภาพดียิ่งกว่า เป็นเรื่องที่ขำไม่ออก ขณะที่จีนเคลื่อนจรวด “ธงแดง-12” เข้าชายแดน พร้อมจะยิงเครื่อบินข้าศึกที่ล้ำแดนนั้น พม่าเองก็พร้อมจะใช้จรวด HQ-12 ยิงเครื่องบินข้าศึกที่ล้ำแดนเช่นกัน.. กองทัพพม่านำ “หงฉี-12” ที่ซื้อจากจีนออกอวดเป็นครั้งแรก ในพิธีสวนสนามครบรอบปี วันก่อตั้งกองทัพในเดือน มี.ค.2556 คู่กับจรวด S-175 อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็น “ของแท้” ที่พม่าซื้่อตรงจากรัสเซีย. ภาพจากพื้นที่ — จรวด “ธงแดง-12″ ติดตั้งบนรถบรรทุก 6 ล้อ แล่นเข้าสู่ชายแดนพม่า ในช่วงไม่กี่วันมานี้ จีนยังระดมอาวุธหนักอีกหลายชนิด เช่นเดียวกับเครื่องบินรบ และกำลังทหารราบ เพื่อเข้าตรึงพื้นที่ แต่จะทำกับพม่าเลยเถิดไปยิ่งกว่านี้ เป็นเรื่องลำบากสำหรับจีน. http://i-newsmedia.net/out/จีนระดมเครื่องบิน-ปืนใ/
ผมว่าคนเขียนมีความเข้าใจผิดๆเยอะมากครับ เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนผมไปแอบดักต่อยบัวขาว ได้ตอนบัวขาวไปซื้อของที่บิํ๊กซีได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความ ถ้าผมขึ้นเวทีต่อยกับบัวขาวแล้วผมจะชนะนี่ครับ 1. ขณะไม่ใช่สถานการณ์สงคราม การจัดกองเรือคุ้มกันเรือบรรทุกเครื่องงบิน จึงไม่ใช่ในอัตราสงคราม 2. การแล่นในน่านนํ้าที่ไม่ใช่เขตสงคราม ก็คือการแล่นปกติครับ 3. การยุทธนาวีของเรือดำนํ้า แพ้ชนะขึ้นอยู่กับว่า ใครตรวจจับใครได้เร็วกว่ากัน และสามารถใช้อาวุธจู่โจมได้ก่อน ไม่ใช่ใครเกาะติดได้ใครได้ เพราะถ้าใช้อาวุธปราบเรือดำนํ้าได้กันจริงๆ เรือดำลำนั้นอาจจะจมไปเรียบร้อยแล้ว ไม่มีโอกาสได้เกาะติด 4. เรือบรรทุกเครื่องบิน ไม่ได้มีหน้าที่ปราบเรือดำนํ้าโดยตรง มีหน้าที่เพียงสนับสนุนด้วยการเป็นฐานบินให้กับ ฮ.ปราบเรือดำนํ้าเท่านั้น หน้าที่จริงๆจะเป็นของเรือดำนํ้าชั้นจู่โจม เรือพิฆาต เรือลาดตระเวน และเรือฟรีเกต 5. การยั่วยุในลักษณะ เป็นการทดสอบยุทธวิถี เทคโนโลยี และมาตราการตอบโต้ของฝ่ายตรงข้ามครับ ซึ่งเป็นเรื่องทีเ่กิดขึ้นบ่อยครั้ง ในช่วงสงครามเย็น ถ้าผู้บัญชาการกองเรือ ไม่สั่งการตอบโต้ใดๆ ฝ่ายที่มายั่วยุนั้น ก็จะเสียเปล่าครับ ไม่ได้อะไรปเลย อย่างดี ก็ได้ข่าวไปโม้